fbpx

รวม 9 วิธีท่องศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ท่องได้ขึ้นใจ จำได้ไม่มีลืม

สารบัญ
เทคนิคการท่องศัพท์

รวม 9 วิธีท่องศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ท่องได้ขึ้นใจ จำได้ไม่มีลืม

ในปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาษาที่สอง นอกจากภาษาบ้านเกิดของเรานั้น มีความสำคัญมากขึ้นในทุกๆ วัน เพราะภาษาได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ซึ่งการมีคลังคำศัพท์ไว้มากๆ จะช่วยให้เราได้เปรียบในการสื่อสารและมีโอกาสเติบโตในอนาคต แต่การจะจดจำศัพท์ที่มีเป็นพันๆ คำได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ดังนั้น เราจึงต้องมีเทคนิคการท่องศัพท์ที่เหมาะกับตัวเราและได้ผลลัพธ์ที่ดี


บทความนี้ได้รวบรวมวิธีท่องศัพท์ที่มีประสิทธิภาพ แถมยังไม่น่าเบื่อ เพื่อให้เกิดการจำในระยะยาว ซึ่งมีมาให้เลือกถึง 9 วิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้แฟลชการ์ด การนำศัพท์ไปใช้ ไปจนถึงการสร้างมายแมพขึ้นมา ให้คุณได้ลองหาวิธีท่องศัพท์ที่ใช่ ที่เหมาะกับตัวเอง ทิ้งการจำศัพท์แบบเดิมๆ แล้วมาสนุกกับวิธีท่องศัพท์แบบใหม่กันเถอะ

เทคนิคจำศัพท์ โดยการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1.นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด การที่เราจะเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง การลงมือปฏิบัติ หรือการนำมาใช้จริง ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งนั้นได้เร็วขึ้น การใช้ร่างกายได้เรียนรู้ ใช้ร่างกายในการจดจำ ก็คือการได้นำคำศัพท์นั้นมาลองใช้จริง มาลองเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ รอบตัวที่ผ่านเข้ามา เห็นอะไรก็ให้ลองนึกถึงคำศัพท์นั้นหรือการลองใช้คำศัพท์นั้นในสถานการณ์ที่ได้ใช้คำนั้นจริงๆ จะยิ่งช่วยให้จดจำศัพท์คำนั้นได้แม่นขึ้น

ข้อดี

จำศัพท์ได้มากขึ้นและจำได้แม่นกว่าการท่องเฉยๆ แถมยังเข้าใจการใช้คำศัพท์นั้น เข้าใจบริบทของคำ ซึ่งจะสามารถใช้ออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ จะเป็นผลดีต่อเมื่อต้องใช้พูดคุยกับเจ้าของภาษาจริงๆ และยังเป็นประโยชน์ต่อการเขียน essay หรือเรียงความภาษานั้นๆ อีกด้วย

ฝึกทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน

2.ฝึกทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน ให้ครบ

เป็นอีกวิธีที่ได้ผลเป็นอย่างมากในการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ การฟังคำอ่านออกเสียงที่ถูกต้องในพจนานุกรมแล้วลองออกเสียงตาม ต่อด้วยเขียนลงสมุดตอนที่อ่านออกเสียงไปด้วย จะทำให้จำศัพท์ได้ดีขึ้น เพราะสมองเราจะจดจำสิ่งนั้นเชื่อมกัน

การฟังเพลงไปพร้อมๆ เนื้อเพลง ก็จะทำให้ได้คำศัพท์ใหม่ๆ และได้ท่องศัพท์ไปในตัวได้เช่นกัน หรือจะเป็นในระหว่างเดินทาง อย่างบนรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง ลองเปิด Podcasts สนุกๆ ฟังก็สามารถทำให้คุ้นเคยกับภาษานั้นได้เร็ว รวมถึงได้ฝึกฟังสำเนียงได้อีกด้วย

ข้อดี

เป็นวิธีที่ไม่น่าเบื่อ เพราะนอกจากจะไม่ใช่การท่องคำศัพท์อย่างเดียว ยังได้หลายทักษะในคราวเดียวกันด้วย การฝึกออกเสียงจะทำให้ออกเสียงได้ชัดขึ้น และเมื่อสมองได้จดจำทั้งภาพและเสียงพร้อมๆ กัน สมองจะเชื่อมโยงสิ่งนั้นเข้าด้วยกัน ส่งผลให้จำศัพท์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

จำคำศัพท์เป็นกลุ่ม

3. จำคำศัพท์เป็นกลุ่ม

การจัดคำศัพท์ให้อยู่เป็นกลุ่ม เช่น จำคำที่มีความหมายคล้าย (Synonym) หรือคำที่มีความหมายตรงข้าม (Anyonym) เมื่อจำศัพท์นั้นไปพร้อมๆ กัน จะทำให้จำศัพท์ได้ทีละหลายๆ คำ และจำได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น คำว่า end, finish, complete มีความหมายว่า จบ, เสร็จสิ้น เหมือนกัน แต่ในส่วนของการจำศัพท์แบบ Synonym ต้องดูเรื่องการใช้ในบริบทต่างๆ เพราะบางคำก็ไม่สามารถใช้แทนกันได้ ต้องศึกษาความแตกต่างของคำศัพท์นั้นด้วย

ข้อดี

ช่วยให้จำได้ทีละหลายๆ คำ จะทำให้มีคลังคำศัพท์มาใช้ได้มากขึ้น และรู้ถึงความแตกต่างของคำ สามารถนำคำศัพท์นั้นๆ มาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์

4. จำจากรากศัพท์

ในบางภาษาการเรียนรู้คำศัพท์จากรากศัพท์จะทำให้เราสามารถเข้าใจที่มาของคำศัพท์นั้นได้ รากศัพท์แต่ละคำก็มีความหมายในตัว หากเราเข้าใจความหมายของรากศัพท์ก็จะสามารถจำศัพท์ที่มีที่มาจากรากศัพท์นั้นได้แม่นขึ้นและยังช่วยให้เราสามารถเดาความหมายคำศัพท์นั้นได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ มีวิวัฒนาการมาจากภาษากรีกและภาษาละติน ที่เป็นหน่วยคำอยู่ในคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากมาย ซึ่งนั่นก็คือรากศัพท์ เช่น mono เป็นรากศัพท์ที่แปลว่า “หนึ่ง” มาจากภาษากรีก คำที่มีรากศัพท์นี้ เช่น monotone หมายถึง การพูดในระดับเสียงเดิมตลอด หรือ คำว่า monopoly หมายถึง ผูกขาด ซึ่งหากทราบถึงรากศัพท์จะทำให้เข้าใจว่าคำนั้นมีการเชื่อมกับความหมายของรากศัพท์นั้นอย่างไรนั่นเอง

ข้อดี

เป็นวิธีที่จะช่วยให้จำศัพท์ได้มากขึ้น จากการเชื่อมความหมายของรากศัพท์ ช่วยให้เดาความหมายได้ใกล้เคียงกับความหมายจริง รวมถึงไม่จำเป็นต้องนั่งท่องศัพท์ที่ยาวๆ ยากๆ เพราะแค่รู้ความหมายของรากศัพท์ก็ได้ศัพท์ใหม่หลายคำแล้ว

จดคำศัพท์บ่อยๆ ลงโพสต์อิท

5. จดคำศัพท์บ่อยๆ ลงโพสต์อิท

เป็นวิธีที่จะช่วยจำเป็นภาพและสร้างจุดเชื่อมกันของคำศัพท์ได้ คือการเขียนคำศัพท์ลงบนโพสต์อิท แล้วจำไปแปะไว้ตามสถานที่ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับคำศัพท์นั้น เช่น คำว่า  Accumulate แปลว่า เพิ่มพูน นำไปติดไว้ที่กระปุกออมสิน เน้นการแปะไว้ในที่ที่เห็นได้ง่ายหรือที่ที่ต้องเดินผ่านเป็นประจำ เพื่อให้เราเห็นผ่านตาบ่อยๆ เช่น ประตูห้องนอน กระจกห้องน้ำ ตู้เย็น เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เราคุ้นเคยกับคำศัพท์นั้นไปเองโดยธรรมชาติ

ข้อดี

เมื่อเราได้เห็นคำศัพท์บ่อยๆ สมองเราจะจดจำศัพท์ได้เองโดยไม่ต้องท่องจำ และการได้เห็นบ่อบๆ จะทำให้สมองเรียนรู้จนกลายเป็นความจำในระยะยาว ทำให้ลืมได้ยาก

6. ใช้แฟลชการ์ดช่วยจำ

เป็นวิธีที่เหมือนเป็นแบบทดสอบความจำ ซึ่งทำให้เรารู้ว่าคำไหนที่จำได้แล้วกับคำไหนที่ยังจำไม่ได้ เป็นวิธีคลาสสิกที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี และยังสามารถพกพาไปไหนก็ได้ สะดวก นำออกมาท่องตอนไหนก็ได้ โดยแฟลชการ์ดจะเป็นกระดาษที่มีคำศัพท์ไว้ด้านนึงและคำแปลไว้อีกด้านนึง มีทั้งแบบสำเร็จรูปหรือสามารถทำแฟลชการ์ดคำศัพท์เองได้ วิธีทำนั้นก็แสนง่ายดาย

ข้อดี

วิธีนี้จะช่วยทดสอบความจำตัวเอง พอทดสอบแล้ว คำไหนที่จำไม่ได้ ก็สามารถแยกออกเป็นอีกกองนึง เพื่อที่เราจะได้โฟกัสกับคำศัพท์ที่ยังจำไม่ได้เต็มที่ ท่องตอนไหนก็ได้ และประหยัดเวลา

จำคำศัพท์โดยการเล่นเกม

7. เปลี่ยนจากการจำมาเป็นเล่นเกม

เกมนอกจากจะช่วยสร้างความบันเทิงแล้ว ยังสามารถช่วยฝึกทักษะต่างๆ เพิ่มเติมได้อีกด้วย ซึ่งก็มีหลายคนได้คำศัพท์ใหม่ๆ จากการเล่นเกม ไม่ว่าจะเป็นเกมออนไลน์ เกมเนื้อเรื่อง ที่มีการพูดคุยกันเป็นภาษาอื่นๆ 

 

ยังมีเกมคลาสสิกที่เป็นเกมสำหรับฝึกภาษาโดยเฉพาะด้วยเช่นกัน 

เช่น เกมจับคู่คำศัพท์กับความหมาย, Hangman, Crossword หรือเกมจากแอปพลิเคชันก็สนุกไม่แพ้กัน แถมเล่นที่ไหนก็ได้ เช่น Ruzzle เกมปริศนาคำศัพท์

ข้อดี

ช่วยทำให้การท่องศัพท์เฉยๆ ไม่น่าเบื่อ เกมจะช่วยให้รู้จักผ่อนคลายมากขึ้น ไม่เครียดกับการท่องศัพท์จนเกินไป และจะช่วยให้มีแรงใจในการเริ่มต้นท่องศัพท์ ได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ต่อได้อีก

หมั่นท่องศัพท์อย่างสม่ำเสมอ

8. หมั่นท่องศัพท์อย่างสม่ำเสมอ

สิ่งสำคัญที่สุดคือความขยัน ความสม่ำเสมอ ไม่ว่าวิธีท่องศัพท์นั้นจะดีแค่ไหน แต่หากไม่ฝึกฝนเป็นประจำก็มีโอกาสที่จะลืมได้ การเรียนรู้คำศัพท์หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทุกอย่างต้องใช้เวลา และให้เวลากับตัวเองในการทำความคุ้นเคยกับการเรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ พยายามท่องคำศัพท์ให้ได้ในทุกๆ วัน แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ อย่างนั่งรอรถเพราะในช่วงเวลาสั้นๆ นั้นก็สามารถทำให้ท่องศัพท์ไปได้ไม่น้อยเลย หากเห็นคำศัพท์นั้นเป็นประจำ สมองก็จะเรียนรู้คำศัพท์นั้นไปจนทำให้เราจำศัพท์นั้นได้ขึ้นใจ ไม่มีวันลืมนั่นเอง

 

ดังนั้น เราอาจจะกำหนดช่วงเวลาสำหรับการทบทวนคำศัพท์ออกเป็นช่วงๆ อย่างทบทวนหลังเรียนเสร็จทันที ทบทวนหลังเรียนไปแล้ว 24 ชั่วโมง ทบทวนหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ทบทวนหลังจากนั้น 1 เดือน ซึ่งการแบ่งช่วงเวลาเหล่านั้น จะช่วยลดการสูญเสียความจำจากสิ่งที่เรียนรู้ไปได้

ข้อดี

สร้างความทรงจำในระยะยาวได้ ช่วยให้สามารถจำสิ่งที่เรียนรู้และเข้าใจสิ่งนั้น เมื่อได้ให้เวลาและความสม่ำเสมอสมองจะจดจำ โอกาสลืมคำศัพท์ก็จะน้อยลงด้วย

ใช้มายแมพช่วยในการท่องศัพท์

9. ใช้มายแมพเข้าช่วย

Mind map คือสิ่งที่จะช่วยให้ได้เข้าใจคำศัพท์นั้นได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างคำและบริบทของคำเหล่านั้นสามารถเพิ่มรูปภาพได้ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จะจดจำได้ง่ายขึ้น มายแมพจะคอยช่วยให้เราจัดระเบียบความได้ ผ่านการเชื่อมโยง โดยจะมีการแตกย่อยลงไปในรายละเอียด ทำให้เห็นภาพรวมของคำศัพท์ได้ชัดเจนกว่าการท่องเฉยๆ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยจัดลำดับความยากง่ายของคำศัพท์ ซึ่งจะช่วยในเรื่องการค่อยๆ เรียนรู้และทบทวนได้ง่าย การจัดกลุ่มคำที่เกี่ยวข้องกัน จะทำให้เราจดจำมันได้ดีขึ้น

มายแมพนั้นสร้างขึ้นได้ง่ายมาก โดยอาจจะเขียนลงสมุดหรือบน Note iPad หรือ Post it ก็ได้ เพียงแค่มีพื้นที่สำหรับการใส่คำศัพท์ แล้วเริ่มสร้างมายแมพได้เลย โดยมีวิธีดังนี้

  • วางกระดาษเป็นแนวนอนหรือหันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นแนวนอน เพื่อให้มีพื้นที่ในการเติมคำศัพท์ลงไป
  • วาดรูปหรือวาดกรอบตรงกลาง เพื่อใส่หัวข้อหลักของคำศัพท์ เช่น หมวดหมู่ของกิน หมวดหมู่คำกิริยา เป็นต้น
  • พอได้หัวข้อหลักมาแล้ว ก็แตกแยกหมวดหมู่ย่อยออกมาจากหัวข้อหลัก เช่น ในกรณีที่เป็นหัวข้อ Food หมวดหมู่ที่แยกออกมาอาจจะเป็น Thai Food, Italy Food เป็นต้น
  • หลังจากนั้นให้ลากเส้นออกจากหัวข้อหลัก ใช้หมวดหมู่ย่อยสร้างกล่องข้อความ แล้ววาดเส้นเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมโยงไปยังคำศัพท์ใหม่ๆ

ข้อดี

ช่วยจับประเด็นสำคัญได้ดี อันมาจากการแยกหมวดหมู่ ทำให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เห็นลำดับความสำคัญ มีคำที่ยากและคำที่ง่าย ทำให้ท่องศัพท์ได้เป็นระบบจากหัวข้อหลักไปยังหัวข้อย่อย

สรุป

แต่ละคนก็มีความสามารถในการจดจำต่างกัน เทคนิคการท่องศัพท์จึงต่างกันด้วย ตามสไตล์ของตัวเอง 9 เทคนิคที่ได้กล่าวถึงไป สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ตามความชอบของผู้ที่ต้องการจำศัพท์ได้ ในแต่ละวิธีก็จะมีข้อดี ข้อเสียต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการนำคำศัพท์ไปใช้จริงที่จะสามารถทำให้จำศัพท์ได้ในระยะยาวผ่านการลองใช้ในสถานการณ์จริง การใช้แฟลชการ์ดที่ช่วยให้จำศัพท์ได้มาก รวมไปถึงการจำศัพท์ด้วย มายแมพเองก็ดี ที่จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของคำศัพท์ที่แตกแยกย่อยออกมา ซึ่งเป็นวิธีที่แนะนำสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มจำศัพท์ เพราะจะทำให้เห็นภาพและรู้ถึงความหมายอื่นๆ เพิ่มเติม จะได้คำศัพท์มากขึ้นและเข้าใจบริบทของมัน 

 

ซึ่งที่ Speak Up เองก็มีเทคนิคจำคำศัพท์ต่างๆ ที่จะช่วยให้การจำศัพท์ของเด็กๆ มีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน หากผู้ที่กำลังสนใจเรียนรู้คำศัพท์หรือผู้ปกครองอยากให้ลูกๆ หลานๆ มีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น ก็สามารถมาเรียนที่ Speak Up ได้

แต่นอกจากวิธีจำศัพท์ ในการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ เพื่อให้จดจำได้ ต้องอาศัยความสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน

รวมมิตร 50 คำศัพท์ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน ได้นำไปใช้บ่อยแน่นอน

รวมมิตร 50 คำศัพท์ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน ได้นำไปใช้บ่อยแน่นอน

ภาษาจีนเป็นภาษาที่ถ้าจำศัพท์ไว้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ไม่ยาก ในการฝึกภาษาจีนช่วงแรก อาจจะเริ่มจากการพูดหรือการอ่านคำศัพท์ภาษาจีน โดยฝึกจากคำศัพท์สั้นๆ ง่ายๆ โดยเลือกคำศัพท์จากสิ่งรอบตัวก่อนหรือเลือกเป็นคำศัพท์ภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็ได้ เพื่อให้ค่อยๆ พัฒนาความจำ การเรียนรู้ ให้คล่องจนไปสู่ขั้นต่อไปได้ อย่างเช่น การพูดหรือการเขียน ที่ฝึกบ่อยๆ จนสามารถทำได้คล่องกว่าเดิม 

ในปัจจุบันภาษาจีนถือเป็นอีกหนึ่งภาษาที่คนต่างนิยมใช้กันเป็นอย่างมาก จนเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งภาษาที่ 3 ที่คนนึกถึงรองจากภาษาอังกฤษเลยก็ว่าได้ เลยทำให้ใครหลายๆ คน เริ่มหันมาศึกษาคำศัพท์ภาษาจีนหรือเริ่มสนใจเรียนภาษาจีนกันมากขึ้น รวมถึงผู้ปกครองบางท่าน ก็เริ่มอยากให้ลูกๆ ได้ฝึกหรือเริ่มเรียนคำศัพท์ภาษาจีนเช่นกัน 

ในบทความนี้เลยได้รวบรวม 50 คำศัพท์ ภาษาจีนที่รู้ไว้แล้วได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันแน่นอน รวมถึงเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยในการใช้คำศัพท์ อีกทั้งคำศัพท์ภาษาจีนที่รวบรวมมาก็เป็นคำศัพท์ภาษาจีนง่ายๆ ที่สามารถฝึกพูดได้ทุกวันอีกด้วย

50 คำศัพท์ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน ได้นำไปใช้บ่อยแน่นอน

1. 你好

  • Pinyin: nĭ hăo 
  • คำอ่านภาษาไทย: หนีห่าว
  • ความหมาย: สวัสดี (เป็นคำทักทายที่นิยมใช้กับบุคคลทั่วไป ส่วนมากจะนิยมใช้กันใน กลุ่มเพื่อน คนสนิท หรือคนอายุใกล้เคียงกัน)

2. 好

  • Pinyin: hǎo 
  • คำอ่านภาษาไทย: ห่าว 
  • ความหมาย: ดี

3. 再见

  • Pinyin: zàijiàn    
  • คำอ่านภาษาไทย: จ้ายเจี้ยน
  • ความหมาย: ลาก่อน, พบกันใหม่, ไว้พบกันอีก (เป็นคำบอกลาที่ใช้บ่อยที่สุดในภาษาจีน)

4. 我

  • Pinyin: wǒ    
  • คำอ่านภาษาไทย: หว่อ
  • ความหมาย: ฉัน, ผม (เป็นคำที่ใช้เรียกแทนตนเอง)

5. 你

  • Pinyin: nǐ     
  • คำอ่านภาษาไทย: หนี่
  • ความหมาย: คุณ, เธอ (เป็นคำที่ใช้เรียกฝ่ายตรงข้ามหรือคู่สนทนา)

6. 您

  • Pinyin: nín    
  • คำอ่านภาษาไทย: หนิน
  • ความหมาย: คุณ, ท่าน (คำพูดแบบสุภาพที่ให้เกียรติคนที่อายุเยอะกว่า)

7. 爸爸

  • Pinyin: bàba  
  • คำอ่านภาษาไทย: ป้าปะ
  • ความหมาย: พ่อ

8. 妈妈

  • Pinyin: māma  
  • คำอ่านภาษาไทย: มามะ
  • ความหมาย: แม่

9. 我们

  • Pinyin: wǒmen  
  • คำอ่านภาษาไทย: หว่อเมิน
  • ความหมาย: พวกเรา (ใช้พูดถึงกลุ่มบุคคลเดียว ไม่รวมกลุ่มบุคคลอื่น)

10. 叫

  • Pinyin: jiào    
  • คำอ่านภาษาไทย: เจี้ยว
  • ความหมาย: มีชื่อว่า, เรียกชื่อว่า (ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบประโยคบอกเล่า เอาไว้ใช้กับการแนะนำตัวเอง เช่น ผมชื่อ ฉันชื่อ)
50 คำศัพท์ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน ได้นำไปใช้บ่อยแน่นอน

11. 名字

  • Pinyin: míngzi   
  • คำอ่านภาษาไทย: หมิงจึ
  • ความหมาย: ชื่อ, ชื่อจริง (การใช้คำจะคล้ายกับคำว่า 叫 ( jiào เจี้ยว) ที่แปลว่า มีชื่อว่า แต่ส่วนมากคำว่า 名字 (หมิง จึ) จะอยู่ในรูปแบบประโยคคำถาม เช่น 你叫什么名字 ? (nǐ jiào shénme míngzì? หนี่ เจี้ยว เฉินเมอะ หมิงจึ แปลว่า คุณชื่ออะไร)

12. 什么

  • Pinyin: shénme   
  • คำอ่านภาษาไทย: เฉินเมอะ
  • ความหมาย: อะไร (ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปประโยคคำถาม ใช้แสดงความสงสัย)

13. 高兴

  • Pinyin: gāoxìng   
  • คำอ่านภาษาไทย: เกาซิ่ง
  • ความหมาย:  ดีใจ, พอใจ, มีความสุข, ตื่นเต้น  (ใช้แสดงอารมณ์หรืออาการดีใจ)

14. 认识

  • Pinyin: rènshi   
  • คำอ่านภาษาไทย: เริ่นซึ
  • ความหมาย: รู้, รู้จัก, รับรู้, ความรู้, ความเข้าใจ (ใช้ได้กับสิ่งที่คุ้นเคยหรือว่ารู้จัก ไม่ว่าจะเป็นคน, สิ่งของ และสถานที่)

15. 不

  • Pinyin: bù   
  • คำอ่านภาษาไทย: ปู้
  • ความหมาย: ไม่ (ใช้ในรูปประโยคปฏิเสธ มักใช้กับเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคต)

16. 对不起

  • Pinyin: duìbùqǐ  
  • คำอ่านภาษาไทย: ตุ้ยปู้ฉี่
  • ความหมาย: ขอโทษ

17. 没关系

  • Pinyin: méiguānxi  
  • คำอ่านภาษาไทย: เหมยกวนซี
  • ความหมาย: ไม่เป็นไร (ใช้ตอบรับกับคำกล่าวขอบคุณหรือคำขอโทษ)

18. 人

  • Pinyin: Rén  
  • คำอ่านภาษาไทย: เหริน
  • ความหมาย: คน (เขียนต่อท้ายชื่อประเทศ จะมีความหมายว่า สัญชาติ)

19. 有

  • Pinyin: Yǒu  
  • คำอ่านภาษาไทย: โหย่ว
  • ความหมาย: มี

20. 几

  • Pinyin: Jǐ   
  • คำอ่านภาษาไทย: จี๋
  • ความหมาย: กี่, เท่าไร (ใช้ในประโยคคำถาม เช่น การถามจำนวนที่ต้องการทราบ)
50 คำศัพท์ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน ได้นำไปใช้บ่อยแน่นอน

21. 吃

  • Pinyin: chī   
  • คำอ่านภาษาไทย: ชือ
  • ความหมาย: กิน, รับประทาน

22. 面条

  • Pinyin: miàntiáo   
  • คำอ่านภาษาไทย: เมี่ยนเถียว
  • ความหมาย: ก๋วยเตี๋ยว

23. 鸡蛋

  • Pinyin: jīdàn  
  • คำอ่านภาษาไทย: จีต้าน
  • ความหมาย: ไข่

24. 去

  • Pinyin: qù  
  • คำอ่านภาษาไทย: ชวี่
  • ความหมาย: ไป

25. 食堂

  • Pinyin: shítáng  
  • คำอ่านภาษาไทย: สือถัง
  • ความหมาย: โรงอาหาร, ห้องอาหาร

26. 吃饭

  • Pinyin: chīfàn  
  • คำอ่านภาษาไทย: ชือฟ้าน
  • ความหมาย: กินข้าว

27. 喝

  • Pinyin: hē  
  • คำอ่านภาษาไทย: เฮอ
  • ความหมาย: ดื่ม, ซด

28. 牛奶

  • Pinyin: niúnǎi  
  • คำอ่านภาษาไทย: หนิวไหน่
  • ความหมาย: นมวัว (แต่ถ้าวางคำสลับกันจะเป็นคำว่า 奶牛 (nǎiniú ไหน่หนิว) ที่แปลว่า วัวนม)

29. 茶

  • Pinyin: chá 
  • คำอ่านภาษาไทย: ฉา
  • ความหมาย: ชา

30. 咖啡

  • Pinyin: kāfēi 
  • คำอ่านภาษาไทย: คาเฟย
  • ความหมาย: กาแฟ
50 คำศัพท์ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน ได้นำไปใช้บ่อยแน่นอน

31. 今天

  • Pinyin: jīntiān 
  • คำอ่านภาษาไทย: จินเทียน
  • ความหมาย: วันนี้, ปัจจุบันนี้, ขณะนี้ (หากเขียนแยกเป็น 天 (tiān เทียน) จะแปลว่า วัน ใช้ได้ในหลายความหมายเช่น เมื่อวาน, วันนี้, พรุ่งนี้ เป็นต้น)

32. 明天

  • Pinyin: míngtiān 
  • คำอ่านภาษาไทย: หมิงเทียน
  • ความหมาย: พรุ่งนี้

33. 星期

  • Pinyin: xīngqi  
  • คำอ่านภาษาไทย: ซิงชี
  • ความหมาย: สัปดาห์ (หากใช้นำหน้าตัวเลขในภาษาจีน ก็จะหมายถึงวันต่างๆ เช่น วันจันทร์, วันอังคาร, วันพุธ เป็นต้น)

34. 几点

  • Pinyin: jǐdiǎn 
  • คำอ่านภาษาไทย: จี๋เตี่ยน
  • ความหมาย: กี่โมง (ใช้ในการถามเกี่ยวกับช่วงเวลา)

35. 这

  • Pinyin: zhè 
  • คำอ่านภาษาไทย: เจ้อ
  • ความหมาย: นี่, นี้

36. 那

  • Pinyin: nà 
  • คำอ่านภาษาไทย: หน้า
  • ความหมาย: ที่นั่น, ที่นู้น, ที่โน่น (เป็นคำใช้ชี้ระยะใกล้ ไกล)

37. 的

  • Pinyin: de 
  • คำอ่านภาษาไทย: เตอะ
  • ความหมาย: ของ, ที่, ซึ่ง, อัน (ใช้เป็นคำเชื่อมประธาน ของรูปประโยค กับ คน สัตว์ สิ่งของ ต่างๆ)

38. 知道

  • Pinyin: zhīdào 
  • คำอ่านภาษาไทย: จือเต้า 
  • ความหมาย: รู้, ทราบ, เข้าใจ (ใช้ได้กับสิ่งที่คุ้นเคยหรือว่ารู้จักกันแค่เพียงผิวเพิน ไม่ว่าจะเป็นคน, สิ่งของ และสถานที่)

39. 不是

  • Pinyin: búshì 
  • คำอ่านภาษาไทย: ปู๋ชื่อ
  • ความหมาย: ไม่ใช่

40. 谁

  • Pinyin: shuí
  • คำอ่านภาษาไทย: เสย
  • ความหมาย: ใคร
50 คำศัพท์ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน ได้นำไปใช้บ่อยแน่นอน

41. 可以

  • Pinyin: kěyǐ 
  • คำอ่านภาษาไทย: เขออี่ 
  • ความหมาย: สามารถ, ความสามารถ (อาจจะใช้ในกรณี การขออนุญาตทำบางสิ่งบางอย่าง, การอนุญาตให้ทำบางสิ่งบางอย่าง)

42. 一点

  • Pinyin: yìdiǎn 
  • คำอ่านภาษาไทย: อี้เตี่ยน
  • ความหมาย: นิดหน่อย, เล็กน้อย, กว่านี้อีกหน่อย (ส่วนมากจะใช้เป็นคำบอกจำนวน)

43. 谢谢

  • Pinyin: xièxie 
  • คำอ่านภาษาไทย: เซี่ยเซีย
  • ความหมาย: ขอบคุณ

44. 不用谢

  • Pinyin: bùyòngxiè
  • คำอ่านภาษาไทย: ปู๋ย่งเซี่ย
  • ความหมาย:  ด้วยความยินดี, ไม่เป็นไร, ไม่ต้องขอบคุณ (ใช้ตอบรับคำขอบคุณเท่านั้น)

45. 要

  • Pinyin: yào
  • คำอ่านภาษาไทย: เย่า
  • ความหมาย: ต้องการ, อยาก

46. 吗

  • Pinyin: ma
  • คำอ่านภาษาไทย: มะ
  • ความหมาย: ไหม, หรือไม่ (คำที่ไว้ใช้ต่อท้ายประโยคคำถามหรือประโยคปฏิเสธ)

47. 很

  • Pinyin: hěn 
  • คำอ่านภาษาไทย: เหิ่น
  • ความหมาย: มาก

48. 是

  • Pinyin: shì 
  • คำอ่านภาษาไทย: ซื่อ
  • ความหมาย: เป็น, คือ, ใช่, รับ (การแปลจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์)

49. 和

  • Pinyin: Hé 
  • คำอ่านภาษาไทย: เหอ
  • ความหมาย: กับ, และ (ใช้สำหรับเชื่อมวลีหรือประโยค และใช้เชื่อมเฉพาะคำนามกับคำนามเท่านั้น)

50. 一起

  • Pinyin: yìqǐ  
  • คำอ่านภาษาไทย:  อี้ฉี
  • ความหมาย: ด้วยกัน, พร้อมกัน, พร้อมเพรียงกัน

นี่เป็น 50 คำศัพท์ภาษาจีนที่นำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ก็ยังสามารถเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีกเพื่อเพิ่มทักษะในการฟัง พูด อ่านเขียน ซึ่งหากฝึกคำศัพท์ภาษาจีนบ่อยๆ ก็จะทำให้มีความชำนาญ ช่วยส่งเสริมความจำและการเรียนรู้ ส่งผลเรื่องของการสื่อสาร ที่สามารถนำภาษาจีนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในการฝึกอาจจะหาแบบฝึกหัดคำศัพท์ภาษาจีนง่ายๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มลำดับขั้นของการเรียนได้ หรือจะเลือกเรียนที่โรงเรียนสอนภาษาโดยเฉพาะเพื่อให้ได้การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ตลอดจนทำให้ใช้ภาษาได้ดียิ่งขึ้น 

สำหรับผู้ปกครองที่สนใจอยากพาลูกๆ มาเรียนภาษาจีน Speak Up ก็มีการสอนภาษาจีน เพื่อให้ได้ทักษะที่ดีและมีประสิทธิภาพ สอนโดยครูผู้มีประสบการณ์ ช่วยให้ลูกๆ ได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนได้ง่ายๆ สามารถนำภาษาจีนไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ใช้ต่อยอดกับการเรียน การสอนที่โรงเรียน ทำให้มีความรู้ทางภาษาจีนเพิ่มขึ้นได้

minecraft coding

Minecraft Coding เสริมสร้างจินตนาการ สานฝันโปรแกรมเมอร์ตัวน้อย

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงอยากให้ลูกฝึกทักษะ hard skill ตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นวัยที่จดจำและเรียนรู้ได้เร็ว โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรม ที่เป็นการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการใช้ชีวิต 


บทความนี้จะมาแนะนำ ว่า Minecraft coding คืออะไร เรียนแล้วเจ้าตัวน้อยจะได้ทักษะอะไรบ้าง มีประโยชน์ที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปยังหลายๆ อาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตได้อย่างไรบ้าง

minecraft coding คืออะไร

minecraft coding คืออะไร

Minecraft coding คือ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโค้ด  มีหน้าตาเป็นกล่องสี่เหลี่ยม เป็นสื่อการเรียนการสอนผ่านเกมส์แบบเปิดกว้าง (open world) เติมเต็มจินตนาการพร้อมการเรียนไปด้วย นักเรียนสามารถปรับแต่งได้ตามใจชอบในรูปแบบของตนเอง ให้การเรียนเขียนโค้ดสนุกสนานมากขึ้นนั่นเอง

ทำไม minecraft coding จึงเหมาะกับการเรียนรู้ของเด็ก

Minecraft education  เหมาะกับเด็กที่มีอายุ 5-15 ปี ซึ่งเป็นวัยแห่งจินตนาการ เต็มไปด้วยไอเดียแปลกใหม่ อยากรู้อยากลอง โดยเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติจริง วิเคราะห์สถานการณ์และหาทางออกเอาชนะอุปสรรค

แพลตฟอร์มนี้จะช่วยเพิ่มทักษะพื้นฐานด้านการเขียนภาษา coding นอกจากนี้ยังฝึกการคิดที่เป็นระบบ มีตรรกะ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับโปรแกรมและเทคโนโลยี นำไปต่อยอดการเรียนสู่อาชีพต่างๆ ในอนาคต

minecraft coding skill

Skill ที่เด็กๆ จะได้จากการเรียน

Skill ที่น้องๆ จะได้ผ่านการเรียนรู้แบบ Play-based Learning ทั้งเพลิดเพลินจากการเรียนเขียนโค้ด มีดังนี้

Computational thinking

Computational thinking เป็นทักษะส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในการใช้ความคิดตัดสินใจ การแก้ปัญหาด้วยตนเองในชีวิตประจำวันหรือการทำงานได้ อาชีพที่จำเป็นต้องมีทักษะนี้มีอยู่หลายอาชีพ เช่น นักวิทยาศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ คุณหมอ ทนายความ นักบัญชี หรือแม้แต่ทำธุรกิจค้าขาย การเรียน Minecraft Coding  จะฝึกทักษะการคิดเชิงระบบ โดยอาศัยการวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ ตรรกะ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

Grit

Grit คือ พลังแห่งความพยายามค้นหาด้วยตัวเอง โดยการลองผิดลองถูก มีความอดทน เห็นได้ชัดว่าทักษะนี้เป็นทักษะของหลายๆ อาชีพ ไม่ว่าจะเป็น เหล่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ นักเขียน หรือแม้แต่นักกีฬา ทักษะนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กๆ ให้กลายเป็นคนที่มีความตั้งใจแน่วแน่ รู้จักหาคำตอบหรือทำอะไรก็ตามแต่ให้ประสบความสำเร็จ ด้วยความรักและความมานะ เป็นผลให้สามารถทำสิ่งๆ นั้นได้ในระยะยาว

Curiosity

Curiosity หรือความอยากรู้อยากเห็น ขี้สงสัย รู้จักตั้งข้อสังเกตจากสิ่งรอบตัว พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เสมอ อาชีพที่จำเป็นต้องมีทักษะนี้ ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ นักข่าว นักเขียนโปรแกรม นักวิศวะ เป็นต้น

 

ทักษะนี้จะส่งเสริมให้เด็กรู้จักใฝ่รู้ในสิ่งต่างๆ และหาคำตอบเพื่อแก้ข้อสงสัยของตนเองผ่านการวิเคราะห์และประเมินจากข้อมูล

วิธีการสอน minecraft coding

วิธีการสอน

ลักษณะวิธีการสอนเป็นแบบ Mission Base Learning โดยสร้างบรรยากาศใกล้เคียงเสมือนการใช้ชีวิตจริงผ่านการลงมือทำ ไม่เพียงแค่ท่องจำบทเรียนเหมือนในห้องเรียนธรรมดา น้องๆ จะได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดและหาทางแก้ไขปัญหานั้นด้วยตนเอง นอกจากนี้ ยังได้ทักษะด้านวิศวกรรมในการออกแบบหุ่นยนต์ การคำนวนระยะทาง การเคลื่อนไหว และ น้องๆ จะได้ฝึกเรียนรู้ ภาษา Lua ซึ่งเป็นภาษาที่สำคัญในการเขียนโค้ดดิ้งอีกด้วย

ภาษา lua คืออะไร

ภาษา Lua คืออะไร

ภาษา Lua หรือ ลูอา เป็นหนึ่งในภาษาโปรแกรมที่คอยทำหน้าที่แปลคำสั่งแบบโต้ตอบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนภาษาโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่น ไม่ซับซ้อน มาในรูปแบบของสคริปต์ เป็นภาษาที่ใช้พื้นที่ขนาดเล็ก เลยทำให้เข้าใจง่ายในการนำไปใช้อธิบายข้อมูล 

ซึ่งเป็นภาษาที่สำคัญในการเขียนโค้ด minecraft หรือโค้ดอื่นๆ เบื้องต้น เช่นเดียวกับการเขียนเกม

ประโยชน์ของ minecraft coding

ประโยชน์ของการเรียนเขียนโปรแกรมตั้งแต่เด็ก

ประโยชน์ของการเรียนเขียนโปรแกรม Minecraft education ตั้งแต่เด็กมีดังนี้

  • ช่วยดึงศักยภาพที่มีอยู่ออกมา กล้าคิดกล้าทำ
  • แก้ปัญหาจากสิ่งใหม่ๆ หรือมีการเปลี่ยนแปลงได้
  • ฝึกการคิดแบบ systematic กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับอย่างเป็นเหตุเป็นผล
  • เป็นคนใฝ่รู้ รู้จักหาคำตอบด้วยตนเอง
  • มีความพยายามและมุมานะ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ
  • เสริมทักษะจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
  • มีทักษะด้านวิศวกรรม ในการออกแบบหุ่นยนต์ให้ทำตามคำสั่ง
  • มีทักษะด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิตจากการคำนวณ

สรุป

Minecraft coding ต่างจากการเขียนโค้ดแบบอื่น ที่มีความสนุกสนานและท้าทายในการแก้ปัญหา ออกแบบที่สามารถทดลองหยิบจับและสัมผัสได้จริง ไม่ใช่การเพียงการท่องจำ การที่ได้เรียนรู้ตั้งแต่เด็กจะช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ออกจากกรอบเดิมๆ  Speak Up Language Center มีคอร์ส minecraft coding สำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 5-15 ปี ที่ต้องการเรียนและฝึกการเขียนโปรแกรม script เบื้องต้น ออกแบบและวางแผนเกมด้วยตัวเอง ช่วยให้ฝึกการคิดเป็นขั้นเป็นตอนและประมวลผล ผ่านการสอนแบบ Game base learning ให้การเรียนสนุก ไม่น่าเบื่อหรือจำเจอีกต่อไป

growth mindset

Growth Mindset ปรับมุมมอง สอนให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข

แน่นอนเลยว่า สำหรับคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย ก็ย่อมจะคาดหวังให้ลูกรัก ประสบทุกความสำเร็จ และสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข ซึ่งทุกอย่างสำหรับการฝึก ก็จะต้องเริ่มต้นจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ หากเปรียบลูกเป็นเสมือนต้นไม้ พ่อกับแม่ก็เป็นเสมือนรากไม้ ที่คอยส่งเสริมให้ลูกเติบโต คอยปลูกฝังแนวคิดที่ดีให้แก่ลูก โดยการที่เด็กน้อยคนหนึ่ง จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ก็ไม่ได้เกิดมาจากความฉลาดแค่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การที่จะประสบความสำเร็จก็จะต้องเกิดจากความพยายาม ความนับถือตนเอง ความมุ่งมั่นตั้งใจ รวมไปถึงการมี Growth Mindset ด้วยนั่นเอง

Growth Mindset เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจ ช่วยพัฒนาทั้งความคิด และการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะมองว่า การเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้าหากมีความหวังดีต่อลูก ไม่มีอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนทำไม่ได้ การเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset ก็เช่นเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่หลายคนก็สามารถทำได้ หากเข้าใจถูกต้อง ก่อนอื่นต้องตามไปทำความรู้จักกับ Growth Mindset คืออะไร ทำไมจึงมีความสำคัญ แล้วสามารถสร้างแนวคิดให้แก่ลูกน้อยก้าวเข้าสู่ความสำเร็จ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตมีความสุขได้อย่างไร ไปดูกันได้เลย

growth mindset คืออะไร

Growth Mindset คืออะไร สำคัญต่อเด็กอย่างไร

Growth Mindset คือ แนวคิดที่เชื่อกันว่า เด็กทุกคนนั้นสามารถที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน หากเด็กมีความตั้งใจ มีความพยายาม และไม่ยอมแพ้ เนื่องจากความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านไหนก็ตาม ซึ่งไม่ได้เกิดมาจากการมีพัฒนาการทางสมองที่ดีเพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดมาจากความมุ่งมั่น การพัฒนา และการทำซ้ำๆ นอกจากนี้ สิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดก็คือการมีทัศนคติ ที่บอกว่าทุกความล้มเหลวเป็นแค่เพียงหนทางแห่งการเรียนรู้

แนวคิด Growth Mindset มีความสำคัญต่อเด็กมากๆ หากเด็กมีวิธีคิดตามแนวคิด Growth Mindset จะทำให้เด็กกลายเป็นเด็กที่ชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ กล้าที่จะเผชิญกับปัญหาทุกปัญหา ไม่ย่อท้อต่อสิ่งต่าง ๆ พยายามจนกว่าจะสำเร็จ จนทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ง่าย

หลักของ Growth Mindset

หลักของ Growth Mindset เชื่อกันว่าความสามารถของทุกคน สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ทุกช่วงเวลา ผ่านความพยายาม การเรียนรู้ และการไม่ยอมแพ้ แม้จะตกอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก หรืออยู่ท่ามกลางสภาวะที่ไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร หากเรียนรู้ พยายาม และไม่ยอมแพ้ แล้วทุกอย่างจะผ่านไปได้

สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ growth mindset

สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Growth Mindset

ถ้าหากลองเข้าไปค้นหาคำว่า Growth Mindset เชื่อเลยว่าท่านจะพบคำอธิบายที่คล้ายกันมากมาย เมื่อบังเอิญเข้าไปอ่านแล้ว รู้สึกว่าฟังแล้วก็ดูดี ก็ไม่เห็นจะมีอะไรมากกว่านี้ เข้าใจได้ ก็คือให้คิดบวก คิดไปในทางที่ดีแบบโลกสวยไว้ก่อน ซึ่งถ้าหากท่านรู้สึกแบบนี้ แปลว่าท่านยังไม่เข้าถึงแก่นของ คำนิยาม Growth Mindset ด้วย 3 สิ่งที่หลายคนมักจะเข้าใจผิด ถ้าหากยังไม่รู้จักเกี่ยวกับ Growth Mindset แบบดีพอ ซึ่ง 3 สิ่งนี้ จะมีอะไรกันบ้าง ตามไปทำความเข้าใจกันได้เลย

Growth Mindset คือคิดบวก

Growth Mindset ไม่ใช่การคิดบวก ซึ่งการคิดบวก ก็คือการมองในแง่ดี เมื่อพบเจอกับปัญหาก็มักจะหลอกตัวเองแล้วมองว่าเป็นสิ่งที่ดี เดี๋ยวก็ผ่านไป แต่ Growth Mindset ไม่ใช่การคิดบวก เพราะเป็นการสอนให้แก้ปัญหา ก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ มากกว่าการคิดบวกหลอกตัวเองเพื่อที่จะหนีปัญหา

Growth Mindset คือห้ามผิดพลาด

Growth Mindset คือการที่คนเราสามารถที่จะผิดพลาดได้ หรือสามารถที่จะล้มเหลวได้ ซึ่งแนวคิด Growth Mindset มีความเชื่อว่าความสามารถของทุกคนสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ผ่านการเรียนรู้ ไม่ยอมแพ้ และมีความพยายาม

Growth Mindset คือการเรียนรู้อยู่ตลอด

Growth Mindset ไม่ต้องเรียนรู้ตลอด ไม่ต้องเรียนรู้ทุกเรื่อง เพราะคนที่มี Growth Mindset ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นคนที่มีความรู้รอบตัวเยอะ เนื่องจากชีวิตของคนเรามีเวลาจำกัด ต้องเลือกเรียนรู้สิ่งที่มีความสำคัญ เพื่อไปพัฒนาต่อ

ความต่างของ fixed mindset กับ growth mindset

ความต่างของ Fixed mindset กับ Growth Mindset

Fixed Mindset คือทัศนคติแบบดั้งเดิม หรือแนวคิดแบบยึดติด ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อว่า คนมีความสามารถ มีทักษะ มีศักยภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความฉลาด ได้แค่เพียงเท่านี้ ไม่สามารถที่จะพัฒนาต่อไปได้ จนทำให้มีความคิดอยู่ในกรอบแบบเดิมๆ กลัวการเปลี่ยนแปลง กลัวความล้มเหลว ไม่กล้าที่จะคิด หรือไม่กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ เป็นต้น

Growth Mindset คือทัศนคติแบบใหม่ หรือแนวคิดแบบยืดหยุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อว่าความสามารถ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์สามารถที่จะสร้างกันได้ รวมถึงสามารถที่จะพัฒนาต่อไปข้างหน้าได้ ซึ่งมีความเชื่อว่าศักยภาพของคนจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่กลัวความล้มเหลว กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เป็นต้น

วิธีเลี้ยงลูกให้มี growth mindset

วิธีเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการที่จะปลูกฝังลูกให้มีวิธีคิดแบบ Growth Mindset ในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถสร้างได้ง่ายๆ เริ่มต้นโดยการปรับทัศนคติของตนเองก่อน และจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวลูก ว่าลูกมีความสามารถพร้อมที่จะพัฒนาได้ หลังจากนั้นค่อยไปปรับทัศนคติของลูก หากคุณพ่อคุณแม่พร้อมแล้ว ก็สามารถตามไปดูวิธีการสร้าง Growth Mindset ที่เป็นตัวช่วยทำให้ลูกน้อยพัฒนา ก้าวผ่านอุปวรรค จนประสบความสำเร็จได้ ดังต่อไปนี้

ให้ลูกได้เรียนรู้ และลองทำสิ่งใหม่ ๆ

การสร้าง Growth Mindset การให้ลูกได้เรียนรู้ และลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ลูกค้นหาความสามารถ ค้นหาความถนัดของตนเองได้ อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยทำให้ลูกเป็นคนที่เปิดใจเพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างมีความสุขอีกด้วย

สอนให้ลูกยอมรับในความผิดพลาด

กิจกรรมสร้าง Growth Mindset สอนให้ลูกน้อยยอมรับในความผิดพลาด สำหรับวิธีการเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset ไม่ได้เป็นแค่เพียงการสอนลูกให้รู้จักความพยายาม แต่ยังเป็นการสอนลูกให้ยอมรับในความผิดพลาดให้ได้ แต่จะต้องไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าความผิดพลาดครั้งนี้เป็นตราบาป แต่จะต้องสอนให้ลูกมองว่าเป็นโอกาสสำหรับการเรียนรู้ และสามารถนำมาปรับปรุงเพื่อที่จะพัฒนาตัวเองต่อไปได้

ชื่นชมในความพยายามของลูกเสมอ

หลักแนวคิด Growth Mindset เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้สอนให้ลูกน้อยมีความพยายามที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเองแล้ว ก็ไม่ควรที่จะลืมชื่นชมความพยายามของลูกน้อยด้วยทุกครั้ง โดยจะต้องใช้คำชมแบบเจาะจงไปที่วิธีการ ไม่ใช่ผลสำเร็จ เช่น แม่มีความตั้งใจมากที่ลูกตั้งใจเรียน และมีความตั้งใจที่จะอ่านหนังสือสอบ โดยจะต้องหลีกเลี่ยงคำชมที่ไม่ส่งผล และไม่ทำให้เกิดพัฒนาการทางความคิด เช่น อัจฉริยะ เก่ง และฉลาด เป็นต้น

สอนให้ลูกรู้จักเผชิญปัญหาด้วยตัวเอง

การสอนให้ลูกรู้จักเผชิญปัญหาด้วยตนเอง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีความสำคัญมากที่สุด ไม่แพ้ไปจากวิธีอื่นๆ สำหรับการเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset ที่ดี คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายจะต้องปล่อยให้ลูกน้อยได้รู้จักการเผชิญปัญหา และมีความพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ทุกคนจะต้องเฝ้าดูอย่างอดทน และต้องอดใจไม่ลงมือที่จะแก้ปัญหาให้ลูกเสียเอง ซึ่งวิธีดังกล่าวจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่

สอนให้ลูกเข้าใจแนวคิดที่ว่าไม่มีอะไรที่เรายังทำไม่ได้ถ้ายังไม่ลองทำ

เมื่อถึงวันที่ลูกน้อยเกิดความผิดพลาด หรือเกิดความล้มเหลว คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องสอนให้ลูกเข้าใจแนวคิด Growth Mindset ที่ว่าหากอะไรที่เรายังไม่ลองทำ ไม่ได้แปลว่าเราทำสิ่งนั้นไม่ได้ เพียงแต่ว่า เรายังไม่สามารถที่จะทำได้ในตอนนี้เท่านั้น ซึ่งต้องบอกกับลูกเสมอว่า หากลูกมีความพยายามสูง มีความตั้งใจมากพอที่จะทำมัน และจะต้องมองข้ามผ่านความล้มเหลว ซึ่งความล้มเหลวไม่ใช่จุดจบ ลูกน้อยก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอนในอนาคต

สรุป

สรุปแล้ว Growth Mindset คือแนวคิดที่ เชื่อกันว่า เด็กทุกคนสามารถที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จได้ หากมีความพยายาม มีความตั้งใจ และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา ซึ่งจะมีความแตกต่างกับ Fixed Mindset ที่อยู่ในกรอบเดิมๆ ไม่มีความพยายาม กลัวการเปลี่ยนแปลง กลัวความล้มเหลว ไม่กล้าคิดที่จะทำสิ่งใหม่ๆ หรือการยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ หวังว่าวิธีการเลี้ยงลูกให้มี Growth Mindset ตามที่ได้มีการรวบรวมไปเพื่อที่จะให้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายได้ลองนำไปใช้ จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพิ่มทักษะการใช้ชีวิตให้แก่ลูกน้อยได้ ด้วยการให้ลูกได้เรียนรู้วิธีคิดด้วยทัศนคติแบบ Growth Mindset ที่ Speak Up Language Center  ในการเรียนการสอนก็จะมีกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้เด็กๆ ที่มาเรียนได้เรียนรู้ และเติบโต ไม่ติดอยู่ในกรอบแบบการเรียนสมัยก่อน โดยจะเป็นตัวช่วยเพิ่มโอกาสก้าวเข้าสู่ความสำเร็จ และทำให้ลูกใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากต่อไป

การนับเลขภาษาจีนตั้งแต่หลักหน่วยถึงหลักร้อย

นับเลขภาษาจีน ตั้งแต่หลักหน่วยถึงหลักล้าน เด็กจำง่าย พร้อมคำอ่านไทย

การนับเลขภาษาจีน ถือเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษาจีนเลยก็ว่าได้ หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องยาก และท้าทาย เพราะระบบการนับเลขของจีนถึงจะดูง่าย แต่ก็ต้องเข้าใจพื้นฐาน หลักการ และเงื่อนไขบางอย่าง บทความนี้ จึงขอชวนน้องๆ และคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองที่อยากจะเริ่มต้นสอนภาษาจีนให้เด็กๆ มาเริ่มเรียนนับเลขภาษาจีนกันได้ง่ายๆ นับได้ตั้งแต่หลักหน่วยไปจนถึงหลักล้าน พร้อมดูข้อยกเว้นและกฎในการนับเลขจีนกลาง ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย

การเรียนนับเลขภาษาจีนสำคัญอย่างไร

การเรียนนับเลขภาษาจีนสำคัญอย่างไร

การที่เด็กๆ สามารถนับเลขภาษาจีนได้นั้น มีความสำคัญมากในการเรียนภาษาจีนและการนำไปใช้งานจริง เช่น เวลาไปซื้อของก็สามารถบอกจำนวนที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ถ้าหากอยากจะจองโต๊ะที่ร้านอาหารหรือทำการนัดหมายใดๆ ก็สามารถระบุวันและเวลาได้ อีกทั้งยังช่วยในการเรียนรู้คำสแลงต่างๆ ในภาษาจีน และหลีกเลี่ยงตัวเลขอัปมงคลที่เป็นความเชื่อของวัฒนธรรมจีน

ตัวเลขพื้นฐานในภาษาจีน

ตัวเลขพื้นฐานในภาษาจีน

ตัวเลขอักษรจีนพินอินคำอ่านคำแปล
1 อี หนึ่ง
2èr เอ้อร์ สอง
3sānซานสาม
4ซื่อ สี่
5หวู่ ห้า
6liùลิ่วหก
7ชีเจ็ด
8ปาแปด
9jiǔ จิ่วเก้า
0líng หลิงศูนย์

ข้อควรรู้เกี่ยวกับตัวเลขพื้นฐาน

  • เลข 0 หรือ 零 ซึ่งอ่านว่า líng (หลิง) ที่แปลว่าเลขศูนย์ในการนับเลขภาษาจีน ในบางครั้งจะเห็นการใช้อักขระ 〇 ซึ่งจะอ่านว่า líng (หลิง) และแปลว่าเลขศูนย์เช่นกัน
  • เลข 1 ตามปกติแล้วเลขหนึ่งในภาษาจีนจะออกเสียงว่า yī (อี) แต่ถ้าในสถานการณ์ที่บอกเบอร์โทรศัพท์ เลขที่บ้าน หรือเลขที่ห้อง มักจะพูดว่า 幺 ซึ่งออกเสียงว่า yāo (เยา) แทน
  • เลข 2 ส่วนใหญ่แล้วเลขสองในการนับตัวเลขภาษาจีนและการบอกเบอร์โทรศัพท์จะใช้ 二 ที่อ่านว่า èr (เอ้อร์) แต่ถ้าเป็นการบอกจำนวนหรือปริมาณจะใช้คำว่า 两 ซึ่งอ่านว่า liǎng (เหลี่ยง)
  • เลข 4 ตามความเชื่อของจีน หมายเลขสี่เป็นเหมือนเลขอัปมงคลที่จะนำพาความโชคร้ายเข้ามา เพราะเลขสี่ออกเสียงว่า sì (ซื่อ) ซึ่งออกเสียงคล้ายกับคำว่า 死 sǐ (สื่อ) ที่มีความหมายว่า ตาย จึงเป็นเลขที่ชาวจีนมักจะหลีกเลี่ยงกัน โดยเฉพาะการให้ของผู้อื่น จะไม่ให้จำนวนสี่ชิ้น และอาคารต่างๆ ก็จะไม่มีชั้นสี่เช่นกัน

ตัวอย่างเลขที่ควรรู้

  • ตัวอย่างการอ่านเบอร์โทรศัพท์เป็นภาษาจีน เช่น 0985715312 อ่านว่า líng jiǔ bā wǔ qī yāo wǔ sān yāo èr (หลิง จิ่ว ปา หวู่ ชี เยา หวู่ ซาน เยา เอ้อร์)
  • ตัวอย่างการใช้เลขสองในการบอกจำนวนและปริมาณ เช่น 两个橙子 liǎng gè chéngzi (เหลี่ยง เก้อ เฉิงจึ) แปลว่า ส้ม 2 ผล
การนับเลขในภาษาจีนหลักสิบ

การนับเลขในภาษาจีนหลักสิบ

นับเลขภาษาจีนในหลักหน่วยกันไปแล้ว การนับเลขหลักสิบในภาษาจีนมีหน่วยการนับเป็น 十 (shí) ซึ่งแปลว่า 10 โดยสามารถนับได้ดังนี้

ตัวเลขอักษรจีนพินอินคำอ่านคำแปล
10 shí สือ สิบ
11十一 shíyī สืออีสิบเอ็ด
12十二shíèr สือเอ้อร์สิบสอง
13十三 shísān สือซาน สิบสาม
14十四 shísì สือซื่อสิบสี่
15十五 shíwǔ สือหวู่สิบห้า
16十六shíliùสือลิ่วสิบหก
17十七 shíqī สือชีสิบเจ็ด
18十八shíbā สือปาสิบแปด
19十九 shíjiǔ สือจิ่วสิบเก้า
20二十 èrshí เอ้อร์สือยี่สิบ
30三十 sānshí ซานสือสามสิบ
40四十sìshí ซื่อสือสี่สิบ
50五十 wǔshíหวู่สือห้าสิบ
60六十 liùshí ลิ่วสือหกสิบ
70七十 qīshí ชีสือเจ็ดสิบ
80八十 bāshí ปาสือแปดสิบ
90九十 jiǔshí จิ่วสือเก้าสิบ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับตัวเลขหลักสิบ

สามารถสังเกตเห็นได้ว่าการนับเลขภาษาจีนในหลักสิบ เป็นการนำเอาเลข 10 มารวมกับเลขตัวอื่นๆ เช่น 20, 30, 40 … มีการใช้รูปแบบเดียวกัน และมีความคล้ายคลึงกันกับในภาษาไทย เพียงแค่เอาเลขด้านหน้าตามด้วยหลักสิบ ทำให้จำแค่เพียงจำเลข 1-10 ก็สามารถประกอบเป็นเลขได้เกือบครบ 100 แล้ว

ตัวอย่างเลขที่ควรรู้

  • ตัวอย่างการรวมเลขในหลักสิบ เช่น 55 ในภาษาจีนคือ 五十五 wǔshíwǔ (หวู่ สือ หวู่) หรือ 73 ในภาษาจีนคือ 七十三 qīshísān (ชี สือ ซาน)
การนับเลขในภาษาจีนหลักร้อย

การนับเลขในภาษาจีนหลักร้อย

การนับเลขหลักร้อยมีหน่วยการนับเป็น 百 อ่านว่า bǎi (ไป่) หรือ 一百 อ่านว่า yìbǎi (อีไป่) ซึ่งแปลว่า 100 โดยสามารถนับเลขภาษาจีนหลักร้อยได้ดังนี้

ตัวเลขอักษรจีนพินอินคำอ่านคำแปล
100一百 yìbǎi อีไป่หนึ่งร้อย
101一百零一yìbǎi líng yīอีไป่หลิงอีหนึ่งร้อยเอ็ด
102一百零二 yìbǎi líng èrอีไป่หลิงเอ้อร์หนึ่งร้อยสอง
103一百零三 yìbǎi líng sān อีไป่หลิงซานหนึ่งร้อยสาม
104一百零四 yìbǎi líng sì อีไป่หลิงซื่อ หนึ่งร้อยสี่
105一百零五 yìbǎi líng wǔ อีไป่หลิงหวู่หนึ่งร้อยห้า
106一百零六 yìbǎi líng liù อีไป่หลิงลิ่วหนึ่งร้อยหก
107一百零七 yìbǎi líng qī อีไป่หลิงชีหนึ่งร้อยเจ็ด
108一百零八 yìbǎi líng bā อีไป่หลิงปาหนึ่งร้อยแปด
109一百零九 yìbǎi líng jiǔ อีไป่หลิงจิ่วหนึ่งร้อยเก้า
110一百一十 yìbǎi yī (shí) อีไป่อี (สือ) หนึ่งร้อยสิบ
129一百二十九 yìbǎi èrshíjiǔ อีไป่เอ้อร์สือจิ่วหนึ่งร้อยยี่สิบเก้า
175一百七十五 yìbǎi qīshíwǔ อีไป่ชีสือหวู่หนึ่งร้อยเจ็ดสิบห้า
200二百, 两百 èrbǎi, liǎngbǎi เอ้อร์ไป่, เหลียงไป่สองร้อย
300三百 sānbǎi ซานไป่สามร้อย

 

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับตัวเลขหลักร้อย

วิธีนับเลขภาษาจีนของตัวเลข 100-109 จะมีความแตกต่างจากไทยอยู่นิดหน่อยตรงที่จะใช้คำว่า 零 (líng) ที่แปลว่า เลขศูนย์ คั่นระหว่างคำว่า 一百 (yìbǎi) ที่อยู่ข้างหน้ากับเลขตัวเลขหลักหน่วยที่อยู่ด้านหลัง และควรระมัดระวังการใช้เลข 250 เพราะในจีน 250 มีความหมายแฝงที่ไม่ดี หมายถึงงี่เง่าหรือโง่ ใช้เป็นคำดูถูกผู้อื่น

การนับเลขในภาษาจีนหลักพัน

การนับเลขในภาษาจีนตั้งแต่ 1,000 ขึ้นไป

การนับเลขจีนกลางในหลักพันขึ้นไป ที่สามารถพบเห็นได้เป็นประจำ เด็กๆ จำเป็นต้องรู้ไว้เป็นพื้นฐาน มีดังนี้

จำนวนครั้งอักษรจีนพินอินคำอ่าน
หนึ่งครั้ง一次 yīcì อีชื่อ
สองครั้ง两次 liǎngcìเหลี่ยงชื่อ
สามครั้ง三次 sāncì ซานชื่อ
สี่ครั้ง四次 sìcìซื่อชื่อ
ห้าครั้ง五次 wǔcì หวู่ชื่อ
หกครั้ง六次 liùcìลิ่วชื่อ
เจ็ดครั้ง七次 qīcì ชีชื่อ
แปดครั้ง八次 bācìปาชื่อ
เก้าครั้ง九次 jiǔcì จิ่วชื่อ
สิบครั้ง十次 shícìสือชื่อ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับตัวเลขหลักพัน

ตัวเลขหลักพันขึ้นไปในภาษาจีน ก็มีหลักการเดียวกันกับเลขหลักสิบและหลักร้อย โดยสามารถเอามารวมกันได้เลย และการรวมกันของหลักก็ทำให้เกิดเป็นหลักใหม่ อย่างหลัก 10 กับ 10,000 รวมเป็น 十万 (shí wàn) ซึ่งมีความหมายว่าหนึ่งแสน

ตัวอย่างเลขที่ควรรู้

  • 37,850 三万七千八百五十 sān wàn qī qiān bā bǎi wǔ shí (ซาน ว่าน ชี เชียน ปา ไป่ หวู่ สือ)
  • 102,046 十万两千四十六 shí wàn liǎng qiān sì shí liù (สือ ว่าน เหลี่ยง เชียน ซื่อ สือ ลิ่ว)
การนับเลขลำดับที่ในภาษาจีน

การนับเลขลำดับที่ในภาษาจีน

เรียนนับเลขภาษาจีนกันไปเรียบร้อยแล้ว และถ้าหากต้องการนับเป็นลำดับที่จะต้องทำอย่างไร ไม่ยากเลย เพียงแค่ใช้คำว่า อ่านว่า dì (ตี้) ซึ่งแปลว่า ที่ มานำหน้าตัวเลขลำดับที่ต้องการ ดังนี้

จำนวนครั้งอักษรจีนพินอินคำอ่าน
หนึ่งครั้ง一次 yīcì อีชื่อ
สองครั้ง两次 liǎngcìเหลี่ยงชื่อ
สามครั้ง三次 sāncì ซานชื่อ
สี่ครั้ง四次 sìcìซื่อชื่อ
ห้าครั้ง五次 wǔcì หวู่ชื่อ
หกครั้ง六次 liùcìลิ่วชื่อ
เจ็ดครั้ง七次 qīcì ชีชื่อ
แปดครั้ง八次 bācìปาชื่อ
เก้าครั้ง九次 jiǔcì จิ่วชื่อ
สิบครั้ง十次 shícìสือชื่อ

ตัวอย่างการนับลำดับเลข

  • ลำดับที่ 32 第三十二 dì sān shí èr (ตี้ ซาน สือ เอ้อร์)
  • ลำดับที่ 539 第五百三十九 dì wǔ bǎi sān shí jiǔ (ตี้ หวู ไป่ ซาน สือ จิ่ว)
การนับเลขจำนวนครั้งในภาษาจีน

การนับเลขจำนวนครั้งในภาษาจีน

การบอกจำนวนครั้งในภาษาจีนก็ง่ายมากเช่นเดียวกัน เพียงเติมคำว่า อ่านว่า cì (ชื่อ) ที่แปลว่า ครั้ง ตามหลังตัวเลขที่ต้องการ ดังนี้

จำนวนครั้งอักษรจีนพินอินคำอ่าน
หนึ่งครั้ง一次 yīcì อีชื่อ
สองครั้ง两次 liǎngcìเหลี่ยงชื่อ
สามครั้ง三次 sāncì ซานชื่อ
สี่ครั้ง四次 sìcìซื่อชื่อ
ห้าครั้ง五次 wǔcì หวู่ชื่อ
หกครั้ง六次 liùcìลิ่วชื่อ
เจ็ดครั้ง七次 qīcì ชีชื่อ
แปดครั้ง八次 bācìปาชื่อ
เก้าครั้ง九次 jiǔcì จิ่วชื่อ
สิบครั้ง十次 shícìสือชื่อ

ตัวอย่างการนับจำนวนครั้ง

  • 48 ครั้ง 四十八次 sì shí bā cì (ซื่อ สือ ปา ชื่อ)
  • 133 ครั้ง 一百三十三次 yì bǎi sān shí sān cì (อี ไป่ ซาน สือ ซาน ชื่อ)

สรุป

การนับเลขภาษาจีนไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ เพียงแค่จำตัวเลขหลักหน่วย 10 ตัว และจำหลักสิบ หลักร้อย หลักพัน และหลักหมื่น รวมถึงรู้หลักการและข้อควรรู้ต่างๆ อีกเล็กน้อย ก็สามารถนำมาผสมรวมกันจนสามารถนับเลขภาษาจีนได้ถึงหลักล้านแล้ว การได้สอนลูกๆ หรือเด็กๆ ให้เริ่มหัดเรียนเลขภาษาจีนจะช่วยให้เด็กค่อยๆ จดจำได้ดีอย่างเป็นธรรมชาติ ที่ Speak Up Language Center มีหลักสูตรภาษาจีนสำหรับเด็กเล็ก 2.5-12 ปี เริ่มตั้งแต่พื้นฐานอย่างการนับเลข ไปจนถึงการสนทนาเป็นประโยค ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ภาษาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และสามารถต่อยอดได้ในอนาคต

คำศัพท์หมวดผลไม้ภาษาอังกฤษ

คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผลไม้ A-Z พร้อมคำอ่าน และคำแปลไทย

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากสิ่งใกล้ตัว เช่น ผักและผลไม้ที่ต้องรับประทานทุกวัน นอกจากจะทำให้น้องๆ จำคำศัพท์ได้ง่ายและเร็วขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ยังสนุกกับการทายคำศัพท์ของอาหารแต่ละมื้อ ว่ามีผักผลไม้ชนิดใด มีชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไรบ้าง ซึ่งคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผลไม้และผักก็มีอยู่มากมายให้ได้เลือกทดสอบความจำ

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ หมวดผลไม้ A-Z

คำศัพท์อังกฤษเกี่ยวกับผัก และผลไม้สำคัญอย่างไร

การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับผัก ผลไม้ จะช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว พบเห็นได้บ่อย จึงง่ายต่อการจดจำเรียนรู้ ยิ่งรู้คำศัพท์มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ทักษะทางภาษาอังกฤษก้าวหน้าขึ้นมากเท่านั้น เพราะสามารถนำเอาคำศัพท์ไปสร้างเป็นประโยคง่ายๆ หรือใช้เป็นบทสนทนาในชีวิตประจำวันได้

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ หมวดผลไม้

คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผลไม้ A-Z

คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผลไม้นั้นมีอยู่มากมายให้ได้เลือกท่องจำ ตัวอย่างคำศัพท์หมวดผลไม้ตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้

1. Apple

  • คำอ่าน: แอ็พเพิล
  • คำแปล: แอปเปิล
  • ตัวอย่างประโยค: I am eating an apple.

2. Apricot

  • คำอ่าน: แอพริค็อท
  • คำแปล: แอปพลิคอท
  • ตัวอย่างประโยค: I like to eat apricot jam with bread.

3. Avocado

  • คำอ่าน: แอฟวะคาโด
  • คำแปล: อะโวคาโด
  • ตัวอย่างประโยค: Avocados provide high protein and vitamins.

4. Banana

  • คำอ่าน: แบนานะ
  • คำแปล: กล้วย
  • ตัวอย่างประโยค: How much does those bananas cost?

5. Blueberry

  • คำอ่าน: บลูแบรี
  • คำแปล: บลูเบอรี
  • ตัวอย่างประโยค: Blueberry cheesecake is my favorite dessert.

6. Blackcurrant

  • คำอ่าน: แบล็คเคอะเรินท
  • คำแปล: แบล็คเคอร์แรนท์
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t like the blackcurrant flavor.

7. Bilimbi

  • คำอ่าน: เบลมบิ
  • คำแปล: ตะลิงปลิง
  • ตัวอย่างประโยค: The bilimbi tease is terrible.

8. Bael fruit

  • คำอ่าน: เบล ฟรุท
  • คำแปล: มะตูม
  • ตัวอย่างประโยค: My mom loves to drink bael fruit juice, it is so tasty.

9. Bilberry

  • คำอ่าน: บิลล เบอรี
  • คำแปล: บิลเบอร์รี
  • ตัวอย่างประโยค: Those bilberries were picked from the garden.

10. Cantaloupe

  • คำอ่าน: แคนทะโลพ
  • คำแปล: แคนตาลูป
  • ตัวอย่างประโยค: I have a piece of cantaloupe .

11. Cherry

  • คำอ่าน: เช๊ะรี
  • คำแปล: เชอรี
  • ตัวอย่างประโยค: We put some cherries on top of the ice cream.

12. Coconut

  • คำอ่าน: โค๊ะโคนัท
  • คำแปล: มะพร้าว
  • ตัวอย่างประโยค: That coconut coffee is yummy.

13. Custard apple

  • คำอ่าน: คัสทาด แอพเพิ้ล
  • คำแปล: น้อยหน่า
  • ตัวอย่างประโยค: The custard apples are very rare.

14. Chestnut

  • คำอ่าน: เชสนัท
  • คำแปล: เกาลัด
  • ตัวอย่างประโยค: I made a cake with roasted chestnuts.

15. Chinese plum

  • คำอ่าน: ไชนีส พลัม
  • คำแปล: บ๊วย
  • ตัวอย่างประโยค: That Chinese plum is a bit sour.

16. Dragon fruit

  • คำอ่าน: แดร๊เกิน ฟรุท
  • คำแปล: แก้วมังกร
  • ตัวอย่างประโยค: I bought some dragon fruits from the Thai market.

17. Date

  • คำอ่าน: เดท
  • คำแปล: อินผลัม
  • ตัวอย่างประโยค: The dates are too sweet.

18. Durian

  • คำอ่าน: ดู๊เรียน
  • คำแปล: ทุเรียน
  • ตัวอย่างประโยค: Durian provides a unique smell.

19. Elderberry

  • คำอ่าน: เอ็ลเดอะแบริ
  • คำแปล: เอลเดอร์เบอร์รี
  • ตัวอย่างประโยค: My father drinks elderberry wine every night.

20. Fig

  • คำอ่าน: ฟิ้ก
  • คำแปล: มะเดื่อ
  • ตัวอย่างประโยค: The dried fig is soft and delicious.

21. Goji Berry

  • คำอ่าน: กอจิแบรรี่
  • คำแปล: โกจิเบอร์รี
  • ตัวอย่างประโยค: Goji Berry has been used as traditional medicine.

22. Grape

  • คำอ่าน: เกรพ
  • คำแปล: องุ่น
  • ตัวอย่างประโยค: The wine is made from sweet grapes.

23. Grapefruit

  • คำอ่าน: เกร๊พฟรูท
  • คำแปล: เกรปฟรุต
  • ตัวอย่างประโยค: The grapefruit is similar to orange.

24. Guava

  • คำอ่าน: กว๊าหวะ
  • คำแปล: ฝรั่ง
  • ตัวอย่างประโยค: Guava has very small seeds.

25. Jackfruit

  • คำอ่าน: แจ็คฟรุท
  • คำแปล: ขนุน
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t know how to eat jackfruit.

26. Jambolan plum

  • คำอ่าน: จัมโบลาน พลัม
  • คำแปล: ลูกหว้า
  • ตัวอย่างประโยค: Jambolan plum can be found in Thailand.

27. Jujube

  • คำอ่าน: จู๊จูบ
  • คำแปล: พุทรา
  • ตัวอย่างประโยค: The dried Jujube is too hard to chew.

28. Kiwi

  • คำอ่าน: คี๊วี
  • คำแปล: กีวี
  • ตัวอย่างประโยค: Baker usually uses sliced kiwi as a cake decoration.

29. Kumquat

  • คำอ่าน: คั๊มคว็อท
  • คำแปล: ส้มจี๊ด
  • ตัวอย่างประโยค: This snack is made from dried kumquat.

30. Longan

  • คำอ่าน: ล๊องเกิน
  • คำแปล: ลำไย
  • ตัวอย่างประโยค: The primary flavor of longan is sweet.

31. Lychee

  • คำอ่าน: ลีชชี
  • คำแปล: ลิ้นจี่
  • ตัวอย่างประโยค: My son is eating lychee pudding.

32. Langsat

  • คำอ่าน: แลงแซท
  • คำแปล: ลางสาด
  • ตัวอย่างประโยค: The langsat is a fruit which can be found in Asia.

33. Mango

  • คำอ่าน: แม๊งโก
  • คำแปล: มะม่วง
  • ตัวอย่างประโยค: Mango sticky rice is the most delicious dessert.

34. Mangosteen

  • คำอ่าน: แมงโกสทีน
  • คำแปล: มังคุด
  • ตัวอย่างประโยค: Mangosteen is a fruit which is mostly found in Sourest Asia.

35. Marian Plum

  • คำอ่าน: แมเรียน พลัม
  • คำแปล: มะปราง
  • ตัวอย่างประโยค: Marian Plum is a tropical fruit.

36. Melon

  • คำอ่าน: เมลลอน
  • คำแปล: เมลอน
  • ตัวอย่างประโยค: Melons which are imported from Japan are expensive.

37. Nectarine

  • คำอ่าน: เน็คเทอะรีน
  • คำแปล: เน็คทารีน
  • ตัวอย่างประโยค: Nectarine is a good source of fiber.

38. Orange

  • คำอ่าน: ออเรนจฺ
  • คำแปล: ส้ม
  • ตัวอย่างประโยค: Here is your breakfast, orange juice and boiled egg.

39. Papaya

  • คำอ่าน: พาพายา
  • คำแปล: มะละกอ
  • ตัวอย่างประโยค: Papaya salad is one of the most popular Thai dishes.

40. Passionfruit

  • คำอ่าน: แพ๊เชิ่นฟรุทฺ
  • คำแปล: เสาวรส
  • ตัวอย่างประโยค: I’m crazy about passion fruit tart.

41. Pomegranate

  • คำอ่าน: พอม’แกรนนิท
  • คำแปล: ทับทิม
  • ตัวอย่างประโยค: Pomegranate is rich in antioxidant compounds.

42. Pomelo

  • คำอ่าน: พะเม๊โล
  • คำแปล: ส้มโอ
  • ตัวอย่างประโยค: I think a pomelo is similar in flavor to grapefruit.

43. Pear

  • คำอ่าน: แพร์
  • คำแปล: ลูกแพร์
  • ตัวอย่างประโยค: The pear is a delicious fruit. I like it so much

44. Plum

  • คำอ่าน: พลัม
  • คำแปล: ลูกพลัม
  • ตัวอย่างประโยค: There are many plums in the basket.

45. Peach

  • คำอ่าน: พีชฺ
  • คำแปล: ลูกพีช
  • ตัวอย่างประโยค: I drink peach tea almost everyday.

46. Pineapple

  • คำอ่าน: ไพ๊แนพเพิล
  • คำแปล: สัปปะรด
  • ตัวอย่างประโยค: My mother is slicing the pineapple.

47. Quince

  • คำอ่าน: ควินซ
  • คำแปล: ลูกควินช์
  • ตัวอย่างประโยค: Can I make juice from Quince?

48. Rambutan

  • คำอ่าน: แร๊มบุเทิน
  • คำแปล: เงาะ
  • ตัวอย่างประโยค: Can I have some Rambutan?

49. Raspberry

  • คำอ่าน: แรสแบรี่
  • คำแปล: ราสเบอร์รี
  • ตัวอย่างประโยค: I spread my toast with raspberry jam.

50. Rose apple

  • คำอ่าน: โรส แอพเพิล
  • คำแปล: ชมพู่
  • ตัวอย่างประโยค: I love eating fresh rose apples.

51. Strawberry

  • คำอ่าน: สตรอแบรี่
  • คำแปล: สตรอว์เบอร์รี
  • ตัวอย่างประโยค: Do you like to have some strawberry shortcake?

52. Star fruit

  • คำอ่าน: สตา ฟรุท
  • คำแปล: มะเฟือง
  • ตัวอย่างประโยค: Star fruit has the shape of a five-point star.

53. Sapodilla

  • คำอ่าน: แซเพอะดิลหล่า
  • คำแปล: ละมุด
  • ตัวอย่างประโยค: Who stole my sapodillas?

54. Star gooseberry

  • คำอ่าน: สตา กูซฺแบรี่
  • คำแปล: มะยม
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t like to eat star gooseberries.

55. Southern langsat

  • คำอ่าน: เซาเทิน แลงเซท
  • คำแปล: ลองกอง
  • ตัวอย่างประโยค: My sister picks Southern langsat from my basket.

56. Snake fruit

  • คำอ่าน: สเน้ค ฟรุท
  • คำแปล: สละ
  • ตัวอย่างประโยค: Do you like snake fruits?

57. Santol

  • คำอ่าน: แซ้นเทิล
  • คำแปล: กระท้อน
  • ตัวอย่างประโยค: I haven’t tried santol before.

58. Sugar palm nut

  • คำอ่าน: ชูก้าร์ ปาลม นัท
  • คำแปล: ลูกตาล
  • ตัวอย่างประโยค: I have tried sugar palm nuts. It is so soft and sweet.

59. Tamarind

  • คำอ่าน: แท็มมะรินด
  • คำแปล: มะขาม
  • ตัวอย่างประโยค: You are not allowed to eat tamarind candy.

60. Watermelon

  • คำอ่าน: ว้อเทอะเมเหลิ่น
  • คำแปล: แตงโม
  • ตัวอย่างประโยค: Can I have a glass of watermelon juice please?
คำศัพท์หมวดผลไม้

คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผัก A-Z

คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผักเองก็มีอยู่มากมายไม่แพ้กัน ตัวอย่างคำศัพท์หมวดผักตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้

1. Asparagus

  • คำอ่าน: แอสพาระกัส 
  • คำแปล: หน่อไม้ฝรั่ง
  • ตัวอย่างประโยค: Stir-fried asparagus with shrimp is my favorite dish.

2. Acacia pennata

  • คำอ่าน: อะเค๊เชอะ เพ็นนะทะ 
  • คำแปล: ชะอม
  • ตัวอย่างประโยค: Acacia pennata is smelly.

3. Angle luffa

  • คำอ่าน: แอ็งเกิล ลู๊ฟะ 
  • คำแปล: บวบเหลี่ยม
  • ตัวอย่างประโยค: Angle luffa is one of my favorite vegetables.

4. Bamboo shoot

  • คำอ่าน: แบ๊มบู ชูท 
  • คำแปล: หน่อไม้
  • ตัวอย่างประโยค: My mother boils sliced bamboo shoots.

5. Baby corn

  • คำอ่าน: เบบี้ คอร์น
  • คำแปล: ข้าวโพดอ่อน
  • ตัวอย่างประโยค: I hope you like the baby corn.

6. Bean

  • คำอ่าน: บีน 
  • คำแปล: ถั่ว
  • ตัวอย่างประโยค: Shall we plant some beans in our garden?

7. Bean sprout

  • คำอ่าน: บีน สเปร๊าท
  • คำแปล: ถั่วงอก
  • ตัวอย่างประโยค: I bought bean sprouts from a Chinese shop.

8. Bell pepper

  • คำอ่าน: เบ็ล เพ็พเพอะ
  • คำแปล: พริกหยวก
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t like to eat bell peppers.

9. Black mushroom

  • คำอ่าน: แบล็ค มั๊ชรูม 
  • คำแปล: เห็ดหอม
  • ตัวอย่างประโยค: The black mushroom soup is so yummy.

10. Bok choy

  • คำอ่าน: บ็อค ชอย 
  • คำแปล: ผักกาดกวางตุ้ง
  • ตัวอย่างประโยค: She is eating stir-fried Bok choy this morning.

11. Bitter cucumber

  • คำอ่าน: บิทเทอะ คิว’คัมเบอะ 
  • คำแปล: มะระ
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t like bitter cucumbers. It tastes too bitter.

12. Broccoli

  • คำอ่าน: บร๊อคเคอะลิ  
  • คำแปล: บรอกโคลี
  • ตัวอย่างประโยค: Broccoli is one of the superfoods.

13. Cabbage

  • คำอ่าน: แค๊บเบจ 
  • คำแปล: กะหล่ำปลี
  • ตัวอย่างประโยค: My mother bought some cabbage from the market.

14. Carrot

  • คำอ่าน: แค๊เริท 
  • คำแปล: แครอท
  • ตัวอย่างประโยค: These carrots are so sweet.

15. Cauliflower

  • คำอ่าน: ค๊อลิเฟลาเวอะ
  • คำแปล: กะหล่ำดอก
  • ตัวอย่างประโยค: I cut cauliflower into chunks.

16. Chilli

  • คำอ่าน: ชิลลิ
  • คำแปล: พริก
  • ตัวอย่างประโยค: The chilli is so spicy.

17. Coriander

  • คำอ่าน: คอริแอ๊นเดอะ
  • คำแปล: ผักชี
  • ตัวอย่างประโยค: Coriander leaves are an excellent source of vitamins.

18. Cucumber

  • คำอ่าน: คิ๊วคัมเบอะ 
  • คำแปล: แตงกวา
  • ตัวอย่างประโยค: My brother don’t like to eat cucumber

19. Cashew nut

  • คำอ่าน: แคชชู นัท
  • คำแปล: เม็ดมะม่วงหิมพานต์
  • ตัวอย่างประโยค: The cashew nut is one ingredient of toffee cake.

20. Celery

  • คำอ่าน: เซลเลอรี
  • คำแปล: ขึ้นฉ่าย
  • ตัวอย่างประโยค: Celery juice is good for your health.

21. Eggplant

  • คำอ่าน: เอ๊กแพลนท 
  • คำแปล: มะเขือม่วง
  • ตัวอย่างประโยค: The grilled eggplant is my favorite dish.

22. Enoki mushroom

  • คำอ่าน: เอ๊ะโนะคิ มั๊ชรูม  
  • คำแปล: เห็ดเข็มทอง
  • ตัวอย่างประโยค: Eating enoki mushroom miso soup during cold weather is really good.

23. Fingerroot

  • คำอ่าน: ฟิ๊งเกอะรูท 
  • คำแปล: กระชาย
  • ตัวอย่างประโยค: Fingerroot has been used in Thai folk medicine.

24. Garlic

  • คำอ่าน: กราลิก
  • คำแปล: กระเทียม
  • ตัวอย่างประโยค: I don’t like the tease of garlic.

25. Galangal

  • คำอ่าน: กาลังกัล
  • คำแปล: ข่า
  • ตัวอย่างประโยค: You can find galangal in Asian stores.

26. Ginger

  • คำอ่าน: จิ๊นเจอะ 
  • คำแปล: ขิง
  • ตัวอย่างประโยค: My grandfather drinks ginger ale everyday.

27. Green onion

  • คำอ่าน: กรีน เอิ๊นเนียน 
  • คำแปล: ต้นหอม
  • ตัวอย่างประโยค: My mum made green onion dressing.

28. Green bean

  • คำอ่าน: กรีน บีน 
  • คำแปล: ถั่วแขก
  • ตัวอย่างประโยค: I steamed green beans with salt and pepper.

29. Ivy gourd

  • คำอ่าน: ไอ๊วิ กอด 
  • คำแปล: ผักตำลึง
  • ตัวอย่างประโยค: I remove the ivy gourd from the bowl.

30. Kaffir lime

  • คำอ่าน: แค๊ฟเฟอะ ไลม 
  • คำแปล: มะกรูด
  • ตัวอย่างประโยค: The smell of Kaffir lime  is so good.

31. Kale

  • คำอ่าน: เคล
  • คำแปล: ผักเคล

ตัวอย่างประโยค: Kale is rich in nutrients.

32. Lemon

  • คำอ่าน: เล๊ะเมิน
  • คำแปล: มะนาว
  • ตัวอย่างประโยค: Can I have some lemon tea please?

33. Lemongrass

  • คำอ่าน: เล๊ะเมินกราส 
  • คำแปล: ตะไคร้
  • ตัวอย่างประโยค: Lemongrass is often used as a flavoring in Thai food.

34. Lettuce

  • คำอ่าน: เลท’ทิวสฺ 
  • คำแปล: ผักกาดหอม
  • ตัวอย่างประโยค: I am adding  some bacon chips in my lettuce salad.

35. Long bean

  • คำอ่าน: ลองบีน
  • คำแปล: ถั่วฝักยาว
  • ตัวอย่างประโยค: Long beans are usually used in Chinese cuisine.

36. Long eggplant

  • คำอ่าน: ลอง เอ๊กแพลนท 
  • คำแปล: มะเขือยาว
  • ตัวอย่างประโยค: My mother sliced long eggplants and fried them.

37. Mung bean

  • คำอ่าน: มัง บีน 
  • คำแปล: ถั่วเขียว
  • ตัวอย่างประโยค: Vermicelli are made from mung bean flour.

38. Morning glory

  • คำอ่าน: มอนิ่ง กรอรี่
  • คำแปล: ผักบุ้ง
  • ตัวอย่างประโยค: Stir fried Morning glory is so tasty.

39. Okra

  • คำอ่าน: โอ๊คระ 
  • คำแปล: กระเจี๊ยบ
  • ตัวอย่างประโยค: Okra is not one of the most common foods.

40. Onion

  • คำอ่าน: เอิ๊นเนียน 
  • คำแปล: หอมหัวใหญ่
  • ตัวอย่างประโยค: I like to eat crispy fried onions.

41. Oyster mushrooms

  • คำอ่าน: อ๊อยสเตอ มั๊ชรูม 
  • คำแปล: เห็ดนางฟ้า
  • ตัวอย่างประโยค: Oyster mushrooms have a savory flavor.

42. Peanut

  • คำอ่าน: พีนัท
  • คำแปล: ถั่วลิสง
  • ตัวอย่างประโยค: He is spreading peanut butter on toast.

43. Pea eggplant

  • คำอ่าน: พี เอ๊กแพลนท 
  • คำแปล: มะเขือพวง
  • ตัวอย่างประโยค: She doesn’t like to eat pea eggplant.

44. Pepper

  • คำอ่าน: เพ็พเพอะ
  • คำแปล: พริกไทย
  • ตัวอย่างประโยค: Don’t put too much pepper on his soup.

45. Peppermint

  • คำอ่าน: เพ็พเพอะมินท์
  • คำแปล: สะระแหน่
  • ตัวอย่างประโยค: Peppermint ice cream is so yummy.

46. Potato

  • คำอ่าน: พะเท๊โท
  • คำแปล: มันฝรั่ง
  • ตัวอย่างประโยค: I bought mesh potatoes from KFC.

47. Pumpkin

  • คำอ่าน: พั๊มคิน 
  • คำแปล: ฟักทอง
  • ตัวอย่างประโยค: This pumpkin soup is creamy.

48. Radish

  • คำอ่าน: เร้ดดิช
  • คำแปล: หัวไชเท้า
  • ตัวอย่างประโยค: She made chicken soup stock with radish.

49. Red bean

  • คำอ่าน: เร้ดบีน 
  • คำแปล: ถั่วแดง
  • ตัวอย่างประโยค: I will make red bean paste tomorrow.

50. Round eggplant

  • คำอ่าน: ราวนด เอ็กเพล้น 
  • คำแปล: มะเขือเปราะ
  • ตัวอย่างประโยค: Round eggplants are commonly used in Thai cuisine.

51. Seaweed

  • คำอ่าน: ซีหวีด
  • คำแปล: สาหร่าย
  • ตัวอย่างประโยค: Korean seaweed soup is also known as birthday soup.

52. Sesame seed

  • คำอ่าน: เซะซะมิ 
  • คำแปล: งา
  • ตัวอย่างประโยค: Sesame seed is a tiny and oil-rich seed.

53. Shallot

  • คำอ่าน: ชะล๊อท 
  • คำแปล: หอมแดง
  • ตัวอย่างประโยค: Have you eaten shallot?

54. Spinach

  • คำอ่าน:  สปิ๊นิช
  • คำแปล: ผักโขม
  • ตัวอย่างประโยค: Baked spinach with cheese is easy to make.

55. Sweet basil

  • คำอ่าน: สวีท บาซิล 
  • คำแปล: โหระพา
  • ตัวอย่างประโยค: He topped his pasta with fresh sweet basil.

56. Tomato

  • คำอ่าน: ทะเม๊โท 
  • คำแปล: มะเขือเทศ
  • ตัวอย่างประโยค: We need more tomato sauce in this pizza.

57. Water mimosa

  • คำอ่าน: ว๊อเทอะ มิโมซะ 
  • คำแปล: ผักกระเฉด
  • ตัวอย่างประโยค: We cook stir fried water mimosa for dinner.

58. Winged bean

  • คำอ่าน: วิงดึ บีน 
  • คำแปล: ถั่วพู
  • ตัวอย่างประโยค: My mother likes to eat winged beans.

59. White jelly fungus

  • คำอ่าน: ไวทฺ-เจลลิ-ฟังกัซฺ
  • คำแปล: เห็ดหูหนูขาว
  • ตัวอย่างประโยค: White jelly fungus is a popular edible mushroom.

60. Zucchini

  • คำอ่าน: สุคี๊นิ 
  • คำแปล: แตงกว่าญี่ปุ่น
  • ตัวอย่างประโยค: One of our favorite recipes is baked zucchini.

สรุป

การฝึกท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดผลไม้และผัก จะช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและจำคำศัพท์ได้มากขึ้น เพราะเป็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว สามารถพบเห็นได้ทุกวัน และเป็นส่วนประกอบของอาหารที่รับประทานเป็นประจำ จึงทำให้เรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว เป็เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ควรมองข้าม