fbpx

ปลดล็อคปัญหาลูกพูดน้อย กับ 7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดเก่งอย่างมีพัฒนาการ

ปกบทความ วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

ปลดล็อคปัญหาลูกพูดน้อย กับ 7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดเก่งอย่างมีพัฒนาการ

วัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเฝ้ามองพัฒนาการของลูกเป็นกิจวัตรที่คนเป็นพ่อแม่มักจะตื่นเต้นเสมอ เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มที่จะตัวโตขึ้น เริ่มตั้งไข่ หรือเริ่มพูดได้ แต่ถ้าหากว่าลูกของเรามีพัฒนาการบางอย่างที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ก็อาจเริ่มทำให้พ่อแม่หลายคนเกิดความกังวลใจ

หนึ่งในปัญหาหนักอกหนักใจของพ่อแม่ ผู้ปกครองอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจเลยก็คือ ปัญหาลูกไม่ยอมพูด พูดน้อย หรือมีพัฒนาการเกี่ยวกับการพูดที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น ซึ่งปัญหาด้านการพูดเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากกุมารแพทย์ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร เพื่อได้รับการแก้ไขได้อย่างตรงจุด ดังนั้น ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีกระตุ้นให้ให้ลูกพูด รวมถึงบอกสาเหตุ และวิธีแก้ปัญหาที่จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีพัฒนาการด้านการพูดที่ดีขึ้น

เด็กจะเริ่มพูดได้ตอนไหน?

เด็กจะเริ่มพูดได้ตอนไหน?

พ่อแม่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าพัฒนาการด้านการพูดของเด็กที่เหมาะสมกับวัยมีอะไรบ้าง หลายๆ ครั้งเรื่องการพูดช้า หรือพูดน้อยในเด็กถูกมองข้ามไป เพราะคิดว่าเขายังเด็กอยู่ เดี๋ยวก็พูดได้เอง หรือเด็กมีการพูดบ้าง แต่พูดน้อย สร้างประโยคไม่ได้ พอสื่อสารได้ แต่ไม่เหมาะสมกับวัยของเขา

เพื่อให้พัฒนาการเกี่ยวกับการพูดของลูกน้อยเป็นไปอย่างปกติ พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องจับตามองเรื่องการพูดของลูกตั้งแต่วัยทารกกันเลย เพราะในแต่ละช่วงอายุของเด็กก็มีพัฒนาการด้านการพูดที่แตกต่างกันออกไป มาลองตรวจสอบกันดูดีกว่าว่า เด็กเริ่มพูดตอนไหน และลูกของคุณสามารถพูด หรือสื่อสารได้เหมาะสมกับวัยหรือเปล่า

  • วัยทารก (แรกเกิด – 1 ปี)

เด็กทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 เดือนจะเริ่มมีการตอบสนองต่อเสียงพูดของพ่อแม่ และมีการโต้ตอบกลับด้วยเสียงอ้อแอ้ รวมทั้งสามารถเปล่งเสียงแสดงอารมณ์พอใจ หรือไม่พอใจได้ เช่น หัวเราะ ร้องไห้ ซึ่งการสื่อสารในวัยนี้ พ่อแม่จะต้องพยายามทำความเข้าใจ และแยกแยะให้ออกว่า ร้องไห้เพราะอะไร ง่วงนอน หิว ไม่สบายตัว หรือขับถ่าย เป็นต้น

เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 6 – 12 เดือน ทารกจะเริ่มเข้าใจคำสั้นๆ เวลาบอกว่าไม่ เริ่มออกเสียงเป็นคำที่ไม่มีความหมายซ้ำๆ เช่น บาบา (ba-ba) ดาดา (da-da) หรือมามา (ma-ma) มีการพยายามสื่อสารด้วยภาษากาย ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เริ่มเลียนเสียงการพูดของผู้ใหญ่ และเริ่มพูดคำแรก ซึ่งเป็นโมเมนต์สำคัญที่พ่อแม่เฝ้ารอเลยล่ะ

  • วัยเตาะแตะ (1 – 3 ปี)

เมื่ออายุ 12 – 17 เดือน เด็กจะเริ่มใช้คำที่มีความหมายมากขึ้น เรียกพ่อ หรือแม่ และตอบคำถามง่ายๆ ได้ อีกทั้งยังมีการใช้คำ 2 – 3 คำเพื่อเรียกสิ่งต่างๆ พยายามเลียนเสียงคำง่ายๆ ในช่วงนี้การออกเสียงอาจจะยังไม่ชัด เมื่ออายุถึง 18 – 23 เดือน จะเริ่มมีคลังคำศัพท์ที่มากขึ้น เรียกชื่ออาหารที่ทานเป็นประจำได้ เลียนเสียงสัตว์ และเริ่มผสมคำเป็นวลีสั้นๆ เช่น หิวนม กินข้าว เป็นต้น เมื่ออายุครบ 2-3 ปี สามารถใช้คำคุณศัพท์เพื่ออธิบายคำต่างๆ ได้ ตอบคำถามง่ายๆ และเข้าใจคำสั่งที่ยากขึ้นได้ ที่สำคัญการพูดมีความชัดเจนขึ้น สื่อสารรู้เรื่องมากขึ้น และพูดเป็นประโยคที่ยาวขึ้น

  • เด็กเล็ก (3 – 5 ปี)

เมื่อเข้าสู่วัยเด็กเล็กช่วง 3 – 4 ปี เด็กจะเริ่มมีการสื่อสารเพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้นกว่าเดิม แทนที่จะพูดถึงสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างเดียว การออกเสียงก็มีความชัดเจนขึ้น บุคคลที่ไม่ใช่พ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดก็สามารถเข้าใจในสิ่งที่เด็กสื่อสารได้ เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 4 – 5 ปี เด็กๆ จะเริ่มเข้าใจคำถามที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงมีการใช้ประโยคที่มีความยาว 8 คำ หรือมากกว่านั้นได้ รวมถึงเริ่มมีส่วนร่วมในการสนทนา

อาการของปัญหาด้านการพูด

อาการแบบไหนที่บอกว่าลูกของเรากำลังมีปัญหาด้านการพูด

พ่อแม่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าอาการที่บ่งบอกว่ามีปัญหาด้านการพูดมีลักษณะเป็นอย่างไร และลูกของเรามีพัฒนาการด้านการพูดปกติหรือเปล่า บางทีการเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่นๆ วัยเดียว กันอาจจะไม่ได้คำตอบที่แน่ชัด เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่ต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า อาการใดบ้างที่ควรจับตามองเป็นพิเศษ เพราะอาการเหล่านี้รู้เร็ว สามารถแก้ไขได้ง่ายกว่าการปล่อยไว้ ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งปัญหาใหญ่ที่แก้ยาก แถมยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเด็กในอนาคตได้

  • พูดติดอ่าง พูดไม่ชัด
  • การใช้เสียงผิดปกติ
  • อายุ 2 ขวบแล้ว แต่ยังไม่สามารถพูดได้
  • ไม่สามารถใช้ประโยคสั้นๆ ในการสื่อสารเมื่อมีอายุ 3 ขวบขึ้นไป
  • เมื่อมีอายุได้ 4-5 ปี ไม่สามารถพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวง่ายๆ

บางครั้งปัญหาด้านการพูดอาจเกี่ยวเนื่องกับอาการออทิสติก ซึ่งจะมีอาการแตกต่างจากปัญหาพูดช้า (Speech Delay) อยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาไม่สบตา ปัญหาด้านการเข้าสังคม การสื่อสาร เรียกแล้วไม่รับปากแม้จะได้ยินปกติ ไม่ค่อยเลียนแบบเสียง อารมณ์ หรือท่าทาง เป็นต้น

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมพูด หรือลูกพูดช้าเกิดจากอะไร

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมพูดหรือพูดช้าเกิดจากอะไร?

สาเหตุที่บ่งบอกว่าลูกมีปัญหาการพูดสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาลูกพูดช้า ไม่ยอมพูด ไม่กล้าพูด พ่อแม่จึงต้องหาสาเหตุให้เจอว่าเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่ที่ทำการพูดของลูกไม่พัฒนาไปตามธรรมชาติและวัยของเขาอย่างเหมาะสม บางรายสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ในครรภ์จากการตรวจดูโครโมโซม หากความผิดปกติด้านการพูดเกิดจากสาเหตุของโรคพันธุกรรม

  • ความผิดปกติทางการพูด

หากลูกมีอายุ 3 ขวบแล้วแต่ยังไม่สามารถสื่อสารโดยใช้คำได้ ถึงแม้ว่าจะสามารถเข้าใจและสื่อสารแบบอวัจนภาษาได้ หรือสามารถพูดได้แค่คำสั้นๆ แต่มาประกอบเป็นวลีหรือประโยคง่ายๆ ไม่ได้ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกของคุณมีความผิดปกติทางด้านการพูด ในบางกรณีมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านสมองที่ทำให้การเรียนรู้ผิดปกติ ซึ่งสาเหตุมาจากการคลอดก่อนกำหนด

  • ความผิดปกติของการได้ยิน

ถ้าลูกยังพูดไม่ได้ บางครั้งปัญหานี้ก็เกิดจากการได้ยินที่บกพร่อง ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่สามารพูดออกมาเป็นคำได้ วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าลูกของคุณมีการได้ยินที่ปกติหรือไม่ พ่อแม่สามารถทดสอบได้โดยการสังเกตว่าลูกมีการตอบสนองเมื่อกล่าวชื่อสิ่งของหรือไม่ หรือตอบสนองต่อท่าทางเท่านั้น

  • ขาดการกระตุ้น

การเรียนรู้ที่จะพูดจำเป็นต้องมีทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสาร โดยมีการโต้ตอบกัน เด็กบางคนขาดการกระตุ้นโดยการพูดคุยกับพ่อแม่ แต่อยู่กับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งวันอาจทำให้เด็กพูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถพูดคุยโต้ตอบได้แบบปกติ โดยปัจจัยที่ส่งผล คือ การปล่อยปะละเลย การทารุณกรรม และขาดการกระตุ้นให้ลูกพูด

  • ความผิดปกติทางสมอง

ความผิดปกติทางสมองเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อบางอย่างที่ส่งผลต่อการพูด เช่น ภาวะสมองพิการ (Cerebral Palsy) โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)
การบาดเจ็บทางสมอง (Traumatic brain Injury)

  • ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disability)

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาส่งผลต่อการพูดของเด็กที่ช้าลง เพราะเด็กที่มีภาวะนี้จะมีปัญหาด้านทักษะการเข้าสังคมและทักษะภาษาที่ช้า ไม่สมกับวัยของพวกเขา

วิธีที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกพูด

วิธีไหนที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกพูดเก่งขึ้น

เมื่อรู้แล้วว่าลูกของเรามีความผิดปกติด้านการพูด และมาจากสาเหตุอะไร ขั้นตอนต่อไป คือต้องกระตุ้นการพูดของลูก เด็กที่มีปัญหาไม่ยอมพูด หรือพูดไม่ได้ พ่อแม่ หรือผู้ปกครองสามารถหากิจกรรมที่กระตุ้นให้ลูกพูดได้ โดยต้องใช้ความพยายาม อดทน ใจเย็น และกระตุ้นให้ลูกพูดอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด และแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมมากที่สุด หลายๆ ครั้ง สาเหตุที่ทำให้เด็กพูดช้ามาจากความผิดปกติของร่างกาย หรือมีภาวะออทิสติก ก็สามารถทำการรักษากับคุณหมออย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการกระตุ้นการพูดของลูกที่บ้านตามคำแนะนำของแพทย์ได้เลย

โดยในหัวข้อนี้จะมาแนะนำทริคกระตุ้นให้ลูกพูดที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะป้องกันไว้ก่อน หรือกระตุ้นเพื่อให้ลูกพูดได้เป็นปกติเหมาะสมกับวัยของเขา

  • พยายามไม่จับผิด

บางครั้งเมื่อลูกต้องการสื่อสารกับเรา ก็ไม่ควรที่จะพยายามคอยจับผิดหรือตัดสินเขา เพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจ หรือไม่กล้าที่จะพูดได้ ซึ่งพ่อแม่ควรจะเป็นผู้ฟังที่ดี อย่าให้ลูกรู้สึกว่าไม่อยากพูดคุยด้วย ถ้าเห็นว่าลูกไม่สามารถสื่อสารความรู้สึกนึกคิดออกมาได้ดีเท่าที่ควร ก็ควรใช้ความเข้าใจในการพูดคุย

  • ให้ลูกได้ตอบคำถามเอง

เมื่อมีคนพยายามพูดคุยและถามคำถามกับลูกของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ญาติๆ หรือคนรู้จัก ต้องปล่อยให้เขาได้ตอบคำถาม และพูดคุยกับคนเหล่านี้เอง โดยไม่ต้องไปตอบแทน ผู้ปกครองบางคนเห็นว่าลูกขี้อาย ก็เลยตอบคำถามแทนลูก แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง และพ่อแม่ หรือผู้ปกครองควรสนับสนุนให้ลูกได้กล้าพูด และกล้าตอบคำถามมากขึ้น

  • ให้ลูกได้เลือก

วิธีนี้คือการถามคำถามง่ายๆ ว่าต้องการอะไร โดยการให้ทางเลือก เช่น อยากดื่มนมช็อกโกแลต หรือนมสตรอว์เบอร์รี เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เด็กกล้าพูด กล้าเลือก และกล้าแสดงความต้องการของตัวเองออกมา

  • ไม่นิยามและเปรียบเทียบ

การที่เราไปนิยามว่าลูกของตนเองเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่นๆ หรือพี่น้องของพวกเขาเอง เพราะเป็นการกระทำที่ลดความมั่นใจของพวกเขา ดังนั้น จึงควรสนับสนุนพวกเขาด้วยการชื่นชมจะดีกว่า

  • หาเวลาพูดคุย

เมื่อมีเวลาว่างควรชวนลูกพูดคุยเรื่องราวที่พวกเขาสนใจ ถามไถ่ และเป็นผู้ฟังที่ดี ที่สำคัญอย่าลืมลองถามคำถามปลายเปิดให้ลูกรู้สึกว่าการสนทนาน่าสนใจมและทุกคนมีส่วนร่วม รวมถึงใช้คำพูดที่ทำให้เขาอยากเล่าสิ่งต่างๆ ให้ฟัง

กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาและกระตุ้นการพูดของลูก

แนะนำ 5 กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาและกระตุ้นการพูดของลูกน้อยได้ดีขึ้น

การทำกิจกรรมร่วมกันนอกจากจะเป็นวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด และเป็นการสานสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวแล้ว ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกในด้านการพูดได้ หากเลือกกิจกรรมที่มีความเหมาะสม และกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการด้านการพูดที่สมวัย มาดูกันว่า มีกิจกรรมอะไรบ้างที่น่าสนใจ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี

  1. เกมคำศัพท์

วิธีนี้เป็นการชวนลูกเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มคลังคำศัพท์ของพวกเขาให้มากขึ้น ซึ่งเกมคำศัพท์สามารถชวนลูกเล่นได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม อาจเป็นการชี้ไปยังสิ่งของต่างๆ รอบตัว และถามว่าสิ่งนั้นคืออะไร สิ่งนี้เรียกว่าอะไร หรือใช้บัตรคำที่เป็นรูปภาพก็ได้ สามารถสอนภาษาที่ 2 หรือ 3 ควบคู่กับภาษาแม่ จะช่วยให้เด็กมีทักษะภาษาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

  1. อ่านนิทาน

การอ่านนิทานเป็นกิจกรรมที่ทุกบ้านควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะกระตุ้นจินตนาการแล้ว ยังช่วยให้ลูกๆ ได้เรียนรู้คำศัพท์ผ่านภาพ และเสียงเพิ่มเติมด้วย โดยพ่อแม่อาจลองชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวที่อ่าน และลองให้พวกเขาเล่าเรื่องราวผ่านจินตนาการของตัวเอง วิธีนี้ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะการสื่อสารได้มากขึ้นอีกด้วย

  1. ร้องเพลง

ไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ชอบการร้องเพลง พ่อแม่สามารถชวนเด็กๆ ร้องเพลงที่พวกเขาชื่นชอบได้ วิธีจะช่วยให้จำคำศัพท์ได้รวดเร็ว ฝึกการพูดการเปล่งเสียงให้คล่องแคล่ว และยังทำให้เด็กกล้าพูด กล้าแสดงออกอีกด้วย

  1. สอนนับเลข

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่แสนง่าย แต่ได้ผลดี คุณสามารถสอนให้เด็กๆ รู้จักกับตัวเลข โดยการชวนเล่นเกมนับเลข อาจจะนับนิ้วมือ นับขั้นบันได นับจำนวนตัวต่อของเล่น เป็นต้น นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้พูดได้แล้ว ยังช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้เรื่องการนับเลขอีกด้วย

  1. เรียนรู้คำพ้อง

กิจกรรมเรียนรู้คำพ้องจะช่วยขยายคลังคำศัพท์ของเด็กๆ ได้ดี คำพ้องเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเด็กๆ ให้พวกเขาได้ลองนึกคำศัพท์ที่พ้องรูป พ้องเสียง แล้วให้ความหมายที่ถูกต้อง ซึ่งพ่อแม่สามารถเพิ่มเติมเรื่องคำศัพท์และให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่พวกเขา ดังนั้น การทำกิจกรรมจะช่วยให้เด็กๆ มีทักษะการฟัง และการคิดที่ดีขึ้นได้แบบก้าวกระโดด

สรุป

ปัญหาลูกพูดน้อย ไม่กล้าพูด เป็นปัญหาที่พ่อแม่หลายคนกำลังเผชิญ เพราะว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สดใส ช่างพูด ขยันถามคำถาม แต่หากลูกของเรากลับเงียบ ไม่ยอมพูดก็คงหนักใจไม่น้อย แต่ปัญหาเหล่านี้ก็สามารถแก้ได้ หากพ่อแม่ใส่ใจ และคอยติดตามดูพัฒนาการด้านการพูดของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด พร้อมใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด เช่น ชวนลูกมาทำกิจกรรมสนุกๆ ที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้ลูกพูดเก่ง เพียงแค่นี้ลูกของคุณก็สามารถมีพัฒนาการที่สมวัยได้ พร้อมออกไปเผชิญโลกกว้างได้อย่างมั่นใจ

10 วิธีรับมือกับปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน

หนูไม่ได้ขี้เกียจ!! ลองใช้ 10 วิธีนี้ รับมือกับปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน

เมื่อภาคเรียนใหม่มาถึง ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจต้องเตรียมพร้อมรับมือกับศึกหนักจากลูกน้อยที่งอแง ร้องไห้ ไม่อยากไปโรงเรียน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ 


ในบทความนี้ Speakup Language จะมาแนะนำให้คุณผู้ปกครองที่กำลังกังวลกับอาการที่ลูกน้อยไม่ยอมไปโรงเรียนได้ทราบว่า สาเหตุที่ลูกไม่อยากไปโรงเรียนมีอะไรบ้าง และควรรับมือ หรือแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไร

มารู้จัก School Refusal ภาวะที่เด็กไม่อยากไปโรงเรียนกันก่อน

มารู้จัก School Refusal ภาวะที่เด็กไม่อยากไปโรงเรียนกันก่อน

ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน (School Refusal) คือ การที่เด็กไม่อยากไปโรงเรียน หรือต่อต้านการไปโรงเรียน โดยทั่วไปไม่นับว่าเป็นอาการของความผิดปกติที่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในทางการแพทย์ แต่ภาวะดังกล่าวนิยมใช้เพื่อจำกัดความถึงปัญหาสภาวะทางอารมณ์และจิตใจ ซึ่งมักกระตุ้นให้เด็กๆ แสดงพฤติกรรมเอาแต่ใจออกมา เช่น งอแง ร้องไห้ หรือมีอารมณ์รุนแรง นอกจากนี้ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ หรือเกิดความเครียดที่ทำให้เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ อยู่เสมอ จนทำให้หลายครั้ง ผู้ปกครองต้องจำยอมให้หยุดโรงเรียนอยู่บ้าน

ทำไมจู่ๆ โรงเรียนจึงกลายเป็นฝันร้ายสำหรับลูกน้อย

ทำไมจู่ๆ โรงเรียนจึงกลายเป็นฝันร้ายสำหรับลูกน้อย

เด็กหลายคนอาจงอแงไม่ยอมไปโรงเรียน เนื่องมาจากวุฒิภาวะตามช่วงวัย หรืออาจเป็นเพราะเด็กๆ ติดคุณพ่อคุณแม่มากจนไม่อยากไปโรงเรียน ตลอดจนทำไปเพราะต้องการความสนใจ แต่ก็ไม่ใช่กับเด็กทุกคนเสมอไป เพราะบางทีการที่ลูกน้อยร้องไห้ งอแง หรือแสดงออกรุนแรงนั้น ก็อาจมาจากสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้โรงเรียนเปรียบเสมือนฝันร้ายของเด็กๆ ที่คุณผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม ได้แก่

ถูกปลูกฝังให้กลัวโรงเรียนโดยไม่ตั้งใจ

หลายครั้ง การที่เด็กไม่กล้าทำ หรือไ่ม่อยากทำอะไร ล้วนมีสาเหตุมาจากการห้ามปราม หรือขู่เล่นๆ ของผู้ปกครอง เช่น “ถ้าดื้อจะให้คุณครูตีเลยนะ” ซึ่งอาจทำให้เด็กกลัวจนไม่กล้าไปโรงเรียน

กลัวคุณครู

คุณครูบางคนอาจมีลักษณะ หรือท่าทีการแสดงออกที่เด็กไม่คุ้นชิน เช่น คนที่บ้านอาจคุยด้วยเสียงไม่ดังมาก เมื่ออยู่โรงเรียนแล้วคุณครูพูดเสียงดังเพื่อให้เด็กทั้งห้องได้ยินอย่างทั่วถึง ก็อาจทำให้ลูกตกใจ ไม่ชอบ หรือกลัว คิดว่าคุณครูดุได้

ถูกเพื่อนแกล้งหรือโดนล้อ

การที่ไปโรงเรียนแล้วโดนเพื่อนแกล้ง หรือโดนเพื่อนล้อ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย หากรุนแรงอาจทำให้เด็กวิตกกังวล และถ้าไม่หมั่นสังเกตลูกน้อยบ่อยๆ ก็อาจร้ายแรงกว่านั้นได้

ไม่มีเพื่อน

เมื่อไปโรงเรียนที่เต็มไปด้วยเด็กคนอื่นๆ แต่กลับไม่มีเพื่อนเล่นด้วย ทำให้ต้องเล่นคนเดียวในขณะที่เด็กคนอื่นๆ เล่นสนุกด้วยกันเป็นกลุ่ม ก็ส่งผลให้เด็กอาจขาดความมั่นใจ หรือรู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ หากปล่อยไว้ อาจทำให้เป็นปัญหาระยะยาวในอนาคตได้

สภาพแวดล้อมที่โรงเรียนไม่เอื้อ หรือส่งเสริมการเรียนรู้และการแสดงออก

เด็กๆ อาจรู้สึกอ่อนไหว หรือถูกกดดันได้ง่ายเป็นพิเศษเมื่อต้องทำตามคำสั่งแทนที่จะได้เล่น หรือทำอะไรแบบที่สบายใจ หรือเมื่ออยู่ในห้องเรียนไม่ได้รับความเอาใจใส่และการส่งเสริมเท่าที่ควร เด็กๆ อาจพาลไม่อยากไปเรียน ไปจนถึงขาดความมั่นใจในการเรียนรู้ได้

เลือกกิน

ผู้ปกครองหลายคนอาจคิดไม่ถึงว่าแค่เรื่องอาหารการกินจะทำให้เด็กงอแงไม่ยอมไปโรงเรียน แต่สำหรับเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กแล้วนั้น การกินถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ยิ่งถ้าเลือกกิน หรือกินยาก แล้วอาหารที่โรงเรียนไม่ถูกปาก ก็จะพาลไม่อยากไปเรียนได้ง่ายๆ

ลองใช้วิธีเหล่านี้รับมือ “ลูกไม่อยากไปโรงเรียน” แล้วลูกๆ จะรักการไปโรงเรียนมากขึ้น

ลองใช้วิธีเหล่านี้รับมือ “ลูกไม่อยากไปโรงเรียน” แล้วลูกๆ จะรักการไปโรงเรียนมากขึ้น

เพียงคุณผู้ปกครองพยายามทำความเข้าใจ ไปพร้อมกับการปรับเปลี่ยนความคิดและความเข้าใจของเด็กๆ เสียใหม่ การไปโรงเรียนก็จะไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัวอย่างเคย จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

เด็กๆ ต้องพักผ่อนมากเพียงพอ

สิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่ต้องดูแลให้ดี คือ การจัดเวลาให้เด็กนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอและชัดเจน เพื่อให้พร้อมรับเช้าวันใหม่ที่ต้องไปเรียน แต่ไม่ควรใช้วิธีบังคับหักดิบ เพราะนั่นอาจยิ่งกระตุ้นให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนมากกว่าเดิมได้ 

ทางที่ดี ควรมีการทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้รู้ว่าถึงเวลาที่ควรเข้านอนได้แล้วให้เป็นกิจวัตร เช่น การอ่านนิทาน หรือร้องเพลงกล่อม เพื่อให้เด็กๆ เข้านอนอย่างสบายๆ และไม่รู้สึกติดค้างเมื่อตื่นขึ้นมา

ปูพื้นความเข้าใจ โรงเรียนไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

ผู้ปกครองควรเป็นอีกเสียงที่สนับสนุนการไปโรงเรียนให้เด็กๆ ได้รับรู้ สามารถทำได้โดยการเล่าเรื่องสนุกๆ วัยเด็กของตัวเองให้ลูกฟัง ว่าไปโรงเรียนทำอะไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น ได้เล่นกับเพื่อน เล่นของเล่นหลากหลาย อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งเป็นการสอนให้เด็กคุ้นชิน และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์คล้ายๆ กันที่พวกเขาอาจเจอเมื่อต้องไปโรงเรียน

สอนลูกเรื่องการกินและการใช้ชีวิตที่โรงเรียน

ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจเข้าใจผิด คิดว่าส่งลูกไปโรงเรียนก็พอ เดี๋ยวที่เหลือให้คุณครูสอน แต่ในความเป็นจริงนั้น ครอบครัวส่งอิทธิพลอย่างมากในการแสดงออก ตลอดจนความคิดความอ่านของเด็กๆ 

เรื่องเล็กๆ อย่างการกินก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในภายหลัง ถ้าเด็กไม่ได้รับการฝึกฝนให้กินอย่างถูกต้อง หรือการรอคอย การทำตามคำสั่งด้วยตัวเองก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีเวลาอยู่กับลูกก็ควรให้ความสำคัญและฝึกฝนในเรื่องนี้ เพื่อให้เด็กปรับตัวได้เร็วเมื่อต้องไปโรงเรียน

อยู่เป็นเพื่อนลูกในเวลาที่เหมาะสม

การไปโรงเรียนโดยเฉพาะครั้งแรก ย่อมเป็นธรรมดาที่จะทำให้เด็กรู้สึกตระหนก แปลกที่แปลกทาง และหวาดกลัว คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่กับลูกสักระยะหนึ่ง เพื่อพาลูกสำรวจพื้นที่โดยรอบโรงเรียนหากสามารถทำได้ เช่น พาลูกไปดูสนามเด็กเล่น พาไปส่งที่ห้องเรียน 

แต่หากไม่สามารถทำได้ ในวันแรกควรแนะนำเด็กไว้กับคุณครูประจำชั้น บุคคลที่เกี่ยวข้อง หรืออาจหาเพื่อนให้ลูก และปล่อยให้ได้ทำความรู้จักกันเอง เพื่อให้เด็กปรับตัวหรือคุ้นเคยกับโรงเรียนได้ง่ายขึ้น และเป็นการเว้นระยะเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ลูกงอแง หรือติดเราจนเกินไป

ไม่โกหกเด็ก

ข้อห้ามที่สำคัญมากๆ คือ อย่า “หลอก” ลูกไปโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น การอ้างหรือยกสิ่งต่างๆ ขึ้นมาล่อ แล้วไม่ทำตามสัญญา แต่ให้คุยกับลูกด้วยความจริง เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้การไปโรงเรียนครั้งต่อๆ ไปยากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าไปโรงเรียน เดี๋ยวตอนเย็นกลับมาจะพาไปกินไอศกรีม แต่ไม่พาไปจริง หรือ เมื่อลูกถามว่าจะมารับเมื่อไหร่ อย่าบอกแค่เพียงว่า “เดี๋ยวแม่มารับ” ให้ลองปรับเปลี่ยนเป็นตารางเวลาที่เด็กจะสามารถจำได้ เช่น “เดี๋ยวตื่นลูกตื่นจากนอนกลางวัน แปรงฟัน กินนม แม่ก็มารับแล้ว” หรือหากเป็นเด็กโตหน่อย อาจบอกให้ลูกรู้เวลาที่แน่ชัดด้วยได้ เพื่อสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะรอคอย และวางแผนสิ่งที่จะทำในวันนั้นๆ ที่โรงเรียน เป็นต้น

 

สิ่งสำคัญ คือ ไม่ควรปล่อยให้ลูกรอนาน หากมีธุระที่ทำให้ช้ากว่าที่ตกลงกันไว้ ผู้ปกครองควรแจ้งคุณครูให้ทราบ เพื่อที่คุณครูจะได้คุยกับเด็ก หรือหากิจกรรมให้ทำระหว่างรอ

ให้เด็กๆ เล่าเรื่อง

วิธีที่ง่าย และสามารถทำได้อย่างเป็นธรรมชาติที่สุดอีกวิธีหนึ่ง คือ การคุยกับเด็กบ่อยๆ เปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้เล่าว่าในแต่ละวันที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง ผู้ปกครองอาจเตรียมคำถามหรือเรื่องราวเพื่อชวนคุย อาจเป็นระหว่างทางที่รับลูกกลับบ้าน หรือระหว่างทานข้าวร่วมกัน ให้เขารู้สึกว่ามีคนรับฟัง

 

และหากสังเกตว่ามีเรื่องอะไรก็ตามที่เหมือนจะเป็นปัญหา เช่น เพื่อนแกล้ง คุณครูเสียงดัง ฯลฯ จะได้หาวิธีการรับมือต่อไปได้ถูกต้อง

หมั่นเติมพลังบวกกับลูกเสมอๆ

การเติมพลังบวกให้ลูกสามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะผ่านทางคำพูดชมเชยเมื่อลูกทำได้ดี เช่น ”วันนี้เก่งมากเลย สามารถใส่รองเท้านักเรียนเองได้แล้ว” หรือสามารถถ่ายทอดออกมาผ่านการกระทำ ไม่ว่าจะเป็น การกอด หอม อุ้ม หรือพาไปทานของอร่อย พาไปเที่ยวเล่น 

หากเด็กๆ กำลังเผชิญกับปัญหาบางอย่าง ผู้ปกครองควรให้กำลังใจ และพลิกคำเชิงลบทั้งหมดให้เป็นคำเชิงบวก  เช่น เรียนไม่เข้าใจ ให้คุยกับลูกว่า “วันนี้ยังไม่เข้าใจไม่เป็นไรนะ ไว้ลองกันอีกที” ทำกิจกรรมในห้องได้ไม่ดีนัก ให้สอนลูกว่า “ครั้งต่อไปต้องทำได้ดีขึ้นแน่ เพราะมีประสบการณ์แล้ว”

และหากสังเกตว่ามีเรื่องอะไรก็ตามที่เหมือนจะเป็นปัญหา เช่น เพื่อนแกล้ง คุณครูเสียงดัง ฯลฯ จะได้หาวิธีการรับมือต่อไปได้ถูกต้อง

5 กิจกรรมเพิ่มความสนุกในห้องเรียน

อยากให้เด็กรักการไปโรงเรียน ต้องทำห้องเรียนให้สนุก กับ 5 กิจกรรมเพิ่มความสนุกในห้องเรียน

เมื่อเตรียมความพร้อมลูกๆ เรียบร้อย สิ่งสุดท้ายที่จะช่วยให้ลูกไ่ม่งอแง และแก้ปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียนในครั้งต่อๆ ไป คือ การช่วยให้พวกเขาเห็นว่าการเรียนสนุก เพราะเด็กหลายคนอาจไม่ชอบใจที่ต้องถูกบังคับให้เรียน ผู้ปกครองสามารถปรับเปลี่ยนความคิดของลูกๆ ได้โดยการฝึกให้ลูกเรียนผ่านการทำกิจกรรมกับลูก ดังนี้

1. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ศิลปะมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การวาดรูป ระบายสี การปั้นแป้งโด ทั้งตามคำสั่ง หรือตามจินตนาการของเด็ก ตลอดจนทำงาน DIY ต่างๆ เช่น ตัดกระดาษทำเป็นหน้ากาก หรือตัวละครต่างๆ แล้วนำมาประกอบการเล่าเรื่อง หรือเล่านิทาน ก็จะช่วยฝึกสกิลการเรียนรู้ไปพร้อมกับฝึกกล้ามเนื้อ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กๆ พร้อมที่จะทำกิจกรรมในห้องเรียนจริงได้ด้วย

2. เกมส์ฝึกความจำ

ไม่ว่าจะเป็นการเล่นทายคำศัพท์จาก Flash Card ที่เป็นรูปภาพ หรือ ยากขึ้นมาหน่อยอย่างการเล่น Spelling Bee หรือเกมส์สะกดคำ จะช่วยให้ลูกมีส่วนร่วมในห้องเรียนได้มากขึ้น มีความกล้าที่จะตอบคำถาม หรือริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายกว่า เพราะเมื่อเด็กๆ คุ้นเคยกับการทำตามเงื่อนไขจากการสอนของผู้ปกครองแล้ว เด็กๆ ก็จะจำได้และมีความมั่นใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริงในห้องเรียนนั่นเอง

3. ฝึกการอ่านกับบทบาทสมมติ

การสอนลูกอ่านหนังสือเริ่มง่ายๆ จากการอ่านนิทานให้ฟังก่อนนอน แล้วเด็กๆ จะมีการซึมซับนิสัยรักการอ่าน และหากคุณพ่อคุณแม่มีการปรับให้ลูกๆ ได้มีโอกาสแสดงเป็นตัวละครเอง หรือร่วมเล่าเรื่องด้วย ก็จะสามารถฝึกความคิดสร้างสรรค์และความกล้าแสดงออกที่จะทำให้เด็กๆ มีความสุขเมื่อต้องทำกิจกรรมที่โรงเรียนด้วย

4. กิจกรรมกลางแจ้งต้องไม่ขาด

อย่าสอนลูกอยู่แต่ในบ้านเพียงอย่างเดียว แต่ควรให้ลูกได้ออกมารับแดด ขยับร่างกายอย่างเต็มที่ผ่านการออกกำลังกาย  หรือเล่นเครื่องเล่นตามสนามเด็กเล่นบ้าง เพราะจะช่วยให้เด็กๆ ได้ทดลองทำกิจกรรมที่ท้าทาย ฝึกความกล้า และเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กคุ้นชินกับกิจกรรมที่โรงเรียนได้ง่ายขึ้น อาการงอแงหรือความเบื่อหน่าย ไม่ชอบไปโรงเรียนก็จะลดน้อยลง

5. ไม่ปล่อยให้ลูกเรียนรู้คนเดียว

เด็กอาจปรับตัวได้ยากหากพ่อแม่ไม่ปล่อยให้ลูกออกนอกบริเวณที่คุ้นชิน ควรพาลูกออกไปทำกิจกรรมข้างนอกบ้าง เพื่อเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ และขยายสังคมให้ลูก เช่น การพาลูกไปทำ Work Shop ต่างๆ หรือหาพื้นที่ให้ลูกได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ วัยเดียวกัน อย่างคลาสดนตรี คลาสเต้น คลาสเรียนภาษา ฯลฯ เพื่อให้พวกเขาพัฒนาทักษะการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับทักษะการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนคนอื่นๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่ตลอดเวลา

สรุป

เมื่อลูกร้องไห้หรืองอแงไม่อยากไปโรงเรียน สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือค้นหาสาเหตุ และเตรียมลูกๆ ให้พร้อมตามคำแนะนำที่เราได้ให้ไว้ ทั้งนี้อย่ามัวแต่หาทางแก้ไขจากปัจจัยอื่น แต่ควรปล่อยให้เด็กเรียนรู้ที่จะพัฒนาระบบความคิด ความรู้สึก และการแสดงออกของตัวเองด้วย

และหากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจอยากให้ลูกได้พัฒนาทักษะทางภาษาควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีในห้องเรียน ทาง SpeakUp Language Center เป็นสถาบันสอนภาษา ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ เรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ซึ่งสามารถช่วยให้ลูกของคุณได้ค้นหาตัวเองได้อย่างเป็นอิสระกับครูผู้เชี่ยวชาญ

ปกบทความ ลูกไม่กล้าแสดงออก

ทำยังไง เมื่อลูกไม่กล้าแสดงออก แก้ก่อนสายทำลูกกลายเป็นคนเงียบ

ในการเลี้ยงดูลูกน้อยให้มีพัฒนาการสมวัย จะช่วยให้ลูกเติบโตเป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีความเฉลียวฉลาด และคิดบวก มองโลกในแง่ดี อย่างไรก็ตาม คุณพ่อและคุณแม่ในอีกหลายๆ ครอบครัวก็อาจจะเกิดความวิตกกังวลใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกได้เหมือนกันหากพบว่าลูกเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียอื่นๆ ตามมาได้ ดังนั้น ในบทความนี้จะมาอธิบายและให้ข้อมูลถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่กล้าแสดงออกว่าเพราะอะไร จะมีผลเสียไหม พร้อมเทคนิคที่ช่วยให้ลูกกล้าแสดงออกยิ่งขึ้นมาให้คุณพ่อและคุณแม่ได้ลองทำตามกันดู

สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่กล้าแสดงออก

สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่กล้าแสดงออก

การที่ลูกไม่กล้าแสดงออกหรือเป็นคนขี้อายเป็นเรื่องที่ปกติอย่างยิ่ง ซึ่งสาเหตุดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยในบทความนี้จะนำเสนอถึง 5 สาเหตุหลักๆ ที่พบได้บ่อย จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูสาเหตุที่เด็กไม่กล้าแสดงออกไปพร้อมๆ กันเลย

ลูกขาดความมั่นใจ

การที่ลูกขาดความมั่นใจถือเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกไม่กล้าแสดงออกได้ ซึ่งอาจเกิดจากคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ไม่เชื่อมั่นในตัวลูกว่าจะสามารถทำสิ่งนั้นได้ ส่งผลให้ลูกน้อยรู้สึกกดดันและเชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ จนลูกน้อยกลายเป็นคนที่ขาดความมั่นใจ และไม่กล้าแสงออก

ลูกรู้สึกกดดันมากเกินไป

หลายๆ ครั้งที่คุณพ่อและคุณแม่ตั้งความหวังในเรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้กับลูกสูงเกินไป อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกกดดัน และมีความวิตกกังวลในการทำสิ่งต่างๆ ได้ เช่น การถูกห้ามทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือการที่ลูกน้อยควรทำตามสิ่งต่างๆ ที่คุณพ่อและคุณแม่เห็นชอบว่าดีโดยไม่ได้ถามความสมัครใจกับตัวเด็กเอง จะส่งผลให้เด็กรู้สึกเครียดและกังวลจนลูกไม่กล้าแสดงออกในสิ่งที่คิด

ลูกขาดทักษะในการเข้าสังคม

การเข้าสังคมนับเป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เนื่องด้วยการเข้าสังคมจะทำให้เด็กได้มีการสื่อสาร หรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ส่งผลให้เกิดความสามารถอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร หรือการรับรู้ รวมไปถึงช่วยในการทำความเข้าใจถึงอารมณ์และความรู้สึกของคนอื่นได้ด้วย ดังนั้นแล้ว หากเด็กคนไหนที่ขาดทักษะในการเข้าสังคมไป อาจทำให้เด็กไม่สามารถปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับคนอื่นได้ ขาดความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ และส่งผลให้ลูกไม่กล้าแสดงออกในท้ายที่สุด

ลูกกลัวความล้มเหลว

เมื่อลูกน้อยทำความผิด แทนที่คุณพ่อและคุณแม่จะสั่งสอนหรืออบรมให้ความรู้ หากแต่ใช้วิธีการดุด่า หรือทำโทษแทน นอกจากจะทำให้เด็กเกิดความกลัว หรือรู้สึกไม่ปลอดภัยแล้ว ก็อาจทำให้ตัวของเด็กเองรู้สึกล้มเหลว และไม่กล้าพูด กล้าคิด หรือกล้าแสดงออกได้

พ่อแม่เป็นห่วงลูกมากเกินไป

เป็นธรรมชาติของคนเป็นพ่อและแม่เมื่อลูกได้รับอันตรายหรือเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น คุณพ่อและคุณแม่ก็จะเข้ามาปกป้องดูแล แต่หากคุณพ่อและคุณแม่ห่วงใยจนกระทั่งมากเกินพอดี เช่น การที่คุณพ่อและคุณแม่เป็นผู้ตัดสินใจแทนเด็กทุกอย่าง หรือการสั่งห้ามไม่ให้ลูกน้อยทำในสิ่งต่างๆ เพราะเชื่อมั่นว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด อาจทำให้เด็กรู้สึกกดดัน ไม่กล้าตัดสินใจ หรือกล้าแสดงออกมานั่นเอง

ผลกระทบเมื่อลูกไม่กล้าแสดงออก

เมื่อลูกไม่กล้าแสดงออกนานๆ จะส่งผลกระทบอะไรต่อการใช้ชีวิตประจำวันบ้าง

หลังจากที่รู้สาเหตุเด็กไม่กล้าแสดงออกกันไปแล้ว ลองมาดูถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นว่าเมื่อลูกไม่กล้าแสดงออกนานไป จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

  • การเข้าสังคม : อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่าการที่ลูกไม่กล้าแสดงออก ส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดทักษะเข้าสังคม จึงทำให้เมื่อลูกเติบโตและต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่น อาจส่งผลให้ลูกน้อยของคุณพ่อและคุณแม่ไม่สามารถปรับตัวร่วมกับผู้อื่นได้ หรือแม้แต่การสื่อสาร รวมถึงไม่กล้าแสดงออกในสิ่งต่างๆ เมื่ออยู่กับเพื่อน เป็นต้น
  • สุขภาพจิต : การที่ลูกน้อยไม่กล้าแสดงออก เนื่องจากกลัวความผิดพลาด หรือกลัวที่จะไม่ได้รับการยอมรับ อาจทำให้เด็กรู้สึกเครียด กดดัน ขี้ระแวงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลเสียอื่นๆ อย่างต่อเนื่องอีกด้วย เช่น ด้านพัฒนาการ หรือการเรียนรู้ รวมถึงพฤติกรรม และการแสดงออกของเด็ก
  • พฤติกรรม : จากการที่ลูกน้อยขี้อาย หรือไม่กล้าแสดงออก อาจส่งผลให้นอกจากสุขภาพจิตเด็กจะเสียแล้ว ยังรวมไปถึงพฤติกรรมการแสดงออกอีกด้วย เช่น เด็กมีปัญหาเรื่องการใช้พฤติกรรมรุนแรง มีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย เป็นต้น
  • พัฒนาการ : พัฒนาการเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อตัวเด็ก เพราะจะมีผลต่อตัวเด็กเมื่อเติบโตขึ้นตามวัย ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา หรือด้านอารมณ์และจิตใจ ดังนั้น หากลูกมีพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก อาจส่งผลให้พัฒนาการดังกล่าวช้ากว่าเด็กคนอื่นได้
เทคนิคที่ช่วยให้ลูกกล้าแสดงออก

รวม 10 เทคนิคที่พ่อแม่สามารถนำไปช่วยลูกให้กล้าแสดงออกมากขึ้น

คุณพ่อและคุณแม่คงจะเข้าใจภาพรวมของสาเหตุและปัญหาลูกไม่กล้าแสดงออกกันมากขึ้นแล้วว่ามีผลเสียอะไรบ้าง ดังนั้น เพื่อที่จะช่วยให้ลูกน้อยกล้าพูด กล้าคิด และกล้าแสดงออกมากขึ้น ในบทความนี้ได้รวบรวม 10 เทคนิคสำคัญที่ช่วยฝึกลูกให้กล้าแสดงออกมากขึ้น ดังต่อไปนี้

1. ให้เวลากับลูก

การได้ใช้เวลากับลูกก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยฝึกลูกให้กล้าแสดงออกได้ เพราะเด็กยังเป็นวัยที่ต้องการความรักและความใส่ใจมากๆ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องใช้เวลาอยู่กับลูก พูดคุยกับลูกเยอะๆ เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจที่ดี พร้อมที่จะเรียนรู้และรับมือกับสิ่งใหม่ๆ ในต่อจากนี้ได้

2. ลงโทษลูกให้ถูกวิธี

บางครั้งลูกน้อยของคุณอาจทำผิดแต่ไม่รู้ถึงข้อผิดพลาด ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคนเป็นพ่อและแม่ที่จะต้องอบรมสั่งสอนและให้ความรู้ที่ถูกต้องกับเด็กๆ เหล่านี้ เพื่อที่จะได้เกิดความรู้ความเข้าใจว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ซึ่งคุณพ่อและคุณแม่สามารถใช้วิธีต่างๆ ในการอบรมสั่งสอนได้ตามความเหมาะสม เช่น การอธิบายให้ลูกเห็นภาพและเข้าใจ หรืออาศัยการตักเตือนให้เด็กเกิดความตระหนักรู้ในสิ่งที่ตนทำ

3. ให้รางวัลลูก

เมื่อลูกน้อยทำผิด คุณพ่อและคุณแม่ก็จะอาศัยวิธีการอบรมสั่งสอน หรือการทำโทษอย่างเหมาะสม ในทางตรงกันข้าม เมื่อลูกทำในสิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ถูกต้อง ก็เป็นหน้าที่ของพ่อและแม่เช่นกันที่จะให้รางวัลกับลูก เพื่อที่จะให้ลูกเข้าใจว่าสิ่งนี้ดี และมีความมั่นใจในตัวเอง กล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออกในสิ่งนั้นๆ ต่อไป

4. ปล่อยลูกได้ทำในสิ่งที่ชอบ

วัยเด็กเป็นวัยแห่งการฝัน เด็กหลายคนมีความถนัดและความชอบที่แตกต่างกัน หากคุณพ่อและคุณแม่พบว่าลูกมีความชอบในสิ่งไหน ควรให้การสนับสนุนในสิ่งนั้นๆ เพราะนอกจากจะทำให้เด็กมีความสุขเนื่องจากได้ทำในสิ่งที่ชอบแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเสริมพัฒนาการเด็กได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

5. ให้กำลังใจลูก

หลายครั้งที่ลูกไม่กล้าแสดงออก ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่มั่นใจว่าทำสิ่งนั้นถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นแล้ว คุณพ่อและคุณแม่จะต้องให้กำลังใจลูก ชื่นชมลูกเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และกล้าที่จะแสดงออกในสิ่งนั้นต่อไป

6. พาลูกไปทำกิจกรรมใหม่ๆ

นอกจากจะใช้เวลากับลูกแล้ว การพาลูกไปทำกิจกรรมใหม่ๆ ร่วมกันก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยฝึกลูกให้กล้าแสดงออกได้มากขึ้นอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต รวมถึงสร้างความสุขและความทรงจำที่ดีให้กับลูกน้อยอีกด้วย

7. ให้ลูกได้มีเวลาส่วนตัว

การเลี้ยงลูกที่ดี ไม่ใช่แค่การใช้เวลากับลูกเยอะๆ เพียงอย่างเดียว แต่การให้ลูกได้มีเวลาส่วนตัว ยังมีส่วนช่วยให้ลูกน้อยของคุณพ่อและคุณแม่ได้พักผ่อนและมีเวลาเป็นของตัวเอง ส่งผลให้เด็กมีสภาพอารมณ์และจิตใจที่ดี มองโลกในแง่ดี ช่วยส่งเสริมให้กล้าพูด กล้าคิด และกล้าแสดงออกมากขึ้น

8. สอนให้ลูกแนะนำตัว

เมื่อเราต้องพบเจอกับคนใหม่ๆ หรือต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม การแนะนำตัวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งจะช่วยให้เรากล้าพูดกล้าแสดงออก ทั้งยังเป็นที่รู้จักของผู้อื่น รวมไปถึงเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวลูกน้อยเองกับบุคคลอื่นอีกด้วย

9. สร้างสถานการณ์จำลองให้ลูก

สำหรับลูกที่มีนิสัยขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก คุณพ่อและคุณแม่อาจเริ่มจากวิธีการง่ายๆ อย่างการสร้างสถานการณ์จำลองขึ้น เพื่อให้ลูกน้อยได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่จำเป็นต่างๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร หรือทักษะการแก้ไขปัญหา ซึ่งสถานการณ์จำลองเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในตัวเด็กให้กลายเป็นคนที่กล้าแสดงออกมากขึ้น

10. ให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง

การปล่อยให้ลูกน้อยได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตัวเองก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยฝึกลูกให้กล้าแสดงออกได้เช่นกัน เพราะเมื่อเด็กได้ลองใช้ชีวิตและเจอสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง จะทำให้เด็กเหล่านี้เกิดการเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ที่สำคัญของชีวิตจนกลายเป็นคนที่เติบโตอย่างเข้มแข็งและกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น

กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้ลูกกล้าแสดงออก

กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้ลูกกล้าแสดงออก เสริมความมั่นใจ ลดความขี้อาย

นอกเหนือจาก 10 วิธีที่จะช่วยฝึกลูกให้กล้าแสดงออกมากขึ้นแล้ว คุณพ่อและคุณแม่ยังสามารถนำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้ลูกกล้าแสดงออก พร้อมเสริมความมั่นใจ และความขี้อายได้มากขึ้นผ่านกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่น

  • กิจกรรมนำเสนอหรือพรีเซนต์ : เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ลูกน้อยได้กล้าแสดงออกผ่านการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ซึ่งอาจใช้การแสดงบทบาท หรือการแสดงออกต่างๆ รวมถึงการสื่อสารพูดคุย ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาอีกด้วย นอกจากนี้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากเพิ่มความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออกให้กับลูกน้อย พร้อมเรียนรู้ภาษาไปในตัว ที่ Speak Up Language Center ยังมีเทคนิคการสอนดีๆ สำหรับเด็กเล็ก 2.5-12 ปี ที่ช่วยให้เด็กสนุกสนานและเข้าใจง่ายอีกด้วย
  • กิจกรรมกีฬา : นอกจากจะได้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีแล้ว ลูกน้อยยังมีโอกาสเล่นกีฬาเป็นทีมกับคนอื่น และสามารถเรียนรู้การอยู่ร่วมกันตลอดจนทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันกับผู้อื่นได้ด้วย
  • กิจกรรมอะไรเอ่ย : เป็นกิจกรรมแนวคำถามคำตอบที่จะให้ลูกน้อยของคุณเป็นฝ่ายตั้งคำถามหรือบอกคำตอบ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้เด็กได้ใช้เวลาพูดคุยกับคนอื่นมากขึ้น พร้อมเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาอีกด้วย
  • กิจกรรมศิลปะ : เปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้วยการวาดรูปหรือทำกิจกรรมศิลปะต่างๆ เพื่อให้เด็กได้สนุกสนานและแสดงออกถึงความมั่นใจผ่านภาพวาด
  • กิจกรรมอ่านหนังสือที่ห้องสมุด : สร้างนิสัยรักการอ่านพร้อมฝึกลูกให้เป็นคนที่ฉลาดด้วยการพาลูกไปร้านหนังสือ หรือห้องสมุด เพื่อเลือกอ่านหนังสือที่ชื่นชอบ เพื่อให้กลายเป็นคนที่มีไหวพริบดี กล้าพูด และกล้าแสดงออก

สรุป

การที่ลูกไม่กล้าแสดงออกมีสาเหตุเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความไม่มั่นใจในตัวเอง รู้สึกกดดัน หรือกลัวความล้มเหลว ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในหลายๆ ด้าน เช่น พัฒนาการด้านจิตใจ หรืออารมณ์ เป็นต้น ดังนั้น คุณพ่อและคุณแม่จึงต้องให้ความรัก ความใส่ใจ และใช้เวลากับลูกมากขึ้น เพื่อที่จะได้เฝ้ามองและติดตามการเติบโตของลูก โดยคุณพ่อและคุณแม่สามารถนำเทคนิคหรือกิจกรรมต่างๆ ไปใช้ในการฝึกลูกให้กล้าแสดงออกมากขึ้น เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการการเติบโตที่ดี เหมาะสมกับวัย

รวมความรู้เกี่ยวกับพินอินจีน ตัวช่วยการอ่านภาษาจีนสำหรับเด็ก

"พินอินจีน" ตัวช่วยที่ทำให้การอ่านภาษาจีนสำหรับเด็ก ไม่ยากอีกต่อไป

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้เจ้าตัวเล็กเริ่มพูดภาษาจีนกลาง หรือจีนแมนดาริน ได้กันตั้งแต่เด็กๆ แต่รู้สึกว่า ตัวอักษรจีนนั้นดูยาก หรือมีหลายตัวที่เสียงที่คล้ายคลึงกัน การเริ่มทำความรู้กับพินอินภาษาจีนก่อนจะช่วยให้การเรียนรู้ภาษาจีนกลางนั้นง่ายยิ่งขึ้น

บทความนี้ จะพาไปทำความรู้จักว่าพินอินภาษาจีนคืออะไร พินอินพยัญชนะ และสระภาษาจีนมีอะไรบ้าง รวมถึง ตารางพินอินภาษาจีนแบบพื้นฐานให้ได้ทำความรู้จักกัน

พินอิน(Pinyin) คืออะไร

พินอิน(Pinyin) คืออะไร? ทำไมพ่อแม่ควรให้ลูกเรียน

พินอิน (拼音 – Pinyin) หรือ ฮั่นอวี่พินยิน (汉语拼音 – Hanyu Pinyin) คือ ระบบการเทียบเสียงภาษาจีน ด้วยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทน โดยภาษาจีนสำเนียงที่ใช้เป็นมาตรฐานจะเป็นภาษาจีนกลาง หรือที่เรียกว่า “จีนแมนดาริน” ซึ่งพินอินจีน จะประกอบด้วย 3 ส่วนที่ใช้ในการออกเสียง ได้แก่

  • พินอินพยัญชนะ จำนวน 23 เสียง
  • พินอินสระ แบ่งเป็นสระเดี่ยวจำนวน 6 เสียง และสระประสมจำนวน 30 เสียง
  • พินอินวรรณยุกต์ จำนวน 4 เสียง

ความสำคัญของพินอีนจีนช่วยเพิ่มพัฒนาการทางภาษาลูก มีอะไรบ้าง

เนื่องจากภาษาจีนถือเป็นหนึ่งในภาษาที่มีความเก่าแก่มากที่สุดในโลก ทำให้ตัวอักษรจีนยังใช้ระบบตัวอักษรภาพ (Pictogram) หรือตัวอักษร 1 ตัวแทน 1 คำ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เช่น ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ที่จะใช้ระบบตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะ และสระ ก่อนนำมาประกอบเป็นคำที่มีความหมาย

พินอินภาษาจีนมีความสำคัญทั้งกับเจ้าของภาษาและผู้ที่เรียนรู้ภาษาจีน ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้

  • การออกเสียง เนื่องจากภาษาจีนเป็นอีกภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ กล่าวคือ คำที่มีเสียงพยัญชนะและเสียงสระเดียวกัน แต่เสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ก็จะมีความหมายต่างกัน เช่น 马(mǎ – ม่า) แปลว่า ม้า กับคำว่า 妈 (mā – มา) แปลว่า แม่ เป็นต้น พินอินจึงช่วยให้สามารถอ่านออกเสียงคำในภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง 
  • การค้นหาข้อมูลด้วยการพิมพ์ เนื่องจากบนแป้นคีย์บอร์ดจะใช้ระบบตัวอักษร เช่น ตัวอักษรภาษาอังกฤษ การเข้าใจพินอินจะช่วยให้ผู้ใช้ภาษาจีน สามารถพิมพ์พินอิน และค้นหาคำที่ต้องการได้ แทนที่จะต้องเขียนขีดภาษาจีนทีละตัว นอกจากจะช่วยเรื่องความสะดวกแล้ว ยังช่วยลดโอกาสผิดพลาดในการเขียนตัวอักษรจีนผิดอีกด้วย เพราะการเขียนผิดแค่ขีดเดียว ความหมายก็สามารถเปลี่ยนได้
เสียงพยัญชนะพินอินจีน

เสียงพยัญชนะพินอินจีน

เสียงพยัญชนะพินอินในภาษาจีน จะประกอบไปด้วยเสียงจำนวน 23 เสียง โดยหากเทียบเคียงกับการออกเสียงภาษาไทย จะมีวิธีการอ่าน และท่องจำง่ายๆ ดังนี้

  • b ปอ 
  • p พอ 
  • m มอ 
  • f ฟอ 
  • d เตอ 
  • t เทอ 
  • n เนอ
  • l เลอ
  • g เกอ
  • k เคอ
  • h เฮอ
  • j จี
  • q ชี
  • x ซี
  • z จือ
  • c ชือ
  • s ซือ
  • zh จรือ
  • ch ชรือ
  • sh ซรือ
  • r ยรือ
  • y ยี
  • w อู

จุดสังเกตตัวเองว่าออกเสียงถูกต้องหรือไม่ และเทคนิคเพิ่มเติมในการออกเสียง มีดังนี้

  • พยัญชนะที่จะเกิดบริเวณริมฝีปาก คือ b p m f 
  • พยัญชนะที่ใช้ปลายลิ้นแตะเพดานแข็ง คือ d t n l
  • พยัญชนะที่ทำให้ช่วงลำคอสั่น คือ g k h
  • พยัญชนะที่ปล่อยเสียง คือ j q x y
  • พยัญชนะที่ปลายลิ้นแตะหลังปลายฟันล่าง โดยออกเป็นเสียงสั้น คือ z c s
  • พยัญชนะที่ต้องพับลิ้น หรือปลายลิ้นแตะเพดานอ่อน โดยออกเสียงยาว คือ zh ch sh r
  • พยัญชนะที่ต้องห่อปาก คล้ายเป่าลม คือ w

เสียงสระพินอินจีน

เสียงสระพินอินในภาษาจีน จะแบ่งออกเป็นสระเดี่ยว แบ่งเป็นสระเดี่ยวจำนวน 6 เสียง และสระประสมจำนวน 30 เสียง โดยหากเทียบเคียงกับการออกเสียงสระภาษาไทย จะมีวิธีการอ่าน ดังนี้

สระเดี่ยวพินอิน

  • a อา
      • ออ 
      • โอ
      • เออ 
      • เอ เมื่ออยู่หน้า y
      • อี เมื่อไม่มีเสียงพยัญชนะในตำแหน่งตัวสะกด และเสียงพยัญชนะต้นไม่ใช่ z c s zh ch sh และ r
  • อิ เมื่อมีเสียงพยัญชนะในตำแหน่งตัวสะกด และเสียงพยัญชนะต้นไม่ใช่ z c s zh ch sh และ r
      • อือ เมื่อเสียงพยัญชนะต้นเป็น z c s zh ch sh และ r
  • u อู
  • ü อูวี (การออกเสียงอู ด้วยการห่อปาก

พินอินสระประสม

  • ai ไอ
  • ao เอา
  • an 
      • อัน
      • อาน
  • ang 
      • อัง
      • อาง
  • ong อง
  • ou โอว
  • ei เอย์
  • en เอิน
  • eng เอิง
  • er เออร์ (ออกคล้ายเสียง “เออ” ในภาษาไทย แต่ปลายลิ้นม้วนขึ้นและแตะเพดานแข็ง)
  • ia เอีย
  • iao เอียว
  • ie อีเย (ออกไวๆ ให้เป็นเสียงเดียว)
  • iu ยิว
  • ian เอียน
  • iang เอียง
  • in อิน
  • ing อิง
  • iong อีอง (ออกไวๆ ให้เป็นเสียงเดียว)
  • ua วา
  • uo อัว
  • ui อุย
  • uai ไอว
  • uau อวน
  • un อุน
  • uang อวง
  • ueng เวิง
  • üe เยว
  • üan เอวียน (ออกไวๆ ให้เป็นเสียงเดียว)
  • ün อวิน (ออกไวๆ ให้เป็นเสียงเดียว)

เสียงวรรณยุกต์พินอินจีน

เสียงวรรณยุกต์พินอินในภาษาจีน จะแบ่งออกเป็น 4 เสียง แต่จะมีเสียงพิเศษที่เรียกว่า เสียงเบา อยู่ด้วย โดยหากเทียบเคียงกับการออกเสียงสระภาษาไทย จะมีวิธีการอ่าน ดังนี้

  • เสียงหนึ่ง จะเท่ากับเสียงสามัญในภาษาไทย
  • เสียงสอง จะเท่ากับเสียงจัตวาในภาษาไทย
  • เสียงสาม จะเท่ากับเสียงเอกในภาษาไทย
  • เสียงสี่ จะเท่ากับเสียงโทในภาษาไทย
  • เสียงเบา หรือเป็นพยัญชนะที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ การออกเสียงจะคล้ายกับเสียงหนึ่ง แต่ออกเพียงครึ่งเสียง หรือสั้นกว่า

ทั้งนี้ ในการวางเสียงวรรณยุกต์จะวางไว้บนสระตัวแรก เช่น 猫 (māo-มาว)แมว

ตารางพินอินจีนสำหรับฝึกลูกๆในการออกเสียงและอ่านคำภาษาจีน

ตารางออกเสียงพินอินจีน

หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพินอินภาษาจีนทั้งเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์กันไปแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นตารางพินอัน สำหรับได้ฝึกกัน

ตารางออกเสียงพินอินจีน

เคล็ดลับในการเรียนพินอินจีนให้ได้ผลดี มีอะไรบ้าง

สำหรับเคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยให้การเรียนพินอินภาษาจีน และเข้าใจภาษาจีนได้ดีขึ้น ดังนี้

  • จำความแตกต่างระหว่างพินอินและภาษาอังกฤษ แม้หน้าตาของตัวอักษรพินอินจะใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมาก แต่ก็มีการออกเสียงที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ พินอินยังมีกฎเกณฑ์ในการอ่านและการประสมคำที่แตกต่างจากภาษาอังกฤษอีกด้วย 
  • ใช้ตัวช่วยฝึกพินอินภาษาจีน ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่จะช่วยในการเรียนรู้เกี่ยวกับพินอินมากมาย เช่น Google Input Tools หรือตารางพินอินจีนกลาง
  • ฝึกใช้เป็นประจำ การฝึกใช้ภาษาที่กำลังเรียนอยู่เป็นประจำ จะช่วยเพิ่มความคุ้นเคยกับภาษานั้น ทำให้สามารถใช้ภาษาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ หากฝึกสื่อสารกับเจ้าของภาษาหรือสถาบันสอนภาษาจีนสำหรับเด็กเล็กที่สอนโดยเจ้าของภาษาโดยตรง จะยิ่งทำให้มีตัวอย่างของสำเนียงที่ถูกต้องอีกด้วย

เก่งพินอินยิ่งขึ้นกับคอร์สจาก SpeakUp Language Center

สรุป

พินอินภาษาจีน ทั้งพินอินพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ถือเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษาจีน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะให้เจ้าตัวเล็กเริ่มเรียนภาษาจีนกลาง สามารถลองหาตารางพินอินภาษาจีนแบบพื้นฐานมาฝึกกันได้ นอกจากนี้ การมีเคล็ดลับในการเรียนจะช่วยให้การเรียนพินอินได้ดียิ่งขึ้น เช่น การฝึกเป็นประจำ ใช้ตัวช่วยฝึกพินอิน หรือจำความแตกต่างระหว่างระบบพินอินและภาษาอังกฤษ เป็นต้น

ประโยคภาษาจีนในชีวิตประจำวันที่ควรใช้สอนลูก

33 ประโยคภาษาจีนให้ลูกฝึกเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน รู้ไว้ได้ใช้แน่นอน

ปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมมาเที่ยวไทยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีหลายๆ คนเข้ามาเพื่อติดต่อเพื่อทำธุรกิจอีกด้วย ภาษาจีนจึงเป็นอีกหนึ่งภาษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน หากเจอนักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติคนจีน ก็จะได้สื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งการเรียนรู้ประโยคภาษาจีนในชีวิตประจำวันเหล่านี้ ช่วยเพิ่มโอกาสในด้านต่านๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการได้เพื่อนใหม่ การใช้เมื่อไปเที่ยวหรือถามทางเวลาไปต่างประเทศ เป็นต้น สำหรับประโยคที่ใช้ในชีวิตประจําวันภาษาจีนมีอะไรบ้างไปดูกัน

ประโยคทักทายภาษาจีนในชีวิตประจำวัน

ประโยคภาษาจีนในชีวิตประจำวันที่ใช้บ่อย เมื่อต้องกล่าวทักทาย พร้อมตัวอย่างการใช้

การทักทายเป็นประโยคที่ใช้ถามไถ่ความเป็นอยู่ หรือสารทุกข์สุกดิบ เพื่อทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับบุคคนอื่นๆ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีวัฒธรรมในการกล่าวทักทายที่แตกต่างกันออกไป สำหรับประโยคภาษาจีนในชีวิตประจำวันที่ใช้กล่าวทักทายกันมีดังนี้

  1. 你好 (nǐ hǎo) Hello สวัสดี
  2. 您好 (nín hăo) Hello สวัสดี (เป็นคำสุภาพขึ้นมา โดยใช้กับผู้ที่อายุมากกว่า)
  3. 你们好 (nǐmen hǎo) Hello Everybody สวัสดีทุกคน
  4. 大家好 (dàjiā hǎo) Hello Everybody สวัสดีทุกคน
  5. 喂 (wèi) Hi สวัสดี (เป็นคำกล่าวทักทายแบบไม่เป็นทางการ)
  6. 你好吗?(Nǐ hǎo ma) How are you? คุณสบายดีไหม
  7. 你怎么样? (nǐ zěnme yàng?) How are you? คุณสบายดีไหม
  8. 早上好 (zǎo shàng hǎo) Good morning สวัสดีตอนเช้า
  9. 早安 (zǎo ān) Good morning สวัสดีตอนเช้า
  10. 上午好 (shàngwǔ hǎo) Good After Noon สวัสดีตอนบ่าย
  11. 晚上好 (wǎnshàng hǎo) Good Evening สวัสดีตอนเย็น  
  12.  好久不見 (hǎo jiǔ bu jiàn) Long time to seen  ไม่เจอกันนานเลย
ประโยคภาษาจีนที่ใช้บ่อยเมื่อเดินทางไปท่องเที่ยว

ประโยคภาษาจีนในชีวิตประจำวันที่ใช้บ่อยเมื่อเดินทางไปท่องเที่ยว พร้อมตัวอย่างการใช้

เมื่อไปท่องเที่ยวประเทศจีน จำเป็นต้องรู้ภาษาจีนแบบเบื้องต้นไว้บ้าง เพื่อที่จะได้เที่ยวอย่างสนุก หรืออยากจะซื้อของฝากก็จะได้สื่อสารอย่างรู้เรื่อง นอกจากนี้หากเจอนักท่องเที่ยวชาวจีนมาถามทาง หรือมาเที่ยวที่ไทยก็จะได้สื่อสารได้อย่างรู้เรื่อง

  1. 护照  (hù zhào) Passport พาสปอร์ต

Ex. 我的护照丢了 (Wǒ de hù zhào diūle) I lost my passport ฉันทำพาสปอร์ตหาย

        2. 卫生间 (Wèishēngjiān) Toilet ห้องน้ำ

Ex. 卫生间愿 吗 (Wèishēngjiān ma) How far is a toilet? ห้องน้ำอยู่ไหน

        3. 警察局 (Jǐngchá jú) Police Station สถานีตำรวจ

Ex. 警察局在哪里 ? (Jǐngchá jú zài nǎlǐ) where is the police station? สถานีตำรวจอยู่ที่ไหน

        4. 饭店 (Fàn diàn) Restaurant ร้านอาหาร

Ex. 这个饭店有麻辣烫吗 (Zhè ge fàndiàn yǒu málà tàng ma) Does restaurant has Mala soup? ร้านอาหารร้านนี้มีซุปหมาล่าไหม

        5. 钱 (qián) Money เงิน

Ex. 银行在哪, 我要换钱 (Yínháng zài nǎ, wǒ yào huàn qián) Where is the bank, I want to exchange money. ธนาคารอยู่ไหน ฉันต้องการแลกเงิน

        6. 便宜 (Piányí) Cheap ถูก

Ex. 这个衣服很漂亮, 你可以便宜一点吗? (Zhè ge yīfú hěn piàoliang, nǐ kěyǐ piányí yīdiǎn ma.) This shirt is very beautiful, can you lower the price? เสื้อตัวนี้สวยมาก ถูกลงหน่อยได้ไหม.

        7. 贵 (Guì) Expensive แพง

Ex. 怎么那么贵呢!(Zěnme nàme guì ne) why so expensive ทำไมแพงจังเลย

ประโยคภาษาจีนที่ใช้เริ่มต้นการสนทนา

ประโยคภาษาจีนที่ใช้บ่อยเมื่อเริ่มต้นการสนทนาพร้อมตัวอย่างการใช้

การมีเพื่อนใหม่ๆ ที่มาจากประเทศอื่น นอกจากจะช่วยในเรื่องของการฝึกภาษาแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนวัฒธรรมที่ดีอีกด้วย สำหรับใครที่มีเพื่อนชาวจีน และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นบทสนนาอย่างไร หัวข้อนี้จะมาแนะนำประโยคภาษาจีนในชีวิตประจําวันเกี่ยวกับการเริ่มต้นบทสนทนากับเพื่อชาวจีน

  1. 你好 (nǐ hǎo) Hello สวัสดี
  2. 您好 (nín hăo) Hello สวัสดี (เป็นคำสุภาพขึ้นมา โดยใช้กับผู้ที่อายุมากกว่า)
  3. 你们好 (nǐmen hǎo) Hello Everybody สวัสดีทุกคน
  4. 大家好 (dàjiā hǎo) Hello Everybody สวัสดีทุกคน
  5. 喂 (wèi) Hi สวัสดี (เป็นคำกล่าวทักทายแบบไม่เป็นทางการ)
  6. 你好吗?(Nǐ hǎo ma) How are you? คุณสบายดีไหม
  7. 你怎么样? (nǐ zěnme yàng?) How are you? คุณสบายดีไหม
  8. 早上好 (zǎo shàng hǎo) Good morning สวัสดีตอนเช้า
  9. 早安 (zǎo ān) Good morning สวัสดีตอนเช้า
  10. 上午好 (shàngwǔ hǎo) Good After Noon สวัสดีตอนบ่าย
  11. 晚上好 (wǎnshàng hǎo) Good Evening สวัสดีตอนเย็น  
  12.  好久不見 (hǎo jiǔ bu jiàn) Long time to seen  ไม่เจอกันนานเลย
ประโยคภาษาจีนเพื่อตอบโต้บทสนทนา

ประโยคภาษาจีนที่ใช้บ่อยเพื่อตอบโต้บทสนทนาพร้อมตัวอย่างการใช้งาน

การคุยกับเพื่อนๆ นอกจากเราจะเป็นฝ่ายแนะนำ หรือชวนพูดคุยแล้ว เพื่อนชาวต่างชาติอาจจะต้องการถามกลับ หรือชวนเราคุย ซึ่งประโยคตอบโต้เหล่านี้ ประโยคภาษาจีนในชีวิตประจําวันง่ายๆ ที่ใช้ตอบโต้กับเพื่อนๆ ได้

คำถามที่ 1

Q: 你叫什么名字?(nǐ jiào shén me míng zì?) What’s your name? เธอชื่ออะไร

A: 我叫… (Wǒ jiào) My name is… ฉันชื่อ…

คำถามที่ 2

Q: 你今年多大? (Nǐ jīnnián duōdà) How old are you? เธออายุเท่าไร

 A: 我今年…岁了. (Wǒ jīnnián… Suìle) I am… years old. ปีนี้ฉันอายุ…

คำถามที่ 3

Q: 你有什么爱好?(nǐ yǒu shén me ài hào) What is your hobby? เธอมีงานอดิเรกไหม

A: 我的爱好是看电影 (Wǒ de àihào shì kàn diànyǐng) My hobby is watching movies.

คำถามที่ 4

Q: 好久不见,你怎么样? (Hǎojiǔ bùjiàn, nǐ zěnme yàng?) Long time no see, how are you?ไม่เจอกันนานเลย เธอสบายดีไหม

A: 我很好,你呢. (Wǒ hěn hǎo, nǐ ne.) I’m fine, and you. ฉันสบายดี เธอละ

คำถามที่ 5

Q: 你吃饭了没有? (Nǐ chīfànle méiyǒu?) Have you eaten? เธอกินข้าวแล้วหรือยัง

A: 我吃秒面条了 (Wǒ chī miǎo miàn tiáo le) I ate noodles. ฉันกินก๋วยเตี๋ยวแล้ว

คำถามที่ 6

Q: 你最近忙吗?(Nǐ zuìjìn máng ma?) Are you busy?ช่วงนี้คุณยุ่งไหม

A: 我不忙 (Wǒ bù máng) I‘m not busy. ฉันไม่ยุ่ง

คำถามที่ 7

Q: 你喜欢吃什么? (Nǐ xǐhuān chī shénme?) what do you like to eat? เธอชอบกินอะไร

A: 我喜欢吃麻婆头伏. (Wǒ xǐhuān chī má pó tóufú) I like to eat mapo tofu.

คำถามที่ 8

Q: 这个周末你去哪里?(Zhège zhōumò nǐ qù nǎlǐ?) Where are you going this weekend? อาทิตย์นี้คุณไปไหน

A: 我去博物馆. 你想跟我一起去吗? (Wǒ qù bówùguǎn. Nǐ xiǎng gēn wǒ yīqǐ qù ma?) I’m going to the museum. Do you want to go with me? ฉันไปพิพิธภัณฑ์ คุณอยากไปกับฉันไหม

คำถามที่ 9

Q: 你看这个电影了吗?(Nǐ kàn zhège diànyǐngle ma?) Have you watched this movie? เธอดูหนังเรื่องนี้หรือยัง

A: 我看了.很好玩. (Wǒ kàn le. Hěn hǎowán.) I watched it. It was fun. ฉันดูแล้ว สนุกมากๆ

วิธีทำให้ลูกพูดประโยคภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันเก่งขึ้น

ทำสิ่งเหล่านี้หากอยากให้ลูกๆ พูดประโยคภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันเก่งยิ่งขึ้น

การเรียนภาษานั้นจำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เป็นประจำ เพราะการได้ใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอจะช่วยไม่ให้ลืม นอกจากนี้ควรฝึกออกเสียงภาษาจีนให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้สื่อสารกับเจ้าของภาษาได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งการเรียนภาษากับติวเตอร์ที่มีความสามารถ ช่วยให้ได้ความรู้ที่ถูกต้อง แม่นยำ อีกทั้งยังช่วยแนะนำการออกเสียงที่ถูกต้องให้ได้ด้วย ที่สำคัญการออกเสียงที่ถูกต้องยังช่วยให้ฟังสำเนียงของเจ้าของภาษาได้ถูกต้อง ราบรื่นขึ้น นอกจากการเรียนกับติวเตอร์แล้ว การพูดกับเพื่อนเจ้าของภาษา ดูภาพยนต์จีน ฟังเพลงจีน หรือดูคลิปที่เป็นภาษาจีนยังเป้นอีกตัวเลือกที่ช่วยให้ลูกๆ ขอคุณมีทักษะด้านภาษาจีนที่ดีขึ้น แถมยังได้เรียนรู้คำศัพท์ที่หลากหลายมากขึ้นด้วย ซึ่ง Youtube และ Netflix ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมากๆ

ฝึกฝนภาษาจีนกับครูผู้เชี่ยวชาญ SpeakUp Language Course

สรุป

ภาษาจีนเป็นอีกหนึ่งภาษาที่กำลังมาแรง ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาเที่ยวไทยเป็นจำนวนมาก รวมถึงนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งการเรียนภาษาจีนนอกจากจะได้เรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่แล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งควรเริ่มตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน ซึ่งประโยคภาษาจีนในชีวิตประจําวันที่ได้แนะนำไป เป็นประโยคที่สามารถฝึกฝนได้เองในขั้นต้น แต่สำหรับใครที่อยากมีพื้นฐานภาษาจีนที่ดี ควรฝึกกับติวเตอร์ที่มากประสบการณ์ ซึ่งสามารถเรียนได้ที่ SpeakUp Language Center สถาบันสอนภาษาจีนสำหรับเด็กที่มีการสอนที่สนุก ช่วยให้เรียนรู้ได้ง่าย

รวมคำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหาร

รวมคำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารที่ลูกควรรู้ จำให้ขึ้นใจ ใช้สั่งอาหาร

ภาษาจีน เป็นอีกหนึ่งภาษาที่มีการใช้กันแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในเขตเศรษฐกิจที่สำคัญก็มีการใช้ภาษาจีนอย่างแพร่หลาย ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เริ่มมีการใช้ภาษาจีนกันมากขึ้น ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองหลายๆ คน จึงแนะนำให้ลูกๆ เรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สาม นอกจากจะสามารถใช้ได้ในอนาคตแล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงาน ช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรม และการสื่อสารที่ดีขึ้น 

แน่นอนว่าจะต้องเริ่มต้นจากคำศัพท์ง่ายๆ ก่อน อย่างคำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหาร ถ้าหากได้ไปเที่ยวประเทศจีนก็จะได้สั่งอาหารกินได้อย่างคล่องแคล่ว รับรองว่าไม่อดแน่ๆ โดยในบทความนี้จะแบ่งหมวดคำศัพท์เกี่ยวกับอาหารออกเป็น 3 หมวดหลัก ได้แก่ คำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารตะวันตก คำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารไทย และคำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารจีน ซึ่งจะมีเมนูอาหารอะไรบ้างวันนี้ทาง Speakup สถาบันสอนภาษาจีนสำหรับเด็ก จะพาไปดู มาเลย!

คำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารตะวันตก

รวมคำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารตะวันตก

อาหารตะวันตก หรืออาหารยุโรป เป็นคำที่ใช้เรียกรวมๆ ถึงอาหารที่มาจากประเทศในแถบทวีปยุโรป หรือกลุ่มประเทศตะวันตก เช่น ประเทศอิตาลี ประเทศเยอรมัน ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งอาหารตะวันตกส่วนใหญ่นั้นมีวิวัฒนาการมาจากอาหารฝรั่งเศส จึงทำให้มีอาหารหลายๆ จานนั้นคล้ายคลึงกัน และเป็นวัฒนธรรมร่วมทางอาหาร โดยคำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารตะวันตก มีดังนี้

อาหารเช้า

  1. 谷类 อ่านว่า gǔ lèi แปลว่า ซีเรียล
  2. 吐司 อ่านว่า tǔ sī แปลว่า ขนมปังปิ้ง 
  3. 煎蛋卷 อ่านว่า jiān dàn juǎn แปลว่า ออมเล็ต 
  4. 薄煎饼 อ่านว่า báo jiān bing แปลว่า แพนเค้ก
  5. 三明治 อ่านว่า sānmíngzhì แปลว่า แซนด์วิช

อาหารกลางวัน&เย็น

  1. 牛排 อ่านว่า niú pái แปลว่า สเต๊ก
  2. 比萨 อ่านว่า bǐ sà แปลว่า พิซซ่า
  3. 沙拉 อ่านว่า shā lā แปลว่า สลัด 
  4. 汉堡包 อ่านว่า hàn bǎo bāo แปลว่า  แฮมเบอร์เกอร์
  5. 意大利面  อ่านว่า   yì dà lì miàn  แปลว่า  พาสต้า

ขนมหวาน และขนมขบเคี้ยว

  1. 薯片 อ่านว่า shǔ piàn แปลว่า มันฝรั่งทอดแบบแผ่น
  2. 蛋糕 อ่านว่า dàn gāo แปลว่า เค้ก
  3. 苹果派 อ่านว่า píng guǒ pài แปลว่า พายแอปเปิ้ล
  4. 冰淇淋 อ่านว่า bīng qí lín แปลว่า ไอศกรีม
  5. 巧克力 อ่านว่า qiǎo kè lì แปลว่า ช็อคโกแลต

ร้านอาหารดัง

  1. 麦当劳 อ่านว่า mài dāng láo แปลว่า McDonald’s 
  2. 肯德基 อ่านว่า kěn dé jī แปลว่า KFC
  3. 必胜客 อ่านว่า bì shèng kè แปลว่า Pizza Hut
  4. 汉堡王 อ่านว่า hàn bǎo wáng แปลว่า Burger King
  5. 赛百味 อ่านว่า sài bǎi wèi แปลว่า Subway
แนะนำคำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารไทย

รวมคำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารไทย

เมื่อได้เรียนคำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารตะวันตกไปแล้ว หากน้องๆ คนไหนที่มีเพื่อนเป็นคนจีน และอยากจะลองแนะนำเมนูอาหารไทยให้เพื่อนๆ ได้รู้จัก หรือลองชิม สามารถเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารไทย เพื่อบอกต่อความอร่อยของอาหารไทยให้กับเพื่อนๆ ได้ ดังนี้

อาหารคาว

  1. 炒饭 อ่านว่า chǎofàn แปลว่า ข้าวผัด
  2. 河粉 อ่านว่า héfěn แปลว่า ก๋วยเตี๋ยว
  3. 稀饭 อ่านว่า xī fàn แปลว่า ข้าวต้ม
  4. 冬阴功汤 อ่านว่า dōngyīngōng tāng แปลว่า ต้มยำกุ้ง
  5. 黃咖哩炒蟹 อ่านว่า huáng kālǐ chǎo xiè แปลว่า ปูผัดผงกระหรี่
  6. 鱼露炸鲈鱼 อ่านว่า yúlù zhà lǔyú แปลว่า ปลากระพงทอดน้ำปลา
  7. 咸蛋炒鱿鱼 อ่านว่า xiándàn chǎo yóuyú แปลว่า ปลาหมึกผัดไข่เค็ม
  8. ​​铁板蚝蛋 อ่านว่า tiěbǎn háo dàn แปลว่า ออส่วนกระทะร้อน
  9. 泰式炒河粉 อ่านว่า tài shì chǎo héfěn แปลว่า ผัดไทย
  10. 冬阴功面 อ่านว่า dōng yīngōng miàn แปลว่า ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ
  11. 泰式炒细粉条 อ่านว่า tài shì chǎo xì fěntiáo แปลว่า ผัดวุ้นเส้น
  12. 炒方便面 อ่านว่า chǎo fāngbiànmiàn แปลว่า ผัดมาม่า
  13. 碳烤猪颈肉 อ่านว่า tàn kǎo zhū jǐngròu แปลว่า คอหมูย่าง
  14. 烤肉糯米饭 อ่านว่า kǎoròu nuòmǐfàn แปลว่า ข้าวเหนียว หมูปิ้ง
  15. 叉烧盖饭 อ่านว่า chā shāo gài fàn แปลว่า ข้าวหมูแดง
  16. 鸡油饭 อ่านว่า jī yóu fàn แปลว่า ข้าวมันไก่
  17. 煎鸡蛋盖饭 อ่านว่า jiāndàn gàifàn แปลว่า ข้าวไข่เจียว
  18. 烤鸭肉盖饭 อ่านว่า kǎo yā ròu gài fàn แปลว่า ข้าวหน้าเป็ด
  19. 猪蹄饭 อ่านว่า zhūtì fàn แปลว่า ข้าวขาหมู
  20. 猪脚饭 อ่านว่า zhūjiǎo fàn แปลว่า ข้าวขาหมู
  21. 菠萝炒饭 อ่านว่า bōluó chǎofàn แปลว่า ข้าวผัดสับปะรด
  22. 炒空心菜 อ่านว่า chǎo kōngxīncài แปลว่า ผัดผักบุ้ง
  23. 酸甜炒 อ่านว่า suāntián chǎo แปลว่า ผัดเปรี้ยวหวาน
  24. 姜炒鸡 อ่านว่า jiāng chǎo jī แปลว่า ไก่ผัดขิง
  25. 粉丝蒸虾 อ่านว่า fěnsī zhēngxiā แปลว่า กุ้งอบวุ้นเว้น
  26. 猪血汤 อ่านว่า zhū xuè tāng แปลว่า ต้มเลือดหมู
  27. 绿咖喱鸡肉 อ่านว่า lǜ kālǐ jīròu แปลว่า แกงเขียวหวาน
  28. 西谷米馅丸子 อ่านว่า xī gú mǐ xiàn wán zǐ แปลว่า สาคูไส้หมู
  29. 泰式酸辣虾汤 อ่านว่า tài shì suānlà xiā tāng แปลว่า ต้มยำกุ้ง
  30. 清蒸柠檬鱼 อ่านว่า qīngzhēng níngméng yú แปลว่า ปลานึ่งมะนาว
  31. 嘎拋炒豬肉末 อ่านว่า gápāo chǎo zhūròu mò แปลว่า กะเพราหมูสับ
  32. 酱油炒粿条 อ่านว่า jiàngyóu chǎo guǒtiáo แปลว่า ผัดซีอิ้ว
  33. 凉拌青木瓜丝 อ่านว่า liángbàn qīng mùguā sī แปลว่า ส้มตำ
  34. 豆腐碎肉清汤 อ่านว่า dòu fǔ suì ròu qīng tāng แปลว่า แกงจืดเต้าหู้หมูสับ
  35. 脆猪肉炒芥蓝菜 อ่านว่า cuì pí zhūròu chǎo jièláncài   แปลว่า  คะน้าหมูกรอบ
  36. 蒜末炒猪肉盖饭 อ่านว่า suàn mò chǎo zhū ròu gài fàn   แปลว่า  ข้าวหมูกระเทียม

ของหวาน

  1. 椰浆甜蛋糕 อ่านว่า yé jiāng tián dàn gāo แปลว่า สังขยา
  2. 椰香石榴冰 อ่านว่า yé xiāng shí liú bīng แปลว่า ทับทิมกรอบ
  3. 甜蛋丝 อ่านว่า tián dàn sī แปลว่า ฝอยทอง
  4. 芒果糯米饭 อ่านว่า mángguǒ nuòmǐfàn แปลว่า ข้าวเหนียวมะม่วง
  5. 椰子冰淇淋 อ่านว่า yēzi bīngqílín แปลว่า ไอศกรีมกะทิ
  6. 泰式奶茶 อ่านว่า tàishì nǎichá แปลว่า ชาไทย
รวมคำศัพท์ภาษาจีนเกี่ยวกับอาหารจีน

รวมคำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารจีน

หลังจากที่ได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหารตะวันตก และอาหารไทยที่เป็นภาษาจีนไปแล้ว ต่อไปจะไปดูกันว่าคำศัพท์หมวดอาหารจีนในภาษาจีนนั้นมีอะไรกันบ้าง หากได้มีโอกาสไปเที่ยวที่เมืองจีน หรือประเทศที่ใช้ภาษาจีนจะได้สั่งอาหารที่อยากกินได้อย่างถูกต้อง

  1. 北京烤鸭 อ่านว่า běijīng kǎo yā แปลว่า เป็ดปักกิ่ง
  2. 鱼翅 อ่านว่า yú chì แปลว่า หูฉลาม
  3. 人参鸡汤 อ่านว่า rénshēn jītāng แปลว่า ไก่ตุ๋นโสม
  4. 盐水鸭 อ่านว่า yán shuĭ yā แปลว่า เป็ดอบเกลือ
  5. 糖醋里脊 อ่านว่า táng cù lǐji แปลว่า หมูทอดราดซอสเปรี้ยวหวาน
  6. 糖醋排骨 อ่านว่า táng cù pái gǔ แปลว่า ซี่โครงหมูเปรี้ยวหวาน
  7. 鱼香肉丝 อ่านว่า yú xiāng ròu sī แปลว่า หมูเส้นผัดเปรี้ยวหวาน
  8. 凉拌黄瓜 อ่านว่า liángbàn huángguā แปลว่า ยำแตงกวา
  9. 凉拌海带丝 อ่านว่า liángbàn hăidàisī แปลว่า ยำสาหร่ายเส้น
  10. 红烧肉 อ่านว่า hóng shāo ròu แปลว่า หมูสามชั้นน้ำแดง
  11. 猪肝炒大蒜 อ่านว่า zhū gān chǎo dà suàn แปลว่า ตับหมูผัดต้นกระเทียม
  12. 榨菜炒肉丝 อ่านว่า zhà cài chǎo ròu sī แปลว่า ผัดผักเสฉวนใส่หมูเส้น
  13. 麻婆豆腐 อ่านว่า zá pó dòu fu แปลว่า เต้าหู้ผัดทรงเครื่อง
  14. 臭豆腐 อ่านว่า zhòu dòu fu แปลว่า เต้าหู้เหม็น
  15. 小笼包 อ่านว่า xiǎo lóng bāo แปลว่า เสี่ยวหลงเปา
  16. 酸辣土豆丝 อ่านว่า suān là tǔ dòu sī แปลว่า มันฝรั่งเส้นผัด
  17. 红烧茄子 อ่านว่า hóng shāo qiézi แปลว่า ผัดมะเขือ
  18. 肉末炒茄子 อ่านว่า ròu mò chǎo qiézi แปลว่า มะเขือม่วงผัดเนื้อสับ
  19. 番茄炒蛋 อ่านว่า fān qié chǎo dàn แปลว่า มะเขือเทศผัดไข่
  20. 水煮鱼 อ่านว่า shuǐ zhǔ yú แปลว่า ปลาต้มพริกสไตล์เสฉวน 
  21. 四川火锅 อ่านว่า sì chuān huǒ guō แปลว่า หม้อไฟสไตล์เสฉวน
  22. 问政山笋 อ่านว่า wèn zhèng shān sǔn แปลว่า ซุปหน่อไม้เห็ดหอม
  23. 耗油生菜 อ่านว่า hào yóu shēng cài แปลว่า ผักราดน้ำมันหอย
  24. 红烧鲍鱼 อ่านว่า hóng shāo bào yú แปลว่า หอยเป๋าฮื้อน้ำแดง
  25. 脆皮鸭 อ่านว่า cuì pí yā แปลว่า เป็ดย่างหนังกรอบ
  26. 凉面 อ่านว่า liáng miàn แปลว่า หมี่เย็น
  27. 炒面 อ่านว่า chǎomiàn แปลว่า บะหมี่ผัด
  28. 烤鸭 อ่านว่า kǎoyā แปลว่า เป็ดย่าง
  29. 炸豆腐 อ่านว่า zhà dòufu แปลว่า เต้าหู้ทอด
  30. 肠粉 อ่านว่า cháng fěn แปลว่า ก๋วยเตี๋ยวหลอด
  31. 干烧扁豆 อ่านว่า gān shāo biǎndòu แปลว่า ผัดถั่วแขกคั่วแห้ง
  32. 炸酱面 อ่านว่า zhá jiàng miàn แปลว่า บะหมี่ราดซอส
  33. 宫保鸡丁 อ่านว่า gōng bǎo jī ding แปลว่า ไก่ผัดถั่วลิสง
  34. 烧麦 อ่านว่า shāo mài แปลว่า ขนมจีบ
  35. 虾饺 อ่านว่า xiā jiǎo แปลว่า ฮะเก๋า
  36. 包子 อ่านว่า bāozǐ แปลว่า ซาลาเปา
  37. 馒头 อ่านว่า mántóu แปลว่า หมั่นโถว
  38. 油条 อ่านว่า yóutiáo แปลว่า ปาท่องโก๋
  39. 豆浆 อ่านว่า dòujiāng แปลว่า น้ำเต้าหู้ 
  40. 地三鲜 อ่านว่า dì sān xiān แปลว่า ผัดสามเซียน (มะเขือ มันฝรั่ง และพริกหยวก)

การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนหมวดอาหาร เป็นอีกหนึ่งหมวดที่มีความสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน หากได้ไปเที่ยว หรือไปในประเทศที่ใช้ภาษาจีนก็รับรองสามารถสั่งอาหารทานได้อย่างแน่นอน โดยบทความนี้ก็ได้แนะนำคำศัพท์หมวดอาหารภาษาจีนไปทั้งอาหารจีน อาหารตะวันตก และอาหารไทย หากน้องๆ คนใดมีเพื่อนคนจีน และอยากจะแนะนำอาหารไทย หรือว่าน้องๆ อยากจะลองทานอาหารจีนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านอาหารก็ลองเลือกใช้คำศัพท์ที่นำมาฝากในบทความนี้ไปพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแนะนำเพื่อนๆ ได้

อัพสกิลคำศัพท์ภาษาจีนให้ลูกด้วย SpeakUp Language Course

เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ ลูกด้วยเพลง

เคล็ดลับการสอนภาษาอังกฤษด้วยเพลง ร้องสนุกไม่หยุดพัฒนาการลูก

การเรียนภาษาอังกฤษด้วยเพลง คือรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษผ่านเสียงเพลงที่ทำให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้ และสนุกสนานได้ในเวลาเดียวกัน โดยการที่ให้เด็กๆ ได้เรียนภาษาอังกฤษผ่านเพลงนั้นจะทำให้เด็กๆ ไม่เบื่อหน่าย สนุกไปกับเรียนรู้ และจดจำคำศัพท์ต่างๆ มากขึ้น ดังนั้น ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำเคล็ดลับการสอนภาษาอังกฤษลูกด้วยเพลง พร้อมแนะนำการวางแผนการสอน และเพลงที่เหมาะกับการใช้สอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ

ข้อดีของการใช้เพลงในการสอนภาษาอังกฤษลูก

ทำไมเราต้องใช้เพลงในการสอนภาษาอังกฤษลูก

ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจจะมีคำถาม หรือข้อสงสัยว่า ทำไมเราถึงต้องใช้เพลงในการสอนภาษาอังกฤษลูก? เพราะดูแล้วไม่น่าจะได้ผล หรืออาจจะได้ผลน้อยกว่าการเรียนแบบปกติ แต่รู้หรือไม่? ว่าการเรียนภาษาอังกฤษด้วยเพลงนั้นมีข้อดี และประโยชน์อย่างหลากหลาย โดยประโยชน์จากการสอนภาษาอังกฤษลูกโดยการใช้เพลง มีดังนี้

ไม่เบื่อง่าย

เพราะว่าเพลงนั้นมีจังหวะ และทำนองที่สนุกสนาน ทำให้เด็กๆ ไม่รู้สึกว่ากำลังเรียนอยู่ แต่กำลังสนุกสนาน และเพลิดเพลินไปกับเพลงมากกว่า

จดจำคำศัพท์ได้ง่าย

เพราะว่าการฟังเพลงนั้นมีจังหวะ และทำนองประกอบ ไม่เหมือนกับอ่านหนังสือที่เป็นแบบท่องจำ จึงทำให้ง่ายต่อการจดจำคำศัพท์มากขึ้น เพียงแค่นึกถึงทำนองเพลง ก็จะจำคำศัพท์ได้ทันที

เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา

เพราะว่าการฟังเพลงนั้นไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ภายในห้องเรียนเท่านั้น ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็สามารถฟังเพลงได้ ทำให้การเรียนภาษาอังกฤษผ่านเพลงสามารถทำได้ตลอดเวลา

ฝึกทักษะการฟัง และการพูด

เพราะว่าการฟังเพลงนั้นก็เปรียบเสมือนการฟังชาวต่างชาติพูดคุยกัน จึงทำให้เด็กๆ คุ้นชินกับสำเนียงการพูดมากขึ้น และทำให้เด็กๆ สามารถฝึกทักษะการพูดได้ด้วย เพราะว่าเมื่อเด็กๆ จำทำนอง จังหวะ หรือเนื้อเพลงเพลงนั้นๆ ได้แล้ว เมื่อได้ฟังเพลงก็จะต้องร้องตามอัตโนมัติอย่างแน่นอน

เรียนรู้วัฒนธรรมผ่านเพลง

เพราะว่าเพลงภาษาอังกฤษแต่ละเพลงนั้นมักจะมีการผสมผสาน หรือเสนอวัฒนธรรมต่างๆ เข้ามาอยู่ในเพลงด้วย จึงทำให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านจากทางเพลงได้ง่ายมากขึ้น

เรียนรู้รูปประโยคและคำศัพท์ใหม่

เพราะว่าภายในเพลงนั้นจะมีการใช้รูประโยคที่เข้าใจได้ง่าย ทำให้เด็กๆ เข้าใจถึง Tense หรือรูปประโยคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และนอกจากนั้นยังได้รู้ศัพท์ใหม่ๆ ที่นิยมนำมาใช้ในเพลง แต่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

วางแผนการสอนภาษาอังกฤษลูกด้วยเพลงอย่างไรให้ได้ผลดี

วางแผนการสอนภาษาอังกฤษลูกด้วยความเข้าใจผู้เรียนกันก่อน

ก่อนที่จะเริ่มการสอนภาษาอังกฤษลูกด้วยเพลงนั้นควรจะวางแผนการสอนเสียก่อน เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้รู้ว่าเพลงนี้เหมาะแก่การนำมาสอนลูกหรือไม่ หรือว่าลูกนั้นเหมาะกับเพลงแบบไหนมากกว่า? เพราะว่าเพลงบางเพลงนั้นอาจจะเหมาะกับเด็กอีกช่วงวัยหนึ่งเท่านั้น โดยวิธีการวางแผนการสอนภาษาอังกฤษลูกโดยใช้เพลงแบบง่ายๆ มีดังนี้

เลือกแนวเพลงที่ลูกชอบ

การเลือกแนวเพลงที่เด็กๆ ชอบนั้นจะสามารถดึงดูดใจ และช่วยให้เด็กๆ สนใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น โดยผู้ปกครองอาจจะสังเกตจากเพลงที่เด็กๆ ชอบฟัง หรือรู้สนุกไปกับเพลงนั้นบ่อยๆ เช่น มีการโยกตัวไปมาตามจังหวะ หรือมีการฮัมเพลงตามไปด้วย เป็นต้น

เลือกเพลงที่ฟังง่าย

การเลือกเพลงที่ฟังง่ายจะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถในการฟัง จดจำ หรือพูดตาม ทำให้เด็กๆ มีกำลังใจ และสนใจเรียนมากขึ้น

หาอุปกรณ์เสริมในการสอน

ถ้าหากเพลงนั้นๆ มีเรื่องราว มีตัวละครประกอบ หรือมีคำศัพท์ที่ควรรู้ ก็อาจจะทำอุปกรณ์เสริม เช่น ตุ๊กตามือ หรือการ์ดคำศัพท์ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับการเรียน

ผู้ปกครองต้องทำการบ้านมาก่อน

เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะว่าเด็กๆ จะต้องมีคำถามกลับมาอย่างแน่นอน เช่น คำนี้แปลว่าอะไร หรือทำไมถึงใช้รูปประโยคแบบนี้ เป็นต้น

ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรทำความเข้าใจผู้เรียนก่อนว่าต้องการอะไร หรือชอบอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนก่อนจะให้ลูกเรียนภาษาอังกฤษด้วยเพลง และให้เด็กๆ มีความสนุกสนานกับสิ่งที่กำลังทำมากที่สุด

10 เทคนิคในการสอนภาษาอังกฤษลูกด้วยเพลง

10 เทคนิคในการสอนภาษาอังกฤษลูกด้วยเพลงให้ได้ผลดีมากขึ้น มีอะไรบ้าง?

ฟาสต์ฟู้ดเป็นเมนูอาหารจานด่วน ที่ปรุงเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน ถือเป็นเมนูที่ถูกใจเด็กๆ หลายคน ด้วยรสชาติที่อร่อย ซึ่งคำศัพท์อังกฤษหมวดอาหารฟาสต์ฟู้ดจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1.เข้าใจถึงความสามารถ และข้อจำกัดของเด็กๆ

เพราะว่าเด็กๆ แต่ละคนนั้นอาจจะมีพัฒนาการ ความอดทน หรือข้อจำกัดต่างๆ ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงต้องเข้าใจถึงความสามารถ และข้อจำกัดของเด็กๆ ด้วย เพราะถ้าหากฝืนมากเกินไป อาจทำให้เด็กๆ รู้สึกไม่ดี และไม่อยากเรียนได้

2.สอนให้เหมือนไม่ได้สอน

เพราะว่าเด็กๆ ส่วนใหญ่จะไม่ชอบการเรียน และมักจะชอบการเล่นมากกว่า ดังนั้น จึงควรสอนเด็กๆ ด้วยการแฝงการสอนไปกับเล่น มากกว่าให้นั่งเรียนเฉยๆ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน และเพลิดเพลินไปกับสิ่งที่ทำมากที่สุด

3.ทำกิจกรรมร่วมด้วย

ให้เด็กๆ ทำกิจกรรมสั้นร่วมกับการเรียนรู้ และไม่ควรทำกิจกรรมนานเกินไป เพราะว่าเด็กๆ อาจจะเกิดอาการเบื่อได้

4.ผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมกับเด็กๆ ด้วย

การที่ผู้ปกครองทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ นั้นจะทำให้เด็กๆ รู้สึกผ่อนคลาย ไม่กังวล และมั่นใจในการแสดงออกมากยิ่งขึ้น

5.ใช้ตุ๊กตามือประกอบเพลง

เป็นอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยให้เด็กๆ เข้าใจถึงเนื้อเพลงมากขึ้น และสนุกสนานไปกับการร้องเพลงมากขึ้น

6.สอนแค่คำศัพท์ที่จำเป็น

เพราะว่าเด็กๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งจำคำศัพท์ที่ไม่จำเป็น และจะได้ไม่ต้องพยายามในการจำมากเกินไป ที่อาจทำให้เด็กๆ รู้สึกกดดันมากเกินไปได้

7.ร้องเพลงให้มากเข้าไว้

การร้องเพลงเยอะๆ จะช่วยให้เด็กๆ สนุกสนาน ไม่เบื่อง่าย และจดจำสิ่งต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น

8.ใช้ภาพประกอบให้เยอะ

การใช้ภาพประกอบให้เยอะจะทำให้เด็กๆ จดจำภาพ พร้อมกับคำศัพท์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

9.เล่นเกมให้มากกว่าเรียน

การทำกิจกรรมบ่อยๆ อย่างการเล่นเกมนั้นจะช่วยให้เด็กๆ มีพัฒนาการที่ดี และสามารถจดจำสิ่งที่ทำอยู่ได้มากกว่าการเรียน

10.ชื่นชมเด็กๆ ให้บ่อยเท่าที่ทำได้

 เพราะการชื่นชมเด็กๆ นั้นจะทำให้เด็กๆ มีกำลังใจในการเรียนรู้ และรู้สึกว่าตัวเองก็มีความสามารถที่จะทำได้เช่นกัน

9 เพลงใช้สอนภาษาอังกฤษลูกเพิ่มทักษะ Grammar and Vocabuary

ส่งท้ายด้วย 9 เพลงที่นำไปใช้สอนภาษาอังกฤษลูกเพิ่มทักษะ Grammar and Vocabuary

หลังจากรู้ถึงวิธีการวางแผนการสอน และเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษด้วยเพลงแล้ว ต่อไปเราไปดูเพลงที่สามารถนำไปใช้สอนภาษาอังกฤษลูก เพื่อเพิ่มทักษะแกรมม่า และคำศัพท์ โดยมีทั้งหมด 9 เพลง และแต่ละเพลงมี Teaching Point ดังนี้

  1. เพลง Do You Like Bananas? เป็นเพลงที่มี Teaching Point เกี่ยวกับ Yes/No Questions
  2. เพลง Friday I’m in Love เป็นเพลงที่มี Teaching Point เกี่ยวกับ Days of the Week Vocabulary
  3. เพลง My Favourite Things เป็นเพลงที่มี Teaching Point เกี่ยวกับคำศัพท์ทั่วไป
  4. เพลง Somebody That I Used to Know เป็นเพลงที่มี Teaching Point เกี่ยวกับโครงสร้างประโยคที่เป็นอดีต
  5. เพลง Call Me Maybe เป็นเพลงที่มี Teaching Point เกี่ยวกับโครงสร้างประโยคที่เป็นอดีต
  6. เพลง All My Loving  เป็นเพลงที่มี Teaching Point เกี่ยวกับโครงสร้างประโยคที่เป็นอนาคต
  7. เพลง Counting Stars  เป็นเพลงที่มี Teaching Point เกี่ยวกับคำศัพท์ทั่วไป
  8. เพลง If I Were a Boy  เป็นเพลงที่มี Teaching Point เกี่ยวกับประโยคที่แสดงความต้องการ หรือขอร้อง
  9. เพลง Across the Universe เป็นเพลงที่มี Teaching Point เกี่ยวกับคำกริยา

อัพสกิลคำศัพท์และ Grammer ด้วย SpeakUp Language Course

สรุป

การเรียนภาษาอังกฤษด้วยเพลงนั้นถือว่าเป็นอีกวิธีการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกวัย สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย เพียงแค่เลือกเพลงให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้การเรียนภาษาอังกฤษผ่านเพลงสนุกสนาน สามารถจดจำคำศัพท์ได้ง่าย และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

รวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดอาหาร พร้อมคำแปล

รวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดอาหาร พร้อมคำแปล นำไปฝึกลูกๆ ได้เลย

ในปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นหนึ่งในภาษาสากลที่ได้รับความนิยมและใช้ในการสื่อสารอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังมีข้อดีต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะใช้พูดคุยในชีวิตประจำวัน รวมถึงการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหากคุณพ่อคุณแม่ที่มีแผนจะพาลูกๆ ไปเที่ยวในเมืองที่ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะต้องรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษต่างๆ เช่น คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดอาหาร เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาแนะนำถึงคำศัพท์อังกฤษหมวดอาหารที่น่าสนใจและควรรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาหารเช้า

คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาหารเช้า

เริ่มต้นคำศัพท์อังกฤษหมวดอาหารเช้าแบบง่ายๆ ที่นอกจากจะสามารถใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อสั่งอาหารอร่อยๆ มารับประทานแล้ว ยังช่วยให้เด็กรู้คำแปลอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น

  1. Bacon Cheese Burger  (เบ’เคิน ชีซ เบอ’เกอะ) แปลว่า เบอร์เกอร์ชีสเบคอน
  2. Currant bread (เคอ’เรินทฺ เบรด) แปลว่า ขนมปังลูกเกด
  3. Cereal (เซีย’เรียล) แปลว่า อาหารเช้าที่ทำจากธัญพืชหรือซีเรียล
  4. Mac and Cheese (แมค แอนดฺ ชีซ) แปลว่า มักกะโรนีอบชีส
  5. Croissant (แครวซอง) แปลว่า ครัวซองต์
  6. Egg Muffin (เอ็ก มัฟ’ฟิน) แปลว่า มัฟฟินไข่
  7. Ham Sandwich (แฮม แซน’วิชฺ) แปลว่า แซนด์วิชแฮม
  8. Jam roll (แจม โรล) แปลว่า แยมโรล
  9. Omelette (ออม’มะลิท) แปลว่า ไข่เจียว
  10. Pancake (แพน’เคค) แปลว่า แพนเค้ก 
  11. Pie (ไพ) แปลว่า พาย
  12. Brioche (บรี’โอช) แปลว่า ขนมปังที่ผสมด้วยไข่สไตล์ฝรั่งเศส
  13. Sausage (ซอส’ซิจฺ) แปลว่า ไส้กรอก
  14. Toast (โทสทฺ) แปลว่า ขนมปังปิ้ง
  15. Yogurt (โย’เกิร์ท) แปลว่า โยเกิร์ต

คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาหารเย็น

มื้อเย็นก็มีความสำคัญไม่แพ้มื้อเช้าเลย เพราะนอกจากจะช่วยไม่ให้รู้สึกหิวในตอนกลางคืนแล้ว ยังช่วยเติมเต็มสารอาหารและพลังงานต่างๆ ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและรู้สึกสดชื่นมากขึ้น เมื่อตื่นนอนในเช้าวันถัดไป ซึ่งเราจะมาพูดถึงคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดอาหารเย็นกันกันว่ามีอะไรบ้าง

  1. Avocado Salad (แอฟวะคา’โด-แซล’เลิด) แปลว่า สลัดอะโวคาโด
  2. Poached Egg (โพช เอ็ก) แปลว่า ไข่ดาวน้ำ
  3. Fish and Chips (ฟิช แอนดฺ ชิพ) แปลว่า ปลาชุบแป้งทอดกับมันฝรั่งทอด
  4. Fried Rice (ไฟรดฺ ไรซฺ) แปลว่า ข้าวผัด
  5. Noodle (นูด’เดิล) แปลว่า ก๋วยเตี๋ยว
  6. Tomato Pasta (ทะเม’โท-พาส’ทะ) แปลว่า พาสต้าซอสมะเขือเทศ
  7. Lasagna (ละแซนยะ) แปลว่า ลาซานญ่า
  8. Mashed Potato (แมช พะเท’โท) แปลว่า มันฝรั่งบด
  9. Garlic fried Rice (การ์’ลิค-ไฟรดฺ-ไรซฺ) แปลว่า ข้าวผัดกระเทียม
  10. Roast Beef (โรสทฺ บีฟ) แปลว่า เนื้ออบ
  11. Caesar Salad (ซีเซอรฺ แซะเหลิด) แปลว่า สลัดซีซาร์
  12. Salmon Steak (แซล’เมิน สเทค) แปลว่า สเต็กปลาแซลมอน
  13. Prawn Wontons (พรอน วอน’ทอน) แปลว่า เกี๊ยวกุ้ง
  14. Onion Soup (อัน’ยัน ซูพ) แปลว่า ซุปหัวหอม
  15. Spaghetti Carbonara (สพะเกท’ที-คาโบนารา) แปลว่า สปาเก็ตตี้ซอสคาโบนารา

คำศัพท์ภาษาอังกฤษอาหารฟาสต์ฟู้ด

ฟาสต์ฟู้ดเป็นเมนูอาหารจานด่วน ที่ปรุงเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน ถือเป็นเมนูที่ถูกใจเด็กๆ หลายคน ด้วยรสชาติที่อร่อย ซึ่งคำศัพท์อังกฤษหมวดอาหารฟาสต์ฟู้ดจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

  1. Burrito (เบอะริโทะ) แปลว่า เบอร์ริโต
  2. Chicken Nugget (ชิค’เคิน-นัก’กิท) แปลว่า นักเก็ตไก่
  3. Pizza (พิท’ซะ) แปลว่า พิซซ่า
  4. Hash Browns (แฮช เบราน์) แปลว่า แฮชบราวน์
  5. French Fries (เฟรนชฺ ไฟรซ) แปลว่า เฟรนช์ฟรายส์
  6. Doughnut (โด’นัท) แปลว่า โดนัท
  7. Spring Roll (สพริง โรล) แปลว่า ปอเปี๊ยะ
  8. Fried Chicken (ไฟรซ ชิค’เคิน) แปลว่า ไก่ทอด
  9. Hamburger (แฮม’เบอเกอะ) แปลว่า แฮมเบอร์เกอร์
  10. Hot Dog (ฮอท เดิก) แปลว่า ฮอตด็อก
  11. Potato Chip (พะเท’โท ชิพ) แปลว่า มันฝรั่งทอด
  12. Instant noodle (อิน’สเทินทฺ-นูด’เดิล ) แปลว่า บะหมี่สำเร็จรูป
  13. Muffin (มัฟ’ฟิน) แปลว่า มัฟฟิน
  14. Onion Rings (อัน’ยัน ริง) แปลว่า หัวหอมทอด
  15. Popcorn (ˈพอพคอน) แปลว่า ป๊อปคอร์น
คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับรสชาติและสัมผัสของอาหาร

คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับรสชาติและสัมผัสของอาหาร

นอกจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดอาหารแล้ว ยังมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับรสชาติและสัมผัสของอาหารเพื่อให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษสามารถอธิบายลักษณะต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างละเอียดชัดเจนมากขึ้น

  1. Acidic (อะซิด’ ดิค) แปลว่า รสเปรี้ยว
  2. Bitter (บิท’เทอะ) แปลว่า รสขม
  3. Bland (แบลนดฺ) แปลว่า รสจืด
  4. Creamy (ครีม’มี) แปลว่า รสสัมผัสเหมือนครีม
  5. Crumbly (ครัม’บลี) แปลว่า เนื้อสัมผัสร่วน
  6. Crunchy (ครัน’ชี) แปลว่า เนื้อสัมผัสกรอบ
  7. Fluffy (ฟลัฟ’ฟี) แปลว่า เนื้อสัมผัสนุ่มฟู
  8. Fresh (เฟรช) แปลว่า รสชาติสดชื่น
  9. Juicy (จู’ซี) แปลว่า รสชุ่มฉ่ำ
  10. Moist (มอยซฺทฺ) แปลว่า รสชุ่มนิดๆ
  11. Salty​ (ซอล’ที) แปลว่า รสเค็ม
  12. Sour (เซา’เออะ) แปลว่า รสเปรี้ยว
  13. Spicy (สไพ’ซี) แปลว่า รสเผ็ด
  14. Sweet (สวีท) แปลว่า รสหวาน
  15. Tart (ทาร์ท) แปลว่า รสเปรี้ยว, รสฝาด
คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาหารแบบ Countable และ Uncountable Noun

คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาหารแบบ Countable และ Uncountable Noun

หลายคนคงทราบดีแล้วว่าคำนามสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ คำนามนับได้ (Countable Noun) ซึ่งจะใช้กับคำนามที่สามารถรับปริมาณหรือจำนวนได้ และนามนับไม่ได้ (Uncountable Noun) ที่ไม่สามารถนับหรือระบุจำนวนได้ชัดเจน ซึ่งคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดอาหารเองก็มีทั้งคำนามนับได้และนับไม่ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

Countable Noun

  1. Apple (แอพ’เพิล) แปลว่า แอปเปิ้ล
  2. Cookie (คุค’คี) แปลว่า ขนมคุกกี้
  3. Candy (แคน’ดี) แปลว่า ลูกอม
  4. Olive (ออล’ลิฟว) แปลว่า มะกอก
  5. Salad (แซล’เลิด) แปลว่า ผักสลัด
  6. Tomato (ทะเม’โท) แปลว่า มะเขือเทศ

Uncountable Noun

  1. Bread (เบรด) แปลว่า ขนมปัง
  2. Butter (บัท’เทอะ) แปลว่า เนย
  3. Coffee (คอฟ’ฟี่) แปลว่า กาแฟ
  4. Honey (ฮัน’นี่) แปลว่า น้ำผึ้ง
  5. Milk (มิลคฺ) แปลว่า นม
  6. Sugar (ชู’กะ) แปลว่า น้ำตาล

อยากให้ลูกเก่งคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ลองดูคอร์สที่น่าสนใจจาก SPEAKUP

เลือกคอร์สที่เหมาะกับลูก พร้อมรับคำปรึกษาจากคุณครูผู้สอนฟรี!

วิธีสอนภาษาอังกฤษลูกให้สนุก

รวม 8 วิธีสอนภาษาอังกฤษลูกให้สนุก และไม่กดดันเด็กมากเกินไป

ยิ่งได้ภาษา ยิ่งเป็นการเปิดโอกาส วลีนี้ไม่ได้พูดเกินจริงแต่อย่างใด นั่นทำให้พ่อแม่หลายครอบครัวพยายามผลักดันลูกหลานของตัวเองได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาที่กำลังจะถูกจัดว่าเป็นภาษาพื้นฐานที่ทุกคนต้องสื่อสารได้ แต่บางคนก็มองว่าการเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก อาจจะเป็นการกดดัน หรือสร้างภาวะความเครียด ความกลัวในการเรียนภาษา แม้กระทั่งการบั่นทอนความกล้าแสดงออกของเด็กอีกด้วย องค์ประกอบเหล่านี้จึงเป็นที่มาของวิธีสอนภาษาอังกฤษลูกให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำ เทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนลูกให้เก่งภาษา และปรับใช้ได้จริงกับสอนภาษาอังกฤษลูกในชีวิตประจำวันกัน

วิธีีทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็กก่อนสอนภาษาอังกฤษลูก

ก่อนสอนภาษาอังกฤษลูก มาเข้าใจผู้เรียนวัยเยาว์กันก่อน

ก่อนจะไปลงลึกถึง วิธีสอนภาษาอังกฤษลูก ลำดับแรกคือต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตใจของเด็กก่อนวัยเรียนกันเสียก่อนว่าอะไรคือสิ่งที่เขาชอบ และมีอะไรเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนภาษาอังกฤษกันบ้าง ซึ่งเด็กวัยนี้มักมีสมาธิสั้นไม่ค่อยจดจ่อกับบทเรียน เบื่อเร็ว และที่สำคัญถูกดึงความสนใจจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่าย ทำให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กๆ สนุก และได้เรียนรู้ไปในเวลาเดียวกัน หรือการสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาให้กับพวกเขามากยิ่งขึ้น 


จึงไม่น่าแปลกใจที่จะได้พบเห็นการนำเกม กิจกรรม หรือการร้องเพลง มาเป็นเทคนิคการสอนลูกให้เก่งภาษา เพราะเทคนิคเหล่านี้เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการเรียนภาษา และรู้สึกสนุกสนานไปด้วย สิ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเด็กก่อนวัยเรียนคือ การชื่นชม เมื่อพวกเขาทำสำเร็จ แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม เนื่องจากคำชื่นชมของพ่อแม่จะเปลี่ยนเป็นความเชื่อมั่น และแรงบันดาลใจในการเรียนภาษาอังกฤษของลูกนั้นเอง

ประโยชน์จากการสอนภาษาอังกฤษลูกตั้งแต่เด็ก

ลูกๆ จะได้ประโยชน์อะไรจากการได้รับการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก

ด้วย วิธีสอนภาษาอังกฤษลูกที่สร้างสรรค์ และสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาได้นั้น ไม่เพียงแต่จะทำให้ลูกสนใจในภาษาอังกฤษและมีพัฒนาการทางภาษาเพิ่มมากขึ้น แต่ยังได้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เพิ่มเติมอีกด้วย จะมีอะไรบ้างนั้นไปติดตามกันต่อได้เลย

  1. เปิดใจให้กับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น
  2. พัฒนาวิธีการพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าเดิม 
  3. ส่งเสริมการรับรู้ของเด็กเล็กผ่านการเรียนภาษา: ความยืดหยุ่นของสภาพจิตใจ ความคิดสร้างสรรค์ ระบบความจำ ระบบการคิดวิเคราะห์ และทักษะการแก้ไขปัญหาเบื้องหน้า 
  4. เข้าถึงแหล่งความรู้ และใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม
  5. ผลการเรียนที่ดีขึ้น หรือปรับปรุงทักษาะด้านภาษาได้ดีกว่าเดิม
  6. เข้าถึงวัฒนธรรม และศิลปะต่างชาติได้ลึกซึ้งขึ้น รวมถึงนำมาปรับในชีวิตประจำวันได้
สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำขณะสอนภาษาอังกฤษให้ลูก

8 สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำเมื่อสอนภาษาอังกฤษให้ลูกๆ

ระหว่างการเรียนภาษาอังกฤษของคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อย สิ่งที่ควรให้ความสำคัญนอกจากวิธีสอนภาษาอังกฤษลูกแล้ว นี่คือสิ่งที่ควรระวัง และห้ามทำ หากไม่ต้องการให้ลูกเริ่มรู้สึกว่าการเรียนภาษาอังกฤษนั้นยาก น่าอึดอัด และถึงขั้นเกลียดการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งในเนื้อหาส่วนนี้ได้รวบรวมไว้ทั้งหมด 8 ข้อที่ต้องระวัง มีดังนี้

1.ขาดความมั่นใจในการสอนภาษาอังกฤษลูก

อย่าลังเลที่จะเป็นผู้รู้ในการสอนภาษาอังกฤษเด็กๆ  ให้คุณตระหนักไว้เสมอว่าคุณมีความรู้ในภาษาอังกฤษมากกว่าพวกเขา และมีความพร้อมในการสอนอยู่เสมอ ซึ่งเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง เมื่อพ่อแม่หรือผู้สอนมีความมั่นใจ ก็จะส่งผลด้านบวกไปถึงความมั่นใจของลูกๆในการเรียนด้วย

2.บงการลูกจนเกินไป

บางทีการที่พ่อแม่นั้นคาดหวังและต้องการให้ลูกเรียนรู้ได้ตรมที่ตัวเองต้องการมากเกินไป จนเป็นการบงการให้ลูกเรียนรู้ให้ได้ตามที่ตัวเองต้องการ สิ่งเหล่านี้ควรเลิกทำเพราะวัยเด็กควรเป็นวัยที่ได้แสดงออกตามจินตนาการให้มากที่สุด ซึ่งบางครั้งอาจจะมีผิดถูกบ้าง แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าจำกัดกรอบจนทำให้ลูกไม่กล้าที่จะเรียนรู้อีกต่อไป

3.สอนภาษาที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

พยายามสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้จากเรื่องราวรอบตัว เพื่อให้ลูกสามารถนำไปใช้ได้จริง และคุ้นเคยกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสใช้งานสูง

4.ขาดความอดทน

ให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาในการเรียนรู้ ทำความเข้าใจและซึมซับเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ เพราะต้องเข้าใจว่าในการเรียนรู้สิ่งใหม่มักยากและใช้เวลาเสมอ

5.ประเมินความสามารถของลูกต่ำเกินไป

ไม่ควรประเมินความสามารถของลูกสูงหรือต่ำจนเกินไป ให้อยู่บนความพอดี เพราะบางทีความเร็ว ความเข้าใจในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องช่วยกันคิดและวางแผนร่วมกันในการสอนภาษาอังกฤษลูก

6.สอนเร็วเกินไปและไม่ทบทวนการสอนให้ลูกๆ

คุณพ่อและคุณแม่ควรทบทวนคำศัพท์ ประโยคที่ได้สอนไปบ่อยๆ ถึงแม้บางครั้งอาจจะทำให้ลูกๆรู้สึกเบื่อหน่ายไปบ้าง แต่ก็ดีกว่าการที่ผ่านบทเรียนไปแบบรวดเร็ว แต่ไม่สามารถจดจำและทำให้เด็กๆหลงลืมสิ่งที่พึ่งเรียนผ่านไปในที่สุด

7.จริงจังขึงขังกับคำตอบที่ถูกต้อง

หลายครั้งที่พ่อแม่มักาดหวังในความถูกต้องมากเกินไป เช่นเมื่อถามคำถามในบทเรียนที่สอนลูกไป ลูกต้องตอบได้ถูกต้องไม่ผิดไปจากสิ่งที่ตัวเองคิด นั่นเป็นสิ่งที่ควรเลิกทำ การที่ให้เด็กตอบผิดบ้าง ส่วนพ่อแม่ก็คอยชี้แนะว่าผิดพลาดตรงไหน ส่วนนี้จะช่วยให้ลูกกล้าลองผิดลองถูกมากขึ้น และยังจดจำสิ่งที่เรียนรู้ไปได้ขึ้นใจอีกด้วย

8.ขาดแรงจูงใจ ไร้คำชม

สร้างแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ผ่านการชื่นชม เมื่อพวกเขารู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ หรือทายคำศัพท์ได้ถูกต้อง

วิธีที่ทำให้การสอนภาษาอังกฤษลูกสนุกและไม่น่าเบื่อ

8 วิธีที่ทำให้การสอนภาษาอังกฤษลูกสนุกและไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

เนื้อหาส่วนนี้เป็นการผสมผสานระหว่างวิธีสอนภาษาอังกฤษลูก และกิจกรรมการมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี โดยกิจกรรมนี้จะทำให้การเรียนการสอนมีความสนุก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในความสำเร็จของการสร้างรากฐานการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กก่อนวัยเรียนก็ว่าได้

1.เปลี่ยนบทเรียนเป็นเพลง

ทั้งผู้เรียนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษาและไม่ใช่ต่างก็คุ้นเคยกับเสียงดนตรี เนื่องจากมีท่วงทำนองและดนตรีทำให้เพลิดเพลินไปกับคำ วลี และประโยคผ่านเสียงเพลงได้อย่างไม่รู้สึกติดขัด อย่างไรก็ตามนี่เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเห็นผลลัพธ์ชัดเจนกับเด็กก่อนวัยเรียน คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังสนใจวิธีนี้อาจจะลองค้นหาเพลงสอนภาษาอังกฤษใน Youtube หรือใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งเพลงคำศัพท์ใส่ท่วงทำนองยอดนิยมอย่าง Twinkle Twinkle Little Star ก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจไม่น้อย

2.เรียนรู้คำศัพท์ไปกับรูปภาพ

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านรูปภาพเป็นอีกหนึ่งวิธีที่หลายครอบครัวใช้เป็นวิธีสอนภาษาอังกฤษลูก เพราะในขณะที่ลูกน้อยกำลังเรียนรู้คำศัพท์ ยังได้สนุกไปกับการวาดรูป และระบายสีไปในตัวอีกด้วย  หากการขีดเน้นย้ำข้อความเป็นหนึ่งในเทคนิคการจดจำคำศัพท์ของผู้ใหญ่ การวาดรูปด้วยมือของเด็กๆ ก็เป็นเทคนิคในการจดจำคำศัพท์ของลูกได้ดีเป็นอันดับต้นๆ อีกทั้งยังเป็นการฝึกความคิดเชื่อมโยงในการคิดต่อยอดถึงคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับภาพดังกล่าวได้เพิ่มเติม

3.ลองใช้อุปกรณ์ช่วยจำไวยากรณ์

Mnemonic เป็นเทคนิคหนึ่งในการช่วยจำคำศัพท์และตัวช่วยในการสะกดคำที่ยาก ให้จดจำได้ง่ายขึ้นโดยการใช้คำคล้องจอง  คำย่อ รูปภาพ วลี หรือประโยค เช่นในรูปภาพเมื่อต้องการสะกดคำว่า “DOUBT” แทนที่จะท่องจำตรงๆ แต่เปลี่ยนมาใช้ ‘DO You-U Believe That?’ เมื่อจดจำวลีได้ขึ้นใจ ก็สามารถเรียบเรียงตัวสะกดออกมาเป็นคำศัพท์ที่ต้องการได้

4.เพิ่มเติมบทสนทนาระหว่างบทเรียน

การโยงคำศัพท์ที่ได้เรียนเข้ากับรูปแบบประโยค หรือวลีที่มีการใช้บ่อยๆ จะยิ่งทำให้เด็กๆ จดจำคำศัพท์นั้นได้เร็ว และง่ายมากขึ้น การจดจำคำศัพท์จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าหากผู้ใช้งานไม่สามารถหยิบมาใช้งานได้จริง ซึ่งวิธีนี้จะอุดรูรั่วในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีทีเดียว  คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกได้เพิ่มเติมจากการใช้รูปแบบประโยคคำถาม สื่อสารกับลูกเพื่อกระชับความสัมพันธ์ได้อีก ตัวอย่าง วันนี้ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง? กินอาหารอะไรที่โรงเรียน? หรือมีใครเป็นเพื่อนสนิทที่โรงเรียนบ้าง?

5.ใช้สื่ออื่นเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ เช่น เกม การ์ตูน

การสอนภาษาโดยเน้นที่สื่อใดสื่อหนึ่งมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนภาษาอังกฤษแก่ลูกๆ ได้ เกมหรือการ์ตูนที่สอดแทรกภาษาอังกฤษจึงกลายเป็นวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพอีกช่องทางหนึ่งสำหรับเด็กเล็ก เนื่องจากทำให้เด็กสามารถจดจ่ออยู่กับบทเรียนได้ และรู้สึกสนุกสนานไปในเวลาเดียวกัน

6.เล่นบทบาทสมมุติ

การเล่นบทบาทสมมุติช่วยส่งเสริมจินตนาการ และทำให้การเรียนภาษาอังกฤษของลูกกลายเป็นเรื่องสนุก ลองสร้างสถานการณ์สมมุติที่ใกล้ตัวเพื่อให้เด็กๆ สามารถนำไปใช้งานต่อได้จริง วิธีนี้จะช่วยลดความเครียดในการเรียนภาษาลง ที่สำคัญจะช่วยเพิ่มความกล้าในการพูดภาษาอังกฤษให้กับลูกน้อยได้อย่างไม่เคอะเขิน การเล่นบทบาทสมมุติจึงเป็นกิจกรรมที่มักจะได้เห็นบ่อยตามคลาสเรียนภาษานั่นเอง

7.ทบทวนบทเรียนหลังจบคลาส

ในการเรียนภาษาแต่ละครั้งหากใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง นั้นเท่ากับว่าอีก 23 ชั่วโมงของเด็กๆ จะไม่ได้เกี่ยวโยงกับภาษาอีกเลย ทำให้มีโอกาสที่จะหลงลืมเนื้อหา หรือคำศัพท์ที่พวกเขาเพิ่งเรียนไปได้อย่างรวดเร็ว การทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนมาในแต่ละวัน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย เพราะการทบทวนหลังเรียนเสร็จนั้นจะเป็นการย้ำข้อมูลเพื่อให้กลายเป็นความจำระยะยาวได้

8.ออกจากห้องเรียน!

การเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กเล็ก และเด็กโตมีความแตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจากเด็กเล็กที่ไม่สามารถจดจ่อกับบทเรียนได้ดีเท่ากับเด็กโต และต้องการแรงจูงใจในการเรียนที่มากกว่า ทำให้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษในห้องแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ วิธีสุดท้ายที่อยากแนะนำคือ การพาเด็กๆ ออกไปพบกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว และเริ่มเรียนรู้คำศัพท์ หรือวลีที่เกี่ยวข้องที่สามารถใช้ได้จริง เพื่อให้พวกเขาได้คุ้นเคย และพรางนึกถึงคำศัพท์จากบริบทรอบตัว

สอนภาษาอังกฤษให้ลูกด้วยแนวคิด Montessori

ลองใช้ Montessori ในการช่วนสอนภาษาอังกฤษให้ลูกๆสิ รับรองว่าเห็นพัฒนาการได้อย่างชัดเจน

Montessori เป็นแนวคิดจากจิตแพทย์ชาวอิตาเลียน ที่ค้นพบว่าช่วงปฐมวัย หรือช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต เป็นช่วงที่สามารถพัฒนาสติปัญญาได้ถึงขีดสุด ซึ่งในตอนแรกเด็กที่มีพัฒนาการหรือเรียนรู้ได้ช้าจะได้รับเทคนิคการสอนนี้ และให้ผลลัพธ์ที่ดีจนทำให้เด็กๆ เหล่านี้สามารถเข้าเรียนร่วมชั้นกับเด็กปกติได้ โดยประโยชน์ของการสอนแบบ Montessori มีดังนี้

  • เพิ่มความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยไม่ ถูกตีกรอบจากผู้สอน ทำให้ผู้เรียนมีอิส ระมากขึ้น
  • ช่วยให้ลูกมีสมาธิมากขึ้น จดจ่อกับการทำหรือเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น
  • สร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองให้กับผู้เรียน (self-learning) ทำให้เด็กมีความใฝ่รู้และกระตือลือล้นในการเรียนมากขึ้น
  • เด็กๆ จะมีความสุขในการเรียนมากขึ้น เพราะกิจกรรมการสอนเข้าใจและเป็นไปตามธรรมชาติของเด็ก
  • พัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน   สามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้

จากข้อมูลทั้งหมดทั้งวิธีสอนภาษาอังกฤษลูก และเทคนิคอีกมากมายในการสอนภาษาให้กับเด็กเล็ก จะเห็นได้ว่าผู้ปกครองสามารถนำไปใช้ได้จริง และเริ่มลงมือได้เลย แต่หากผู้ปกครองท่านใดที่ไม่มีเวลาว่าง หรือไม่สะดวกสอนภาษาอังกฤษให้กับลูกด้วยตัวเอง ลองให้เด็กๆ มาเรียนภาษาอังกฤษกับทาง Speakup สถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กเล็ก ที่มีครูมืออาชีพมากประสบการณ์ และเชี่ยวชาญเทคนิคการสอนภาษาสำหรับเด็กเล็กที่มีอายุ 2.5 ถึง 12 ปี ประยุกต์การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) รับรองได้ว่าการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กๆ จะมีพัฒนาการทางด้านภาษาอย่างชัดเจน

คอร์สเรียนอื่นๆที่น่าสนใจจาก SPEAKUP

สรุป

สร้างแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ผ่านการชื่นชม เมื่อพวกเขารู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ หรือทายคำศัพท์ได้ถูกต้อง

เลือกคอร์สที่เหมาะกับลูก พร้อมรับคำปรึกษาจากคุณครูผู้สอนฟรี!

what-is-montessori-banner

การสอนแบบมอนเตสซอรี่คืออะไร? 5 หลักสูตรที่กระตุ้นพัฒนาการเด็ก

เด็กทุกคนที่เกิดมาจำเป็นที่จะต้องได้รับความรู้อย่างเหมาะสมและการยอมรับจากสังคม จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวเพื่อให้เกิดทักษะในชีวิต การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Education) นับเป็นอีกหนึ่งแนวการสอนที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ทฤษฎีมอนเตสซอรี่มีดีอย่างไร ไปติดตามกัน

การสอนแบบทั่วไปเป็นอย่างไร?

what-is-montessori-1

ด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไปที่เราและหลายคนคุ้นเคย จะเป็นการเน้นให้เด็กๆ นั่งเรียนในห้องเรียนเป็นส่วนใหญ่ โดยเป็นการเรียนแบบสอนและท่องจำ ซึ่งกลายเป็นว่าหากเด็กต้องการจะจดจำเนื้อหานั้นๆ ให้ได้ เด็กต้องขวนขวายหาวิธีจำเอง หากเด็กคนไหนจำได้ สามารถทำข้อสอบได้ถูกต้อง คือการสอบผ่าน

ส่วนเด็กคนไหนที่จำไม่ได้แม่นนัก ก็อาจจะสอบไม่ผ่านได้ และที่สำคัญ การประเมินวัดผลจะเป็นการสอบ โดยนำคะแนนที่ได้มาเปรียบเทีบบตามเกณฑ์วัดออกมาเป็นเกรด

การวัดผลด้วยวิธีการดังกล่าวจะทำให้เกิดการเปรียบเทียบกันไปโดยปริยาย สุดท้ายเด็กที่ได้คะแนนน้อยจะเกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ และท้อถอยต่อการเรียนได้ ทั้งที่จริงแล้วเด็กคนนั้นๆ อาจมีความถนัดในวิชาอื่น เพียงแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนศักยภาพและการกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้องและเหมาะสม

การสอนแบบมอนเตสซอรี่ คืออะไร? แตกต่างจากการสอนแบบทั่วไปยังไง?

what-is-montessori-2

การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Education) คือ รูปแบบการสอนที่เป็นการนำความรู้ไปให้เด็ก โดยไม่ใช่ด้วยวิธีการบอกให้อ่านหรือท่องจำ แต่เป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้และเติบโตไปตามธรรมชาติที่เขาเป็น ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ และเลือกกิจกรรมที่เขาสนใจเองได้ ผ่านสิ่งแวดล้อมที่ครูจัดให้อย่างมีเป้าหมาย ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และมือ ไม่เน้นการท่องจำ แต่จะมีครูที่คอยให้คำแนะนำและสาธิตการใช้อุปกรณ์การเรียนในครั้งแรก จนเด็กเกิดความเข้าใจและคุ้นชิน จากนั้นเด็กก็จะเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเอง ส่งผลให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น เข้าใจมากขึ้น และสามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5 จุดมุ่งหมายของการสอนแบบมอนเตสซอรี่

1. เด็กควรได้รับการยอมรับ

เนื่องจากเด็กแต่ละคนความแตกต่างกัน มีความสามารถ มีความถนัดในแต่ละด้านที่ต่างกัน ดังนั้น เด็กทุกคนควรที่จะได้รับการยอมรับและนับถือในความสามารถที่เด็กถนัด ที่สำคัญ ควรจัดการศึกษาและสภาพแวดล้อมตามความสามารถหรือความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก โดยต้องมีการพัฒนาการสอนให้มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านความต้องการของเด็กแต่ละช่วงวัยด้วย

2. เปิดความคิด ในการยอมรับสิ่งใหม่ๆ

ด้วยหลักการมอนเตสซอรี่มีความเชื่อว่า มนุษย์เราเป็นผู้ให้การศึกษาและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง และเปรียบเทียบจิตของเด็กเป็นเหมือนกับฟองน้ำที่สามารถซึมซับข้อมูลต่างๆ จากสภาพแวดล้อมรอบตัว ดังนั้น การเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และหาคำตอบด้วยตัวเอง ผ่านการลงมือทำจริงในกิจกรรมต่างๆ จะมีส่วนช่วยให้จิตใจของเด็กสามารถเข้าถึงและซึมซับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมได้

3. ค้นหาตัวเองด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม

เพราะช่วงเวลาหลักของชีวิตจะอยู่ในช่วงแรกเกิด 1 – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของเด็กในระยะแรก เพื่อการพัฒนาที่ดีทั้งด้านสติปัญญาและจิตใจ เด็กจะมีความสนใจใฝ่รู้ ครูจึงควรใส่ใจและสังเกตว่าเด็กมีความสนใจด้านใดเป็นพิเศษ และควรได้มีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่เขาสนใจ

4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมในการเรียนรู้

มอนเตสซอรี่ เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดภายใต้สภาพแวดล้อมที่จัดให้อย่างมีรูปแบบ มีขั้นตอน และมีเป้าหมาย เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างมีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ เขาจะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามข้อสงสัย และความคิดของตนเองบ้าง ที่สำคัญ ด้วยหลักการมอนเตสซอรี่นั้นสนับสนุนให้มีการจัดห้องเรียนแบบเปิด (Open Classroom) เพื่อที่เด็กๆ จะสามารถเลือกกิจกรรมได้อย่างอิสระ

5. กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองอย่างมีอิสระ ซึ่งความเป็นอิสระนี้ยังส่งผลให้ได้เรียนรู้เรื่องระเบียบวินัยและการทำงานต่างๆ โดยการเปิดโอกาสให้ตัวเด็กได้เริ่มมองเห็นถึงข้อบกพร่อง ยอมรับข้อผิดพลาด และลองหาทางแก้ไข กระบวนการเหล่านี้จะทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางด้านอารมณ์ การแก้ไขปัญหา และความภาคภูมิใจในตนเองอีกด้วย

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เน้นการเรียนส่วนใดบ้าง?

what-is-montessori-3

ด้วยพัฒนาการของเด็กวัย 3-6 ปี จะเป็นวัยที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งเด็กจะเข้าสู่กระบวนการการพัฒนาตัวตนและบุคลิกภาพของตนเอง การใช้หลักสูตรมอนเตสซอรี่เข้ามาช่วย จะส่งผลให้เด็กๆ มีประสบการณ์ เกิดความเข้าใจ และซึมซับความรู้ได้ดี เป็นการช่วยสร้างตัวตนของเด็กอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีหลักในการเรียนการสอน โดยแบ่งออกได้เป็น 5 หัวข้อ ดังนี้

Practical Life - การใช้ชีวิตผ่านสิ่งแดล้อม

what-is-montessori-4

จะเป็นกิจกรรมที่เน้นการดูแลผู้อื่น การดูแลตัวเอง รวมถึงการดูแลสภาพแวดล้อม ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การล้างจาน การจัดโต๊ะอาหาร เป็นต้น ซึ่งจะมีการสอดแทรกมารยาทในการเข้าสังคมเข้าไปด้วย เหล่านี้จะส่งผลดีต่อเด็กๆ ได้ทั้งในแง่ของพัฒนาการกล้ามเนื้อมือที่ต้องทำงานให้สัมพันธ์กับสายตา รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่สำคัญ ยังเป็นการฝึกสมาธิ ความมุ่งมั่น และการมีระเบียบวินัยให้เด็กอีกด้วย

Sensorial - ประสาทสัมผัสทั้ง 5

what-is-montessori-5

เด็กในวัยนี้จะเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัสมากกว่าการคิดวิเคราะห์ด้วยสมอง อุปกรณ์แต่ละชิ้นถูกคิดค้นขึ้นมาโดยอ้างอิงจากหลักวิทยาศาสตร์ที่แสดงถึงคุณสมบัติ เช่น ขนาด พื้นผิว รูปทรง รวมถึงนำ้หนัก เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เด็กเรียนรู้และจดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น

Language - ภาษาต่างประเทศ

what-is-montessori-6

เด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป เขาจะมีพัฒนาการทางภาษามากขึ้นเรื่อยๆ จากสิ่งต่างๆ รอบตัว เปลี่ยนการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสมาเป็นเรียนรู้จากการอ่าน การได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะ ประวัติศาสตร์ และดนตรี ก็จะส่งผลให้เด็กรักสิ่งต่างๆ รอบตัวด้วย

Mathematics - คณิตศาสตร์

what-is-montessori-7

คณิตศาสตร์จะเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเข้าใจหลักการของตัวเลข เริ่มจากอุปกรณ์ที่เด็กสามารถหยิบจับได้จริง สิ่งนี้เองจะทำให้เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสจนเกิดความเข้าใจที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดเพื่อเรียนพีชคณิตและเรขาคณิตได้ในอนาคต

Culture วัฒนธรรม

what-is-montessori-8

การเรียนรู้กิจกรรจทางวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สัตววิทยา หรือพฤกษศาสตร์ ผ่านอุปกรณ์ทางการเรียนอย่างลูกโลกหรือจิ๊กซอว์แผนที่ เหล่านี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปของแต่ละชนชาติได้

หลักการประเมินวัดผล

การประเมินวัดผลในหลักสูตรมอนเตสซอรี่ จะมีการวัดผลอย่างต่อเนื่องแบบ “Formative Asessment” โดยจะมีการสังเกตและจัดบันทึกพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน ซึ่งในระดับชั้นประถมอาจใช้เครื่องมือวัดผลอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ one-on-one-conference ซึ่งครูจะมีหัวข้อในการวัดประเมิน ดังนี้

  • เด็กมักเลือกเล่นของเล่นอย่างไร
  • เด็กรู้จักที่จะพลิกแพลงของเล่นหรือไม่ อย่างไร
  • เด็กได้มีการขอความช่วยเหลือจากใครบ้างหรือไม่
  • เด็กเข้าแทรกแซงการเล่นของเพื่อนไหม
  • ให้เด็กได้อธิบายเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับเพื่อนๆ
  • เด็กจะอยู่นิ่งหรือจะมีสมาธิจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานแค่ไหน

ข้อดีของการเรียนแบบมอนเตสซอรี่

การสอนแบบมอนเตสซอรี่ เน้นการสอนให้เด็กเติบโตได้อย่างมีอิสระ และเป็นธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดีต่อตัวเด็กเอง ดังนี้

what-is-montessori-9
  • เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน – เนื่องจากการเรียนรู้อย่างอิสระนี้จะเป็นการรวมกันระหว่างเด็กในหลายช่วงวัย เมื่อเด็กหลายๆ คนมาอยู่รวมกัน จะส่งผลให้เด็กแต่ละคนมีการปรับตัวและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน – ด้วยความที่เด็กหลายช่วงวัยมาเรียนรวมกัน เด็กที่โตกว่าจะให้ความช่วยเหลือ ดูแล พร้อมทั้งมีการสาธิตการเรียนรู้ให้กับเด็กที่อ่อนกว่า เกิดเป็นความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
  • ไม่มีการเปรียบเทียบ – เนื่องจากเด็กมีความสนใจแตกต่างกันไปคนละด้าน เด็กจึงทำงานชิ้นนั้นๆ เสร็จได้ด้วยตัวเองเพราะต่างคนต่างเรียนรู้ จึงทำให้ไม่มีการเปรียบเทียบหรือแข่งขันกับเด็กคนอื่นๆ
  • สนุกกับการเรียน – เด็กบางคนเรียนรู้ได้เร็วกว่า ทำงานเสร็จได้เร็วกว่า ก็จะได้เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้นไปอีกระดับขั้นด้วยความรวดเร็ว ไม่ต้องรอเพื่อนคนอื่นๆ เด็กจึงไม่เกิดการเบื่อหน่ายต่อการเรียน
  • มีสมาธิมากขึ้น – เมื่อเด็กมีอิสระในการเลือกที่จะเรียนรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ เด็กจะมีจิตใจที่จดจ่อ ต่อการทดลอง และการหาคำตอบที่ตนเองอยากรู้ ส่งผลให้เด็กมีสมาธิมากขึ้นไปโดยปริยาย
  • มีบุคลิกภาพที่ดี – เด็กจะกล้าตัดสินใจด้วยตัวเอง มีความคิดพลิกแพลง รู้จักการแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง มีความรับผิดชอบ รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสังคม มีทัศนคติเชิงบวก รวมถึงมีวุฒิภาวะที่เหมาะสมกับช่วงวัย

สรุป การเรียนแบบมอนเตสซอรี่

เด็กจะมีความฉลาดทางสติปัญญาและเติบโตได้ทางจิตใจนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมและถูกทางจากผู้ปกครอง การสอนแบบมอนเตสซอรี่จึงเน้นไปที่ตัวเด็กเป็นหลัก ให้เด็กได้เลือกเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตนเองอย่างมีอิสระ ด้วยการเล่นผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เมื่อเด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ก็จะทำสิ่งนั้นๆ ออกมาได้ดี โดยในท้ายที่สุดแล้วเด็กจะได้รับการยอมรับและเขาจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มีความสุขกับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นรากฐานต่อการสร้างพัฒนาการที่ดีในขั้นต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยพัฒนาการของเด็กในวัย 2 ปี ขึ้นไป ทั่วไปแล้วจะมีความอยากเรียนรู้อยู่มาก และเป็นวัยที่ช่างจดช่างจำ การกระตุ้นพัฒนาการ หรือการเสริมความรู้ให้ลูกผ่านการเรียนการสอนที่เป็นอิสระ ปล่อยให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้การสนับสนุน SpeakUp Language Center สถาบันสอนภาษา สำหรับเด็กเล็ก อายุตั้งแต่ 2.5 – 12 ปี พร้อมแล้วที่จะเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ โดยเปิดสอนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีนสำหรับเด็ก ผ่านการสอนแบบมอนเตสซอรี่ กับครูผู้มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดย