fbpx

รวม 7 กิจกรรมพัฒนา EQ ทำได้ง่าย ๆ เพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ในเด็ก

สารบัญ
พัฒนา eq

รวม 7 กิจกรรมพัฒนา EQ ทำได้ง่าย ๆ เพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ในเด็ก

ถ้าอยากให้ลูกน้อยได้ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ผู้ปกครองควรเลี้ยงลูกอย่างใส่ใจตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ และช่วงที่อายุยังน้อยเป็นช่วงสำคัญที่จำเป็นต้องใส่ใจในเรื่องของพัฒนาการ จะเป็นการดีที่คุณพ่อกับคุณแม่หาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในวัยเด็กอยู่เสมอ ๆ 

ในบทความนี้ทาง Speak up จะแนะนำว่าการเน้นพัฒนา EQ  หรือก็คือการเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร พร้อมแนะนำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนา EQ ได้เป็นอย่างดีว่ามีอะไรบ้าง

ทำความรู้จักกับ Emotional Quotient (EQ)

อีคิว หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า EQ (Emotional Quotient) แปลว่า  ความฉลาดทางอารมณ์ ที่ควรริเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก โดยส่วนนี้จะเป็นการเพิ่มความสร้างสรรค์และความสุขให้กับลูกได้ แน่นอนว่าหากมีการปลูกฝังที่ดี ก็จะส่งผลต่อการเข้าสังคมในตอนโต ความสามารถในการจัดการอารมณ์และความรู้สึก สามารถเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากตัวเอง และสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตตลอดทั้งชีวิต ดังนั้นการฝึก EQ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

eq กับ iq ต่างกันอย่างไร

อีคิว (EQ) กับ ไอคิว (IQ) ต่างกันอย่างไร?

สิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกของคุณพ่อและคุณแม่ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติหรือราบรื่น จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านต่างๆ ให้กับลูก จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การเข้าสังคมอย่างถูกต้อง และเมื่อประสบพบเจอปัญหาจะสามารถแก้ได้อย่างไร โดยจะเกี่ยวเนื่องกับคำว่า อีคิว (EQ) และ ไอคิว (IQ) ซึ่งมีความแตกต่างดังนี้

  • ไอคิว (IQ) คือระดับเชาวน์ปัญญาที่จะเน้นในเรื่องความคิด ความเป็นเหตุเป็นผล การวิเคราะห์สถานการณ์ รวมถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่าง ๆ จะส่งผลต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับด้านวิชาการได้เป็นอย่างดี ในส่วนตรงนี้นับว่าเป็นศักยภาพของสมองที่มีมาตั้งแต่เกิด สามารถเพิ่มขึ้นได้แต่ไม่มากนัก
  • อีคิว (EQ) คือ ความสามารถรับรู้บรรยากาศโดยรอบเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง และรับรู้ความรู้สึกของคนอื่น นอกจากนี้ก็ยังจะมีการจัดการอารมณ์ของตนเองอย่างเหมาะสม ซึ่งในส่วนนี้ถือว่าพัฒนาได้ตลอดชีวิต แต่แนะนำว่าให้ พัฒนา EQ ตั้งแต่เด็กเพื่อสามารถมีชีวิตที่ดีได้ในอนาคต

องค์ประกอบของอีคิว (EQ) มีอะไรบ้าง?

สำหรับองค์ประกอบของ EQ ที่ทางกรมสุขภาพจิตของไทยได้ให้นิยามไว้ว่าองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ที่จำเป็นจะต้องมีในเด็กที่กำลัง พัฒนา EQ ดังนี้

ด้านดี

ด้านที่ดี คือ สามารถจัดการความรู้สึกของตัวเอง รวมไปถึงการควบคุมได้เป็นอย่างดี สามารถรับรู้ความต้องการของตัวเองได้ สามารถเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่คนอื่นเป็น มีความสัมพันธ์ในรูปแบบเป็นผู้รับและเป็นผู้ให้ ผิดต้องขอโทษ หากโกรธ ต้องรู้จักการให้อภัย

ด้านเก่ง

ด้านที่เก่ง คือ สามารถรู้ตัวตนของตัวเองว่าเป็นอย่างไร เมื่อประสบพบเจอเรื่องราวจะจัดการและจะแก้ปัญหาอย่างไร พร้อมสร้างพลังบวกให้ตัวเองอยู่เสมอ มีเป้าหมายในการทำอะไรบางอย่าง สามารถยอมรับกับความล้มเหลวและพัฒนาต่อไปได้

ด้านสุข

ด้านสุข คือ ด้านที่สามารถดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างเป็นสุข ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับลูกเป็นอย่างมาก ทางที่ดีคือสามารถมีความสุขได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร มีความมั่นอกมั่นใจ มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง พอใจกับชีวิตที่ตัวเองเป็นอยู่ และสามารถหาความสงบทางจิตใจให้กับตนเองได้

ทักษะสำคัญในการสร้างอีคิว

ทักษะสำคัญในการสร้างอีคิว (EQ)

สำหรับการเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ ต้องบอกเลยว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยลูกในวัยเด็กน้อยควรจะเน้นในการ พัฒนา EQ ผ่านการพบเจอสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายใน เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม การเรียนรู้สภาพจิตใจของตนเอง และการเอาชนะตัวเองให้ได้ โดยทักษะที่ควรจะเน้น แบ่งได้เป็น 4 ทักษะดังนี้

1. การจัดการตนเอง

ในการจัดการตนเอง หมายถึงการจัดการควบคุมความรู้สึกนึกคิด รวมไปถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือหุนหันพลันแล่น ในจุดนี้แนะนำว่าให้ลูกของคุณพ่อและคุณแม่เรียนรู้วิธีที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น เมื่อเด็กมีอารมณ์โกรธ ลองฝึกให้เด็ก “ขอเวลานอก” เพื่อให้เด็กได้อยู่กับตัวเองสักพัก และสามารถจัดการกับอารมณ์โกรธได้ด้วยตัวเอง

2. การตระหนักรู้ในตนเอง

ในการตระหนักรู้ในตนเอง ก็คือการเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในลูกของเรา เมื่อเกิดอารมณ์นี้นำไปสู่ความคิดแบบไหน และนำไปสู่พฤติกรรมใด ซึ่งในจุดนี้หากลูกทำความเข้าใจเป็นอย่างดี ก็จะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากอารมณ์ภายใน และได้เรียนรู้เข้าใจตนเองมากยิ่งขึ้น

3. การรับรู้ และมีส่วนร่วมทางสังคม

ถ้าลูกเราสามารถพัฒนา 2 ข้อแรกได้ การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่น้อย หรือก็คือความฉลาดทางอารมณ์ โดยแนะนำเบื้องต้นควรเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกที่คนรอบข้างแสดงออกมา รวมไปถึงความต้องการ หากปรับตรงนี้ได้ดีจะเป็นการต่อยอดในการเข้าสังคมทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น

4. การจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่น

สิ่งที่หล่อเลี้ยงจิตใจได้ดีที่สุดก็คือความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับครอบครัว ญาติมิตร เพื่อน หรือแม้แต่คนรักในอนาคต ถ้ามีการ พัฒนา EQ ที่ดี จะสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่มีอยู่ได้ ช่วยในการสื่อสาร และสามารถส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่นได้

กิจกรรมพัฒนา eq

7 กิจกรรมพัฒนา EQ สำหรับเด็ก ทำได้ง่าย ๆ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นพัฒนา EQ ให้กับลูกอย่างไร Speak Up ขอเสนอ 7 กิจกรรมง่าย ๆ ที่สามารถเลือกหรือนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนา EQ สำหรับเด็กได้

1. เล่นตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์

การเล่นตุ๊กตาหรือเล่นหุ่นยนต์จะช่วยให้ลูกได้ฝึกจิตนาการต่าง ๆ และสามารถรับรู้ความรู้สึกของลูกผ่านการเล่นตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์ ซึ่งจะสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิด พัฒนา EQ  ของลูกได้ ในจุดนี้คุณพ่อกับคุณแม่สามารถสอนให้ลูกเรียนรู้อารมณ์ในแบบต่าง ๆ เพิ่มเติมได้

2. การวาดภาพระบายสี

การวาดภาพระบายสีเป็นการฝึกจินตนาการของลูกแบบไร้ขอบเขต เพราะการวาดภาพหรือระบายสี เป็นสิ่งที่ไม่มีผิดไม่มีถูก ในจุดนี้จะเป็นการพัฒนา EQ ที่ดี เพราะลูก ๆ จะสามารถมีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งตรงหน้า และแน่นอนว่าสามารถเติมเต็มความสนุกได้อีกด้วย

3. ร้องเพลง หรือเต้น

การร้องเพลงหรือการเต้น โดยสามารถเลือกเพลงที่เหมาะสมตามแต่ละวัยได้ เพราะหากลูกได้ร้องเพลงและเต้น จะช่วยในการพัฒนาสมองได้เป็นอย่างมาก โดยเสียงดนตรีจะสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้โดยตรง แถมยังส่งเสริมความกล้าแสดงออกของเด็ก ๆ ได้อีกด้วย

4. อ่านนิทานให้ฟัง

การเล่านิทานนับเป็นอีกหนึ่งอย่างที่จะช่วยในเรื่องของจินตนาการ ผ่านการเล่านิทานของคุณพ่อคุณแม่ที่เน้นความสนุกสนาน ทำให้เด็กมีความสุขและตื่นเต้นกับเรื่อง อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่ และจะทำให้ลูกสามารถปรับตัวในการสร้างความสัมพันธ์ได้ในอนาคต ซึ่งถือว่าเป็น วิธีเพิ่ม EQ ที่ดีมาก ๆ

5. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายบ่อย ๆ จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับลูกได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ออกกำลังกายนั้นจะมีการหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข รวมไปถึงการพัฒนาระบบประสาทให้เป็นไปได้ด้วยดี  เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ลูกจะสามารถคิดวิเคราะห์ และผ่านเรื่องราวเหล่านั้นไปได้ เป็นการฝึก EQ ในชีวิตประจำวันได้

6. การแสดงสวมบทบาท

การแสดงสวมบทบาท นับว่าเป็นวิธีเพิ่ม EQ ที่เด็กจะได้สวมบทบาทเป็นตัวละครต่าง ๆ เพื่อที่จะได้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตัวละครนั้น ๆ ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถสร้างสัมพันธ์อันดี มีความเข้าอกเข้าใจความรู้สึก และการกระทำของบทบาทอื่น ๆ

7. การใช้คำสอนความรู้สึก

การใช้คำสอนความรู้สึกเป็นวิธีเพิ่ม EQ  โดยเป็นการให้ลูกได้เรียนรู้ความรู้สึกของคำต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามแต่ละวัย ถ้ามองก็เหมือนเป็นการเรียนรู้คำและความหมายเหมือนตอนเรียนหนังสือ  แต่ทีนี้จะลงลึกโดยเน้นคำที่เป็นความรู้สึกแทน และลูกจะสามารถเข้าใจได้ว่าคำนี้คือหมายถึงความรู้สึกแบบนี้

กิจกรรมพัฒนา eq

ทำไมความฉลาดทางอารมณ์จึงสำคัญ?

ความฉลาดทางการเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ทุกคนล้วนต้องการให้ลูก ๆ มี เพื่อความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ เมื่อลูกโตขึ้น แต่การมีระดับเชาว์ปัญญา หรือ IQ สูง เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เด็กเติบโตหรือใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ดังนั้น การที่เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ หรือ EQ ที่ดีตั้งแต่ยังเล็กจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

  • ลูกของคุณจะสามารถอยู่กับสังคมภายนอกได้เป็นอย่างดี สามารถปรับเปลี่ยนตามได้อย่างเหมาะสม
  • ลูกสามารถสร้างความสุขได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังสร้างความภาคภูมิใจและความพึงพอใจในตัวเองได้เป็นอย่างดี
  • ลูกจะเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับความสัมพันธ์โดยรอบ สามารถเข้าใจสถานการณ์และเรียนรู้ผิดถูก เมื่อทำผิดก็กล้าที่จะขอโทษและรับผิดชอบการกระทำนั้น
  • ลูกจะกลายเป็นคนที่มีความกล้าในการทำอะไรต่าง ๆ มีความใฝ่รู้ และอยากจะเรียนรู้จากคนอื่น ๆ อยู่เสมอ

สรุป

สำหรับ EQ ซึ่งคือความฉลาดทางอารมณ์ ที่นับเป็นสิ่งที่เด็กควรพัฒนาตั้งแต่ยังเล็กๆ เพื่อที่จะได้รู้จักและเข้าใจตัวเองได้อย่างเต็มที่ สามารถรับรู้สถานการณ์โดยรอบและปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ในการใช้ชีวิตกับการสร้างความสัมพันธ์กับคน ก็จะได้สามารถเข้าใจความต้องการหรือรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ และสำหรับทาง Speak Up เองก็เน้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาอีคิว ให้เหมาะสมตามแต่ละวัยได้

executive function

ทักษะ Execution Function คืออะไร สำคัญมากแค่ไหนกับพัฒนาการของเด็ก

การจะช่วยให้ลูกน้อยในช่วงปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมกับช่วงวัยนั้น จำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะในด้านต่าง ๆ  Executive Function ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มทักษะที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองหลายท่านอาจยังไม่เคยได้ยินชื่อหรือไม่รู้จักเลยก็ตาม

ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ Executive Functionหรือทักษะ EF ว่าคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และมีความสำคัญหรือมีข้อดีอย่างไร พร้อมบอกวิธีในการพัฒนาทักษะเหล่านี้ตั้งแต่ในช่วงปฐมวัยอีกด้วย

executive function คือ

ทำความรู้จัก Execution Function (EF) ทักษะพัฒนาสมอง

Executive Functions หรือทักษะ ​EF คือ ทักษะการคิด และการบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การพลิกแพลง การใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือการเชื่อมข้อมูลจากความทรงจำในช่วงเวลาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ตลอดจนการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง จึงถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากกับคนทุกวัย ทั้งในด้านการเรียนรู้ การทำงาน และการเข้าสังคม โดยทักษะ ​EF จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองส่วนหน้า (PFC: Prefrontal Cortex)

องค์ประกอบของ Execution Function

องค์ประกอบทั้งหมดของ Executive Function จะมีด้วยกันทั้งหมด 9 ด้าน โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มทักษะ ดังนี้

ทักษะพื้นฐาน

ทักษะพื้นฐานของ EF จะมุ่งเน้นไปที่ทักษะที่เกี่ยวข้องกับความคิดโดยตรง ได้แก่

  • Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน)
    คือ ความสามารถในการเก็บและประมวลผลข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ในอดีต และนำมาใช้เมื่อพบเจอสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกันในปัจจุบัน
  • Inhibitory Control (การยั้งคิดไตร่ตรอง)
    คือ ความสามารถในการหยุดคิดก่อนลงมือทำหรือการพูด รวมถึง ความสามารถในการควบคุมความต้องการ โดยพิจารณาจากประสบการณ์
  • Shifting หรือ ​Cognitive Flexibility (ความยืดหยุ่นความคิด)
    คือ ความสามารถในการปรับใช้ประสบการณ์ในอดีตเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ เช่น การแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน การพลิกแพลง หรือการปรับตัว ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ

ทักษะกำกับตนเอง

ทักษะกำกับตัวเองของ EF จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการจัดการตนเอง หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แก่

  • Focus หรือ Attention (จดจ่อ ใส่ใจ)
    คือ ความสามารถในการจดจ่อและให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยไม่วอกแวกในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือการทำงานให้เสร็จทีละอย่าง นั่นเอง
  • Emotional Control (ควบคุมอารมณ์)
    คือ ความสามารถในการควบคุม การจัดการ และการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม เช่น ไม่หงุดหงิดง่ายจนเกินไป ไม่ฉุนเฉียวใส่ผู้อื่น
  • Self-Monitoring (การติดตามประเมินตนเอง)
    คือ ความสามารถในการประเมินหรือรู้ทันจุดที่บกพร่องของตนเอง เพื่อนำมาแก้ไขและปรับปรุง

ทักษะปฏิบัติ

ทักษะปฏิบัติของ EF จะมุ่งเน้นไปที่ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการลงมือทำจริง ได้แก่

  • Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ)
    คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ หลังผ่านกระบวนการคิดและการพิจารณามาแล้ว เช่น การลงมือทำงานทันทีโดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
  • Planning and Organizing (วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ)
    คือ ความสามารถในการมองภาพรวม และจัดสำดับความสำคัญของสิ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้
  • Goal – Directed Persistence (มุ่งเป้าหมาย)
    คือ ความพยายามที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน การฝ่าฟันอุปสรรค ตลอดจนการลุกขึ้นสู้กับปัญหาอีกครั้งหลังจากล้มเหลว เป็นต้น
executive function ความสำคัญ

Execution Function มีความสำคัญอย่างไร

Executive Function มีความสำคัญกับวัยเด็กด้านการเรียนและการใช้ชีวิต เพราะเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจดจำเนื้อหา และการจดจ่อต่อบทเรียน รวมถึงการปรับตัวเมื่อต้องเจอกับกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ และการยับยั้งชั่งใจในการทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น การทดลองใช้สารเสพติด การแสดงท่าทางก้าวร้าว เป็นต้น

เริ่มฝึก Execution Function ช่วงอายุไหนดี

การมีทักษะ Executive Function ที่ดีนั้นเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงและจากการรวบรวมประสบการณ์ที่หลากหลาย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่ายิ่งเริ่มฝึกทักษะ EF ไวเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยในการทำงานของสมองมากขึ้น จึงควรเริ่มฝึกตั้งแต่ในช่วงปฐมวัยหรืออายุ 3-6 ปี

กิจกรรม ส่งเสริม execution function

5 กิจกรรม ส่งเสริม Execution Function

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการเสริมสร้างทักษะ Executive Function ให้กับลูกน้อยของตัวเอง สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น

ปล่อยให้ลูกเล่นตามอิสระ

การปล่อยให้ลูกเล่นตามอิสระ ถือเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยในการส่งเสริมทักษะที่เกี่ยวข้องกับการคิด การพิจารณา และการจัดการได้ เพราะการเล่นเป็นกิจกรรมที่จะทำให้ลูกน้อยได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้จากการลงมือทำ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูก คอยดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ไม่เข้าไปก้าวก่ายกับการเล่นของลูกน้อย

วาดภาพ ระบายสี

ศิลปะถือเป็นอีกสิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกให้ลูกทำกิจกรรมวาดภาพและระบายสี เพราะนอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ลูกน้อยได้ใช้ความคิดและจินตนาการอย่างเต็มที่แล้ว การจับดินสอสีมาขีดเขียนเป็นเส้นหรือลวดลายก็จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้

ฝึกให้ลูกทำงานบ้าน

การฝึกให้ลูกช่วยทำงานบ้านง่าย ๆ ถือเป็นอีกวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะ EF และยังช่วยสร้างระเบียบวินัยให้กับลูกน้อยได้อีกด้วย โดยหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ของเด็กคือจากการเลียนแบบ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่างให้กับลูกด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจเลือกให้ลูกทำงานบ้านง่ายๆ เช่น 

  • การให้ลูกเก็บของใช้ของตัวเองให้เป็นที่หรือเป็นระเบียบ เช่น การเก็บแปรงสีฟัน การเก็บเสื้อผ้าเข้าที่ การเก็บของเล่นใส่กล่องหลังจากที่เล่นแล้ว เป็นต้น
  • การช่วยงานบ้านอื่น ๆ เช่น การยกจานข้าวที่กินเรียบร้อยแล้วไปใส่ในอ่างล้างจาน การเช็ดเศษอาหารที่เลอะบนโต๊ะอาหาร เป็นต้น

อ่านนิทานให้ลูกฟังบ่อย ๆ

การอ่านนิทานให้ลูกฟัง การพูดคุยเกี่ยวกับภาพประกอบของนิทาน หรือการตั้งคำถามกับเนื้อเรื่อง ถือเป็นอีกวิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะ EF เช่น ความสามารถในการจดจ่อกับเรื่องที่เล่า ความยืดหยุ่นทางความคิด  เป็นต้น นอกจากนี้ กิจกรรมนี้ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้นอีกด้วย

เล่น Role Play

การเล่น Role Play หรือการเล่นตามบทบาทสมมติ เป็นกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างจินตนาการ ทักษะทางด้านภาษา และทักษะการสื่อสาร นอกจากนี้ ยังช่วยให้สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดต่างๆ ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางอีกด้วย เช่น

  • การแสดงบทบาทสมมติเป็นอาชีพ เช่น ครู หมอ พยาบาล เป็นต้น
  • การแสดงบทบาทสมมติเป็นสัตว์ เช่น กระต่าย แมว เต่า เป็นต้น
ข้อดี executive function

4 ข้อดี หากลูกมีทักษะ Execution Function

การฝึกให้ลูกน้อยมีทักษะ Executive Function จะมีประโยชน์มากมาย เช่น

เรียนหนังสือได้เก่ง

การเรียนหนังสือให้เก่งและมีผลการเรียนที่ดีนั้น ประกอบด้วยทักษะหลาย ๆ อย่าง เช่น การจดจำเนื้อหาที่เรียน การมีสมาธิในการจดจ่อกับเรื่องที่เรียน ตลอดจนการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ครบถ้วน และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นการฝึกทักษะ ​EF ในด้านต่าง ๆ จะช่วยสนับสนุนในการเรียนของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

มีพฤติกรรมที่ดี

การฝึกทักษะ ​EF จะช่วยให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดี เพราะรู้ว่าควรจัดการกับอารมณ์อย่างไรและควรแสดงออกแบบไหนให้เหมาะสม ตลอดจนการยับยั้งชั่งใจเมื่อถูกชักชวนให้ทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อย่างการใช้สารเสพติดหรือการขโมยของ

นอกจากนี้การฝึกทักษะ EF ยังช่วยให้สามารถตัดสินใจได้เฉียบขาด กำหนดเป้าหมายและวางแผน และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี จึงช่วยเสริมให้มีลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดีอีกด้วย

มีสุขภาพดี

เมื่อทักษะ ​EF ช่วยให้สามารถตัดสินใจและวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จะทำให้ลูกน้อยสามารถเลือกวิธีการดูแลตัวเองได้เหมาะสม เช่น อาหารที่ควรกินหรือควรหลีกเลี่ยง การออกกำลังกาย หรือการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นโทษแก่ร่างกาย เช่น สารเสพติด บุหรี่ และแอลกออฮอล์ นอกจากนี้ทักษะ EF ยังช่วยให้สามารถจัดการกับความเครียดหรือปัญหาได้เป็นอย่างดี จึงช่วยให้มีสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย

ไม่เป็นสมาธิสั้น

เนื่องจากการฝึกทักษะ ​EF จะช่วยการทำงานของสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจดจ่อกับสิ่งต่างๆ หรือการยับยั้งชั่งใจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงทักษะในการบริหารจัดการตนเอง จึงเป็นอีกวิธีที่แพทย์นิยมใช้เพื่อรักษาหรือบำบัดเด็กกลุ่มที่มีโรคสมาธิสั้น (ADHD: Attention Deficit Hyperactivity Disorder) ที่มักมีอาการไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถเก็บรายละเอียด หรือขาดความรับผิดชอบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุป

ทักษะ EF หรือ Executive Function คือทักษะการจัดการและการบริหารสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองส่วนหน้า สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มทักษะใหญ่ คือ ทักษะพื้นฐาน ทักษะกำกับตัวเอง และทักษะปฏิบัติ การพัฒนาทักษะ EF จะช่วยส่งเสริมทั้งด้านการเรียนและการเข้าสังคมของเด็กปฐมวัยได้ โดยควรเริ่มพัฒนาทักษะเหล่านี้ตั้งแต่ช่วงวัย 3-6 ปี ซึ่งเหมาะที่จะให้เรียนภาษาอย่างยิ่ง ที่ Speak Up ก็มีคอร์สเรียนภาษาสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ ยิ่งเรียนรู้ไว ยิ่งพัฒนาองค์ความรู้ให้ลูกเก่งได้ไว