fbpx

CVC Words คืออะไร? สำคัญอย่างไรในการช่วยจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

สารบัญ
cvc word

CVC Words คืออะไร? สำคัญอย่างไรในการช่วยจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

เมื่อเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ การจดจำคำศัพท์คือพื้นฐานขั้นแรกที่คนส่วนใหญ่ได้เริ่มเรียนกัน หลายคนคงคุ้นชินกับการท่องจำคำศัพท์ง่ายๆ ที่ได้เรียนตั้งแต่ช่วงปฐมวัยอย่าง Cat (แมว) หรือ Dog (สุนัข) กันเป็นอย่างดี เมื่อเติบโตขึ้น คำศัพท์ง่าย ๆ เหล่านี้ก็ยังถูกนำมาใช้ในการเริ่มสอนภาษาอังกฤษแก่ลูก ๆ ของเรา คำศัพท์เหล่านี้ไม่ได้เพียงแต่เป็นคำศัพท์ที่พบเห็นได้บ่อยหรือสั้นจนเหมาะกับความจำของเด็กเท่านั้น แต่คำศัพท์จำพวกนี้มีชื่อเรียกว่า CVC word ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่สามารถใช้เป็นเทคนิคสำหรับการสอนเด็ก ๆ ให้จดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้นและทำให้เรียนรู้เสียงของตัวอักษรก่อนนำไปเริ่มประสมเสียงให้เป็นคำ

โดย CVC words คือคำที่อยู่ในรูป Consonant-Vowel-Consonant มักมี 3-5 ตัวอักษร เป็นคำสั้น ๆ ง่ายๆ ที่มีโครงสร้างที่พบได้บ่อยในภาษาอังกฤษจึงสำคัญกับการสอนเด็กๆ และผู้ที่เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษให้สามารถเข้าใจโครงสร้างของคำศัพท์และสามารถอ่านออกเสียงได้เร็วขึ้น

CVC Words คืออะไร?

CVC words คือคำที่มีโครงสร้าง Consonant-Vowel-Consonant (พยัญชนะ-สระ-พยัญชนะ) ตัวอย่างเช่น Cat (แมว) Dog (สุนัข) Sun (พระอาทิตย์) เป็นต้น โดย CVC word ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจโครงสร้างของคำและการออกเสียงได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถต่อยอดไปจนถึงความเข้าใจเรื่องของคำคล้องจองได้ด้วย โดยการใช้ CVC word ไม่จำเป็นต้องมีเพียง 3 ตัวอักษร เนื่องจาก Consonant และ Vowel ใช้แทนเสียงของพยัญชนะหรือสระ การออกเสียงจึงอาจเกิดจากตัวอักษรมากกว่า 1 ตัวได้ เช่น Ship (เรือ) ซึ่งเกิดจากเสียง /sh/ หรือ Book (หนังสือ) ที่เกิดจากเสียงสระ /oo/ ได้ ดังนั้น การเข้าใจ CVC word จึงทำให้ผู้เรียนเข้าใจกฏของ Phonics (โฟนิกส์) คืออักษรแต่ละตัวมีเสียงของตัวเองอีกด้วย

เมื่อเข้าใจแนวคิดการประสมคำและการออกเสียงจากการเรียนรู้โครงสร้างของ CVC word นี้ได้แล้ว จึงทำให้เด็ก ๆ เข้าใจการสร้างคำสั้น ๆ ที่ง่ายต่อการจดจำและสามารถอ่านออกเสียงคำง่าย ๆ เหล่านั้นไปจนถึงการสร้างประโยคและการอ่านประโยคที่ยาวขึ้นได้ เมื่อสอนภาษาอังกฤษแก่เด็ก ๆ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ภาษาอังกฤษ การใช้เทคนิค CVC word จะช่วยให้เข้าใจแนวคิดที่เป็นรากฐานของการประสมคำในภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง เด็กๆ จึงสามารถเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนอย่างคำคล้องจองต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย

ทำไมเราควรใช้ CVC Words สอนเด็ก ๆ ท่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

การใช้ CVC word นั้น ไม่ใช่เพียงแค่เพราะเป็นคำศัพท์ง่าย ๆ ที่ควรรู้และจดจำได้ง่ายสำหรับเด็ก แต่เหตุผลที่ควรสอนภาษาอังกฤษด้วยการสอน CVC word ให้แก่เด็กๆ คือ CVC word จะทำให้เข้าใจโครงสร้างการประสมตัวอักษรเป็นคำและเข้าใจว่าตัวอักษรแต่ละตัวมีเสียงของตัวเอง ซึ่งความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวคือพื้นฐานของการประสมเสียงเพื่อให้สามารถเข้าใจการอ่านคำไปจนถึงการสร้างประโยค เด็ก ๆ จึงจะสามารถเข้าใจและเรียนรู้การสร้างคำและการประสมเสียงของอักษรแต่ละตัวได้จากพื้นฐานของการใช้เทคนิค CVC word ในการเริ่มเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงควรเริ่มจากการสอน CVC word เพื่อให้เด็ก ๆ เข้าใจการประสมคำและเข้าใจการอ่านออกเสียงคำต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

เทคนิค cvc words

เวลาไหนที่ควรใช้เทคนิค CVC Words สอนลูก ๆ

เมื่อเห็นความสำคัญในการสอน CVC word ให้แก่เด็ก ๆ หรือผู้ที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครองหรือคุณครูผู้สอนอาจสงสัยว่าแล้วเมื่อไหร่กันที่ควรสอน CVC word ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจ CVC word นั้น เด็ก ๆ จะต้องทำความรู้จักกับพยัญชนะและสระก่อน เมื่อเด็ก ๆ คุ้นเคยว่าอักษรแต่ละตัวเช่น พยัญชนะ a b c d นั้นมีเสียงอย่างไรแล้ว จึงเป็นช่วงที่ควรสอน CVC word ต่อเพื่อให้เข้าใจการประสมอักษรเหล่านั้นเป็นคำและเข้าใจการอ่านออกเสียงคำเหล่านั้นจากการประสมเสียงของพยัญชนะหรือสระที่พวกเขาได้ทำความรู้จัก โดยเด็ก ๆ อาจไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ทุกการออกเสียงของตัวอักษรจนครบ แต่สามารถเริ่มสอน CVC word ควบคู่กันไปได้ เมื่อพวกเขาเริ่มเข้าใจว่าอักษรเป็นรากฐานของการประสมคำและเสียงของอักษรแต่ละตัวออกเสียงอย่างไร พวกเขาจะสามารถออกเสียงเป็นคำได้จากการประสมเสียงของตัวอักษรเหล่านั้น เด็ก ๆ จึงจะสามารถเข้าใจทั้งเสียงและจดจำภาพของตัวอักษรได้เร็วขึ้น

พาไปดู 6 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการสอน CVC Words

ในการสอนภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคการใช้ CVC word นั้น จะต้องเข้าใจกฏของโฟนิกส์และให้เด็กๆ ได้ทำความรู้จักกับพยัญชนะ สระ และเสียงของอักษรเหล่านั้น โดยวิธีการสอนด้วยเทคนิคการใช้ CVC word ให้เด็กๆ นั้นไม่ยาก หากทำตาม 6 ขั้นตอนอย่างเป็นลำดับ ดังนี้

อ่านและเขียน cvc word ทีละตัว

ขั้นตอนที่หนึ่ง อ่านและเขียน CVC Word ทีละตัว

ขั้นตอนแรกของการสอน CVC words คือการฝึกอ่านและเขียน CVC word ทีละตัว เมื่อเด็ก ๆ เข้าใจแล้วว่าอักษรแต่ละตัวมีเสียงของตัวเองและแต่ละตัวอักษรนั้นออกเสียงอย่างไร ให้ใช้ CVC word เพื่อให้เด็กๆ คุ้นเคยกับการออกเสียงแต่ละตัวอักษรนั้นและทำให้เข้าใจว่าเมื่อเสียงแต่ละตัวประสมกันออกมาเป็นคำนั้นจะอ่านออกเสียงได้อย่างไร โดยควรเริ่มจากการฝึกหัดให้เด็กๆ เติมอักษรเพื่อสร้างคำจากสระตรงกลางคำ ตัวอย่างเช่น ดังรูปประกอบ เพื่อให้เด็ก ๆ เข้าใจการออกเสียงคำจากสระ a จึงให้เด็ก ๆ ได้ลองเติมตัวอักษรที่หายไปทั้งหน้าและหลัง แล้วประสมขึ้นมาเป็นคำและเสียงที่หลากหลายเพื่อให้เด็ก ๆ ออกเสียงพยัญชนะและสระได้คล่องแคล่วและเห็นภาพของโครงสร้างคำจาก CVC word ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เด็กๆ เข้าใจคำและเสียงจาก CVC word ได้อีก เช่น การสร้าง CVC word จากแผ่นการ์ดอักษรหรือเขียน CVC word เพื่อจับคู่กับรูปภาพ

ฝึก cvc word ด้วย word families

ขั้นตอนที่สอง ฝึกฝน CVC Word ด้วย Word Families

Word Families คือกลุ่มคำที่มีสระและตัวสะกดเดียวกัน โดยมีความแตกต่างกันเพียงแค่ที่พยัญชนะ เช่น

กลุ่ม -at คือ Cat (แมว) Bat (ค้างคาว) Rat (หนู)

กลุ่ม -et คือ Met (พบเจอ) Net (ตาข่าย) Wet (เปียก)

จะเห็นได้ว่า Word Families เป็นกลุ่มคำที่เห็นรูปแบบของการประสมคำที่ชัดเจน เมื่อเด็ก ๆ สามารถเข้าใจโครงสร้างของการสร้างคำและการอ่านออกเสียงจาก CVC word แล้ว ขั้นตอนที่สองคือการใช้ Word Families ของ CVC word เริ่มจากคำสั้นๆ จะช่วยให้เด็ก ๆ เห็นรูปแบบของกลุ่มคำได้มากขึ้นทั้งเพื่อการประสมอักษรเป็นคำและการออกเสียง อีกทั้งยังเป็นรูปแบบที่ช่วยให้สามารถจดจำคำศัพท์ไปพร้อม ๆ กับการอ่านออกเสียงจึงทำให้เด็ก ๆ สามารถจำคำศัพท์ได้อย่างรวดเร็วจากการจับกลุ่มของคำ

ฝึกอ่าน cvc word ให้คล่อง

ขั้นตอนที่สาม ฝึกอ่าน CVC Word ให้คล่อง

ขั้นตอนที่สามคือการให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนการอ่าน CVC word จนคล่อง เมื่อเด็กๆ เข้าใจการสร้างคำและการอ่านออกเสียงแล้ว จะต้องสร้างความมั่นใจและความคุ้นเคยต่อคำศัพท์โดยให้พวกเขาหัดอ่าน CVC word ให้คล่องจนไม่ต้องคอยนึกถึงโครงสร้างของ CVC word และสามารถเข้าใจการอ่านออกเสียงคำได้โดยเป็นธรรมชาติ ในช่วงนี้อาจใช้วิธ๊อ่านการ์ดคำศัพท์หรือ Flash card เพื่อให้เด็กๆ สามารถอ่านออกเสียงได้เร็วขึ้นและสร้างความคุ้นชินกับคำศัพท์ต่างๆ ให้แก่เด็ก ๆ

ประสมเสียง cvc word

ขั้นตอนที่สี่ ให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นในการฝึกอ่านของเด็ก ๆ

เด็กๆ หลายคนอาจยังไม่สามารถประสมเสียงจาก CVC word ได้อย่างคล่องแคล่วจึงอาจต้องการตัวช่วยเพิ่มเติมให้สามารถเห็นภาพของเทคนิค CVC word ได้มากขึ้น ขั้นตอนที่สี่จึงเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่เด็ก ๆ ที่ยังอ่านจาก CVC word ไม่คล่องด้วยการใช้การ์ดคำศัพท์ดังภาพประกอบ คือการ์ดที่แสดงโครงสร้างของ CVC word ออกมาเพื่อที่จะช่วยสอนให้เด็ก ๆ สามารถอ่านออกเสียงตามตัวอักษรแต่ละตัวในขณะที่ไล่นิ้วไปตามตัวอักษรได้ ทำให้เด็กๆ ได้อ่านและเข้าใจการประสมเสียงได้มากขึ้นจนคล่องแคล่วก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้กับแบบฝึกหัดที่ซับซ้อนขึ้น

อ่าน CVC Word ในประโยคง่าย ๆ

ขั้นตอนที่ห้า อ่าน CVC Word ในประโยคง่าย ๆ

เมื่อเด็ก ๆ สามารถอ่าน CVC word ได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ขั้นตอนที่ห้าจึงควรเริ่มประสม CVC word ที่ได้เรียนรู้มาเข้าเป็นประโยคง่ายๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่าในแต่ละประโยคนั้นถูกสร้างขึ้นจาก CVC word อย่างไรบ้างและให้เด็กๆ ได้ลองอ่าน CVC word ที่อยู่ในประโยคง่ายๆ นั้น เด็ก ๆ จะสร้างความคุ้นเคยกับคำที่พวกเขาได้เรียนรู้มาก่อนและเริ่มเข้าใจการอ่านออกเสียงประโยคที่ยาวขึ้น โดยสามารถใช้เทคนิคของการสอนด้วย CVC word เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจการสร้างประโยคได้อย่างชัดเจน

ขั้นตอนที่หก ฝึกอ่านประโยคให้คล่อง

ขั้นตอนสุดท้ายคือการฝึกอ่านให้คล่องแคล่ว เมื่อเด็ก ๆ เข้าใจโครงสร้างของ CVC word และการสร้างประโยคจากคำสั้น ๆ ที่พวกเขาคุ้นชินแล้ว ให้เด็ก ๆ ฝึกอ่านประโยคเหล่านั้นให้คล่องแคล่วและเป็นไปโดยธรรมชาติ โดยอาจใช้การ์ดประโยค Flash card หรือการทอยลูกเต๋าเพื่อสุ่มประโยคให้เด็ก ๆ ได้ฝึกอ่านจนสามารถอ่านประโยคที่ยาวขึ้นได้อย่างมั่นใจ

สรุป

การใช้ CVC word หรือโครงสร้างคำ Consonant-Vowel-Consonant (พยัญชนะ-สระ-พยัญชนะ) จึงเป็นเทคนิคการสอนเด็ก ๆ หรือผู้ที่เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษให้สามารถเข้าใจการสร้างคำจากการประสมตัวอักษรและการอ่านออกเสียงคำจากการประสมเสียงของตัวอักษรต่าง ๆ นั้นได้อย่างรวดเร็ว

หากผู้สอนหรือผู้ปกครองมีความต้องการหาเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานที่สามารถเสริมสร้างความเข้าใจรากฐานของภาษาอังกฤษให้ต่อยอดไปสู่การอ่านและการเขียนได้อย่างถูกต้องให้แก่เด็ก ๆ แล้ว การใช้ CVC word คือเทคนิคที่ดีและช่วยเสริมสร้างความเข้าใจทั้งการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยเรียนรู้จากแนวคิดที่เป็นรากฐานของภาษาได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้เด็ก ๆ สามารถต่อยอดการเรียนรู้คำสั้น ๆ ไปสู่การเรียนรู้ภาษาอังกฤษในอนาคตได้อย่างเข้าใจและรวดเร็ว

ปั้นแป้งโด

การปั้นแป้งโดว์ กิจกรรมง่าย ๆ ที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาและส่งเสริมจินตนาการเด็ก

สำหรับคุณพ่อ หรือคุณแม่ครอบครัวไหนที่มีลูกน้อย การเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญา และจิตใจควบคู่ไปกับการสร้างความสุขจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้เด็กเติบโตไปเป็นคนที่ฉลาดทั้งด้านสติปัญญา และด้านอารมณ์ ดังนั้น เพื่อที่จะกระตุ้นพัฒนาการ และสร้างการเรียนรู้พร้อมเสริมจินตนาการให้กับเด็กๆ การทำกิจกรรมจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยหนึ่งในกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน คือ การปั้นแป้งโดว์นั่นเอง ซึ่งบทความนี้จะมาแนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองได้รู้จักว่ากิจกรรมปั้นแป้งโดว์คืออะไร มีส่วนในการเพิ่มพัฒนาการลูกด้านไหนบ้าง พร้อมสอนวิธีการปั้นแป้งโดว์แบบง่าย ๆ ด้วยเทคนิคที่เด็ก ๆ สามารถทำตามได้

เล่นปั้นแป้งโดว์คืออะไร

การเล่นปั้นแป้งโดว์ คืออะไร?

กิจกรรมปั้นแป้งโดว์ คือ การนำแป้งโดว์ที่มีลักษณะเป็นก้อนแป้งเนื้อนิ่มมาใช้ในการปั้น เพื่อให้ออกมามีลักษณะเหมือนรูปร่างต่าง ๆ ด้วยข้อดีของแป้งโดว์ที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง จึงง่ายต่อการนวด ปั้น หรือตัดแบ่งให้เป็นรูปร่างต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังไม่มีส่วนผสมของสารเคมีอีกด้วย เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่ต้องการจับหรือหยิบเล่นเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้นอกจากการปั้นแป้งโดว์จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาและส่งเสริมจินตนาการเด็กแล้ว แป้งโดว์ยังเป็นอุปกรณ์การเล่นที่มีความปลอดภัยสูงอีกด้วย ซึ่งการทำแป้งโดว์ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงคุณพ่อ และคุณแม่ลองทำตามบทความนี้ก็สามารถปั้นแป้งโดว์ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ให้ลูกน้อยเอาไปเล่นกันได้เล่นเลย

  1. เตรียมส่วนผสมในการทำแป้งโดว์ให้เรียบร้อย ดังนี้
    • แป้งสาลี 2 ถ้วยตวง
    • ครีมออฟทาร์ทาร์ 2 ช้อนโต๊ะ
    • น้ำมันพืช 1-2 ช้อนโต๊ะ
    • เกลือป่น 1-2 ถ้วยตวง
    • น้ำสะอาด 1-2 ถ้วยตวง
    • สีผสมอาหาร
    • ภาชนะสำหรับใส่แป้ง
    • กระทะเทฟลล่อน
    • ไม้นวดแป้ง
    • ถาดหรือเขียง
  2. นำแป้งสาลี ครีมออฟทาร์ทาร์ เกลือป่น  และน้ำมันพืชที่เตรียมไว้ใส่ลงในถ้วยภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วผสมให้เข้ากัน
  3. เมื่อน้ำมันร้อนแล้ว นำส่วนผสมที่คนเสร็จเรียบร้อยมาใส่ลงกระทะ
  4. คนแป้งบนกระทะจนกระทั่งเริ่มจับตัวเป็นก้อน จากนั้นนำมาพักบนถาด หรือเขียงที่เตรียมไว้ แล้วรอจนแป้งอุ่น
  5. นำแป้งมาตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นนำมาผสมกับสีผสมอาหารที่เตรียมไว้
  6. นวดแป้งไปเรื่อย ๆ จนกว่าสีผสมอาหารจะเป็นเนื้อเดียวกับแป้งดี แล้วจึงนำไปใส่ในถุงซิปล็อก และพักไว้ในตู้เย็นจนแข็งตัวดี จึงจะสามารถนำมาใช้ในการเล่นปั้นแป้งโดว์ได้
เด็กวัยไหนเหมาะที่จะเล่นแป้งโดว์

เด็กวัยไหนเหมาะที่จะเล่นแป้งโดว์

การทำแป้งโดว์ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะในความเป็นจริงแล้ว เด็ก ๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องให้อยู่ในการควบคุม และการดูแลของคุณพ่อ และคุณแม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเด็กเอง ซึ่งกิจกรรมปั้นแป้งโดว์นั้นจะเหมาะกับเด็กที่มีอายุ 2 ขวบขึ้นไป หรือในกรณีที่คุณพ่อ และคุณแม่หาซื้อแป้งโดว์ หรือดินน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ อาจแนะนำให้ใช้กับเด็กเล็กที่มีอายุ 5 ขวบขึ้นไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการสำลักเมื่อกลืนแป้งโดว์เข้าไปได้

กิจกรรมปั้นแป้งโดว์ถือเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกสนาน เล่นง่าย ไม่สลับซับซ้อน ซึ่งในบทความนี้ยังได้แชร์เทคนิคการเล่นแป้งโดว์สำหรับเด็กเล็กแบบง่าย ๆ มาฝากกันอีกด้วย โดยให้ลูกน้อยของคุณพ่อ และคุณแม่ลองใช้มือ หรือนิ้วจับ นวด คลึง หรือปั้นแป้งโดว์เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามที่เด็กจินตนาการก่อน โดยนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์แล้วยังเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การทำงานของดวงตา เพื่อใช้มองร่วมกับการใช้มือสัมผัส เป็นต้น

ประโยชน์ของการปั้นแป้งโดว์ที่เด็ก ๆ จะได้รับ

การที่คุณพ่อ และคุณแม่สอนเด็กๆ ปั้นแป้งโดว์นั้นนอกจากเด็กๆ จะได้รับความสนุกสนานในการทำกิจกรรมแล้ว การปั้นแป้งโดว์ยังมีประโยชน์ต่างๆ มากมาย ดังนี้

  1. เด็กมีสมาธิมากขึ้น การปั้นแป้งโดว์เป็นรูปแบบการทำกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กที่สามารถช่วยเพิ่มสมาธิมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากรูปแบบกิจกรรมแป้งโดว์ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ประกอบกับธรรมชาติของเด็กที่มักจะตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่ จึงทำให้เด็กๆ มีสมาธิจดจ่อกับการเล่นมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
  2. เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย เมื่อลูกน้อยได้นวด คลึง ปั้น และอื่นๆ กล้ามเนื้อมือ หรือกล้ามเนื้อแขนของเด็กๆ จะมีความแข็งแรงมากขึ้น ช่วยเพิ่มความสามารถในการหยิบจับหรือยกสิ่งของต่างๆ ได้ดี
  3. ช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น ในความเป็นจริงแล้วการปั้นแป้งโดว์เป็นกิจกรรมที่เด็กๆ สามารถทำร่วมกับคุณพ่อและคุณแม่ หรือเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันได้ จึงเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และช่วยเพิ่มทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ด้วย
  4. ฝึกการใช้ภาษา การที่จะปั้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาได้นั้นเด็กๆ จำเป็นที่จะต้องรู้จักกับคำศัพท์ที่เกี่ยวกับสิ่งๆ นั้นเป็นอย่างดีก่อน ซึ่งคุณพ่อ และคุณแม่สามารถที่จะสอนทักษาทางด้านภาษาให้เด็กๆ ผ่านการท่องจำคำศัพท์ และรูปภาพ เพื่อให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ และจดจำในสิ่งๆ นั้นได้
  5. เด็กมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น พัฒนาการด้านสติปัญญาจำเป็นต้องมาพร้อมกับการเสริมสร้างจินตนาการเพื่อให้เด็กๆ มีความคิดสร้างสรรค์ ฉลาด และเป็นคนมีไหวพริบ ซึ่งกิจกรรมปั้นแป้งโดว์เป็นการทำให้เด็กๆ ได้ออกแบบ หรือสร้างในสิ่งใหม่ๆ ออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประกอบกับเมื่อเวลาผ่านไป เด็กๆ จะมีความสามารถในสร้างสรรค์งานต่างๆ ที่มีความละเอียด และซับซ้อนมาขึ้นได้อีกด้วย
  6. เสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ การปั้นแป้งโดว์นั้นนอกจากจะต้องอาศัยสมาธิ ความมุ่งมั่น และความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังจำเป็นต้องฝึกการควบคุมอารมณ์เพื่อให้งานออกมาละเอียดเรียบร้อย และช่วยส่งเสริมให้เด็กให้มีลักษณะนิสัยร่าเริง แจ่มใส และมองโลกในแง่ดีได้
  7. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ นอกจากเวลาเรียน หรือเวลาพักผ่อนแล้ว การปั้นแป้งโดว์ยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย เพราะจะช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนกระบวนการคิด และพัฒนาการด้านสติปัญญา และอารมณ์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
พัฒนาการในการเล่นแป้งโดว์

เด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการในการเล่นแป้งโดว์ยังไง

การจะให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่สมวัยนั้น ตัวเด็กเองจะต้องมีสภาพร่างกาย และจิตใจที่สมบูรณ์พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ตลอดจนการได้ทำกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการเด็กต่างๆ มากมาย ซึ่งกิจกรรมปั้นแป้งโดว์เองก็จะมีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสม ดังนี้

  • เด็กอายุ 1-2 ปี สำหรับเด็กเล็กที่เพิ่งผ่านวัยทารกมา จะเริ่มจากการจับ บีบ ขยำ หรือกดแป้งโดว์เพื่อมีลักษณะแผ่ออกเป็นแผ่น หรือกำมือแบบทั้ง 5 นิ้ว
  • เด็กอายุ 2-3 ปี ในวัยเตาะแตะจะเริ่มรู้จักดึงแป้งโดว์ออกจากกันเป็นก้อน และสามารถนำอุปกรณ์อื่นๆ มาตัดแบ่งแป้งโดว์ได้แล้ว
  • เด็กอายุ 3-4 ปี เด็กในวัยนี้จะเริ่มรู้จักนำแป้งโดว์มานวดเป็นรูปร่างง่ายๆ ก่อน เช่น ทรงกลมคล้ายลูกบอล หรือทำแป้งในลักษณะเส้นยาว เป็นต้น
  • เด็กอายุ 4-5 ปี ช่วงวัยดังกล่าวนั้นเด็กๆ จะเริ่มปั้นแป้งโดว์เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น โดยอิงจากสิ่งที่เด็กเรียนรู้ หรือเข้าใจมา
  • เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป เมื่อเด็กในวัยนี้เติบโตขึ้น จะเริ่มปั้นแป้งให้เห็นถึงรายละเอียดต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งอาจมีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อทำให้รูปทรงแป้งโดว์สวยงาม

สรุป

การปั้นแป้งโดว์เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กให้สมวัยมากขึ้น ทั้งด้านสติปัญญา และอารมณ์ พัฒนาการด้านการเรียนรู้ และการเสริมสร้างทักษะทางสังคม ที่สำคัญยังช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของเด็กได้ดีมากขึ้น

สำหรับคุณพ่อ และคุณแม่คนไหนที่มีความสนใจอยากเสริมสร้างพัฒนาการเด็กพร้อมเพิ่มทักษาทางด้านภาษาที่ 2 หรือภาษาที่ 3 Speak Up Language Center สถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กเล็ก 2.5 – 12 ปี เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้กับคุณครูที่มีประสบการณ์การสอนผ่านเทคนิคการสอนอันโดดเด่น พร้อมกิจกรรมที่สนุกสนาน 

พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

รวม 9 กิจกรรมและการวางแผนเพื่อเพิ่มพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กลูก

กล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นกล้ามเนื้อส่วนที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการสำคัญของเด็กปฐมวัย เพราะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือให้ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งถือเป็นการพัฒนาขั้นพื้นฐานที่สำคัญมากๆ แต่ควรจะต้องมีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อทำให้เด็ก ๆ ได้ค่อย ๆ เรียนรู้การใช้งานอย่างถูกวิธี ซึ่งกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กนั้นสามารถทำได้โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ปั้นดินน้ำมัน การพับกระดาษ การร้อยลูกปัด รวมถึงการเรียนภาษาที่เด็ก ๆ จะได้ขีดเขียน ระบายสี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยให้ได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และพัฒนาสมองไปในเวลาเดียวกัน

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine-Motor Development) คืออะไร?

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine-Motor Development) เป็นการทำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเอื้อม คว้า และหยิบจับสิ่งของได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงสามารถควบคุมกล้ามเนื้อมือและดวงตาให้ทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว ซึ่งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กช่วยให้เด็ก ๆ สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือ และดวงตาให้ทำงานประสานกันได้ดี เพื่อช่วยในการเตรียมพร้อมให้กล้ามเนื้อส่วนนี้สามารถเขียนหนังสือได้ถนัดมากขึ้น

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ความสำคัญ

ทำไมการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก จึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการลูก

กล้ามเนื้อมัดเล็กถือเป็นกล้ามเนื้อพื้นฐานที่ควรพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมพร้อมให้เด็กๆ สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการติดกระดุมเสื้อ การกินอาหารได้ด้วยตัวเอง การใส่ถุงเท้า รองเท้า รวมถึงการเขียนหนังสือ ซึ่งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กนั้นมีความสำคัญต่อเด็กในช่วงวัยนี้เป็นอย่างมาก นอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงแล้ว การที่สามารถทำกิจกรรมง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเองแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับเด็กได้อีกด้วย การที่เด็กเล็กในวัยนี้ทำกิจกรรมที่ควรทำไม่ได้จะลดความมั่นใจในการใช้ชีวิต และทำให้เขาไม่มีความมั่นใจตั้งแต่เด็ก

กิจกรรมช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

แนะนำ 9 กิจกรรมที่จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กเด็ก

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กนั้นเป็นกิจกรรมที่ทั้งผู้ปกครองและคุณครูจะต้องมีส่วนช่วยให้เด็ก ๆ สามารถทำได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กในเด็กนั้นมีด้วยกันหลายกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มีความน่าสนใจ และช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กในเด็กได้เป็นอย่างดี

  1. ปั้นดินน้ำมัน การปั้นดินน้ำมันเป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ง่าย แถมมีอุปกรณ์ไม่มาก ใช้เพียงดินน้ำมันอย่างเดียวเท่านั้น ที่สำคัญการปั้นดินน้ำมันเป็นกิจกรรมที่เด็กๆ ได้ใช้มือปั้น นวดดินน้ำมัน ประกอบให้เป็นรูปร่าง ช่วยเสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการในการเล่าเรื่องราวถึงการปั้นได้อีกด้วย
  2. ต่อจิ๊กซอว์ การต่อจิ๊กซอว์เป็นกิขกรรมที่ช่วยให้มือและสายตาทำงานร่วมกัน เพราะสายตาจะต้องสอดส่องหาชิ้นส่วนเพื่อมาแมชกับชิ้นส่วนอื่น ช่วยให้เขาได้พัฒนาสมองและความคิดด้วย ซึ่งควรเริ่มจากการเลือกการต่อที่ง่ายก่อน แล้วจึงค่อยขยับไปยากขึ้น เพื่อช่วยให้เขามีกำลังใจในการต่อจิ๊กซอว์
  3. วาดภาพระบายสี การวาดภาพระบายสีเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานกล้ามเนื้อมัดเล็ก หรือการใช้มือได้เป็นอย่างดี  การได้จับดินสอบ่อย ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  4. การพับกระดาษ กิจกรรมพับกระดาษเป็นกิจกรรมที่นำกระดาษมาพับเป็นสัตว์ หรือดอกไม้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้การทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อีกทั้งยังส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้เป็นอย่างดี
  5. การต่อบล็อกไม้ กิจกรรมการต่อบล็อกไม้เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยให้กล้ามเนื้อมือและดวงตาทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยให้เขาได้คิดด้วยว่าจะต่อไปในทิสทางไหน ช่วยส่งเสริมจินตนาการได้อีกด้วย
  6. ช่วยทำอาหาร การให้เด็กๆ ช่วยทำอาหารง่ายๆ อย่างเช่นการตักข้าว คีบอาหารเพื่อจัดลงจานเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยให้เข้าเรียนรู้การควบคุมกล้ามเนื้อมือ อีกทั้งยังให้เข้าเรียนรู้วัตถุดิบต่างๆ ไปในตัวได้ด้วย
  7. ประดิษฐ์ของ กิจกรรมการประดิษฐ์สิ่งของ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะหลาย ๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการตัดดกระดาษ การระบายสี ทำให้เขาได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้อย่างเต็มที่
  8. เล่นทราย การเล่นทรายน้องจากจะช่วยให้เด็ก ๆ พัฒนาการใช้มือและทำให้อารมณ์ดีแล้ว ยังทำให้เขาได้เททรายเข้า-ออก ก่อกองทรายซึ่งเป็นการเสริมทักษะด้านประสาทสัมผัสอีกด้วย
  9. ร้อยลูกปัด การร้อยลูกปัดเป็นหนึ่งในกิจกรรมสุดโปรดของเด็ก ๆ นอกจากจะได้เรียนรู้สีต่าง ๆ แล้ว ยังต้องใช้สมาธิในการและออกแบบให้มีความสวยงามอีกด้วย นอกจากนี้ยังต้องใช้มือทำงานร่วมกับดวงตากันอีกด้วย
วางแผนการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

วางแผนการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้เด็กแต่ละช่วงวัย

เด็กในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่ต้องได้รับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้มีความแข็งแรง และสามารถทำงานร่วมกับดวงตาอย่างคล่องแคล่ว เพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเด็กในแต่ละช่วงวัยก็จะมีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงอายุ ดังนี้ 

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กช่วงวัยช่วงวัย 2-3 ขวบ

ช่วงวัย 2-3 ขวบเป็นช่วงวัยเตาะแตะ ที่เด็กหลาย ๆ คนเริ่มหัดเดิน นอกจากนี้ยังเป็นช่วงวัยที่ชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งเดินสำรวจ และสัมผัสสิ่งต่าง ๆ โดยเริ่มมีการใช้มือและนิ้วได้แล้ว ซึ่งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กจะยิ่งช่วยให้เขามีการหยิบจับของได้ดีมากขึ้น ซึ่งในช่วงวัยนี้จะสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ดี

  • ร้อยลูกปัดเม็ดใหญ่
  • ระบายสีไม้
  • ปั้นดินน้ำมัน
  • กินอาหารได้ด้วยตัวเอง

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กช่วงวัยช่วงวัย 4-5 ขวบ

ในช่วงวัย 4-5 ขวบเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายต่าง ๆ มากมาย เริ่มจับสิ่งของต่าง ๆ ได้แล้ว แม้จะยังไม่ถนัดหรือคล่องมากนัก นอกจากนี้ยังสามารถเริ่มแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน แต่บางครั้งเขาอาจจะยังสับสนระหว่างความจริงกับเรื่องจินตนาการ จึงอาจจะทำให้มีการโกหก หรือว่ามีเพื่อนในจินตนาการอยู่ ซึ่งผู้ปกครองควรค่อย ๆ สอน และช่วยให้เขาเข้าใจมากขึ้น ซึ่งในช่วงวัยนี้เขาจะเริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น 

  • ตัดกระดาษ
  • เขียนชื่อตัวเอง
  • เขียนตัวเลขหลักสิบ
  • แต่งตัว ติดกระดุมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กช่วงวัยช่วงวัย 6-8 ขวบ

ในช่วงอายุ 6-8 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กๆ นั้นตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ ๆ ที่ได้เรียนรู้ มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่สำคัญสามารถหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่าคล่องแคล่ว ทั้งการเขียนหนังสือ การรูปเป็นรูปร่างชัดเจนมากขึ้น เขียน-นามสกุลตัวเองได้อย่างถูกต้อง สามารถผูกเชือกรองเท้า และแต่งตัวได้ด้วยตัวเอง เรียกว่าเป็นช่วงวันเด็กปีสุดท้าย และพร้อมที่จะเข้าสู่วัยเด็กโต สำหรับในช่วงวัยนี้เด็ก ๆ จะสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

  • เขียนหนังสือได้อย่างถูกต้อง
  • ผูกเชือกรองเท้า
  • สามารถควบคุมดินสอ ปากกาได้ดี

สรุป

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อมือ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้มือและดวงตาสามารถทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว ซึ่งการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือเป็นเรื่องพื้นฐานที่สามารถพัฒนาให้เด็ก ๆ ทำกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ ได้ เช่น การติดกระดุมเสื้อ การร้อยเชือกรองเท้า และการตักอาหารกินด้วยตัวเอง รวมถึงเขียนหนังสือได้คล่องแคล่วมากขึ้น

สำหรับกิจกรรมที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กนั้นมีด้วยการหลายกิจกรรมทั้งร้อยลูกปัด ปั้นดินน้ำมัน รวมถึงการเรียนภาษา ซึ่งการเรียนภาษาที่ Speak Up นอกจากจะเรียนรู้ทางด้านภาษาแล้ว เด็ก ๆ ยังจะได้ทำกิจกรรม ที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กได้อีกด้วย

ลูกติดมือถือ

ปัญหาลูกติดมือถือ อย่าแก้เมื่อสาย ก่อนลูกกลายเป็นเด็กโมโหร้าย

ปัจจุบันเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ามือถือนั้นแทบจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไปซะแล้ว ไม่ว่าจะเวลาไหนก็มักจะหยิบจับขึ้นมาเล่นเสมอ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กหลายคนที่มัก ใช้เวลาไปกับการเล่นมือถือตลอดทั้งวันโดยที่ไม่ทำกิจกรรมอื่นๆ เลยก็มี ซึ่งพฤติกรรมลูกติดมือถือเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อร่างการและพัฒนาการ อีกทั้งจากสถิติพบว่าปัจจุบันมีเด็กเล็กใช้มือถือนานถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งปกติแล้วไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

วันนี้ทาง SpeakUp จะพาไปดูว่าหากลูกของเราติดมือถือ จะส่งผลเสียอย่างไรต่อตัวเด็ก และพ่อแม่จะมีวิธีสังเกตุอย่างไรว่าลูกติดมือถือ พร้อมแนะนำกิจกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาลูกติดมือถือ จะมีอะไรบ้างไปอ่านกันได้เลย

สาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือ

สาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือ สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เพื่อรับมือ

มีหลากหลายพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุให้ลูกติดมือถือ โดยเฉพาะปัจจัยที่มาจากตัวเด็กเอง หรือการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการติดมือถือจากพ่อแม่โดยไม่รู้ตัว เราจะมาลองดูกันว่า สาเหตุที่ทำให้เด็กติดมือถือเกิดจากอะไรบ้าง

ความห่างเหินและสังคมก้มหน้า

การที่ต่างคนต่างอยู่ ดูแต่หน้าจอ พ่อแม่อยู่มุมนึง ลูกอยู่มุมนึง และก้มหน้าก้มตาใช้แต่มือถือของตัวเอง ส่งผลให้เกิดความห่างเหินและการขาดปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัว ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือได้เช่นกัน

การปล่อยให้ลูกเล่นมือถือตั้งแต่เด็ก

บางครั้งหลายครอบครัวที่พ่อแม่จำเป็นต้องออกไปทำงาน และได้ซื้อมือถือให้ลูกใช้ตั้งแต่เด็กโดยก็อาจกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือได้ ยิ่งไม่มีการควบคุมการใช้งานก็จะยิ่งส่งผลทำให้ลูกติดมือถือมากยิ่งขึ้น สำหรับช่วงอายุที่ไม่ควรให้ลูกใช้มือถือคือช่วงอายุต่ำกว่า 2 ขวบ แต่ทางที่ดีไม่ว่าช่วงอายุไหนก็ควรมีจัดการเวลาการใช้มือถือให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ลูกจะติดมือถือตั้งแต่เด็กนั่นเอง

ใช้เวลาว่างไปกับการเล่นโทรศัพท์มือถือ

ในช่วงเวลาวัยเด็ก จะเป็นช่วงที่มีเวลาว่างในการทำสิ่งต่างๆ อย่างมาก แต่บางครั้งการใช้เวลาว่างทั้งหมดไปกับการเล่นมือถือก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกติดมือถือได้ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรจัดสรรกิจกรรมเวลาว่างไว้สำหรับลูกๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้มือมือจนมากเกินไป

พ่อแม่ขาดความใส่ใจ ตัดรำคาญลูกโดยการโยนมือถือให้เล่น

การที่ลูกติดมือถือ หากจะโทษที่ตัวเด็กอย่างเดียวก็คงจะไม่ถูกต้องมากนัก เพราะอาจต้องย้อนกลับไปดูถึงพฤติกรรมและวิธีเลี้ยงลูกของพ่อแม่ก่อนด้วยว่าให้ความใส่ใจ และความอบอุ่นแก่ลูกมาพอหรือยัง ไม่ใช่ว่าทำงานกลับมาเหนื่อยๆ หรือยุ่งๆ แล้วตัดปัญหาโดยการโยนมือถือให้ลูกเล่น เพื่อที่ตัวเองจะได้ไปทำอย่างอื่น แบบนี้เสี่ยงที่ลูกของคุณจะติดมือถืออย่างแน่นอน

ลูกติดเกม

เมื่อลูกติดมือถือ บ่อยครั้งมักพบว่ามีต้นเหตุมาจากการที่ลูกใจจดใจจ่อกับการเล่นเกมมากจนเกินไป จนบางทีก็ไม่ได้สนใจคนรอบข้างหรือสิ่งรอบข้าง หากมีใครหรืออะไรมาทำให้หลุดสมาธิจากการเล่นเกม ก็มีสิทธิ์ที่จะหงุดหงิดได้ บ่อยเข้าอาจทำให้อารมณ์ร้อนจนเป็นนิสัย โวยวายง่ายเมื่อไม่ได้ดั่งใจ โดยเฉพาะเวลาไม่ได้เล่นเกม

ลูกเสพติดการเล่นโซเชียลมีเดีย

นอกจากเกมแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้พอนึกถึงมือถือเลยก็คือโซเชียลมีเดีย สมัยนี้การเข้าถึงโซเชียลมีเดียนั้นง่ายมากๆ กระทั่งเด็กที่อายุไม่เยอะก็สามารถเล่นเป็นแล้ว บางคนอาจเห็นพ่อแม่เล่น แล้วเล่นตาม พอพ่อแม่ปล่อยปละละเลย เลยทำให้ลูกเสพติดการเล่นโซเชียลมีเดียโดยไม่รู้ตัว สื่อต่างๆ ในโซเชียลมีเดียมักจะมาในรูปแบบสั้นกระชับ เพื่อตอบโจทย์คนสมัยนี้ที่ชอบความรวดเร็ว แต่นี่คือดาบสองคมที่ทำร้ายลูกได้เลย เพราะมันจะทำให้ลูกสมาธิสั้น ส่งผลต่อพัฒนาการที่ควรเป็นไปตามวัย

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อลูกติดมือถือ

การใช้มือถือ หากใช้ให้ถูกวิธีและไม่มากจนเกินไปนั้นจะเกิดผลดีต่อตัวเด็กมาก แต่หากปล่อยให้ลูกของเราใช้มือถือมากเกินไปจนทำให้ลูกติดมือถือ จะเกิดผลเสียต่อร่างกายและพฤติกรรมของเด็กอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

ปัญหาทางด้านสุขภาพของลูก

เด็ก ๆ ที่ก้มหน้าเล่นมือถือนานเกินไปจะทำให้เกิอาการปวดศีรษะ ปวดคอ หลังงอ ปวดตาและปัญหาเกี่ยวกับดวงตา นอกจากนี้ยังทำให้มีปัญหานอนไม่หลับด้วย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนหากปล่อยให้ลูกของเราติดมือถือมากเกินไป

พฤติกรรมเปลี่ยนไป ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง โมโหง่ายขึ้น

เด็กที่ติดมือถือมักมีอารมณ์รุนแรงกว่าเด็กทั่วไป และอาการเหล่านี้จะรุนแรงและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคุณยังปล่อยให้ลูกติดมือถือและไม่ทำการแก้ไข ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกในระยะยาว ทั้งภาวะทางอารมณ์ที่ผิดปกติ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าในอนาคตได้

พัฒนาการช้า ไม่เป็นไปตามวัย

ยิ่งลูกของคุณติดมือถือและใช้เวลากับมือถือมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกให้ช้าลง ไม่เหมาะสมตามวัย ไม่ว่าจะเป็น การพูดการสื่อสารที่ติดขัด พูดไม่ชัด พูดช้า มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและร่างกายในด้านอื่น ๆ

ทักษะด้านการเข้าสังคมและมนุษย์สัมพันธ์หายไป

การที่ลูกติดมือถือและใช้เวลาทั้งหมดอยู่กับการเล่นโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเล่นเกม ดูการ์ตูน ในอนาคตจะส่งผลเสียต่อตัวลูกในเรื่องของการเข้าสังคมอย่างแน่นอน เพราะเด็กมักจะชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว ทำให้ขาดทักษะในการสื่อสารและสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับคนรอบข้าง

อาการลูกติดมือถือ

พ่อแม่ต้องสังเกต 8 อาการที่บ่งบอกว่าลูกติดมือถือ

  1. ไม่สนใจหรือเบื่อที่จะทำกิจกรรมที่เคยชอบ
  2. ใจร้อน ชอบใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา
  3. ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมือถือมากเกินไป โดยไม่เปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่น
  4. สมาธิสั้น วอกแวก อยู่ไม่นิ่งเวลาที่ไม่ได้จับมือถือ
  5. จับมือถือตลอดเวลา รวมถึงเล่นมือถือขณะทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเวลากินข้าว ทำการบ้าน หรืออ่านหนังสือ
  6. เกิดอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย ปวดตา เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอและจ้องจอมือถือมากเกินไป
  7. โลกส่วนตัวสูงชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวเป็นเวลานานๆ
  8. ความสามารถในการสื่อสารกับพ่อแม่ลดลง พูดน้อย พูดไม่ชัด และพูดจาติดขัด

วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ทาง SpeakUp ได้บอกถึงสาเหตุ ผลเสีย และวิธีสังเกตุอาการเมื่อลูกติดติดมือถือว่าเป็นอย่างไรและผลกระทบที่จะตามมาว่ามีอะไรบ้าง เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วพ่อแม่ไม่ควรละเลยที่จะแก้ปัญหาเมื่อลูกเริ่มติดมือถืออย่างจริงจัง หากแก้ปัญหาได้ช้าและปล่อยไว้เป็นเวลานาน รับรองว่าผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับลูกในอนาคตจะตามมามากมายอย่างแน่นอน ดังนั้นเราจึงหาทางออกของปัญหานี้มาให้พ่อแม่ทุกคนลองไปปรับใช้ จะมีอะไรกันบ้างไปดูได้เลย

กำหนดเวลาเล่นมือถือของลูกให้ชัดเจน

การกำหนดเวลาเล่นมือถือให้ลูกนอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาการติดมือถือของลูกแล้วนั้น ยังเป็นการสร้างวินัยที่ดีให้ลูกด้วยเช่นกัน ทำให้เด็กรู้จักการจัดการเวลาและควบคุมตัวเอง โดยแนะนำว่าเด็กอายุแรกเกิดถึง 2 ขวบควรหลีกเลี่ยงการใช้มือถือ ส่วนเด็กอายุ 3-5 ขวบควรใช้วันละไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน

ก่อนจะให้ลูกปรับปรุงตัว พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน

การที่จะสอนลูกให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามได้ นอกจากการสอนด้วยคำพูดอาจจะไม่เพียงพอ ต้องทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นและซึมซับสิ่งดี ๆ ด้วย หากพ่อแม่ยังบ่นว่าลูกติดมือถือมาก แต่พ่อแม่บางครั้งก็ยังก้มหน้าก้มตาเล่นมือถือไม่สนใจคนรอบข้าง แบบนี้ต่อไปหากเราสอนอะไรลูกไป ลูกอาจจะต่อต้านและไม่เชื่อฟังได้

หากิจกรรมอย่างอื่นที่น่าสนใจให้ลูกทำ

สิ่งที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาลูกติดมือได้ที่อาจจะได้ผลดีที่สุดก็คือ การทำยังไงก็ได้ให้ลูกห่างจากการใช้มือถือที่สุด โดยสิ่งนั้นก็คือการหากิจกรรมอย่างอื่นให้ลูกทำ เช่น เล่นกีฬา ร้องเพลง อ่านหนังสือ ไปเที่ยว ฝึกทำอาหาร หรือเรียนภาษา ซึ่งกิจกรรมนี้ทาง Speakup สนับสนุนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้ความรู้และทักษาะใหม่ให้กับลูกแล้ว การเรียนภาษาสมัยนี้ไม่ได้น่าเบื่อแบบเมื่อก่อน โดยจะขอยกตัวอย่างกิจกรรมที่ทาง SpeakUp ใช้สอนในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการร้อง เต้น และงานศิลปะอื่น ๆ รับรองว่าเมื่อได้มาเรียน ลูก ๆ จะสนุกและใช้เวลากับมือถือน้อยลง พ่อแม่จะหมดกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกติดมือถือได้อย่างแน่นอน

สรุป

การที่ลูกติดมือถือหรือใช้เวลากับมือถือมากเกินไป ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ก็อาจจะก่อเกิดผลกระทบในระยะยาวต่อตัวลูกของเราได้ หากพ่อแม่ละเลยและไม่ใส่ใจที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แต่ทางออกทั้งหมดบทความนี้ได้ช่วยแก้ปัญหาและเสนอแนะแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาที่ลูกติดมือถือให้แล้ว หากสนใจที่จะลองนำไปปรับใช้ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างดี