fbpx

Growth Mindset ปรับมุมมอง สอนให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข

สารบัญ
growth mindset

Growth Mindset ปรับมุมมอง สอนให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข

แน่นอนเลยว่า สำหรับคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย ก็ย่อมจะคาดหวังให้ลูกรัก ประสบทุกความสำเร็จ และสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข ซึ่งทุกอย่างสำหรับการฝึก ก็จะต้องเริ่มต้นจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ หากเปรียบลูกเป็นเสมือนต้นไม้ พ่อกับแม่ก็เป็นเสมือนรากไม้ ที่คอยส่งเสริมให้ลูกเติบโต คอยปลูกฝังแนวคิดที่ดีให้แก่ลูก โดยการที่เด็กน้อยคนหนึ่ง จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ก็ไม่ได้เกิดมาจากความฉลาดแค่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การที่จะประสบความสำเร็จก็จะต้องเกิดจากความพยายาม ความนับถือตนเอง ความมุ่งมั่นตั้งใจ รวมไปถึงการมี Growth Mindset ด้วยนั่นเอง

Growth Mindset เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจ ช่วยพัฒนาทั้งความคิด และการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะมองว่า การเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้าหากมีความหวังดีต่อลูก ไม่มีอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนทำไม่ได้ การเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset ก็เช่นเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่หลายคนก็สามารถทำได้ หากเข้าใจถูกต้อง ก่อนอื่นต้องตามไปทำความรู้จักกับ Growth Mindset คืออะไร ทำไมจึงมีความสำคัญ แล้วสามารถสร้างแนวคิดให้แก่ลูกน้อยก้าวเข้าสู่ความสำเร็จ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตมีความสุขได้อย่างไร ไปดูกันได้เลย

growth mindset คืออะไร

Growth Mindset คืออะไร สำคัญต่อเด็กอย่างไร

Growth Mindset คือ แนวคิดที่เชื่อกันว่า เด็กทุกคนนั้นสามารถที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน หากเด็กมีความตั้งใจ มีความพยายาม และไม่ยอมแพ้ เนื่องจากความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านไหนก็ตาม ซึ่งไม่ได้เกิดมาจากการมีพัฒนาการทางสมองที่ดีเพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดมาจากความมุ่งมั่น การพัฒนา และการทำซ้ำๆ นอกจากนี้ สิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดก็คือการมีทัศนคติ ที่บอกว่าทุกความล้มเหลวเป็นแค่เพียงหนทางแห่งการเรียนรู้

แนวคิด Growth Mindset มีความสำคัญต่อเด็กมากๆ หากเด็กมีวิธีคิดตามแนวคิด Growth Mindset จะทำให้เด็กกลายเป็นเด็กที่ชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ กล้าที่จะเผชิญกับปัญหาทุกปัญหา ไม่ย่อท้อต่อสิ่งต่าง ๆ พยายามจนกว่าจะสำเร็จ จนทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ง่าย

หลักของ Growth Mindset

หลักของ Growth Mindset เชื่อกันว่าความสามารถของทุกคน สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ทุกช่วงเวลา ผ่านความพยายาม การเรียนรู้ และการไม่ยอมแพ้ แม้จะตกอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก หรืออยู่ท่ามกลางสภาวะที่ไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร หากเรียนรู้ พยายาม และไม่ยอมแพ้ แล้วทุกอย่างจะผ่านไปได้

สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ growth mindset

สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Growth Mindset

ถ้าหากลองเข้าไปค้นหาคำว่า Growth Mindset เชื่อเลยว่าท่านจะพบคำอธิบายที่คล้ายกันมากมาย เมื่อบังเอิญเข้าไปอ่านแล้ว รู้สึกว่าฟังแล้วก็ดูดี ก็ไม่เห็นจะมีอะไรมากกว่านี้ เข้าใจได้ ก็คือให้คิดบวก คิดไปในทางที่ดีแบบโลกสวยไว้ก่อน ซึ่งถ้าหากท่านรู้สึกแบบนี้ แปลว่าท่านยังไม่เข้าถึงแก่นของ คำนิยาม Growth Mindset ด้วย 3 สิ่งที่หลายคนมักจะเข้าใจผิด ถ้าหากยังไม่รู้จักเกี่ยวกับ Growth Mindset แบบดีพอ ซึ่ง 3 สิ่งนี้ จะมีอะไรกันบ้าง ตามไปทำความเข้าใจกันได้เลย

Growth Mindset คือคิดบวก

Growth Mindset ไม่ใช่การคิดบวก ซึ่งการคิดบวก ก็คือการมองในแง่ดี เมื่อพบเจอกับปัญหาก็มักจะหลอกตัวเองแล้วมองว่าเป็นสิ่งที่ดี เดี๋ยวก็ผ่านไป แต่ Growth Mindset ไม่ใช่การคิดบวก เพราะเป็นการสอนให้แก้ปัญหา ก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ มากกว่าการคิดบวกหลอกตัวเองเพื่อที่จะหนีปัญหา

Growth Mindset คือห้ามผิดพลาด

Growth Mindset คือการที่คนเราสามารถที่จะผิดพลาดได้ หรือสามารถที่จะล้มเหลวได้ ซึ่งแนวคิด Growth Mindset มีความเชื่อว่าความสามารถของทุกคนสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ผ่านการเรียนรู้ ไม่ยอมแพ้ และมีความพยายาม

Growth Mindset คือการเรียนรู้อยู่ตลอด

Growth Mindset ไม่ต้องเรียนรู้ตลอด ไม่ต้องเรียนรู้ทุกเรื่อง เพราะคนที่มี Growth Mindset ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นคนที่มีความรู้รอบตัวเยอะ เนื่องจากชีวิตของคนเรามีเวลาจำกัด ต้องเลือกเรียนรู้สิ่งที่มีความสำคัญ เพื่อไปพัฒนาต่อ

ความต่างของ fixed mindset กับ growth mindset

ความต่างของ Fixed mindset กับ Growth Mindset

Fixed Mindset คือทัศนคติแบบดั้งเดิม หรือแนวคิดแบบยึดติด ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อว่า คนมีความสามารถ มีทักษะ มีศักยภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความฉลาด ได้แค่เพียงเท่านี้ ไม่สามารถที่จะพัฒนาต่อไปได้ จนทำให้มีความคิดอยู่ในกรอบแบบเดิมๆ กลัวการเปลี่ยนแปลง กลัวความล้มเหลว ไม่กล้าที่จะคิด หรือไม่กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ เป็นต้น

Growth Mindset คือทัศนคติแบบใหม่ หรือแนวคิดแบบยืดหยุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อว่าความสามารถ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์สามารถที่จะสร้างกันได้ รวมถึงสามารถที่จะพัฒนาต่อไปข้างหน้าได้ ซึ่งมีความเชื่อว่าศักยภาพของคนจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่กลัวความล้มเหลว กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เป็นต้น

วิธีเลี้ยงลูกให้มี growth mindset

วิธีเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการที่จะปลูกฝังลูกให้มีวิธีคิดแบบ Growth Mindset ในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถสร้างได้ง่ายๆ เริ่มต้นโดยการปรับทัศนคติของตนเองก่อน และจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวลูก ว่าลูกมีความสามารถพร้อมที่จะพัฒนาได้ หลังจากนั้นค่อยไปปรับทัศนคติของลูก หากคุณพ่อคุณแม่พร้อมแล้ว ก็สามารถตามไปดูวิธีการสร้าง Growth Mindset ที่เป็นตัวช่วยทำให้ลูกน้อยพัฒนา ก้าวผ่านอุปวรรค จนประสบความสำเร็จได้ ดังต่อไปนี้

ให้ลูกได้เรียนรู้ และลองทำสิ่งใหม่ ๆ

การสร้าง Growth Mindset การให้ลูกได้เรียนรู้ และลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ลูกค้นหาความสามารถ ค้นหาความถนัดของตนเองได้ อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยทำให้ลูกเป็นคนที่เปิดใจเพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างมีความสุขอีกด้วย

สอนให้ลูกยอมรับในความผิดพลาด

กิจกรรมสร้าง Growth Mindset สอนให้ลูกน้อยยอมรับในความผิดพลาด สำหรับวิธีการเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset ไม่ได้เป็นแค่เพียงการสอนลูกให้รู้จักความพยายาม แต่ยังเป็นการสอนลูกให้ยอมรับในความผิดพลาดให้ได้ แต่จะต้องไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าความผิดพลาดครั้งนี้เป็นตราบาป แต่จะต้องสอนให้ลูกมองว่าเป็นโอกาสสำหรับการเรียนรู้ และสามารถนำมาปรับปรุงเพื่อที่จะพัฒนาตัวเองต่อไปได้

ชื่นชมในความพยายามของลูกเสมอ

หลักแนวคิด Growth Mindset เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้สอนให้ลูกน้อยมีความพยายามที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเองแล้ว ก็ไม่ควรที่จะลืมชื่นชมความพยายามของลูกน้อยด้วยทุกครั้ง โดยจะต้องใช้คำชมแบบเจาะจงไปที่วิธีการ ไม่ใช่ผลสำเร็จ เช่น แม่มีความตั้งใจมากที่ลูกตั้งใจเรียน และมีความตั้งใจที่จะอ่านหนังสือสอบ โดยจะต้องหลีกเลี่ยงคำชมที่ไม่ส่งผล และไม่ทำให้เกิดพัฒนาการทางความคิด เช่น อัจฉริยะ เก่ง และฉลาด เป็นต้น

สอนให้ลูกรู้จักเผชิญปัญหาด้วยตัวเอง

การสอนให้ลูกรู้จักเผชิญปัญหาด้วยตนเอง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีความสำคัญมากที่สุด ไม่แพ้ไปจากวิธีอื่นๆ สำหรับการเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset ที่ดี คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายจะต้องปล่อยให้ลูกน้อยได้รู้จักการเผชิญปัญหา และมีความพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ทุกคนจะต้องเฝ้าดูอย่างอดทน และต้องอดใจไม่ลงมือที่จะแก้ปัญหาให้ลูกเสียเอง ซึ่งวิธีดังกล่าวจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่

สอนให้ลูกเข้าใจแนวคิดที่ว่าไม่มีอะไรที่เรายังทำไม่ได้ถ้ายังไม่ลองทำ

เมื่อถึงวันที่ลูกน้อยเกิดความผิดพลาด หรือเกิดความล้มเหลว คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องสอนให้ลูกเข้าใจแนวคิด Growth Mindset ที่ว่าหากอะไรที่เรายังไม่ลองทำ ไม่ได้แปลว่าเราทำสิ่งนั้นไม่ได้ เพียงแต่ว่า เรายังไม่สามารถที่จะทำได้ในตอนนี้เท่านั้น ซึ่งต้องบอกกับลูกเสมอว่า หากลูกมีความพยายามสูง มีความตั้งใจมากพอที่จะทำมัน และจะต้องมองข้ามผ่านความล้มเหลว ซึ่งความล้มเหลวไม่ใช่จุดจบ ลูกน้อยก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอนในอนาคต

สรุป

สรุปแล้ว Growth Mindset คือแนวคิดที่ เชื่อกันว่า เด็กทุกคนสามารถที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จได้ หากมีความพยายาม มีความตั้งใจ และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา ซึ่งจะมีความแตกต่างกับ Fixed Mindset ที่อยู่ในกรอบเดิมๆ ไม่มีความพยายาม กลัวการเปลี่ยนแปลง กลัวความล้มเหลว ไม่กล้าคิดที่จะทำสิ่งใหม่ๆ หรือการยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ หวังว่าวิธีการเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset ตามที่ได้มีการรวบรวมไปเพื่อที่จะให้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายได้ลองนำไปใช้ จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพิ่มทักษะการใช้ชีวิตให้แก่ลูกน้อยได้ ด้วยการให้ลูกได้เรียนรู้วิธีคิดด้วยทัศนคติแบบ Growth Mindset ที่ Speak Up Language Center  ในการเรียนการสอนก็จะมีกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้เด็กๆ ที่มาเรียนได้เรียนรู้ และเติบโต ไม่ติดอยู่ในกรอบแบบการเรียนสมัยก่อน โดยจะเป็นตัวช่วยเพิ่มโอกาสก้าวเข้าสู่ความสำเร็จ และทำให้ลูกใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากต่อไป

การนับเลขภาษาจีนตั้งแต่หลักหน่วยถึงหลักร้อย

นับเลขภาษาจีน ตั้งแต่หลักหน่วยถึงหลักล้าน เด็กจำง่าย พร้อมคำอ่านไทย

การนับเลขภาษาจีน ถือเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษาจีนเลยก็ว่าได้ หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องยาก และท้าทาย เพราะระบบการนับเลขของจีนถึงจะดูง่าย แต่ก็ต้องเข้าใจพื้นฐาน หลักการ และเงื่อนไขบางอย่าง บทความนี้ จึงขอชวนน้องๆ และคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองที่อยากจะเริ่มต้นสอนภาษาจีนให้เด็กๆ มาเริ่มเรียนนับเลขภาษาจีนกันได้ง่ายๆ นับได้ตั้งแต่หลักหน่วยไปจนถึงหลักล้าน พร้อมดูข้อยกเว้นและกฎในการนับเลขจีนกลาง ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย

การเรียนนับเลขภาษาจีนสำคัญอย่างไร

การเรียนนับเลขภาษาจีนสำคัญอย่างไร

การที่เด็กๆ สามารถนับเลขภาษาจีนได้นั้น มีความสำคัญมากในการเรียนภาษาจีนและการนำไปใช้งานจริง เช่น เวลาไปซื้อของก็สามารถบอกจำนวนที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ถ้าหากอยากจะจองโต๊ะที่ร้านอาหารหรือทำการนัดหมายใดๆ ก็สามารถระบุวันและเวลาได้ อีกทั้งยังช่วยในการเรียนรู้คำสแลงต่างๆ ในภาษาจีน และหลีกเลี่ยงตัวเลขอัปมงคลที่เป็นความเชื่อของวัฒนธรรมจีน

ตัวเลขพื้นฐานในภาษาจีน

ตัวเลขพื้นฐานในภาษาจีน

ตัวเลขอักษรจีนพินอินคำอ่านคำแปล
1 อี หนึ่ง
2èr เอ้อร์ สอง
3sānซานสาม
4ซื่อ สี่
5หวู่ ห้า
6liùลิ่วหก
7ชีเจ็ด
8ปาแปด
9jiǔ จิ่วเก้า
0líng หลิงศูนย์

ข้อควรรู้เกี่ยวกับตัวเลขพื้นฐาน

  • เลข 0 หรือ 零 ซึ่งอ่านว่า líng (หลิง) ที่แปลว่าเลขศูนย์ในการนับเลขภาษาจีน ในบางครั้งจะเห็นการใช้อักขระ 〇 ซึ่งจะอ่านว่า líng (หลิง) และแปลว่าเลขศูนย์เช่นกัน
  • เลข 1 ตามปกติแล้วเลขหนึ่งในภาษาจีนจะออกเสียงว่า yī (อี) แต่ถ้าในสถานการณ์ที่บอกเบอร์โทรศัพท์ เลขที่บ้าน หรือเลขที่ห้อง มักจะพูดว่า 幺 ซึ่งออกเสียงว่า yāo (เยา) แทน
  • เลข 2 ส่วนใหญ่แล้วเลขสองในการนับตัวเลขภาษาจีนและการบอกเบอร์โทรศัพท์จะใช้ 二 ที่อ่านว่า èr (เอ้อร์) แต่ถ้าเป็นการบอกจำนวนหรือปริมาณจะใช้คำว่า 两 ซึ่งอ่านว่า liǎng (เหลี่ยง)
  • เลข 4 ตามความเชื่อของจีน หมายเลขสี่เป็นเหมือนเลขอัปมงคลที่จะนำพาความโชคร้ายเข้ามา เพราะเลขสี่ออกเสียงว่า sì (ซื่อ) ซึ่งออกเสียงคล้ายกับคำว่า 死 sǐ (สื่อ) ที่มีความหมายว่า ตาย จึงเป็นเลขที่ชาวจีนมักจะหลีกเลี่ยงกัน โดยเฉพาะการให้ของผู้อื่น จะไม่ให้จำนวนสี่ชิ้น และอาคารต่างๆ ก็จะไม่มีชั้นสี่เช่นกัน

ตัวอย่างเลขที่ควรรู้

  • ตัวอย่างการอ่านเบอร์โทรศัพท์เป็นภาษาจีน เช่น 0985715312 อ่านว่า líng jiǔ bā wǔ qī yāo wǔ sān yāo èr (หลิง จิ่ว ปา หวู่ ชี เยา หวู่ ซาน เยา เอ้อร์)
  • ตัวอย่างการใช้เลขสองในการบอกจำนวนและปริมาณ เช่น 两个橙子 liǎng gè chéngzi (เหลี่ยง เก้อ เฉิงจึ) แปลว่า ส้ม 2 ผล
การนับเลขในภาษาจีนหลักสิบ

การนับเลขในภาษาจีนหลักสิบ

นับเลขภาษาจีนในหลักหน่วยกันไปแล้ว การนับเลขหลักสิบในภาษาจีนมีหน่วยการนับเป็น 十 (shí) ซึ่งแปลว่า 10 โดยสามารถนับได้ดังนี้

ตัวเลขอักษรจีนพินอินคำอ่านคำแปล
10 shí สือ สิบ
11十一 shíyī สืออีสิบเอ็ด
12十二shíèr สือเอ้อร์สิบสอง
13十三 shísān สือซาน สิบสาม
14十四 shísì สือซื่อสิบสี่
15十五 shíwǔ สือหวู่สิบห้า
16十六shíliùสือลิ่วสิบหก
17十七 shíqī สือชีสิบเจ็ด
18十八shíbā สือปาสิบแปด
19十九 shíjiǔ สือจิ่วสิบเก้า
20二十 èrshí เอ้อร์สือยี่สิบ
30三十 sānshí ซานสือสามสิบ
40四十sìshí ซื่อสือสี่สิบ
50五十 wǔshíหวู่สือห้าสิบ
60六十 liùshí ลิ่วสือหกสิบ
70七十 qīshí ชีสือเจ็ดสิบ
80八十 bāshí ปาสือแปดสิบ
90九十 jiǔshí จิ่วสือเก้าสิบ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับตัวเลขหลักสิบ

สามารถสังเกตเห็นได้ว่าการนับเลขภาษาจีนในหลักสิบ เป็นการนำเอาเลข 10 มารวมกับเลขตัวอื่นๆ เช่น 20, 30, 40 … มีการใช้รูปแบบเดียวกัน และมีความคล้ายคลึงกันกับในภาษาไทย เพียงแค่เอาเลขด้านหน้าตามด้วยหลักสิบ ทำให้จำแค่เพียงจำเลข 1-10 ก็สามารถประกอบเป็นเลขได้เกือบครบ 100 แล้ว

ตัวอย่างเลขที่ควรรู้

  • ตัวอย่างการรวมเลขในหลักสิบ เช่น 55 ในภาษาจีนคือ 五十五 wǔshíwǔ (หวู่ สือ หวู่) หรือ 73 ในภาษาจีนคือ 七十三 qīshísān (ชี สือ ซาน)
การนับเลขในภาษาจีนหลักร้อย

การนับเลขในภาษาจีนหลักร้อย

การนับเลขหลักร้อยมีหน่วยการนับเป็น 百 อ่านว่า bǎi (ไป่) หรือ 一百 อ่านว่า yìbǎi (อีไป่) ซึ่งแปลว่า 100 โดยสามารถนับเลขภาษาจีนหลักร้อยได้ดังนี้

ตัวเลขอักษรจีนพินอินคำอ่านคำแปล
100一百 yìbǎi อีไป่หนึ่งร้อย
101一百零一yìbǎi líng yīอีไป่หลิงอีหนึ่งร้อยเอ็ด
102一百零二 yìbǎi líng èrอีไป่หลิงเอ้อร์หนึ่งร้อยสอง
103一百零三 yìbǎi líng sān อีไป่หลิงซานหนึ่งร้อยสาม
104一百零四 yìbǎi líng sì อีไป่หลิงซื่อ หนึ่งร้อยสี่
105一百零五 yìbǎi líng wǔ อีไป่หลิงหวู่หนึ่งร้อยห้า
106一百零六 yìbǎi líng liù อีไป่หลิงลิ่วหนึ่งร้อยหก
107一百零七 yìbǎi líng qī อีไป่หลิงชีหนึ่งร้อยเจ็ด
108一百零八 yìbǎi líng bā อีไป่หลิงปาหนึ่งร้อยแปด
109一百零九 yìbǎi líng jiǔ อีไป่หลิงจิ่วหนึ่งร้อยเก้า
110一百一十 yìbǎi yī (shí) อีไป่อี (สือ) หนึ่งร้อยสิบ
129一百二十九 yìbǎi èrshíjiǔ อีไป่เอ้อร์สือจิ่วหนึ่งร้อยยี่สิบเก้า
175一百七十五 yìbǎi qīshíwǔ อีไป่ชีสือหวู่หนึ่งร้อยเจ็ดสิบห้า
200二百, 两百 èrbǎi, liǎngbǎi เอ้อร์ไป่, เหลียงไป่สองร้อย
300三百 sānbǎi ซานไป่สามร้อย

 

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับตัวเลขหลักร้อย

วิธีนับเลขภาษาจีนของตัวเลข 100-109 จะมีความแตกต่างจากไทยอยู่นิดหน่อยตรงที่จะใช้คำว่า 零 (líng) ที่แปลว่า เลขศูนย์ คั่นระหว่างคำว่า 一百 (yìbǎi) ที่อยู่ข้างหน้ากับเลขตัวเลขหลักหน่วยที่อยู่ด้านหลัง และควรระมัดระวังการใช้เลข 250 เพราะในจีน 250 มีความหมายแฝงที่ไม่ดี หมายถึงงี่เง่าหรือโง่ ใช้เป็นคำดูถูกผู้อื่น

การนับเลขในภาษาจีนหลักพัน

การนับเลขในภาษาจีนตั้งแต่ 1,000 ขึ้นไป

การนับเลขจีนกลางในหลักพันขึ้นไป ที่สามารถพบเห็นได้เป็นประจำ เด็กๆ จำเป็นต้องรู้ไว้เป็นพื้นฐาน มีดังนี้

จำนวนครั้งอักษรจีนพินอินคำอ่าน
หนึ่งครั้ง一次 yīcì อีชื่อ
สองครั้ง两次 liǎngcìเหลี่ยงชื่อ
สามครั้ง三次 sāncì ซานชื่อ
สี่ครั้ง四次 sìcìซื่อชื่อ
ห้าครั้ง五次 wǔcì หวู่ชื่อ
หกครั้ง六次 liùcìลิ่วชื่อ
เจ็ดครั้ง七次 qīcì ชีชื่อ
แปดครั้ง八次 bācìปาชื่อ
เก้าครั้ง九次 jiǔcì จิ่วชื่อ
สิบครั้ง十次 shícìสือชื่อ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับตัวเลขหลักพัน

ตัวเลขหลักพันขึ้นไปในภาษาจีน ก็มีหลักการเดียวกันกับเลขหลักสิบและหลักร้อย โดยสามารถเอามารวมกันได้เลย และการรวมกันของหลักก็ทำให้เกิดเป็นหลักใหม่ อย่างหลัก 10 กับ 10,000 รวมเป็น 十万 (shí wàn) ซึ่งมีความหมายว่าหนึ่งแสน

ตัวอย่างเลขที่ควรรู้

  • 37,850 三万七千八百五十 sān wàn qī qiān bā bǎi wǔ shí (ซาน ว่าน ชี เชียน ปา ไป่ หวู่ สือ)
  • 102,046 十万两千四十六 shí wàn liǎng qiān sì shí liù (สือ ว่าน เหลี่ยง เชียน ซื่อ สือ ลิ่ว)
การนับเลขลำดับที่ในภาษาจีน

การนับเลขลำดับที่ในภาษาจีน

เรียนนับเลขภาษาจีนกันไปเรียบร้อยแล้ว และถ้าหากต้องการนับเป็นลำดับที่จะต้องทำอย่างไร ไม่ยากเลย เพียงแค่ใช้คำว่า อ่านว่า dì (ตี้) ซึ่งแปลว่า ที่ มานำหน้าตัวเลขลำดับที่ต้องการ ดังนี้

จำนวนครั้งอักษรจีนพินอินคำอ่าน
หนึ่งครั้ง一次 yīcì อีชื่อ
สองครั้ง两次 liǎngcìเหลี่ยงชื่อ
สามครั้ง三次 sāncì ซานชื่อ
สี่ครั้ง四次 sìcìซื่อชื่อ
ห้าครั้ง五次 wǔcì หวู่ชื่อ
หกครั้ง六次 liùcìลิ่วชื่อ
เจ็ดครั้ง七次 qīcì ชีชื่อ
แปดครั้ง八次 bācìปาชื่อ
เก้าครั้ง九次 jiǔcì จิ่วชื่อ
สิบครั้ง十次 shícìสือชื่อ

ตัวอย่างการนับลำดับเลข

  • ลำดับที่ 32 第三十二 dì sān shí èr (ตี้ ซาน สือ เอ้อร์)
  • ลำดับที่ 539 第五百三十九 dì wǔ bǎi sān shí jiǔ (ตี้ หวู ไป่ ซาน สือ จิ่ว)
การนับเลขจำนวนครั้งในภาษาจีน

การนับเลขจำนวนครั้งในภาษาจีน

การบอกจำนวนครั้งในภาษาจีนก็ง่ายมากเช่นเดียวกัน เพียงเติมคำว่า อ่านว่า cì (ชื่อ) ที่แปลว่า ครั้ง ตามหลังตัวเลขที่ต้องการ ดังนี้

จำนวนครั้งอักษรจีนพินอินคำอ่าน
หนึ่งครั้ง一次 yīcì อีชื่อ
สองครั้ง两次 liǎngcìเหลี่ยงชื่อ
สามครั้ง三次 sāncì ซานชื่อ
สี่ครั้ง四次 sìcìซื่อชื่อ
ห้าครั้ง五次 wǔcì หวู่ชื่อ
หกครั้ง六次 liùcìลิ่วชื่อ
เจ็ดครั้ง七次 qīcì ชีชื่อ
แปดครั้ง八次 bācìปาชื่อ
เก้าครั้ง九次 jiǔcì จิ่วชื่อ
สิบครั้ง十次 shícìสือชื่อ

ตัวอย่างการนับจำนวนครั้ง

  • 48 ครั้ง 四十八次 sì shí bā cì (ซื่อ สือ ปา ชื่อ)
  • 133 ครั้ง 一百三十三次 yì bǎi sān shí sān cì (อี ไป่ ซาน สือ ซาน ชื่อ)

สรุป

การนับเลขภาษาจีนไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ เพียงแค่จำตัวเลขหลักหน่วย 10 ตัว และจำหลักสิบ หลักร้อย หลักพัน และหลักหมื่น รวมถึงรู้หลักการและข้อควรรู้ต่างๆ อีกเล็กน้อย ก็สามารถนำมาผสมรวมกันจนสามารถนับเลขภาษาจีนได้ถึงหลักล้านแล้ว การได้สอนลูกๆ หรือเด็กๆ ให้เริ่มหัดเรียนเลขภาษาจีนจะช่วยให้เด็กค่อยๆ จดจำได้ดีอย่างเป็นธรรมชาติ ที่ Speak Up Language Center มีหลักสูตรภาษาจีนสำหรับเด็กเล็ก 2.5-12 ปี เริ่มตั้งแต่พื้นฐานอย่างการนับเลข ไปจนถึงการสนทนาเป็นประโยค ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ภาษาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และสามารถต่อยอดได้ในอนาคต

คำศัพท์หมวดผลไม้ภาษาอังกฤษ

คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผลไม้ A-Z พร้อมคำอ่าน และคำแปลไทย

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากสิ่งใกล้ตัว เช่น ผักและผลไม้ที่ต้องรับประทานทุกวัน นอกจากจะทำให้น้องๆ จำคำศัพท์ได้ง่ายและเร็วขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ยังสนุกกับการทายคำศัพท์ของอาหารแต่ละมื้อ ว่ามีผักผลไม้ชนิดใด มีชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไรบ้าง ซึ่งคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผลไม้และผักก็มีอยู่มากมายให้ได้เลือกทดสอบความจำ

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ หมวดผลไม้ A-Z

คำศัพท์อังกฤษเกี่ยวกับผัก และผลไม้สำคัญอย่างไร

การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับผัก ผลไม้ จะช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว พบเห็นได้บ่อย จึงง่ายต่อการจดจำเรียนรู้ ยิ่งรู้คำศัพท์มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ทักษะทางภาษาอังกฤษก้าวหน้าขึ้นมากเท่านั้น เพราะสามารถนำเอาคำศัพท์ไปสร้างเป็นประโยคง่ายๆ หรือใช้เป็นบทสนทนาในชีวิตประจำวันได้

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ หมวดผลไม้

คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผลไม้ A-Z

คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผลไม้นั้นมีอยู่มากมายให้ได้เลือกท่องจำ ตัวอย่างคำศัพท์หมวดผลไม้ตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้

1. Apple

  • คำอ่าน: แอ็พเพิล
  • คำแปล: แอปเปิล
  • ตัวอย่างประโยค: I am eating an apple.

2. Apricot

  • คำอ่าน: แอพริค็อท
  • คำแปล: แอปพลิคอท
  • ตัวอย่างประโยค: I like to eat apricot jam with bread.

3. Avocado

  • คำอ่าน: แอฟวะคาโด
  • คำแปล: อะโวคาโด
  • ตัวอย่างประโยค: Avocados provide high protein and vitamins.

4. Banana

  • คำอ่าน: แบนานะ
  • คำแปล: กล้วย
  • ตัวอย่างประโยค: How much does those bananas cost?

5. Blueberry

  • คำอ่าน: บลูแบรี
  • คำแปล: บลูเบอรี
  • ตัวอย่างประโยค: Blueberry cheesecake is my favorite dessert.

6. Blackcurrant

  • คำอ่าน: แบล็คเคอะเรินท
  • คำแปล: แบล็คเคอร์แรนท์
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t like the blackcurrant flavor.

7. Bilimbi

  • คำอ่าน: เบลมบิ
  • คำแปล: ตะลิงปลิง
  • ตัวอย่างประโยค: The bilimbi tease is terrible.

8. Bael fruit

  • คำอ่าน: เบล ฟรุท
  • คำแปล: มะตูม
  • ตัวอย่างประโยค: My mom loves to drink bael fruit juice, it is so tasty.

9. Bilberry

  • คำอ่าน: บิลล เบอรี
  • คำแปล: บิลเบอร์รี
  • ตัวอย่างประโยค: Those bilberries were picked from the garden.

10. Cantaloupe

  • คำอ่าน: แคนทะโลพ
  • คำแปล: แคนตาลูป
  • ตัวอย่างประโยค: I have a piece of cantaloupe .

11. Cherry

  • คำอ่าน: เช๊ะรี
  • คำแปล: เชอรี
  • ตัวอย่างประโยค: We put some cherries on top of the ice cream.

12. Coconut

  • คำอ่าน: โค๊ะโคนัท
  • คำแปล: มะพร้าว
  • ตัวอย่างประโยค: That coconut coffee is yummy.

13. Custard apple

  • คำอ่าน: คัสทาด แอพเพิ้ล
  • คำแปล: น้อยหน่า
  • ตัวอย่างประโยค: The custard apples are very rare.

14. Chestnut

  • คำอ่าน: เชสนัท
  • คำแปล: เกาลัด
  • ตัวอย่างประโยค: I made a cake with roasted chestnuts.

15. Chinese plum

  • คำอ่าน: ไชนีส พลัม
  • คำแปล: บ๊วย
  • ตัวอย่างประโยค: That Chinese plum is a bit sour.

16. Dragon fruit

  • คำอ่าน: แดร๊เกิน ฟรุท
  • คำแปล: แก้วมังกร
  • ตัวอย่างประโยค: I bought some dragon fruits from the Thai market.

17. Date

  • คำอ่าน: เดท
  • คำแปล: อินผลัม
  • ตัวอย่างประโยค: The dates are too sweet.

18. Durian

  • คำอ่าน: ดู๊เรียน
  • คำแปล: ทุเรียน
  • ตัวอย่างประโยค: Durian provides a unique smell.

19. Elderberry

  • คำอ่าน: เอ็ลเดอะแบริ
  • คำแปล: เอลเดอร์เบอร์รี
  • ตัวอย่างประโยค: My father drinks elderberry wine every night.

20. Fig

  • คำอ่าน: ฟิ้ก
  • คำแปล: มะเดื่อ
  • ตัวอย่างประโยค: The dried fig is soft and delicious.

21. Goji Berry

  • คำอ่าน: กอจิแบรรี่
  • คำแปล: โกจิเบอร์รี
  • ตัวอย่างประโยค: Goji Berry has been used as traditional medicine.

22. Grape

  • คำอ่าน: เกรพ
  • คำแปล: องุ่น
  • ตัวอย่างประโยค: The wine is made from sweet grapes.

23. Grapefruit

  • คำอ่าน: เกร๊พฟรูท
  • คำแปล: เกรปฟรุต
  • ตัวอย่างประโยค: The grapefruit is similar to orange.

24. Guava

  • คำอ่าน: กว๊าหวะ
  • คำแปล: ฝรั่ง
  • ตัวอย่างประโยค: Guava has very small seeds.

25. Jackfruit

  • คำอ่าน: แจ็คฟรุท
  • คำแปล: ขนุน
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t know how to eat jackfruit.

26. Jambolan plum

  • คำอ่าน: จัมโบลาน พลัม
  • คำแปล: ลูกหว้า
  • ตัวอย่างประโยค: Jambolan plum can be found in Thailand.

27. Jujube

  • คำอ่าน: จู๊จูบ
  • คำแปล: พุทรา
  • ตัวอย่างประโยค: The dried Jujube is too hard to chew.

28. Kiwi

  • คำอ่าน: คี๊วี
  • คำแปล: กีวี
  • ตัวอย่างประโยค: Baker usually uses sliced kiwi as a cake decoration.

29. Kumquat

  • คำอ่าน: คั๊มคว็อท
  • คำแปล: ส้มจี๊ด
  • ตัวอย่างประโยค: This snack is made from dried kumquat.

30. Longan

  • คำอ่าน: ล๊องเกิน
  • คำแปล: ลำไย
  • ตัวอย่างประโยค: The primary flavor of longan is sweet.

31. Lychee

  • คำอ่าน: ลีชชี
  • คำแปล: ลิ้นจี่
  • ตัวอย่างประโยค: My son is eating lychee pudding.

32. Langsat

  • คำอ่าน: แลงแซท
  • คำแปล: ลางสาด
  • ตัวอย่างประโยค: The langsat is a fruit which can be found in Asia.

33. Mango

  • คำอ่าน: แม๊งโก
  • คำแปล: มะม่วง
  • ตัวอย่างประโยค: Mango sticky rice is the most delicious dessert.

34. Mangosteen

  • คำอ่าน: แมงโกสทีน
  • คำแปล: มังคุด
  • ตัวอย่างประโยค: Mangosteen is a fruit which is mostly found in Sourest Asia.

35. Marian Plum

  • คำอ่าน: แมเรียน พลัม
  • คำแปล: มะปราง
  • ตัวอย่างประโยค: Marian Plum is a tropical fruit.

36. Melon

  • คำอ่าน: เมลลอน
  • คำแปล: เมลอน
  • ตัวอย่างประโยค: Melons which are imported from Japan are expensive.

37. Nectarine

  • คำอ่าน: เน็คเทอะรีน
  • คำแปล: เน็คทารีน
  • ตัวอย่างประโยค: Nectarine is a good source of fiber.

38. Orange

  • คำอ่าน: ออเรนจฺ
  • คำแปล: ส้ม
  • ตัวอย่างประโยค: Here is your breakfast, orange juice and boiled egg.

39. Papaya

  • คำอ่าน: พาพายา
  • คำแปล: มะละกอ
  • ตัวอย่างประโยค: Papaya salad is one of the most popular Thai dishes.

40. Passionfruit

  • คำอ่าน: แพ๊เชิ่นฟรุทฺ
  • คำแปล: เสาวรส
  • ตัวอย่างประโยค: I’m crazy about passion fruit tart.

41. Pomegranate

  • คำอ่าน: พอม’แกรนนิท
  • คำแปล: ทับทิม
  • ตัวอย่างประโยค: Pomegranate is rich in antioxidant compounds.

42. Pomelo

  • คำอ่าน: พะเม๊โล
  • คำแปล: ส้มโอ
  • ตัวอย่างประโยค: I think a pomelo is similar in flavor to grapefruit.

43. Pear

  • คำอ่าน: แพร์
  • คำแปล: ลูกแพร์
  • ตัวอย่างประโยค: The pear is a delicious fruit. I like it so much

44. Plum

  • คำอ่าน: พลัม
  • คำแปล: ลูกพลัม
  • ตัวอย่างประโยค: There are many plums in the basket.

45. Peach

  • คำอ่าน: พีชฺ
  • คำแปล: ลูกพีช
  • ตัวอย่างประโยค: I drink peach tea almost everyday.

46. Pineapple

  • คำอ่าน: ไพ๊แนพเพิล
  • คำแปล: สัปปะรด
  • ตัวอย่างประโยค: My mother is slicing the pineapple.

47. Quince

  • คำอ่าน: ควินซ
  • คำแปล: ลูกควินช์
  • ตัวอย่างประโยค: Can I make juice from Quince?

48. Rambutan

  • คำอ่าน: แร๊มบุเทิน
  • คำแปล: เงาะ
  • ตัวอย่างประโยค: Can I have some Rambutan?

49. Raspberry

  • คำอ่าน: แรสแบรี่
  • คำแปล: ราสเบอร์รี
  • ตัวอย่างประโยค: I spread my toast with raspberry jam.

50. Rose apple

  • คำอ่าน: โรส แอพเพิล
  • คำแปล: ชมพู่
  • ตัวอย่างประโยค: I love eating fresh rose apples.

51. Strawberry

  • คำอ่าน: สตรอแบรี่
  • คำแปล: สตรอว์เบอร์รี
  • ตัวอย่างประโยค: Do you like to have some strawberry shortcake?

52. Star fruit

  • คำอ่าน: สตา ฟรุท
  • คำแปล: มะเฟือง
  • ตัวอย่างประโยค: Star fruit has the shape of a five-point star.

53. Sapodilla

  • คำอ่าน: แซเพอะดิลหล่า
  • คำแปล: ละมุด
  • ตัวอย่างประโยค: Who stole my sapodillas?

54. Star gooseberry

  • คำอ่าน: สตา กูซฺแบรี่
  • คำแปล: มะยม
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t like to eat star gooseberries.

55. Southern langsat

  • คำอ่าน: เซาเทิน แลงเซท
  • คำแปล: ลองกอง
  • ตัวอย่างประโยค: My sister picks Southern langsat from my basket.

56. Snake fruit

  • คำอ่าน: สเน้ค ฟรุท
  • คำแปล: สละ
  • ตัวอย่างประโยค: Do you like snake fruits?

57. Santol

  • คำอ่าน: แซ้นเทิล
  • คำแปล: กระท้อน
  • ตัวอย่างประโยค: I haven’t tried santol before.

58. Sugar palm nut

  • คำอ่าน: ชูก้าร์ ปาลม นัท
  • คำแปล: ลูกตาล
  • ตัวอย่างประโยค: I have tried sugar palm nuts. It is so soft and sweet.

59. Tamarind

  • คำอ่าน: แท็มมะรินด
  • คำแปล: มะขาม
  • ตัวอย่างประโยค: You are not allowed to eat tamarind candy.

60. Watermelon

  • คำอ่าน: ว้อเทอะเมเหลิ่น
  • คำแปล: แตงโม
  • ตัวอย่างประโยค: Can I have a glass of watermelon juice please?
คำศัพท์หมวดผลไม้

คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผัก A-Z

คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผักเองก็มีอยู่มากมายไม่แพ้กัน ตัวอย่างคำศัพท์หมวดผักตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้

1. Asparagus

  • คำอ่าน: แอสพาระกัส 
  • คำแปล: หน่อไม้ฝรั่ง
  • ตัวอย่างประโยค: Stir-fried asparagus with shrimp is my favorite dish.

2. Acacia pennata

  • คำอ่าน: อะเค๊เชอะ เพ็นนะทะ 
  • คำแปล: ชะอม
  • ตัวอย่างประโยค: Acacia pennata is smelly.

3. Angle luffa

  • คำอ่าน: แอ็งเกิล ลู๊ฟะ 
  • คำแปล: บวบเหลี่ยม
  • ตัวอย่างประโยค: Angle luffa is one of my favorite vegetables.

4. Bamboo shoot

  • คำอ่าน: แบ๊มบู ชูท 
  • คำแปล: หน่อไม้
  • ตัวอย่างประโยค: My mother boils sliced bamboo shoots.

5. Baby corn

  • คำอ่าน: เบบี้ คอร์น
  • คำแปล: ข้าวโพดอ่อน
  • ตัวอย่างประโยค: I hope you like the baby corn.

6. Bean

  • คำอ่าน: บีน 
  • คำแปล: ถั่ว
  • ตัวอย่างประโยค: Shall we plant some beans in our garden?

7. Bean sprout

  • คำอ่าน: บีน สเปร๊าท
  • คำแปล: ถั่วงอก
  • ตัวอย่างประโยค: I bought bean sprouts from a Chinese shop.

8. Bell pepper

  • คำอ่าน: เบ็ล เพ็พเพอะ
  • คำแปล: พริกหยวก
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t like to eat bell peppers.

9. Black mushroom

  • คำอ่าน: แบล็ค มั๊ชรูม 
  • คำแปล: เห็ดหอม
  • ตัวอย่างประโยค: The black mushroom soup is so yummy.

10. Bok choy

  • คำอ่าน: บ็อค ชอย 
  • คำแปล: ผักกาดกวางตุ้ง
  • ตัวอย่างประโยค: She is eating stir-fried Bok choy this morning.

11. Bitter cucumber

  • คำอ่าน: บิทเทอะ คิว’คัมเบอะ 
  • คำแปล: มะระ
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t like bitter cucumbers. It tastes too bitter.

12. Broccoli

  • คำอ่าน: บร๊อคเคอะลิ  
  • คำแปล: บรอกโคลี
  • ตัวอย่างประโยค: Broccoli is one of the superfoods.

13. Cabbage

  • คำอ่าน: แค๊บเบจ 
  • คำแปล: กะหล่ำปลี
  • ตัวอย่างประโยค: My mother bought some cabbage from the market.

14. Carrot

  • คำอ่าน: แค๊เริท 
  • คำแปล: แครอท
  • ตัวอย่างประโยค: These carrots are so sweet.

15. Cauliflower

  • คำอ่าน: ค๊อลิเฟลาเวอะ
  • คำแปล: กะหล่ำดอก
  • ตัวอย่างประโยค: I cut cauliflower into chunks.

16. Chilli

  • คำอ่าน: ชิลลิ
  • คำแปล: พริก
  • ตัวอย่างประโยค: The chilli is so spicy.

17. Coriander

  • คำอ่าน: คอริแอ๊นเดอะ
  • คำแปล: ผักชี
  • ตัวอย่างประโยค: Coriander leaves are an excellent source of vitamins.

18. Cucumber

  • คำอ่าน: คิ๊วคัมเบอะ 
  • คำแปล: แตงกวา
  • ตัวอย่างประโยค: My brother don’t like to eat cucumber

19. Cashew nut

  • คำอ่าน: แคชชู นัท
  • คำแปล: เม็ดมะม่วงหิมพานต์
  • ตัวอย่างประโยค: The cashew nut is one ingredient of toffee cake.

20. Celery

  • คำอ่าน: เซลเลอรี
  • คำแปล: ขึ้นฉ่าย
  • ตัวอย่างประโยค: Celery juice is good for your health.

21. Eggplant

  • คำอ่าน: เอ๊กแพลนท 
  • คำแปล: มะเขือม่วง
  • ตัวอย่างประโยค: The grilled eggplant is my favorite dish.

22. Enoki mushroom

  • คำอ่าน: เอ๊ะโนะคิ มั๊ชรูม  
  • คำแปล: เห็ดเข็มทอง
  • ตัวอย่างประโยค: Eating enoki mushroom miso soup during cold weather is really good.

23. Fingerroot

  • คำอ่าน: ฟิ๊งเกอะรูท 
  • คำแปล: กระชาย
  • ตัวอย่างประโยค: Fingerroot has been used in Thai folk medicine.

24. Garlic

  • คำอ่าน: กราลิก
  • คำแปล: กระเทียม
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t like the tease of garlic.

25. Galangal

  • คำอ่าน: กาลังกัล
  • คำแปล: ข่า
  • ตัวอย่างประโยค: You can find galangal in Asian stores.

26. Ginger

  • คำอ่าน: จิ๊นเจอะ 
  • คำแปล: ขิง
  • ตัวอย่างประโยค: My grandfather drinks ginger ale everyday.

27. Green onion

  • คำอ่าน: กรีน เอิ๊นเนียน 
  • คำแปล: ต้นหอม
  • ตัวอย่างประโยค: My mum made green onion dressing.

28. Green bean

  • คำอ่าน: กรีน บีน 
  • คำแปล: ถั่วแขก
  • ตัวอย่างประโยค: I steamed green beans with salt and pepper.

29. Ivy gourd

  • คำอ่าน: ไอ๊วิ กอด 
  • คำแปล: ผักตำลึง
  • ตัวอย่างประโยค: I remove the ivy gourd from the bowl.

30. Kaffir lime

  • คำอ่าน: แค๊ฟเฟอะ ไลม 
  • คำแปล: มะกรูด
  • ตัวอย่างประโยค: The smell of Kaffir lime  is so good.

31. Kale

  • คำอ่าน: เคล
  • คำแปล: ผักเคล

ตัวอย่างประโยค: Kale is rich in nutrients.

32. Lemon

  • คำอ่าน: เล๊ะเมิน
  • คำแปล: มะนาว
  • ตัวอย่างประโยค: Can I have some lemon tea please?

33. Lemongrass

  • คำอ่าน: เล๊ะเมินกราส 
  • คำแปล: ตะไคร้
  • ตัวอย่างประโยค: Lemongrass is often used as a flavoring in Thai food.

34. Lettuce

  • คำอ่าน: เลท’ทิวสฺ 
  • คำแปล: ผักกาดหอม
  • ตัวอย่างประโยค: I am adding  some bacon chips in my lettuce salad.

35. Long bean

  • คำอ่าน: ลองบีน
  • คำแปล: ถั่วฝักยาว
  • ตัวอย่างประโยค: Long beans are usually used in Chinese cuisine.

36. Long eggplant

  • คำอ่าน: ลอง เอ๊กแพลนท 
  • คำแปล: มะเขือยาว
  • ตัวอย่างประโยค: My mother sliced long eggplants and fried them.

37. Mung bean

  • คำอ่าน: มัง บีน 
  • คำแปล: ถั่วเขียว
  • ตัวอย่างประโยค: Vermicelli are made from mung bean flour.

38. Morning glory

  • คำอ่าน: มอนิ่ง กรอรี่
  • คำแปล: ผักบุ้ง
  • ตัวอย่างประโยค: Stir fried Morning glory is so tasty.

39. Okra

  • คำอ่าน: โอ๊คระ 
  • คำแปล: กระเจี๊ยบ
  • ตัวอย่างประโยค: Okra is not one of the most common foods.

40. Onion

  • คำอ่าน: เอิ๊นเนียน 
  • คำแปล: หอมหัวใหญ่
  • ตัวอย่างประโยค: I like to eat crispy fried onions.

41. Oyster mushrooms

  • คำอ่าน: อ๊อยสเตอ มั๊ชรูม 
  • คำแปล: เห็ดนางฟ้า
  • ตัวอย่างประโยค: Oyster mushrooms have a savory flavor.

42. Peanut

  • คำอ่าน: พีนัท
  • คำแปล: ถั่วลิสง
  • ตัวอย่างประโยค: He is spreading peanut butter on toast.

43. Pea eggplant

  • คำอ่าน: พี เอ๊กแพลนท 
  • คำแปล: มะเขือพวง
  • ตัวอย่างประโยค: She doesn’t like to eat pea eggplant.

44. Pepper

  • คำอ่าน: เพ็พเพอะ
  • คำแปล: พริกไทย
  • ตัวอย่างประโยค: Don’t put too much pepper on his soup.

45. Peppermint

  • คำอ่าน: เพ็พเพอะมินท์
  • คำแปล: สะระแหน่
  • ตัวอย่างประโยค: Peppermint ice cream is so yummy.

46. Potato

  • คำอ่าน: พะเท๊โท
  • คำแปล: มันฝรั่ง
  • ตัวอย่างประโยค: I bought mesh potatoes from KFC.

47. Pumpkin

  • คำอ่าน: พั๊มคิน 
  • คำแปล: ฟักทอง
  • ตัวอย่างประโยค: This pumpkin soup is creamy.

48. Radish

  • คำอ่าน: เร้ดดิช
  • คำแปล: หัวไชเท้า
  • ตัวอย่างประโยค: She made chicken soup stock with radish.

49. Red bean

  • คำอ่าน: เร้ดบีน 
  • คำแปล: ถั่วแดง
  • ตัวอย่างประโยค: I will make red bean paste tomorrow.

50. Round eggplant

  • คำอ่าน: ราวนด เอ็กเพล้น 
  • คำแปล: มะเขือเปราะ
  • ตัวอย่างประโยค: Round eggplants are commonly used in Thai cuisine.

51. Seaweed

  • คำอ่าน: ซีหวีด
  • คำแปล: สาหร่าย
  • ตัวอย่างประโยค: Korean seaweed soup is also known as birthday soup.

52. Sesame seed

  • คำอ่าน: เซะซะมิ 
  • คำแปล: งา
  • ตัวอย่างประโยค: Sesame seed is a tiny and oil-rich seed.

53. Shallot

  • คำอ่าน: ชะล๊อท 
  • คำแปล: หอมแดง
  • ตัวอย่างประโยค: Have you eaten shallot?

54. Spinach

  • คำอ่าน:  สปิ๊นิช
  • คำแปล: ผักโขม
  • ตัวอย่างประโยค: Baked spinach with cheese is easy to make.

55. Sweet basil

  • คำอ่าน: สวีท บาซิล 
  • คำแปล: โหระพา
  • ตัวอย่างประโยค: He topped his pasta with fresh sweet basil.

56. Tomato

  • คำอ่าน: ทะเม๊โท 
  • คำแปล: มะเขือเทศ
  • ตัวอย่างประโยค: We need more tomato sauce in this pizza.

57. Water mimosa

  • คำอ่าน: ว๊อเทอะ มิโมซะ 
  • คำแปล: ผักกระเฉด
  • ตัวอย่างประโยค: We cook stir fried water mimosa for dinner.

58. Winged bean

  • คำอ่าน: วิงดึ บีน 
  • คำแปล: ถั่วพู
  • ตัวอย่างประโยค: My mother likes to eat winged beans.

59. White jelly fungus

  • คำอ่าน: ไวทฺ-เจลลิ-ฟังกัซฺ
  • คำแปล: เห็ดหูหนูขาว
  • ตัวอย่างประโยค: White jelly fungus is a popular edible mushroom.

60. Zucchini

  • คำอ่าน: สุคี๊นิ 
  • คำแปล: แตงกว่าญี่ปุ่น
  • ตัวอย่างประโยค: One of our favorite recipes is baked zucchini.

สรุป

การฝึกท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผลไม้และผัก จะช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและจำคำศัพท์ได้มากขึ้น เพราะเป็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว สามารถพบเห็นได้ทุกวัน และเป็นส่วนประกอบของอาหารที่รับประทานเป็นประจำ จึงทำให้เรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว เป็เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

พัฒนา eq

รวม 7 กิจกรรมพัฒนา EQ ทำได้ง่าย ๆ เพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ในเด็ก

ถ้าอยากให้ลูกน้อยได้ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ผู้ปกครองควรเลี้ยงลูกอย่างใส่ใจตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ และช่วงที่อายุยังน้อยเป็นช่วงสำคัญที่จำเป็นต้องใส่ใจในเรื่องของพัฒนาการ จะเป็นการดีที่คุณพ่อกับคุณแม่หาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในวัยเด็กอยู่เสมอ ๆ 

ในบทความนี้ทาง Speak up จะแนะนำว่าการเน้นพัฒนา EQ  หรือก็คือการเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร พร้อมแนะนำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนา EQ ได้เป็นอย่างดีว่ามีอะไรบ้าง

ทำความรู้จักกับ Emotional Quotient (EQ)

อีคิว หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า EQ (Emotional Quotient) แปลว่า  ความฉลาดทางอารมณ์ ที่ควรริเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก โดยส่วนนี้จะเป็นการเพิ่มความสร้างสรรค์และความสุขให้กับลูกได้ แน่นอนว่าหากมีการปลูกฝังที่ดี ก็จะส่งผลต่อการเข้าสังคมในตอนโต ความสามารถในการจัดการอารมณ์และความรู้สึก สามารถเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากตัวเอง และสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตตลอดทั้งชีวิต ดังนั้นการฝึก EQ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

eq กับ iq ต่างกันอย่างไร

อีคิว (EQ) กับ ไอคิว (IQ) ต่างกันอย่างไร?

สิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกของคุณพ่อและคุณแม่ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติหรือราบรื่น จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านต่างๆ ให้กับลูก จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การเข้าสังคมอย่างถูกต้อง และเมื่อประสบพบเจอปัญหาจะสามารถแก้ได้อย่างไร โดยจะเกี่ยวเนื่องกับคำว่า อีคิว (EQ) และ ไอคิว (IQ) ซึ่งมีความแตกต่างดังนี้

  • ไอคิว (IQ) คือระดับเชาวน์ปัญญาที่จะเน้นในเรื่องความคิด ความเป็นเหตุเป็นผล การวิเคราะห์สถานการณ์ รวมถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่าง ๆ จะส่งผลต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับด้านวิชาการได้เป็นอย่างดี ในส่วนตรงนี้นับว่าเป็นศักยภาพของสมองที่มีมาตั้งแต่เกิด สามารถเพิ่มขึ้นได้แต่ไม่มากนัก
  • อีคิว (EQ) คือ ความสามารถรับรู้บรรยากาศโดยรอบเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง และรับรู้ความรู้สึกของคนอื่น นอกจากนี้ก็ยังจะมีการจัดการอารมณ์ของตนเองอย่างเหมาะสม ซึ่งในส่วนนี้ถือว่าพัฒนาได้ตลอดชีวิต แต่แนะนำว่าให้ พัฒนา EQ ตั้งแต่เด็กเพื่อสามารถมีชีวิตที่ดีได้ในอนาคต

องค์ประกอบของอีคิว (EQ) มีอะไรบ้าง?

สำหรับองค์ประกอบของ EQ ที่ทางกรมสุขภาพจิตของไทยได้ให้นิยามไว้ว่าองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ที่จำเป็นจะต้องมีในเด็กที่กำลัง พัฒนา EQ ดังนี้

ด้านดี

ด้านที่ดี คือ สามารถจัดการความรู้สึกของตัวเอง รวมไปถึงการควบคุมได้เป็นอย่างดี สามารถรับรู้ความต้องการของตัวเองได้ สามารถเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่คนอื่นเป็น มีความสัมพันธ์ในรูปแบบเป็นผู้รับและเป็นผู้ให้ ผิดต้องขอโทษ หากโกรธ ต้องรู้จักการให้อภัย

ด้านเก่ง

ด้านที่เก่ง คือ สามารถรู้ตัวตนของตัวเองว่าเป็นอย่างไร เมื่อประสบพบเจอเรื่องราวจะจัดการและจะแก้ปัญหาอย่างไร พร้อมสร้างพลังบวกให้ตัวเองอยู่เสมอ มีเป้าหมายในการทำอะไรบางอย่าง สามารถยอมรับกับความล้มเหลวและพัฒนาต่อไปได้

ด้านสุข

ด้านสุข คือ ด้านที่สามารถดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างเป็นสุข ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับลูกเป็นอย่างมาก ทางที่ดีคือสามารถมีความสุขได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร มีความมั่นอกมั่นใจ มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง พอใจกับชีวิตที่ตัวเองเป็นอยู่ และสามารถหาความสงบทางจิตใจให้กับตนเองได้

ทักษะสำคัญในการสร้างอีคิว

ทักษะสำคัญในการสร้างอีคิว (EQ)

สำหรับการเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ ต้องบอกเลยว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยลูกในวัยเด็กน้อยควรจะเน้นในการ พัฒนา EQ ผ่านการพบเจอสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายใน เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม การเรียนรู้สภาพจิตใจของตนเอง และการเอาชนะตัวเองให้ได้ โดยทักษะที่ควรจะเน้น แบ่งได้เป็น 4 ทักษะดังนี้

1. การจัดการตนเอง

ในการจัดการตนเอง หมายถึงการจัดการควบคุมความรู้สึกนึกคิด รวมไปถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือหุนหันพลันแล่น ในจุดนี้แนะนำว่าให้ลูกของคุณพ่อและคุณแม่เรียนรู้วิธีที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น เมื่อเด็กมีอารมณ์โกรธ ลองฝึกให้เด็ก “ขอเวลานอก” เพื่อให้เด็กได้อยู่กับตัวเองสักพัก และสามารถจัดการกับอารมณ์โกรธได้ด้วยตัวเอง

2. การตระหนักรู้ในตนเอง

ในการตระหนักรู้ในตนเอง ก็คือการเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในลูกของเรา เมื่อเกิดอารมณ์นี้นำไปสู่ความคิดแบบไหน และนำไปสู่พฤติกรรมใด ซึ่งในจุดนี้หากลูกทำความเข้าใจเป็นอย่างดี ก็จะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากอารมณ์ภายใน และได้เรียนรู้เข้าใจตนเองมากยิ่งขึ้น

3. การรับรู้ และมีส่วนร่วมทางสังคม

ถ้าลูกเราสามารถพัฒนา 2 ข้อแรกได้ การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่น้อย หรือก็คือความฉลาดทางอารมณ์ โดยแนะนำเบื้องต้นควรเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกที่คนรอบข้างแสดงออกมา รวมไปถึงความต้องการ หากปรับตรงนี้ได้ดีจะเป็นการต่อยอดในการเข้าสังคมทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น

4. การจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่น

สิ่งที่หล่อเลี้ยงจิตใจได้ดีที่สุดก็คือความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับครอบครัว ญาติมิตร เพื่อน หรือแม้แต่คนรักในอนาคต ถ้ามีการ พัฒนา EQ ที่ดี จะสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่มีอยู่ได้ ช่วยในการสื่อสาร และสามารถส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่นได้

กิจกรรมพัฒนา eq

7 กิจกรรมพัฒนา EQ สำหรับเด็ก ทำได้ง่าย ๆ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นพัฒนา EQ ให้กับลูกอย่างไร Speak Up ขอเสนอ 7 กิจกรรมง่าย ๆ ที่สามารถเลือกหรือนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนา EQ สำหรับเด็กได้

1. เล่นตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์

การเล่นตุ๊กตาหรือเล่นหุ่นยนต์จะช่วยให้ลูกได้ฝึกจิตนาการต่าง ๆ และสามารถรับรู้ความรู้สึกของลูกผ่านการเล่นตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์ ซึ่งจะสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิด พัฒนา EQ  ของลูกได้ ในจุดนี้คุณพ่อกับคุณแม่สามารถสอนให้ลูกเรียนรู้อารมณ์ในแบบต่าง ๆ เพิ่มเติมได้

2. การวาดภาพระบายสี

การวาดภาพระบายสีเป็นการฝึกจินตนาการของลูกแบบไร้ขอบเขต เพราะการวาดภาพหรือระบายสี เป็นสิ่งที่ไม่มีผิดไม่มีถูก ในจุดนี้จะเป็นการพัฒนา EQ ที่ดี เพราะลูก ๆ จะสามารถมีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งตรงหน้า และแน่นอนว่าสามารถเติมเต็มความสนุกได้อีกด้วย

3. ร้องเพลง หรือเต้น

การร้องเพลงหรือการเต้น โดยสามารถเลือกเพลงที่เหมาะสมตามแต่ละวัยได้ เพราะหากลูกได้ร้องเพลงและเต้น จะช่วยในการพัฒนาสมองได้เป็นอย่างมาก โดยเสียงดนตรีจะสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้โดยตรง แถมยังส่งเสริมความกล้าแสดงออกของเด็ก ๆ ได้อีกด้วย

4. อ่านนิทานให้ฟัง

การเล่านิทานนับเป็นอีกหนึ่งอย่างที่จะช่วยในเรื่องของจินตนาการ ผ่านการเล่านิทานของคุณพ่อคุณแม่ที่เน้นความสนุกสนาน ทำให้เด็กมีความสุขและตื่นเต้นกับเรื่อง อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่ และจะทำให้ลูกสามารถปรับตัวในการสร้างความสัมพันธ์ได้ในอนาคต ซึ่งถือว่าเป็น วิธีเพิ่ม EQ ที่ดีมาก ๆ

5. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายบ่อย ๆ จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับลูกได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ออกกำลังกายนั้นจะมีการหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข รวมไปถึงการพัฒนาระบบประสาทให้เป็นไปได้ด้วยดี  เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ลูกจะสามารถคิดวิเคราะห์ และผ่านเรื่องราวเหล่านั้นไปได้ เป็นการฝึก EQ ในชีวิตประจำวันได้

6. การแสดงสวมบทบาท

การแสดงสวมบทบาท นับว่าเป็นวิธีเพิ่ม EQ ที่เด็กจะได้สวมบทบาทเป็นตัวละครต่าง ๆ เพื่อที่จะได้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตัวละครนั้น ๆ ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถสร้างสัมพันธ์อันดี มีความเข้าอกเข้าใจความรู้สึก และการกระทำของบทบาทอื่น ๆ

7. การใช้คำสอนความรู้สึก

การใช้คำสอนความรู้สึกเป็นวิธีเพิ่ม EQ  โดยเป็นการให้ลูกได้เรียนรู้ความรู้สึกของคำต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามแต่ละวัย ถ้ามองก็เหมือนเป็นการเรียนรู้คำและความหมายเหมือนตอนเรียนหนังสือ  แต่ทีนี้จะลงลึกโดยเน้นคำที่เป็นความรู้สึกแทน และลูกจะสามารถเข้าใจได้ว่าคำนี้คือหมายถึงความรู้สึกแบบนี้

กิจกรรมพัฒนา eq

ทำไมความฉลาดทางอารมณ์จึงสำคัญ?

ความฉลาดทางการเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ทุกคนล้วนต้องการให้ลูก ๆ มี เพื่อความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ เมื่อลูกโตขึ้น แต่การมีระดับเชาว์ปัญญา หรือ IQ สูง เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เด็กเติบโตหรือใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ดังนั้น การที่เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ หรือ EQ ที่ดีตั้งแต่ยังเล็กจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

  • ลูกของคุณจะสามารถอยู่กับสังคมภายนอกได้เป็นอย่างดี สามารถปรับเปลี่ยนตามได้อย่างเหมาะสม
  • ลูกสามารถสร้างความสุขได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังสร้างความภาคภูมิใจและความพึงพอใจในตัวเองได้เป็นอย่างดี
  • ลูกจะเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับความสัมพันธ์โดยรอบ สามารถเข้าใจสถานการณ์และเรียนรู้ผิดถูก เมื่อทำผิดก็กล้าที่จะขอโทษและรับผิดชอบการกระทำนั้น
  • ลูกจะกลายเป็นคนที่มีความกล้าในการทำอะไรต่าง ๆ มีความใฝ่รู้ และอยากจะเรียนรู้จากคนอื่น ๆ อยู่เสมอ

สรุป

สำหรับ EQ ซึ่งคือความฉลาดทางอารมณ์ ที่นับเป็นสิ่งที่เด็กควรพัฒนาตั้งแต่ยังเล็กๆ เพื่อที่จะได้รู้จักและเข้าใจตัวเองได้อย่างเต็มที่ สามารถรับรู้สถานการณ์โดยรอบและปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ในการใช้ชีวิตกับการสร้างความสัมพันธ์กับคน ก็จะได้สามารถเข้าใจความต้องการหรือรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ และสำหรับทาง Speak Up เองก็เน้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาอีคิว ให้เหมาะสมตามแต่ละวัยได้

executive function

ทักษะ Execution Function คืออะไร สำคัญมากแค่ไหนกับพัฒนาการของเด็ก

การจะช่วยให้ลูกน้อยในช่วงปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมกับช่วงวัยนั้น จำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะในด้านต่าง ๆ  Executive Function ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มทักษะที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองหลายท่านอาจยังไม่เคยได้ยินชื่อหรือไม่รู้จักเลยก็ตาม

ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ Executive Functionหรือทักษะ EF ว่าคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และมีความสำคัญหรือมีข้อดีอย่างไร พร้อมบอกวิธีในการพัฒนาทักษะเหล่านี้ตั้งแต่ในช่วงปฐมวัยอีกด้วย

executive function คือ

ทำความรู้จัก Execution Function (EF) ทักษะพัฒนาสมอง

Executive Functions หรือทักษะ ​EF คือ ทักษะการคิด และการบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การพลิกแพลง การใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือการเชื่อมข้อมูลจากความทรงจำในช่วงเวลาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ตลอดจนการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง จึงถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากกับคนทุกวัย ทั้งในด้านการเรียนรู้ การทำงาน และการเข้าสังคม โดยทักษะ ​EF จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองส่วนหน้า (PFC: Prefrontal Cortex)

องค์ประกอบของ Execution Function

องค์ประกอบทั้งหมดของ Executive Function จะมีด้วยกันทั้งหมด 9 ด้าน โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มทักษะ ดังนี้

ทักษะพื้นฐาน

ทักษะพื้นฐานของ EF จะมุ่งเน้นไปที่ทักษะที่เกี่ยวข้องกับความคิดโดยตรง ได้แก่

  • Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน)
    คือ ความสามารถในการเก็บและประมวลผลข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ในอดีต และนำมาใช้เมื่อพบเจอสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกันในปัจจุบัน
  • Inhibitory Control (การยั้งคิดไตร่ตรอง)
    คือ ความสามารถในการหยุดคิดก่อนลงมือทำหรือการพูด รวมถึง ความสามารถในการควบคุมความต้องการ โดยพิจารณาจากประสบการณ์
  • Shifting หรือ ​Cognitive Flexibility (ความยืดหยุ่นความคิด)
    คือ ความสามารถในการปรับใช้ประสบการณ์ในอดีตเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ เช่น การแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน การพลิกแพลง หรือการปรับตัว ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ

ทักษะกำกับตนเอง

ทักษะกำกับตัวเองของ EF จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการจัดการตนเอง หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แก่

  • Focus หรือ Attention (จดจ่อ ใส่ใจ)
    คือ ความสามารถในการจดจ่อและให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยไม่วอกแวกในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือการทำงานให้เสร็จทีละอย่าง นั่นเอง
  • Emotional Control (ควบคุมอารมณ์)
    คือ ความสามารถในการควบคุม การจัดการ และการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม เช่น ไม่หงุดหงิดง่ายจนเกินไป ไม่ฉุนเฉียวใส่ผู้อื่น
  • Self-Monitoring (การติดตามประเมินตนเอง)
    คือ ความสามารถในการประเมินหรือรู้ทันจุดที่บกพร่องของตนเอง เพื่อนำมาแก้ไขและปรับปรุง

ทักษะปฏิบัติ

ทักษะปฏิบัติของ EF จะมุ่งเน้นไปที่ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการลงมือทำจริง ได้แก่

  • Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ)
    คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ หลังผ่านกระบวนการคิดและการพิจารณามาแล้ว เช่น การลงมือทำงานทันทีโดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
  • Planning and Organizing (วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ)
    คือ ความสามารถในการมองภาพรวม และจัดสำดับความสำคัญของสิ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้
  • Goal – Directed Persistence (มุ่งเป้าหมาย)
    คือ ความพยายามที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน การฝ่าฟันอุปสรรค ตลอดจนการลุกขึ้นสู้กับปัญหาอีกครั้งหลังจากล้มเหลว เป็นต้น
executive function ความสำคัญ

Execution Function มีความสำคัญอย่างไร

Executive Function มีความสำคัญกับวัยเด็กด้านการเรียนและการใช้ชีวิต เพราะเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจดจำเนื้อหา และการจดจ่อต่อบทเรียน รวมถึงการปรับตัวเมื่อต้องเจอกับกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ และการยับยั้งชั่งใจในการทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น การทดลองใช้สารเสพติด การแสดงท่าทางก้าวร้าว เป็นต้น

เริ่มฝึก Execution Function ช่วงอายุไหนดี

การมีทักษะ Executive Function ที่ดีนั้นเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงและจากการรวบรวมประสบการณ์ที่หลากหลาย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่ายิ่งเริ่มฝึกทักษะ EF ไวเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยในการทำงานของสมองมากขึ้น จึงควรเริ่มฝึกตั้งแต่ในช่วงปฐมวัยหรืออายุ 3-6 ปี

กิจกรรม ส่งเสริม execution function

5 กิจกรรม ส่งเสริม Execution Function

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการเสริมสร้างทักษะ Executive Function ให้กับลูกน้อยของตัวเอง สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น

ปล่อยให้ลูกเล่นตามอิสระ

การปล่อยให้ลูกเล่นตามอิสระ ถือเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยในการส่งเสริมทักษะที่เกี่ยวข้องกับการคิด การพิจารณา และการจัดการได้ เพราะการเล่นเป็นกิจกรรมที่จะทำให้ลูกน้อยได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้จากการลงมือทำ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูก คอยดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ไม่เข้าไปก้าวก่ายกับการเล่นของลูกน้อย

วาดภาพ ระบายสี

ศิลปะถือเป็นอีกสิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกให้ลูกทำกิจกรรมวาดภาพและระบายสี เพราะนอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ลูกน้อยได้ใช้ความคิดและจินตนาการอย่างเต็มที่แล้ว การจับดินสอสีมาขีดเขียนเป็นเส้นหรือลวดลายก็จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้

ฝึกให้ลูกทำงานบ้าน

การฝึกให้ลูกช่วยทำงานบ้านง่าย ๆ ถือเป็นอีกวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะ EF และยังช่วยสร้างระเบียบวินัยให้กับลูกน้อยได้อีกด้วย โดยหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ของเด็กคือจากการเลียนแบบ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่างให้กับลูกด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจเลือกให้ลูกทำงานบ้านง่ายๆ เช่น 

  • การให้ลูกเก็บของใช้ของตัวเองให้เป็นที่หรือเป็นระเบียบ เช่น การเก็บแปรงสีฟัน การเก็บเสื้อผ้าเข้าที่ การเก็บของเล่นใส่กล่องหลังจากที่เล่นแล้ว เป็นต้น
  • การช่วยงานบ้านอื่น ๆ เช่น การยกจานข้าวที่กินเรียบร้อยแล้วไปใส่ในอ่างล้างจาน การเช็ดเศษอาหารที่เลอะบนโต๊ะอาหาร เป็นต้น

อ่านนิทานให้ลูกฟังบ่อย ๆ

การอ่านนิทานให้ลูกฟัง การพูดคุยเกี่ยวกับภาพประกอบของนิทาน หรือการตั้งคำถามกับเนื้อเรื่อง ถือเป็นอีกวิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะ EF เช่น ความสามารถในการจดจ่อกับเรื่องที่เล่า ความยืดหยุ่นทางความคิด  เป็นต้น นอกจากนี้ กิจกรรมนี้ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้นอีกด้วย

เล่น Role Play

การเล่น Role Play หรือการเล่นตามบทบาทสมมติ เป็นกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างจินตนาการ ทักษะทางด้านภาษา และทักษะการสื่อสาร นอกจากนี้ ยังช่วยให้สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดต่างๆ ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางอีกด้วย เช่น

  • การแสดงบทบาทสมมติเป็นอาชีพ เช่น ครู หมอ พยาบาล เป็นต้น
  • การแสดงบทบาทสมมติเป็นสัตว์ เช่น กระต่าย แมว เต่า เป็นต้น
ข้อดี executive function

4 ข้อดี หากลูกมีทักษะ Execution Function

การฝึกให้ลูกน้อยมีทักษะ Executive Function จะมีประโยชน์มากมาย เช่น

เรียนหนังสือได้เก่ง

การเรียนหนังสือให้เก่งและมีผลการเรียนที่ดีนั้น ประกอบด้วยทักษะหลาย ๆ อย่าง เช่น การจดจำเนื้อหาที่เรียน การมีสมาธิในการจดจ่อกับเรื่องที่เรียน ตลอดจนการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ครบถ้วน และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นการฝึกทักษะ ​EF ในด้านต่าง ๆ จะช่วยสนับสนุนในการเรียนของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

มีพฤติกรรมที่ดี

การฝึกทักษะ ​EF จะช่วยให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดี เพราะรู้ว่าควรจัดการกับอารมณ์อย่างไรและควรแสดงออกแบบไหนให้เหมาะสม ตลอดจนการยับยั้งชั่งใจเมื่อถูกชักชวนให้ทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อย่างการใช้สารเสพติดหรือการขโมยของ

นอกจากนี้การฝึกทักษะ EF ยังช่วยให้สามารถตัดสินใจได้เฉียบขาด กำหนดเป้าหมายและวางแผน และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี จึงช่วยเสริมให้มีลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดีอีกด้วย

มีสุขภาพดี

เมื่อทักษะ ​EF ช่วยให้สามารถตัดสินใจและวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จะทำให้ลูกน้อยสามารถเลือกวิธีการดูแลตัวเองได้เหมาะสม เช่น อาหารที่ควรกินหรือควรหลีกเลี่ยง การออกกำลังกาย หรือการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นโทษแก่ร่างกาย เช่น สารเสพติด บุหรี่ และแอลกออฮอล์ นอกจากนี้ทักษะ EF ยังช่วยให้สามารถจัดการกับความเครียดหรือปัญหาได้เป็นอย่างดี จึงช่วยให้มีสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย

ไม่เป็นสมาธิสั้น

เนื่องจากการฝึกทักษะ ​EF จะช่วยการทำงานของสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจดจ่อกับสิ่งต่างๆ หรือการยับยั้งชั่งใจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงทักษะในการบริหารจัดการตนเอง จึงเป็นอีกวิธีที่แพทย์นิยมใช้เพื่อรักษาหรือบำบัดเด็กกลุ่มที่มีโรคสมาธิสั้น (ADHD: Attention Deficit Hyperactivity Disorder) ที่มักมีอาการไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถเก็บรายละเอียด หรือขาดความรับผิดชอบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุป

ทักษะ EF หรือ Executive Function คือทักษะการจัดการและการบริหารสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองส่วนหน้า สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มทักษะใหญ่ คือ ทักษะพื้นฐาน ทักษะกำกับตัวเอง และทักษะปฏิบัติ การพัฒนาทักษะ EF จะช่วยส่งเสริมทั้งด้านการเรียนและการเข้าสังคมของเด็กปฐมวัยได้ โดยควรเริ่มพัฒนาทักษะเหล่านี้ตั้งแต่ช่วงวัย 3-6 ปี ซึ่งเหมาะที่จะให้เรียนภาษาอย่างยิ่ง ที่ Speak Up ก็มีคอร์สเรียนภาษาสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ ยิ่งเรียนรู้ไว ยิ่งพัฒนาองค์ความรู้ให้ลูกเก่งได้ไว

ไฮสโคป

การสอนแบบ High Scope (ไฮสโคป) การเรียนรู้ที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย

การสอนหนังสือให้กับเด็กนักเรียนนั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการเน้นเจาะจงไปที่วิชาการ เน้นการประดิษฐ์ทดลอง แต่การเรียนรู้ที่เหมาะสมนั้นควรส่งเสริมให้เด็กนักเรียนเกิดพัฒนาการทั้งในด้านของอารมณ์ องค์ความรู้ และด้านสังคม ซึ่งการสอนแบบไฮสโคปมีลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมด โดยหลักสูตรไฮสโคปนี้จะเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตนเองอย่างอิสระ 

บทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับการเรียนรู้แบบไฮสโคปที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคนี้ว่ามีที่มา มีหลักการและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางประกอบการเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนการเรียนให้กับเด็ก ๆ

มาทำความรู้จัก High Scope (ไฮสโคป) การเรียนรู้ผ่านการเล่น

ไฮสโคปเป็นรูปแบบการสอนรูปแบบหนึ่งที่มีต้นแบบมาจากสหรัฐอเมริกา มีหลักสูตรแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจต์ เป็นการสอนโดยใช้หลักการสร้างความรู้จากการกระทำผสมผสานกับองค์ความรู้ที่วางแผนไว้ เน้นให้เด็กนักเรียนลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองอย่างอิสระ 

ซึ่งกิจกรรมที่ทำนั้น เป็นสิ่งที่เด็กนักเรียนเลือกมานำเสนอให้กับคุณครู จากนั้นคุณครูก็จะออกแบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ประกอบกับการจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ให้เหมาะสม เพื่อให้เด็กเลือกเรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กได้ฝึกการคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาเป็นระบบได้ด้วยดี

3 หัวใจสำคัญของ High Scope (ไฮสโคป) วงล้อการเรียนรู้จากการลงมือทำ

การเรียนรู้แบบไฮสโคปมีวงล้อขับเคลื่อนการเรียนรู้หลักๆ อยู่ 3 วงล้อ ได้แก่ การวางแผน การลงมือปฏิบัติและการทบทวน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

การวางแผน (Plan)

ในขั้นนี้จะเป็นการวางแผนร่วมกันระหว่างครูและนักเรียนถึงแนวทางการเรียนรู้ว่าจะจัดการดำเนินกิจกรรมออกมาในรูปแบบใด มีวิธีการเรียนรู้อย่างไร การวางแผนเช่นนี้จะทำให้นักเรียนสนใจในกิจกรรมที่จัดมากขึ้นเพราะตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งในการออกความคิดเห็น ซึ่งจะส่งผลให้เด็กนักเรียนเป็นคนกล้าตัดสินใจ กล้าเสนอความคิดและส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองอีกด้วย

การลงมือปฏิบัติ (Do)

วงล้อการเรียนรู้แบบไฮสโคปอันต่อมาคือการลงมือปฏิบัติตามแบบแผนที่กำหนดร่วมกันไว้ในขั้นแรก นักเรียนจะต้องทำกิจกรรมโดยใช้วิธีการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างอิสระเสรีเพื่อให้กิจกรรมสำเร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ 

โดยครูผู้สอนสามารถช่วยให้คำแนะนำประกอบได้ตามความเหมาะสม ซึ่งในขั้นตอนนี้จะส่งเสริมให้เด็กนักเรียนฝึกการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น พร้อมทั้งฝึกใช้ความคิด ฝึกทักษะการสื่อสาร

การทบทวน (Review)

วงล้อของไฮสโคปอันสุดท้ายคือการทบทวน โดยจะเป็นการทบทวนดูว่าผลลัพธ์ที่ปรากฏออกมาให้เห็นนั้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ หากไม่เป็นไปตามความต้องการแล้ว เด็กนักเรียนจะมีวิธีการวางแผนใหม่อย่างไร ในขั้นตอนนี้จะเป็นการฝึกการสังเกต ฝึกกระบวนการคิดที่เป็นระบบ ทั้งยังฝึกการถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ที่ได้ลงมือทำให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจอีกด้วย

จุดเด่นของการสอนแบบ High Scope
(ไฮสโคป)

การเรียนรู้แบบไฮสโคปนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบอยู่หลายองค์ประกอบ เพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยบทความนี้จะนำเสนอองค์ประกอบที่เป็นจุดเด่นของการสอนแบบไฮสโคป 7 องค์ประกอบ ดังนี้

1. การมีเด็กเป็นศูนย์กลาง

จุดเด่นแรกของการสอนแบบไฮสโคปคือการมีเด็กเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนรู้ กล่าวง่ายๆ คือแบบเรียนและกิจกรรมที่ทำจะต้องอิงจากเด็กนักเรียน โดยเป็นการปรึกษากันว่าตัวของนักเรียนมีความสนใจใคร่รู้ในเรื่องใดบ้าง ต้องการที่จะทำสิ่งใดบ้าง เพื่อที่ว่าเด็กจะได้มีสมาธิและมีความใจจดใจจ่อกับสิ่งที่ตนเองอยากจะทำจริง ๆ

2. พื้นที่และเวลาที่เพียงพอ

จุดเด่นต่อมาของไฮสโคปคือมีพื้นที่และเวลาที่เพียงพอเหมาะสมกับการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นการแบ่งเวลาสำหรับการเล่นและการเรียนรู้ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม โดยการมีพื้นที่ที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมให้เด็กนักเรียนเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากมีพื้นที่ที่น้อยเกินไป เด็กทุกคนอาจจะเรียนรู้ได้ไม่ทั่วถึงกัน ส่งผลให้เด็กวอกแวก ไม่โฟกัสกับสิ่งที่ทำอยู่ นอกจากนั้นการควบคุมเวลาให้พอดี จะช่วยให้เด็กนักเรียนเรียนรู้ที่จะแบ่งเวลาเป็นและพยายามรักษาเวลาอีกด้วย

3. สื่อและอุปกรณ์เหมาะสม

สื่อและอุปกรณ์ที่เหมาะสม หลากหลาย และมีจำนวนเพียงพอจะช่วยสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กนักเรียน เนื่องจากว่าเด็กจะสามารถเลือกสื่อและอุปกรณ์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและทำกิจกรรมได้อย่างอิสระ อีกทั้งยังต้องผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ที่จะเลือกสรรอุปกรณ์ให้เหมาะสมเพื่อให้กิจกรรมที่ทำประสบความสำเร็จนั่นเอง

4. การจัดเก็บของ

การเรียนรู้แบบไฮสโคปจะมีการจัดของที่เป็นระบบระเบียบ เพื่อง่ายต่อการเลือกใช้งานในครั้งต่อไป โดยของที่อยู่ในหมวดหมู่ประเภทเดียวกันจะจัดให้อยู่ใกล้ ๆ กัน การทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็กรู้จักแยกประเภทของสิ่งของ จดจำว่าสิ่งใดควรเก็บไว้ตรงไหนบ้าง และที่สำคัญที่สุดคือการฝึกให้เด็กรู้ว่าเมื่อใช้ของสิ่งใดเสร็จแล้ว ต้องจัดเก็บสิ่งของให้เข้าที่เข้าทางเสมอ

5. ประสาทสัมผัสทั้ง 5

การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้จะช่วยให้เด็กนักเรียนเป็นคนรู้จักช่างสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบกาย ส่งเสริมให้เกิดความสงสัย ใฝ่รู้ และนำไปสู่การลองผิดลองถูกด้วยตนเอง ซึ่งจะสั่งสมเป็นประสบการณ์ให้เด็กต่อไป

6. การบอกเล่าจากเด็ก

การบอกเล่าจากเด็กนั้นถือเป็นการสะท้อนการสอนที่ดี การสอนแบบไฮสโคปจึงเน้นฟังประสบการณ์ที่นักเรียนเป็นคนพบเจอจากการที่ได้ลงมือทำอย่างอิสระ ซึ่งเด็กจะได้ฝึกการถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจ ฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง และหากผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เด็กนักเรียนก็จะเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้นด้วย

7. การได้รับความสนับสนุนจากผู้ใหญ่

ไฮสโคปต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่เนื่องจากการเรียนรู้จะต้องมีอุปกรณ์ สื่อ พื่นที่ที่เหมาะสมและเพียงพอ ดังนั้นการที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ก็จะช่วยให้การเรียนรู้แบบไฮสโคปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

โดยนอกเหนือจากการเตรียมของที่ต้องใช้ในการเรียนแล้ว การเปิดใจรับฟังเสียงสะท้อนของเด็กและการให้กำลังใจก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใหญ่ควรทำ เพราะหากสายสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนดี บรรยากาศในห้องเรียนก็จะดีตามไปด้วย

ประโยชน์ของการสอนแบบ High Scope
(ไฮสโคป) ที่ได้มากกว่าการเรียนรู้

การสอนแบบไฮสโคปที่เน้นการลงมือทำอย่างอิสระของเด็กนักเรียนนั้นส่งผลให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

  • เด็กให้ความสนใจกับการเรียนมากกว่าปกติ เพราะตนเองมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้และกิจกรรมที่ทำ
  • การสอนแบบไฮสโคปจะช่วยส่งเสริมทักษะต่างๆ ให้กับเด็กนักเรียน เช่น ทักษะการคิดเป็นระบบ ทักษะการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหา ทักษะการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ เป็นต้น
  • เด็กนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นทั้งเพื่อนหรือคุณครู เนื่องจากต้องสื่อสารและพยายามช่วยกันทำกิจกรรมให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
  • เด็กนักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ในระยะยาว

สรุป

การเรียนรู้แบบไฮสโคปเป็นการเสริมพัฒนาการให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมเพราะว่าแกนหลักของหลักสูตรคือการให้เด็กนั้นวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับคุณครูว่าต้องการให้การเรียนนั้นเป็นอย่างไร มีกิจกรรมอะไรที่เด็กต้องการจะทำบ้าง ซึ่งเด็กก็จะมีจิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่คุณครูสอนเนื่องจากเป็นสิ่งที่นักเรียนตัดสินใจเลือกเอง 

โดยการสอนแบบไฮสโคปไม่ได้พัฒนาแค่ด้านสมองเท่านั้น แต่ยังพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจด้วย เพราะตัวเด็กนักเรียนต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา 

ทาง Speak Up Language Center ก็ใช้วิธีการสอนที่อิงมาจากการสอนแบบไฮสโคป โดย Speak Up นั้นเป็นสถาบันสอนภาษาที่มีการใช้สื่อและอุปกรณ์ เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสมอง ควบคู่ไปกับการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้มีความสนุกสนาน หลากหลาย ไม่จำเจ ซึ่งจะทำให้เด็กนักเรียนมีความอยากเรียนรู้อยู่ตลอด ดังนั้นแล้วหากผู้ปกครองท่านใดสนใจเทคนิคไฮสโคปที่นำมาเสนอ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ เผื่อจะนำไปปรับใช้ในการสอนลูกได้เช่นกัน

เกมฝึก coding

รวมเกมฝึก Coding เสริมสร้างกระบวนการคิดสำหรับเด็ก

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ทักษะและสิ่งที่เด็กๆ ต้องเรียนรู้ก็เปลี่ยนแปลงตาม ปัจจุบันนี้ coding ถือเป็นทักษะ และเทรนด์การเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตอย่างมาก หลายคนอาจจะคิดว่าทักษะ coding เป็นเรื่องที่ห่างไกลจากตัวเด็กและเหมาะกับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วการปลูกฝังทักษะ coding ถือเป็นการฝึกให้เด็กมีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เพราะการเรียนรู้ด้าน coding ไม่ได้ยากเกินความสามารถของเหล่าตัวเล็กเลย 

ในบทความนี้ได้รวบรวมเกมและกิจกรรมที่ช่วยฝึก coding มาไว้ให้คุณพ่อและคุณแม่ได้ร่วมฝึกทักษะดังกล่าวไปพร้อมกันกับลูกๆ กิจกรรมที่นำมาฝากจะมีอะไรบ้างและมีวิธีการเล่นอย่างไร ไปติดตามกันได้เลย 

coding คืออะไร

Coding คืออะไร?

Coding คือทักษะในการคิดและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ หากปัญหาเป็นมวลพลังงานหนึ่งก้อน ด้วยทักษะดังกล่าวนี้ จะเป็นการที่พยายามแยกส่วนประกอบและถอดปัญหาออกเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ เพื่อให้เห็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา แน่นอนว่าการที่มีทักษะ Coding ติดตัวนี้ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการวางแผน ทักษะในการเข้าใจเรื่องตรรกะ หรือแม้แต่การต่อยอดอย่างการเขียนโปรแกรม ที่หากมีทักษะนี้ในปัจจุบันก็สามารถใช้เป็นหนึ่งในทักษะแห่งอนาคตได้ด้วย

เกมฝึก Coding คืออะไร?

เกมฝึก Coding นั้นไม่ได้จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเล่นกิจกรรมแต่อย่างใด เพราะการฝึกโค้ดดิ้ง นั้นมุ่งเน้นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้ฝึกแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ การใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์หรือการคิดเชิงคำนวณ เพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพและเข้าใจแนวคิดของการ Coding มากยิ่งขึ้น

แนะนำ 9 เกมฝึก Coding สำหรับเด็ก

และแล้วก็มาถึงเนื้อหาที่จะพาผู้ปกครองทุกคนมารู้จักกับ 9 เกมฝึก Coding สำหรับเด็ก โดยกิจกรรมเหล่านี้เหมาะอย่างมากสำหรับเด็กที่มีอายุช่วงอนุบาลไปจนถึงประถม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กเล็กเรียนรู้วิธีการจัดการกับปัญหาอย่างเป็นระบบระเบียบและหัดคิดนอกกรอบ พร้อมที่จะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ มีเหตุผลในการใช้ชีวิต และมองโลกในมิติที่น่าสนใจยิ่งขึ้น ถ้าอยากรู้แล้วว่า 9 เกมฝึกทักษะ Coding ที่นำมาฝากนั้นมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันได้ ดังนี้

เกมฝึกโค้ดดิ้ง

1. สร้างรูปนกฮูกตามแบบ

ตัวเกมจะให้กระดาษที่มีรูปต้นแบบของนกฮูก พร้อมกับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของนกฮูกแบบแยกส่วน เพื่อให้เด็กๆ ได้นำมาประกอบกันเป็นนกฮูกตามต้นแบบที่มีไว้ให้ สิ่งนี้เป็นการฝึกให้เด็กได้เจอกับปัญหาเบื้องต้นด้วยตัวเอง และมีอิสระในการตัดสินใจเลือกประกอบชิ้นส่วนของนกฮูก เพื่อให้ผลลัพธ์มีความเหมือนกับนกฮูกตัวต้นแบบตามที่โจทย์ได้ให้มา จัดเป็นเกมฝึกทักษะ Coding ที่เล่นได้ง่าย และตรงตามวัตถุประสงค์ของการฝึกทักษะ Coding ได้อย่างดีทีเดียว

โค้ดดิ้ง เด็ก

2. ปริศนาลับสมอง

ปริศนาลับสมองเป็นเกมที่จะทิ้งปริศนาไว้ให้กับผู้เล่น โดยที่ภายในเกมมีคำใบ้หรือตัวช่วยอยู่ภายในโจทย์ หากผู้เล่นสามารถสังเกตหรือเข้าใจกลไกของเกมได้ ก็จะทำให้สามารถแก้ไขปริศนาที่มีได้อย่างง่ายดาย ตัวเกมยังคงเน้นการใช้ความคิด วิเคราะห์ และแยกแยะปัญหาออกเป็นก้อนเล็ก ๆ เพื่อไขปริศนาของตัวเกม ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในรูปแบบความคิดที่สำคัญอย่างมากสำหรับ Programmer

coding สำหรับเด็ก

3. ฝึกลำดับเรื่อง

การฝึกให้เด็ก ๆ ได้จินตนาการ เป็นหนึ่งในแนวทางของเกมฝึกลำดับเรื่องนี้เอง ตัวเกมจะให้โจทย์ผู้เล่นทำการเรียงลำดับเรื่องจากชิ้นส่วนเนื้อหาแต่ละตอน ซึ่งอาจจะมีภาพประกอบด้วยหรือไม่ก็ได้ เด็กๆ จะต้องพยายามปะติดปะต่อเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อประกอบแต่ละตอนได้แล้วจะต้องเป็นเนื้อหาเรื่องราวทั้งหมดเป็นเหตุเป็นผล และอ่านรู้เรื่อง 

นี่เป็นการฝึกให้เด็กตัวน้อยได้เรียนรู้ความสำคัญของการจัดลำดับก่อนและหลัง รวมถึงการใช้ความคิดเพื่อวิเคราะห์แต่ละตอนด้วยเหตุผล และตรรกะที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการฝึก Coding

เรียน coding สำหรับเด็ก

4. ต่อเลโก้

เรียกได้ว่าเป็นเกมสุดคลาสสิก ที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวกับการต่อเลโก้ ที่ไม่ได้เพียงแค่ฝึกจินตนาการในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จากอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่นี่เป็นเกมฝึก Coding ที่ทำให้ผู้เล่นได้เข้าใจ และเห็นภาพรวมของการ coding ไม่มากก็น้อย เพราะหากเทียบกับการเขียนโปรแกรมแล้ว นี่ก็เป็นเหมือนการใส่ข้อมูลทีละเล็กทีละน้อย เพื่อให้เกิดเป็นโปรแกรมตามที่ผู้ Code ต้องการนั่นเอง

ทักษะโค้ดดิ้ง

5. สร้างบล็อก

ต่อเนื่องกับการฝึกการมองภาพรวมและการคิดอย่างเป็นระบบด้วยเกมฝึก Coding ที่ผู้ปกครองทุกคนคุ้นเคยกัน อย่างเกมสร้างบล็อกที่เป็นการให้ลูกได้ลองสร้างสรรค์ และต่อบล็อกที่ตัวเองต้องการสร้างทีละบล็อก 

เกมนี้นอกจากจะเน้นทักษะในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นรากฐานของทักษะ Coding แล้ว ยังเป็นเกมที่มุ่งเน้นการฝึกความอดทนและใจเย็นในระหว่างที่ทำกิจกรรมอีกด้วย ถือเป็นเกมที่ฝึกสมาธิให้กับเด็กตัวจิ๋วได้ดีทีเดียว

ฝึกทักษะโค้ดดิ้ง

6. ตามล่าสมบัติ

เกมถัดมาคือเกมตามล่าสมบัติ ที่จะให้น้อง ๆ ได้สวมบทบาทเป็นโจรสลัดออกผจญภัย และเจอกับคำใบ้ปริศนาที่ขณะเล่นจะได้เรียนรู้หลักการอัลกอริทึมผ่านบัตรคำสั่งต่าง ๆ ที่จะได้พบระหว่างการเดินทาง เมื่อเปิดเจอชุดคำสั่ง ผู้เล่นจะต้องทำภารกิจให้สำเร็จ ในกรณีที่เจอกับบัตรคำสั่งที่ให้ทายสมบัติที่คาดว่าจะอยู่ปลายทาง จะต้องคาดคะเนความเป็นไปได้ของสิ่งของที่กำลังไล่ล่าว่าคืออะไรให้ใกล้เคียงมากที่สุด ด้วยความสนุก และความตื่นเต้นระหว่างการเล่นเกมตามล่าสมบัติ ทำให้นี่เป็นเกมฝึก Coding ที่มีความนิยม และเด็ก ๆ ชื่นชอบอย่างมาก

เกมโค้ดดิ้ง

7. บัตรคำสั่ง

เกมนี้เป็นการปูรากฐานเกี่ยวกับเรื่องการสร้างอัลกอริทึมให้กับเด็กได้แบบที่ไม่รู้ตัว โดยกติกาในการเล่นจะมีตารางขนาดใหญ่หนึ่งตาราง ซึ่งในแต่ละตารางจะมีบัตรคำสั่งอยู่ หากเด็ก ๆ หยิบได้คำสั่งอะไรก็จะต้องทำภารกิจตามหน้าบัตรให้สำเร็จ แนวคิดที่ผู้เล่นจะได้รับคือแนวคิดพื้นฐานของวิทยาการคำนวณ อย่างการแยกส่วนประกอบของปัญหา หรือที่เรียกว่า Decomposition นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ระบบของอัลกอริทึมด้วยไปในตัวอีกด้วย

coding เด็ก

8. พิชิตเขาวงกต

เกมพิชิตเขาวงกตนี้เป็นเกมที่มีรูปแบบการเล่นที่หลากหลาย และสามารถเพิ่มความยากง่ายได้ตามความเหมาะสม สำหรับระดับพื้นฐานจะเป็นการให้เด็ก ๆ ได้เข้าไปในสถานที่หนึ่งและวางสิ่งของเพื่อสร้างอุปสรรคในการหาทางออก นี่จัดได้ว่าเป็นการปลูกฝังวิธีการคิดแบบนัก Programmer ที่ต้องใช้หลักตรรกะ และการทดลองเพื่อสร้างโปรแกรมใหม่ๆ ที่มีความเหนือชั้นอยู่เสมอ

หากระดับพื้นฐานง่ายเกินไปและตัวเกมจบเร็วกว่าที่คาดคิดไว้ ต้องการเพิ่มความท้าทายในการพิชิตเขาวงกต ผู้ปกครองก็สามารถเพิ่มกติกาในการเล่น โดยเพิ่มผู้เล่นในเกมนี้ให้เป็น 2 คน โดยแต่ละคนจะมีบทบาทและวิธีการเล่นที่แตกต่างกัน คนหนึ่งเป็นคอมพิวเตอร์และอีกคนเป็นโปรแกรมเมอร์ คนที่ได้รับบาทเป็นคอมพิวเตอร์จะต้องเดินเข้าไปในเขาวงกต พร้อมผ้าปิดตา ตัวช่วยเดียวที่จะทำให้เขาออกมาจากเขาวงกตได้คือ การฟังคำพูดของโปรแกรมเมอร์ในการบอกทิศทาง ถือเป็นเกมที่สร้างได้ทั้งความสนุกระหว่างเล่นและปลูกฝังแนวคิดในการฝึก Coding ไปในตัว

coding เด็ก

9. คณิตศาสตร์และการคำนวณ

ตามที่หลายคนรู้ดีว่าการ Coding นั้นใช้พื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และการคำนวณพื้นฐาน ผู้ปกครองจึงสามารถนำชุดตัวเลขพื้นฐานหรือสมการที่ถอดได้ไม่ยากไปประยุกต์กับตัวเกมได้ เพื่อให้ผู้เล่นได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของวิชาคณิตศาสตร์และวิธีในการคำนวณได้อีกด้วย

เกมฝึก Coding สำคัญแค่ไหน

การที่ให้เด็กได้ฝึกทักษะ Coding เป็นการปูพื้นฐานและทำให้เด็กได้รู้จักกับการ Coding ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่คนยุคใหม่จำเป็นต้องรู้ อีกทั้งการที่เด็กได้ซึมซับแนวคิดของการ Coding ก็จะยิ่งทำให้มีกระบวนการทางความคิดที่เป็นระบบระเบียบ กล้าคิดนอกกรอบ กล้าทดลอง และที่สำคัญคือส่งเสริมการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ได้

สำหรับผู้ปกครองที่สนใจและอยากให้ลูกๆ ได้ฝึกทักษะ Coding ที่ Speak Up Language Center เองก็มีการเรียนการสอน Coding ผ่านสื่อและรูปแบบของเกม กิจกรรมที่จะทำให้ลูกของคุณได้สนุก พร้อมกับเรียนรู้ Coding สำหรับเด็กไปด้วย

สรุป

Coding ไม่ได้ถูกจำกัดไว้แค่เพียงผู้ใหญ่เท่านั้น แต่เด็ก ๆ ก็สามารถเริ่มเรียนรู้และเข้าใจคอนเซปต์ของการ Coding ได้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะหลักของการ Coding คือการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และฝึกให้เด็ก ๆ ได้คิดเชิงตรรกะมากยิ่งขึ้น โดยการฝึกทักษะ Coding นั้นไม่ได้จำเป็นจะต้องเริ่มเรียนรู้กันผ่านคอมพิวเตอร์เท่านั้น เพราะเด็กเล็กควรเริ่มเรียนรู้จากเกมหรือรูปแบบของกิจกรรมที่ช่วยฝึกวิธีการคิดแบบ Coding เสียก่อน 

โดยแต่ละเกมที่ได้แนะนำไปนั้น ล้วนเป็นเกมที่มีจุดประสงค์ในการสร้างแนวคิดแบบ Coding ทั้งหมด เน้นหนักไปที่การแก้ไขปัญหาที่ต้องแยกแยะประเด็นย่อยออกมา เพื่อให้พบกับสาเหตุที่แท้จริง และจึงค่อยแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปทีละจุด ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เกมฝึก Coding เป็นรูปแบบกิจกรรมที่กำลังมาแรงในหมู่ของเด็กเล็ก สำหรับผู้ปกครองที่เห็นความสำคัญของกระบวนการคิดและเส้นทางในการเติบโตของลูก ๆ ในอนาคตที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง 

ฝึกพูดภาษาจีน

มัดรวม 5 เทคนิคฝึกพูดภาษาจีน ให้เด็กใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

“ภาษาจีน” เป็นอีกหนึ่งภาษาที่สำคัญไม่แพ้ภาษาอังกฤษ และยังเป็นภาษาที่ 3 ที่หลาย ๆ คนเลือกเรียนกัน เพราะในปัจจุบัน ภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียน หรือการทำงานก็เริ่มมีภาษาจีนเข้ามาให้พบเห็นอยู่เสมอ จึงทำให้ผู้ที่สามารถสื่อสารภาษาจีนได้ หรือมีทักษะภาษาจีนในด้านอื่น ๆ ก็จะส่งผลให้มีโอกาส หรือได้เปรียบทั้งในเรื่องของการเรียน และการทำงานมากกว่าคนอื่น นอกจากนั้นยังสามารถนำไปต่อยอดในด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งการเรียนภาษาจีน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพูดภาษาจีน ฟัง อ่าน หรือเขียนตั้งแต่ยังเด็กจะได้ผลดีกว่าการเริ่มเรียนตอนโต เพราะเด็กเล็กสามารถจดจำได้เร็ว และจำได้แม่นยำ แต่ว่าการเรียนด้วยวิธีทั่วไปนั้นอาจจะได้ผลไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น ทาง Speak Up จึงมีเทคนิคการพูดภาษาจีนมาฝาก เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถฝึกพูดภาษาจีนได้ทุกวัน และสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยจะมีเทคนิคอะไรบ้าง ตามไปดูกันได้เลย

เทคนิคการพูดภาษาจีน

1. พูด-ท่องศัพท์-หัดเขียน

การพูด ท่องศัพท์ และหัดเขียนภาษาจีนเป็นเทคนิคการพูดภาษาจีนที่ผู้ปกครองสามารถเริ่มต้นทำได้ทันที และเป็นเทคนิคพื้นฐานที่จะช่วยให้เด็ก ๆ คุ้นชินกับภาษาจีนและสามารถฝึกพูดภาษาจีนได้ง่ายขึ้น โดยเทคนิคนี้จะเริ่มจากการที่ผู้ปกครองเรียกสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวด้วยภาษาจีน ไม่ว่าจะเป็นดินสอ ปากกา สมุด หนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ หรือเตียง เพื่อให้เด็ก ๆ เริ่มทำความรู้จักว่าสิ่งเหล่านั้นฝึกพูดเป็นภาษาจีนในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง และเมื่อเด็ก ๆ เริ่มคุ้นชินแล้ว ก็ค่อยพูดถึงสถานที่ต่าง ๆ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว โรงเรียน หรือสนามเด็กเล่น เป็นต้น รวมถึงกิจวัตรประจำวันที่เด็กๆ ทำเป็นประจำ เช่น แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว กินข้าว หรือเรียนหนังสือ เป็นต้น 

และเมื่อเด็ก ๆ เริ่มคุ้นกับการเรียกสิ่งของ สถานที่ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยภาษาจีนแล้ว ก็ค่อยให้เด็ก ๆ เริ่มท่องศัพท์เหล่านั้น โดยผู้ปกครองอาจจะชี้ไปที่สิ่งของนั้น ๆ พูดคำภาษาไทย หรือเป็นแฟลชการ์ดรูปภาพ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ทายคำศัพท์ แถมยังเป็นการฝึกพูดภาษาจีน และการจดจำศัพท์ให้แม่นยำไปในเวลาเดียวกันอีกด้วย 

หลังจากที่เด็ก ๆ สามารถฝึกพูดภาษาจีน และจดจำคำศัพท์ต่าง ๆ ได้แล้ว ผู้ปกครองก็ค่อยเริ่มให้เด็ก ๆ หัดเขียนคำศัพท์ โดยเริ่มจากคำที่มีตัวอักษรภาษาจีนที่เขียนง่าย เพราะถ้าหากเด็ก ๆ เริ่มเขียนคำที่ยาก หรือมีความซับซ้อน อาจทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่ามันยาก หรือเขียนไม่ได้ จนรู้สึกว่าไม่อยากทำ และหมดกำลังใจที่จะฝึกพูดภาษาจีนได้

ฝึกภาษาจีน

2. ทำแฟลชการ์ดรูปภาพ

การทำแฟลชการ์ดรูปภาพ เป็นเทคนิคการฝึกพูดภาษาจีนที่นำรูปภาพมาช่วยดึงดูดความสนใจของเด็ก ๆ และยังเป็นตัวช่วยเสริมที่จะทำให้เด็ก ๆ จดจำศัพท์ได้รวดเร็วขึ้น และแม่นยำมากขึ้น เพราะว่าเด็ก ๆ นั้นสามารถจดจำคำศัพท์ที่เป็นรูปภาพได้ดีกว่า โดยวิธีการทำแฟลชการ์ดนั้นจะใช้กระดาษแข็งมาตัดเป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส หลังจากนั้นจึงนำรูปของคำศัพท์ต่างๆ ที่ต้องการจะให้เด็ก ๆ จำมาติดไว้ด้านใดด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งของแฟลชการ์ดนั้นก็จะเขียนเป็นคำศัพท์ และคำแปลของรูปนั้นๆ ลงไป หรือว่าจะพรินต์รูปภาพสิ่งของต่างๆ ลงในกระดาษ และนำมาตัดแบ่งทีละรูป แล้วจึงค่อยเขียนคำศัพท์ และคำแปลลงไปก็ได้เช่นกัน 

โดยวิธีการฝึกพูดภาษาจีนด้วยแฟลชการ์ดภาพนั้นนอกจากจะช่วยให้เด็กๆ เพลิดเพลินไปกับการเรียนภาษาจีน และจดจำคำศัพท์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำแล้ว ยังสามารถนำไปเป็นของเล่น เพื่อให้เด็ก ๆ ได้นำไปเล่นกับเพื่อนได้ แถมยังช่วยให้เด็กๆ สนุกสนาน และเพิ่มความจำได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

หัดพูดภาษาจีน

3. ร้องเพลงภาษาจีนสำหรับเด็ก

การร้องเพลงภาษาจีนสำหรับเด็ก เป็นเทคนิคการฝึกพูดภาษาจีนที่นำเสียงเพลงมาช่วยให้เด็กๆ มีความสนุกสนานกับการฝึกพูดภาษาจีนมากขึ้น เพราะว่าการให้เด็กๆ ร้องเพลง และฟังเพลงภาษาจีนสำหรับเด็กนั้นจะช่วยให้เด็กๆ มีทักษะในการพูด และทักษะในการฟังที่ดีขึ้น ซึ่งทักษาในการฟังก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญในการเรียนภาษาจีน เพราะว่าการฟังภาษาจีนให้ทัน และแปลให้ออกนั้นก็เป็นอีกสิ่งสำคัญในการฝึกพูดภาษาจีน แต่ว่าจะให้เด็กๆ ไปฟังคนจีนพูดตั้งแต่เริ่มฝึกพูดก็คงจะไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะว่าคนจีนมักจะพูดเร็ว และเด็กๆ อาจจะฟังไม่ทัน หรือจับใจความไม่ได้ จนทำให้แปลไม่ออก หรือกลัวที่จะเรียนภาษาจีน ดังนั้น การให้เด็กๆ เริ่มฝึกจากการฟังเพลง และร้องเพลงจีนสำหรับเด็กแบบง่ายๆ ก็จะช่วยให้เด็กๆ คุ้นชินกับจังหวะการพูดมากขึ้น ถึงแม้ว่าเด็กๆ จะไม่สามารถฟังได้ทัน หรือแปลออกได้ในช่วงแรก แต่ก็จะช่วยให้เด็กๆ ซึบซับทั้งคำศัพท์ วิธีการพูด และการแยกแยะคำต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น

4. พาเด็กลงสนามจริง ฝึกสนทนากันคนจีน

หลังจากที่เด็กๆ ได้ฝึกพูดภาษาจีน และฝึกทักษะอื่นๆ ด้วยเทคนิคการฝึกพูดภาษาจีนตั้งแต่เทคนิคที่ 1 จนถึงเทคนิคที่ 3 แล้ว ก็จะช่วยให้เด็กๆ มีความคุ้นชินกับภาษาจีนในระดับหนึ่ง ดังนั้น เทคนิคต่อไปที่จะช่วยให้การพูดภาษาจีนของเด็กๆ นั้นดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด นั่นก็คือ การให้เด็กๆ ได้ฝึกสนทนากับคนจีน เพราะการฝึกภาษาที่ดีที่สุดก็คือการนำมาใช้จริง หรือได้พูดคุยสนทนาจริงๆ นอกจากนั้นการฝึกพูดภาษาจีนด้วยเทคนิคนี้ยังช่วยให้เด็ก ๆ มีความกล้าที่จะพูดคุย และกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ผู้ปกครองต้องให้กำลังใจเด็กๆ อยู่เสมอว่าไม่ต้องกลัวว่าจะพูดถูก หรือผิด เพราะเด็กๆ บางคนกลัวว่าพูดผิดแล้วจะมีคนล้อนั่นเอง

ถ้าหากเด็ก ๆ พร้อมที่จะฝึกสนทนากับคนจีนแล้ว ก็ควรจะเรียนรู้ประโยคแนะนำตัวพื้นฐาน เพื่อที่จะนำไปใช้ในสถานการณ์จริง รวมถึงผู้ปกครองที่จะต้องหาสถานที่ที่มีคนจีน เพื่อพาเด็ก ๆ ไปลงสนามจริง

ประโยคแนะนำตัวพื้นฐานง่าย ๆ

การฝึกพูดภาษาจีนด้วยประโยคแนะนำตัวพื้นฐาน เป็นการเริ่มต้นให้เด็กๆ ได้ฝึกพูดเป็นประโยคแบบง่าย ๆ ที่สามารถจำได้ง่าย พูดง่าย และสามารถนำไปใช้ได้จริง แต่สิ่งที่สำคัญในการพูดเป็นประโยค คือ ผู้ปกครองควรให้เด็กๆ ฝึกพูดบ่อย ๆ เพื่อให้คุ้นชิน และสามารถพูดได้คล่องปาก โดยตัวอย่างประโยคแนะนำตัวพื้นฐานที่เด็ก ๆ ควรฝึกพูดไว้ มีดังนี้

  • 你好!我 叫 ….. nǐ hǎo wǒ jiào ….. (หนีห่าว หว่อ เจี้ยว …..) แปลว่า สวัสดี ฉันชื่อ …..
  • 我 ….. 岁了 Wǒ …. suìle (หว่อ …. ซุ่ย เลอะ) แปลว่า ฉันอายุ …. ปี
  • 我是泰国人 Wǒ shì tàiguó rén (หว่อ ชื่อ ไท่กั๋ว เหริน) แปลว่า ฉันเป็นคนไทย
  • 我会说汉语 Wǒ huì shuō Hànyǔ (หว่อ ฮุ่ย ชัว ฮ่านหยู่) แปลว่า ฉันพูดภาษาจีนได้
  • 认识你很高兴!Rènshí nǐ hěn gāoxìng (เริ่นชื่อ หนี่ เหิ่น เกาซิ่ง) แปลว่า ยินดีที่ได้รู้จัก
ตัวช่วยฝึกภาษาจีน

5. หาตัวช่วยฝึกภาษาจีน

การหาตัวช่วยฝึกภาษาจีน เช่น เรียนคอร์สฝึกพูดภาษาจีน ที่เป็นเทคนิคการฝึกพูดภาษาจีนที่ผู้ปกครองหลายๆ คนเลือกใช้ เพราะว่าเป็นเทคนิคที่สามารถเห็นพัฒนาการ และทักษะภาษาจีนของเด็กๆ ได้ชัดเจน โดยในปัจจุบันนั้นมีคอร์สเรียนภาษาจีนให้เลือกอย่างหลากหลาย และเป็นคอร์สที่สามารถช่วยพัฒนาทักษะในการสื่อสารภาษาจีนของเด็ก ๆ ได้อย่างก้าวกระโดด และถ้าหากเรียนคอร์สฝึกพูดภาษาจีนตั้งแต่ยังเด็ก ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ ได้มากยิ่งขึ้น และถ้าหากผู้ปกครองคนไหนกำลังมองหาคอร์สเรียนภาษาจีนสำหรับเด็ก ที่ Speak Up รับสอนเด็กๆ ที่มีอายุตั้งแต่ 2.5 ปี ถึง 12 ปี ด้วยการประยุกต์ใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) และทำการสอนโดยคุณครูมืออาชีพที่มีประสบการณ์ และเทคนิคในการสอนภาษาเด็กเล็ก ที่พร้อมจะช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ภาษาจีนอย่างสนุกสนาน และสามารถนำไปใช้ได้จริง

สรุป

การฝึกพูดภาษาจีน หรือการฝึกทักษะภาษาจีนด้านอื่นๆ นั้นสามารถส่งผลให้ตัวของเด็กๆ ได้รับโอกาสทั้งด้านการเรียน และด้านการทำงานมากกว่าคนอื่นๆ เพราะว่าในปัจจุบันนั้นคนเริ่มหันมาใช้ภาษาจีนกันเยอะมากขึ้น และประเทศไทยนั้นก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีน จึงทำให้ผู้ที่พูดภาษาจีนได้ก็จะได้เปรียบมากกว่าคนอื่นๆ และถ้าหากเด็กๆ ได้ฝึกพูดภาษาจีนตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะทำให้สามารถจดจำได้อย่างแม่นยำ และพูดได้คล่องแคล่วกว่า ดังนั้น ภาษาจีนจึงเป็นอีกตัวเลือกทางด้านภาษาที่เด็กๆ เรียนไว้ก็จะดีกับตัวของเด็ก ๆ เองเป็นอย่างมาก

แฟลชการ์ด ภาษาจีน

เทคนิค "แฟลชการ์ดภาษาจีน" ไอเทมช่วยฝึกภาษา ท่องง่าย ได้ผลจริง

แฟลชการ์ดภาษาจีนเป็นหนึ่งเทคนิคในการฝึกภาษาจีนที่ทำให้ท่องจำได้เร็วและได้ผลอย่างดีเยี่ยม  ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในนักเรียนหรือผู้ที่กำลังศึกษาภาษาจีนอยู่ 

วันนี้ SpeakUp มีวิธีในการทำแฟลชการ์ดมาฝากกันในบทความนี้ สำหรับใครที่กำลังเรียนภาษาจีนหรือเริ่มสนใจจะเรียนภาษาจีนด้วยตนเอง การมีคลังคำศัพท์เป็นความรู้ไว้มาก ๆ ย่อมเป็นประโยชน์ในอนาคต 

แล้วแฟลชการ์ดคืออะไร? บางคนอาจจะเคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่าจริง ๆ มันคืออะไร แฟลชการ์ดจะช่วยฝึกท่องจำศัพท์ได้อย่างไร? ในบทความนี้ SpeakUp จะมาช่วยตอบคำถามคลายข้อสงสัยให้เอง นอกจากนี้ SpeakUp จะสอนวิธีการทำแฟลชการ์ดภาษาจีนให้ในบทความอีกด้วย

แฟลชการ์ด คือ

แฟลชการ์ด (Flash Card) คืออะไร?

แฟลชการ์ดหรือการ์ดคำศัพท์ เป็นอุปกรณ์ช่วยจำ มีลักษณะเป็นแผ่น ๆ เหมือนการ์ด บนแผ่นจะมีคำศัพท์เขียนเอาไว้ ซึ่งเป็น 1 ในเทคนิคที่ช่วยในการท่องจำคำศัพท์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เป็นที่นิยมกันมากในต่างประเทศ

ไม่ได้มีแค่การนำมาใช้ท่องจำคำศัพท์จากภาษาต่าง ๆ แต่แฟลชการ์ดยังสามารถนำมาใช้ท่องจำวิชาอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น สูตรเคมี หรือวันเดือนปีสำคัญทางประวัติศาสตร์
เป็นเทคนิคท่องจำที่สะดวก สามารถพกพาในกระเป๋าเล็ก ๆ ไปด้วยได้ มีความท้าทายในการทดสอบคำศัพท์ ต่างจากการท่องจำแบบเดิม ๆ อย่างชีทคำศัพท์หรือหนังสือที่มีคำศัพท์มากกว่า 50 คำใน 1 หน้า แค่เห็นก็ตาลายแล้ว หลายคนยังพูดเกี่ยวกับการใช้แฟลชการ์ดอีกว่า นอกจากจะช่วยทำให้จำคำศัพท์ได้มากขึ้นแล้ว ยังทำให้รู้สึกสนุกไปกับการท่องคำศัพท์อีกด้วย

จำศัพท์ภาษาจีนด้วยแฟลชการ์ดดีกว่าการท่องจำทั่วไปยังไง

โดยปกติแล้วการท่องจำคำศัพท์เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลา ความสม่ำเสมอ และความพยายามเป็นอย่างมากอยู่แล้ว กว่าจะจำคำศัพท์ให้ได้หลายคำ ซึ่งหากไม่มีเทคนิคหรือตัวกระตุ้นในการช่วยเสริมความจำ ก็จะยิ่งต้องพยายามอีกหลายเท่าตัว

ผู้ที่เพิ่งเริ่มเรียนหรือกำลังเรียนภาษาจีนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ภาษาจีนนั้นมีตัวอักษรที่จำได้ยากกว่าภาษาอื่นมาก ด้วยตัวอักษรที่มีความซับซ้อนเป็นเอกลักษณ์ของภาษาจีน ดังนั้นจึงต้องมีตัวช่วยในการฝึกภาษาจีน ช่วยจำคำศัพท์ โดยเทคนิคก็มีมากมาย ตามที่แต่ละคนถนัด

ซึ่งแฟลชการ์ดภาษาจีนก็เป็นวิธีที่เป็นที่นิยมและได้ผลดี เพราะมีลูกเล่นที่สามารถช่วยฝึกไหวพริบและช่วยกระตุ้นความจำได้ดี ในบางทียังสามารถนำไปประยุกต์เป็นเกมทายคำไว้เล่นกับเพื่อนได้ด้วย ทั้งสนุก ทั้งได้จำคำศัพท์มากขึ้นไปในตัว

หลักการของแฟลชการ์ดคือการท่องจำย้ำๆ ซึ่งการเห็นคำศัพท์บ่อยๆ สมองก็จะกระตุ้นให้จำคำศัพท์ได้ในระยะยาว ต่างจากการท่องจำศัพท์เดิมๆ ที่อาจทำให้จำได้แค่ในระยะสั้น ผ่านไปสักระยะก็จะลืมได้

ทำแฟลชการ์ดภาษาจีนง่าย ๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์

แฟลชการ์ดภาษาจีนนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งก็มีหลากหลายวิธีด้วยกัน มีทั้งการทำแบบกระดาษและแบบดิจิทัล โดยในส่วนนี้ทาง Speak Up ได้นำวิธีการทำแฟลชการ์ดภาษาจีนทั้ง 2 แบบ มาให้ลองทำกันง่าย ๆ

ทำแฟลชการ์ดภาษาจีนแบบกระดาษ

ที่พูดได้ว่าง่ายนั้น เพราะว่ามีแค่เพียง 4 ขั้นตอน แถมขั้นตอนนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน ทำเสร็จก็เริ่มท่องศัพท์ได้ทันใจ โดนขั้นตอนจะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ก่อนอื่นเรามาทราบอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องเตรียมก่อนเริ่มทำกันก่อนทำแฟลชการ์ดภาษาจีนกันเถอะ

  • กรรไกรตัดกระดาษ
  • กระดาษ ซึ่งควรเป็นกระดาษทึบ ไม่บางเกินไป กระดาษที่ควรนำมาใช้ เช่น กระดาษอาร์ต กระดาษปอนด์ กระดาษเหนียว หรือ Kraft paper กระดาษลูกฟูก กระดาษกล่อง กระดาษพีวีซี
  • ปากกา ดินสอ สำหรับเขียนคำศัพท์
  • หนังยาง หรือห่วงวงกลม (กรณีทำแฟลชการ์ดแบบห่วง)

หลังจากนั้นมาเริ่มขั้นตอนสำหรับทำแฟลชการ์ดภาษาจีนแสนง่ายด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. แบ่งกลุ่มคำศัพท์ที่ต้องการท่องจำออกเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งตามระดับความจำ เพื่อให้คำศัพท์ที่ง่ายและยากคละกันไป เลือกใช้คำศัพท์ที่พบบ่อย ๆ ใช้ได้บ่อย หรือเลือกประโยคที่ต้องการพร้อมคำแปล
  2. ตัดกระดาษให้เท่า ๆ กัน ซึ่งหากใช้กระดาษขนาด A4 ให้แบ่งออกเป็น 8 แผ่น หรือ 16 แผ่น เท่ากัน ๆ ควรเลือกกระดาษที่ไม่บางจนเกินไป ให้ใช้กระดาษทึบหน่อย เพื่อไม่ให้มองเห็นทะลุไปด้านหลังที่เป็นความหมายของคำศัพท์
  3. เขียนคำศัพท์หรือประโยคภาษาจีนที่เตรียมเอาไว้ลงด้านใดด้านหนึ่ง แล้วนำความหมายไว้อีกด้านหรือจะทำเป็นแบบรูปภาพก็ได้
  4. นำกระดาษคำศัพท์ทั้งหมดมารวมกัน แล้วแบ่งกลุ่มตามคำศัพท์ที่จัดเอาไว้ แล้วมัดแผ่นแฟลชการ์ดรวมเข้าด้วยกันด้วยหนังยาง หรือทำให้แข็งแรงขึ้นหน่อยด้วยการเจาะรูที่กระดาษแล้วเอาห่วงมาร้อย เลือกทำตามความชอบได้เลย

บางคนอาจจะรู้สึกว่าแฟลชการ์ดภาษาจีนมีวิธีการทำที่ยุ่งยากหรือไม่มีเวลาทำ ก็สามารถหาซื้อแแฟลชการ์ดสำเร็จรูปได้ที่ร้านเครื่องเขียนทั่วไปได้ จริง ๆ แล้วแฟลชการ์ด ถ้าเป็นในต่างประเทศจะมีแฟลชการ์ดแบบสำเร็จรูปขายอยู่มากมาย ตามร้านเครื่องเขียนหรือร้านสะดวกซื้อบางที่ก็มีขายเช่นกัน ซึ่งหลัง ๆ ก็เริ่มมีแฟลชการ์ดสำเร็จรูปมาขายในไทยแล้ว

ทำแฟลชการ์ดภาษาจีนบน Application

นอกจากแฟลชการ์ดภาษาจีนทำมือแล้ว แฟลชการ์ดภาษาจีนยังสามารถทำบนแอฟพลิเคชันได้อีกด้วย เพื่อให้เข้ากับปัจจุบันที่เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างก้าวหน้าและเข้ามามีบทบาททางการศึกษามากขึ้นด้วย รวมถึงในการทำยังใช้อุปกรณ์อย่างเดียวคือโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเลต

เพียงแค่โหลดแอปพลิเคชันเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแอปพลิเคชันที่สามารถทำแฟลชการ์ดได้ ทาง Speak Up เองมีมาแนะนำให้ทั้งหมด 3 แอปพลิเคชัน

1. Quizlet

แอปพลิเคชันที่เน้นคำศัพท์และความหมาย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในการทำแฟลชการ์ด เพราะเป็นแอปที่ใช้งานง่าย สามารถโหลดเข้าโทรศัพท์เอาไว้ท่องศัพท์ตอนไหนก็ได้ สะดวกรวดเร็วในการทำการ์ดคำศัพท์ภาษาจีน ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android 

โดยวิธีเริ่มต้นในการสร้างแฟลชการ์ดภาษาจีนนั้นก็ง่ายมาก ตามขั้นตอนดังนี้

  • ลงทะเบียนหรือสมัครใช้งาน
  • กดที่ Create เพื่อสร้างชุดของแบบทดสอบ
  • ใส่คำศัพท์กับความหมายภาษาจีนที่ต้องการท่องจำ
  • เมื่อใส่เนื้อหาเสร็จแล้ว ในแอปจะสามารถเลือกรูปแบบในการทดสอบได้ ให้กดไปที่แฟลชการ์ด เป็นอันเสร็จสิ้น

2. Canvas

แอปพลิเคชันที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเทมเพลต (Template) สำเร็จรูปที่มีให้เลือกมากมาย ใช้งานง่าย เลือกปรับแต่งได้หลากหลาย รวมถึงมีเทมเพลตสำหรับทำแฟลชการ์ดที่สามารถเลือกตกแต่งได้ตามใจชอบ ให้แฟลชการ์ดภาษาจีนของเราออกมาดูมีชีวิตชีวามากขึ้นได้ด้วย
ขั้นตอนในการสร้างแฟลชการ์ดบน Canvas นั้นก็แสนง่ายตามขั้นตอนนี้เลย

  • ลงทะเบียนหรือสมัครใช้งาน
  • กดช่องค้นหาเทมเพลตสำหรับทำแฟลชการ์ด แล้วเลือกแบบที่ชอบ
  • ใส่เนื้อหาหรือใส่รูปภาพที่ต้องการท่องจำคำศัพท์
  • ดาวน์โหลด แล้วสั่งพิมพ์

3. Goodnote

แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีนักศึกษาใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นแอปที่มีไว้เพื่อใช้ในการจดบันทึกหรือทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลายๆ คนอาจจะไม่ทราบว่าในแอปมีฟังก์ชันสำหรับทำแฟลชการ์ดอยู่ด้วยเช่นกัน และมีให้ดาวน์โหลดในระบบ iOS แต่ในระบบ Android ยังอยู่ในช่วงพัฒนาอยู่

ขั้นตอนนั้นง่ายมาก ยิ่งใครที่ใช้แอปนี้เป็นประจำอยู่แล้ว รับรองว่าทำตามกันได้แบบชิล ๆ ตามนี้

  • กดสร้างสมุดโน้ตเล่มใหม่ แล้วเลือกเทมเพลตไปที่ Standard หรือ A7 (iPhone)
  • เลือกตรงช่อง “แบบพื้นฐาน หรือ Essentials” เลื่อนไปให้สุดจะเจอคำว่าแฟลชการ์ด
  • กระดาษจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนบนกับส่วนล่าง ส่วนบนจะเอาไว้ใส่คำศัพท์ ส่วนล่างไว้ใส่ความหมาย
  • สามารถทดสอบคำศัพท์โดยกด 3 จุดที่มุมขวาบน เลื่อนแถบลงมาจะเจอคำว่า “เรียนด้วยแฟลชการ์ด หรือ Study Flashcard” แล้วแอปจะสุ่มคำศัพท์ขึ้นมาให้ทดสอบ
ทำ flash cards ภาษาจีน

แนะนำคำศัพท์/ประโยคภาษาจีนที่พบได้บ่อย

คำศัพท์ภาษาจีนมีมากมายและยากทั้งนั้น สำหรับผู้เริ่มต้นควรเริ่มจากอะไรดีล่ะ? หากเด็กกำลังเริ่มต้นเรียนภาษษาจีน ควรเริ่มจากคำศัพท์และประโยคที่ได้ใช้และพบเจอได้บ่อย โดยทาง SpeakUp มีตัวอย่างคำศัพท์และประโยคภาษาจีนที่พบได้บ่อยมาแนะนำ เพื่อจะได้ลองนำไปใช้กับแฟลชการ์ดคำศัพท์ภาษาจีนของคุณได้ ดังนี้

  • 早 zǎo สวัสดี (ตอนเช้า)
  • 你好 nĭhăo สวัสดี
  • 好久不见 hǎojiǔ bújiàn ไม่เจอกันนานเลย
  • 吃饭了吗 chīfàn le ma กินข้าวยัง
  • 最近怎么样 zuìjìn zěnme yàng ช่วงนี้เป็นไงบ้าง
  • 我们走吧 wǒmen zǒu ba พวกเราไปกันเถอะ
  • 再见 zàijiàn ลาก่อน

และนี่เป็นเพียงตัวอย่างคำหรือประโยคที่พบได้บ่อยในภาษาจีน ซึ่งยังมีอีกหลายคำ หลายประโยคเอาไว้ฝึกภาษาจีน สามารถอ่านคำศัพท์หรือประโยคภาษาจีนเพิ่มเติมได้อีกที่บทความ 33 ประโยคภาษาจีนให้ลูกฝึกเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน รู้ไว้ได้ใช้แน่นอน

เริ่มทดสอบความจำ

เมื่อเราได้สร้างแฟลชการ์ดภาษาจีนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงเวลานำแฟลชการ์ดมาท่องจำคำศัพท์ ทดสอบความรู้คำศัพท์ภาษาจีน ซึ่งหากต้องการสมาธิก็สามารถท่องคนเดียวได้หรือว่าท่องคนเดียวมันเหงา เริ่มรู้สึกเบื่อขึ้นมา ก็ชวนเพื่อนๆ มาเล่นเกมทายคำศัพท์จากแฟลชการ์ดก็ได้ สลับกันทายกับเพื่อนก็ทำให้รู้สึกสนุกไปอีกแบบ และช่วยให้จำได้มากขึ้นอีกด้วย โดยอาจจะปรับแฟลชการ์ดให้เรียงลำดับการท่องจำจากคำศัพท์ที่ไม่ค่อยได้เจอไว้อันแรกๆ เพื่อให้เจอบ่อยๆ จะได้จำได้มากขึ้น

เพิ่ม-ลดคำศัพท์

ในการท่องจำคำศัพท์ภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพ จะต้องเพิ่มคำศัพท์ลงแฟลชการ์ดทุกวัน เพื่อให้มีคลังคำศัพท์มากขึ้น ไมไ่ด้มีเพียงแค่คำที่ง่ายหรือคำที่รู้อยู่แล้ว และควรตั้งเป้าหมายจำนวนคำศัพท์หรือประโยคให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5-8 คำหรือประโยค และคำศัพท์บนแฟลชการ์ดใบไหนที่เราจำได้แม่นแล้ว ก็สามารถแยกออกไปเก็บไว้ต่างหากได้

ท่องเป็นประจำทุกวัน

สิ่งสำคัญนอกจากเทคนิคหรืออุปกรณ์ช่วยท่องจำแล้ว นั่นคือความสม่ำเสมอ การมีวินัยในตนเอง และความพยายามในการท่องจำ ทั้งคำศัพท์และรูปประโยค ควรท่องซ้ำ ๆ จนกว่าจะมั่นใจว่าจำได้แล้ว ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพียง 15-30 นาทีต่อวัน หรือกำหนดเป็นช่วงเวลา เช่น ท่องตอนตื่นนอน 10 คำหรือท่องก่อนนอนให้จำได้แล้วถึงจะนอน เป็นต้น 

สามารถจัดสรรเวลาในการฝึกภาษาจีนที่สะดวกได้เลย เพราะหากในวันรุ่งขึ้นมีสอบ การใช้แฟลชการ์ดท่องจำคำศัพท์ภายในคืนเดียวนั้นก็คงจะช่วยได้ไม่มากนัก การเริ่มต้นตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้ความกดดันน้อยลง และทำให้มีเวลามากขึ้นในการทำความเข้าใจคำศัพท์หรือประโยคต่าง ๆ ได้ดี

สรุป

แฟลชการ์ดเป็นเทคนิคในการช่วยจำคำศัพท์ที่เป็นที่นิยม เพราะการท่องจำด้วยแฟลชการ์ดนั้นจะส่งผลดีในระยะยาวจากการท่องคำศัพท์ซ้ำ ๆ  ซึ่งแม้ว่าจะมีเทคนิคในการช่วยจำแล้ว การมีวินัยนั้นก็สำคัญ ยิ่งถ้ากำลังจะเริ่มเรียนภาษาจีนหรือกำลังเรียนภาษาจีน การจำคำศัพท์ให้ได้มากที่สุดนั้นจะส่งผลดีเป็นอย่างมากในการเรียนภาษา 

สำหรับเด็กเล็กที่ผู้ปกครองต้องการให้ลูกเริ่มเรียนภาษาจีน การใช้แฟลชการ์ดภาษาจีนนั้นจะช่วยให้ลูกนั้นสนุกไปกับการท่องจำคำศัพท์ได้เป็นอย่างดี และทาง SpeakUp รับสอนภาษาจีนสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 2.5-12 ปี ซึ่งปรับรูปแบบการสอนในแต่ละช่วงอายุของเด็ก เพื่อให้เหมาะกับเด็กแต่ละวัย ประยุกต์ใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) โดยคุณครูมืออาชีพที่มีประสบการณ์และเทคนิคในการสอนภาษาเด็กเล็ก

jolly phonics

Jolly Phonics เทคนิคฝึกภาษาให้ลูกอย่างเป็นธรรมชาติ ที่จำง่ายได้ผลดี

Jolly Phonics การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของเด็ก ๆ ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม ฝึกให้ลูกของคุณสามารถใช้ภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติ เฉกเช่นเจ้าของภาษา เน้นการสอนที่สนุกสนาน มีกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ฝืนความคิดของเด็ก ซึ่งตรงนี้เป็นตัวช่วยกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของเด็กและกระตุ้นความจำได้เป็นอย่างดี

ผลลัพธ์ในการเรียนภาษาผ่านโปรแกรม Jolly Phonics ช่วยให้เด็กสามารถเรียนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเก่งเร็วขึ้น ทำให้การเรียนในรูปแบบนี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในหลักสูตรแกนกลางของ
สหราชอาณาจักร และกว่า 150 ประเทศทั่วโลกก็ได้นำ
Jolly Phonics ไปใช้ในการสอนภาษาแก่เด็กเช่นเดียวกัน

jolly phonics คืออะไร

มารู้จัก Jolly Phonics กันก่อนว่าคืออะไร?

Jolly Phonics คือ รูปแบบการการเรียนการสอนที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติ ที่การเรียนแบบเดิม ๆ ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ เพราะ Jolly Phonics ใช้เครื่องมืออย่าง Synthetic Phonics (การสังเคราะห์การออกเสียง) ที่เป็นกุญแจดอกสำคัญของการเรียนภาษาเข้ามาปรับใช้ในการสอนภาษาให้กับเด็ก เพราะการสอนแบบนี้เด็ก ๆ จะเรียนรู้เสียงจากตัวอักษรแต่ละตัว โดยเริ่มจากการผสมเสียงและค่อย ๆ อ่านคำศัพท์ได้ตามลำดับ เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่ส่งเสริม “การเรียนรู้” ไม่ใช่การ “เรียน” (ที่เน้นการท่องจำเพื่อเอาไปสอบ) แบบที่เคยเป็นมา

การเรียนภาษาด้วย Jolly Phonics ยังได้นำเอาการสอนแบบพหุสัมผัส (Multisensory) มาใช้ เพื่อกระตุ้นให้สมองของเด็ก ๆ เกิดการพัฒนาในหลายส่วน บวกกับการนำการเรียนรู้จากเสียง โดยการมองเห็นมาใช้ ทั้งยังมีกิจกรรมสนุก ๆ การร้องเพลง การแสดงท่าทางมาใช้ในเรียนรู้เสียงจากตัวอักษร รวมถึงมีแบบฝึกหัด Jolly Phonics ให้ได้ทำ ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และยังมีประสิทธิภาพอีกด้วย

เรียนภาษาด้วย Jolly Phonics ดีกว่ายังไง

ผู้ปกครองหลายคนอาจสงสัยว่า Jolly Phonics ดีไหม ต่างจากการเรียนภาษาอย่างที่เคย ๆ เรียนมาอย่างไร แล้วเหมาะไหมที่จะให้ลูกของคุณเรียนภาษาด้วยวิธีนี้ อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้นว่า Jolly Phonics เป็นการเรียนที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้เสียงจากพยัญชนะแทนการเรียนแบบที่เราคุ้นเคยก็คือการเรียนตัวอักษร A B C ไปก่อน ค่อยมาเรียนเรื่องเสียง แถมยังเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสนุกๆ อย่างการร้องเพลงและแสดงท่าทางประกอบเสริมความจำและความเข้าใจ

การเรียนภาษาอังกฤษด้วย Jolly Phonics เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ว่า ภาษาอังกฤษมีตัวอักษรทั้งหมด 26 ตัวและมีเสียง 42 เสียง ซึ่งพวกเขาก็จะได้เรียนเสียงในภาษาอังกฤษทั้งหมดก่อน ซึ่งเป็นเทคนิคที่เป็นธรรมชาติ จะเห็นได้ว่าก่อนที่เด็กจะพูดได้ เด็กจะได้ยินพ่อแม่พูด พร้อมแสดงท่าทาง เกิดการเลียนเสียงและท่าทางจากพ่อแม่ จนเกิดความเข้าใจและสื่อสารได้ในที่สุด จะเห็นได้ว่าการเรียนแบบเดิมจะเน้นท่อง A B C เป็นหลัก แล้วจึงค่อยมาสอนการออกเสียงและการผสมคำ ซึ่งเป็นการเรียนที่ฝืนธรรมชาติ ทำให้เด็ก ๆ หลายคนเรียนภาษาอังกฤษไม่ประสบความสำเร็จหรือเห็นผลในการเรียนรู้ช้า

จุดเด่นของ Jolly Phonics ที่ทำให้แตกต่างจากการเรียนแบบอื่น คือการเรียนการสอนที่ไม่น่าเบื่อ นักเรียนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น เป็นการเรียนที่มองเห็นภาพ ซึ่งสามารถช่วยในการจำเป็นอย่างดี เช่น การออกเสียง /p/ ก็จะมีเพลงที่เป็นจังหวะ พร้อมกับดึงเอาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการเชื่อมโยงกับเสียงนั้น ๆ เสียงจากตัวอักษร P ก็จะสอนคำว่า Puff ซึ่งคือการเป่า เด็ก ๆ ก็จะได้ร้องเพลงและทำเสียงเป่าไปด้วย ทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถจดจำวิธีการออกเสียงได้แบบไม่มีวันลืม

jolly phonics เหมาะสำหรับเด็กอายุเท่าไหร่

Jolly Phonic เหมาะสำหรับเด็กอายุเท่าไหร่?

การเรียนด้วยเทคนิค Jolly Phonics สามารถเริ่มเรียนได้ตั้งแต่ช่วงเตรียมอนุบาลไปจนถึงระดับประถมศึกษา ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นการเรียนร้องเพลง ออกเสียงประกอบท่าทางต่าง ๆ และเมื่อโตขึ้นจึงค่อย ๆ พัฒนาความยากขึ้นตามลำดับ เช่น การประสมคำ การสร้างประโยค ไวยากรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น ถ้าเป็นไปได้ช่วงที่ควรเน้นเรียนคือช่วง 0-7 ขวบ เพราะเป็นวัยที่กำลังจำได้เก่ง ซึมซับง่าย ซึ่งจะทำให้การเรียนได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด

หลักการสอน jolly phonics

หลักการสอนของ Jolly Phonics

การเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการสอน Jolly Phonics เป็นวิธีการสอนที่ให้ประสิทธิผลที่เป็นที่น่าพึงพอใจ มีเทคนิคการสอนที่สนุกสนาน เพลิดเพลิน กระตุ้นเด็ก ๆ ให้เกิดความอยากรู้ อยากเรียน ช่วยส่งเสริมการอ่านการเขียนให้กับเด็กตั้งแต่วัยแรกเริ่มกันเลย ทั้งยังมีงานวิจัยออกมาเพื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่เรียนโดยใช้ Jolly Phonics กับการเรียนภาษาอังกฤษแบบทั่วไป พบว่าพัฒนาการของเด็กก้าวกระโดดนำหน้าเด็กที่เรียนด้วยวิธีเดิม ๆ 

มาดูกันว่าหลักการสอน Jolly Phonics มีลักษณะอย่างไร ทำไมถึงเป็นหลักสูตรการสอนที่ประสบความสำเร็จ จนโรงเรียนและสถาบันสอนภาษาหลายแห่งทั่วโลกต้องนำการสอนแบบนี้ไปใช้

การเรียนรู้ด้วยเสียงของตัวอักษร

การเรียนรู้ด้วยเสียงของตัวอักษร (Learning the letter sounds) โดยเริ่มแรกเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เรื่องเสียงทั้ง 42 เสียงในภาษาอังกฤษก่อน โดยจะแบ่งกลุ่มการออกเสียงออกเป็น 7 กลุ่ม ทั้งแบบ 1 เสียง 1 พยัญชนะ และ 1 เสียง 2 พยัญชนะ โดยไม่เรียงตามตัวอักษร A-Z และกลุ่มการออกเสียงทั้ง 7 มีดังนี้

  1. s, a, t, p, i, n
  2. c k, e, h, r, m, d
  3. g, o, u, l, f, b
  4. ai, j, oa, ie, ee, or
  5. z, w, ng, v, oo (สั้น), OO (ยาว)
  6. y, x, ch, sh, th (voiced), th (unvoiced)
  7. qu, ou, oi, ue, er, ar

การสอนจะเริ่มจากกลุ่มแรกก่อน เพราะเป็นกลุ่มที่ออกเสียงง่ายสำหรับเด็กเล็กที่ยังออกเสียงได้ไม่ชัด ก็สามารถออกเสียงได้ โดยจะทำให้เด็กเรียนรู้แบบสอดคล้องไปตามพัฒนาการของเขาด้วย และในกลุ่มแรกนั้นก็สามารถผสมคำที่มีความหมายรวมกันแล้วได้ถึง 30 คำอีกด้วย

การเรียนรู้ด้วยการเขียนของตัวอักษร

การเรียนรู้ด้วยการเขียนของตัวอักษร (Learning letter formation) เป็นอีกสเต็ปที่สำคัญ เมื่อเรียนรู้เรื่องการออกเสียงกันไปบ้างแล้ว ก็จะเริ่มมีการฝึกเขียนควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการออกเสียงและการเขียนให้ไปในแนวทางเดียวกัน เด็กจะจำได้เป็นอย่างดี ทำให้การเรียนภาษาเต็มไปด้วยประสิทธิภาพและพัฒนาต่อไปได้อย่างรวดเร็ว

การผสมเสียง

การผสมเสียง (Blending) จะเริ่มเรียนเมื่อเด็ก ๆ รู้จักเสียงจากอักษรบ้างแล้ว 2-3 คำ ซึ่งพวกเขาจะเริ่มทำการผสมเสียงเพื่ออ่านและเขียนคำใหม่ ๆ ได้

การแยกหน่วยเสียงย่อย

การแยกหน่วยเสียงย่อย (Segmenting) จะเริ่มเรียนเมื่อเด็ก ๆ เริ่มอ่านคำศัพท์ต่าง ๆ ได้แล้ว ซึ่งต้องเริ่มเรียนรู้ควบคู่กันไปกับการผสมเสียง (Blending) เด็กจะต้องทำการแยกแยะ และสามารถบ่งบอกได้ว่าองค์ประกอบด้านโฟนิกส์ใดที่ทำให้การออกเสียงคำเหล่านั้นเป็นเช่นนั้น การเรียนทั้งสองอย่างนี้ควบคู่กันไป จะทำให้พวกเขาคุ้นเคยกับการประกอบคำเข้าด้วยกัน และสามารถแยกเสียงย่อยภายในคำได้

คำศัพท์อื่นที่อยู่นอกเหนือจากการผสมเสียง

คำศัพท์อื่นที่อยู่นอกเหนือจากการผสมเสียง (Tricky words) เป็นคำที่อาจชวนให้สับสนว่าออกเสียงแบบไหนกันนะ เพราะไม่ได้ออกเสียงตามหลักโฟนิกส์ ถือเป็นอีกด่านหนึ่งที่ท้าทายสำหรับเด็ก ๆ เลยทีเดียว ในช่วงนี้พวกเขาจะได้เรียนรู้ Tricky words ที่มักจะพบเจอได้บ่อยๆ ยิ่งถ้าเด็กๆ ได้รู้จักคำศัพท์เหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้พวกเขาเก่ง และมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วขึ้นอีกเยอะ

ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาการที่ก้าวหน้า

ไม่ว่าหลักสูตรจะดีแค่ไหน แต่ถ้าขาดการฝึกฝนก็จะทำให้การเรียนไม่ต่อเนื่อง และได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร เด็กๆ จึงต้องเรียนรู้และฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษด้วย Jolly Phonics เป็นหลักสูตรที่ถูกวิจัยและพัฒนาให้เป็นหลักสูตรที่เหมาะสมในการสอนเด็กมากที่สุด เป็นการเรียนที่เด็กๆ จะได้ความสนุก มีส่วนร่วมในการแสดงออก จดจำเรื่องที่เรียนได้แบบง่ายๆ เสริมสร้างการพัฒนาทางด้านภาษาให้ก้าวหน้ากว่าการเรียนหลักสูตรเดิม จนกลายเป็นหลักสูตรแกนกลางในสหราชอาณาจักรและได้รับความสนใจจากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

SpeakUp เป็นสถาบันสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนแบบ Jolly Phonics ให้กับเด็กตั้งแต่อายุ 2.5 – 12 ปี รวมทั้งมีการประยุกต์ใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) โดยคุณครูมืออาชีพที่มีประสบการณ์และเทคนิคการสอนภาษาเด็กเล็ก ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ภาษาด้วยความสนุกสนาน มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ ให้เด็กๆ ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง และมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม

สรุป

Jolly Phonics คือ รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่สอนให้เด็กๆ เรียนรู้การอ่าน เขียนภาษาโดยเริ่มจากการเรียนรู้เสียงของอักษร เพื่อการออกเสียง ผสมคำ และสะกดคำอย่างถูกต้อง แบ่งระดับจากง่ายไปยาก ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ที่การเรียนภาษาแบบเดิมทำไม่ได้ โดยสิ่งสำคัญที่สุดและขาดไม่ได้เลยก็คือ ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กๆ หมั่นฝึกฝนในสิ่งที่เรียนมาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเรียนได้รับผลลัพธ์สูงสุดนั่นเอง