fbpx

เด็กสมาธิสั้นเกิดจากอะไร วิธีแก้สมาธิสั้น พร้อมแนะนำกิจกรรมฝึกสมาธิ

สารบัญ
เด็กสมาธิสั้นเกิดจากอะไร วิธีแก้สมาธิสั้น พร้อมแนะนำกิจกรรมฝึกสมาธิ

เด็กสมาธิสั้นเกิดจากอะไร วิธีแก้สมาธิสั้น พร้อมแนะนำกิจกรรมฝึกสมาธิ

เด็กสมาธิสั้นอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติ ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจ หมั่นสังเกตอาการและพฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก โดยเฉพาะโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นโรคที่รู้จักกันดี และอาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก หากรู้เท่าทัน ก็ควรให้เด็กได้รับการรักษาทันที 

บทความนี้จะพาไปดูว่าโรคสมาธิสั้นคืออะไร อาการของเด็กสมาธิสั้นมีลักษณะอย่างไร สาเหตุมาจากอะไร และควรรักษาอย่างไร พร้อมแนะนำกิจกรรมฝึกสมาธิให้กับเด็กๆ เพื่อหลีกเลี่ยงโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น คืออะไร

ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือโรคสมาธิสั้น คือ ภาวะผิดปกติทางจิตเวช ที่เกิดจากความบกพร่องของระบบประสาทพัฒนาการบริเวณสมองส่วนหน้า ส่งผลให้มีสมาธิที่สั้นกว่าปกติ ช่วงอายุของเด็กที่พบได้ค่อนข้างบ่อย คือ ช่วงอายุระหว่าง 3–7 ปี และมักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงประมาณ 4 เท่า  

ลักษณะอาการที่เด่นๆ ของเด็ก คือ ไขว้เขวง่าย ขาดสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง โดยสาเหตุนั้นมาจากสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ การควบคุมตนเองและการจดจ่อ ซึ่งอาจเป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่

โรคสมาธิสั้น กับภาวะสมาธิสั้นเทียม

ภาวะสมาธิสั้นเทียม (Pseudo-Attention deficit / Hyperactivity disorder) (Pseudo-ADHD) มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับโรคสมาธิสั้น แต่แตกต่างกันตรงที่ภาวะสมาธิสั้นเทียมนั้นหายไปเองได้ แต่โรคสมาธิสั้นต้องรักษา โดยการทานยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาวะสมาธิสั้นเทียม มีสาเหตุมาจากการที่เด็กๆ เล่นโทรศัพท์มือถือ ไอแพด แท็บเล็ต หรือดูโทรทัศน์ เป็นระยะเวลานาน โดยขาดระเบียบวินัยการดูแลและการควบคุมของพ่อแม่ ส่งผลให้พฤติกรรมเด็ก มีความก้าวร้าว ไม่ฟังคำสั่ง อารมณ์ร้อน ขัดใจไม่ได้ ทักษะการสื่อสารที่ช้ากว่าเด็กปกติทั่วไป

เช็กด่วน! อาการเด็กสมาธิสั้นมีอะไรบ้าง

เช็กด่วน! อาการเด็กสมาธิสั้นมีอะไรบ้าง

แม้ว่าโรคสมาธิสั้น จะไม่มีอาการเจ็บปวด แต่มักแสดงออกได้ทางด้านพฤติกรรม พ่อแม่ควรรู้เท่าทันและรีบรักษา เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงในอนาคต เช่น เด็กควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ แล้วพังสิ่งของจนเสียหาย หรือคำพูดมีความรุนแรง หยาบคาย ไม่ฟังคำสั่ง ซึ่งอาการเด็กสมาธิสั้น สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็ก ดังนี้

1. มีภาวะสมาธิสั้น (Inattention)

  • ขาดสมาธิอย่างต่อเนื่อง (Inattention)
  • เปลี่ยนความสนใจไปหาสิ่งอื่นอย่างง่าย หรือว่อกแว่ก ไปตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ
  • มักหลงลืมสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แว่นตา กระเป๋าเงิน
  • หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้สมาธิจดจ่อในการทำต่อเนื่อง
  • ไม่สามารถจัดการตัวเองในเรื่องของการทำงาน เช่น การวางแผนลำดับการทำงาน การจัดการงานกิจกรรมต่างๆ
  • ไม่ฟังคำสั่ง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
  • ไม่มีสมาธิในการรับฟังคู่สนทนา
  • ไม่เอาใจใส่ สะเพร่า ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้นานๆ

2. ซุกซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity)

  • อารมณ์ฉุนเฉียว เอาแต่ใจ ก้าวร้าว
  • ไม่ชอบการรอคอย
  • ควบคุมตนเองไม่ค่อยได้
  • พูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่ 
  • พูดไม่หยุด ส่งเสียงดัง 
  • ไม่ชอบนั่งนานๆ ลุกออกจากที่
  • อยู่ไม่นิ่ง ตื่นตัวตลอดเวลา 
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ วู่วาม ขาดความระมัดระวัง

3. มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)

  • ควบคุมตัวเองในเรื่องของการแสดงอารมณ์ พฤติกรรม ไม่ได้ 
  • ขาดการยั้งคิด 
  • ไม่มีสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างต่อเนื่อง 
  • ไม่สามารถยับยั้งตัวเองจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
สาเหตุของอาการเด็กสมาธิสั้น

สาเหตุของอาการเด็กสมาธิสั้น

อาการเด็กสมาธิสั้น  มาจากความบกพร่องของสารเคมีในสมอง หรือมาจากพันธุกรรม โดยเด็กที่เกิดมาจากครอบครัวที่มีโรคสมาธิสั้น ทำให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นได้มากกว่าเด็กคนอื่นๆ หรือเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ในขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์ แม่ของเด็กมีการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือเด็กได้รับสารพิษบางอย่างหลังจากได้คลอดแล้ว เช่น ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด หรือมาจากผลการเลี้ยงดูของพ่อแม่ เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงดู ทำให้ เด็กติดมือถือ มากเกินไป ส่งผลให้ลูกสมาธิสั้นได้ง่ายๆ

ผลกระทบที่เกิดจากอาการสมาธิสั้นในเด็ก

อาการเด็กสมาธิสั้น มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งมักจะทำให้เด็กๆ นั้นเรียนได้ไม่เต็มศักยภาพ จนเกิดปัญหาในการเรียน ไม่ว่าจะเป็นการไม่เข้าใจเรื่องที่คุณครูสอน ทักษะการเขียน การอ่าน การพูดไม่ค่อยดี ไม่มีสมาธิในการตั้งใจหรือจดจ่อ

การรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็ก

การรักษาโรคสมาธิสั้นสำหรับเด็ก สามารถทำได้โดยการป้องกัน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ให้พ่อแม่สังเกตอาการของลูกๆ ถ้าหากมีอาการ ให้พาลูกไปพบแพทย์ เพื่อได้รับการรักษาทันที โดยแนวทางการรักษา ก็มีทั้งการปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ชีวิต รวมไปถึงการใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย ดังนี้

การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

สำหรับการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นในเด็ก  ให้เริ่มจากที่บ้านก่อน ดังนี้

  1. พ่อแม่ทำข้อตกลงและตารางเวลาให้ชัดเจน เพื่อให้เด็กรู้จักการวางแผน การแบ่งเวลา และการเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ
  2. พูดคุยกับเด็กให้ชัดเจน ด้วยถ้อยคำที่กระชับ เข้าใจง่าย และควรระมัดระวังในการใช้น้ำเสียงที่ดุดัน
  3. ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น เล่นกีฬา วาดรูป เพื่อให้เด็กไม่จดจ่ออยู่กับหน้าจอโทรศัพท์ 

ต่อไปให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่ออยู่โรงเรียนดังนี้

  1. จัดโต๊ะเรียนให้เด็กนั่งข้างหน้ากระดาน ไม่ติดประตูหรือหน้าต่าง เพื่อหลีกเลี่ยงความคิดการออกไปนอกห้องเรียน 
  2. ให้คุณครูดึงความสนใจในขณะที่เด็กไม่มีสมาธิ อย่างเช่น ให้ช่วยเหลือเพื่อนๆ ช่วยแจกสมุดหนังสือ ทั้งนี้คุณครูต้องพูดด้วยถ้อยคำสุภาพ ห้ามแสดงความไม่พอใจ 
  3. เมื่อเด็กทำงาน ทำการบ้านหรือสิ่งที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ ให้คุณครูกล่าวคำชมเชย เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายต่อไป

การรักษาด้วยการใช้ยา

สำหรับการรักษาด้วยการใช้ยา จะมีกลุ่มยาอยู่ 2 ประเภท ดังนี้

  1. กลุ่มยาที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง ซึ่งเป็นยาที่มีความปลอดภัย ที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารสื่อประสาท เมื่อเด็กได้รับการทานยากลุ่มนี้ จะช่วยให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น สามารถควบคุมตัวเองได้ 
  2. กลุ่มยาที่ไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง ใช้สำหรับเด็กที่ทนกับยาที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมองไม่ได้  หรือใช้เป็นยาเสริม
5 กิจกรรมฝึกสมาธิ หลีกเลี่ยงภาวะสมาธิสั้นในเด็ก

5 กิจกรรมฝึกสมาธิ หลีกเลี่ยงภาวะสมาธิสั้นในเด็ก

วิธีแก้สมาธิสั้น ด้วยการฝึกสมาธิจากการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถใช้เป็นอีกทางเลือกในการรักษาเด็กสมาธิสั้น ร่วมไปกับการใช้ยาในทางการแพทย์ได้ โดยสามารถเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ ดังนี้

1. กิจกรรมกลางแจ้ง ออกกำลังกาย

การทำกิจกรรมการแจ้ง เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปลูกต้นไม้ หรือออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก หรือออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ซึ่งการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตระบบเผาผลาญ เสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรงมากขึ้น ส่งผลให้เด็กสมาธิสั้น มีความสามารถในการควบคุมสมาธิ ให้ความสนใจกับกิจกรรมที่ทำมากขึ้น

2. ฝึกทักษะด้านภาษา การอ่าน การเขียน

เด็กสมาธิสั้น มักจะมีปัญหาในเรื่องของการอ่าน การเขียน และการพูด รวมถึงด้านภาษา ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสนใจ  โดยการฝึกทักษะด้านภาษา การอ่าน การเขียน เพื่อฝึกสมาธิ อย่างเช่น ในเรื่องของการอ่าน อาจจะเริ่มต้นจากการนำหนังสือที่เด็กชอบมาให้เด็กอ่าน ไม่ว่าจะเป็นนิทาน สารคดี ประวัติศาสตร์ จากนั้นพูดคุยถึงสิ่งที่อ่าน ให้เน้นเป็นการเล่าเรื่องให้ฟัง ส่วนการฝึกเขียนให้เด็กนั้นได้ฝึกเขียนบ่อยๆ เพื่อที่จะทำให้สายตาและมือ สามารถทำงานประสานกันได้ดี เช่น เขียนบรรยาย เรื่องเล่าในชีวิตประจำวัน สำหรับการฝึกทักษะด้านภาษา อาจจะเริ่มจากการอ่านให้เด็กฟัง แล้วให้พูดตาม

3. ทำกิจกรรมฝึกเข้าร่วมสังคม

เด็กสมาธิสั้นส่วนมาก มักจะมีปัญหาในเรื่องของการไม่มีเพื่อน ซึ่งการทำกิจกรรมฝึกเข้าร่วมสังคม จะช่วยให้เด็กควบคุมตัวเองได้เวลาอยู่กับคนเยอะๆ หรือเวลาเจอปัญหา ก็สามารถใจเย็นและหาทางแก้ปัญหาได้ เช่น ฝึกให้รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการให้อภัย การขอโทษ การแสดงน้ำใจ การเคารพผู้อื่น รวมไปถึงการเข้าใจถึงความรู้ของคนรอบข้าง

4. ทำกิจกรรมฝึกสมาธิ

การทำกิจกรรมฝึกสมาธิ จะช่วยให้เด็กมีความตั้งใจและมีสมาธิมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น การเล่นเกมเสริมทักษะ ได้แก่ เกมทายตัวเลข ทายภาพ ทายตัวอักษร หรือเกมกระดาน เช่น โดมิโน ซึ่งการฝึกสมาธิด้วยการเล่นเกมฝึกทักษะ สามารถช่วยส่งเสริมทักษะด้านสมาธิได้ อีกทั้งยังทำให้เด็กมีความสนใจกับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ โดยให้พ่อแม่เล่นร่วมกับเด็กไปด้วย

5. ฝึกทักษะความสามารถด้านศิลปะและดนตรี

การฝึกทักษะความสามารถด้านศิลปะและดนตรี ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านสมาธิได้เป็นอย่างดี เพราะทั้งด้านศิลปะและดนตรี เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความตั้งใจสูง อย่างเช่น การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ การทำภาพติดปะ การเป่าสีลงบนกระดาษ การร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรีต่างๆ ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่สนุก ไม่น่าเบื่อ สร้างสรรค์ สามารถดึงความสนใจให้เด็กจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ได้

สรุป

โรคสมาธิสั้น คือ ภาวะผิดปกติทางจิตเวช ที่เกิดจากความบกพร่องของระบบประสาทพัฒนาการบริเวณสมองส่วนหน้า โดยสาเหตุนั้นมาจากสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ การควบคุมตนเองและการจดจ่อ หรือเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ในขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์ แม่ของเด็กมีการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือมาจากผลการเลี้ยงดูของพ่อแม่ เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงดู ทำให้ เด็กติดมือถือ มากเกินไป ส่งผลให้ลูกสมาธิสั้นได้ง่ายๆ ส่งผลให้พฤติกรรมของเด็ก มีความก้าวร้าว ไม่ฟังคำสั่ง อารมณ์ร้อน ขัดใจไม่ได้ ทักษะการสื่อสารที่ช้ากว่าเด็กปกติทั่วไป  

อย่างไรก็ตาม เด็กสมาธิสั้นสามารถทำกิจกรรมที่ฝึกสมาธิ ไม่จดจ่ออยู่กับหน้าจอ เช่น ออกกำลังกาย ฝึกภาษา เล่นเกมเสริมทักษะ ฝึกเข้าร่วมสังคม และฝึกทักษะความสามารถด้านศิลปะและดนตรี สำหรับใครที่กำลังมองหากิจกรรม เพื่อเสริมสร้างการมีสมาธิให้กับเด็กๆ ที่ SpeakUp Language Center เป็นสถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กเล็กที่มีอายุ 2.5 ถึง 12 ปี ทางสถาบันมีครูมืออาชีพ มากประสบการณ์ และมีเทคนิคการสอนภาษาที่หลากหลาย ประยุกต์มาสอนให้แตกต่างกันไปตามช่วงวัย ทำให้สามารถพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กได้ดี เด็กสามารถนำไปใช้สื่อสารได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งผู้ปกครองยังสามารถหากิจกรรม เคลื่อนไหว ฝึกสมาธิ ฝึกกล้ามเนื้อ ฝึกเข้าสังคม และเข้าร่วมกิจกรรมฝึกสมาธิได้กับทางสถาบัน