fbpx

Jolly Phonics เทคนิคฝึกภาษาให้ลูกอย่างเป็นธรรมชาติ ที่จำง่ายได้ผลดี

สารบัญ
jolly phonics

Jolly Phonics เทคนิคฝึกภาษาให้ลูกอย่างเป็นธรรมชาติ ที่จำง่ายได้ผลดี

Jolly Phonics การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของเด็ก ๆ ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม ฝึกให้ลูกของคุณสามารถใช้ภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติ เฉกเช่นเจ้าของภาษา เน้นการสอนที่สนุกสนาน มีกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ฝืนความคิดของเด็ก ซึ่งตรงนี้เป็นตัวช่วยกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของเด็กและกระตุ้นความจำได้เป็นอย่างดี

ผลลัพธ์ในการเรียนภาษาผ่านโปรแกรม Jolly Phonics ช่วยให้เด็กสามารถเรียนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเก่งเร็วขึ้น ทำให้การเรียนในรูปแบบนี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในหลักสูตรแกนกลางของ
สหราชอาณาจักร และกว่า 150 ประเทศทั่วโลกก็ได้นำ
Jolly Phonics ไปใช้ในการสอนภาษาแก่เด็กเช่นเดียวกัน

jolly phonics คืออะไร

มารู้จัก Jolly Phonics กันก่อนว่าคืออะไร?

Jolly Phonics คือ รูปแบบการการเรียนการสอนที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติ ที่การเรียนแบบเดิม ๆ ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ เพราะ Jolly Phonics ใช้เครื่องมืออย่าง Synthetic Phonics (การสังเคราะห์การออกเสียง) ที่เป็นกุญแจดอกสำคัญของการเรียนภาษาเข้ามาปรับใช้ในการสอนภาษาให้กับเด็ก เพราะการสอนแบบนี้เด็ก ๆ จะเรียนรู้เสียงจากตัวอักษรแต่ละตัว โดยเริ่มจากการผสมเสียงและค่อย ๆ อ่านคำศัพท์ได้ตามลำดับ เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่ส่งเสริม “การเรียนรู้” ไม่ใช่การ “เรียน” (ที่เน้นการท่องจำเพื่อเอาไปสอบ) แบบที่เคยเป็นมา

การเรียนภาษาด้วย Jolly Phonics ยังได้นำเอาการสอนแบบพหุสัมผัส (Multisensory) มาใช้ เพื่อกระตุ้นให้สมองของเด็ก ๆ เกิดการพัฒนาในหลายส่วน บวกกับการนำการเรียนรู้จากเสียง โดยการมองเห็นมาใช้ ทั้งยังมีกิจกรรมสนุก ๆ การร้องเพลง การแสดงท่าทางมาใช้ในเรียนรู้เสียงจากตัวอักษร รวมถึงมีแบบฝึกหัด Jolly Phonics ให้ได้ทำ ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และยังมีประสิทธิภาพอีกด้วย

เรียนภาษาด้วย Jolly Phonics ดีกว่ายังไง

ผู้ปกครองหลายคนอาจสงสัยว่า Jolly Phonics ดีไหม ต่างจากการเรียนภาษาอย่างที่เคย ๆ เรียนมาอย่างไร แล้วเหมาะไหมที่จะให้ลูกของคุณเรียนภาษาด้วยวิธีนี้ อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้นว่า Jolly Phonics เป็นการเรียนที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้เสียงจากพยัญชนะแทนการเรียนแบบที่เราคุ้นเคยก็คือการเรียนตัวอักษร A B C ไปก่อน ค่อยมาเรียนเรื่องเสียง แถมยังเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสนุกๆ อย่างการร้องเพลงและแสดงท่าทางประกอบเสริมความจำและความเข้าใจ

การเรียนภาษาอังกฤษด้วย Jolly Phonics เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ว่า ภาษาอังกฤษมีตัวอักษรทั้งหมด 26 ตัวและมีเสียง 42 เสียง ซึ่งพวกเขาก็จะได้เรียนเสียงในภาษาอังกฤษทั้งหมดก่อน ซึ่งเป็นเทคนิคที่เป็นธรรมชาติ จะเห็นได้ว่าก่อนที่เด็กจะพูดได้ เด็กจะได้ยินพ่อแม่พูด พร้อมแสดงท่าทาง เกิดการเลียนเสียงและท่าทางจากพ่อแม่ จนเกิดความเข้าใจและสื่อสารได้ในที่สุด จะเห็นได้ว่าการเรียนแบบเดิมจะเน้นท่อง A B C เป็นหลัก แล้วจึงค่อยมาสอนการออกเสียงและการผสมคำ ซึ่งเป็นการเรียนที่ฝืนธรรมชาติ ทำให้เด็ก ๆ หลายคนเรียนภาษาอังกฤษไม่ประสบความสำเร็จหรือเห็นผลในการเรียนรู้ช้า

จุดเด่นของ Jolly Phonics ที่ทำให้แตกต่างจากการเรียนแบบอื่น คือการเรียนการสอนที่ไม่น่าเบื่อ นักเรียนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น เป็นการเรียนที่มองเห็นภาพ ซึ่งสามารถช่วยในการจำเป็นอย่างดี เช่น การออกเสียง /p/ ก็จะมีเพลงที่เป็นจังหวะ พร้อมกับดึงเอาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการเชื่อมโยงกับเสียงนั้น ๆ เสียงจากตัวอักษร P ก็จะสอนคำว่า Puff ซึ่งคือการเป่า เด็ก ๆ ก็จะได้ร้องเพลงและทำเสียงเป่าไปด้วย ทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถจดจำวิธีการออกเสียงได้แบบไม่มีวันลืม

jolly phonics เหมาะสำหรับเด็กอายุเท่าไหร่

Jolly Phonic เหมาะสำหรับเด็กอายุเท่าไหร่?

การเรียนด้วยเทคนิค Jolly Phonics สามารถเริ่มเรียนได้ตั้งแต่ช่วงเตรียมอนุบาลไปจนถึงระดับประถมศึกษา ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นการเรียนร้องเพลง ออกเสียงประกอบท่าทางต่าง ๆ และเมื่อโตขึ้นจึงค่อย ๆ พัฒนาความยากขึ้นตามลำดับ เช่น การประสมคำ การสร้างประโยค ไวยากรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น ถ้าเป็นไปได้ช่วงที่ควรเน้นเรียนคือช่วง 0-7 ขวบ เพราะเป็นวัยที่กำลังจำได้เก่ง ซึมซับง่าย ซึ่งจะทำให้การเรียนได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด

หลักการสอน jolly phonics

หลักการสอนของ Jolly Phonics

การเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการสอน Jolly Phonics เป็นวิธีการสอนที่ให้ประสิทธิผลที่เป็นที่น่าพึงพอใจ มีเทคนิคการสอนที่สนุกสนาน เพลิดเพลิน กระตุ้นเด็ก ๆ ให้เกิดความอยากรู้ อยากเรียน ช่วยส่งเสริมการอ่านการเขียนให้กับเด็กตั้งแต่วัยแรกเริ่มกันเลย ทั้งยังมีงานวิจัยออกมาเพื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่เรียนโดยใช้ Jolly Phonics กับการเรียนภาษาอังกฤษแบบทั่วไป พบว่าพัฒนาการของเด็กก้าวกระโดดนำหน้าเด็กที่เรียนด้วยวิธีเดิม ๆ 

มาดูกันว่าหลักการสอน Jolly Phonics มีลักษณะอย่างไร ทำไมถึงเป็นหลักสูตรการสอนที่ประสบความสำเร็จ จนโรงเรียนและสถาบันสอนภาษาหลายแห่งทั่วโลกต้องนำการสอนแบบนี้ไปใช้

การเรียนรู้ด้วยเสียงของตัวอักษร

การเรียนรู้ด้วยเสียงของตัวอักษร (Learning the letter sounds) โดยเริ่มแรกเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เรื่องเสียงทั้ง 42 เสียงในภาษาอังกฤษก่อน โดยจะแบ่งกลุ่มการออกเสียงออกเป็น 7 กลุ่ม ทั้งแบบ 1 เสียง 1 พยัญชนะ และ 1 เสียง 2 พยัญชนะ โดยไม่เรียงตามตัวอักษร A-Z และกลุ่มการออกเสียงทั้ง 7 มีดังนี้

  1. s, a, t, p, i, n
  2. c k, e, h, r, m, d
  3. g, o, u, l, f, b
  4. ai, j, oa, ie, ee, or
  5. z, w, ng, v, oo (สั้น), OO (ยาว)
  6. y, x, ch, sh, th (voiced), th (unvoiced)
  7. qu, ou, oi, ue, er, ar

การสอนจะเริ่มจากกลุ่มแรกก่อน เพราะเป็นกลุ่มที่ออกเสียงง่ายสำหรับเด็กเล็กที่ยังออกเสียงได้ไม่ชัด ก็สามารถออกเสียงได้ โดยจะทำให้เด็กเรียนรู้แบบสอดคล้องไปตามพัฒนาการของเขาด้วย และในกลุ่มแรกนั้นก็สามารถผสมคำที่มีความหมายรวมกันแล้วได้ถึง 30 คำอีกด้วย

การเรียนรู้ด้วยการเขียนของตัวอักษร

การเรียนรู้ด้วยการเขียนของตัวอักษร (Learning letter formation) เป็นอีกสเต็ปที่สำคัญ เมื่อเรียนรู้เรื่องการออกเสียงกันไปบ้างแล้ว ก็จะเริ่มมีการฝึกเขียนควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการออกเสียงและการเขียนให้ไปในแนวทางเดียวกัน เด็กจะจำได้เป็นอย่างดี ทำให้การเรียนภาษาเต็มไปด้วยประสิทธิภาพและพัฒนาต่อไปได้อย่างรวดเร็ว

การผสมเสียง

การผสมเสียง (Blending) จะเริ่มเรียนเมื่อเด็ก ๆ รู้จักเสียงจากอักษรบ้างแล้ว 2-3 คำ ซึ่งพวกเขาจะเริ่มทำการผสมเสียงเพื่ออ่านและเขียนคำใหม่ ๆ ได้

การแยกหน่วยเสียงย่อย

การแยกหน่วยเสียงย่อย (Segmenting) จะเริ่มเรียนเมื่อเด็ก ๆ เริ่มอ่านคำศัพท์ต่าง ๆ ได้แล้ว ซึ่งต้องเริ่มเรียนรู้ควบคู่กันไปกับการผสมเสียง (Blending) เด็กจะต้องทำการแยกแยะ และสามารถบ่งบอกได้ว่าองค์ประกอบด้านโฟนิกส์ใดที่ทำให้การออกเสียงคำเหล่านั้นเป็นเช่นนั้น การเรียนทั้งสองอย่างนี้ควบคู่กันไป จะทำให้พวกเขาคุ้นเคยกับการประกอบคำเข้าด้วยกัน และสามารถแยกเสียงย่อยภายในคำได้

คำศัพท์อื่นที่อยู่นอกเหนือจากการผสมเสียง

คำศัพท์อื่นที่อยู่นอกเหนือจากการผสมเสียง (Tricky words) เป็นคำที่อาจชวนให้สับสนว่าออกเสียงแบบไหนกันนะ เพราะไม่ได้ออกเสียงตามหลักโฟนิกส์ ถือเป็นอีกด่านหนึ่งที่ท้าทายสำหรับเด็ก ๆ เลยทีเดียว ในช่วงนี้พวกเขาจะได้เรียนรู้ Tricky words ที่มักจะพบเจอได้บ่อยๆ ยิ่งถ้าเด็กๆ ได้รู้จักคำศัพท์เหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้พวกเขาเก่ง และมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วขึ้นอีกเยอะ

ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาการที่ก้าวหน้า

ไม่ว่าหลักสูตรจะดีแค่ไหน แต่ถ้าขาดการฝึกฝนก็จะทำให้การเรียนไม่ต่อเนื่อง และได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร เด็กๆ จึงต้องเรียนรู้และฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษด้วย Jolly Phonics เป็นหลักสูตรที่ถูกวิจัยและพัฒนาให้เป็นหลักสูตรที่เหมาะสมในการสอนเด็กมากที่สุด เป็นการเรียนที่เด็กๆ จะได้ความสนุก มีส่วนร่วมในการแสดงออก จดจำเรื่องที่เรียนได้แบบง่ายๆ เสริมสร้างการพัฒนาทางด้านภาษาให้ก้าวหน้ากว่าการเรียนหลักสูตรเดิม จนกลายเป็นหลักสูตรแกนกลางในสหราชอาณาจักรและได้รับความสนใจจากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

SpeakUp เป็นสถาบันสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนแบบ Jolly Phonics ให้กับเด็กตั้งแต่อายุ 2.5 – 12 ปี รวมทั้งมีการประยุกต์ใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) โดยคุณครูมืออาชีพที่มีประสบการณ์และเทคนิคการสอนภาษาเด็กเล็ก ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ภาษาด้วยความสนุกสนาน มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ ให้เด็กๆ ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง และมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม

สรุป

Jolly Phonics คือ รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่สอนให้เด็กๆ เรียนรู้การอ่าน เขียนภาษาโดยเริ่มจากการเรียนรู้เสียงของอักษร เพื่อการออกเสียง ผสมคำ และสะกดคำอย่างถูกต้อง แบ่งระดับจากง่ายไปยาก ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ที่การเรียนภาษาแบบเดิมทำไม่ได้ โดยสิ่งสำคัญที่สุดและขาดไม่ได้เลยก็คือ ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กๆ หมั่นฝึกฝนในสิ่งที่เรียนมาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเรียนได้รับผลลัพธ์สูงสุดนั่นเอง

soft skills สำหรับเด็ก

รวม 10 Soft Skills ทักษะจำเป็นที่ต้องมีสำหรับเด็กยุคใหม่

Soft Skills สำหรับเด็ก เป็นทักษะที่จำเป็นไม่แพ้ Hard Skills ที่เด็กรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้ ซึ่งสำหรับการฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ของเด็กในยุคนี้คือการเรียนรู้และฝึกฝนควบคู่กันไประหว่างทักษะด้าน Hard Skills ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องอาศัยความรู้เพื่อนำไปใช้ในการทำงาน และทักษะด้าน Soft Skills ซึ่งเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์กับคน ทั้งในเรื่องของอารมณ์และการเข้าสังคมเป็นหลัก

เพราะโลกในยุคปัจจุบันการเรียนรู้แค่ทฤษฎีและองค์ความรู้เพื่อเอาไปใช้ในงานอย่างเดียวคงไม่พอ การพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills คือ สิ่งสำคัญที่ส่งเสริมการทำงาน สนับสนุน และพัฒนาด้านอารมณ์ สังคม และความเป็นอยู่เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่สามารถเติบโตอย่างมีคุณภาพ และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองหลายคนอาจยังไม่เคยได้ยินหรือไม่แน่ใจว่า Soft Skills สำหรับเด็กสำคัญแค่ไหน และคืออะไรกันแน่ จึงอยากมาบอกข้อมูลเกี่ยวกับ Soft Skills เพื่อให้เข้าใจว่าทำไม Soft Skills จึงสำคัญและจำเป็นสำหรับเด็กยุคนี้

soft skills คืออะไร

Soft Skills ทักษะสำหรับเด็ก คืออะไร

Soft Skills คือทักษะด้านการใช้ชีวิตซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญที่จำเป็นต้องพัฒนา เรียนรู้ และฝึกฝน ทั้งความสามารถด้านอารมณ์ การพัฒนาตนเอง และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยสามารถนำไปปรับใช้ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทั้งทักษะในการฟัง ทักษะการพูด การทำงานเป็นทีม โดยส่วนหนึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิต แตกต่างจากทักษะทางด้าน Hard Skills ที่เป็นการรู้ทางทฤษฎีที่ได้มาจากการศึกษาและเรียนรู้ที่สามารถวัดผลได้

ดังนั้น การพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills สำหรับเด็ก จึงสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะเกิดขึ้นได้จากทั้งการฝึกฝนและลงมือทำจริงเท่านั้นจึงควรเริ่มฝึกฝนและเรียนรู้ตั้งแต่เด็กเพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารกับคนอื่น ฝึกความเป็นผู้นำ และสามารถทำงานเป็นทีม เพื่อนำไปใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการทำงานและมีพื้นฐานที่ดีในการใช้ชีวิต และอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ

Soft Skills ทักษะพัฒนาสติปัญญาสำหรับเด็กที่หลายคนพูดถึง

การพัฒนาและมุ่งเน้นไปที่ทักษะ Soft Skill สำหรับเด็กเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกที่มีการแข่งขันสูง จึงจำเป็นต้องให้เด็กเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ ความคิด และการใช้ชีวิตกับคนอื่น โดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสติปัญญาในแต่ละด้าน ดังนี้

1. ด้านความฉลาดทางอารมณ์
(Emotional Quotient - EQ)

การพัฒนาทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์ เป็นทักษะเริ่มแรกที่ช่วยพัฒนา Soft Skill สำหรับเด็ก โดยทำให้เด็กรับรู้และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น ทั้งการฝึกการควบคุมอารมณ์ การยับยั้งชั่งใจ เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งมีความสามารถในการจัดการอารมณ์ของตนเอง และอารมณ์ของผู้อื่นได้ พร้อมที่จะเรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และรู้จักมองโลกในแง่ที่เป็นบวก

2. ด้านความฉลาดในการแก้ไขปัญหา
(Adversity Quotient -AQ)

ต่อมาคือการพัฒนาทักษะด้านความฉลาดในการแก้ไขปัญหา เป็นทักษะที่เด็ก ๆ ต้องเรียนรู้และพัฒนาความคิดให้มีความยืดหยุ่นพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยความพยายามเพื่อเอาชนะปัญหาที่ยากลำบากได้ด้วยตนเอง และสามารถยอมรับความผิดพลาดของตัวเองได้ และพร้อมริเริ่มหรือลองทำอีกครั้งเพื่อให้สิ่งที่ทำประสบผลสำเร็จในที่สุด

3. ด้านความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์
(Creativity Quotient - CQ)

ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการพัฒนา Soft Skill สำหรับเด็ก เพราะโลกในปัจจุบันต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจินตนาการเพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ ในหลากหลายรูปแบบ โดยสามารถนำไปใช้ในแง่ของการทำงาน หรือในแง่ของศิลปะ ซึ่งกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมี CQ ที่ดี ได้แก่ ศิลปะ การเล่าเรื่อง และของเล่น เป็นต้น

4. ด้านความฉลาดทางสังคม
(Social Quotient - SQ)

ความฉลาดทางสังคมคือสิ่งสำคัญในการพัฒนา Soft Skill สำหรับเด็ก เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมจึงไม่สามารถอยู่บนโลกนี้เพียงลำพังได้ ดังนั้น เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงรู้จักที่จะเห็นอกเห็นใจคนอื่น ยอมรับความแตกต่าง มองส่วนรวมเป็นเรื่องสำคัญ

10 ทักษะ Soft Skills พัฒนาเด็ก เพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ

ทักษะ Soft Skills คือทักษะสำคัญจำเป็นที่ต้องหล่อหลอมและเรียนรู้ตั้งแต่วัยเยาว์ เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า หากเราต้องการให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ทักษะทางด้าน Soft Skills เหล่านี้คือทักษะสำคัญที่เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้ โดยสามารถแบ่ง Soft Skills ได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ทักษะการจัดการตัวเอง (Self Management Skills) และทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Social Skills)

ทักษะการจัดการตัวเอง (Self Management Skills)

Self Management Skills หรือทักษะในการจัดการตนเอง เป็นทักษะที่มีไว้เพื่อใช้จัดการกับอารมณ์หรือพฤติกรรมของตัวเด็กเอง ทั้งความคิดและการกระทำ เพราะส่วนใหญ่เด็กในยุคนี้ขาดการจัดการอารมณ์ของตนเองและมีความอดทนต่ำ ดังนั้น การพัฒนา Soft Skills สำหรับเด็ก  ในเรื่องการจัดการตนเองจะมุ่งเน้นให้เด็กสามารถจัดการพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตนเอง และรู้จักอดทนต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งรบกวนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

1. การมีทัศนคติที่ดี (Positive Attitude)

Positive Attitude เป็นทักษะ Soft Skill ที่ฝึกฝนให้เด็กมองเห็นคุณค่าในตัวของตนเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง เพื่อทำให้เด็กเชื่อมั่นในตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง สามารถเปิดกว้างในการมองโลก กล้าทำอะไรใหม่ ๆ มองอุปสรรคเป็นโอกาส  เพราะในยุคที่มีเรื่องราวลบๆ เกิดขึ้นมากมาย หากมีทัศนคติที่ดี จะทำให้เด็กก้าวข้ามผ่านอุปสรรคไปได้อย่างง่ายดาย โดยที่ผู้ใหญ่ต้องไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก ๆ เพื่อให้เด็กได้ทำในสิ่งที่เขาต้องการ และสามารถก้าวข้ามผ่านปัญหาไปด้วยทัศนคติและจิตใจที่เข้มแข็ง

2. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

Soft Skills สำหรับเด็ก  ที่ควรพัฒนาและฝึกฝนตั้งแต่วัยเยาว์ก็คือทักษะในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะกับเด็ก เพราะในช่วงวัยนี้จะไร้ข้อจำกัดทางความคิดทำให้เด็กมีจินตนาการสูง กล้าที่จะฝัน กล้าที่จะคิด และสามารถคิดได้หลายทิศทาง ซึ่งทำให้สามารถแก้ปัญหาในมุมมองใหม่ ๆ โดยการมีทักษะในด้านความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดแนวทางและนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือ อาจทำให้เกิดสิ่งใหม่จากความคิดสร้างสรรค์นี้ได้ โดยผู้ใหญ่จำเป็นต้องส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไม่ว่าจะเรื่องเทคโนโลยี ศิลปะ และกิจกรรมต่าง ๆ

3. ความคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)

Soft Skills ทางด้านความคิดเชิงวิพากษ์ก็เป็นหนึ่งทักษะที่ทำให้เด็กฝึกฝนที่จะใช้ความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งแม้จะยากในช่วงแรก ๆ แต่เมื่อเด็กได้ฝึกกระบวนการคิด ผ่านการตั้งคำถาม และทำให้เด็กสามารถตั้งสมมติฐาน และสามารถหาข้อสรุปได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้เด็กสามารถกล้าที่จะตั้งคำถาม และไม่หลงเชื่ออะไรง่าย ๆ หากผิดไปจากความเป็นจริง รวมถึงเปิดโอกาสให้เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี

4. การจัดการอารมณ์ (Emotional Management)

สำหรับทักษะในการจัดการทางด้านอารมณ์ เหมือนจะเรื่องง่าย แต่ทว่าไม่ง่ายเลยแม้กระทั่งกับผู้ใหญ่ก็ตาม โดยการฝึกฝนให้เด็กมีทักษะการจัดการกับอารมณ์ของตนเองจะทำให้เด็กรู้จักยับยั้งชั่งใจ และสามารถแสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างเหมาะสม รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง รวมถึงสามารถจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ ไม่ว่าเป็นอารมณ์โกรธ เศร้า หรือเสียใจ และสามารถหาวิถึทางแก้ไขได้อย่างถูกวิธีเพื่อระบายอารมณ์และความรู้สึกนั้น ๆ ออกมา

5. การจัดการเวลา (Time Management)

การฝึกฝนให้เด็กมี Soft Skills ในเรื่องของการจัดการเวลาไม่ว่าแค่การใช้เวลา 24 ชั่วโมง ที่มีอยู่เท่ากันทุกคนไปอย่างไร้ค่า แต่เป็นการจัดการเวลาเพื่อทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ รวมถึงมีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม นอกจากนี้เด็ก ๆ ทั้งหลายควรเรียนรู้ที่จะลำดับความสำคัญในสิ่งที่ควรทำก่อน และสิ่งที่สามารถทำได้ในภายหลัง โดยมีการตั้งเป้าหมายเอาไว้ในบางช่วง ซึ่งทักษะนี้ควรฝึกจนเป็นนิสัยเพื่อให้เวลาในช่วงชีวิตนี้ถูกใช้ไปอย่างเหมาะสม

6. การใฝ่รู้อยู่เสมอ (Curiosity and Lifelong Learning)

อีกหนึ่งทักษะ Soft Skills สำหรับเด็ก  ที่เปิดโอกาศให้เด็ก ๆ สามารถพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ใหม่ๆ ได้เสมอ คือทักษะที่ฝึกฝนในเรื่องของการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ซึ่งเปิดโอกาสให้สามารถค้นหาความรู้ใหม่ๆ ทดสองทำสิ่งใหม่ โดยในอนาคตข้างหน้าเทคโนโลยีจะฉีกโลกใบเดิมให้กว้างมากขึ้น สิ่งนี้จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา เพื่อเติบโตไปพร้อมโลกที่หมุนอย่างรวดเร็ว

ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Social Skills)

นอกจากทักษะในการจัดการตนเอง Soft Skills สำหรับเด็กที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น  โดยทักษะนี้เป็นทักษะที่มีไว้เพื่อใช้สร้างความสัมพันธ์ ทำงานร่วมกับผู้อื่น เคารพความแตกต่าง ปรับตัวกับการอยู่ร่วมในสังคมได้ ดังนี้

7. การสื่อสาร (Communication)

แม้ว่าเด็กที่โตประมาณหนึ่งจะเริ่มสื่อสารและพูดได้ แต่สำหรับการฝึกฝน Soft Skills สำหรับเด็ก ในเรื่องของการสื่อสาร คือการฟังเพื่อจับใจความและสื่อสารออกไปได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ใช้อคติในการสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และระงับข้อบาดหมางได้ โดยต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นอย่างไร้อคติ เลือกใช้ระดับของภาษาได้อย่างเหมาะสม และสามารถสื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจใจง่าย และมีท่าทางประกอบการสื่อสาร (Body Language) ที่ดี

8. การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

การฝึกฝน Soft Skills สำหรับเด็ก ก็เพื่อสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ต้องเอาไว้ร่วมกันให้สัมฤทธิ์ผลและลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งการทำงานเป็นทีมนั้น ต้องมีการวางบทบาทและหน้าที่ของตนเองให้สัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ พร้อมกับรับผิดชอบในหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ได้รับ ไปพร้อม ๆ กับรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทีม โดยไม่เกิดข้อบาดหมางระหว่างกัน และไม่กระทบถึงความสัมพันธ์กับเพื่อนในทีม

9. ความเป็นผู้นำ (Leadership)

มาถึงทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership) คือการฝึกฝนให้เด็กมีทัศนคติและวิสัยทัศน์ที่สามารถนำและควบคุมทิศทางของเพื่อนร่วมทีมไปสู่ความสำเร็จได้ โดยการพัฒนา Soft Skills ในเรื่องนี้จะต้องฝึกฝนจากประสบการณ์จริง เพื่อสั่งสมประสบการณ์ในการเป็นผู้นำที่ดี พร้อมที่จะรับความคิดเห็นของผู้อื่น และรับมือกับแรงกดดัน รวมถึงกล้าลงมือทำให้ส่งที่ส่งผลดีและเหมาะสมกับทีมของตนได้

10. การปรับตัวที่เหมาะสม (Flexibility and Adaptability)

มาถึงทักษะ Soft Skills สำหรับเด็ก เรื่องสุดท้าย คือการฝึกฝนให้เด็กมีความยืดหยุ่นในการจัดการสภาวะแวดล้อมรอบตัวได้อย่างเหมาะสม เพราะในยุคเทคโนโลยีแห่งนี้บริบทรอบตัวของเด็ก ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น เด็กต้องมีการปรับตัวเพื่อเรียนรู้เรื่องใหม่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

เด็กขาด soft skills

หากเด็กขาด Soft Skills จะเป็นอย่างไร

หากเด็กขาด Soft Skills ก็เหมือนกับขาดทักษะการใช้ชีวิตไป โดยมีความสามารถอยู่กับตัว แต่ไม่มีความสามารถในการที่จะแสดงออกได้อย่างถูกและควรจึงส่งผลกับการใช้ชีวิตในอนาคต ดังนี้ 

  • ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ขาดความมั่นใจในตัวเอง 
  • ไม่สามารถรับมือกับความล้มเหลวได้ 
  • ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 
  • ขาดทักษะการเข้าสังคม ปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นยาก 
  • ไม่กล้าเผชิญกับปัญหา และไม่มีวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม 
  • ขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี 

สรุป

Soft Skills สำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการหล่อหลอมและฝึกฝน โดยผ่านประสบการณ์จริงเพื่อให้เด็ก ๆ ในวันนี้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนตัวเองในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในแง่ของการพัฒนาสติปัญญา การจัดการตนเอง และการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งสำคัญกับโลกอนาคตที่โลกจะรวมเป็นหนึ่งเดียวด้วยการสื่อสารที่ไร้ขอบเขต โดยหนึ่งในทักษะที่เด็กต้องใช้ในทุกวันคือ ทักษะการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่สอง หากเรียนรู้ไว เด็กก็จะมีการนำไปใช้สื่อสารได้ไว

โดย Speakup เป็นสถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กเล็กที่มีอายุ 2.5 ถึง 12 ปี ทางสถาบันมีครูมืออาชีพ มากประสบการณ์ และมีเทคนิคการสอนภาษาที่หลากหลาย ประยุกต์มาสอนให้แตกต่างกันไปตามช่วงวัย ทำให้สามารถพัฒนาการทางด้านภาษาอังกฤษของเด็กได้ดี เด็กสามารถนำไปใช้สื่อสารได้อย่างเต็มที่

cvc word

CVC Words คืออะไร? สำคัญอย่างไรในการช่วยจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

เมื่อเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ การจดจำคำศัพท์คือพื้นฐานขั้นแรกที่คนส่วนใหญ่ได้เริ่มเรียนกัน หลายคนคงคุ้นชินกับการท่องจำคำศัพท์ง่ายๆ ที่ได้เรียนตั้งแต่ช่วงปฐมวัยอย่าง Cat (แมว) หรือ Dog (สุนัข) กันเป็นอย่างดี เมื่อเติบโตขึ้น คำศัพท์ง่าย ๆ เหล่านี้ก็ยังถูกนำมาใช้ในการเริ่มสอนภาษาอังกฤษแก่ลูก ๆ ของเรา คำศัพท์เหล่านี้ไม่ได้เพียงแต่เป็นคำศัพท์ที่พบเห็นได้บ่อยหรือสั้นจนเหมาะกับความจำของเด็กเท่านั้น แต่คำศัพท์จำพวกนี้มีชื่อเรียกว่า CVC word ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่สามารถใช้เป็นเทคนิคสำหรับการสอนเด็ก ๆ ให้จดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้นและทำให้เรียนรู้เสียงของตัวอักษรก่อนนำไปเริ่มประสมเสียงให้เป็นคำ

โดย CVC words คือคำที่อยู่ในรูป Consonant-Vowel-Consonant มักมี 3-5 ตัวอักษร เป็นคำสั้น ๆ ง่ายๆ ที่มีโครงสร้างที่พบได้บ่อยในภาษาอังกฤษจึงสำคัญกับการสอนเด็กๆ และผู้ที่เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษให้สามารถเข้าใจโครงสร้างของคำศัพท์และสามารถอ่านออกเสียงได้เร็วขึ้น

CVC Words คืออะไร?

CVC words คือคำที่มีโครงสร้าง Consonant-Vowel-Consonant (พยัญชนะ-สระ-พยัญชนะ) ตัวอย่างเช่น Cat (แมว) Dog (สุนัข) Sun (พระอาทิตย์) เป็นต้น โดย CVC word ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจโครงสร้างของคำและการออกเสียงได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถต่อยอดไปจนถึงความเข้าใจเรื่องของคำคล้องจองได้ด้วย โดยการใช้ CVC word ไม่จำเป็นต้องมีเพียง 3 ตัวอักษร เนื่องจาก Consonant และ Vowel ใช้แทนเสียงของพยัญชนะหรือสระ การออกเสียงจึงอาจเกิดจากตัวอักษรมากกว่า 1 ตัวได้ เช่น Ship (เรือ) ซึ่งเกิดจากเสียง /sh/ หรือ Book (หนังสือ) ที่เกิดจากเสียงสระ /oo/ ได้ ดังนั้น การเข้าใจ CVC word จึงทำให้ผู้เรียนเข้าใจกฏของ Phonics (โฟนิกส์) คืออักษรแต่ละตัวมีเสียงของตัวเองอีกด้วย

เมื่อเข้าใจแนวคิดการประสมคำและการออกเสียงจากการเรียนรู้โครงสร้างของ CVC word นี้ได้แล้ว จึงทำให้เด็ก ๆ เข้าใจการสร้างคำสั้น ๆ ที่ง่ายต่อการจดจำและสามารถอ่านออกเสียงคำง่าย ๆ เหล่านั้นไปจนถึงการสร้างประโยคและการอ่านประโยคที่ยาวขึ้นได้ เมื่อสอนภาษาอังกฤษแก่เด็ก ๆ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ภาษาอังกฤษ การใช้เทคนิค CVC word จะช่วยให้เข้าใจแนวคิดที่เป็นรากฐานของการประสมคำในภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง เด็กๆ จึงสามารถเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนอย่างคำคล้องจองต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย

ทำไมเราควรใช้ CVC Words สอนเด็ก ๆ ท่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

การใช้ CVC word นั้น ไม่ใช่เพียงแค่เพราะเป็นคำศัพท์ง่าย ๆ ที่ควรรู้และจดจำได้ง่ายสำหรับเด็ก แต่เหตุผลที่ควรสอนภาษาอังกฤษด้วยการสอน CVC word ให้แก่เด็กๆ คือ CVC word จะทำให้เข้าใจโครงสร้างการประสมตัวอักษรเป็นคำและเข้าใจว่าตัวอักษรแต่ละตัวมีเสียงของตัวเอง ซึ่งความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวคือพื้นฐานของการประสมเสียงเพื่อให้สามารถเข้าใจการอ่านคำไปจนถึงการสร้างประโยค เด็ก ๆ จึงจะสามารถเข้าใจและเรียนรู้การสร้างคำและการประสมเสียงของอักษรแต่ละตัวได้จากพื้นฐานของการใช้เทคนิค CVC word ในการเริ่มเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงควรเริ่มจากการสอน CVC word เพื่อให้เด็ก ๆ เข้าใจการประสมคำและเข้าใจการอ่านออกเสียงคำต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

เทคนิค cvc words

เวลาไหนที่ควรใช้เทคนิค CVC Words สอนลูก ๆ

เมื่อเห็นความสำคัญในการสอน CVC word ให้แก่เด็ก ๆ หรือผู้ที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครองหรือคุณครูผู้สอนอาจสงสัยว่าแล้วเมื่อไหร่กันที่ควรสอน CVC word ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจ CVC word นั้น เด็ก ๆ จะต้องทำความรู้จักกับพยัญชนะและสระก่อน เมื่อเด็ก ๆ คุ้นเคยว่าอักษรแต่ละตัวเช่น พยัญชนะ a b c d นั้นมีเสียงอย่างไรแล้ว จึงเป็นช่วงที่ควรสอน CVC word ต่อเพื่อให้เข้าใจการประสมอักษรเหล่านั้นเป็นคำและเข้าใจการอ่านออกเสียงคำเหล่านั้นจากการประสมเสียงของพยัญชนะหรือสระที่พวกเขาได้ทำความรู้จัก โดยเด็ก ๆ อาจไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ทุกการออกเสียงของตัวอักษรจนครบ แต่สามารถเริ่มสอน CVC word ควบคู่กันไปได้ เมื่อพวกเขาเริ่มเข้าใจว่าอักษรเป็นรากฐานของการประสมคำและเสียงของอักษรแต่ละตัวออกเสียงอย่างไร พวกเขาจะสามารถออกเสียงเป็นคำได้จากการประสมเสียงของตัวอักษรเหล่านั้น เด็ก ๆ จึงจะสามารถเข้าใจทั้งเสียงและจดจำภาพของตัวอักษรได้เร็วขึ้น

พาไปดู 6 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการสอน CVC Words

ในการสอนภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคการใช้ CVC word นั้น จะต้องเข้าใจกฏของโฟนิกส์และให้เด็กๆ ได้ทำความรู้จักกับพยัญชนะ สระ และเสียงของอักษรเหล่านั้น โดยวิธีการสอนด้วยเทคนิคการใช้ CVC word ให้เด็กๆ นั้นไม่ยาก หากทำตาม 6 ขั้นตอนอย่างเป็นลำดับ ดังนี้

อ่านและเขียน cvc word ทีละตัว

ขั้นตอนที่หนึ่ง อ่านและเขียน CVC Word ทีละตัว

ขั้นตอนแรกของการสอน CVC words คือการฝึกอ่านและเขียน CVC word ทีละตัว เมื่อเด็ก ๆ เข้าใจแล้วว่าอักษรแต่ละตัวมีเสียงของตัวเองและแต่ละตัวอักษรนั้นออกเสียงอย่างไร ให้ใช้ CVC word เพื่อให้เด็กๆ คุ้นเคยกับการออกเสียงแต่ละตัวอักษรนั้นและทำให้เข้าใจว่าเมื่อเสียงแต่ละตัวประสมกันออกมาเป็นคำนั้นจะอ่านออกเสียงได้อย่างไร โดยควรเริ่มจากการฝึกหัดให้เด็กๆ เติมอักษรเพื่อสร้างคำจากสระตรงกลางคำ ตัวอย่างเช่น ดังรูปประกอบ เพื่อให้เด็ก ๆ เข้าใจการออกเสียงคำจากสระ a จึงให้เด็ก ๆ ได้ลองเติมตัวอักษรที่หายไปทั้งหน้าและหลัง แล้วประสมขึ้นมาเป็นคำและเสียงที่หลากหลายเพื่อให้เด็ก ๆ ออกเสียงพยัญชนะและสระได้คล่องแคล่วและเห็นภาพของโครงสร้างคำจาก CVC word ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เด็กๆ เข้าใจคำและเสียงจาก CVC word ได้อีก เช่น การสร้าง CVC word จากแผ่นการ์ดอักษรหรือเขียน CVC word เพื่อจับคู่กับรูปภาพ

ฝึก cvc word ด้วย word families

ขั้นตอนที่สอง ฝึกฝน CVC Word ด้วย Word Families

Word Families คือกลุ่มคำที่มีสระและตัวสะกดเดียวกัน โดยมีความแตกต่างกันเพียงแค่ที่พยัญชนะ เช่น

กลุ่ม -at คือ Cat (แมว) Bat (ค้างคาว) Rat (หนู)

กลุ่ม -et คือ Met (พบเจอ) Net (ตาข่าย) Wet (เปียก)

จะเห็นได้ว่า Word Families เป็นกลุ่มคำที่เห็นรูปแบบของการประสมคำที่ชัดเจน เมื่อเด็ก ๆ สามารถเข้าใจโครงสร้างของการสร้างคำและการอ่านออกเสียงจาก CVC word แล้ว ขั้นตอนที่สองคือการใช้ Word Families ของ CVC word เริ่มจากคำสั้นๆ จะช่วยให้เด็ก ๆ เห็นรูปแบบของกลุ่มคำได้มากขึ้นทั้งเพื่อการประสมอักษรเป็นคำและการออกเสียง อีกทั้งยังเป็นรูปแบบที่ช่วยให้สามารถจดจำคำศัพท์ไปพร้อม ๆ กับการอ่านออกเสียงจึงทำให้เด็ก ๆ สามารถจำคำศัพท์ได้อย่างรวดเร็วจากการจับกลุ่มของคำ

ฝึกอ่าน cvc word ให้คล่อง

ขั้นตอนที่สาม ฝึกอ่าน CVC Word ให้คล่อง

ขั้นตอนที่สามคือการให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนการอ่าน CVC word จนคล่อง เมื่อเด็กๆ เข้าใจการสร้างคำและการอ่านออกเสียงแล้ว จะต้องสร้างความมั่นใจและความคุ้นเคยต่อคำศัพท์โดยให้พวกเขาหัดอ่าน CVC word ให้คล่องจนไม่ต้องคอยนึกถึงโครงสร้างของ CVC word และสามารถเข้าใจการอ่านออกเสียงคำได้โดยเป็นธรรมชาติ ในช่วงนี้อาจใช้วิธ๊อ่านการ์ดคำศัพท์หรือ Flash card เพื่อให้เด็กๆ สามารถอ่านออกเสียงได้เร็วขึ้นและสร้างความคุ้นชินกับคำศัพท์ต่างๆ ให้แก่เด็ก ๆ

ประสมเสียง cvc word

ขั้นตอนที่สี่ ให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นในการฝึกอ่านของเด็ก ๆ

เด็กๆ หลายคนอาจยังไม่สามารถประสมเสียงจาก CVC word ได้อย่างคล่องแคล่วจึงอาจต้องการตัวช่วยเพิ่มเติมให้สามารถเห็นภาพของเทคนิค CVC word ได้มากขึ้น ขั้นตอนที่สี่จึงเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่เด็ก ๆ ที่ยังอ่านจาก CVC word ไม่คล่องด้วยการใช้การ์ดคำศัพท์ดังภาพประกอบ คือการ์ดที่แสดงโครงสร้างของ CVC word ออกมาเพื่อที่จะช่วยสอนให้เด็ก ๆ สามารถอ่านออกเสียงตามตัวอักษรแต่ละตัวในขณะที่ไล่นิ้วไปตามตัวอักษรได้ ทำให้เด็กๆ ได้อ่านและเข้าใจการประสมเสียงได้มากขึ้นจนคล่องแคล่วก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้กับแบบฝึกหัดที่ซับซ้อนขึ้น

อ่าน CVC Word ในประโยคง่าย ๆ

ขั้นตอนที่ห้า อ่าน CVC Word ในประโยคง่าย ๆ

เมื่อเด็ก ๆ สามารถอ่าน CVC word ได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ขั้นตอนที่ห้าจึงควรเริ่มประสม CVC word ที่ได้เรียนรู้มาเข้าเป็นประโยคง่ายๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่าในแต่ละประโยคนั้นถูกสร้างขึ้นจาก CVC word อย่างไรบ้างและให้เด็กๆ ได้ลองอ่าน CVC word ที่อยู่ในประโยคง่ายๆ นั้น เด็ก ๆ จะสร้างความคุ้นเคยกับคำที่พวกเขาได้เรียนรู้มาก่อนและเริ่มเข้าใจการอ่านออกเสียงประโยคที่ยาวขึ้น โดยสามารถใช้เทคนิคของการสอนด้วย CVC word เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจการสร้างประโยคได้อย่างชัดเจน

ขั้นตอนที่หก ฝึกอ่านประโยคให้คล่อง

ขั้นตอนสุดท้ายคือการฝึกอ่านให้คล่องแคล่ว เมื่อเด็ก ๆ เข้าใจโครงสร้างของ CVC word และการสร้างประโยคจากคำสั้น ๆ ที่พวกเขาคุ้นชินแล้ว ให้เด็ก ๆ ฝึกอ่านประโยคเหล่านั้นให้คล่องแคล่วและเป็นไปโดยธรรมชาติ โดยอาจใช้การ์ดประโยค Flash card หรือการทอยลูกเต๋าเพื่อสุ่มประโยคให้เด็ก ๆ ได้ฝึกอ่านจนสามารถอ่านประโยคที่ยาวขึ้นได้อย่างมั่นใจ

สรุป

การใช้ CVC word หรือโครงสร้างคำ Consonant-Vowel-Consonant (พยัญชนะ-สระ-พยัญชนะ) จึงเป็นเทคนิคการสอนเด็ก ๆ หรือผู้ที่เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษให้สามารถเข้าใจการสร้างคำจากการประสมตัวอักษรและการอ่านออกเสียงคำจากการประสมเสียงของตัวอักษรต่าง ๆ นั้นได้อย่างรวดเร็ว

หากผู้สอนหรือผู้ปกครองมีความต้องการหาเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานที่สามารถเสริมสร้างความเข้าใจรากฐานของภาษาอังกฤษให้ต่อยอดไปสู่การอ่านและการเขียนได้อย่างถูกต้องให้แก่เด็ก ๆ แล้ว การใช้ CVC word คือเทคนิคที่ดีและช่วยเสริมสร้างความเข้าใจทั้งการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยเรียนรู้จากแนวคิดที่เป็นรากฐานของภาษาได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้เด็ก ๆ สามารถต่อยอดการเรียนรู้คำสั้น ๆ ไปสู่การเรียนรู้ภาษาอังกฤษในอนาคตได้อย่างเข้าใจและรวดเร็ว

ปั้นแป้งโด

การปั้นแป้งโดว์ กิจกรรมง่าย ๆ ที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาและส่งเสริมจินตนาการเด็ก

สำหรับคุณพ่อ หรือคุณแม่ครอบครัวไหนที่มีลูกน้อย การเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญา และจิตใจควบคู่ไปกับการสร้างความสุขจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้เด็กเติบโตไปเป็นคนที่ฉลาดทั้งด้านสติปัญญา และด้านอารมณ์ ดังนั้น เพื่อที่จะกระตุ้นพัฒนาการ และสร้างการเรียนรู้พร้อมเสริมจินตนาการให้กับเด็กๆ การทำกิจกรรมจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยหนึ่งในกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน คือ การปั้นแป้งโดว์นั่นเอง ซึ่งบทความนี้จะมาแนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองได้รู้จักว่ากิจกรรมปั้นแป้งโดว์คืออะไร มีส่วนในการเพิ่มพัฒนาการลูกด้านไหนบ้าง พร้อมสอนวิธีการปั้นแป้งโดว์แบบง่าย ๆ ด้วยเทคนิคที่เด็ก ๆ สามารถทำตามได้

เล่นปั้นแป้งโดว์คืออะไร

การเล่นปั้นแป้งโดว์ คืออะไร?

กิจกรรมปั้นแป้งโดว์ คือ การนำแป้งโดว์ที่มีลักษณะเป็นก้อนแป้งเนื้อนิ่มมาใช้ในการปั้น เพื่อให้ออกมามีลักษณะเหมือนรูปร่างต่าง ๆ ด้วยข้อดีของแป้งโดว์ที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง จึงง่ายต่อการนวด ปั้น หรือตัดแบ่งให้เป็นรูปร่างต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังไม่มีส่วนผสมของสารเคมีอีกด้วย เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่ต้องการจับหรือหยิบเล่นเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้นอกจากการปั้นแป้งโดว์จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาและส่งเสริมจินตนาการเด็กแล้ว แป้งโดว์ยังเป็นอุปกรณ์การเล่นที่มีความปลอดภัยสูงอีกด้วย ซึ่งการทำแป้งโดว์ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงคุณพ่อ และคุณแม่ลองทำตามบทความนี้ก็สามารถปั้นแป้งโดว์ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ให้ลูกน้อยเอาไปเล่นกันได้เล่นเลย

  1. เตรียมส่วนผสมในการทำแป้งโดว์ให้เรียบร้อย ดังนี้
    • แป้งสาลี 2 ถ้วยตวง
    • ครีมออฟทาร์ทาร์ 2 ช้อนโต๊ะ
    • น้ำมันพืช 1-2 ช้อนโต๊ะ
    • เกลือป่น 1-2 ถ้วยตวง
    • น้ำสะอาด 1-2 ถ้วยตวง
    • สีผสมอาหาร
    • ภาชนะสำหรับใส่แป้ง
    • กระทะเทฟลล่อน
    • ไม้นวดแป้ง
    • ถาดหรือเขียง
  2. นำแป้งสาลี ครีมออฟทาร์ทาร์ เกลือป่น  และน้ำมันพืชที่เตรียมไว้ใส่ลงในถ้วยภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วผสมให้เข้ากัน
  3. เมื่อน้ำมันร้อนแล้ว นำส่วนผสมที่คนเสร็จเรียบร้อยมาใส่ลงกระทะ
  4. คนแป้งบนกระทะจนกระทั่งเริ่มจับตัวเป็นก้อน จากนั้นนำมาพักบนถาด หรือเขียงที่เตรียมไว้ แล้วรอจนแป้งอุ่น
  5. นำแป้งมาตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นนำมาผสมกับสีผสมอาหารที่เตรียมไว้
  6. นวดแป้งไปเรื่อย ๆ จนกว่าสีผสมอาหารจะเป็นเนื้อเดียวกับแป้งดี แล้วจึงนำไปใส่ในถุงซิปล็อก และพักไว้ในตู้เย็นจนแข็งตัวดี จึงจะสามารถนำมาใช้ในการเล่นปั้นแป้งโดว์ได้
เด็กวัยไหนเหมาะที่จะเล่นแป้งโดว์

เด็กวัยไหนเหมาะที่จะเล่นแป้งโดว์

การทำแป้งโดว์ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะในความเป็นจริงแล้ว เด็ก ๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องให้อยู่ในการควบคุม และการดูแลของคุณพ่อ และคุณแม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเด็กเอง ซึ่งกิจกรรมปั้นแป้งโดว์นั้นจะเหมาะกับเด็กที่มีอายุ 2 ขวบขึ้นไป หรือในกรณีที่คุณพ่อ และคุณแม่หาซื้อแป้งโดว์ หรือดินน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ อาจแนะนำให้ใช้กับเด็กเล็กที่มีอายุ 5 ขวบขึ้นไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการสำลักเมื่อกลืนแป้งโดว์เข้าไปได้

กิจกรรมปั้นแป้งโดว์ถือเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกสนาน เล่นง่าย ไม่สลับซับซ้อน ซึ่งในบทความนี้ยังได้แชร์เทคนิคการเล่นแป้งโดว์สำหรับเด็กเล็กแบบง่าย ๆ มาฝากกันอีกด้วย โดยให้ลูกน้อยของคุณพ่อ และคุณแม่ลองใช้มือ หรือนิ้วจับ นวด คลึง หรือปั้นแป้งโดว์เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามที่เด็กจินตนาการก่อน โดยนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์แล้วยังเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การทำงานของดวงตา เพื่อใช้มองร่วมกับการใช้มือสัมผัส เป็นต้น

ประโยชน์ของการปั้นแป้งโดว์ที่เด็ก ๆ จะได้รับ

การที่คุณพ่อ และคุณแม่สอนเด็กๆ ปั้นแป้งโดว์นั้นนอกจากเด็กๆ จะได้รับความสนุกสนานในการทำกิจกรรมแล้ว การปั้นแป้งโดว์ยังมีประโยชน์ต่างๆ มากมาย ดังนี้

  1. เด็กมีสมาธิมากขึ้น การปั้นแป้งโดว์เป็นรูปแบบการทำกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กที่สามารถช่วยเพิ่มสมาธิมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากรูปแบบกิจกรรมแป้งโดว์ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ประกอบกับธรรมชาติของเด็กที่มักจะตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่ จึงทำให้เด็กๆ มีสมาธิจดจ่อกับการเล่นมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
  2. เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย เมื่อลูกน้อยได้นวด คลึง ปั้น และอื่นๆ กล้ามเนื้อมือ หรือกล้ามเนื้อแขนของเด็กๆ จะมีความแข็งแรงมากขึ้น ช่วยเพิ่มความสามารถในการหยิบจับหรือยกสิ่งของต่างๆ ได้ดี
  3. ช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น ในความเป็นจริงแล้วการปั้นแป้งโดว์เป็นกิจกรรมที่เด็กๆ สามารถทำร่วมกับคุณพ่อและคุณแม่ หรือเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันได้ จึงเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และช่วยเพิ่มทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ด้วย
  4. ฝึกการใช้ภาษา การที่จะปั้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาได้นั้นเด็กๆ จำเป็นที่จะต้องรู้จักกับคำศัพท์ที่เกี่ยวกับสิ่งๆ นั้นเป็นอย่างดีก่อน ซึ่งคุณพ่อ และคุณแม่สามารถที่จะสอนทักษาทางด้านภาษาให้เด็กๆ ผ่านการท่องจำคำศัพท์ และรูปภาพ เพื่อให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ และจดจำในสิ่งๆ นั้นได้
  5. เด็กมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น พัฒนาการด้านสติปัญญาจำเป็นต้องมาพร้อมกับการเสริมสร้างจินตนาการเพื่อให้เด็กๆ มีความคิดสร้างสรรค์ ฉลาด และเป็นคนมีไหวพริบ ซึ่งกิจกรรมปั้นแป้งโดว์เป็นการทำให้เด็กๆ ได้ออกแบบ หรือสร้างในสิ่งใหม่ๆ ออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประกอบกับเมื่อเวลาผ่านไป เด็กๆ จะมีความสามารถในสร้างสรรค์งานต่างๆ ที่มีความละเอียด และซับซ้อนมาขึ้นได้อีกด้วย
  6. เสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ การปั้นแป้งโดว์นั้นนอกจากจะต้องอาศัยสมาธิ ความมุ่งมั่น และความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังจำเป็นต้องฝึกการควบคุมอารมณ์เพื่อให้งานออกมาละเอียดเรียบร้อย และช่วยส่งเสริมให้เด็กให้มีลักษณะนิสัยร่าเริง แจ่มใส และมองโลกในแง่ดีได้
  7. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ นอกจากเวลาเรียน หรือเวลาพักผ่อนแล้ว การปั้นแป้งโดว์ยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย เพราะจะช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนกระบวนการคิด และพัฒนาการด้านสติปัญญา และอารมณ์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
พัฒนาการในการเล่นแป้งโดว์

เด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการในการเล่นแป้งโดว์ยังไง

การจะให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่สมวัยนั้น ตัวเด็กเองจะต้องมีสภาพร่างกาย และจิตใจที่สมบูรณ์พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ตลอดจนการได้ทำกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการเด็กต่างๆ มากมาย ซึ่งกิจกรรมปั้นแป้งโดว์เองก็จะมีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสม ดังนี้

  • เด็กอายุ 1-2 ปี สำหรับเด็กเล็กที่เพิ่งผ่านวัยทารกมา จะเริ่มจากการจับ บีบ ขยำ หรือกดแป้งโดว์เพื่อมีลักษณะแผ่ออกเป็นแผ่น หรือกำมือแบบทั้ง 5 นิ้ว
  • เด็กอายุ 2-3 ปี ในวัยเตาะแตะจะเริ่มรู้จักดึงแป้งโดว์ออกจากกันเป็นก้อน และสามารถนำอุปกรณ์อื่นๆ มาตัดแบ่งแป้งโดว์ได้แล้ว
  • เด็กอายุ 3-4 ปี เด็กในวัยนี้จะเริ่มรู้จักนำแป้งโดว์มานวดเป็นรูปร่างง่ายๆ ก่อน เช่น ทรงกลมคล้ายลูกบอล หรือทำแป้งในลักษณะเส้นยาว เป็นต้น
  • เด็กอายุ 4-5 ปี ช่วงวัยดังกล่าวนั้นเด็กๆ จะเริ่มปั้นแป้งโดว์เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น โดยอิงจากสิ่งที่เด็กเรียนรู้ หรือเข้าใจมา
  • เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป เมื่อเด็กในวัยนี้เติบโตขึ้น จะเริ่มปั้นแป้งให้เห็นถึงรายละเอียดต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งอาจมีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อทำให้รูปทรงแป้งโดว์สวยงาม

สรุป

การปั้นแป้งโดว์เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กให้สมวัยมากขึ้น ทั้งด้านสติปัญญา และอารมณ์ พัฒนาการด้านการเรียนรู้ และการเสริมสร้างทักษะทางสังคม ที่สำคัญยังช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของเด็กได้ดีมากขึ้น

สำหรับคุณพ่อ และคุณแม่คนไหนที่มีความสนใจอยากเสริมสร้างพัฒนาการเด็กพร้อมเพิ่มทักษาทางด้านภาษาที่ 2 หรือภาษาที่ 3 Speak Up Language Center สถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กเล็ก 2.5 – 12 ปี เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้กับคุณครูที่มีประสบการณ์การสอนผ่านเทคนิคการสอนอันโดดเด่น พร้อมกิจกรรมที่สนุกสนาน 

พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

รวม 9 กิจกรรมและการวางแผนเพื่อเพิ่มพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กลูก

กล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นกล้ามเนื้อส่วนที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการสำคัญของเด็กปฐมวัย เพราะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือให้ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งถือเป็นการพัฒนาขั้นพื้นฐานที่สำคัญมากๆ แต่ควรจะต้องมีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อทำให้เด็ก ๆ ได้ค่อย ๆ เรียนรู้การใช้งานอย่างถูกวิธี ซึ่งกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กนั้นสามารถทำได้โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ปั้นดินน้ำมัน การพับกระดาษ การร้อยลูกปัด รวมถึงการเรียนภาษาที่เด็ก ๆ จะได้ขีดเขียน ระบายสี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยให้ได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และพัฒนาสมองไปในเวลาเดียวกัน

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine-Motor Development) คืออะไร?

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine-Motor Development) เป็นการทำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเอื้อม คว้า และหยิบจับสิ่งของได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงสามารถควบคุมกล้ามเนื้อมือและดวงตาให้ทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว ซึ่งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กช่วยให้เด็ก ๆ สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือ และดวงตาให้ทำงานประสานกันได้ดี เพื่อช่วยในการเตรียมพร้อมให้กล้ามเนื้อส่วนนี้สามารถเขียนหนังสือได้ถนัดมากขึ้น

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ความสำคัญ

ทำไมการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก จึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการลูก

กล้ามเนื้อมัดเล็กถือเป็นกล้ามเนื้อพื้นฐานที่ควรพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมพร้อมให้เด็กๆ สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการติดกระดุมเสื้อ การกินอาหารได้ด้วยตัวเอง การใส่ถุงเท้า รองเท้า รวมถึงการเขียนหนังสือ ซึ่งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กนั้นมีความสำคัญต่อเด็กในช่วงวัยนี้เป็นอย่างมาก นอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงแล้ว การที่สามารถทำกิจกรรมง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเองแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับเด็กได้อีกด้วย การที่เด็กเล็กในวัยนี้ทำกิจกรรมที่ควรทำไม่ได้จะลดความมั่นใจในการใช้ชีวิต และทำให้เขาไม่มีความมั่นใจตั้งแต่เด็ก

กิจกรรมช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

แนะนำ 9 กิจกรรมที่จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กเด็ก

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กนั้นเป็นกิจกรรมที่ทั้งผู้ปกครองและคุณครูจะต้องมีส่วนช่วยให้เด็ก ๆ สามารถทำได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กในเด็กนั้นมีด้วยกันหลายกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มีความน่าสนใจ และช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กในเด็กได้เป็นอย่างดี

  1. ปั้นดินน้ำมัน การปั้นดินน้ำมันเป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ง่าย แถมมีอุปกรณ์ไม่มาก ใช้เพียงดินน้ำมันอย่างเดียวเท่านั้น ที่สำคัญการปั้นดินน้ำมันเป็นกิจกรรมที่เด็กๆ ได้ใช้มือปั้น นวดดินน้ำมัน ประกอบให้เป็นรูปร่าง ช่วยเสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการในการเล่าเรื่องราวถึงการปั้นได้อีกด้วย
  2. ต่อจิ๊กซอว์ การต่อจิ๊กซอว์เป็นกิขกรรมที่ช่วยให้มือและสายตาทำงานร่วมกัน เพราะสายตาจะต้องสอดส่องหาชิ้นส่วนเพื่อมาแมชกับชิ้นส่วนอื่น ช่วยให้เขาได้พัฒนาสมองและความคิดด้วย ซึ่งควรเริ่มจากการเลือกการต่อที่ง่ายก่อน แล้วจึงค่อยขยับไปยากขึ้น เพื่อช่วยให้เขามีกำลังใจในการต่อจิ๊กซอว์
  3. วาดภาพระบายสี การวาดภาพระบายสีเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานกล้ามเนื้อมัดเล็ก หรือการใช้มือได้เป็นอย่างดี  การได้จับดินสอบ่อย ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  4. การพับกระดาษ กิจกรรมพับกระดาษเป็นกิจกรรมที่นำกระดาษมาพับเป็นสัตว์ หรือดอกไม้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้การทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อีกทั้งยังส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้เป็นอย่างดี
  5. การต่อบล็อกไม้ กิจกรรมการต่อบล็อกไม้เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยให้กล้ามเนื้อมือและดวงตาทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยให้เขาได้คิดด้วยว่าจะต่อไปในทิสทางไหน ช่วยส่งเสริมจินตนาการได้อีกด้วย
  6. ช่วยทำอาหาร การให้เด็กๆ ช่วยทำอาหารง่ายๆ อย่างเช่นการตักข้าว คีบอาหารเพื่อจัดลงจานเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยให้เข้าเรียนรู้การควบคุมกล้ามเนื้อมือ อีกทั้งยังให้เข้าเรียนรู้วัตถุดิบต่างๆ ไปในตัวได้ด้วย
  7. ประดิษฐ์ของ กิจกรรมการประดิษฐ์สิ่งของ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะหลาย ๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการตัดดกระดาษ การระบายสี ทำให้เขาได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้อย่างเต็มที่
  8. เล่นทราย การเล่นทรายน้องจากจะช่วยให้เด็ก ๆ พัฒนาการใช้มือและทำให้อารมณ์ดีแล้ว ยังทำให้เขาได้เททรายเข้า-ออก ก่อกองทรายซึ่งเป็นการเสริมทักษะด้านประสาทสัมผัสอีกด้วย
  9. ร้อยลูกปัด การร้อยลูกปัดเป็นหนึ่งในกิจกรรมสุดโปรดของเด็ก ๆ นอกจากจะได้เรียนรู้สีต่าง ๆ แล้ว ยังต้องใช้สมาธิในการและออกแบบให้มีความสวยงามอีกด้วย นอกจากนี้ยังต้องใช้มือทำงานร่วมกับดวงตากันอีกด้วย
วางแผนการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

วางแผนการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้เด็กแต่ละช่วงวัย

เด็กในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่ต้องได้รับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้มีความแข็งแรง และสามารถทำงานร่วมกับดวงตาอย่างคล่องแคล่ว เพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเด็กในแต่ละช่วงวัยก็จะมีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงอายุ ดังนี้ 

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กช่วงวัยช่วงวัย 2-3 ขวบ

ช่วงวัย 2-3 ขวบเป็นช่วงวัยเตาะแตะ ที่เด็กหลาย ๆ คนเริ่มหัดเดิน นอกจากนี้ยังเป็นช่วงวัยที่ชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งเดินสำรวจ และสัมผัสสิ่งต่าง ๆ โดยเริ่มมีการใช้มือและนิ้วได้แล้ว ซึ่งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กจะยิ่งช่วยให้เขามีการหยิบจับของได้ดีมากขึ้น ซึ่งในช่วงวัยนี้จะสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ดี

  • ร้อยลูกปัดเม็ดใหญ่
  • ระบายสีไม้
  • ปั้นดินน้ำมัน
  • กินอาหารได้ด้วยตัวเอง

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กช่วงวัยช่วงวัย 4-5 ขวบ

ในช่วงวัย 4-5 ขวบเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายต่าง ๆ มากมาย เริ่มจับสิ่งของต่าง ๆ ได้แล้ว แม้จะยังไม่ถนัดหรือคล่องมากนัก นอกจากนี้ยังสามารถเริ่มแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน แต่บางครั้งเขาอาจจะยังสับสนระหว่างความจริงกับเรื่องจินตนาการ จึงอาจจะทำให้มีการโกหก หรือว่ามีเพื่อนในจินตนาการอยู่ ซึ่งผู้ปกครองควรค่อย ๆ สอน และช่วยให้เขาเข้าใจมากขึ้น ซึ่งในช่วงวัยนี้เขาจะเริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น 

  • ตัดกระดาษ
  • เขียนชื่อตัวเอง
  • เขียนตัวเลขหลักสิบ
  • แต่งตัว ติดกระดุมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กช่วงวัยช่วงวัย 6-8 ขวบ

ในช่วงอายุ 6-8 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กๆ นั้นตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ ๆ ที่ได้เรียนรู้ มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่สำคัญสามารถหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่าคล่องแคล่ว ทั้งการเขียนหนังสือ การรูปเป็นรูปร่างชัดเจนมากขึ้น เขียน-นามสกุลตัวเองได้อย่างถูกต้อง สามารถผูกเชือกรองเท้า และแต่งตัวได้ด้วยตัวเอง เรียกว่าเป็นช่วงวันเด็กปีสุดท้าย และพร้อมที่จะเข้าสู่วัยเด็กโต สำหรับในช่วงวัยนี้เด็ก ๆ จะสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

  • เขียนหนังสือได้อย่างถูกต้อง
  • ผูกเชือกรองเท้า
  • สามารถควบคุมดินสอ ปากกาได้ดี

สรุป

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อมือ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้มือและดวงตาสามารถทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว ซึ่งการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือเป็นเรื่องพื้นฐานที่สามารถพัฒนาให้เด็ก ๆ ทำกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ ได้ เช่น การติดกระดุมเสื้อ การร้อยเชือกรองเท้า และการตักอาหารกินด้วยตัวเอง รวมถึงเขียนหนังสือได้คล่องแคล่วมากขึ้น

สำหรับกิจกรรมที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กนั้นมีด้วยการหลายกิจกรรมทั้งร้อยลูกปัด ปั้นดินน้ำมัน รวมถึงการเรียนภาษา ซึ่งการเรียนภาษาที่ Speak Up นอกจากจะเรียนรู้ทางด้านภาษาแล้ว เด็ก ๆ ยังจะได้ทำกิจกรรม ที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กได้อีกด้วย

ลูกติดมือถือ

ปัญหาลูกติดมือถือ อย่าแก้เมื่อสาย ก่อนลูกกลายเป็นเด็กโมโหร้าย

ปัจจุบันเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ามือถือนั้นแทบจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไปซะแล้ว ไม่ว่าจะเวลาไหนก็มักจะหยิบจับขึ้นมาเล่นเสมอ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กหลายคนที่มัก ใช้เวลาไปกับการเล่นมือถือตลอดทั้งวันโดยที่ไม่ทำกิจกรรมอื่นๆ เลยก็มี ซึ่งพฤติกรรมลูกติดมือถือเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อร่างการและพัฒนาการ อีกทั้งจากสถิติพบว่าปัจจุบันมีเด็กเล็กใช้มือถือนานถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งปกติแล้วไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

วันนี้ทาง SpeakUp จะพาไปดูว่าหากลูกของเราติดมือถือ จะส่งผลเสียอย่างไรต่อตัวเด็ก และพ่อแม่จะมีวิธีสังเกตุอย่างไรว่าลูกติดมือถือ พร้อมแนะนำกิจกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาลูกติดมือถือ จะมีอะไรบ้างไปอ่านกันได้เลย

สาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือ

สาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือ สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เพื่อรับมือ

มีหลากหลายพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุให้ลูกติดมือถือ โดยเฉพาะปัจจัยที่มาจากตัวเด็กเอง หรือการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการติดมือถือจากพ่อแม่โดยไม่รู้ตัว เราจะมาลองดูกันว่า สาเหตุที่ทำให้เด็กติดมือถือเกิดจากอะไรบ้าง

ความห่างเหินและสังคมก้มหน้า

การที่ต่างคนต่างอยู่ ดูแต่หน้าจอ พ่อแม่อยู่มุมนึง ลูกอยู่มุมนึง และก้มหน้าก้มตาใช้แต่มือถือของตัวเอง ส่งผลให้เกิดความห่างเหินและการขาดปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัว ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือได้เช่นกัน

การปล่อยให้ลูกเล่นมือถือตั้งแต่เด็ก

บางครั้งหลายครอบครัวที่พ่อแม่จำเป็นต้องออกไปทำงาน และได้ซื้อมือถือให้ลูกใช้ตั้งแต่เด็กโดยก็อาจกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือได้ ยิ่งไม่มีการควบคุมการใช้งานก็จะยิ่งส่งผลทำให้ลูกติดมือถือมากยิ่งขึ้น สำหรับช่วงอายุที่ไม่ควรให้ลูกใช้มือถือคือช่วงอายุต่ำกว่า 2 ขวบ แต่ทางที่ดีไม่ว่าช่วงอายุไหนก็ควรมีจัดการเวลาการใช้มือถือให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ลูกจะติดมือถือตั้งแต่เด็กนั่นเอง

ใช้เวลาว่างไปกับการเล่นโทรศัพท์มือถือ

ในช่วงเวลาวัยเด็ก จะเป็นช่วงที่มีเวลาว่างในการทำสิ่งต่างๆ อย่างมาก แต่บางครั้งการใช้เวลาว่างทั้งหมดไปกับการเล่นมือถือก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกติดมือถือได้ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรจัดสรรกิจกรรมเวลาว่างไว้สำหรับลูกๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้มือมือจนมากเกินไป

พ่อแม่ขาดความใส่ใจ ตัดรำคาญลูกโดยการโยนมือถือให้เล่น

การที่ลูกติดมือถือ หากจะโทษที่ตัวเด็กอย่างเดียวก็คงจะไม่ถูกต้องมากนัก เพราะอาจต้องย้อนกลับไปดูถึงพฤติกรรมและวิธีเลี้ยงลูกของพ่อแม่ก่อนด้วยว่าให้ความใส่ใจ และความอบอุ่นแก่ลูกมาพอหรือยัง ไม่ใช่ว่าทำงานกลับมาเหนื่อยๆ หรือยุ่งๆ แล้วตัดปัญหาโดยการโยนมือถือให้ลูกเล่น เพื่อที่ตัวเองจะได้ไปทำอย่างอื่น แบบนี้เสี่ยงที่ลูกของคุณจะติดมือถืออย่างแน่นอน

ลูกติดเกม

เมื่อลูกติดมือถือ บ่อยครั้งมักพบว่ามีต้นเหตุมาจากการที่ลูกใจจดใจจ่อกับการเล่นเกมมากจนเกินไป จนบางทีก็ไม่ได้สนใจคนรอบข้างหรือสิ่งรอบข้าง หากมีใครหรืออะไรมาทำให้หลุดสมาธิจากการเล่นเกม ก็มีสิทธิ์ที่จะหงุดหงิดได้ บ่อยเข้าอาจทำให้อารมณ์ร้อนจนเป็นนิสัย โวยวายง่ายเมื่อไม่ได้ดั่งใจ โดยเฉพาะเวลาไม่ได้เล่นเกม

ลูกเสพติดการเล่นโซเชียลมีเดีย

นอกจากเกมแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้พอนึกถึงมือถือเลยก็คือโซเชียลมีเดีย สมัยนี้การเข้าถึงโซเชียลมีเดียนั้นง่ายมากๆ กระทั่งเด็กที่อายุไม่เยอะก็สามารถเล่นเป็นแล้ว บางคนอาจเห็นพ่อแม่เล่น แล้วเล่นตาม พอพ่อแม่ปล่อยปละละเลย เลยทำให้ลูกเสพติดการเล่นโซเชียลมีเดียโดยไม่รู้ตัว สื่อต่างๆ ในโซเชียลมีเดียมักจะมาในรูปแบบสั้นกระชับ เพื่อตอบโจทย์คนสมัยนี้ที่ชอบความรวดเร็ว แต่นี่คือดาบสองคมที่ทำร้ายลูกได้เลย เพราะมันจะทำให้ลูกสมาธิสั้น ส่งผลต่อพัฒนาการที่ควรเป็นไปตามวัย

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อลูกติดมือถือ

การใช้มือถือ หากใช้ให้ถูกวิธีและไม่มากจนเกินไปนั้นจะเกิดผลดีต่อตัวเด็กมาก แต่หากปล่อยให้ลูกของเราใช้มือถือมากเกินไปจนทำให้ลูกติดมือถือ จะเกิดผลเสียต่อร่างกายและพฤติกรรมของเด็กอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

ปัญหาทางด้านสุขภาพของลูก

เด็ก ๆ ที่ก้มหน้าเล่นมือถือนานเกินไปจะทำให้เกิอาการปวดศีรษะ ปวดคอ หลังงอ ปวดตาและปัญหาเกี่ยวกับดวงตา นอกจากนี้ยังทำให้มีปัญหานอนไม่หลับด้วย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนหากปล่อยให้ลูกของเราติดมือถือมากเกินไป

พฤติกรรมเปลี่ยนไป ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง โมโหง่ายขึ้น

เด็กที่ติดมือถือมักมีอารมณ์รุนแรงกว่าเด็กทั่วไป และอาการเหล่านี้จะรุนแรงและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคุณยังปล่อยให้ลูกติดมือถือและไม่ทำการแก้ไข ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกในระยะยาว ทั้งภาวะทางอารมณ์ที่ผิดปกติ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าในอนาคตได้

พัฒนาการช้า ไม่เป็นไปตามวัย

ยิ่งลูกของคุณติดมือถือและใช้เวลากับมือถือมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกให้ช้าลง ไม่เหมาะสมตามวัย ไม่ว่าจะเป็น การพูดการสื่อสารที่ติดขัด พูดไม่ชัด พูดช้า มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและร่างกายในด้านอื่น ๆ

ทักษะด้านการเข้าสังคมและมนุษย์สัมพันธ์หายไป

การที่ลูกติดมือถือและใช้เวลาทั้งหมดอยู่กับการเล่นโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเล่นเกม ดูการ์ตูน ในอนาคตจะส่งผลเสียต่อตัวลูกในเรื่องของการเข้าสังคมอย่างแน่นอน เพราะเด็กมักจะชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว ทำให้ขาดทักษะในการสื่อสารและสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับคนรอบข้าง

อาการลูกติดมือถือ

พ่อแม่ต้องสังเกต 8 อาการที่บ่งบอกว่าลูกติดมือถือ

  1. ไม่สนใจหรือเบื่อที่จะทำกิจกรรมที่เคยชอบ
  2. ใจร้อน ชอบใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา
  3. ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมือถือมากเกินไป โดยไม่เปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่น
  4. สมาธิสั้น วอกแวก อยู่ไม่นิ่งเวลาที่ไม่ได้จับมือถือ
  5. จับมือถือตลอดเวลา รวมถึงเล่นมือถือขณะทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเวลากินข้าว ทำการบ้าน หรืออ่านหนังสือ
  6. เกิดอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย ปวดตา เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอและจ้องจอมือถือมากเกินไป
  7. โลกส่วนตัวสูงชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวเป็นเวลานานๆ
  8. ความสามารถในการสื่อสารกับพ่อแม่ลดลง พูดน้อย พูดไม่ชัด และพูดจาติดขัด

วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ทาง SpeakUp ได้บอกถึงสาเหตุ ผลเสีย และวิธีสังเกตุอาการเมื่อลูกติดติดมือถือว่าเป็นอย่างไรและผลกระทบที่จะตามมาว่ามีอะไรบ้าง เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วพ่อแม่ไม่ควรละเลยที่จะแก้ปัญหาเมื่อลูกเริ่มติดมือถืออย่างจริงจัง หากแก้ปัญหาได้ช้าและปล่อยไว้เป็นเวลานาน รับรองว่าผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับลูกในอนาคตจะตามมามากมายอย่างแน่นอน ดังนั้นเราจึงหาทางออกของปัญหานี้มาให้พ่อแม่ทุกคนลองไปปรับใช้ จะมีอะไรกันบ้างไปดูได้เลย

กำหนดเวลาเล่นมือถือของลูกให้ชัดเจน

การกำหนดเวลาเล่นมือถือให้ลูกนอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาการติดมือถือของลูกแล้วนั้น ยังเป็นการสร้างวินัยที่ดีให้ลูกด้วยเช่นกัน ทำให้เด็กรู้จักการจัดการเวลาและควบคุมตัวเอง โดยแนะนำว่าเด็กอายุแรกเกิดถึง 2 ขวบควรหลีกเลี่ยงการใช้มือถือ ส่วนเด็กอายุ 3-5 ขวบควรใช้วันละไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน

ก่อนจะให้ลูกปรับปรุงตัว พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน

การที่จะสอนลูกให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามได้ นอกจากการสอนด้วยคำพูดอาจจะไม่เพียงพอ ต้องทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นและซึมซับสิ่งดี ๆ ด้วย หากพ่อแม่ยังบ่นว่าลูกติดมือถือมาก แต่พ่อแม่บางครั้งก็ยังก้มหน้าก้มตาเล่นมือถือไม่สนใจคนรอบข้าง แบบนี้ต่อไปหากเราสอนอะไรลูกไป ลูกอาจจะต่อต้านและไม่เชื่อฟังได้

หากิจกรรมอย่างอื่นที่น่าสนใจให้ลูกทำ

สิ่งที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาลูกติดมือได้ที่อาจจะได้ผลดีที่สุดก็คือ การทำยังไงก็ได้ให้ลูกห่างจากการใช้มือถือที่สุด โดยสิ่งนั้นก็คือการหากิจกรรมอย่างอื่นให้ลูกทำ เช่น เล่นกีฬา ร้องเพลง อ่านหนังสือ ไปเที่ยว ฝึกทำอาหาร หรือเรียนภาษา ซึ่งกิจกรรมนี้ทาง Speakup สนับสนุนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้ความรู้และทักษาะใหม่ให้กับลูกแล้ว การเรียนภาษาสมัยนี้ไม่ได้น่าเบื่อแบบเมื่อก่อน โดยจะขอยกตัวอย่างกิจกรรมที่ทาง SpeakUp ใช้สอนในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการร้อง เต้น และงานศิลปะอื่น ๆ รับรองว่าเมื่อได้มาเรียน ลูก ๆ จะสนุกและใช้เวลากับมือถือน้อยลง พ่อแม่จะหมดกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกติดมือถือได้อย่างแน่นอน

สรุป

การที่ลูกติดมือถือหรือใช้เวลากับมือถือมากเกินไป ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ก็อาจจะก่อเกิดผลกระทบในระยะยาวต่อตัวลูกของเราได้ หากพ่อแม่ละเลยและไม่ใส่ใจที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แต่ทางออกทั้งหมดบทความนี้ได้ช่วยแก้ปัญหาและเสนอแนะแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาที่ลูกติดมือถือให้แล้ว หากสนใจที่จะลองนำไปปรับใช้ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างดี

ปกบทความ 12 เกมสอนภาษาอังกฤษ

หยุดความน่าเบื่อในห้องเรียน ด้วย 12 เกมสอนภาษาอังกฤษแสนสนุก

เมื่อต้องเจอกับเนื้อหาหรือบทเรียนใหม่ที่ยากและท้าทาย โดยเฉพาะบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เด็กหลายคนอาจจิตใจห่อเหี่ยว ไม่สนใจเนื้อหา และพาลให้ไม่รู้เรื่องเอาได้ง่ายๆ แต่รู้หรือไม่ว่า ความน่าเบื่อหน่ายในห้องเรียน ก็เป็นอีกหนึ่งตัวการสำคัญมากๆ ที่คอยฉุดรั้งการเรียนรู้!

ในบทความนี้ ทาง Speak Up Language Center มีคำแนะนำมาฝาก เพื่อให้ผู้ปกครอง คุณครู และเด็กๆ ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ง่ายๆ เพียงแค่มีเกมสนุกๆ มาเป็นตัวช่วยฝึกและสอนภาษาอังกฤษในห้องเรียน

การสอนภาษาอังกฤษด้วยเกม มีข้อดีต่อเด็กอย่างไร

การสอนภาษาอังกฤษด้วยเกม มีข้อดีต่อเด็กอย่างไร

การมีกิจกรรมหรือใช้เกมเป็นตัวกลางในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Play-Based-Learning) จะช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่จะทำตามกฎเกณฑ์ ฝึกฝนทักษะภาษา ในขณะที่ได้เล่นสนุกไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ยังมีข้อดีอีกมากมาย ได้แก่

ช่วยให้เด็กๆ ผ่อนคลาย

เกมสอนภาษาอังกฤษจะช่วยให้เด็กๆ เกร็งหรือเครียดน้อยลง เพราะเมื่อมีสิ่งน่าตื่นเต้น น่าสนใจ ที่พวกเขาสามารถทำได้และสนุกไปกับมัน ก็จะช่วยให้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น แตกต่างจากการนั่งเรียนและลงมือทำ Worksheet เฉยๆ ที่คร่ำเคร่งและสร้างภาพจำที่น่ากลัว หรือน่าเบื่อขณะเรียน

ช่วยกระตุ้นและเพิ่มการมีส่วนร่วมของเด็กๆ ได้ดี

การสอนภาษาอังกฤษด้วยเกมช่วยให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็น มีส่วนร่วมแบบเดี่ยว จากเกมการตอบคำถามรายคน หรือแบบกลุ่ม ที่ต้องช่วยกันทำ Task อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นตัวช่วยให้นักเรียนได้รับแรงกระตุ้นในการเรียนรู้ที่ดีมากกว่าการนั่งและจดจำเพียงอย่างเดียว

ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่หลากหลาย

แน่นอนว่าการเล่นเกม หรือทำกิจกรรมในและนอกห้องเรียนสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้มากกว่า และไม่ใช่แค่เรียนในสิ่งที่ควรรู้ตามบทเรียนเท่านั้น แต่การเล่นเกมฝึกภาษาอังกฤษยังเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ การเข้าสังคม การแบ่งหน้าที่กันในกลุ่ม ฯลฯ เพื่อให้บรรลลุตามเป้าหมาย

ช่วยทบทวนบทเรียนและปรับความพร้อมก่อนเริ่มเรื่องใหม่

การใช้เกมหรือกิจกรรมร่วมเมื่อต้องการทบทวนบทเรียนครั้งก่อน คุณครูจะเห็นพัฒนาการของเด็กๆ ได้ง่าย เพียงแค่การสังเกตว่าใครมีส่วนร่วมมากน้อย หรือใครจำได้ เพื่อที่วางแนวทางรับมือและเสริมสร้างต่อไป ทั้งยังช่วยให้เด็กๆ ได้ทบทวนเนื้อหาก่อนหน้าได้อย่างสนุกสนาน ให้เขาได้ปรับอารมณ์และความมั่นใจที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ในวันใหม่ได้ด้วย

รวม 12 เกมสอนภาษาอังกฤษ น่าเล่นและช่วยให้ห้องเรียนไม่น่าเบื่อ

รวม 12 เกมสอนภาษาอังกฤษ น่าเล่นและช่วยให้ห้องเรียนไม่น่าเบื่อ

คุณครูหรือคุณผู้ปกครองคนไหนที่กำลังมองหาเกมสนุกๆ ที่ช่วยเสริมบรรยากาศการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ ทาง Speak Up Language Center ก็มีเกมดีๆ มาให้เลือกหยิบนำไปใช้ จะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย!

1. ถูกหรือผิด (True or False)

เกมถูกหรือผิด มักช่วยได้ดีในเรื่องของการจดจำ จึงเป็นเกมเหมาะที่จะใช้กับการทบทวนบทเรียนอย่างพวกคำศัพท์จากครั้งก่อนหน้า

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัด สามารถเล่นรวมกันทั้งห้องได้เลย

อุปกรณ์ที่จำเป็น

Flashcard หรือของเล่น หรืออุปกรณ์ต่างๆ ในห้องเรียน เช่น เก้าอี้ โต๊ะ กระดาน ดินสอ กระเป๋า ฯลฯ

วิธีเล่น

  • สามารถเริ่มง่ายๆ จากการแบ่งพื้นที่ห้องเรียนออกเป็น 2 ฝ่าย เพื่อให้เด็กๆ ได้ลุกขึ้นขยับตัว ไม่นั่งติดอยู่กับที่
  • ให้ทั้งห้องตั้งแถวอยู่กึ่งกลางห้อง
  • คุณครูนำ Flashcard หรืออุปกรณ์ตามที่สะดวกออกมา 1 อย่าง และเริ่มต้นด้วยคำถาม เช่น
    “ Is this/that/it a/an ____ ” หรือ “Are these/those/they ___” สลับไปมา
  • ให้เด็กมีโอกาสเลือกฝั่งเมื่อสิ่งที่คุณครูพูด ผิด หรือ ถูก
  • จากนั้นอาจให้แต่ละคนลองพูดตอบคำถาม เช่น “Yes, it is!” หรือ “No, they aren’t!” หรือให้ตอบในสิ่งที่ถูกต้องแทน ในกรณีที่ภาพไม่ตรงกับคำศัพท์ เช่น “They are glasses.”

ทักษะที่ได้รับ

ฝึกฝนความจำและการตัดสินใจ ตลอดจนทักษะการพูดโต้ตอบ

เกมฉันคืออะไร

2. ฉันคืออะไร (What Am I)

เกมฝึกภาษาอังกฤษในห้องเรียนเกมนี้จะช่วยให้เด็กๆ ได้ฝึกตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ เหมาะจะใช้สำหรับสอนและทบทวนกลุ่มคำ Adjective ไปตลอดจนคำศัพท์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาชีพ สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ

จำนวนผู้เล่น

เป็นเกมที่เหมาะจะเล่นเป็นคู่ เพื่อสลับกันถามตอบ แต่สำหรับเด็กเล็กๆ อาจเล่นรวมกันเป็นกลุ่ม โดยสลับกันช่วยตอบคำถาม แล้วจึงเวียนคนตั้งคำถามก็ได้เช่นกัน

อุปกรณ์ที่จำเป็น

กระดาษคำศัพท์ หรือ Flashcard และถ้ามีที่คาดหัวเพื่อเสียบบัตรคำศัพท์ไว้ด้วยก็จะยิ่งดี (เพื่อป้องกันการมองเห็นคำตอบ) หรือถ้าไม่มี สามารถใช้การถือไว้เหนือหัว หรือแปะติดไว้กับหมวกก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ควรมีเครื่องมือที่ใช้จับเวลาด้วย เช่น นาฬิกาจับเวลาถอยหลัง หรืออาจใช้นาฬิกาทราย

วิธีเล่น

  • สุ่มแจกกระดาษคำศัพท์ หรือ Flashcard ให้เด็กๆ แต่ละคน โดยคนที่ได้รับจะต้องไม่เห็นว่าตัวเองได้คำว่าอะไร
  • เริ่มจับเวลาถอยหลัง และให้เด็กๆ สลับกันตั้งคำถาม – ตอบ โดยอาจใช้ชุดคำถาม เช่น
    • Am I tall ?
    • What do I use for my job ?
    • How many eyes do I have ?
  • ในเด็กเล็กๆ อาจใช้การแสดงท่าทางประกอบคำใบ้ได้ เช่น Small ก็สามารถทำท่าทางประกอบคำนั้น แต่ไม่ควรเป็นท่าทางที่สื่อถึงคำตอบโดยตรงเลย
  • เมื่อหมดเวลา ใครที่เป็นคนโดนถามก็จะต้องตอบว่าตัวเองคืออะไร แล้วจึงเปลี่ยนผู้เล่น

ทักษะที่ได้รับ

ทักษะการสนทนา และคิดวิเคราะห์เพื่อการตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ

3. ทอยลูกเต๋าเริ่มบทสนทนา (Conversation Starter Dice)

เกมทอยลูกเต๋าเริ่มบทสนทนา เป็นเกมที่ช่วยฝึกทักษะการพูดภาษาอังกฤษแบบไม่จำกัดหัวข้อ เพราะสามารถปรับเปลี่ยนชุดคำถามได้ตามเนื้อหาที่ต้องการ โดยสามารถแบ่งตามการเรียนการสอนในส่วนของไวยากรณ์ (Grammar) ได้ เช่น Tense, If-clause, Infinitive-Gerund ฯลฯ

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัด สามารถเล่นรวมกันทั้งห้องได้เลย

อุปกรณ์ที่จำเป็น

กล่องลูกเต๋าทำเอง ที่มีด้านแต่ละด้านเป็นชุดคำถามที่แตกต่างกัน แต่หากไม่สามารถทำกล่องลูกเต๋าเองได้ก็อาจใช้ลูกเต๋าธรรมดา หรือลูกเต๋าผ้าลูกใหญ่ๆ แล้วกำหนดคำถามไว้บนกระดานหรือกระดาษก็ได้เช่นกัน

วิธีเล่น

  • ระบุคนที่ต้องตอบคำถามก่อน
  • ให้คนที่ต้องตอบคำถามทอยลูกเต๋าเพื่อดูว่าจะได้คำถามอะไร แล้วจึงตอบคำถาม
  • โดยคุณครูหรือผู้ปกครองสามารถกำหนดกติกาการตอบคำถามได้ เช่น ควรตอบในรูปแบบเต็มประโยค เป็นต้น

ทักษะที่ได้รับ

ได้ฝึกทักษะการพูด สนทนา และคิดวิเคราะห์อย่างอิสระและสร้างสรรค์ โดยสามารถระบุความยากง่ายและซับซ้อนของชุดคำถามและคำตอบได้

เกมเขียนกระดาน

4. เกมเขียนกระดาน (Board Race)

เกมฝึกภาษาอังกฤษเกมนี้ เหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ 6-7 ขวบเป็นต้นไป ช่วยเสริมสร้างบทเรียน การทบทวนคลังคำศัพท์และแกรมมา

จำนวนผู้เล่น

สามารถเล่นได้ตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป โดยยิ่งเล่นเป็นกลุ่มใหญ่ยิ่งสนุก

อุปกรณ์ที่จำเป็น

หลักๆ จะใช้กระดานและปากกาสำหรับใช้กับกระดานในห้องเรียนได้เลย

วิธีเล่น

  • แบ่งนักเรียนในห้องออกเป็น 2 ฝ่าย หรือหากมีนักเรียนเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกเป็น 3-4 กลุ่มก็ได้เช่นกัน
  • เขียนเส้นแบ่งกระดาน และสร้างหัวข้อที่ต้องการจะนำมาเป็นหลักในการแข่งขัน เช่น Body Parts
  • ให้แต่ละทีมเริ่มออกมาเขียนคำตอบ ทีมละ 1 คน ตามหัวข้อที่ได้รับ เช่น หัวข้อ Body Parts คำตอบอาจได้แก่ Arms, Eyes และ Head เป็นต้น
  • เมื่อคนแรกของทีมเขียนคำตอบเสร็จแล้ว ให้ส่งปากกาต่อให้คนต่อๆ ไปในทีมได้เลย
  • ทีมไหนเขียนครบก่อน และถูกต้องทั้งหมดจะเป็นฝ่ายชนะ (หากคำไหนสะกดผิด หรือเขียนจนอ่านไม่ออก จะไม่นับคะแนนก็ได้เช่นกัน!)

ทักษะที่ได้รับ

นอกเหนือจากการฝึกจดจำและสะกดคำที่ถูกต้องแล้ว เด็กๆ ยังได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกด้วย เพราะในการเล่นเกมฝึกภาษาเกมนี้ คนข้างหลังไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคนข้างหน้าจะเขียนคำเดียวกันกับที่ตัวเองก็คิดไว้ด้วยหรือเปล่า!

5. แฮงแมน (Hangman)

เป็นเกมทายคำศัพท์ที่เหมาะสำหรับช่วยเตรียมความพร้อมก่อนเรียน และเล่นเพื่อผ่อนคลายสั้นๆ ก่อนเลิกเรียนในกลุ่มเด็กเล็ก จนถึงเด็กโต โดยสามารถแบ่งความยากง่ายของคำศัพท์ตามกลุ่มได้

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัด สามารถเล่นรวมกันทั้งห้องได้เลย

อุปกรณ์ที่จำเป็น

การสอนภาษาอังกฤษด้วยเกม Hangman แค่มีกระดานกับปากกาสำหรับเขียนกระดานก็สามารถเริ่มเกมได้

วิธีเล่น

  • ให้คุณครูเขียนเส้นกำหนดจำนวนตัวอักษรของคำแต่ละคำก่อน
  • หลังจากนั้นให้เด็กๆ ในห้องสลับกันสะกดคำทีละคน โดยอาจเริ่มจากคนที่ยกมือได้ไวที่สุดในรอบนั้น หรือเรียงตามลำดับซ้ายไปขวา หรือตามที่เด็กๆ ตกลงกันเองก็ได้เช่นกัน
  • เนื่องจากเล่นเกมรวมกัน เด็กๆ สามารถปรึกษากันได้ว่า คำศัพท์น่าจะเป็นคำว่าอะไร หรือควรเสนอตัวอักษรใด
  • หากตอบผิด คุณครูจะเป็นคนวาดรูปเติมที่ละจุดให้เป็น Hangman
  • เกมจบเมื่อนักเรียนสามารถสะกดคำศัพท์ได้ถูกต้องครบถ้วนก็จะเป็นฝ่ายชนะ แต่หากคุณครูวาดรูปครบก่อนก็ เด็กๆ จะเป็นฝ่ายแพ้

ทักษะที่ได้รับ

ได้ฝึกวิเคราะห์ จดจำ และคาดเดาคำศัพท์ผ่านการสะกดคำร่วมกันเป็นทีม

เกมจับผิดภาพ

6. เกมจับผิดภาพ (What is Wrong with This Picture?)

เกมนี้ เหมาะสำหรับใช้ฝึกภาษาอังกฤษระหว่างเรียน เริ่มบทเรียนใหม่ และใช้สำหรับทบทวนบทเรียนก่อนหน้า โดยสามารถสอดแทรกเนื้อหาได้ในทุกๆ แง่มุมตามระดับภาษาของเด็กๆ ในห้อง

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัด สามารถเล่นรวมกันทั้งห้องได้ หรือหากแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวน 3-4 คน ก็จะยิ่งช่วยให้เด็กๆ ได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น

อุปกรณ์ที่จำเป็น

ภาพที่นำมาใช้สำหรับจับผิด สามารถเปิดแสดงขึ้นจอ หรือจะพิมพ์ออกมาเพื่อใช้คล้าย Flashcard ก็ได้เช่นกัน ยิ่งหากเป็นภาพที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ เกมจะยิ่งเพิ่มความสนุกให้นักเรียนได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ดียิ่งขึ้น

วิธีเล่น

  • นำภาพมาแสดงให้นักเรียนในห้องดูร่วมกัน หรืออาจแบ่งภาพออกเป็นกลุ่มย่อย แล้วกระจายให้ในทีมร่วมกันแสดงความคิดเห็น
  • สลับให้นักเรียนแต่ละคนได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็น หรืออธิบายจุดแตกต่าง หรือจุดที่แปลกประหลาดของภาพนั้นๆ
  • ระหว่างเล่นเกม คุณครูอาจมีคำถามอื่นๆ ร่วมด้วยก็ได้เช่นกัน

ทักษะที่ได้รับ

การเรียนภาษาอังกฤษผ่านเกมจับผิดภาพนี้ เด็กๆ จะได้ฝึกการสังเกตและทำความคุ้นเคยกับสิ่งรอบข้างมากขึ้น สามารถวิเคราะห์แยกแยะสิ่งที่ควรเป็นไปในความเป็นจริง กับส่วนที่สร้างสรรค์เพิ่มเติมเข้ามาผ่านภาพที่ใช้จับผิดได้

7. ฉันอยากได้… (Bring Me…)

เป็นเกมที่ใช้สำหรับฝึกคำศัพท์ผ่านรูปประโยคง่ายๆ ไปจนถึงซับซ้อนขึ้น เหมาะสำหรับเด็กเล็กๆ และใช้สำหรับช่วยสอนและทบทวนคำศัพท์

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัด สามารถเล่นรวมกันทั้งห้องได้เลย

อุปกรณ์ที่จำเป็น

เพียงแค่มีอุปกรณ์สำหรับให้เด็กๆ ใช้สำหรับเกม อาจเป็นของเล่น ผลไม้ ตุ๊กตาสัตว์ต่างๆ หรืออย่างง่ายที่สุดก็สามารถใช้อุปกรณ์ในหรือนอกห้องเรียนก็ได้เช่นกัน

วิธีเล่น

  • คุณครูเริ่มต้นออกคำสั่งโดยตั้งต้นประโยคว่า “Bring me… ” เพื่อบอกว่านักเรียนจะต้องไปหยิบอะไรมา ซึ่งสามารถออกคำสั่งตั้งแต่ง่าย ไปจนถึงยาก ได้ เช่น
    • คำสั่งแบบตรงตัว ได้แก่ Bring me a pencil / an apple.
    • คำสั่งแบบกว้างๆ ได้แก่ Bring me something to eat. หรือ Bring me something black. เป็นต้น
    • คำสั่งที่ให้เด็กๆ คิดต่อ แต่มีความเฉพาะเจาะจง ได้แก่ Bring me the thing you use for brushing your teeth. ฯลฯ
  • หลังจากนั้นให้เด็กๆ เดินไปหยิบสิ่งของนั้นๆ เมื่อหยิบมาถูกต้อง คุณครูอาจให้เด็กๆ บอกเป็นรูปประโยคด้วยก็ได้ว่าสิ่งที่หยิบมานั้นคืออะไร

ทักษะที่ได้รับ

เด็กๆ จะได้เรียนรู้คำศัพท์ที่หลากหลาย พร้อมทักษะการตัดสินใจด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นเกมที่เด็กๆ ต้องลงมือเลือกหยิบสิ่งของตามโจทย์ที่ให้ไว้ ซึ่งบางโจทย์อาจกว้างและหลากหลายนั่นเอง

เกมตอบให้ทัน

8. ตอบให้ทัน (Against Time)

เกมตอบให้ทันเหมาะสำหรับฝึกคำศัพท์ท้ายบทเรียน เพื่อช่วยทบทวนความจำให้กับเด็กๆ

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัด สามารถเล่นรวมกันทั้งห้องได้เลย

อุปกรณ์ที่จำเป็น

ใช้ลูกบอล หรืออาจเป็นตุ๊กตา ฯลฯ เพื่อช่วยในการส่งให้คนถัดไปตอบคำถาม โดยใช้นาฬิกาทรายอันเล็กๆ ที่มีเวลาจำกัดไม่นานร่วมด้วย เพื่อช่วยสำหรับจำกัดเวลาในการตอบคำถามของเด็กๆ หรือคุณครูอาจนับถอยหลังให้ด้วยก็ได้เช่นกัน

วิธีเล่น

  • ให้คุณครูกำหนดหัวข้อของคำศัพท์ที่อยากให้เด็กๆ ทบทวน เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับคำกริยาง่ายๆ อย่าง Climb, Drive, Eat หรืออาจเป็นคำหมวดอื่นก็ได้เช่นกัน
  • ให้เด็กๆ เร่งตอบคำถามภายในเวลาที่กำหนด หากพูดไม่ทัน หรือพูดผิดก็จะนับออกจากเกม หรือสามารถให้ทำอย่างอื่นเพื่อชดเชยได้ เช่น ช่วยกันท่องคำศัพท์ที่เรียนไปใหม่ ก่อนที่จะกลับเข้ามาเล่นเกมใหม่
  • คุณครูอาจเพิ่มชุดคำศัพท์อื่นๆ ให้เด็กๆ สลับกันตอบไปเรื่อยๆ ได้

ทักษะที่ได้รับ

เกมนี้เป็นเกมที่ฝึกให้เด็กๆ ได้ท่องจำคำศัพท์ประกอบกับการฝึกความไวในการคิดและพลิกแพลงคำตอบ เมื่อคนก่อนหน้าได้พูดคำศัพท์ที่ตัวเองคิดรอไว้แล้ว ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เด็กๆ ได้แผ่ขยายคลังคำศัพท์ในขณะที่คิดเผื่อไว้ได้ดีอีกด้วย

9. ตามล่า หาสมบัติ (Treasure Hunt)

เป็นอีกหนึ่งเกมสอนภาษาอังกฤษที่ช่วยให้เด็กๆ ได้ฝึกพูดและเห็นภาพจริงของเนื้อหาที่เรียน เหมาะสำหรับใช้กับบทเรียนเรื่อง Preposition ที่ใช้ในการระบุตำแหน่ง และบทเรียนอื่นๆ ตามที่คุณครูออกแบบ

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัด สามารถเล่นรวมกันทั้งห้องได้เลย

อุปกรณ์ที่จำเป็น

ควรจะมีพื้นที่สำหรับซ่อนของ อาจเป็นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน (ควรจำกัดขอบเขตให้คุณครูดูแลได้ทั่วถึงด้วยนะ!) และควรมีสิ่งของที่นำไปซ่อนขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ เพื่อให้เด็กๆ หาของไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป

วิธีเล่น

  • คุณครูนำสมบัติ หรือก็คือสิ่งของที่เตรียมไว้ครั้งละ 1 – 3 ชิ้น ไปซ่อนตามที่ต่างๆ
  • ให้เด็กๆ เป็นผู้ทายว่าคุณครูนำไปซ่อนไว้ที่ไหน โดยให้ตั้งคำถามเป็นประโยค เช่น
    • Is it behind the curtain?
    • Are they under the palm tree?
  • ใครที่ตอบถูก คุณครูอาจให้รางวัลโดยการแต่งตั้งให้เป็นคนเอาสมบัติไปซ่อนเองได้ ภายในระยะเวลา หรือขอบเขตที่กำหนด

ทักษะที่ได้รับ

นอกจากจะได้ฝึกการสนทนาและตั้งคำถามแล้ว เด็กๆ จะได้ฝึกคำศัพท์อื่นๆ เพิ่มเติมที่อยู่นอกเหนือบทเรียนเพื่อใช้ในการถาม-ตอบอีกด้วย

เกมแข่งกันร้องเพลง

10. เกมแข่งกันร้องเพลง (Sing It Out Loud!)

สามารถใช้ประกอบการเรียนการสอนตามบทเรียน หรือนอกเหนือไปจากบทเรียนก็ได้ เหมาะสำหรับทุกช่วงวัย

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัด สามารถเล่นรวมกันทั้งห้องได้เลย

อุปกรณ์ที่จำเป็น

เครื่องเล่นเพลง และเพลงที่จะใช้ประกอบการฝึกร้องของเด็กๆ โดยอาจแบ่งระดับความยากง่ายของเพลงผ่านความซับซ้อนของภาษาที่ใช้ในแต่ละเพลงได้ เช่น หากเป็นกลุ่มเด็กเล็ก อาจใช้เพลงของ Coco Melon ฯลฯ เพื่อปูพื้นคำศัพท์ขึ้นพื้นฐาน หากเป็นเด็กโตหน่อยก็อาจใช้เพลงที่กำลังอยู่ในกระแสช่วงนั้นๆ ก็ได้เช่นกัน

วิธีเล่น

  • คุณครูเปิดเพลงให้เด็กๆ ฟังก่อน 1 รอบ
  • เริ่มสอนให้เด็กๆ ร้องเพลงตาม และอาจมีท่าทางประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจและความจำ
  • แบ่งทีมออกเป็น 2 ทีม หรือมากกว่านั้นเพื่อให้ออกมาร้องเพลงหน้าห้องเรียน

ทักษะที่ได้รับ

ทักษะเพิ่มเติมที่เด็กๆ ได้รับจากกิจกรรมนี้ก็คือ ความกล้าแสดงออก และทักษะด้านการร้องและการเต้นเข้าจังหวะเพลง ที่จะช่วยเสริมภาพจำของการเรียนภาษาอังกฤษที่สนุกสนานให้เด็กๆ ได้

11. บอร์ดเกมยักษ์ (Big Board Game)

เกมสอนภาษาอังกฤษเกมนี้เป็น Active Learning Method ที่ทาง Speak Up Language นำมาใช้จริงในคลาส เหมาะสำหรับช่วยสอนคำศัพท์เด็กเล็กๆ ไปจนถึงเด็กโต ในขณะที่เด็กๆ เองก็ได้ขยับร่างกายไปด้วย ลักษณะคล้ายกันกับเกมบันไดงู แต่นักเรียนจะเป็นผู้เล่นที่เดินตามช่องจริง

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัด สามารถเล่นรวมกันทั้งห้องได้เลย โดยที่จะแบ่งให้เล่นทีละคน และสลับกันไปเรื่อยๆ

อุปกรณ์ที่จำเป็น

อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เลย คือ การ์ดคำศัพท์ หรือคำถามแผ่นใหญ่ ที่จะต้องนำมาเรียงไว้ที่พื้น และลูกเต๋ายักษ์เพื่อใช้สำหรับกำหนดจำนวนก้าวที่ต้องเดิน

วิธีเล่น

  • ให้นักเรียนผลัดกันทอยลูกเต๋ายักษ์ที่เตรียมไว้ แล้วเดินตามจำนวนแต้มที่ได้
  • เมื่อเดินถึงกระดาษคำถามหรือคำศัพท์แผ่นไหน ให้อ่านและตอบคำถามนั้นๆ
  • สลับกันทอยลูกเต๋าไปเรื่อยๆ จนถึงจุดสิ้นสุดของแผ่นคำถาม

ทักษะที่ได้รับ

เกมนี้จะช่วยฝึกความอดทนแบบอ้อมๆ ให้กับเด็กๆ ในขณะที่สามารถกระตุ้นความอยากเรียนรู้ได้ในคราวเดียวกัน ในระหว่างรอที่จะทอยลูกเต๋าเพื่อเดินในแต่ละรอบ เด็กๆ จะไม่รู้สึกว่าการเรียน หรือการตอบคำถามเป็นภาระหรือยาขมที่ไม่อยากทำนั่นเอง

เกมกระโดดร่ม

12. เกมกระโดดร่ม! (Parachute!)

เป็นอีกหนึ่ง Active Learning Method ที่ทาง Speak Up Language ใช้ประกอบการสอนและทบทวนบทเรียนและคำศัพท์ที่สถาบัน

จำนวนผู้เล่น

เหมาะที่จะเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

อุปกรณ์ที่จำเป็น

ในเกมนี้ คุณครูควรเตรียมลูกบอลลูกเล็กๆ ที่แปะคำถามหรือใส่คำศัพท์ไว้ให้เรียบร้อย ประมาณ 5-10 ลูก หรือตามความเหมาะสม และผ้า 1 ผืนที่นำมาใช้เป็น Parachute ควรเป็นผ้าร่ม ลักษณะลื่นและเบา เพื่อให้ลูกบอลสามารถหล่นลงมาได้ง่ายๆ

วิธีเล่น

  • ให้เด็กๆ ยืนรวมกันเป็นวงกลม โดยที่แต่ละคนจับมุมผ้าเอาไว้
  • คุณครูใส่ลูกบอลลงไปบนผ้าร่มที่ถือ แล้วให้เด็กๆ เริ่มช่วยกันสะบัดผ้าเพื่อให้ลูกบอลหล่นลงมาทีละลูก
  • เมื่อลูกบอลล่วงลงมา หากเป็นคำศัพท์ก็ให้เด็กๆ อ่านพร้อมกัน หรือหากเป็นคำถาม อาจให้ตอบพร้อมกันหรือให้ตอบทีละคนก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของคำถามนั้นๆ

ทักษะที่ได้รับ

นอกจากเกมนี้จะช่วยในการทบทวนหรือสอนบทเรียนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ แล้ว ยังช่วยดึงดูดความสนใจ และช่วยให้เด็กรู้สึกกดดันน้อยลงเมื่อถูกเรียกให้อ่าน หรือตอบคำถาม ซึ่งเป็นการฝึกทักษะให้เด็กๆ คุ้นชินกับการกล้าแสดงออกได้อีกด้วย

สรุป

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงจะได้ไอเดียกันแล้วว่าการเรียนการสอนผ่านการเล่นเกมภาษาอังกฤษหรือทำกิจกรรมในห้องเรียนนั้น มีประโยชน์และช่วยส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กๆ ได้อย่างไรบ้าง หากคุณครูหรือผู้ปกครองท่านใดสนใจเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กๆ แล้วล่ะก็ สามารถนำเกมที่เราแนะนำไปปรับใช้ได้เลย! หรือถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดกำลังมองหาห้องเรียนภาษาอังกฤษที่ทั้งสนุกและได้ทักษะความรู้ให้กับลูกๆ ทาง Speak Up Language Center ก็มีหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กแต่ละกลุ่มช่วงอายุ ที่ส่งเสริมให้เด็กๆ ได้สนุกกับการเรียนภาษาผ่านการทำกิจกรรมและเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กที่แท้จริง

ข้อดีของการเรียนภาษาจีนตั้งแต่เด็ก ที่ลูกจะได้รับและนำไปใช้ในอนาคต

ข้อดีของการเรียนภาษาจีนตั้งแต่เด็ก ที่ลูกจะได้รับและนำไปใช้ในอนาคต

ภาษาเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ต่างๆ ซึ่งการเรียนภาษาต่างประเทศเพิ่มเติมนั้นถือว่าเป็นประโยชน์ต่อการเปิดโลก รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในอนาคตอย่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วภาษาที่จำเป็นต้องเรียนกันก็จะเป็นภาษาอังกฤษเพราะถือเป็นภาษาสากลที่คนส่วนใหญ่ใช้กันทั่วโลก แต่รู้หรือไม่ว่าในปัจจุบันนี้ภาษาจีนก็ถือเป็นอีกภาษาที่สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากจีนนั้นเรียกได้ว่าเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ของโลก และจำนวนประชากรที่ใช้ภาษาจีนก็มีอยู่มาก ทำให้จีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งต่อโลกและประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้นหลายๆ คนจึงสนใจที่จะเรียนภาษาจีนกันมากขึ้น และต้องการจะส่งเสริมให้ลูกๆ ได้เรียนภาษาจีนกันตั้งแต่เด็กๆ ข้อดีของการเรียนภาษาจีนจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

ภาษาจีนดียังไง ทำไมต้องเรียน

ภาษาจีนดียังไง ทำไมต้องเรียน

บางคนอาจจะสงสัยและอยากทราบว่าการเรียนภาษาจีนนั้นดีอย่างไร ทำไมหลายๆ คนถึงเลือกที่จะเรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง หรือภาษาที่สาม บอกเลยว่าข้อดีของการเรียนภาษาจีนนั้นมีมากมายหลายข้อด้วยกัน บทความนี้จะพาไปดูว่าการเรียนภาษาจีนนั้นมีข้อดีหรือประโยชน์อะไรบ้าง ลองไปดูกัน

  1. ภาษาจีนเป็นภาษาที่ผู้คนใช้พูดกันมากที่สุดในโลก โดยทั่วโลกมีผู้ใช้ภาษาจีนในการติดต่อสื่อสารกันมากกว่าหนึ่งพันล้านคน เนื่องจากว่าเป็นภาษาหลักที่ใช้กันในประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก มีจำนวนมากถึงประมาณ 1,400 ล้านคน นับเป็นจำนวนกว่า 1 ใน 5 ของประชากรทั้งโลก นอกจากในประเทศจีนแล้ว ภาษาจีนยังถูกใช้เป็นภาษาทางการในประเทศอย่างสิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า รวมถึงเป็นภาษาที่ใช้พูดกันอย่างแพร่หลายในประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ฯลฯ อีกด้วย
  2. จีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นในโลกค่อนข้างมาก โดยเฉพาะบทบาททางด้านเศรษฐกิจ เรียกว่าจีนเป็นหนึ่งในประเทศสำคัญ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจหรือผู้นำด้านเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก และมีแนวโน้มที่ตลาดของจีนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นหากเราเรียนรู้ภาษาจีนจะถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมากในการติดต่อทางธุรกิจ และการทำการค้า ช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ เช่น การนำเข้าส่งออกสินค้ากับต่างประเทศ การลงทุนกับต่างประเทศ เป็นต้น
  3. จีนมีอิทธิพลต่อด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย นักท่องเที่ยวชาวจีนถือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากสำหรับประเทศไทย ทำให้พ่อค้าแม่ค้าหรือผู้ที่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนนั้นต้องการที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนโดยการเรียนภาษาจีนเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารนั้นเพื่อเพิ่มข้อได้เปรียบของตน
  4. ทำความรู้จักเพื่อนคนต่างชาติ ผู้คนใหม่ๆ เช่น ในการไปเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ หรือมีนักเรียนแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศมาเรียนในประเทศไทย ก็สามารถที่จะใช้ภาษาจีนในการพูดคุยทำความรู้จักกับเพื่อนๆ ได้ หรืออาจจะเป็นการเดินทางไปท่องเที่ยวหรือทำงานในต่างประเทศ ก็สามารถใช้ทักษะภาษาจีนที่มีในการพูดคุยกับคนต่างชาติ เพื่อทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ เพิ่มความใกล้ชิดสนิทสนมได้ง่ายขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ใหม่ ที่หาไม่ได้จากในประเทศ
  5. การท่องเที่ยว หากคุณมีความสามารถที่จะพูดคุยภาษาจีนได้ จะถือว่ามีประโยชน์อย่างมากในการไปท่องเที่ยวในจีน หรือประเทศอื่นๆ ที่มีการใช้ภาษาจีน โดยคุณสามารถไปเที่ยวได้ด้วยตัวเองไม่ต้องไปพึ่งการท่องเที่ยวแบบทัวร์ที่จะต้องไปตามจุดหมายหรือตามแพลนที่กำหนดไว้เท่านั้น ทำให้สามารถท่องเที่ยวอย่างอิสระไปพร้อมกับได้พูดคุยกับคนท้องถิ่นได้เอง เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ ได้ทำความรู้จักและค้นพบความเป็นจีนอย่างแท้จริงอย่างที่นักท่องเที่ยวทั่วไปไม่ค่อยจะได้พบกัน อีกทั้งการที่คุณพูดภาษาจีนได้จะเป็นการสร้างความประทับใจให้กับคนท้องถิ่นที่ใช้ภาษาจีน นั่นจะทำให้การท่องเที่ยวของคุณเป็นการเดินทางที่มีคุณค่าและเพิ่มความประทับใจขึ้นอย่างแน่นอน
  6. เปิดโลกในการเรียนรู้ ทั้งในด้านการศึกษา การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ วัฒนธรรมต่างๆ ภาษาก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการหาข้อมูลสิ่งที่น่าสนใจต่างๆ นอกเหนือไปจากการค้นคว้าด้วยภาษาไทยเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้อารยธรรมของจีนเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานมาก การเรียนรู้ภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนจะทำให้คุณได้พบสิ่งที่น่าสนใจ และได้ทราบถึงรากฐานของวัฒนธรรมต่างๆ ที่อาจเป็นต้นกำเนิดของหลายๆ อย่างในปัจจุบัน
  7. เพิ่มโอกาสในการทำงาน การเรียนรู้ภาษาที่สองภาษาที่สามนั้นแน่นอนว่าเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเติบโตและเพิ่มความก้าวหน้าในการทำงานอย่างดี โดยเฉพาะภาษาที่มีคนใช้กันมากๆ อย่างภาษาอังกฤษและภาษาจีน ในกิจการที่มีขนาดใหญ่หรือมีการติดต่อทำธุรกิจกับต่างประเทศ มักต้องการผู้ที่มีทักษะความสามารถในการสื่อสารหลายภาษา อย่างธุรกิจที่มีคู่ค้าหรือเป็นบริษัทของจีนที่มีฐานการผลิตในไทยก็จะยิ่งต้องการคนที่สามารถใช้ภาษาจีนได้ ดังนั้นข้อดีของการเรียนภาษาจีนเพื่อเป็นภาษาที่สองที่สามนั้นจะทำให้คุณเป็นที่ต้องการของนายจ้างมากมาย พร้อมทั้งเป็นตัวช่วยในการช่วยเพิ่มเงินเดือนและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานของคุณได้อีกด้วย
  8. ช่วยพัฒนาสมองและพัฒนาศักยภาพของตนเอง การเรียนภาษาจีนเป็นการเพิ่มทักษะความสามารถของคุณ ที่จะเป็นสิ่งติดตัวที่ถือเป็นข้อได้เปรียบเมื่อต้องมีการเปรียบเทียบกับคนอื่น อาจจะเป็นในการเรียนต่อต่างประเทศ การสมัครงาน การไปทำงานต่างประเทศ การเลือกอาชีพงานก็จะมีตัวเลือกที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น อาจเป็นไกด์นำทาง ล่ามแปลภาษา ครูสอนภาษา พนักงานฝ่ายที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศ หรือฝ่ายการนำเข้าส่งออก นักเขียน เจ้าของธุรกิจ ฯลฯ 
  9. ภาษาจีนมีหลักไวยากรณ์ที่ไม่ยากนัก มีความตรงไปตรงมา จึงทำให้สามารถเรียนรู้ได้ง่าย ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก ทั้งนี้ภาษาจีนไม่มีเรื่องของการผันคำกริยาหรือการผันคำนามอย่างเช่น การผันคำกริยาตามรูปแบบโครงสร้างประโยคที่เป็น present, past, future หรือการเปลี่ยนคำสรรพนามตามเพศ คำนามที่เป็นเอกพจน์ พหูพจน์ ทำให้ไม่จำเป็นที่ต้องจดจำหลักการมากมาย  เพราะฉะนั้นการเรียนภาษาจีนนั้นไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนคิด นอกจากนี้อักษรจีนมีรากศัพท์พัฒนามาจากอักษรภาพ โดยมีลักษณะคล้ายการวาดภาพ ทำให้การจำอักษรจีนเข้าใจง่ายขึ้น
  10. ช่องทางการเรียนภาษาจีนมีมากมายหลายช่องทาง ไม่ใช่เพียงแค่การต้องมาเปิดพจนานุกรมท่องคำศัพท์ หรือต้องเปิดเสียงจากเทปฟังเพียงอย่างเดียว ในยุคสมัยปัจจุบันมีแพลตฟอร์มต่างๆ ที่สามารถเรียนรู้ภาษาจีนได้ง่ายและสะดวกขึ้น ทั้งคลาสเรียนตัวต่อตัว หรือคลิปวิดีโอออนไลน์ ที่มีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น หรือกระทั่งแอพพลิเคชันที่มีการใช้เกมลูกเล่นต่างๆ มาช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการเรียนและทำให้เรียนได้อย่างสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
ข้อดีของการเรียนภาษาจีนตั้งแต่เด็ก

ข้อดีของการเรียนภาษาจีนตั้งแต่เด็ก มีมากกว่าที่คิด แถมช่วยให้การใช้ชีวิตได้เปรียบ

หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าข้อดีของการเรียนภาษาจีนนั้นมีอะไรบ้าง พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนก็มีความต้องการที่จะให้ลูกๆ ได้เรียนภาษาจีนกัน แต่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นยังไง บอกเลยว่าการเริ่มเรียนภาษาตั้งแต่เด็กนั้น จะส่งผลดีต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งยังจะเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของลูกๆ มากกว่าที่คุณคิด โดยข้อดีของการเรียนภาษาจีนตั้งแต่เด็กนั้น มีดังนี้

  1. กระตุ้นพัฒนาการของสมอง ทั้งด้านการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์ การประมวลผลข้อมูลต่างๆ
  2. เพิ่มทักษะในการแก้ไขปัญหา ในการเรียนภาษาจีนนั้นจะทำให้เด็กๆ ได้ฝึกการแยกแยะความแตกต่างของชุดตัวอักษร โทนเสียง สำเนียงการพูด
  3. ฝึกฝนทักษะด้านความจำ ใช้ในการจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ และฝึกฝนสมองในส่วนของความจำได้มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการจดจำชุดตัวอักษรต่างๆ ทำให้ความจำดีขึ้นนั่นเอง
  4. เสริมสร้างทัศนคติที่ดี ความรอบรู้ รวมถึงการปรับตัวเปิดใจกว้างในการรับสิ่งใหม่ๆ
  5. เพิ่มความสามารถในการสื่อสาร ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน
  6. มีความมั่นใจในการพูดคุย สื่อสารภาษาต่างประเทศมากขึ้น
  7. เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ ของประเทศจีน
  8. การเรียนรู้ภาษาตั้งแต่อายุน้อยๆ จะได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าการมาเรียนในตอนที่อายุเยอะ การเรียนภาษาจีนตั้งแต่เด็กเป็นการวางรากฐานและปลูกฝังการใช้ภาษาที่ได้ผลดี
  9. เพิ่มโอกาสทางการเรียนในอนาคต เช่น อาจจะได้มีการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ หรือได้ทุนในการเรียนต่อ หากมีพื้นฐานการใช้ภาษา ก็จะมีโอกาสที่จะได้ไปเรียนในสังคมหรือประเทศเจ้าของภาษา
อยากส่งลูกเรียนภาษาจีน เลือกโรงเรียนสอนภาษาจีนที่ไหนดี

อยากส่งลูกเรียนภาษาจีน เลือกโรงเรียนสอนภาษาจีนที่ไหนดี

สำหรับผู้ปกครองท่านไหนที่กำลังตามหาสถาบันสอนภาษาจีนสำหรับลูกๆ ของท่าน ขอแนะนำ

‘Speak Up Language Center’ สถาบันสอนภาษาสำหรับเด็ก ซึ่งเปิดสอนตั้งแต่เด็กเล็ก เด็กอนุบาล จนถึงเด็กประถม ที่อยู่ในช่วงอายุ 2.5 ถึง 12 ปี ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน 

  • โดยมีการประยุกต์ใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) ที่เน้นความต้องการของเด็กเป็นสำคัญ โดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเรียนรู้สำหรับเด็ก มีการแบ่งกลุ่มตามช่วงอายุ มีการให้อิสระ ให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง 
  • สอนโดยคุณครูมืออาชีพที่มีประสบการณ์และเทคนิคการสอนภาษาเด็กเล็ก 
  • สถาบันสอนภาษา Speak Up Language Center มีจุดมุ่งหมายในการสอนภาษาอังกฤษและจีน ให้เด็ก ๆ ทุกคนสามารถปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองออกมาได้เต็มที่ รวมถึงมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ประยุกต์เข้ากับหลักสูตรการสอน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพูด อ่าน เขียน แม้กระทั่งร้องเพลงเป็นภาษานั้น ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ 
  • นอกจากนี้ สถาบันเน้นการสอนที่ให้เด็กๆ ทุกคนได้สนุกและมีความสุขกับการเรียนภาษา ทั้งยังเรียนรู้การใช้ภาษาได้อย่างมั่นใจ และสามารถนำภาษาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

สรุป

ข้อดีของการเรียนภาษาจีนนั้นมีประโยชน์และข้อดีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการในการติดต่อสื่อสาร เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ การลงทุน และการทำงาน เปิดโลกในการเรียนรู้วัฒนธรรมและอารยธรรมจีน รวมถึงประสบการณ์ในการท่องเที่ยว และยังช่วยพัฒนาทักษะความสามารถทางด้านภาษาของคุณ

การเริ่มเรียนรู้ภาษาจีนตั้งแต่เด็ก ๆ ยิ่งจะทำให้สามารถเรียนรู้ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังช่วยในการพัฒนาของสมองทั้งด้านความคิดสร้างสรรค์ ความจำ การคิดแก้ไขปัญหา เสริมสร้างทักษะการสื่อสาร และเป็นการวางรากฐานเพื่ออนาคตที่ดีให้กับลูก ๆ ของคุณ

สำหรับใครที่สนใจอยากให้ลูกหลานได้เรียนภาษาสามารถติดต่อ Speak Up Language Center ซึ่งเป็นสถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กที่มีการแผนการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ที่จะทำให้เด็ก ๆ ได้มีความสุขกับการเรียนภาษา ทั้งยังเรียนรู้การใช้ภาษาได้อย่างมั่นใจ และสามารถนำภาษาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

ปกบทความ วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

ปลดล็อคปัญหาลูกพูดน้อย กับ 7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดเก่งอย่างมีพัฒนาการ

วัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเฝ้ามองพัฒนาการของลูกเป็นกิจวัตรที่คนเป็นพ่อแม่มักจะตื่นเต้นเสมอ เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มที่จะตัวโตขึ้น เริ่มตั้งไข่ หรือเริ่มพูดได้ แต่ถ้าหากว่าลูกของเรามีพัฒนาการบางอย่างที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ก็อาจเริ่มทำให้พ่อแม่หลายคนเกิดความกังวลใจ

หนึ่งในปัญหาหนักอกหนักใจของพ่อแม่ ผู้ปกครองอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจเลยก็คือ ปัญหาลูกไม่ยอมพูด พูดน้อย หรือมีพัฒนาการเกี่ยวกับการพูดที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น ซึ่งปัญหาด้านการพูดเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากกุมารแพทย์ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร เพื่อได้รับการแก้ไขได้อย่างตรงจุด ดังนั้น ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีกระตุ้นให้ให้ลูกพูด รวมถึงบอกสาเหตุ และวิธีแก้ปัญหาที่จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีพัฒนาการด้านการพูดที่ดีขึ้น

เด็กจะเริ่มพูดได้ตอนไหน?

เด็กจะเริ่มพูดได้ตอนไหน?

พ่อแม่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าพัฒนาการด้านการพูดของเด็กที่เหมาะสมกับวัยมีอะไรบ้าง หลายๆ ครั้งเรื่องการพูดช้า หรือพูดน้อยในเด็กถูกมองข้ามไป เพราะคิดว่าเขายังเด็กอยู่ เดี๋ยวก็พูดได้เอง หรือเด็กมีการพูดบ้าง แต่พูดน้อย สร้างประโยคไม่ได้ พอสื่อสารได้ แต่ไม่เหมาะสมกับวัยของเขา

เพื่อให้พัฒนาการเกี่ยวกับการพูดของลูกน้อยเป็นไปอย่างปกติ พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องจับตามองเรื่องการพูดของลูกตั้งแต่วัยทารกกันเลย เพราะในแต่ละช่วงอายุของเด็กก็มีพัฒนาการด้านการพูดที่แตกต่างกันออกไป มาลองตรวจสอบกันดูดีกว่าว่า เด็กเริ่มพูดตอนไหน และลูกของคุณสามารถพูด หรือสื่อสารได้เหมาะสมกับวัยหรือเปล่า

  • วัยทารก (แรกเกิด – 1 ปี)

เด็กทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 เดือนจะเริ่มมีการตอบสนองต่อเสียงพูดของพ่อแม่ และมีการโต้ตอบกลับด้วยเสียงอ้อแอ้ รวมทั้งสามารถเปล่งเสียงแสดงอารมณ์พอใจ หรือไม่พอใจได้ เช่น หัวเราะ ร้องไห้ ซึ่งการสื่อสารในวัยนี้ พ่อแม่จะต้องพยายามทำความเข้าใจ และแยกแยะให้ออกว่า ร้องไห้เพราะอะไร ง่วงนอน หิว ไม่สบายตัว หรือขับถ่าย เป็นต้น

เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 6 – 12 เดือน ทารกจะเริ่มเข้าใจคำสั้นๆ เวลาบอกว่าไม่ เริ่มออกเสียงเป็นคำที่ไม่มีความหมายซ้ำๆ เช่น บาบา (ba-ba) ดาดา (da-da) หรือมามา (ma-ma) มีการพยายามสื่อสารด้วยภาษากาย ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เริ่มเลียนเสียงการพูดของผู้ใหญ่ และเริ่มพูดคำแรก ซึ่งเป็นโมเมนต์สำคัญที่พ่อแม่เฝ้ารอเลยล่ะ

  • วัยเตาะแตะ (1 – 3 ปี)

เมื่ออายุ 12 – 17 เดือน เด็กจะเริ่มใช้คำที่มีความหมายมากขึ้น เรียกพ่อ หรือแม่ และตอบคำถามง่ายๆ ได้ อีกทั้งยังมีการใช้คำ 2 – 3 คำเพื่อเรียกสิ่งต่างๆ พยายามเลียนเสียงคำง่ายๆ ในช่วงนี้การออกเสียงอาจจะยังไม่ชัด เมื่ออายุถึง 18 – 23 เดือน จะเริ่มมีคลังคำศัพท์ที่มากขึ้น เรียกชื่ออาหารที่ทานเป็นประจำได้ เลียนเสียงสัตว์ และเริ่มผสมคำเป็นวลีสั้นๆ เช่น หิวนม กินข้าว เป็นต้น เมื่ออายุครบ 2-3 ปี สามารถใช้คำคุณศัพท์เพื่ออธิบายคำต่างๆ ได้ ตอบคำถามง่ายๆ และเข้าใจคำสั่งที่ยากขึ้นได้ ที่สำคัญการพูดมีความชัดเจนขึ้น สื่อสารรู้เรื่องมากขึ้น และพูดเป็นประโยคที่ยาวขึ้น

  • เด็กเล็ก (3 – 5 ปี)

เมื่อเข้าสู่วัยเด็กเล็กช่วง 3 – 4 ปี เด็กจะเริ่มมีการสื่อสารเพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้นกว่าเดิม แทนที่จะพูดถึงสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างเดียว การออกเสียงก็มีความชัดเจนขึ้น บุคคลที่ไม่ใช่พ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดก็สามารถเข้าใจในสิ่งที่เด็กสื่อสารได้ เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 4 – 5 ปี เด็กๆ จะเริ่มเข้าใจคำถามที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงมีการใช้ประโยคที่มีความยาว 8 คำ หรือมากกว่านั้นได้ รวมถึงเริ่มมีส่วนร่วมในการสนทนา

อาการของปัญหาด้านการพูด

อาการแบบไหนที่บอกว่าลูกของเรากำลังมีปัญหาด้านการพูด

พ่อแม่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าอาการที่บ่งบอกว่ามีปัญหาด้านการพูดมีลักษณะเป็นอย่างไร และลูกของเรามีพัฒนาการด้านการพูดปกติหรือเปล่า บางทีการเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่นๆ วัยเดียว กันอาจจะไม่ได้คำตอบที่แน่ชัด เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่ต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า อาการใดบ้างที่ควรจับตามองเป็นพิเศษ เพราะอาการเหล่านี้รู้เร็ว สามารถแก้ไขได้ง่ายกว่าการปล่อยไว้ ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งปัญหาใหญ่ที่แก้ยาก แถมยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเด็กในอนาคตได้

  • พูดติดอ่าง พูดไม่ชัด
  • การใช้เสียงผิดปกติ
  • อายุ 2 ขวบแล้ว แต่ยังไม่สามารถพูดได้
  • ไม่สามารถใช้ประโยคสั้นๆ ในการสื่อสารเมื่อมีอายุ 3 ขวบขึ้นไป
  • เมื่อมีอายุได้ 4-5 ปี ไม่สามารถพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวง่ายๆ

บางครั้งปัญหาด้านการพูดอาจเกี่ยวเนื่องกับอาการออทิสติก ซึ่งจะมีอาการแตกต่างจากปัญหาพูดช้า (Speech Delay) อยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาไม่สบตา ปัญหาด้านการเข้าสังคม การสื่อสาร เรียกแล้วไม่รับปากแม้จะได้ยินปกติ ไม่ค่อยเลียนแบบเสียง อารมณ์ หรือท่าทาง เป็นต้น

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมพูด หรือลูกพูดช้าเกิดจากอะไร

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมพูดหรือพูดช้าเกิดจากอะไร?

สาเหตุที่บ่งบอกว่าลูกมีปัญหาการพูดสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาลูกพูดช้า ไม่ยอมพูด ไม่กล้าพูด พ่อแม่จึงต้องหาสาเหตุให้เจอว่าเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่ที่ทำการพูดของลูกไม่พัฒนาไปตามธรรมชาติและวัยของเขาอย่างเหมาะสม บางรายสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ในครรภ์จากการตรวจดูโครโมโซม หากความผิดปกติด้านการพูดเกิดจากสาเหตุของโรคพันธุกรรม

  • ความผิดปกติทางการพูด

หากลูกมีอายุ 3 ขวบแล้วแต่ยังไม่สามารถสื่อสารโดยใช้คำได้ ถึงแม้ว่าจะสามารถเข้าใจและสื่อสารแบบอวัจนภาษาได้ หรือสามารถพูดได้แค่คำสั้นๆ แต่มาประกอบเป็นวลีหรือประโยคง่ายๆ ไม่ได้ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกของคุณมีความผิดปกติทางด้านการพูด ในบางกรณีมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านสมองที่ทำให้การเรียนรู้ผิดปกติ ซึ่งสาเหตุมาจากการคลอดก่อนกำหนด

  • ความผิดปกติของการได้ยิน

ถ้าลูกยังพูดไม่ได้ บางครั้งปัญหานี้ก็เกิดจากการได้ยินที่บกพร่อง ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่สามารพูดออกมาเป็นคำได้ วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าลูกของคุณมีการได้ยินที่ปกติหรือไม่ พ่อแม่สามารถทดสอบได้โดยการสังเกตว่าลูกมีการตอบสนองเมื่อกล่าวชื่อสิ่งของหรือไม่ หรือตอบสนองต่อท่าทางเท่านั้น

  • ขาดการกระตุ้น

การเรียนรู้ที่จะพูดจำเป็นต้องมีทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสาร โดยมีการโต้ตอบกัน เด็กบางคนขาดการกระตุ้นโดยการพูดคุยกับพ่อแม่ แต่อยู่กับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งวันอาจทำให้เด็กพูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถพูดคุยโต้ตอบได้แบบปกติ โดยปัจจัยที่ส่งผล คือ การปล่อยปะละเลย การทารุณกรรม และขาดการกระตุ้นให้ลูกพูด

  • ความผิดปกติทางสมอง

ความผิดปกติทางสมองเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อบางอย่างที่ส่งผลต่อการพูด เช่น ภาวะสมองพิการ (Cerebral Palsy) โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)
การบาดเจ็บทางสมอง (Traumatic brain Injury)

  • ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disability)

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาส่งผลต่อการพูดของเด็กที่ช้าลง เพราะเด็กที่มีภาวะนี้จะมีปัญหาด้านทักษะการเข้าสังคมและทักษะภาษาที่ช้า ไม่สมกับวัยของพวกเขา

วิธีที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกพูด

วิธีไหนที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกพูดเก่งขึ้น

เมื่อรู้แล้วว่าลูกของเรามีความผิดปกติด้านการพูด และมาจากสาเหตุอะไร ขั้นตอนต่อไป คือต้องกระตุ้นการพูดของลูก เด็กที่มีปัญหาไม่ยอมพูด หรือพูดไม่ได้ พ่อแม่ หรือผู้ปกครองสามารถหากิจกรรมที่กระตุ้นให้ลูกพูดได้ โดยต้องใช้ความพยายาม อดทน ใจเย็น และกระตุ้นให้ลูกพูดอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด และแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมมากที่สุด หลายๆ ครั้ง สาเหตุที่ทำให้เด็กพูดช้ามาจากความผิดปกติของร่างกาย หรือมีภาวะออทิสติก ก็สามารถทำการรักษากับคุณหมออย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการกระตุ้นการพูดของลูกที่บ้านตามคำแนะนำของแพทย์ได้เลย

โดยในหัวข้อนี้จะมาแนะนำทริคกระตุ้นให้ลูกพูดที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะป้องกันไว้ก่อน หรือกระตุ้นเพื่อให้ลูกพูดได้เป็นปกติเหมาะสมกับวัยของเขา

  • พยายามไม่จับผิด

บางครั้งเมื่อลูกต้องการสื่อสารกับเรา ก็ไม่ควรที่จะพยายามคอยจับผิดหรือตัดสินเขา เพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจ หรือไม่กล้าที่จะพูดได้ ซึ่งพ่อแม่ควรจะเป็นผู้ฟังที่ดี อย่าให้ลูกรู้สึกว่าไม่อยากพูดคุยด้วย ถ้าเห็นว่าลูกไม่สามารถสื่อสารความรู้สึกนึกคิดออกมาได้ดีเท่าที่ควร ก็ควรใช้ความเข้าใจในการพูดคุย

  • ให้ลูกได้ตอบคำถามเอง

เมื่อมีคนพยายามพูดคุยและถามคำถามกับลูกของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ญาติๆ หรือคนรู้จัก ต้องปล่อยให้เขาได้ตอบคำถาม และพูดคุยกับคนเหล่านี้เอง โดยไม่ต้องไปตอบแทน ผู้ปกครองบางคนเห็นว่าลูกขี้อาย ก็เลยตอบคำถามแทนลูก แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง และพ่อแม่ หรือผู้ปกครองควรสนับสนุนให้ลูกได้กล้าพูด และกล้าตอบคำถามมากขึ้น

  • ให้ลูกได้เลือก

วิธีนี้คือการถามคำถามง่ายๆ ว่าต้องการอะไร โดยการให้ทางเลือก เช่น อยากดื่มนมช็อกโกแลต หรือนมสตรอว์เบอร์รี เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เด็กกล้าพูด กล้าเลือก และกล้าแสดงความต้องการของตัวเองออกมา

  • ไม่นิยามและเปรียบเทียบ

การที่เราไปนิยามว่าลูกของตนเองเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่นๆ หรือพี่น้องของพวกเขาเอง เพราะเป็นการกระทำที่ลดความมั่นใจของพวกเขา ดังนั้น จึงควรสนับสนุนพวกเขาด้วยการชื่นชมจะดีกว่า

  • หาเวลาพูดคุย

เมื่อมีเวลาว่างควรชวนลูกพูดคุยเรื่องราวที่พวกเขาสนใจ ถามไถ่ และเป็นผู้ฟังที่ดี ที่สำคัญอย่าลืมลองถามคำถามปลายเปิดให้ลูกรู้สึกว่าการสนทนาน่าสนใจมและทุกคนมีส่วนร่วม รวมถึงใช้คำพูดที่ทำให้เขาอยากเล่าสิ่งต่างๆ ให้ฟัง

กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาและกระตุ้นการพูดของลูก

แนะนำ 5 กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาและกระตุ้นการพูดของลูกน้อยได้ดีขึ้น

การทำกิจกรรมร่วมกันนอกจากจะเป็นวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด และเป็นการสานสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวแล้ว ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกในด้านการพูดได้ หากเลือกกิจกรรมที่มีความเหมาะสม และกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการด้านการพูดที่สมวัย มาดูกันว่า มีกิจกรรมอะไรบ้างที่น่าสนใจ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี

  1. เกมคำศัพท์

วิธีนี้เป็นการชวนลูกเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มคลังคำศัพท์ของพวกเขาให้มากขึ้น ซึ่งเกมคำศัพท์สามารถชวนลูกเล่นได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม อาจเป็นการชี้ไปยังสิ่งของต่างๆ รอบตัว และถามว่าสิ่งนั้นคืออะไร สิ่งนี้เรียกว่าอะไร หรือใช้บัตรคำที่เป็นรูปภาพก็ได้ สามารถสอนภาษาที่ 2 หรือ 3 ควบคู่กับภาษาแม่ จะช่วยให้เด็กมีทักษะภาษาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

  1. อ่านนิทาน

การอ่านนิทานเป็นกิจกรรมที่ทุกบ้านควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะกระตุ้นจินตนาการแล้ว ยังช่วยให้ลูกๆ ได้เรียนรู้คำศัพท์ผ่านภาพ และเสียงเพิ่มเติมด้วย โดยพ่อแม่อาจลองชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวที่อ่าน และลองให้พวกเขาเล่าเรื่องราวผ่านจินตนาการของตัวเอง วิธีนี้ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะการสื่อสารได้มากขึ้นอีกด้วย

  1. ร้องเพลง

ไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ชอบการร้องเพลง พ่อแม่สามารถชวนเด็กๆ ร้องเพลงที่พวกเขาชื่นชอบได้ วิธีจะช่วยให้จำคำศัพท์ได้รวดเร็ว ฝึกการพูดการเปล่งเสียงให้คล่องแคล่ว และยังทำให้เด็กกล้าพูด กล้าแสดงออกอีกด้วย

  1. สอนนับเลข

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่แสนง่าย แต่ได้ผลดี คุณสามารถสอนให้เด็กๆ รู้จักกับตัวเลข โดยการชวนเล่นเกมนับเลข อาจจะนับนิ้วมือ นับขั้นบันได นับจำนวนตัวต่อของเล่น เป็นต้น นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้พูดได้แล้ว ยังช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้เรื่องการนับเลขอีกด้วย

  1. เรียนรู้คำพ้อง

กิจกรรมเรียนรู้คำพ้องจะช่วยขยายคลังคำศัพท์ของเด็กๆ ได้ดี คำพ้องเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเด็กๆ ให้พวกเขาได้ลองนึกคำศัพท์ที่พ้องรูป พ้องเสียง แล้วให้ความหมายที่ถูกต้อง ซึ่งพ่อแม่สามารถเพิ่มเติมเรื่องคำศัพท์และให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่พวกเขา ดังนั้น การทำกิจกรรมจะช่วยให้เด็กๆ มีทักษะการฟัง และการคิดที่ดีขึ้นได้แบบก้าวกระโดด

สรุป

ปัญหาลูกพูดน้อย ไม่กล้าพูด เป็นปัญหาที่พ่อแม่หลายคนกำลังเผชิญ เพราะว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สดใส ช่างพูด ขยันถามคำถาม แต่หากลูกของเรากลับเงียบ ไม่ยอมพูดก็คงหนักใจไม่น้อย แต่ปัญหาเหล่านี้ก็สามารถแก้ได้ หากพ่อแม่ใส่ใจ และคอยติดตามดูพัฒนาการด้านการพูดของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด พร้อมใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด เช่น ชวนลูกมาทำกิจกรรมสนุกๆ ที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้ลูกพูดเก่ง เพียงแค่นี้ลูกของคุณก็สามารถมีพัฒนาการที่สมวัยได้ พร้อมออกไปเผชิญโลกกว้างได้อย่างมั่นใจ

10 วิธีรับมือกับปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน

หนูไม่ได้ขี้เกียจ!! ลองใช้ 10 วิธีนี้ รับมือกับปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน

เมื่อภาคเรียนใหม่มาถึง ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจต้องเตรียมพร้อมรับมือกับศึกหนักจากลูกน้อยที่งอแง ร้องไห้ ไม่อยากไปโรงเรียน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ 


ในบทความนี้ Speakup Language จะมาแนะนำให้คุณผู้ปกครองที่กำลังกังวลกับอาการที่ลูกน้อยไม่ยอมไปโรงเรียนได้ทราบว่า สาเหตุที่ลูกไม่อยากไปโรงเรียนมีอะไรบ้าง และควรรับมือ หรือแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไร

มารู้จัก School Refusal ภาวะที่เด็กไม่อยากไปโรงเรียนกันก่อน

มารู้จัก School Refusal ภาวะที่เด็กไม่อยากไปโรงเรียนกันก่อน

ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน (School Refusal) คือ การที่เด็กไม่อยากไปโรงเรียน หรือต่อต้านการไปโรงเรียน โดยทั่วไปไม่นับว่าเป็นอาการของความผิดปกติที่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในทางการแพทย์ แต่ภาวะดังกล่าวนิยมใช้เพื่อจำกัดความถึงปัญหาสภาวะทางอารมณ์และจิตใจ ซึ่งมักกระตุ้นให้เด็กๆ แสดงพฤติกรรมเอาแต่ใจออกมา เช่น งอแง ร้องไห้ หรือมีอารมณ์รุนแรง นอกจากนี้ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ หรือเกิดความเครียดที่ทำให้เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ อยู่เสมอ จนทำให้หลายครั้ง ผู้ปกครองต้องจำยอมให้หยุดโรงเรียนอยู่บ้าน

ทำไมจู่ๆ โรงเรียนจึงกลายเป็นฝันร้ายสำหรับลูกน้อย

ทำไมจู่ๆ โรงเรียนจึงกลายเป็นฝันร้ายสำหรับลูกน้อย

เด็กหลายคนอาจงอแงไม่ยอมไปโรงเรียน เนื่องมาจากวุฒิภาวะตามช่วงวัย หรืออาจเป็นเพราะเด็กๆ ติดคุณพ่อคุณแม่มากจนไม่อยากไปโรงเรียน ตลอดจนทำไปเพราะต้องการความสนใจ แต่ก็ไม่ใช่กับเด็กทุกคนเสมอไป เพราะบางทีการที่ลูกน้อยร้องไห้ งอแง หรือแสดงออกรุนแรงนั้น ก็อาจมาจากสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้โรงเรียนเปรียบเสมือนฝันร้ายของเด็กๆ ที่คุณผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม ได้แก่

ถูกปลูกฝังให้กลัวโรงเรียนโดยไม่ตั้งใจ

หลายครั้ง การที่เด็กไม่กล้าทำ หรือไ่ม่อยากทำอะไร ล้วนมีสาเหตุมาจากการห้ามปราม หรือขู่เล่นๆ ของผู้ปกครอง เช่น “ถ้าดื้อจะให้คุณครูตีเลยนะ” ซึ่งอาจทำให้เด็กกลัวจนไม่กล้าไปโรงเรียน

กลัวคุณครู

คุณครูบางคนอาจมีลักษณะ หรือท่าทีการแสดงออกที่เด็กไม่คุ้นชิน เช่น คนที่บ้านอาจคุยด้วยเสียงไม่ดังมาก เมื่ออยู่โรงเรียนแล้วคุณครูพูดเสียงดังเพื่อให้เด็กทั้งห้องได้ยินอย่างทั่วถึง ก็อาจทำให้ลูกตกใจ ไม่ชอบ หรือกลัว คิดว่าคุณครูดุได้

ถูกเพื่อนแกล้งหรือโดนล้อ

การที่ไปโรงเรียนแล้วโดนเพื่อนแกล้ง หรือโดนเพื่อนล้อ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย หากรุนแรงอาจทำให้เด็กวิตกกังวล และถ้าไม่หมั่นสังเกตลูกน้อยบ่อยๆ ก็อาจร้ายแรงกว่านั้นได้

ไม่มีเพื่อน

เมื่อไปโรงเรียนที่เต็มไปด้วยเด็กคนอื่นๆ แต่กลับไม่มีเพื่อนเล่นด้วย ทำให้ต้องเล่นคนเดียวในขณะที่เด็กคนอื่นๆ เล่นสนุกด้วยกันเป็นกลุ่ม ก็ส่งผลให้เด็กอาจขาดความมั่นใจ หรือรู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ หากปล่อยไว้ อาจทำให้เป็นปัญหาระยะยาวในอนาคตได้

สภาพแวดล้อมที่โรงเรียนไม่เอื้อ หรือส่งเสริมการเรียนรู้และการแสดงออก

เด็กๆ อาจรู้สึกอ่อนไหว หรือถูกกดดันได้ง่ายเป็นพิเศษเมื่อต้องทำตามคำสั่งแทนที่จะได้เล่น หรือทำอะไรแบบที่สบายใจ หรือเมื่ออยู่ในห้องเรียนไม่ได้รับความเอาใจใส่และการส่งเสริมเท่าที่ควร เด็กๆ อาจพาลไม่อยากไปเรียน ไปจนถึงขาดความมั่นใจในการเรียนรู้ได้

เลือกกิน

ผู้ปกครองหลายคนอาจคิดไม่ถึงว่าแค่เรื่องอาหารการกินจะทำให้เด็กงอแงไม่ยอมไปโรงเรียน แต่สำหรับเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กแล้วนั้น การกินถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ยิ่งถ้าเลือกกิน หรือกินยาก แล้วอาหารที่โรงเรียนไม่ถูกปาก ก็จะพาลไม่อยากไปเรียนได้ง่ายๆ

ลองใช้วิธีเหล่านี้รับมือ “ลูกไม่อยากไปโรงเรียน” แล้วลูกๆ จะรักการไปโรงเรียนมากขึ้น

ลองใช้วิธีเหล่านี้รับมือ “ลูกไม่อยากไปโรงเรียน” แล้วลูกๆ จะรักการไปโรงเรียนมากขึ้น

เพียงคุณผู้ปกครองพยายามทำความเข้าใจ ไปพร้อมกับการปรับเปลี่ยนความคิดและความเข้าใจของเด็กๆ เสียใหม่ การไปโรงเรียนก็จะไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัวอย่างเคย จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

เด็กๆ ต้องพักผ่อนมากเพียงพอ

สิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่ต้องดูแลให้ดี คือ การจัดเวลาให้เด็กนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอและชัดเจน เพื่อให้พร้อมรับเช้าวันใหม่ที่ต้องไปเรียน แต่ไม่ควรใช้วิธีบังคับหักดิบ เพราะนั่นอาจยิ่งกระตุ้นให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนมากกว่าเดิมได้ 

ทางที่ดี ควรมีการทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้รู้ว่าถึงเวลาที่ควรเข้านอนได้แล้วให้เป็นกิจวัตร เช่น การอ่านนิทาน หรือร้องเพลงกล่อม เพื่อให้เด็กๆ เข้านอนอย่างสบายๆ และไม่รู้สึกติดค้างเมื่อตื่นขึ้นมา

ปูพื้นความเข้าใจ โรงเรียนไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

ผู้ปกครองควรเป็นอีกเสียงที่สนับสนุนการไปโรงเรียนให้เด็กๆ ได้รับรู้ สามารถทำได้โดยการเล่าเรื่องสนุกๆ วัยเด็กของตัวเองให้ลูกฟัง ว่าไปโรงเรียนทำอะไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น ได้เล่นกับเพื่อน เล่นของเล่นหลากหลาย อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งเป็นการสอนให้เด็กคุ้นชิน และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์คล้ายๆ กันที่พวกเขาอาจเจอเมื่อต้องไปโรงเรียน

สอนลูกเรื่องการกินและการใช้ชีวิตที่โรงเรียน

ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจเข้าใจผิด คิดว่าส่งลูกไปโรงเรียนก็พอ เดี๋ยวที่เหลือให้คุณครูสอน แต่ในความเป็นจริงนั้น ครอบครัวส่งอิทธิพลอย่างมากในการแสดงออก ตลอดจนความคิดความอ่านของเด็กๆ 

เรื่องเล็กๆ อย่างการกินก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในภายหลัง ถ้าเด็กไม่ได้รับการฝึกฝนให้กินอย่างถูกต้อง หรือการรอคอย การทำตามคำสั่งด้วยตัวเองก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีเวลาอยู่กับลูกก็ควรให้ความสำคัญและฝึกฝนในเรื่องนี้ เพื่อให้เด็กปรับตัวได้เร็วเมื่อต้องไปโรงเรียน

อยู่เป็นเพื่อนลูกในเวลาที่เหมาะสม

การไปโรงเรียนโดยเฉพาะครั้งแรก ย่อมเป็นธรรมดาที่จะทำให้เด็กรู้สึกตระหนก แปลกที่แปลกทาง และหวาดกลัว คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่กับลูกสักระยะหนึ่ง เพื่อพาลูกสำรวจพื้นที่โดยรอบโรงเรียนหากสามารถทำได้ เช่น พาลูกไปดูสนามเด็กเล่น พาไปส่งที่ห้องเรียน 

แต่หากไม่สามารถทำได้ ในวันแรกควรแนะนำเด็กไว้กับคุณครูประจำชั้น บุคคลที่เกี่ยวข้อง หรืออาจหาเพื่อนให้ลูก และปล่อยให้ได้ทำความรู้จักกันเอง เพื่อให้เด็กปรับตัวหรือคุ้นเคยกับโรงเรียนได้ง่ายขึ้น และเป็นการเว้นระยะเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ลูกงอแง หรือติดเราจนเกินไป

ไม่โกหกเด็ก

ข้อห้ามที่สำคัญมากๆ คือ อย่า “หลอก” ลูกไปโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น การอ้างหรือยกสิ่งต่างๆ ขึ้นมาล่อ แล้วไม่ทำตามสัญญา แต่ให้คุยกับลูกด้วยความจริง เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้การไปโรงเรียนครั้งต่อๆ ไปยากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าไปโรงเรียน เดี๋ยวตอนเย็นกลับมาจะพาไปกินไอศกรีม แต่ไม่พาไปจริง หรือ เมื่อลูกถามว่าจะมารับเมื่อไหร่ อย่าบอกแค่เพียงว่า “เดี๋ยวแม่มารับ” ให้ลองปรับเปลี่ยนเป็นตารางเวลาที่เด็กจะสามารถจำได้ เช่น “เดี๋ยวตื่นลูกตื่นจากนอนกลางวัน แปรงฟัน กินนม แม่ก็มารับแล้ว” หรือหากเป็นเด็กโตหน่อย อาจบอกให้ลูกรู้เวลาที่แน่ชัดด้วยได้ เพื่อสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะรอคอย และวางแผนสิ่งที่จะทำในวันนั้นๆ ที่โรงเรียน เป็นต้น

 

สิ่งสำคัญ คือ ไม่ควรปล่อยให้ลูกรอนาน หากมีธุระที่ทำให้ช้ากว่าที่ตกลงกันไว้ ผู้ปกครองควรแจ้งคุณครูให้ทราบ เพื่อที่คุณครูจะได้คุยกับเด็ก หรือหากิจกรรมให้ทำระหว่างรอ

ให้เด็กๆ เล่าเรื่อง

วิธีที่ง่าย และสามารถทำได้อย่างเป็นธรรมชาติที่สุดอีกวิธีหนึ่ง คือ การคุยกับเด็กบ่อยๆ เปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้เล่าว่าในแต่ละวันที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง ผู้ปกครองอาจเตรียมคำถามหรือเรื่องราวเพื่อชวนคุย อาจเป็นระหว่างทางที่รับลูกกลับบ้าน หรือระหว่างทานข้าวร่วมกัน ให้เขารู้สึกว่ามีคนรับฟัง

 

และหากสังเกตว่ามีเรื่องอะไรก็ตามที่เหมือนจะเป็นปัญหา เช่น เพื่อนแกล้ง คุณครูเสียงดัง ฯลฯ จะได้หาวิธีการรับมือต่อไปได้ถูกต้อง

หมั่นเติมพลังบวกกับลูกเสมอๆ

การเติมพลังบวกให้ลูกสามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะผ่านทางคำพูดชมเชยเมื่อลูกทำได้ดี เช่น ”วันนี้เก่งมากเลย สามารถใส่รองเท้านักเรียนเองได้แล้ว” หรือสามารถถ่ายทอดออกมาผ่านการกระทำ ไม่ว่าจะเป็น การกอด หอม อุ้ม หรือพาไปทานของอร่อย พาไปเที่ยวเล่น 

หากเด็กๆ กำลังเผชิญกับปัญหาบางอย่าง ผู้ปกครองควรให้กำลังใจ และพลิกคำเชิงลบทั้งหมดให้เป็นคำเชิงบวก  เช่น เรียนไม่เข้าใจ ให้คุยกับลูกว่า “วันนี้ยังไม่เข้าใจไม่เป็นไรนะ ไว้ลองกันอีกที” ทำกิจกรรมในห้องได้ไม่ดีนัก ให้สอนลูกว่า “ครั้งต่อไปต้องทำได้ดีขึ้นแน่ เพราะมีประสบการณ์แล้ว”

และหากสังเกตว่ามีเรื่องอะไรก็ตามที่เหมือนจะเป็นปัญหา เช่น เพื่อนแกล้ง คุณครูเสียงดัง ฯลฯ จะได้หาวิธีการรับมือต่อไปได้ถูกต้อง

5 กิจกรรมเพิ่มความสนุกในห้องเรียน

อยากให้เด็กรักการไปโรงเรียน ต้องทำห้องเรียนให้สนุก กับ 5 กิจกรรมเพิ่มความสนุกในห้องเรียน

เมื่อเตรียมความพร้อมลูกๆ เรียบร้อย สิ่งสุดท้ายที่จะช่วยให้ลูกไ่ม่งอแง และแก้ปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียนในครั้งต่อๆ ไป คือ การช่วยให้พวกเขาเห็นว่าการเรียนสนุก เพราะเด็กหลายคนอาจไม่ชอบใจที่ต้องถูกบังคับให้เรียน ผู้ปกครองสามารถปรับเปลี่ยนความคิดของลูกๆ ได้โดยการฝึกให้ลูกเรียนผ่านการทำกิจกรรมกับลูก ดังนี้

1. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ศิลปะมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การวาดรูป ระบายสี การปั้นแป้งโด ทั้งตามคำสั่ง หรือตามจินตนาการของเด็ก ตลอดจนทำงาน DIY ต่างๆ เช่น ตัดกระดาษทำเป็นหน้ากาก หรือตัวละครต่างๆ แล้วนำมาประกอบการเล่าเรื่อง หรือเล่านิทาน ก็จะช่วยฝึกสกิลการเรียนรู้ไปพร้อมกับฝึกกล้ามเนื้อ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กๆ พร้อมที่จะทำกิจกรรมในห้องเรียนจริงได้ด้วย

2. เกมส์ฝึกความจำ

ไม่ว่าจะเป็นการเล่นทายคำศัพท์จาก Flash Card ที่เป็นรูปภาพ หรือ ยากขึ้นมาหน่อยอย่างการเล่น Spelling Bee หรือเกมส์สะกดคำ จะช่วยให้ลูกมีส่วนร่วมในห้องเรียนได้มากขึ้น มีความกล้าที่จะตอบคำถาม หรือริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายกว่า เพราะเมื่อเด็กๆ คุ้นเคยกับการทำตามเงื่อนไขจากการสอนของผู้ปกครองแล้ว เด็กๆ ก็จะจำได้และมีความมั่นใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริงในห้องเรียนนั่นเอง

3. ฝึกการอ่านกับบทบาทสมมติ

การสอนลูกอ่านหนังสือเริ่มง่ายๆ จากการอ่านนิทานให้ฟังก่อนนอน แล้วเด็กๆ จะมีการซึมซับนิสัยรักการอ่าน และหากคุณพ่อคุณแม่มีการปรับให้ลูกๆ ได้มีโอกาสแสดงเป็นตัวละครเอง หรือร่วมเล่าเรื่องด้วย ก็จะสามารถฝึกความคิดสร้างสรรค์และความกล้าแสดงออกที่จะทำให้เด็กๆ มีความสุขเมื่อต้องทำกิจกรรมที่โรงเรียนด้วย

4. กิจกรรมกลางแจ้งต้องไม่ขาด

อย่าสอนลูกอยู่แต่ในบ้านเพียงอย่างเดียว แต่ควรให้ลูกได้ออกมารับแดด ขยับร่างกายอย่างเต็มที่ผ่านการออกกำลังกาย  หรือเล่นเครื่องเล่นตามสนามเด็กเล่นบ้าง เพราะจะช่วยให้เด็กๆ ได้ทดลองทำกิจกรรมที่ท้าทาย ฝึกความกล้า และเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กคุ้นชินกับกิจกรรมที่โรงเรียนได้ง่ายขึ้น อาการงอแงหรือความเบื่อหน่าย ไม่ชอบไปโรงเรียนก็จะลดน้อยลง

5. ไม่ปล่อยให้ลูกเรียนรู้คนเดียว

เด็กอาจปรับตัวได้ยากหากพ่อแม่ไม่ปล่อยให้ลูกออกนอกบริเวณที่คุ้นชิน ควรพาลูกออกไปทำกิจกรรมข้างนอกบ้าง เพื่อเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ และขยายสังคมให้ลูก เช่น การพาลูกไปทำ Work Shop ต่างๆ หรือหาพื้นที่ให้ลูกได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ วัยเดียวกัน อย่างคลาสดนตรี คลาสเต้น คลาสเรียนภาษา ฯลฯ เพื่อให้พวกเขาพัฒนาทักษะการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับทักษะการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนคนอื่นๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่ตลอดเวลา

สรุป

เมื่อลูกร้องไห้หรืองอแงไม่อยากไปโรงเรียน สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือค้นหาสาเหตุ และเตรียมลูกๆ ให้พร้อมตามคำแนะนำที่เราได้ให้ไว้ ทั้งนี้อย่ามัวแต่หาทางแก้ไขจากปัจจัยอื่น แต่ควรปล่อยให้เด็กเรียนรู้ที่จะพัฒนาระบบความคิด ความรู้สึก และการแสดงออกของตัวเองด้วย

และหากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจอยากให้ลูกได้พัฒนาทักษะทางภาษาควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีในห้องเรียน ทาง SpeakUp Language Center เป็นสถาบันสอนภาษา ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ เรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ซึ่งสามารถช่วยให้ลูกของคุณได้ค้นหาตัวเองได้อย่างเป็นอิสระกับครูผู้เชี่ยวชาญ