fbpx

เลี้ยงลูกแบบ BLW ฝึกให้ลูกน้อยจับอาหารกินด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร

เลี้ยงลูกแบบ BLW ฝึกให้ลูกน้อยจับอาหารกินด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร

เลี้ยงลูกแบบ BLW ฝึกให้ลูกน้อยจับอาหารกินด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร

การรับประทานอาหารของลูกน้อยนั้น ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เมื่อลูกยังเล็ก ผู้ปกครองยังต้องป้อนให้ก่อน แต่เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น หยิบจับสิ่งของได้ด้วยตัวเองแล้ว ผู้ปกครองควรเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงมาเป็นเลี้ยงลูกแบบ BLW ที่ให้ลูกหยิบอาหารกินเอง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกเติบโตสมวัยยิ่งขึ้น

บทความนี้จะพาไปรู้จักว่า BLW คืออะไร ควรเริ่มตอนไหน อาหารไหนที่เหมาะสม ข้อดีของ BLW และข้อควรรู้ต่างๆ สำหรับการเลี้ยงลูกแบบ BLW มีอะไรบ้าง ไปดูกันเล

การเลี้ยงลูกแบบ BLW คืออะไร

การเลี้ยงลูกแบบ BLW คือ Baby Led Weaning หมายถึง การเลี้ยงลูกโดยให้ลูกรับประทานอาหารด้วยตนเอง ด้วยการใช้มือหยิบ โดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องคอยช่วยป้อนอาหารให้ โดยอาหารจะเน้นไปที่สิ่งที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับเด็กเล็ก เช่น ผักต้ม ไข่ต้ม ผลไม้สุก เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเริ่มจากอาหารที่มีเนื้อสัมผัสที่ละเอียดก่อน แล้วค่อยเพิ่มอาหารที่มีเนื้อสัมผัสแข็งทีละน้อยๆ

ทำไมต้องเลี้ยงลูกแบบ BLW

ปกติแล้วถ้าลูกน้อยมีอายุยังไม่ถึง 6 เดือน ผู้ปกครองมักจะป้อนอาหารนิ่มๆ ที่ผ่านการบดจนละเอียด หรือเป็นอาหารเหลวให้แก่ลูกน้อย แต่เมื่อลูกๆ โตขึ้นก็มักจะกินยาก เคี้ยวยาก อมข้าว ไม่ยอมเคี้ยว หรืออาจจะเคี้ยวไม่เป็น เพราะกินแต่อาหารบดมานาน บางครั้งก็มีติดเล่น เลือกอาหาร ไม่ยอมกินให้หมด ทำให้เหล่าผู้ปกครองต่างก็เหนื่อยใจไปตามๆ กัน แต่การเลี้ยงลูกแบบ BLW นั้น จะเป็นการฝึกให้ลูกน้อยได้มีทักษะของการกินอาหารด้วยตัวเอง ช่วยให้ลูกเจริญอาหารมากขึ้น ส่งเสริมพัฒนาการและการเติบโตที่สมวัย แถมยังได้รับสารอาหารที่เพียงพออีกด้วย

เลี้ยงลูกแบบ BLW ได้ตั้งแต่ตอนไหน

หากถามว่าควรเริ่มเลี้ยงลูกแบบ BLW ตอนกี่เดือนดี ก็ควรเริ่มเมื่อทารกมีอายุได้ 6 เดือน เพราะเป็นช่วงที่เด็กกำลังหย่านมพอดี และยังมีงานวิจัยออกมาอีกว่า ช่วงระยะเวลาที่ลูกน้อยมีอายุครบ 6 เดือน คือช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดที่จะฝึกลูกให้ทานอาหารด้วยตนเอง โดยมีข้อสังเกตอยู่เช่นกันว่าควรเลี้ยงลูกแบบ BLW แล้วหรือยัง ดังนี้

  • ลูกสามารถนั่งเก้าอี้ High Chair หรือเก้าอี้ทานข้าวเด็กได้แล้ว
  • ลูกเริ่มควบคุมต้นคอได้ มีคอที่แข็งแรง
  • ลูกเริ่มหยิบจับเอาสิ่งของเข้าปาก
  • ลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า ของน้ำหนักตอนแรกเกิด
  • ลูกไม่มีอาการดันลิ้นแล้ว ซึ่งเป็นอาการที่มักจะหายไปในช่วงอายุ 4-6 เดือน แต่หากยังมีอาการนี้อยู่ ก็ยังไม่ควรให้ลูกกินอาหารด้วยตนเอง
เลี้ยงลูกแบบ BLW เลือกอาหารแบบไหนดี

เลี้ยงลูกแบบ BLW เลือกอาหารแบบไหนดี

การเลี้ยงลูกแบบ BLW ควรให้ลูกน้อยรับประทานอาหารที่มีเนื้อนิ่ม ละเอียด กลืนง่าย ไม่เสี่ยงต่อการสำลัก โดยจะแบ่งลักษณะอาหารเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ตามการใช้มือจับ ดังนี้

1. Palmar Grasp

เป็นทักษะของเด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป ที่มักจะใช้มือจับสิ่งของด้วยอุ้งมือ คือจะใช้ทุกนิ้วในการจับอาหาร และจะกินได้เฉพาะอาหารที่โผล่พ้นออกมาจากมือ ดังนั้นอาหารจึงต้องมีขนาดประมาณนิ้วชี้ของผู้ใหญ่ ซึ่งมีขนาดที่พอดี มีความหนาพอเหมาะ ทำให้ลูกสามารถหยิบจับได้สะดวก

ยกตัวอย่างอาหารได้แก่ กล้วยหั่นครึ่ง กีวีหั่นชิ้น ขนมปังหั่นชิ้น แครอทต้มหั่นชิ้น บรอกโคลีต้มหั่นชิ้น ไข่ต้มหั่นชิ้น ฝรั่งหั่นซีกบางๆ เป็นต้น

2. Pincer Grasp

เป็นทักษะของเด็กวัย 9 เดือนขึ้นไป ซึ่งมักจะหยิบจับของที่มีขนาดเล็กได้ โดยการใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งหยิบขึ้นมา คล้ายกับการจับดินสอ จึงทำให้ลูกสามารถหยิบจับอาหารที่มีขนาดเล็กลงกินเองได้ จึงควรหั่นอาหารให้มีขนาดเล็กลงกว่าเดิม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการจับของลูก

ยกตัวอย่างอาหาร เช่น มะละกอหั่นเต๋า มันฝรั่งหันเต๋า กล้วยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เต้าหู้หั่นเต๋า แซลมอนหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ อกไก่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นต้น

สารอาหารแบบไหน เหมาะกับการเลี้ยงลูกแบบ BLW

เลี้ยงลูกแบบ BLW เลือกอาหารแบบไหนดี

เมื่อเลี้ยงลูกแบบ BLW ผู้ปกครองก็ต้องคอยดูสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กที่เพิ่งจะหย่านมด้วย ซึ่งควรมีสารอาหาร ดังนี้

1. ธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กมีหน้าที่ในการนำออกซิเจนส่งไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกายตามกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ รวมทั้งมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง เนื่องจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในเด็กเล็ก อาหารที่มีธาตุเหล็กและเหมาะจะนำมาเลี้ยงลูกแบบ BLW ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ไข่ ถั่ว เต้าหู้ เป็นต้น

2. โปรตีน

โปรตีนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการรองรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกและเด็กเล็ก อาหารที่มีโปรตีนและเหมาะจะนำมาเลี้ยงลูกแบบ BLW ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ไข่ ถั่ว เต้าหู้ ชีส โยเกิร์ต ธัญพืช เป็นต้น

3. ไขมัน

ทารกต้องการไขมันเพื่อเป็นพลังงาน เพื่อช่วยดูดซึมสารอาหาร และไขมันบางชนิด เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมอง อาหารที่มีไขมันดีและเหมาะจะนำมาเลี้ยงลูกแบบ BLW ได้แก่ อาโวคาโด เนื้อปลา โยเกิร์ตไขมันเต็ม ชีสไขมันเต็ม น้ำมันมะกอก เนย ไข่ เป็นต้น

4. ผักและผลไม้

ผักและผลไม้เต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม แถมยังมีกากใยอาหารที่จะทำให้ลูกน้อยไม่ท้องผูกอีกด้วย ผักและผลไม้ที่เหมาะจะนำมาเลี้ยงลูกแบบ BLW ได้แก่ แครอทปรุงสุก บรอกโคลีปรุงสุก ดอกกะหล่ำปรุงสุก มันเทศปรุงสุก มันฝรั่งปรุงสุก บวบปรุงสุก แตงกวา แอปเปิลสุก กีวี อาโวคาโด กล้วย มะม่วงสุก แคนตาลูป แตงโม เป็นต้น

อาหารที่ไม่ควรให้กินเมื่อเลี้ยงลูกแบบ BLW

แม้ว่าการเลี้ยงลูกแบบ BLW ลูกๆ จะสามารถรับประทานอาหารที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ได้หลากหลายชนิด แต่ก็มีบางชนิดที่เป็นข้อยกเว้น ได้แก่

  • อาหารที่มีลักษณะแข็ง เช่น ข้าวโพด ถั่วต่างๆ แป้งตอร์ติญ่า
  • อาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก เช่น ผักดิบ เนื้อดิบต่างๆ
  • อาหารที่มีลักษณะเหนียว เช่น เนยถั่ว
  • อาหารที่เป็นเม็ดกลมๆ มีขนาดเล็ก เพราะอาจจะทำให้ติดคอได้ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอรี่ องุ่น
  • อาหารที่เป็นอันตรายต่อเด็กอายุไม่ถึง 12 เดือน เช่น แอปเปิลดิบ มะเขือเทศราชินี ผลไม้แห้ง ฮอทดอก มั่นฝรั่งทอด พ็อปคอร์น ปลาที่มีก้าง เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่ เป็นต้น

วิธีการกินแบบ BLW

วิธีการเลี้ยงลูกให้กินแบบ BLW นั้นไม่ยาก ผู้ปกครองสามารถให้ลูกฝึกทักษะได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  • เมื่อลูกน้อยถึงวัยที่ควรกินอาหารเสริมนอกจากนมแล้ว ผู้ปกครองต้องเริ่มฝึกให้ลูกนั่งเก้าอี้เด็กที่ใช้สำหรับทานข้าวหรือ High Chair ได้อย่างมั่นคง และเริ่มฝึกให้ลูกใช้มือหยิบอาหารกินเอง
  • ผู้ปกครองต้องเตรียมอาหารให้ลูกแบบไม่ต้องบดหรือปั่น แต่เป็นอาหารนิ่มๆ ที่หั่นเป็นชิ้นๆ ให้ลูกสามารถหยิบกินได้ถนัดมือ ขนาดประมาณนิ้วชี้ผู้ใหญ่
  • เมื่อลูกคุ้นเคยกับการหยิบจับอาหารกินเองแล้ว ก็เริ่มให้อาหารที่คล้ายผู้ใหญ่กินได้ อาจจะปรุงรสนิดหน่อยหรือไม่ต้องปรุงรสก็ได้ แต่ก็ต้องหลีกเลี่ยงอาหารต้องห้ามและเสี่ยงที่ทำให้ติดคอด้วย
  • เวลาเตรียมอาหารให้ลูกน้อยกิน ควรจัดใส่จานหรือใส่ถาด ล้างมือลูกให้สะอาด ให้ลูกใส่ผ้ากันเปื้อน อาจจะปูพลาสติกกันเลอะที่โต๊ะหรือที่พื้นด้วยก็ได้

เลี้ยงลูกแบบ BLW เลือกอาหารแบบไหนดี

ถ้าจะให้การเลี้ยงลูกแบบ BLW เป็นไปได้อย่างราบรื่น ก็ควรหาอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ลูกได้มีประสบการณ์ในการรับประทานอาหารเองได้

เก้าอี้นั่ง High Chair

การจะเลี้ยงลูกแบบ BLW สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องมีคือ High Chair ซึ่งจะต้องมีความมั่นคงแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ดี ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัย มีเข็มขัดล็อกนิรภัย สามารถปรับระดับความสูงได้ มีถาดอาหารรองรับ และที่สำคัญต้องพอดีกับขนาดตัวของลูกน้อย เก้าอี้กินข้าวเด็กเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะช่วยให้ฝึกลูกนั่งทานอาหารกับคุณผู้ปกครองได้อย่างปลอดภัย

ผ้า Bib กันเปื้อน

สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการเลี้ยงลูกแบบ BLW ก็คือผ้ากันเปื้อน Bib ควรเป็นแบบซิลิโคนที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และควรมีช่องเก็บของขนาดใหญ่ที่ไม่เปลี่ยนรูปร่างได้ง่าย เพื่อรองรับเศษอาหารที่หล่นลงมา และเพื่อป้องกันเสื้อผ้าของลูกน้อยไม่ให้สกปรกด้วย

ผ้ายางกันเปื้อน

ถ้าอยากจะเลี้ยงลูกแบบ BLW และไม่อยากเหนื่อยจนเกินไป ควรหาผ้ายางกันเปื้อนมารองพื้นหรือโต๊ะเวลาที่ลูกรับประทานอาหารไว้ด้วย เพราะจะช่วยป้องกันเศษอาหารร่วงลงบนพื้นจนความสะอาดได้ยาก

จานข้าว

จานข้าวเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับการเลี้ยงลูกแบบ BLW ซึ่งควรเป็นจานที่ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เกรดอาหาร ปลอดภัยต่อลูกน้อย ไม่แตกหักง่าย สามารถใส่อาหารได้ทั้งร้อนและเย็น อาจมีลวดลายการ์ตูนน่ารักๆ เพื่อเชิญชวนให้ลูกอยากอาหารมากขึ้นก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็นจานซิลิโคนหรือเป็นสเตนเลสก็ได้

ช้อนฝึกกิน

อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญไม่แพ้กันสำหรับการเลี้ยงลูกแบบ BLW ก็คือช้อนฝึกกินนั่นเอง โดยควรเป็นช้อนที่ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัยเช่นกัน อย่างซิลิโคน และควรมีขนาดที่พอดีกับตัวลูก สามารถรองรับอาหารได้พอเหมาะ มีด้ามสั้น เพื่อลูกจะได้หยิบจับได้ถนัดมือ

แก้วน้ำฝึกดื่ม

สำหรับอุปกรณ์อย่างสุดท้ายที่ควรมีกับการเลี้ยงลูกแบบ BLW ก็คือแก้วน้ำฝึกดื่ม ซึ่งควรผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัย เกรดอาหาร ควรมีที่จับทั้งสองด้าน อาจเป็นแก้วแบบหลอดดูดหรือแบบเปิด ที่ขนาดพอดีกับมือของลูก

ข้อดีและข้อเสียของการเลี้ยงลูกแบบ BLW

เลี้ยงลูกแบบ BLW เลือกอาหารแบบไหนดี

วิธีการเลี้ยงลูกแบบ BLW มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรรู้ เพื่อให้สามารถเลี้ยงลูกได้อย่างถูกวิธี และให้ลูกได้เติบโตได้อย่างสมวัย มีพัฒนาการที่ดี โดยการเลี้ยงลูกแบบ BLW มีข้อดีข้อเสีย ดังนี้

ข้อดีของ BLW

  • ลูกได้ฝึกทักษะตามวัย : ลูกจะได้ใช้ทักษะต่างๆ ทั้งการหยิบ การจับ การมองเห็น การดมกลิ่น การลิ้มรส การเคี้ยว การทำงานที่ประสานกันของตาและมือ ซึ่งช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้เจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
  • ลูกได้ฝึกทักษะการจดจำ : ลูกจะได้สัมผัสกับรสชาติและลักษณะของอาหารต่างๆ ซึ่งช่วยในการจดจำว่าอาหารแต่ละอย่างมีหน้าตา ลักษณะ และรสชาติเป็นอย่างไร ซึ่งส่งผลดีต่อการพัฒนาของสมอง
  • ลูกไม่เสี่ยงเป็นโรคอ้วน : เนื่องจากการที่ลูกกินอาหารเป็นมื้อ จะทำให้ผู้ปกครองกำหนดปริมาณและสารอาหารอาหารในแต่ละมื้อได้อย่างเหมาะสม

ข้อเสียของ BLW

  • อาจทำให้สกปรกเลอะเทอะ : ความสกปรกเลอะเทอะคือสิ่งแรกที่ต้องเจอในการเลี้ยงลูกแบบ BLW เพราะลูกเพิ่งจะหัดกินด้วยตนเอง ดังนั้นเศษอาหารอาจจะหล่นตามพื้น เลอะเสื้อบ้าง ก็ถือเป็นเรื่องปกติ
  • ต้องคอยเฝ้าดู : แม้ว่าลูกสามารถกินข้าวด้วยตนเองได้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ผู้ปกครองก็ต้องคอยเฝ้าดูว่าลูกสามารถกินอาหารเองได้หมดหรือไม่ มีอาการติดคอหรือสำลักหรือเปล่า เพื่อจะได้ช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
  • อาจเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก : ใน 4 เดือนแรก นมแม่จะมีปริมาณธาตุเหล็กที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อย แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปธาตุเหล็กในนมแม่จะลดลง ดังนั้นเมื่อเริ่มให้ลูกกินอาหารด้วยตนเอง ก็ต้องอย่าลืมดูว่าอาหารที่ให้มีปริมาณธาตุเหล็กที่ลูกต้องการเพียงพอหรือไม่อีกด้วย

ข้อแนะนำในการเลี้ยงลูกแบบ BLW ครั้งแรก

  • อย่าใจร้อน : เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ครั้งแรกอาจจะทุลักทุเลสักหน่อย เพราะก้าวแรกย่อมยากเสมอ แต่พอค่อยๆ ให้ลูกหัดกินด้วยตนเองไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นเอง
  • อย่าบังคับ : ในตอนแรกๆ ลูกอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นชินกับการหยิบจับอาหารกินเอง ผู้ปกครองก็ต้องอดใจไว้ อย่าไปบังคับ พยายามสร้างความสนใจให้ลูกกินอาหารด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาสักหน่อย
  • ปรับเปลี่ยนได้ : ในช่วงแรกๆ อาจจะยังไม่ต้องให้ลูกกินอาหารอย่างเดียว ห้ามดื่มนมเลย อาจมีปรับเปลี่ยนให้ลูกดื่มนมได้บ้าง ตามความเหมาะสม เพื่อที่ลูกและตัวผู้ปกครองเองจะได้ไม่เครียดเกินไป
  • อาหารต้องนิ่ม ชิ้นต้องเล็ก : ข้อสำคัญในการเลี้ยงลูกแบบ BLW อาหารที่เตรียมนั้นต้องมีลักษณะนิ่ม และชิ้นต้องเล็กขนาดพอดีให้ลูกสามารถหยิบเข้าปากได้ เพื่อป้องกันการติดคอและสำลักด้วย
  • ให้ลูกสนุกกับการกิน : ผู้ปกครองอาจจะหาวิธีต่างๆ เพื่อเชิญชวนให้ลูกกินอาหารด้วยตนเอง อาจจะกินให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือเมื่อลูกกินได้ด้วยตนเองก็ปรบมือชมให้กำลังใจไปด้วยก็ได้

ข้อควรรู้ในการเลี้ยงลูกแบบ BLW

  • ลูกต้องนั่งได้เองก่อน : ลูกต้องรู้จักทรงตัวด้วยตนเองให้ได้ก่อน เพื่อความปลอดภัย
  • ต้องมีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา : เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดคิด เช่น ติดคอ สำลัก เป็นต้น
  • ต้องรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น : เช่น เมื่อลูกติดคอ ต้องรู้วิธีที่จะทำให้เศษอาหารหลุดออกมาอย่างปลอดภัย
  • ไม่ให้ลูกกินอาหารต้องห้าม : เช่น ปลาที่มีก้าง เนื้อสัตว์ติดกระดูก อาหารดิบ เมล็ดผลไม้ ไส้กรอก พ็อปคอร์น เป็นต้น
  • มีอุปกรณ์ตัวช่วยสำหรับเด็ก : เช่น เก้าอี้ High Chair ผ้ากันเปื้อน แก้วหัดดื่ม เป็นต้น
  • ลูกอาจจะมีเล่นบ้างกินบ้าง : เป็นธรรมชาติของเด็ก ซึ่งผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจ และไม่บังคับให้ลูกกินอย่างเดียว เพราะอาจจะทำให้เด็กไม่ชอบการกินอาหารด้วยตนเองได้

สรุป

ให้ลูกสามารถกินอาหารเองได้ แยกอาหารได้ด้วยตัวเองจากความคุ้นชิน นอกจากนี้ตัวผู้ปกครองเองก็สามารถควบคุมปริมาณและสารอาหารที่เหมาะสมกับตัวเด็กได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกแบบ BLW ก็มีข้อจำกัดและข้อควรระวังตามที่ได้กล่าวไปในบทความนี้ ผู้ปกครองที่อยากเลี้ยงลูกแบบ BLW จึงควรใส่ใจในจดนี้ให้ดี เพื่อพัฒนาการที่ดี และปลอดภัยในตัวเด็ก

เช่นเดียวกับการเรียนภาษาที่ควรเรียนตามวัย แบบที่ Speak Up สถาบันสอนภาษาสำหรับเด็ก ซึ่งเปิดสอนตั้งแต่วัย 2.5 – 12 ปี โดยแต่ละวัยก็มีการเรียนการสอนที่ต่างกัน เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ และได้ความรู้อย่างเต็มที่

ศิลปะการตัดกระดาษจีน กิจกรรมฝึกฝนสมาธิง่ายๆ พร้อมเรียนรู้วัฒนธรรม

ศิลปะการตัดกระดาษจีน กิจกรรมฝึกฝนสมาธิง่ายๆ พร้อมเรียนรู้วัฒนธรรม

การตัดกระดาษจีนเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กๆ ได้ฝึกสมาธิ ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการใช้สมอง รวมถึงการได้เรียนรู้ศิลปะการตัดกระดาษจีน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดกันมายาวนานกว่า 2,000 พันปี ในปัจจุบันกลายเป็นศิลปะยอดนิยมที่แพร่หลายไปทั่วโลก และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของจีน เพราะศิลปะการตัดกระดาษจีนได้แฝงคุณค่าที่ลึกซึ้งของชาวจีนมาอย่างยาวนาน และมีความหมายแฝงที่แสดงถึงความปรารถนาให้ชีวิตมีแต่ความสุข มีความสดใส และสวยงามยิ่งขึ้นไป บทความนี้จะพาไปสำรวจว่าการตัดกระดาษจีนมีที่มาอย่างไร มีกี่ประเภท และการตัดกระดาษจีนสามารถทำได้อย่างไร

ทำความรู้จัก การตัดกระดาษจีน

ทำความรู้จัก การตัดกระดาษจีน

การตัดกระดาษจีน เริ่มต้นจากการบูชาเทพเจ้า และการบูชาบรรพบุรุษในสมัยจีนโบราณ โดยศิลปะการตัดกระดาษจีนได้เริ่มขึ้นในสมัยซีฮั่น ซึ่งในช่วงแรกยังไม่ได้มีการตัดกระดาษ เพราะกระดาษยังไม่ได้ถูกคิดค้นและผลิตขึ้นมา แต่นิยมนำเอาแผ่นทอง แผ่นหนัง ผืนผ้าหรือใบไม้ นำมาฉลุ ตัด และเจาะให้พื้นผิวของวัสดุเกิดเป็นลวดลายต่างๆ 

โดยในปี 1967 ประเทศจีนได้มีการค้นพบศิลปะการตัดกระดาษจีนโดยนักโบราณคดีเป็นครั้งแรกในเมืองถูหลู่ฟาน โดยหลักฐานที่พบเป็นกระดาษที่ทำมาจากใบปอจำนวน 2 ใบ แปะอยู่บริเวณสุสานโบราณ คาดว่าเป็นถูกทำขึ้นในสมัยถัง ซึ่งการตัดกระดาษจีนในยุคนี้ชาวบ้านจะนิยมตัดเพื่อเรียกวิญญาณที่เสียชีวิตแบบไม่ปกติ เพื่อเป็นการชักนำดวงวิญญาณให้กลับบ้านและไปสู่สุขคติ 

การตัดกระดาษได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึงสมัยซ่ง ผู้คนต่างๆ เริ่มนิยมซื้อกระดาษมาตัดเพื่อทำเป็นของขวัญ และของตกแต่ง จนกระทั่งในสมัยหมิงและซิง ศิลปะการตัดกระดาษได้มีความนิยมมากขึ้นกว่าเดิม ชาวบ้านต่างตัดกระดาษ เพื่อประดับตกแต่งภายในบ้าน บริเวณหน้าต่าง ประตู เพดาน และบนหิ้ง จนถือว่าเป็นการพัฒนาขั้นสูงสุดของศิลปะการตัดกระดาษจีน

นอกจากนี้ ลักษณะและจุดเด่นของการตัดกระดาษจีนยังแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น การตัดกระดาษแบบหยางโจวจะเน้นลายเส้นให้อ่อนช้อย มีความสวยงาม และอลังการ การตัดกระดาษแบบยู่เสียน จะมีลักษณะเฉพาะที่ทำให้ลวดลายของภาพดูมีชีวิตชีวา และโดดเด่นในเรื่องการใช้สีสดใส การตัดกระดาษแบบส่านซี จะนิยมตัดกระดาษจีนสำหรับติดตกแต่งหน้าต่าง ลายเส้นจะมีความหนา ชัด หนักแน่น แต่มีความเรียบง่าย และการตัดกระดาษแบบฝอซาน จะเน้นตัดให้มีความเกี่ยวข้องกับเทศกาลงานประเพณีต่างๆ เป็นต้น

ประเภทของการตัดกระดาษจีน

ประเภทของการตัดกระดาษจีน

การตัดกระดาษจีนสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทตามการใช้งาน ดังนี้

1. การตัดกระดาษจีน สำหรับตกแต่งหน้าต่าง

การตัดกระดาษจีนสำหรับตกแต่งหน้าต่าง เป็นที่นิยมมากในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยผู้คนส่วนใหญ่มักตัดกระดาษเป็นลวดลายต่างๆ เช่น ลายดอกไม้ วิวทิวทัศน์ และลายสัตว์ต่างๆ เมื่อตัดกระดาษเป็นลายต่างๆ เสร็จแล้ว จึงนำไปไว้ตรงหน้าต่าง เพื่อเป็นการต้อนรับความสุข และความโชคดี ละทิ้งสิ่งเก่า ต้อนรับสิ่งใหม่ และเพื่อให้เป็นความรู้สึกที่รื่นเริง และสนุกสนาน อีกทั้งยังมีความเชื่อว่าจะทำให้อายุยืนยาว ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง ชีวิตมีความสุขความเจริญ และช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป การตัดกระดาษจีนจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน

2. การตัดกระดาษจีน สำหรับประดับตกแต่ง

การตัดกระดาษจีนสำหรับประดับตกแต่ง ตรงขอบกระดาษมักตัดตกแต่งเป็นดอกไม้ฉลุ และมีลวดลายที่เป็นรูปวงกลมอยู่ตรงกลาง นอกจากการตัดกระดาษในลักษณะนี้ไว้เพื่อประดับตกแต่งแล้ว ยังมีความเชื่อแฝงว่ารูปวงกลมที่อยู่ตรงกลางกระดาษจะมีแรงดึงดูดเข้าสู่ตรงกลาง ก็คือการดึงดูดความโชคดีเข้ามานั่นเอง ซึ่งการตัดกระดาษจีนสำหรับประดับตกแต่งจะมีทั้งแบบแขวน เช่น แขวนตรงขื่อประตู อีกแบบหนึ่งคือตกแต่งเพดาน หรือติดตรงขอบเตา

3. การตัดกระดาษจีน ลวดลายแบบพิเศษ

การตัดกระดาษจีนให้มีลวดลายแบบพิเศษมีจุดเริ่มต้นมาจาก จางหย่งโซ่ว นักตัดกระดาษแบบพิเศษที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในมณฑลเจียงซู ที่เรียนการตัดกระดาษมาจนชำนาญ และได้พัฒนาฝีมือการตัดกระดาษจนมีลักษณะพิเศษเป็นของตนเองมาเรื่อยๆ ซึ่งกระดาษที่ตัดออกมาจะมีลักษณะเป็นสามมิติ แต่มีความเรียบง่าย พิถีพิถัน และแสดงถึงความหมายที่ลึกซึ้ง

4. การตัดกระดาษจีน เย็บปักให้เกิดลวดลาย

การตัดกระดาษจีนเย็บปักให้เกิดลวดลาย เป็นการนำเค้าโครงจากกระดาษที่ถูกตัดมาเป็นแบบในการเย็บปัก โดยเริ่มจากการตัดกระดาษสีขาวให้มีลวดลายตามที่ต้องการ หลังจากนั้นนำกระดาษที่ตัดแล้วไปติดกับผ้าที่เตรียมไว้ และใช้เข็มเย็บตามเค้าโครงลายเส้นตามบนกระดาษได้เลย

วิธีตัดการกระดาษจีน

วิธีตัดการกระดาษจีน

วิธีการตัดกระดาษจีน โดยทั่วไปแล้ว สามารถทำได้ด้วย 2 วิธี คือ ตัดด้วยกรรไกร และตัดด้วยมีด ดังนี้

1. วิธีตัดกระดาษจีนด้วยกรรไกร

การตัดกระดาษจีน สามารถใช้กรรไกรตัดกระดาษให้มีลวดลาย จากนั้นนำกระดาษที่ตัดด้วยกรรไกรมาเรียงซ้อนกันให้ไม่เกิน 8 แผ่น แล้วใช้มีดตกแต่งกระดาษอีกครั้งให้เรียบร้อย

2. วิธีตัดกระดาษจีนด้วยมีด

การตัดกระดาษด้วยมีด ควรเตรียมดินน้ำมัน หรือไขที่มีความนิ่มไว้ด้วย โดยอันดับแรกให้นำกระดาษที่ต้องการตัดมาเรียงซ้อนกันก่อน จากนั้นนำกระดาษที่เรียงซ้อนกันไปวางบนไข หรือดินน้ำมันที่เตรียมไว้ แล้วใช้มีดตัดได้เลย ข้อดีของการใช้มีด คือ ตัดกระดาษในได้เพียงรอบเดียว ซึ่งสะดวกกว่าการใช้กรรไกรตัด

ตัวอย่างการตัดกระดาษจีน

ตัวอย่างการตัดกระดาษจีน

ตัวอย่างการตัดกระดาษนี้เป็นวิธีง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กๆ ที่อยากหัดตัดกระดาษจีน โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ตัด คือ กรรไกร หรือคัตเตอร์ แทนการใช้มีด เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ

อุปกรณ์ในการตัดกระดาษจีน

  • กระดาษสีต่างๆ เป็นกระดาษที่มีสีเพียงด้านเดียว
  • คัตเตอร์ หรือกรรไกร
  • แบบสำหรับตัด 
  • ดินสอ ไว้สำหรับร่างแบบบนกระดาษ
  • แผ่นรองกันเกิดรอย สำหรับรองตัดกระดาษโดยใช้คัตเตอร์

ขั้นตอนในการตัดกระดาษจีน

  • เริ่มจากการเลือกแบบที่ต้องการจะนำมาใช้ในการตัดก่อน เช่น สัตว์ ดอกไม้ ใบไม้ ผีเสื้อ
  • เลือกกระดาษสีตามที่ต้องการ 
  • ตัดกระดาษสีให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 15 x 15 ซม. หรือ 20 x 20 ซม. 
  • ต่อมาพับกระดาษที่จะตัดเข้าด้วยกันจนเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ โดยพับให้กระดาษที่มีสีเข้าข้างใน 
  • วาดรูปตามแบบ ตามลวดลายที่เตรียมไว้ โดยวาดแค่เพียงครึ่งหน้า 
  • จากนั้นให้ใช้กรรไกร หรือคัตเตอร์ตัดกระดาษตามแบบที่ลวดลายไว้อย่างระมัดระวัง
  • เมื่อตัดกระดาษเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลี่กระดาษออก ก็จะได้ลายบนกระดาษตามต้องการ
ประโยชน์ของการตัดกระดาษจีน

ประโยชน์ของการตัดกระดาษจีน

ประโยชน์ของการตัดกระดาษจีนในสมัยโบราณ คือ สามารถนำไปใช้ในพิธีทางศาสนา ประดับตกแต่งในพิธีบูชาเทพเจ้าและบรรพบุรุษ รวมถึงการตัดเพื่อใช้ประดับตกแต่ง โดยนิยมตัดเป็นรูปสัตว์ต่างๆ หรือรูปคน แต่ประโยชน์ของการตัดกระดาษจีนในปัจจุบัน ช่วยทำให้เด็กๆ ได้ฝึกสมาธิ และจินตนาการจากการตัดกระดาษจีน เพราะเป็นงานฝีมือที่แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังช่วยในการฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการใช้สมองสำหรับเด็กๆ พร้อมไปกับเรียนรู้วัฒนธรรมจีน นอกจากนี้ ยังสามารถทำเป็นของประดับตกแต่งหรือของขวัญได้ โดยผู้ปกครองควรลงมือทำไปพร้อมกับเด็กๆ เพื่อให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ และเมื่อเด็กๆ ได้ลงมือทำจนผลงานออกมาสำเร็จ และมีความสวยงามแล้ว ก็จะเกิดเป็นความภาคภูมิใจให้กับตัวของเด็กๆ เองด้วย

สรุป

การตัดกระดาษจีน คือ ศิลปะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการตัดกระดาษเป็นลวดลายต่างๆ ตามที่ต้องการ โดยมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยซีฮั่น และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการตัดกระดาษจีนสามารถนำไปตกแต่งให้เกิดความสวยงาม อีกทั้งยังมีความหมายแฝงมี่ลึกซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของความสุขและความโชคดี ซึ่งการตัดกระดาษจีนถือเป็นกิจกรรมที่เด็กๆ สามารถฝึกสมาธิ และฝึกสมองได้ แต่ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะมีการใช้ของมีคม หากลูกๆ ของคุณเริ่มสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน หรือภาษาจีน Speak Up Language Center เป็นสถาบันสอนภาษาสำหรับเด็ก ตั้งแต่เด็กเล็ก เด็กอนุบาล จนถึงเด็กประถมที่อยู่ในช่วงอายุ 2.5 ถึง 12 ปี โดยมีการสอนภาษาจีน และมีกิจกรรมที่ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่ทำให้ได้ทั้งความรู้ และความสนุกสนาน

รวม 100 ประโยคกล่าวคำชื่นชมภาษาอังกฤษ ไว้ชื่นชมคนแบบไม่ซ้ำกัน

รวม 100 ประโยคกล่าวคำชื่นชมภาษาอังกฤษ ไว้ชื่นชมคนแบบไม่ซ้ำกัน

ขออธิบายโดยสังเขปให้เข้าใจกันก่อนเข้าสู่เนื้อหาหลักว่า คำชื่นชมภาษาอังกฤษ คืออะไร ในภาษาอังกฤษมีคำชม และประโยคที่บอกถึงการให้กำลังใจมากกว่าแค่คำว่า ดีมาก (Very Good) ไปดูกันว่าคำชมภาษาอังกฤษอื่นๆ จะมีอะไรบ้าง เพื่อเรียนรู้เอาไว้ฝึกพูดกับเด็กๆ หรือพูดกับคนอื่นแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกสถานการณ์ รับรองว่ารู้ติดตัวไว้จะดูเป็นมืออาชีพด้านการพูดภาษาอังกฤษขึ้นมาในทันที

คำชื่นชมภาษาอังกฤษแบบง่ายๆ ใช้ได้บ่อย

คำชื่นชมภาษาอังกฤษแบบง่ายๆ ใช้ได้บ่อย

คำชื่นชมภาษาอังกฤษสำหรับใช้ในการชมคนง่ายๆ ได้ทั่วไป เป็นคำสั้นๆ ที่สามารถเข้าไจได้ทันที หรือใช้ชมกับสิ่งต่างๆ ก็ได้เวลาเจอเรื่องน่ามหัศจรรย์ใจ หรือรู้สึกชื่นชมอย่างมากกับเหตุการณ์ตรงหน้าตอนนั้น สามารถเลือกใช้คำศัพท์เหล่านี้ได้

ประโยค (Sentences)ความหมาย (Meaning)
Very Good!ดีมาก
Great!เยี่ยมมาก
Amazing!น่ามหัศจรรย์มาก
Excellent!เยี่ยมยอด
Awesome!ดีเลิศ
Wonderful!ยอดเยี่ยมมาก
Fabulous!เหลือเชื่อ, เยี่ยมที่สุด
Nice!ดี
Good jobทำได้ดีมาก
Cool!สุดยอด, เจ๋งมาก
Astonishing!อัศจรรย์มาก, วิเศษมาก
Incredible!เหลือเชื่อ
Brilliant!ฉลาดมาก, หลักแหลมมาก 
Well done!ทำได้ดีมาก
Fantastic!เยี่ยมมากเลย
Nice going!ดีมาก
Good going!ทำได้ดีมากๆ
Marvelous!วิเศษมากที่สุด
You rock!เลิศที่สุด
Outstanding!ยอดเยี่ยมมาก, โดดเด่นที่สุด
Way to go!ทำได้ดีมากสุดๆ
ประโยคชื่นชมภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการให้กำลังใจ

ประโยคชื่นชมภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการให้กำลังใจ

ประโยคชื่นชมภาษาอังกฤษที่มักใช้ในการให้กำลังใจผู้อื่น หรือชื่นชมในตัวของบุคคลนั้นจากการกระทำบางอย่างที่รู้สึกประทับใจ รู้สึกยินดี หรือรู้สึกขอบคุณ สามารถเลือกใช้ประโยคชื่นชมสำหรับการให้กำลังใจได้ตามสถานการณ์ตามความรู้สึก

ประโยค (Sentences)ความหมาย (Meaning)
You are so smart.คุณฉลาดมาก
You did a great job.คุณทำได้ดีมาก, ทำได้ยอดเยี่ยมไปเลย
You deserve it.คุณคู่ควรที่จะได้รับมัน (สิ่งดีๆ)
Congratulations!ยินดีด้วยนะ
You did that very well.คุณทำดีมากเลย
You’ve got it.คุณเจ๋งมาก
You did it!คุณทำมันได้แน่
You have done a great job!คุณทำได้เยี่ยมไปเลย
You are very good at that.คุณทำสิ่งนั้นได้ดีสุดๆ เลย
You are so cool!คุณเท่มาก, คุณเจ๋งมาก
You look good!คุณดูดีนะเนี่ย
You’re doing a good job.คุณทำได้ดีมาก
You look amazing!คุณดูดีมากเลย
You are so seductive.คุณพูดจาปากหวานจัง
You are making a difference.คุณทำให้มันเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้นมาก
You are so smart.คุณหัวไวมาก, คุณฉลาดมากเลย
คำชมภาษาอังกฤษ สำหรับลักษณะของบุคคล หรือวัตถุสิ่งของ

คำชมภาษาอังกฤษ สำหรับลักษณะของบุคคล หรือวัตถุสิ่งของ

การเลือกใช้คำชมภาษาอังกฤษสำหรับการชมถึงลักษณะรูปลักษณ์ หรือลักษณะที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ และความโดดเด่นกับทั้งตัวบุคคล หรือกับวัตถุสิ่งของต่างๆ รวมถึง บุคลิกที่น่าสนใจของคนนั้นๆ สามารถเลือกใช้ประโยคการชมได้หลากหลายมากตามที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเอกลักษณ์ของสิ่งที่ต้องการแสดงความชื่นชมด้วย

ประโยค (Sentences)ความหมาย (Meaning)
You look fantastic!คุณดูดีมาก, หล่อมาก, สวยมาก (ดูดี, สวย, หล่อแบบสุดๆ ไปเลย)
Your watch looks really cool.นาฬิกาของคุณดูเท่มาก
It’s worth!มันดูล้ำค่ามาก, ดูมีคุณค่า
You are very lovely.คุณน่ารักมากๆ เลย
You are very cute.คุณน่ารักมาก
You are very beautifulคุณสวยมาก
Your outfit is looking good!การแต่งตัวของคุณดูดีสุดๆ
Your charm is irresistible.เสน่ห์ของคุณรุนแรงยากที่จะต้านมาก
Your hair looks stunning.ทรงผมของคุณดูดีมากเลย
You look trendy.คุณทันสมัยมาก
This outfit is bringing you out. การแต่งกายชุดนี้ทำให้คุณดูโดดเด่นมาก
You are just adorable.คุณน่ารักเกินไปมาก
You are charming.คุณมีเสน่ห์ดึงดูดมาก
You have such charismaticคุณเป็นคนที่มีเสน่ห์มาก
You have a nice smile.คุณมีรอยยิ้มที่สวยมาก
You look fantastic!คุณดูดีมากที่สุดเลย
You look great!คุณดูเจ๋งมาก, คุณดูดีสุดๆ
You’re so handsome.คุณหล่อมาก
What a nice dress!ชุดของคุณสวยมาก
ประโยคชื่นชมภาษาอังกฤษที่เน้นไปยังตัวผลงาน

ประโยคชื่นชมภาษาอังกฤษที่เน้นไปยังตัวผลงาน

การเลือกใช้ประโยคชื่นชมภาษาอังกฤษสำหรับการเน้นชมถึงผลงาน การทำงาน และศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ สำหรับผู้อื่น มีรูปประโยคคำชมให้เลือกใช้เยอะมาก สามารถเลือกได้ตามสถานการณ์ที่ต้องการพูดเอ่ยถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน หรือทำงานด้านใดก็นำไปเลือกใช้ได้ทั้งหมด

ประโยค (Sentences)ความหมาย (Meaning)
That’s quite an improvement!ผลงานของคุณมีการพัฒนาขึ้นนะ
That’s the best ever!นี่มันดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาเลย
Your ideas are the best.ความคิดของคุณยอดเยี่ยมาก
Your creative potential seems limitless.ศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์ของคุณไร้ขีดจำกัด
It’s interesting!มันน่าสนใจมากเลย
You’re great at figuring stuff out.คุณแก้ไขปัญหาได้อย่างยอดเยี่ยม
This idea sounds good.เป็นไอเดียที่ฟังดูเยี่ยมมาก
You have a good head on your shoulders.คุณเป็นคนที่หัวดีมาก มีความคิดน่าสนใจมาก
You’re really working hard.คุณทำงานหนักมากจริงๆ
That’s the best you’ve ever done.นี่คือสิ่งที่คุณทำได้ดีมากที่สุด
You are learning fast.คุณเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
That’s the right way to do it.ทำแบบนั้นถูกต้องเลย
That’s the best ever.สิ่งนี้มันยอดเยี่ยมที่สุด
You did that very well.คุณทำได้ยอดเยี่ยมมาก
You’re really improving.คุณเก่งขึ้นมากเลย
You outdid yourself today!คุณทำได้ดีมากกว่าที่คุณคาดหวังไว้ซะอีก
คำชมภาษาอังกฤษที่เน้นบอกความรู้สึกของเรา

คำชมภาษาอังกฤษที่เน้นบอกความรู้สึกของเรา

สำหรับคำชื่นชมภาษาอังกฤษที่บ่งบอกถึงความรู้สึกชื่นชมจากทางฝั่งผู้พูด หรือจากตัวเราที่ต้องการแสดงความประทับใจในตัวอีกฝ่าย มาว่าจะด้วยสถานการณ์แบบไหนก็ตาม เลือกแสดงถึงความใส่ใจ ความยินดี ความรู้สึกเชิงบวกต่างๆ ที่อยากชมต่ออีกฝ่ายได้มากมาย

ประโยค (Sentences)ความหมาย (Meaning)
I know you can do it!ฉันรู้ว่าคุณเอาอยู่, ฉันเชื่อว่าคุณทำได้
I’m so proud of you.ฉันภูมิใจในตัวคุณมาก
I’m so happy for you.ฉันรู้สึกยินดีกับเธอมากๆ เลย, ฉันรู้สึกดีใจกับเธอด้วยนะ
I’m really impressed.ฉันรู้สึกประทับใจจริงๆ
I like your style.ฉันชอบสไตล์ของคุณนะ
I can’t take my eyes off you.ฉันไม่สามารถละสายตาไปจากคุณได้เลย (ชมว่าเขาโดดเด่นมาก)
I’m glad to hear your good news.ฉันดีใจที่ได้ยินข่าวดีของเธอนะ
I’m glad to see you.ฉันดีใจที่ได้เจอเธอ
I’m happy to see you working like that.ฉันดีใจที่เห็นคุณทำงานเก่งแบบนี้
I’ve never seen anyone do it better.ฉันไม่เคยเห็นใครทำมันได้เก่งเท่ากับคุณ
I think you’re doing the right thing.ฉันว่าคุณทำสิ่งนี้ได้ยอดเยี่ยม
I have confidence in you.ฉันมั่นใจในตัวคุณนะ
I know you can do it!ฉันรู้ว่าคุณทำได้
I trust in your abilityฉันเชื่อในความสามารถของคุณนะ
I’m proud of the way you worked.ฉันภูมิใจในวิธีการทำงานของเธอมาก
I think you’ve got it nowฉันคิดว่าคุณทำได้ดีมากแล้ว
I think you are really something special.ฉันคิดว่าคุณเป็นคนที่พิเศษมากกว่าคนอื่นๆ
ประโยคชื่นชมเรื่องความใจดี หรือนิสัยใจคอภาษาอังกฤษ

ประโยคชื่นชมเรื่องความใจดี หรือนิสัยใจคอภาษาอังกฤษ

การชื่นชมคนอื่นในด้านนิสัยใจคอด้านต่างๆ การชื่นชมถึงความมีจิตใจที่ดี และความประทับใจในตัวของบุคคลนั้น โดยเลือกใช้ประโยคที่เป็นคำชื่นชมภาษาอังกฤษ มีหลากหลายแบบให้เลือกนำไปใช้ได้ตามสถานการณ์และขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคลที่เราต้องการชื่นชมด้วย

ประโยค (Sentences)ความหมาย (Meaning)
You have a great sense of humor.คุณเป็นคนมีอารมณ์ขันมากเลย
I’ve never met someone with a heart as big as yours.ฉันไม่เคยเจอใครที่จิตใจดีมากเท่าคุณมาก่อนเลย
You are the most perfect you there is.คุณเป็นคนที่สมบูรณ์แบบตามแบบที่คุณเป็นอย่างมาก
You’re so thoughtful.คุณเป็นคนที่คิดถึงจิตใจของผู้อื่นมากเลย
You have impeccable manners.คุณมีมารยาทที่ดีมาก ไร้ที่ติ
There’s something special about you.คุณเป็นคนที่ดูพิเศษมากกว่าคนอื่น
You are so brave.คุณเป็นคนกล้าหาญมาก
You have an amazing presence.คุณเป็นคนที่น่าทึ่งมาก
You are beautiful on the inside and outside.คุณเป็นคนนิสัยดี ดูสวยทั้งภายในและภายนอก
You bring out the best in other people.คุณเป็นตัวอย่างความดีสำหรับผู้อื่น
You’re a great listener.คุณเป็นผู้ฟังที่ดีมาก
Your perspective is refreshing.มุมมองของคุณน่าฟังมาก
โครงสร้างประโยคคำชมภาษาอังกฤษที่สามารถใช้ได้

โครงสร้างประโยคคำชมภาษาอังกฤษที่สามารถใช้ได้

การเลือกใช้ประโยคคำชมกล่าวชม ประโยคชมคนภาษาอังกฤษที่เรายกรูปแบบต่างๆ มาให้เลือกใช้กันมากมายตามสถานการณ์แล้วนั้น ทุกคนยังสามารถสร้างประโยคขึ้นมาเองได้ สำหรับการใช้กล่าวชมจากใจ จากความรู้สึก หรือจากสถานการณ์ที่นอกเหนือจากตัวอย่างประโยคในข้างต้นได้อย่างง่าย ถูกหลักไวยากรณ์ และผู้ฟังต่างชาติสามารถเข้าใจได้ทันที โดยใช้โครงสร้างประโยค ดังนี้

  • พื้นฐานทั่วไป สามารถใช้โครงสร้าง Noun phrase (คำนามวลี) + is / looks + Adjective (คำวิเศษณ์) ได้เลย
  • เพิ่มระดับการชื่นชมให้มากขึ้น สามารถใช้โครงสร้าง Noun phrase (คำนามวลี) + is / looks + Adverbs of Degree (กริยาวิเศษณ์บอกระดับความมาก – น้อยแค่ไหน) + Adjective (คำวิเศษณ์)
  • ตัวอย่าง การสร้างประโยคคำชมให้เห็นภาพชัดเจนง่ายๆ เช่น Your outfit looks so outstanding. (การแต่งกายของคุณดูโดดเด่นเฉิดฉายมากเลย) หรือ Your smile is very nice.  (รอยยิ้มของคุณดูดีมากๆ เลย)
ประโยคตอบรับคำชมภาษาอังกฤษ

ประโยคตอบรับคำชมภาษาอังกฤษ

เมื่อมีประโยคคำชมภาษาอังกฤษไปแล้ว ก็ต้องมาเรียนรู้เกี่ยวกับประโยคที่ใช้ในการตอบรับคำชมด้วยเช่นกัน ไว้สำหรับพูดโต้ตอบกลับไปยังอีกฝ่าย เมื่อมีการให้ของขวัญ ให้การช่วยเหลือ หรือพูดชื่นชมทางเรา ก็สามารถเลือกหยิบยกประโยคโต้ตอบต่างๆ ได้ตามสถานการณ์

ประโยค (Sentences)ความหมาย (Meaning)
Thank you. I’m so glad you like it.ขอบคุณนะ ฉันดีใจที่คุณชอบมัน
You’re embarrassing me!คุณทำให้ฉันเขินนะ
Thank you. My friend gave it to me.ขอบคุณนะ เพื่อนของฉันให้สิ่งนี้กับฉันมา
Thank you. Yours is also very nice.ขอบคุณนะ ของคุณเองก็ดูดีมากเลย
Thanks a lot.ขอบคุณมากๆ เลย
Thanks a million.ขอบคุณมากที่สุดจริงๆ

สรุป

คำชื่นชมภาษาอังกฤษที่สามารถเลือกใช้อย่างมากมาย คือ รูปประโยคชมคนภาษาอังกฤษที่เราสามารถนำไปชื่นชมถึงลักษณะนิสัยของบุคคลนั้น ชื่นชมถึงการทำงาน สิ่งของต่างๆ บุคลิกภาพที่โดดเด่น หรือการแสดงความจริงใจให้กับอีกฝ่ายได้อย่างแน่นอน สามารถนำประโยคคำชมเหล่านี้ไปใช้กับชาวต่างชาติ หรือฝึกสอนเด็กๆ ฝึกสอนลูกน้อยในด้านทักษะภาษาอังกฤษให้แข็งแรง มีคลังศัพท์มากขึ้นได้ทุกจุดประสงค์ มีความคุ้นเคยกับประโยคดีๆ และการฝึกสร้างประโยคชื่นชมภาษาอังกฤษง่ายๆ เหล่านี้ได้เอง 

หากผู้ปกครองท่านใดต้องการให้ลูกๆ ได้ฝึกฝนประสบการณ์ในการฟัง พูด อ่าน เขียน ด้านภาษาอังกฤษอย่างชำนาญ รวมถึง ผู้ที่สนใจพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในด้านการงาน หรือชีวิตประจำวัน สามารถเรียนรู้กับสถาบันมืออาชีพที่การันตีผลลัพธ์ให้กับผู้เรียนว่าจบหลักสูตรแล้วใช้งานได้ทันทีกับทาง Speak Up Language Center สถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กเล็ก 2.5 – 12 ปี และบุคคลทั่วไปได้เลย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ทุกช่องทาง

รู้จักทฤษฎี Constructivism สอนเด็กให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก

รู้จักทฤษฎี Constructivism สอนเด็กให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก

ทฤษฎี Constructivism เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้ และฝึกการคิดได้ด้วยตัวเอง โดยมีครูผู้สอนเป็นที่ปรึกษา และคอยให้แนะนำ ซึ่งโดยภาพรวมของทฤษฎีนี้คืออะไร มีแนวคิดการเรียนการสอนมาจากไหน จะสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism คืออะไร?

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism คืออะไร?

Constructivism เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นจาก ซีมัวร์ แพเพิร์ต (Seymour Papert) แห่ง มหาวิทยาลัย MIT (Massachusetts Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในปีพ.ศ. 2539 ประเทศไทยก็ได้มีการจัดเสวนาอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับปัญหาการศึกษา และทักษะของนักเรียนไทย จึงได้เชิญนักการศึกษา ซีมัวร์ แพเพิร์ต มาเยี่ยมชมโรงเรียน และวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาของไทย ซึ่งพบว่า บางโรงเรียนมีการเรียนการสอนตามหลักสูตรมากเกินไป ทำให้นักเรียนไม่ได้เกิดการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง จากนั้น จึงได้มีการนำทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism มาทดลองใช้กับโรงเรียนไทย

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism คือ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบใหม่ โดยมีแนวคิดสำคัญที่ว่า “ผู้คนสามารถสร้างความรู้ และเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามประสบการณ์ของตัวเอง” เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และครูมีหน้าที่คอยให้คำปรึกษา และคำแนะนำ จนทำให้เกิดการเรียนรู้กันทั้งสองฝ่าย และทำให้นักเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครูผู้สอนมากกว่าการเรียนในรูปแบบเดิม

เป้าหมายของทฤษฎี Constructivism มีอะไรบ้าง

เป้าหมายของทฤษฎี Constructivism มีอะไรบ้าง

ทฤษฎี Constructivism มุ่งเน้นสร้างการเรียนรู้ที่แตกต่าง โดยมีเป้าหมาย และหลักการ ดังนี้

1. ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ตามทฤษฎี Constructivism การฝึกการเรียนรู้ด้วยตัวเองคือการให้นักเรียนสร้าง หรือประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยสามารถต่อยอดจากความรู้ที่มีอยู่ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ก่อนหน้าของนักเรียน ความเชื่อทางสังคม และวัฒนธรรม ซึ่งความเชื่อ และประสบการณ์ที่แตกต่างกันจะทำให้นักเรียนได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่ต่างกันออกไป

2. เรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นหลัก

Constructivism ที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก และครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน คือการที่ครูจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม และเพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้ดีมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนมีส่วนร่วมในเรื่องการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้มีทางเลือกที่หลากหลาย และทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข

3. สร้างความรู้ใหม่จากความรู้ที่มีอยู่

หลักการเรียนรู้แบบ Constructivism ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการนำประสบการณ์ นำสิ่งที่พบเห็นจากสื่อต่างๆ มาเชื่อมโยงกับความรู้ และความเข้าใจที่มีอยู่ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น การนำประสบการณ์จากเพื่อนร่วมชั้นเรียน หรือแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ มาต่อยอดกับความรู้ที่ตนเองมีอยู่

4. ฝึกเรียนรู้หลายสิ่งพร้อมกัน

เป้าหมายของทฤษฎี Constructivism ที่ฝึกให้เรียนรู้หลายๆ สิ่งได้พร้อมกัน โดยหากกำลังเรียนรู้สิ่งหนึ่ง ครูผู้สอนก็จะแทรกความรู้ที่เกี่ยวข้อง หรือที่คล้ายกัน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากนักเรียนกำลังเรียนเกี่ยวกับลำดับความสำคัญของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ในขณะเดียวกัน นักเรียนก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของลำดับเหตุการณ์นั้นๆ ด้วย

5. ฝึกเรียนรู้ด้วยการมีส่วนร่วม

การเรียนรู้ตามรูปแบบ Constructivism ที่ฝึกให้เรียนรู้ในการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเหมือนเป็นการร่วมกิจกรรมทางสังคมรูปแบบหนึ่ง โดยเน้นความสำคัญในการเรียนรู้กับผู้อื่น เช่น ครู ครอบครัว หรือเพื่อน จะใช้วิธีการพูดคุย การโต้ตอบ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้นักเรียนสามารถปรับตัว และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกลุ่ม การทำโครงงาน หรืองานอภิปรายต่างๆ ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดเห็นระหว่างกัน

6. เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว

สำหรับหลักการนี้ ความรู้ และประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องเกิดในห้องเรียนเสมอไป แต่ก็ยังเกิดจากนอกห้องเรียนได้อีกด้วย ทำให้ทฤษฎี Constructivism สามารถนำมาปรับใช้เพื่อสอนให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ เพื่อที่จะทำให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ เรียนรู้ประสบการณ์การใช้ชีวิตของตนเอง หรือเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนรอบข้าง เป็นต้น

7. สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับ ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism คือการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ อย่างการมีกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายรูปแบบ หรือการเล่าเรื่องที่สนุกสนานสอดแทรกไปในบทเรียน เพื่อให้การเรียนไม่น่าเบื่อจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยสร้างความกระตือรือร้น ทำให้ผู้เรียนมีความตื่นตัว และช่วยดึงความสนใจให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กๆ ชอบการ์ตูนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ ครูก็อาจจะแทรกเนื้อหา เกี่ยวกับการ์ตูนลงไปด้วย ซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กๆ ให้หันมาสนใจการเรียนมากขึ้น

ประเภทของทฤษฎี Constructivism มีอะไรบ้าง

ประเภทของทฤษฎี Constructivism มีอะไรบ้าง

ทฤษฎี Constructivism มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทให้เลือกไปปรับใช้ในห้องเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และความรู้ของเด็ก โดยประเภทของทฤษฎี Constructivism ที่นิยมนำไปใช้มีด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้

1. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Constructivism)

ทฤษฎี Cognitive Constructivism เป็นทฤษฎีที่มาจากแนวคิดของ Piaget ที่มีวิธีการเรียนรู้แบบเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และรู้จักสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง พร้อมมีการพัฒนาความรู้ และความเข้าใจไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้นักเรียนเรียนรู้ถึงข้อมูลใหม่ๆ โดยสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งที่รู้อยู่แล้ว และเปลี่ยนแปลงความรู้เดิมเพื่อปรับให้เข้ากับข้อมูลใหม่ได้ เช่น การที่ครูผู้สอนจัดเตรียมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้สำรวจ และลงมือทำบางอย่างด้วยตนเอง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

2. เสริมสร้างการเข้าสังคม (Social Constructivism)

ทฤษฎี Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มาจากแนวคิดของ Lev Vygotsky โดยมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น การโต้ตอบ หรือพูดคุยกับครู เพื่อน และคนในครอบครัว หรือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เพื่อช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ และพัฒนาแนวคิดให้ต่อยอดเพิ่มมากขึ้น เช่น ครูผู้สอนใช้เทคนิคการสอน ที่ให้นักเรียนได้มีการทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างการทำงานกลุ่ม หรือการทำโครงงาน เป็นต้น และหากเมื่อเกิดปัญหา ครูผู้สอนก็จะคอยให้คำแนะนำ เพื่อให้นักเรียนนำไปปรับใช้กับการแก้ไขปัญหาของตัวเอง

ทฤษฎี Constructivism มีดีอย่างไร

ข้อดีของ ทฤษฎี Constructivism ในห้องเรียน หลักๆ เลยคือการมุ่งเน้นไปที่หัวข้อที่นักเรียนสนใจ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการเรียนมากขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ความคิด และการ ตั้งคำถาม ทั้งนี้ การโต้ตอบระหว่างครูกับนักเรียนจะช่วยเสริมการเรียนรู้มากกว่าการนั่งเรียนรู้เนื้อหาเพียงอย่างเดียว และเมื่อนักเรียนทำงานเป็นกลุ่มก็จะช่วยส่งเสริมให้มีส่วนร่วมกับแนวคิดใหม่ๆ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อที่จะช่วยเสริมทักษะ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่นมากยิ่งขึ้น

ทฤษฎี Constructionism กับขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน

ทฤษฎี Constructionism กับขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน

หากครูผู้สอนต้องการนำทฤษฎี Constructionism ไปปรับใช้ในห้องเรียน ควรมีแนวทางในการสอนตามทฤษฎี Constructionism ทั้ง 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 จุดประกายความคิด (Inviting Ideas)

ขั้นตอนตามทฤษฎี Constructionism 5 ขั้น ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างครูกับนักเรียน โดยการที่คุณครูใช้กิจกรรมการตั้งคำถาม หรือการกำหนดสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนใช้ความรู้ ความเข้าใจ จากที่ตนเองมีอยู่ มาใช้ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และเกิดกระบวนความคิด จนนำไปสู่ความเข้าใจในเนื้อหานั้นๆ

ขั้นที่ 2 ออกสำรวจ (Exploration)

การออกสำรวจภายใต้ทฤษฎี Constructivism ทำได้โดยการที่ครูผู้สอนกำหนดคำถาม หรือสถานการณ์สมมติ และให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น เพราะจะทำให้นักเรียน และครูผู้สอนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นระหว่างกันมากขึ้น

ขั้นที่ 3 นำเสนอความคิด (Proposition)

หลังจากที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ขั้นตอนต่อมาของทฤษฎี Constructionism 5 ขั้น คือการที่ให้นักเรียนได้ลองนำเสนอความคิดจากการมีส่วนร่วมในครั้งนี้ โดยเสนอความคิดจากสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ หรือสังเกต เพราะเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความเข้าใจในการเรียนการสอนหรือไม่

ขั้นที่ 4 มองหาทางออก (Explanation and Solution)

เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนการอธิบายที่ให้นักเรียนสามารถพูดคุยเกี่ยวกับกระบวนการคิดของตนกับครูผู้สอน และครูผู้สอนเองก็สามารถช่วยแก้ไขความไม่เข้าใจ หรือความเข้าใจผิดบางอย่างได้เช่นกัน เพราะการปรับบทเรียนในลักษณะนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิด และการเรียนรู้แบบทฤษฎี Constructionism 5 ขั้นมากขึ้น

ขั้นที่ 5 ลงมือทำ (Taking Action)

ขั้นตอนนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนการประเมินผลก็ได้เช่นกัน ที่ให้นักเรียนได้สรุปกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่ระยะการเรียนรู้แรกจนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับทฤษฎี Constructionism 5 ขั้น กับการเรียนรู้ โดยสรุปอ้างอิงจาก การโต้ตอบ การอภิปราย และการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของแนวคิด และการพัฒนาได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

ทฤษฎี Constructivism กับบทบาทของครูในห้องเรียน

บทบาทของครูในห้องเรียนตามทฤษฎี Constructivism คือครูทำหน้าที่เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก หรือคอยเป็นที่ปรึกษา ให้คำชี้แนะให้กับนักเรียนมากกว่าการเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลนักเรียกเพียงอย่างเดียว โดยหน้าที่หลัก คือการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เหมาะสม ให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน เพื่อแบ่งปันความคิด และประสบการณ์การเรียนรู้ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการคิด และความสามารถในการแก้ไขปัญหา คอยจุดประกายความคิด และกระตุ้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 

พร้อมทั้งมีหน้าที่สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน และให้คำแนะนำ หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ตัวนักเรียน ช่วยส่งเสริมความคิดเห็นของผู้เรียน และสรุปผลการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

กรณีตัวอย่างการนำทฤษฎี Constructivism มาใช้ห้องเรียน

กรณีตัวอย่างการนำทฤษฎี Constructivism มาใช้ห้องเรียน

กรณีตัวอย่างจากโรงเรียนบ้านสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกที่ได้มีการนำ Constructivism มาปรับใช้กับการเรียนการสอนในระดับชั้นเรียน ป. 3/5 ที่ให้นักเรียนได้มีการทำกิจกรรม ทั้งการร้องเพลง เล่นเกม การทำโครงงาน และการออกไปศึกษาแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น เรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ก็ให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการเขียนโปรแกรมให้ตัวการ์ตูนขยับ เป็นต้น

โรงเรียนบ้านสันกำแพงได้นำทฤษฎี constructionism 5 ขั้น มาปรับใช้กับการเรียนการสอน ดังนี้

  1. จุดประกายความคิด (Inviting Ideas) มีการใช้กิจกรรม หรือสื่อมาช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้ เพื่อนำไปต่อยอดสู่การหาความรู้ และเพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหา
  2. ออกสำรวจ (Exploration) กำหนดกิจกรรม หัวข้อ เรื่องสถานการณ์ที่น่าสนใจ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
  3. นำเสนอความคิด (Proposition) จัดการเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
  4. มองหาทางออก (Explanation and Solution) เสริมให้นักเรียนมีความเข้าใจในแนวคิด และแนวทางการเรียนรู้ จนทำให้นักเรียนสามารถสรุปความรู้ที่ได้รับอย่างเป็นระบบ

  5. ลงมือทำ (Taking Action) ให้นักเรียนฝึกนำเสนอความรู้ และผลงาน โดยเสนอตามความคิดสร้างสรรค์ในแบบของตนเอง และให้นักเรียนได้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน

สรุป

ทฤษฎี Constructivism คือการเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสิ่งรอบข้าง การเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือการที่มีปฏิสัมพันธ์กับครู หรือเพื่อน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กๆ มีการเรียนรู้ที่หลากหลายกว่าเดิม และมากกว่าการเรียนรู้จากตำราเรียนเพียงอย่างเดียว หากมีข้อสงสัยว่าทำไมจึงควรนำมาปรับใช้ในห้องเรียน คงตอบได้ว่าการนำ Constructivism มาปรับใช้ในห้องเรียนจะทำให้เด็กๆ เกิดการพัฒนาทักษะความคิด และการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

โดยทาง Speak Up Language Center สถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กเล็ก 2.5 – 12 ปี ก็ได้มีการสอนภาษาแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เป็นหลักสูตรการสอนที่เน้นความต้องการของเด็กเป็นหลัก พร้อมด้วยสภาพแวดล้อม ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ มีครูที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา คอยช่วยฝึกให้เด็กได้รู้จักแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และคอยส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างอิสระ

Blended Learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับเด็กในยุคหลังโควิด

Blended Learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับเด็กในยุคหลังโควิด

Blended Learning เป็นรูปแบบการศึกษาที่ผสมผสานวิธีการเรียนแบบตัวต่อตัวเข้ากับการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่ออกแบบมาเพื่อมอบประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับนักเรียนในแบบที่ส่วนตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น โดยนักเรียนจะแบ่งเวลาระหว่างการสอนแบบตัวต่อตัวและการเรียนรู้ออนไลน์ โดยใช้ประโยชน์จากข้อดีของทั้งสองสภาพแวดล้อมมารวมกัน
ระบบการศึกษา Blended Learning คืออะไร

ระบบการศึกษา Blended Learning คืออะไร

Blended Learning หรือการเรียนรู้แบบผสมผสานคือการเรียนรู้ที่ผสมผสานการเรียนรู้ออนไลน์ และการเรียนรู้ตัวต่อตัว เข้าด้วยกัน ในรูปแบบของ Hybrid โดยมีการใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วน วิธีการ และสถานที่ของการเรียนรู้ตามความเหมาะสมและความต้องการของนักเรียนและครู

Blended Learning มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน หรือแต่ละระดับชั้น หรือแต่ละวิชา เพื่อให้นักเรียนได้รับคำแนะนำ หรือการประเมินผลจากครู เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ หรือเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลาย

การปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคมทำให้ออกมาเป็นระบบ Blended Learning ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเริ่มมีการนำมาใช้มาตั้งแต่มีการใช้อินเทอร์เน็ตที่แพร่หลายมากขึ้น และได้รับความสนใจจากผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญในด้านการศึกษา มีการศึกษาวิจัยและทดลองใช้ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และความเป็นธรรมในการเรียนรู้

Blended Learning ได้รับการยอมรับและนำมาใช้มากขึ้นในยุคของโควิด-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายการศึกษาของเด็กทั่วโลก ที่เปลี่ยนไปใช้การเรียนรู้ออนไลน์เป็นหลัก รวมถึงยังเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความท้าทายมากทั้งสำหรับครู นักเรียน และผู้ปกครองอีกด้วย การเรียนรู้แบบผสมผสานจึงเป็นรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับยุคหลังโควิด เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ออนไลน์ได้อย่างหลากหลาย เพราะสิ่งนั้นคือสิ่งที่ตอบโจทย์การศึกษาที่ไม่ได้จำกัดแค่ภายในโรงเรียน

ทฤษฎีการเรียนแบบผสมผสาน Blended Learning ส่งผลต่อเด็กอย่างไร

ทฤษฎีการเรียนแบบผสมผสาน Blended Learning ส่งผลต่อเด็กอย่างไร

การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างการเตรียมความพร้อมให้เด็กวัยปฐมเข้าสู่สังคมและโลกในอนาคตได้ แต่ในยุคของโควิด-19 การศึกษาก็ต้องเผชิญกับการปรับตัวที่มากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ การเรียนรู้แบบ Blended Learning เป็นทฤษฎีการเรียนแบบผสมผสาน ที่เน้นรูปแบบการศึกษาที่นำเสนอวิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัย และเหมาะสมสำหรับเด็กในยุคหลังโควิด ซึ่งต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและมีความท้าทายมากมาย และที่สำคัญ Blended Learning ยังเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ช่วยพัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมากอีกด้วย
ลักษณะการสอนที่มีประสิทธิภาพของ Blended Learning

ลักษณะการสอนที่มีประสิทธิภาพของ Blended Learning

Blended Learning คือ การเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับเด็กในยุคหลังโควิด ในยุคหลังโควิด การเรียนรู้แบบผสมผสาน จะเป็นวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะกับช่วงปฐมวัย เนื่องจากการเรียนรู้แบบผสมผสาน จะช่วยให้เด็กๆ มีความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ สามารถเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และสามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ นอกจากนี้ การเรียนรู้แบบผสมผสาน ยังช่วยให้เด็กๆ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่หลากหลาย ทั้งทางด้านวิชาการและด้านทักษะชีวิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตและการพัฒนาของเด็กๆ ในอนาคต

ดังนั้นลักษณะการสอนที่มีประสิทธิภาพของ Blended Learning ที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตจุดเน้นเหล่านี้ด้วย

เน้นการเรียนการสอนแบบออนไลน์

การเรียนแบบ Blended Learning จะต้องมีส่วนผสมของการเรียนผ่านระบบออนไลน์อยู่ระหว่าง 30-70% ตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง สัดส่วนการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของ Blended Learning อาจจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมมากขึ้น

ตามงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การเพิ่มสัดส่วนการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของ Blended Learning ขึ้นมาเป็น 60% และใช้เวลาในห้องเรียน 40% เพื่อทำกิจกรรมหรืออภิปราย จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม สัดส่วนนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสไตล์การสอนและความเหมาะสมของแต่ละวิชา

ผู้สอนให้ความสำคัญกับ coaching

การสอนแบบเลคเชอร์หรือบรรยายเนื้อหาจะเป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้กันมาก แต่มีประสิทธิภาพไม่เท่ากับการใช่เทคนิคการเรียนแบบ Blended Learning ที่ใช้การโค้ช (Coaching) ผ่านการถามคำถามที่น่าสนใจให้ผู้เรียนได้คิดและหาคำตอบอาจเป็นวิธีการสอนที่เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มากกว่า

เพราะการโค้ชจะช่วยเสริมในส่วนของการคิดและแลกเปลี่ยนความคิดผ่านการตอบคำถามในชั้นเรียนให้มากขึ้น และส่งผลในการเพิ่มทักษะการวิเคราะห์วิพากษ์หรือ Critical Thinking ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในอนาคตของผู้เรียนนั่นเอง

มีการปรับใช้เทคโนโลยีในการสอน

การเรียนรู้แบบผสมผสานคือรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเด็กๆ วัยประถม ไม่ว่าจะเป็นสื่อการเรียนที่มีภาพและเสียง แพลตฟอร์มการส่งงานของผู้เรียนหรือห้องสนทนาออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้รับความสะดวก นอกจากนี้การใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถขยายขอบเขตการเรียนรู้ให้กว้างขึ้นเหมือนกับการเรียนในยุคใหม่ลดความเครียดในเรื่องของภาระงานของผู้สอน ช่วยให้สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่ดีได้มากขึ้น

ข้อดีของการเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning

ข้อดีของการเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning

Blended Learning คือการเรียนรู้แบบผสมผสาน รูปแบบการเรียนการสอนที่ผสมทั้งการเรียนในห้องเรียนและการเรียนออนไลน์เข้าด้วยกัน โดยใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning มีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้เรียนหรือผู้สอน ดังนี้

การสอนไม่จำเจ มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย

ตามทฤษฎีพีระมิดแห่งการเรียนรู้ ได้มีการบอกไว้ว่าวิธีการเรียนรู้แต่ละวิธีจะมีผลต่อการจดจำและการเรียนรู้เนื้อหาการเรียนของผู้เรียนอย่างแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่นการอ่านจะทำให้จำได้ 10% การฟังจะทำให้จำได้ 20% และการได้ลองปฏิบัติด้วยตัวเองจะทำให้จำได้ 75%

สำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย การเรียนออนไลน์เพียงอย่างเดียวจึงอาจไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากขาดการปฏิบัติจริง และการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ความรู้ที่ได้รับก็อาจเรื่องเรื่องเก่า แบบเดิมๆ รวมไปถึงยังอาจขาดสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็นเหมือนเดิม

จุดเด่นของ Blended Learning คือความหลากหลายของรูปแบบการเรียนรู้ ที่ยืดหยุ่นและไม่ตายตัว วิธีการเรียนนี้จึงเป็นวิธีการหลักในการนำไปใช้กับเด็กที่มีความแตกต่าง และมีข้อจำกัดเช่นการเรียนแบบ New Normal

มีสภาพแวดล้อมที่ดี เด็กตื่นตัวในการเรียนรู้

การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการสื่อสารและเกิดความสัมพันธ์กันมากกว่าการเรียนแบบออนไลน์

โดยการสนทนาและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้เรียนจะช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการหาคำตอบร่วมกันภายในห้องเรียนได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะกับเด็กปฐมวัย

วิธีนี้ยังถือได้ว่าเป็นวิธีการที่ดี และมีความเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล อีกทั้งยังสามารถสร้างและออกแบบกิจกรรมดีๆ เพื่อพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ได้มากมายอีกด้วย

ส่งเสริมเด็กๆ ให้ค้นคว้าเนื้อหาการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ข้อดีอีกข้อหนึ่งของ Blended Learning ที่จะไม่สามารถละเลยไปได้ คือการสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้สอนที่เคยเป็นผู้นำ จะเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้ช่วยแทน ทำให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตัวเองมากขึ้น ไม่มีกรอบ และความกดดันใดๆ มาทำให้การเรียนรู้ของเด็กแคบลง อีกทั้งในกระบวนการนี้ยังส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกเชื่อมโยงความรู้และทักษะต่างๆ เข้าด้วยกัน

เช่น สำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ ผู้สอนสามารถใช้ Blended Learning โดยให้ผู้เรียนดูวิดีโอการสอนออนไลน์เกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์หรือหนังสือที่เกี่ยวข้อง หรือแม้กระทั่งไปเยี่ยมชมสวนสัตว์จริงๆ แล้วให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน โดยการนำเสนอหรือสร้างสื่อการเรียนรู้เอง การเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและความเข้าใจมากขึ้น และยังเสริมสร้างทักษะการค้นคว้าและการสื่อสารได้ด้วย

ข้อจำกัดของ Blended Learning ที่ผู้ปกครองต้องคำนึง

ข้อจำกัดของ Blended Learning ที่ผู้ปกครองต้องคำนึง

Blended Learning เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ผสมผสานการเรียนในห้องเรียนและการเรียนออนไลน์เข้าด้วยกัน โดยใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน Blended Learning มีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้เรียนหรือผู้สอน แต่ในขณะเดียวกัน Blended Learning ก็มีข้อจำกัดบางประการที่ผู้ปกครองต้องคำนึง ดังนี้

  • การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning คือระบบที่ต้องการอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ ซึ่งอาจไม่มีทุกครอบครัว หรืออาจมีแต่ไม่เพียงพอสำหรับทุกคนในครอบครัว ผู้ปกครองจึงต้องจัดหาและดูแลอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กๆ
  • Blended Learning ต้องการความรับผิดชอบและวินัยในการเรียนของผู้เรียน ผู้ปกครองจึงต้องช่วยเหลือและสนับสนุนให้เด็กๆ มีการจัดสรรเวลา การติดตามเนื้อหา และการทำแบบฝึกหัดอย่างเหมาะสม และไม่หลงไปกับสื่ออื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • Blended Learning อาจไม่เหมาะกับผู้เรียนบางกลุ่ม ผู้ปกครองจึงต้องรู้จักลักษณะการเรียนรู้ของเด็กๆ ว่าเหมาะกับการเรียนแบบไหน และมีอะไรที่ต้องช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีที่สุด
  • Blended Learning อาจมีความล่าช้าหรือขัดข้องในการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้ปกครองจึงต้องเป็นตัวกลางในการติดต่อ และช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ มีการแสดงความคิดเห็น หรือถามคำถามได้อย่างง่ายดาย

Blended Learning การเรียนรู้แบบผสมผสานคือรูปแบบการเรียนรู้ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผู้ปกครองจึงต้องเข้าใจและปรับตัวให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กๆ และช่วยเหลือให้เด็กๆ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

Blended Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ผสมผสานการเรียนออนไลน์และการเรียนในห้องเรียนเข้าด้วยกัน โดยใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน การเรียนรู้แบบนี้มีประโยชน์ในการสร้างประสบการณ์จากการลงมือทำกิจกรรม และให้ความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในจุดต่างๆ ตอบโจทย์กับยุคสมัยในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้แบบนี้ต้องการเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง และจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญ และดูแลอย่างใกล้ชิดควบคู่กันไปในระหว่างเรียน
มาฝึกภาษาให้ลูกกับ 11 เพลงเด็กภาษาอังกฤษ พร้อมเนื้อเพลง

มาฝึกภาษาให้ลูกกับ 11 เพลงเด็กภาษาอังกฤษ พร้อมเนื้อเพลง

ทักษะการสื่อสารและภาษา เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับทุกคน ดังนั้นจึงต้องส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็กๆ เพื่อที่เด็กจะสามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้สิ่งอื่นต่อได้ การใช้เพลงฝึกภาษาอังกฤษ เป็นทางเลือกที่ดีที่จะดึงดูด และทำให้เด็กเล็กสนใจการฝึกภาษา เพราะเสียงเพลงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับทุกคน ทุกวัย เด็กเองก็ชอบที่จะได้ยินเสียงเพลงเช่นกัน โดยเพลงสำหรับเด็กมีเนื้อเพลงที่ซ้ำไปซ้ำมา จำได้ง่ายทำให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์และโครงสร้างประโยคอย่างสนุกสนาน 

ดังนั้นเพลงนี่แหละที่จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการฝึกภาษาอังกฤษและทักษะต่างๆ ของเด็ก บทความนี้จะพาไปดูข้อดีของการใช้เพลงฝึกภาษาอังกฤษ พร้อม 11 เนื้อเพลงเด็กภาษาอังกฤษ ให้นำไปร้องเล่นกับเด็กๆ กัน

ฝึกภาษาไปกับเนื้อเพลงเด็ก ภาษาอังกฤษ ดียังไง

ฝึกภาษาไปกับเนื้อเพลงเด็ก ภาษาอังกฤษ ดียังไง

เพลงเด็กภาษาอังกฤษ จะมีเนื้อเพลงเสริมทักษะการเรียนรู้ที่สนุกและน่าสนใจ เพราะเด็กจะรู้สึกสนุก และมีความสุขขณะร้องเพลง ไม่กดดันหรือฝืนเหมือนการท่องจำ จะทำให้เด็กๆ ให้ความร่วมมือ และมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ โดยการฝึกให้เด็กร้องเพลงภาษาอังกฤษ ใช้ได้กับทั้งเด็กอนุบาล และเด็กประถม ซึ่งการร้องเพลงภาษาอังกฤษจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการต่างๆ ดังนี้

ช่วยพัฒนาด้านภาษา

การใช้เพลงในการฝึกภาษาอังกฤษช่วยในการพัฒนาด้านภาษาของเด็กอย่างมาก เพราะเด็กจะเริ่มต้นด้วยการฟัง และจะเริ่มเข้าใจภาษาอังกฤษ โดยเรียนรู้คำศัพท์ และโครงสร้างประโยคผ่านทางการฟังเนื้อเพลง อีกทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะในการออกเสียงที่ชัดเจน เด็กสามารถใช้เนื้อเพลงในการฝึกการพูดอย่างชัดเจน และสามารถเรียนรู้คำศัพท์ และสรรพนามในบทบาทต่างๆ ในเนื้อเพลง ทำให้เข้าใจการใช้ศัพท์ในเนื้อเพลงได้

ช่วยพัฒนาด้านการจัดการอารมณ์

การร้องเพลงสามารถทำให้เด็กแสดงความรู้สึก และแสดงอารมณ์ผ่านเพลงได้  ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เข้าใจอารมณ์ของตนเอง และผู้อื่น เพราะในแต่ละเพลงจะส่งอารมณ์ที่แตกต่างกัน เช่น การร้องเพลงเกี่ยวกับความสุข ความสนุกสนาน หรือความเศร้าเสียใจ ช่วยให้เด็กเข้าใจ และปรับอารมณ์ของเด็กในสถานการณ์ต่างๆ บางเพลงมีเนื้อเพลงที่นับถอยหลัง ซึ่งการร้องเพลงด้วยการนับถอยหลังจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ และฝึกการจัดการอารมณ์ของตนเองในระหว่างการรอคอยได้

ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับเด็ก

การร้องเพลงเป็นประสบการณ์ที่สนุก และเป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างความมั่นใจ เพราะความรู้สึกของเด็กที่สามารถร้องเพลงได้บางท่อน หรือร้องได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นความสำเร็จที่น่าภูมิใจ เด็กๆ จะรู้สึกมั่นใจในความสามารถของตนเอง และจะสามารถนำความมั่นใจไปต่อยอดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างอื่นได้

ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี

อาจจะสงสัยว่าการที่เด็กได้ฝึกร้องเพลงอนุบาลภาษาอังกฤษ จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้อย่างไร การร้องเพลงจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองได้ เพราะการร้องเพลงร่วมกันเป็นกิจกรรมที่สนุก และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเด็กได้ สามารถนั่งร้องเพลงร่วมกันในเวลาว่างหรือเวลาเข้านอนได้ เป็นการสร้างความสนิท และเพิ่มความรักในครอบครัว อีกทั้งยังส่งเสริมความกล้าในการเข้าสังคม ไม่เขินอาย สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันได้อย่างราบรื่น

ช่วยให้เด็กได้ออกกำลัง

เด็กที่กำลังร้องเพลงจะแสดงอารมณ์ต่างๆ ผ่านการขยับร่างกายได้อย่างชัดเจน การเต้นรำหรือเคลื่อนไหวตามเพลงจะช่วยปลดปล่อยอารมณ์ และลดความตึงเครียด โดยผู้ปกครองสามารถสร้างกิจกรรมที่ร่วมกับการร้องเพลงภาษาอังกฤษได้ เช่น การเต้นรำ การเคลื่อนไหว หรือการทำกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีเพลงเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อเพิ่มความสนุกสนาม

รวม 11 เพลงเด็กภาษาอังกฤษ พร้อมเนื้อเพลง

รวม 11 เพลงเด็กภาษาอังกฤษ พร้อมเนื้อเพลง

เมื่อได้รู้แล้วว่าการที่เด็กๆ ฝึกภาษาอังกฤษด้วยวิธีการร้องเพลงนั้นสามารถเสริมสร้างทักษะด้านภาษา และได้รับประโยชน์ด้านอื่นๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่อยากจะหาเพลงภาษาอังกฤษดีๆ ร้องง่าย ฟังติดหู ไปร้องกับลูกๆ หรือคุณครูที่อยากหาเพลงภาษาอังกฤษไปให้นักเรียนฝึกร้องในห้องเรียน Speak Up ได้รวบรวม 11 เพลงภาษาอังกฤษ พร้อมคำอ่านภาษาไทย มาให้เลือกแล้ว ดังนี้

1. Tommy Thumb Where Are You?

1. Tommy Thumb Where Are You?

“Tommy Thumb Where Are You?” เป็นเพลงเด็กภาษาอังกฤษที่มีเนื้อเพลงชวนเด็กๆ เล่นเกม และเพลิดเพลินกับท่าทางของนิ้วมือ เนื้อเพลงจำง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นอีกวิธีที่ใช้สอนศัพท์นิ้วทั้ง 5 นิ้ว อย่างสนุกสนาน ซึ่งแต่ละนิ้วจะถูกยกขึ้น และนำมาแสดงตามที่ร้องเพลง ซึ่งการฝึกจำ และสังเกตศัพท์นิ้วมือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เป็นวิธีพัฒนาทักษะการจำ และการควบคุมร่างกายของเด็ก

Tommy Thumb Tommy Thumb (ทอมมี่ ธัม ทอมมี่ ธัม)

ทอมมี่นิ้วโป้ง ทอมมี่นิ้วโป้ง

Where are you? (แวร์ อาร์ ยู)

อยู่ที่ไหน?

Here I am here I am (เฮียร์ ไอ แอม เฮียร์ ไอ แอม)

อยู่นี่จ๊ะ อยู่นี่จ๊ะ

How do you do? (ฮาว ดู ยู ดู)

สุขสบายดีหรือไร?

Peter Pointer Peter Pointer (พีเทอะ พอยน์เทอะ พีเทอะ พอยน์เทอะ)

ปีเตอร์นิ้วชี้ ปีเตอร์นิ้วชี้

Where are you? (แวร์ อาร์ ยู)

อยู่ที่ไหน?

Here I am here I am (เฮียร์ ไอ แอม เฮียร์ ไอ แอม)

อยู่นี่จ๊ะ อยู่นี่จ๊ะ

How do you do? (ฮาว ดู ยู ดู)

สุขสบายดีหรือไร?

 

Toby Tall Toby Tall (โทบี ทอล โทบี ทอล)

โทบี้นิ้วกลาง โทบี้นิ้วกลาง

Where are you? (แวร์ อาร์ ยู)

อยู่ที่ไหน?

Here I am here I am (เฮียร์ ไอ แอม เฮียร์ ไอ แอม)

อยู่นี่จ๊ะ อยู่นี่จ๊ะ

How do you do? (ฮาว ดู ยู ดู)

สุขสบายดีหรือไร?

 

Ruby Ring Ruby Ring (รูบี ริง รูบี ริง)

รูบี้นิ้วนาง รูบี้นิ้วนาง

Where are you? (แวร์ อาร์ ยู)

อยู่ที่ไหน?

Here I am here I am (เฮียร์ ไอ แอม เฮียร์ ไอ แอม)

อยู่นี่จ๊ะ อยู่นี่จ๊ะ

How do you do? (ฮาว ดู ยู ดู)

สุขสบายดีหรือไร?

 

Baby Small Baby Small (เบบี สมอล เบบี สมอล)

เบบี้นิ้วก้อย เบบี้นิ้วก้อย

Where are you? (แวร์ อาร์ ยู)

อยู่ที่ไหน?

Here I am here I am (เฮียร์ ไอ แอม เฮียร์ ไอ แอม)

How do you do? (ฮาว ดู ยู ดู)

สุขสบายดีหรือไร?

2. Ten Little Fingers

2. Ten Little Fingers

เพลงภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาลเพลงนี้ เป็นเพลงที่สอนนับจำนวนนิ้วมือ เป็นเพลงที่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้การนับจำนวนตั้งแต่หนึ่งถึงสิบ แต่ละส่วนของเนื้อเพลงระบุจำนวนนิ้วมือที่ต้องนับ การร้องเพลงนี้ช่วยในการฝึกทักษะการนับ และการจดจำจำนวนตัวเลขของเด็ก อีกทั้งยังส่งเสริม และปูพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่อยู่ในขั้นพื้นฐาน

One little, two little, three little fingers. (วัน ลิทเทิล ทู ลิทเทิล ธรี ลิทเทิล ฟิงเกอร์ซฺ)
หนึ่ง แล้วก็สอง แล้วก็สามนิ้วมือน้อย
Four little, five little, six little fingers. (โฟร์ ลิทเทิล ไฟว์ ลิทเทิล ซิกซฺ ลิทเทิล ฟิงเกอร์ซฺ)
สี่ แล้วก็ห้า แล้วก็หกนิ้วมือน้อย
Seven little, eight little, nine little fingers. (เซฟวฺ เวิน ลิทเทิล เอท ลิทเทิล ไนนฺ ลิทเทิล ฟิงเกอร์ซฺ)
เจ็ด แล้วก็แปด แล้วก็เก้านิ้วมือน้อย
Ten fingers on my hand. (เท็น ฟิงเกอร์ซฺ ออน มาย แฮนด์)
สิบนิ้วบนมือของฉัน

Ten little, nine little, eight little fingers. (เท็น ลิทเทิล ไนน ลิทเทิล เอท ลิทเทิล ฟิงเกอร์ซฺ)

สิบ แล้วก็เก้า แล้วก็แปดนิ้วมือน้อย
Seven little, six little, five little fingers. (เซฟวฺ เวิน ลิทเทิล ซิกซฺ ลิทเทิล ไฟว์ ลิทเทิล ฟิงเกอร์ซฺ)
เจ็ด แล้วก็หก แล้วก็ห้านิ้วมือน้อย
Four little, three little, two little fingers. (โฟร์ ลิทเทิล ธรี ลิทเทิล ทู ลิทเทิล ฟิงเกอร์ซฺ)
สี่ แล้วก็สาม แล้วก็สองนิ้วมือน้อย
One finger on my hand. (วัน ฟิงเกอร์ซฺ ออน มาย แฮนด์)
หนึ่งนิ้วบนมือฉัน

3. Five Green Bottles

3. Five Green Bottles

“Five Green Bottles” เป็นเพลงที่นับถอยหลัง (countdown) เหมาะกับการเรียนรู้การนับจำนวนถอยหลังจากห้าไปจนถึงศูนย์ เพลงนี้เป็นอีกหนึ่งเพลงที่สนุก สามารถใช้ในการฝึกพัฒนาทักษะการนับเลข และความจำของเด็กได้อีกด้วย

Five green bottles hanging on the wall (ไฟว์ กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ขวดเขียวห้าขวดอยู่บนกำแพง
Five green bottles hanging on the wall (ไฟว์ กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ขวดเขียวห้าขวดอยู่บนกำแพง
And if one green bottle should accidentally fall (แอนดฺ อิฟ วัน กรีน บอทเทิล เชิด แอคซิเดนแท็ลลิ ฟอล)

ถ้าหนึ่งขวดเขียวเกิดตกลงมา
There’d be four green bottles hanging on the wall (แธ บี โฟว์ กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

เหลือสี่ขวดเขียวอยู่บนกำแพง


Four green bottles hanging on the wall (โฟว์ กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ขวดเขียวสี่ขวดอยู่บนกำแพง

Four green bottles hanging on the wall (โฟว์ กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ขวดเขียวสี่ขวดอยู่บนกำแพง
And if one green bottle should accidentally fall (แอนดฺ อิฟ วัน กรีน บอทเทิล เชิด แอคซิเดนแท็ลลิ ฟอล)

ถ้าหนึ่งขวดเขียวเกิดตกลงมา
There’d be three green bottles hanging on the wall (แธ บี ธรี กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

เหลือสามขวดเขียวอยู่บนกำแพง


Three green bottles hanging on the wall (ธรี กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ขวดเขียวสามขวดอยู่บนกำแพง
Three green bottles hanging on the wall (ธรี กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ขวดเขียวสามขวดอยู่บนกำแพง
And if one green bottle should accidentally fall (แอนดฺ อิฟ วัน กรีน บอทเทิล เชิด แอคซิเดนแท็ลลิ ฟอล)

ถ้าหนึ่งขวดเขียวเกิดตกลงมา
There’d be two green bottles hanging on the wall (แธ บี ทู กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

เหลือสองขวดเขียวอยู่บนกำแพง


Two green bottles hanging on the wall (ทู กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ขวดเขียวสองขวดอยู่บนกำแพง
Two green bottles hanging on the wall (ทู กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ขวดเขียวสองขวดอยู่บนกำแพง
And if one green bottle should accidentally fall (แอนดฺ อิฟ วัน กรีน บอทเทิล เชิด แอคซิเดนแท็ลลิ ฟอล)

ถ้าหนึ่งขวดเขียวเกิดตกลงมา
There’d be one green bottle hanging on the wall (แธ บี วัน กรีน บอทเทิล แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

เหลือหนึ่งขวดเขียวอยู่บนกำแพง


One green bottle hanging on the wall (วัน กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ขวดเขียวหนึ่งขวดอยู่บนกำแพง

One green bottle hanging on the wall (วัน กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ขวดเขียวหนึ่งขวดอยู่บนกำแพง
And if one green bottle should accidentally fall (แอนดฺ อิฟ วัน กรีน บอทเทิล เชิด แอคซิเดนแท็ลลิ ฟอล)

ถ้าหนึ่งขวดเขียวเกิดตกลงมา
There’d be no green bottles hanging on the wall (แธ บี โน กรีน บอทเทิลซฺ แฮงกิง ออน เดอะ วอล)

ไม่เหลือขวดเขียวอยู่บนกำแพง

4. Five Little Ducks

4. Five Little Ducks

“Five Little Ducks” เป็นเพลงภาษาอังกฤษสําหรับอนุบาลที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับลูกเป็ด 5 ตัว ที่ออกไปเที่ยว และหลังจากนั้นก็กลับมาไปแม่เป็ดที่บ่นว่าลูกหายไปหนึ่งตัว แต่กลับพบว่าลูกเป็ดทั้งห้ากลับมาอยู่กับแม่เป็ดอย่างปลอดภัย ผู้ปกครองสามารถสอนเด็กๆ นับเลขถอยหลังไปพร้อมกับการฝึกภาษาได้ ทั้งเนื้อเพลง และท่าทางของนิ้วมือ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้การนับเลขถอยหลัง และการพัฒนาทักษะสื่อสารได้

One …. two …. three… Four….five (วัน….ทู….ธรี….โฟว์….ไฟว์)

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า

Five little ducks (ไฟว์ ลิทเทิล ดัคซฺ)

ลูกเป็ดห้าตัว

Went out one day (เวนทฺ เอาท์ วัน เดย์)

ออกไปเดินเล่น

Over the hill and far away (โอเฝอะ เดอะ ฮิล แอนดฺ ฟาร์ อะเวย์)

ข้ามภูเขาไปไกลแสนไกล

Mother duck said (มาเธอะ ดัค เซด)

แม่เป็ดร้องเรียก

“Quack, quack, quack, quack.” (แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ)

ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ  

But only four little ducks came back. (บัท โอนลี โฟว์ ลิทเทิล ดัคซฺ เคม แบค)

แต่มีลูกเป็ดแค่สี่ตัวกลับมา

 

One …. two …. three… Four (วัน….ทู….ธรี….โฟว์)

หนึ่ง สอง สาม สี่

Four little ducks (โฟว์ ลิทเทิล ดัคซฺ)

ลูกเป็ดสี่ตัว

Went out one day (เวนทฺ เอาท์ วัน เดย์)

ออกไปเดินเล่น

Over the hill and far away (โอเฝอะ เดอะ ฮิล แอนดฺ ฟาร์ อะเวย์)

ข้ามภูเขาไปไกลแสนไกล

Mother duck said (มาเธอะ ดัค เซด)

แม่เป็ดร้องเรียก

“Quack, quack, quack, quack.” (แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ)

ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ  

But only three little ducks came back. (บัท โอนลี ธรี ลิทเทิล ดัคซฺ เคม แบค)

แต่มีลูกเป็ดแค่สามตัวกลับมา

One …. two …. three… (วัน….ทู….ธรี)

หนึ่ง สอง สาม

Three little ducks (ธรี ลิทเทิล ดัคซฺ)

ลูกเป็ดสามตัว

Went out one day (เวนทฺ เอาท์ วัน เดย์)

ออกไปเดินเล่น

Over the hill and far away (โอเฝอะ เดอะ ฮิล แอนดฺ ฟาร์ อะเวย์)

ข้ามภูเขาไปไกลแสนไกล

Mother duck said (มาเธอะ ดัค เซด)

แม่เป็ดร้องเรียก

“Quack, quack, quack, quack.” (แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ)

ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ  

But only two little ducks came back. (บัท โอนลี ทู ลิทเทิล ดัคซฺ เคม แบค)

แต่มีลูกเป็ดแค่สองตัวกลับมา

One…. two (วัน….ทู)

หนึ่ง สอง 

Two little ducks (ทู ลิทเทิล ดัคซฺ)

ลูกเป็ดสองตัว

Went out one day (เวนทฺ เอาท์ วัน เดย์)

ออกไปเดินเล่น

Over the hill and far away (โอเฝอะ เดอะ ฮิล แอนดฺ ฟาร์ อะเวย์)

ข้ามภูเขาไปไกลแสนไกล

Mother duck said (มาเธอะ ดัค เซด)

แม่เป็ดร้องเรียก

“Quack, quack, quack, quack.” (แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ)

ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ  

But only one little duck came back. (บัท โอนลี วัน ลิทเทิล ดัคซฺ เคม แบค)

แต่มีลูกเป็ดแค่หนึ่งตัวกลับมา

One (วัน)

หนึ่ง 

One little duck (วัน ลิทเทิล ดัคซฺ)

ลูกเป็ดหนึ่งตัว

Went out one day (เวนทฺ เอาท์ วัน เดย์)

ออกไปเดินเล่น

Over the hill and far away (โอเฝอะ เดอะ ฮิล แอนดฺ ฟาร์ อะเวย์)

ข้ามภูเขาไปไกลแสนไกล

Mother duck said (มาเธอะ ดัค เซด)

แม่เป็ดร้องเรียก

“Quack, quack, quack, quack.” (แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ)

ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ  

But none of the five little ducks came back. (บัท นัน ออฟ เดอะ ไฟว์ ลิทเทิล ดัคซฺ เคม แบค)

แต่ไม่มีลูกเป็ดตัวไหนกลับมา

No (โน)

ไม่มี

No little duck (โน ลิทเทิล ดัคซฺ)

ไม่มีลูกเป็ด

Went out one day (เวนทฺ เอาท์ วัน เดย์)

ออกไปเดินเล่น

Over the hill and far away (โอเฝอะ เดอะ ฮิล แอนดฺ ฟาร์ อะเวย์)

ข้ามภูเขาไปไกลแสนไกล

Mother duck said (มาเธอะ ดัค เซด)

แม่เป็ดร้องเรียก

“Quack, quack, quack, quack.” (แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ, แควคฺ)

ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ  

But none of the five little ducks came back. (บัท นัน ออฟ เดอะ ไฟว์ ลิทเทิล ดัคซฺ เคม แบค)

แต่ไม่มีลูกเป็ดห้าตัวกลับมา

One two three four five . (วัน….ทู….ธรี….โฟว์….ไฟว์)

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า

5. Five Speckled Frogs

5. Five Speckled Frogs

เนื้อเพลงฝึกภาษาอังกฤษที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับลูกกบ 5 ตัว ที่นั่งอยู่บนขอนไม้ ลูกกบแต่ละตัวจะกระโดดลงจากขอนไม้ ทีละหนึ่งตัว เมื่อมีแมลงวันบินผ่านมา แม่กบจะร้องเพลงเป็นการนับถอยหลังเริ่มจากลูกกบตัวที่ 5 และลดลงมาทีละตัว จนกว่าจะไม่มีลูกกบเหลืออยู่บนขอนไม้ เพลงนี้เป็นอีกเพลงที่สอนนับเลขถอยหลัง ที่สามารถพัฒนาทักษะการพูดและการร้องเพลงของเด็ก ด้วยวิธีการนับลูกกบ ผู้ปกครองสามารถเพิ่มลูกเล่น”Yum, yum!” เป็นการส่งเสริมความมั่นใจให้เด็กในขณะร้องเพลง

Five Little Speckled Frogs. (ไฟว์ ลิทเทิล สเพคเคิล ฟรอกซฺ)

ลูกกบลายจุดห้าตัว

Sat on a speckled log. (แซท ออน อะ สเพคเคิล ลอก)

นั่งบนขอนไม้มีลายด่าง

Eating the most delicious bugs. Yum! Yum! (อีททิง เดอะ โมสทฺ ดิลิชเชิส บักซฺ ยัม! ยัม!)

กำลังกินแมลงสุดแสนอร่อย งั่ม งั่ม

One jumped into the pool. (วัน จัมพฺ อินทู พูล)

หนึ่งตัวกระโดดลงสระน้ำ

Where it was nice and cool. (แวร์ อิท วอส ไนสฺ แอนดฺ คูล)

ซึ่งมีอากาศเย็นและสบาย

Now there are Four green speckled frogs. (เนา แดร์ อาร์ โฟว์ กรีน สเพคเคิล ฟรอกซฺ)

ตอนนี้เหลือกบลายจุดสี่ตัว

Four Little Speckled Frogs. (โฟว์ ลิทเทิล สเพคเคิล ฟรอกซฺ)

ลูกกบลายจุดสี่ตัว

Sat on a speckled log. (แซท ออน อะ สเพคเคิล ลอก)

นั่งบนขอนไม้มีลายด่าง

Eating the most delicious bugs. Yum! Yum! (อีททิง เดอะ โมสทฺ ดิลิชเชิส บักซฺ ยัม! ยัม!)

กำลังกินแมลงสุดแสนอร่อย งั่ม งั่ม

One jumped into the pool. (วัน จัมพฺ อินทู พูล)

หนึ่งตัวกระโดดลงสระน้ำ

Where it was nice and cool. (แวร์ อิท วอส ไนสฺ แอนดฺ คูล)

ซึ่งมีอากาศเย็นและสบาย

Now there are Three green speckled frogs. (เนา แดร์ อาร์ ธรี กรีน สเพคเคิล ฟรอกซฺ)

ตอนนี้เหลือกบลายจุดสามตัว

Three little speckled frogs. (ธรี ลิทเทิล สเพคเคิล ฟรอกซฺ)

ลูกกบลายจุดสามตัว

Sat on a speckled log. (แซท ออน อะ สเพคเคิล ลอก)

นั่งบนขอนไม้มีลายด่าง

Eating the most delicious bugs. Yum! Yum! (อีททิง เดอะ โมสทฺ ดิลิชเชิส บักซฺ ยัม! ยัม!)

กำลังกินแมลงสุดแสนอร่อย งั่ม งั่ม

One jumped into the pool. (วัน จัมพฺ อินทู พูล)

หนึ่งตัวกระโดดลงสระน้ำ

Where it was nice and cool. (แวร์ อิท วอส ไนสฺ แอนดฺ คูล)

ซึ่งมีอากาศเย็นและสบาย

Now there are Two green speckled frogs. (เนา แดร์ อาร์ ทู กรีน สเพคเคิล ฟรอกซฺ)

ตอนนี้เหลือกบลายจุดสองตัว

Two little speckled frogs. (ทู ลิทเทิล สเพคเคิล ฟรอกซฺ)

ลูกกบลายจุดสองตัว

Sat on a speckled log. (แซท ออน อะ สเพคเคิล ลอก)

นั่งบนขอนไม้มีลายด่าง

Eating the most delicious bugs. Yum! Yum! (อีททิง เดอะ โมสทฺ ดิลิชเชิส บักซฺ ยัม! ยัม!)

กำลังกินแมลงสุดแสนอร่อย งั่ม งั่ม

One jumped into the pool. (วัน จัมพฺ อินทู พูล)

หนึ่งตัวกระโดดลงสระน้ำ

Where it was nice and cool. (แวร์ อิท วอส ไนสฺ แอนดฺ คูล)

ซึ่งมีอากาศเย็นและสบาย

Now there is one green speckled frog. (เนา แดร์ อีส วัน กรีน สเพคเคิล ฟรอก)

ตอนนี้เหลือกบลายจุดหนึ่งตัว

One little speckled frog. (วัน ลิทเทิล สเพคเคิล ฟรอก)

ลูกกบลายจุดหนึ่งตัว

Sat on a speckled log. (แซท ออน อะ สเพคเคิล ลอก)

นั่งบนขอนไม้มีลายด่าง

Eating the most delicious bugs. Yum! Yum! (อีททิง เดอะ โมสทฺ ดิลิชเชิส บักซฺ ยัม! ยัม!)

กำลังกินแมลงสุดแสนอร่อย งั่ม งั่ม

It jumped into the pool. (อิท จัมพฺ อินทู เดอะ พูล)

หนึ่งตัวกระโดดลงสระน้ำ

Where it was nice and cool. (แวร์ อิท วอส ไนสฺ แอนดฺ คูล)

ซึ่งมีอากาศเย็นและสบาย

Now there is no more speckled frogs. (เนา แดร์ อีส โน โมรฺ สเพคเคิล ฟรอกซฺ)

ตอนนี้ไม่เหลือกบลายจุดสักตัว

6. If You’re Happy and You Know It

6. If You’re Happy and You Know It

พลงภาษาอังกฤษสําหรับอนุบาลต่อมาเป็นเพลงที่มีจังหวะสนุกสนาน เน้นการแสดงออกเกี่ยวกับความสุขและความรู้สึกพอใจ สามารถสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน และสดใสให้กับเด็กๆ ได้ ผู้ปกครองสามารถนำเพลงนี้มาสร้างกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว หรือการกระทำที่เกี่ยวข้องกับแต่ละส่วนของเนื้อเพลง เพื่อส่งเสริมการฟัง  และไหวพริบในการจับจังหวะจากการตบมือได้

 

If you’re happy and you know it, clap your hands (clap clap)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, แคลพฺ ยัวร์ แฮนด์ซฺ (ตบมือ)]
หากพวกเรากำลังสบาย จงปรบมือพลัน (แปะ แปะ)
If you’re happy and you know it, clap your hands (clap clap)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, แคลพฺ ยัวร์ แฮนด์ซฺ (ตบมือ)]
หากพวกเรากำลังสบาย จงปรบมือพลัน (แปะ แปะ)
If you’re happy and you know it, then your face will surely show it
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, เธน ยัวร์ เฟส วิล ชัวลี โชว์ อิท]

หากพวกเรากำลังมีสุข หมดความทุกข์ไปแล้วทุกสิ่ง
If you’re happy and you know it, clap your hands. (clap clap)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, แคลพฺ ยัวร์ แฮนด์ซฺ (ตบมือ)]
มัวประวิงอะไรกันเล่า จงปรบมือพลัน (แปะ แปะ)

If you’re happy and you know it, stomp your feet (stomp stomp)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, สตอมพฺ ยัวร์ ฟีท (กระทืบเท้า)]
หากพวกเรากำลังสบาย กระทืบเท้าพลัน (ตึบ ตึบ)
If you’re happy and you know it, stomp your feet (stomp stomp)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, สตอมพฺ ยัวร์ ฟีท (กระทืบเท้า)]
หากพวกเรากำลังสบาย กระทืบเท้าพลัน (ตึบ ตึบ)
If you’re happy and you know it, then your face will surely show it
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, เธน ยัวร์ เฟส วิล ชัวลี โชว์ อิท]
หากพวกเรากำลังมีสุข หมดความทุกข์ไปแล้วทุกสิ่ง
If you’re happy and you know it, stomp your feet. (stomp stomp)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, สตอมพฺ ยัวร์ ฟีท (กระทืบเท้า)]
มัวประวิงอะไรกันเล่า กระทืบเท้าพลัน (ตึบ ตึบ)

If you’re happy and you know it, shout “Hurray!” (hoo-ray!)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, เชาทฺ (ฮูเร่!)]
หากพวกเรากำลังสบาย จงส่งเสียงดัง (ฮูเร่)
If you’re happy and you know it, shout “Hurray!” (hoo-ray!)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, เชาทฺ (ฮูเร่!)]
หากพวกเรากำลังสบาย จงส่งเสียงดัง (ฮูเร่)
If you’re happy and you know it, then your face will surely show it
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, เธน ยัวร์ เฟส วิล ชัวลี โชว์ อิท]
หากพวกเรากำลังมีสุข หมดความทุกข์ไปแล้วทุกสิ่ง
If you’re happy and you know it, shout “Hurray!” (hoo-ray!)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท,  เชาทฺ (ฮูเล่!)]
มัวประวิงอะไรกันเล่า จงส่งเสียงดัง (ฮูเร่)

If you’re happy and you know it, do all three (clap-clap, stomp-stomp, hoo-ray!)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, ดู ออล ธรี (ตบมือ, กระทืบ, ตะโกนฮูเล่)]
หากพวกเรากำลังสบาย ทำทั้งหมดกัน (แปะ แปะ, ตึบ ตึบ, ฮูเร่)
If you’re happy and you know it, do all three (clap-clap, stomp-stomp, hoo-ray!)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, ดู ออล ธรี (ตบมือ, กระทืบ, ตะโกนฮูเล่)]
หากพวกเรากำลังสบาย ทำทั้งหมดกัน (แปะ แปะ, ตึบ ตึบ, ฮูเร่)
If you’re happy and you know it, then your face will surely show it
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, เธน ยัวร์ เฟส วิล ชัวลี โชว์ อิท]
หากพวกเรากำลังมีสุข หมดความทุกข์ไปแล้วทุกสิ่ง
If you’re happy and you know it, do all three. (clap-clap, stomp-stomp, hoo-ray!)
[อีฟ ยัวร์ แฮพพี แอนดฺ ยู โน อิท, ดู ออล ธรี (ตบมือ, กระทืบ, ตะโกนฮูเล่)]
มัวประวิงอะไรกันเล่า ทำทั้งหมดกัน (แปะ แปะ, ตึบ ตึบ, ฮูเร่)

7. The Wheels on the Bus

7. The Wheels on the Bus

เป็นเพลงที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับรถบัส และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในรถบัส คุณครูอนุบาลนิยมนำเพลงนี้มาใช้ในการเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็ก โดยส่วนใหญ่จะมีการทำท่าทางตามเนื้อเพลงในแต่ละท่อน ผู้ปกครองสามารถใช้เพลงนี้กระตุ้นการเรียนรู้เกี่ยวกับยานพาหนะ และการเดินทางโดยรถสาธารณะ เช่น รถบัส รถไฟ หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับการแต่งตัว หรือการกระทำของคนในรถบัส ซึ่งเพลงนี้จะสามารถสร้างความสนุก และความเพลิดเพลินให้กับเด็กได้ 

The wheels on the bus go round and round (เดอะ วีล ซอน เดอะ บัส โก ราวนฺ แดนดฺ ราวนฺ)

ล้อรถบัสหมุนไปและหมุนไป

Round and round (ราวนฺ แดนดฺ ราวนฺ)

หมุนและหมุน

Round and round (ราวนฺ แดนดฺ ราวนฺ)

หมุนและหมุน

The wheels on the bus go round and round (เดอะ วีล ซอน เดอะ บัส โก ราวนฺ แดนดฺ ราวนฺ)

ล้อรถบัสหมุนไปและหมุนไป

All through the town (ออล ตรู เดอะ ทาวนฺ)

ผ่านทั่วทั้งเมือง

The doors on the bus go open and shut (เดอะ ดอรฺ ซอน เดอะ บัส โก โอเป่น แนนดฺ ชัท)

ประตูรถบัสเปิดและปิด

Open and shut (โอเป่น แนนดฺ ชัท)

เปิดและปิด

Open and shut (โอเป่น แนนดฺ ชัท)

เปิดและปิด

The doors on the bus go open and shut (เดอะ ดอรฺ ซอน เดอะ บัส โก โอเป่น แนนดฺ ชัท)

ประตูรถบัสเปิดและปิด

All through the town (ออล ตรู เดอะ ทาวนฺ)

ผ่านทั่วทั้งเมือง

The wipers on the bus go swish, swish, swish (เดอะ ไวเพอรฺ ซอน เดอะ บัส โก สวิช สวิช สวิช)

ที่ปัดน้ำฝนรสบัสโบก แล้วก็โบกไปมา

Swish, swish, swish (สวิช สวิช สวิช)

โบกไป โบกมา

Swish, swish, swish (สวิช สวิช สวิช)

โบกไป โบกมา

The wipers on the bus go swish, swish, swish (เดอะ ไวเพอรฺ ซอน เดอะ บัส โก สวิช สวิช สวิช)

ที่ปัดน้ำฝนรสบัสโบก แล้วก็โบกไปมา

All through the town (ออล ตรู เดอะ ทาวนฺ)

ผ่านทั่วทั้งเมือง

The signals on the bus go blink, blink, blink (เดอะ ซิกนอล ซอน เดอะ บัส โก บลิงคฺ บลิงฺ บลิงคฺ)

ไฟสัญญาณรถบัสกระพริบ กระพริบ แล้วก็กระพริบ

Blink, blink, blink (บลิงคฺ บลิงคฺ บลิงคฺ)

กระพริบ กระพริบ กระพริบ

Blink, blink, blink (บลิงคฺ บลิงคฺ บลิงคฺ)

กระพริบ กระพริบ กระพริบ

The signals on the bus go blink, blink, blink (เดอะ ซิกนอล ซอน เดอะ บัส โก บลิงคฺ บลิงฺ บลิงคฺ)

ไฟสัญญาณรถบัสกระพริบ กระพริบ แล้วก็กระพริบ

All through the town (ออล ตรู เดอะ ทาวนฺ)

ผ่านทั่วทั้งเมือง

The horn on the bus goes beep, beep, beep (เดอะ ฮอรฺน ออน เดอะ บัส โกสฺ บีป บีป บีป)

แตรรถบัสดังปี๊บ ปี๊บ ปี๊บ

Beep, beep, beep (บีป บีป บีป)

ปี๊บ ปี๊บ ปี๊บ

Beep, beep, beep (บีป บีป บีป)

ปี๊บ ปี๊บ ปี๊บ

The horn on the bus goes beep, beep, beep (เดอะ ฮอรฺน ออน เดอะ บัส โกสฺ บีป บีป บีป)

แตรรถบัสดังปี๊บ ปี๊บ ปี๊บ

All through the town (ออล ตรู เดอะ ทาวนฺ)

ผ่านทั่วทั้งเมือง

The motor on the bus goes vroom, vroom vroom (เดอะ มอเทอ รอน เดอะ บัส โกสฺ วรูม วรูม วรูม)

เครื่องยนต์รถบัสดังฮึ่ม ฮึ่ม ฮึ่ม

Vroom, vroom, vroom (วรูม วรูม วรูม)

ฮึ่ม ฮึ่ม ฮึ่ม

Vroom, vroom, vroom (วรูม วรูม วรูม)

ฮึ่ม ฮึ่ม ฮึ่ม

The motor on the bus goes vroom, vroom, vroom (เดอะ มอเทอ รอน เดอะ บัส โกสฺ วรูม วรูม วรูม)

เครื่องยนต์รถบัสดังฮึ่ม ฮึ่ม ฮึ่ม

All through the town (ออล ตรู เดอะ ทาวนฺ)

ผ่านทั่วทั้งเมือง

The people on the bus go up and down (เดอะ พีเพิล ลอน เดอะ บัส โก อัพ แพนดฺ ดาวนฺ)

ผู้คนบนรถบัสเคลื่อนที่ไปมา

Up and down (อัพ แพนดฺ ดาวนฺ)

เคลื่อนที่ไป แล้วก็เคลื่อนที่มา

Up and down (อัพ แพนดฺ ดาวนฺ)

เคลื่อนที่ไป แล้วก็เคลื่อนที่มา

The people on the bus go up and down (เดอะ พีเพิล ลอน เดอะ บัส โก อัพ แพนดฺ ดาวนฺ)

ผู้คนบนรถบัสเคลื่อนที่ไปมา

All through the town (ออล ตรู เดอะ ทาวนฺ)

ผ่านทั่วทั้งเมือง

The babies on the bus go “Wah, wah, wah!” (เดอะ เบบี ซอน เดอะ บัส โก แว แว แว)

เหล่าทารกบนรถบัสร้องอุแว้ อุแว้ อุแว้

“Wah, wah, wah!” (แว แว แว)

อุแว้ อุแว้ อุแว้

“Wah, wah, wah!” (แว แว แว)

อุแว้ อุแว้ อุแว้

The babies on the bus go “Wah, wah, wah!” (เดอะ เบบี ซอน เดอะ บัส โก แว แว แว)

เหล่าทารกบนรถบัสร้องอุแว้ อุแว้ อุแว้

All through the town (ออล ตรู เดอะ ทาวนฺ)

ผ่านทั่วทั้งเมือง

The mommies on the bus go “Shh, shh, shh!” (เดอะ มอมมี่ ซอน เดอะ บัส โก ชูว ชูว ชูว)

เหล่าคุณแม่บนรถบัสพูด จุ๊ จุ๊ จุ๊

“Shh, shh, shh!” (ชูว ชูว ชูว)

จุ๊ จุ๊ จุ๊

“Shh, shh, shh!” (ชูว ชูว ชูว)

จุ๊ จุ๊ จุ๊

The mommies on the bus go “Shh, shh, shh!” (เดอะ มอมมี่ ซอน เดอะ บัส โก ชูว ชูว ชูว)

เหล่าคุณแม่บนรถบัสพูด จุ๊ จุ๊ จุ๊

All through the town (ออล ตรู เดอะ ทาวนฺ)

ผ่านทั่วทั้งเมือง

The daddies on the bus go “I love you!” (เดอะ แดดดี ซอน เดอะ บัส โก อาย ลัฟวฺ ยู)

เหล่าคุณพ่อบนรถบัสพูด ผมรักคุณ

“I love you!” (อาย ลัฟวฺ ยู)

ผมรักคุณ

“I love you!” (อาย ลัฟวฺ ยู)

ผมรักคุณ

The daddies on the bus go “I love you!” (เดอะ แดดดี ซอน เดอะ บัส โก อาย ลัฟวฺ ยู)

เหล่าคุณพ่อบนรถบัสพูด ผมรักคุณ

All through the town (ออล ตรู เดอะ ทาวนฺ)

ผ่านทั่วทั้งเมือง

8. Head, Shoulders, Knees and Toes

8. Head, Shoulders, Knees and Toes

เนื้อเพลงเด็กภาษาอังกฤษนี้ จะบอกคำศัพท์อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะสามารถพัฒนาความรู้  และทักษะการจำของเด็กได้ คุณครูหรือผู้ปกครองสามารถใช้เพลงนี้ในการสอนภาษา และส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กได้รู้จักกับร่างกายของตนเองได้

 

Head and shoulders, knees and toes, knees and toes.
(เฮด แอนดฺ โชลเดอะซฺ, นีซฺ แอนดฺ โทซฺ, นีซฺ แอนดฺ โทซฺ)

หัวและไหล่ เข่าและนิ้วเท้า เข่าและนิ้วเท้า 
Head and shoulders, knees and toes, knees and toes.
(เฮด แอนดฺ โชลเดอะซฺ, นีซฺ แอนดฺ โทซฺ, นีซฺ แอนดฺ โทซฺ)
หัวและไหล่ เข่าและนิ้วเท้า เข่าและนิ้วเท้า
Eyes and ears and mouth and nose.
(อายซฺ แอนดฺ เอียร์ แอนดฺ เมาธฺ แอนดฺ โนซ)
ตาและหู และปากและจมูก
Head and shoulders, knees and toes, knees and toes.
(เฮด แอนดฺ โชลเดอะซฺ, นีซฺ แอนดฺ โทซฺ, นีซฺ แอนดฺ โทซฺ)
หัวและไหล่ เข่าและนิ้วเท้า เข่าและนิ้วเท้า 

Head and shoulders, knees and toes, knees and toes, knees and toes.
(เฮด แอนดฺ โชลเดอะซฺ, นีซฺ แอนดฺ โทซฺ, นีซฺ แอนดฺ โทซฺ)
หัวและไหล่ เข่าและนิ้วเท้า เข่าและนิ้วเท้า เข่าและนิ้วเท้า
Head and shoulders, knees and toes, knees and toes, knees and toes.
(เฮด แอนดฺ โชลเดอะซฺ, นีซฺ แอนดฺ โทซฺ, นีซฺ แอนดฺ โทซฺ)
หัวและไหล่ เข่าและนิ้วเท้า เข่าและนิ้วเท้า เข่าและนิ้วเท้า

9. Two Little Dickey Birds

9. Two Little Dickey Birds

เป็นอีก 1 เพลงที่เป็นเพลงเล่าเรื่องราว ซึ่งเนื้อเพลงนี้จะเกี่ยวกับนกดิกกี้ 2 ตัว ที่นั่งบนกิ่งไม้ และมีการทำท่าทางประกอบตอนร้องเพลง แต่ละท่าทางแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของนกดิกกี้ในเนื้อเพลง โดยเพลงนี้มีท่าทาง และการเคลื่อนไหวที่สนุกสนาน จะช่วยในการพัฒนาทักษะการร้องเพลง และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการทำท่าทางของเด็กๆ นอกจากนี้ ยังสามารถเรียนรู้การแสดงออกของตัวละคร และการสร้างสรรค์เรื่องราวของเด็กในสถานการณ์ที่ต่างกัน 

 

Two little dicky birds sitting on a wall (ทู ลิทเทิล ดิกกี เบิร์ดซฺ ซิททิง ออน อะ วอล)
ลูกนกดิกกี้สองตัวนั่งบนกำแพง
One named Peter, one named Paul (วัน เนม พีเทอะ, วัน เนม พอล)
ตัวหนึ่งชื่อปีเตอร์ ตัวหนึ่งชื่อพอล
Fly away Peter, fly away Paul (ไฟล อะเวย์ พีเทอะ, ไฟล อะเวย์ พอล)
ปีเตอร์บินหนี พอลบินหนี
Come back Peter, come back Paul (คัม แบค พีเทอะ, คัม แบค พอล)
กลับมาปีเตอร์ กลับมาพอล

Two little dicky birds sitting on a wall (ทู ลิทเทิล ดิกกี เบิร์ดซฺ ซิททิง ออน อะ วอล)
ลูกนกดิกกี้สองตัวนั่งบนกำแพง
One named Peter, one named Paul (วัน เนม พีเทอะ, วัน เนม พอล)
ตัวหนึ่งชื่อปีเตอร์ ตัวหนึ่งชื่อพอล
Fly away Peter, fly away Paul (ไฟล อะเวย์ พีเทอะ, ไฟล อะเวย์ พอล)
ปีเตอร์บินหนี พอลบินหนี
Come back Peter, come back Paul (คัม แบค พีเทอะ, คัม แบค พอล)
กลับมาปีเตอร์ กลับมาพอล

10. The Ants Go Marching

10. The Ants Go Marching

เป็นอีก 1 เพลงที่สนุกสนาน มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับมดที่เดินแถวกัน และมีการเพิ่มจำนวนมดเรื่อยๆ ของแต่ละท่อนในเพลง ซึ่งทั้งหมดมี 10 ท่อน และในแต่ละท่อนมีเหตุการณ์หนึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นกับมด นิยมนำเนื้อเพลงเด็กภาษาอังกฤษนี้มาใช้ในการสอนนับจำนวน พร้อมทำท่าทางต่างๆ ร่วมกับเด็ก ซึ่งจะพัฒนาการเรียนรู้ ส่งเสริมทักษะการนับเลขไปในตัว

 

The ants go marching one by one hurrah hurrah (ดิ แอนทฺซฺ โก มาร์ชิง วัน บาย วัน ฮะรา ฮะรา)
มดเดินขบวนทีละตัว ไชโย ไชโย

The ants go marching two by two hurrah hurrah (ดิ แอนทฺซฺ โก มาร์ชิง ทู บาย ทู ฮะรา ฮะรา)

มดเดินขบวนทีละสองตัว ไชโย ไชโย

The ants go marching three by three (ดิ แอนทฺซฺ โก มาร์ชิง ธรี บาย ธรี)

มดเดินขบวนทีละสามตัว

The little one stops to climb a tree (เดอะ ลิทเทิล วัน  สทอพซฺ ทู ไคลบฺ อะ ทรี)

มดตัวเล็กหยุดแล้วปีนขึ้นต้นไม้

 

And they all go marching (แอนดฺ เธ ออล โก มาร์ชิง)

พวกมันทุกตัวเดินขบวน

Down to the ground (ดาวนฺ ทู เดอะ เกราดฺ)

ลงไปใต้ดิน

To get out of the rain (ทู เกท เอาทฺ ออฟ เดอะ เรน)

เพื่อมาหลบฝน



Boom boom boom boom (บูม บูม บูม บูม)

บูม บูม บูม บูม

Boom boom boom boom (บูม บูม บูม บูม)

บูม บูม บูม บูม

 

The ants go marching four by four hurrah hurrah (ดิแอนทฺซฺ โก มาร์ชิง โฟว์ บาย โฟว์ ฮะรา ฮะรา)

มดเดินขบวนทีละสี่แถว ไชโย ไชโย

The ants go marching five by five hurrah hurrah (ดิ แอนทฺซฺ โก มาร์ชิง ไฟว์ บาย ไฟว์ ฮะรา ฮะรา)

มดเดินขบวนทีละห้าแถว ไชโย ไชโย

The ants go marching six by six (ดิ แอนทฺซฺ โก มาร์ชิง ซิคซฺ บาย ซิคซฺ)

มดเดินขบวนทีละหกแถว

The little one stops to pick up sticks (เดอะ ลิทเทิล วัน  สทอพซฺ ทู พิค อัพ สทิคซฺ)

มดตัวเล็กหยุดแล้วหยิบกิ่งไม้

 

And they all go marching (แอนดฺ เธ ออล โก มาร์ชิง)

พวกมันทุกตัวเดินขบวน

Down to the ground (ดาวนฺ ทู เดอะ เกราดฺ)

ลงไปใต้ดิน

To get out of the rain (ทู เกท เอาทฺ ออฟ เดอะ เรน)

เพื่อมาหลบฝน

 

Boom boom boom boom (บูม บูม บูม บูม)

บูม บูม บูม บูม

Boom boom boom boom (บูม บูม บูม บูม)

บูม บูม บูม บูม

 

The ants go marching seven by seven hurrah hurrah (ดิ แอนทฺซฺ โก มาร์ชิง เซฟเวิน บาย เซฟเวิน ฮะรา ฮะรา)

มดเดินขบวนทีละเจ็ดแถว ไชโย ไชโย

The ants go marching eight by eight hurrah hurrah (ดิ แอนทฺซฺ โก มาร์ชิง เอท บาย เอท ฮะรา ฮะรา)

มดเดินขบวนทีละแปดแถว ไชโย ไชโย

The ants go marching nine by nine (ดิ แอนทฺซฺ โก มาร์ชิง ไนนฺ บาย ไนนฺ)

มดเดินขบวนทีละเก้าแถว

The little one stops to check the time (เดอะ ลิทเทิล วัน  สทอพซฺ ทู เชค เดอะ ไทม์)

มดตัวเล็กหยุดแล้วดูเวลา

 

And they all go marching (แอนดฺ เธ ออล โก มาร์ชิง)

พวกมันทุกตัวเดินขบวน

Down to the ground (ดาวนฺ ทู เดอะ เกราดฺ)

ลงไปใต้ดิน

To get out of the rain (ทู เกท เอาทฺ ออฟ เดอะ เรน)

เพื่อมาหลบฝน

 

Boom boom boom boom (บูม บูม บูม บูม)

บูม บูม บูม บูม

Boom boom boom boom (บูม บูม บูม บูม)

บูม บูม บูม บูม

 

The ants go marching ten by ten (ดิ แอนทฺซฺ โก มาร์ชิง เทน บาย เทน)

มดเดินขบวนทีละสิบแถว

The little one stops to say (เดอะ ลิทเทิล วัน สทอพซฺ เซ)

มดตัวเล็กหยุดแล้วพูดว่า

 

The end (อิ เอนดฺ)

มันหยุดแล้ว

 

And they all go marching (แอนดฺ เธ ออล โก มาร์ชิง)

พวกมันทุกตัวเดินขบวน

Down to the ground (ดาวนฺ ทู เดอะ เกราดฺ)

ลงไปใต้ดิน

To get out of the rain (ทู เกท เอาทฺ ออฟ เดอะ เรน)

เพื่อมาหลบฝน

 

Boom boom boom boom (บูม บูม บูม บูม)

บูม บูม บูม บูม

Boom boom boom boom (บูม บูม บูม บูม)
บูม บูม บูม บูม

11. Here We Go Round the Mulberry Bush

11. Here We Go Round the Mulberry Bush

จุดประสงค์ของเพลงนี้ เพื่อนำมาประกอบกิจกรรม หรือกิจวัตรที่เด็กๆ ทำทุกวัน เช่น การล้างหน้า การแปรงฟัน  แม้ว่ามีคำว่า “Mulberry Bush” (ต้นมัลเบอร์รี) ในเนื้อเพลง แต่มัลเบอร์รีไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเพลงโดยตรง เพลงนี้สามารถนำมาส่งเสริมการเรียนรู้ พร้อมทำท่าทางต่างๆ ร่วมกับเด็กได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างบรรยากาศที่สนุก เมื่อทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัวของเด็กได้อีกด้วย

 

Here we go round the mulberry bush (เฮียร์ วี โก เราดฺ เดอะ มัลเบอร์รี บูช)

เรามาหมุนไปรอบต้นหม่อน

The mulberry bush the mulberry bush (เดอะ มัลเบอร์รี บูช เดอะ มัลเบอร์รี บูช)

รอบต้นหม่อน รอบต้นหม่อน

Here we go round the mulberry bush (เฮียร์ วี โก เราดฺ เดอะ มัลเบอร์รี บูช)

เรามาหมุนไปรอบต้นหม่อน

So early in the morning (โซ เออร์ลี อิน เดอะ มอร์นิง)

ในเช้าตรู่

This is the way we wash our faces (ธิส อิส เดอะ เว วี วอช เอาเออะ เฟสซฺ)

นี่คือวิธีล้างหน้าของเรา

Wash our faces wash our faces (วอช เอาเออะ เฟสซฺ วอช เอาเออะ เฟสซฺ)

ล้างหน้าของเรา ล้างหน้าของเรา

This is the way we wash our faces (ธิส อิส เดอะ เว วอช เอาเออะ เฟสซฺ)

นี่คือวิธีล้างหน้าของเรา

So early Monday morning (โซ เออร์ลี มันเด มอร์นิง)

เช้าตรู่วันจันทร์

 

This is the way we iron our clothes (ธิส อิส เดอะ เว วี ไอเอิร์น เอาเออะ โคลธซฺ)

นี่คือวิธีรีดผ้าของเรา

Iron our clothes iron our clothes (ไอเอิร์น เอาเออะ โคลธซฺ ไอเอิร์น เอาเออะ โคลธซฺ)

รีดผ้าของเรา รีดผ้าของเรา

This is the way we iron our clothes (ธิส อิส เดอะ เว วี ไอเอิร์น เอาเออะ โคลธซฺ)

นี่คือวิธีรีดผ้าของเรา

So early in the morning (โซ เออร์ลี อิน เดอะ มอร์นิง)

ในเช้าตรู่

This is the way we brush the teeth (ธิส อิส เดอะ เว วี บรัช เดอะ เอาเออะ ทีธ)

นี่คือวิธีแปรงฟันของเรา

Brush the teeth brush the teeth (เดอะ เอาเออะ ทีธ เดอะ เอาเออะ ทีธ)

แปรงฟันของเรา แปรงฟันของเรา

This is the way we brush the teeth (ธิส อิส เดอะ เว วี บรัช เดอะ เอาเออะ ทีธ)

นี่คือวิธีแปรงฟันของเรา

So early in the morning (โซ เออร์ลี อิน เดอะ มอร์นิง)

ในเช้าตรู่

 

This is the way we mend our clothes (ธิส อิส เดอะ เว วี เมนดฺ เอาเออะ โคลธซฺ)

นี่คือวิธีเย็บผ้าของเรา

Mend our clothes mend our clothes (เมนดฺ เอาเออะ โคลธซฺ เมนดฺ เอาเออะ โคลธซฺ)

เย็บผ้าของเรา เย็บผ้าของเรา

This is the way we mend our clothes (ธิส อิส เดอะ เว วี เมนดฺ เอาเออะ โคลธซฺ)

นี่คือวิธีเย็บผ้าของเรา

So early in the morning (โซ เออร์ลี อิน เดอะ มอร์นิง)

ในเช้าตรู่

Here We Go ‘Round the Mulberry Bush (เฮียร์ วี โก เราดฺ เดอะ มัลเบอร์รี บูช)

เรามาหมุนไปรอบต้นหม่อน

The mulberry bush the mulberry bush (เดอะ มัลเบอร์รี บูช เดอะ มัลเบอร์รี บูช)

รอบต้นหม่อน รอบต้นหม่อน

Here we go ’round the mulberry bush (เฮียร์ วี โก เราดฺ เดอะ มัลเบอร์รี บูช)

เรามาหมุนไปรอบต้นหม่อน

So early in the morning (โซ เออร์ลี อิน เดอะ มอร์นิง)

ในเช้าตรู่

สรุป

การที่เด็กฝึกฝนการร้องเพลงภาษาอังกฤษ ไม่เพียงช่วยให้เด็กเก่งภาษาขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มทักษะให้เด็กได้หลายด้าน โดยการร้องเพลงภาษาอังกฤษช่วยส่งเสริมให้เด็กฝึกฝนทักษะในการพูดภาษาอังกฤษ และพัฒนาทักษะการออกเสียงที่ถูกต้อง นอกจากนี้สามารถเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเด็กเองได้ ผู้ปกครองหรือคุณครูสามารถเลือกเนื้อเพลงเด็กภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาส่งเสริมทักษะเหล่านั้น ไปให้เด็กๆ ได้หัดร้องพร้อมทำท่าทางประกอบได้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการสอนที่ไม่น่าเบื่อ และยังสร้างความตื่นเต้นให้กับเด็กได้อีกด้วย


หากผู้ปกครองอยากจะฝึกทักษะภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการทางด้านภาษาที่ดี ไปพร้อมกับการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ผู้ช่วยอย่าง Speak Up เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่า เพราะทาง Speak Up มีคุณครูมืออาชีพที่มีประสบการณ์และเทคนิคการสอนภาษาเด็กเล็กตั้งแต่ 2.5-12 ปี มั่นใจได้ว่าเด็กๆ จะได้รับความรู้ทางด้านภาษาอย่างเต็มที่แน่นอน

hard skill สำหรับเด็ก

Hard Skill ทักษะจำเป็นสำหรับเด็ก ฝึกให้ลูกน้อยเก่งรอบด้าน

ในยุคที่เราใช้เทคโนโลยีและความรู้เพื่อก้าวหน้าในชีวิต และการงานที่เน้นให้ความสำคัญกับความสามารถในด้าน “Soft Skill” หรือทักษะระดับบุคคลเป็นหลัก ทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสื่อสารได้ดี ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี และเข้าถึงความรู้สึกและความคิดของผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กหลายคนจึงถูกปลูกฝังทักษะนี้อย่างหนักเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อเขาโตขึ้นเขาจะสามารถเข้ากับสังคมในยุคปัจจุบันได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่การเลี้ยงลูกในช่วงโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แค่เพียง Soft Skill คงไม่เพียงพอ ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับ Hard Skill สำหรับเด็กมากขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับทักษะที่สำคัญครบรอบด้าน และเติบโตอย่างมีคุณภาพทั้งในด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่า Hard Skil คืออะไร และสำคัญต่อเด็กยุคใหม่อย่างไร ทำไมผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญ
hard skill คืออะไร

ทำความรู้จัก Hard Skill คืออะไร

Hard Skill คือ ทักษะหรือความสามารถที่เกี่ยวข้องกับความรู้และทางวิชาการที่เรียนรู้และพัฒนาได้ผ่านการศึกษาและการฝึกฝนที่มีลักษณะเป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ที่มีค่าเฉลี่ยแน่นอน วัดผลได้ สิ่งนี้จะเกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญในด้านพิเศษหรือสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง เช่น การโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การออกแบบกราฟิก การวิเคราะห์ข้อมูล การทำงานทางการแพทย์ หรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีรากฐานทางทฤษฎีและหลักการทางวิชาการที่เหมาะสมในงานหนึ่งๆ

Hard Skill สำหรับเด็กมักจะสามารถวัดและวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจน และมักถูกนำมาใช้ในงานหรือสายงานที่ต้องการความเชี่ยวชาญและความรู้เฉพาะเจาะจง เพื่อให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Hard Skill ยังมีลักษณะที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ผ่านการฝึกฝนและปฏิบัติตามแนวทางที่มีอยู่ เช่น เรียนรู้ภาษาโปรแกรม การฝึกการทำงานทางวิทยาศาสตร์ หรือการฝึกทักษะการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิชาการต่างๆ

Hard Skill มีความสำคัญมากในการทำงานและในสาขาอาชีพต่างๆ เนื่องจากมันเป็นส่วนสำคัญที่สามารถวัดและเปรียบเทียบได้ งานส่วนใหญ่จะต้องมี Hard Skill ที่เน้นในสาขางานที่พวกเขาทำ และการพัฒนา Hard Skill เหล่านี้จะช่วยให้สามารถรับงานที่มีความคาดหวังในด้านความรู้และทางวิชาการได้มากขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนา Hard Skill ยังช่วยเสริมความมั่นใจและเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างอนาคตที่มั่นคงในอาชีพ รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต หากต้องการดำเนินการในบทบาททางวิชาการที่สูงขึ้น

hard skill ทีเ่ด็กควรมี

ทักษะ Hard Skill ที่เด็กควรมีเพื่ออนาคต มีอะไรบ้าง

ในโลกที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เรามีในปัจจุบัน Hard Skill สำหรับเด็ก หรือทักษะทางวิชาการถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตของเด็กๆ ทักษะเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการปรับตัวและประสบความสำเร็จในสายงานและชีวิตประจำวันของพวกเขา ดังนั้นไม่ว่าเด็กจะเลือกอาชีพใดในอนาคต ก็ต้องมีการพัฒนา Hard Skill อยู่ด้วยในทุกช่วงวัย โดยทักษะ Hard Skill ที่สำคัญสำหรับเด็กๆ มีด้วยกันดังนี้

ทักษะการอ่าน

ทักษะการอ่านมีลักษณะเป็น Hard Skill สำหรับเด็กที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้และความเชี่ยวชาญของเด็กๆ ในอนาคต ทั้งในแง่ของการอ่านหนังสือเรียน บทความวิชาการ หรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ช่วยให้พวกเขาสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาในระดับลึกลงได้ นอกจากนี้ ความสามารถในการอ่านยังช่วยในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา โดยการเรียนรู้จากประสบการณ์และความรู้ที่มาจากการอ่าน

สำหรับการพัฒนาทักษะการอ่านสำหรับเด็ก ทำได้โดยการฝึกอ่านอย่างสม่ำเสมอ และมีวินัย การเลือกอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของเด็กจะเป็นการสนับสนุนความสามารถในการอ่านและสร้างประสบการณ์การอ่านที่น่าสนใจสามารถช่วยกระตุ้นความสนใจในการอ่านของเด็กๆ ในทุกวัยได้อีกด้วย

ทักษะการเขียน

ทักษะการเขียนคือหนึ่งใน Hard Skill ที่ควรมีสำหรับเด็ก เด็กๆ ควรได้รับการพัฒนาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะกับการศึกษาในระบบที่เน้นให้เด็กคิดได้และเขียนเป็น เด็กจึงได้รับการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง เพราะการเขียนคือรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารที่มีความสำคัญ

การฝึกทักษะ Hard Skill ด้านการเขียนเด็กๆ สามารถทำได้ด้วยการเริ่มจากฝึกเขียนตามเส้นประ และฝึกเก็บคำศัพท์สำคัญๆ เขียนตามคำบอกให้ถูกต้อง เพียงเท่านี้ก็ก็จะช่วยพัฒนาทักษะด้านการเขียนให้กับตัวเด็กได้แล้ว

ทักษะด้านภาษา

เมื่อพูดถึงการฝึก Hard Skill สำหรับเด็ก ทักษะด้านภาษาเองก็เป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กเช่นกัน ทักษะด้านภาษามีความสำคัญต่อการสื่อสาร การฝึกทักษะด้านภาษาให้กับเด็กช่วยให้พวกเขาสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน และเขียน เมื่อมีการสื่อสารที่ดี จะช่วยให้เด็กสามารถแสดงออกเกี่ยวกับความคิดเห็น ความรู้ และความรู้สึกของตนเองได้อย่างมั่นใจและชัดเจน

การมีทักษะด้านภาษาที่ดียังช่วยในการเรียนรู้ เพราะภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาและค้นคว้าข้อมูล การที่เด็กมีความสามารถในการอ่านและเขียน ช่วยให้พวกเขาสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มพูนความรู้ความสามารถในอนาคตได้ต่อไป

ทักษะการคิดเลข

การพัฒนาทักษะ Hard Skill สำหรับเด็ก ในด้านการคิดเลข เป็นขั้นตอนสำคัญในการเตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้ในอนาคต และการใช้ชีวิตประจำวัน ทักษะนี้ไม่เพียงแต่มีผลกระทบในการคำนวณเรื่องตัวเลขเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบในด้านต่างๆ ของชีวิตและการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก

การคิดเลขช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการตรรกะและคิดเชิงวิเคราะห์ เด็กๆ ที่เรียนรู้ทักษะนี้มักมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การมีทักษะการคิดเลขที่แข็งแกร่งช่วยเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง นักเรียนที่รู้ว่าพวกเขาสามารถทำการคำนวณและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ มักมีความรู้สึกบวก และมั่นใจในความสามารถของตนเอง

ทักษะด้านเทคโนโลยี

ในยุคดิจิทัลตอนนี้ การเตรียมความพร้อมในด้านเทคโนโลยีมีความสำคัญสำหรับเด็กๆ มาก เพราะพบว่าการมี Hard Skill โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยี ช่วยในการเตรียมพร้อมสู่โลกดิจิทัลและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการสร้างอนาคตที่ประสบความสำเร็จ

ทักษะด้านเทคโนโลยีไม่เพียงแต่เป็นการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเป็นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการสืบค้นข้อมูลช่วยเด็กในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีไม่เพียงแค่เตรียมพร้อมสู่อาชีพในอนาคต แต่ยังเสริมสร้างทักษะที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เป็นทักษะที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของเด็กในยุคที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อออนไลน์อีกด้วย

การเสริมสร้าง hard skill สำหรับเด็ก

เสริมสร้าง Hard Skill ให้ลูกน้อย เพื่ออนาคตที่ดี ทำได้ยังไง

การพัฒนาทักษะการพูด อ่าน และเขียนในเด็กเป็นสิ่งสำคัญ ส่งผลดีในการเตรียมพร้อมสู่การใช้ชีวิต และการเรียนรู้ในอนาคต ภาษาเองเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารและการเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง การมีทักษะภาษาที่แข็งแรงส่งผลในการคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งในหลายด้านของชีวิต

ในบทความนี้จะพาคุณผู้ปกครองไปดูการเสริมสร้างทักษะ Hard Skill สำหรับเด็ก ให้ลูกน้อยมีทักษะการพูด อ่าน และเขียนได้ดีขึ้น จะต้องฝึกฝนอย่างไรเพื่อให้เด็กมีพื้นฐานทักษะ Hard Skill เหล่านี้ที่แข็งแรง เตรียมพร้อมในการใช้ชีวิตประจำวัน และชีวิตการศึกษาในอนาคตของพวกเขา

ฝึกเขียนให้บ่อยจะได้คล่องขึ้น

การที่การฝึกเขียนอย่างต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มพูนทักษะด้านการเขียนได้จริง เพราะการเขียนเป็นกิจกรรมที่เรียนรู้และปรับปรุงให้พัฒนาได้ด้วยการฝึกฝน ผู้ที่ฝึกเขียนอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การใช้รูปประโยคและภาษาได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มทักษะด้านการเรียนรู้ได้อีกด้วย ทักษะที่ดีขึ้นได้ผ่านการฝึกเขียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเช่น ปรับรูปแบบประโยค การเลือกใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย และการเรียงความคิดได้อย่างเป็นสัดส่วนและสอดคล้องกัน ดังนั้นการฝึกเขียนให้บ่อยขึ้น คือการช่วยพัฒนา Hard Skill ด้านการใช้ภาษาและการเขียนให้กับเด็กๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างการฝึกการเขียนในเพื่อเพิ่มทักษะ Hard Skill สำหรับเด็กเช่น การเขียนบันทึกประจำวัน ที่ช่วยพัฒนาทักษะการเรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับการเขียน ว่าควรเขียนเรื่องอะไรก่อนหรือหลัง และควรอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรให้อ่านแล้วเข้าใจ และยังเป็นการส่งเสริมให้พวกเขาเขียนอย่างต่อเนื่องในทุกๆ วัน อย่างน้อยวันละครั้งก่อนเข้านอน

ปูพื้นฐานคณิตศาสตร์ด้วยการฝึกคิดเลข

Hard Skill สำหรับ เด็ก ในด้านการคิดเลขคือความสามารถในการใช้ความคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาและการคำนวณต่าง ๆ ทักษะนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันและการงานของเรา การฝึกคิดเลขอย่างดีเป็นวิธีที่สำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล และการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ และส่งผลให้เด็กมีการบริหารจัดการการเงิน และข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและถือได้ว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำรายรับรายจ่าย หรือยอดเงินออม เป็นวิธีง่ายๆ ที่นอกจากเด็กจะได้คำนวณยังเป็นการฝึกวินัยการใช้เงินไปในตัวอีกด้วย

ท่องโลกไปกับการเรียนรู้ทักษะภาษาต่างประเทศ

การฝึกความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศเป็นการฝึก Hard Skill ที่สำคัญสำหรับเด็กเป็นอย่างมาก ช่วยเสริมพัฒนาทักษะการสื่อสารและเปิดโอกาสในการเรียนรู้วัฒนธรรมและมุมมองทางสังคมต่าง ๆ ของโลก นอกจากนี้การฝึกความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศไม่เพียงแต่เปิดโอกาสในการสื่อสารกับโลกภายนอก แต่ยังช่วยพัฒนาทักษะการคิด เช่นการคิดแบบหลายมุมมอง การคิดออกแบบสร้างสรรค์ และการเรียนรู้จากประสบการณ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาษาอย่างตรงไปตรงมา

การฝึกทักษะภาษาต่างประเทศนั้นทำได้ทั้งการฝึกแบบตัวต่อตัวผ่านการสนทนาประจำวันกับผู้ปกครอง ไปจนถึงการฝึกภาษาต่างประเทศออนไลน์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ช่องยูทูบต่างประเทศ และการเรียนพิเศษ

หากกำลังมองหาสถาบันสอนภาษาต่างประเทศที่น่าเชื่อถือ และเหมาะสมสำหรับเด็ก SpeakUp Language Center สถาบันสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนสำหรับเด็กเล็กที่มีอายุ 2.5 ถึง 12 ปี ที่นี่มีครูมืออาชีพ มากประสบการณ์ และมีเทคนิคการสอนภาษาที่หลากหลาย นำมาประยุกต์ใช้และสอนโดยยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาด้านภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การปูพื้นฐานที่ดีสำหรับอนาคตของเด็ก

เรียนรู้เทคโนโลยี AI เพื่อเสริม hard skill สำหรับเด็ก

เรียนรู้เทคโนโลยีด้วย AI

ทักษะด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI (ปัญญาประดิษฐ์) คือ Hard Skill ที่สำคัญสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ในวัยเรียนตั้งแต่เด็กอายุน้อย ช่วยเสริมพัฒนาทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์และทักษะด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและการเรียนรู้

วิธีการสร้างความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI สำหรับเด็กอาจเริ่มจากการใช้แอปพลิเคชันการเรียนรู้ ที่ออกแบบมาเพื่อสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI สำหรับเด็ก เช่น “AI for Kids” หรือ “Coding with AI” ที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างและใช้งานระบบ AI อย่างสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

ฝึกนิสัยการอ่านเพื่อเพิ่มทักษะความรู้

การฝึกนิสัยให้เด็กรักการอ่าน ทั้งนิทานเบาสมองไปจนถึงหนังสือเพิ่มทักษะความรู้ต่างๆ ช่วยพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเรียนรู้ ความรู้รอบตัว รวมไปถึงการเขียน ผ่านการศึกษาข้อมูลต่างๆ ผ่านหนังสือที่พวกเขาอ่าน ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการฝึกนิสัยการอ่านให้เด็กๆ ช่วยเพิ่ม Hard Skill ให้พวกเขาไว้ใช้สำหรับอนาคตได้

ตัวอย่างการฝึกนิสัยการอ่านเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ เพื่อฝึก Hard Skill สำหรับเด็ก ทำได้โดยการส่งเสริมให้พวกเขามีโอกาสอ่านหนังสือบนอุปกรณ์อ่านอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างความสนใจในการอ่านและใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ และเป็นการเปิดมุมมองให้กับเด็กในด้านการหาความรู้ในหลากหลายช่องทาง

ฝึกทักษะด้านภาษาด้วยสื่อการสอนสนุกๆ

การเรียนรู้ภาษาอาจดูยากหรือน่าเบื่อ ไม่เหมาะกับเด็กอายุน้อยๆ แต่ในความเป็นจริงนั้นการฝึก Hard Skill ในด้านภาษาสำหรับเด็กนั้นควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ หากคุณสร้างสภาพแวดล้อมที่สนุกสนานและน่าสนใจให้กับเด็ก เพื่อให้พวกเขาสามารถพัฒนาทักษะด้านภาษาอย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพแน่นอน

หนึ่งในวิธีที่สนุกในการฝึกทักษะด้านภาษาคือการใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ อย่างเช่นการอ่านหนังสือนิทานพร้อมภาพที่น่าตื่นเต้น การดูการ์ตูนที่มีภาษาง่ายๆ แฝงไปด้วยเนื้อหาการเรียนรู้ หรือแหล่งข้อมูลการเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่มากมาย สามารถเข้าดูได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่ต้องรอเข้าห้องเรียน

สรุป

จะเห็นได้ว่า Hard Skill สำหรับเด็ก มีความสำคัญพอๆ กับ Soft Skill ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพทั้งสองด้านไปพร้อมกัน การฝึกพัฒนา Hard Skill สำหรับเด็กนั้นก็มีมากมายให้ผู้ปกครองเลือกใช้วิธีที่เหมาะกับพวกเขามากที่สุด เพื่อการพัฒนาทักษะที่มีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ส่งเสริมให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ได้มากที่สุด

หากผู้ปกครองกำลังมองหาวิธีฝึกทักษะด้านภาษาต่างประเทศให้กับเด็กๆ อย่าลืมไว้ใจให้ SpeakUp Language Center เป็นตัวเลือกที่ดี ในการดูแลพัฒนาการด้านภาษาของเด็กๆ

7 วิธีการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กเล็ก ฉบับผู้ปกครอง 2023

7 วิธีการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กเล็ก ฉบับผู้ปกครอง 2023

พัฒนาการของเด็กเล็กในด้านต่างๆ สามารถส่งเสริมได้โดยคุณพ่อคุณแม่หรือคนใกล้ชิด หากเด็กถูกละเลย หรือผู้ปกครองไม่สนใจพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะเรื่องของภาษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับทักษะในการสื่อสารที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้และต่อยอดในด้านต่างๆ เด็กอาจจะมีปัญหาในการเรียนรู้ พูดช้า คิดช้า มีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคตอย่างแน่นอน

ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรใส่ใจและสังเกตพัฒนาการในการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อที่จะได้ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแบบไม่ขาดช่วง บทความนี้ Speak up ได้นำ 7 วิธีการพัฒนาการด้านภาษาของเด็กมาให้ผู้ปกครองได้นำไปส่งเสริมเด็กๆ ได้ตามความเหมาะสม

ความสำคัญของพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

ความสำคัญของพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

พัฒนาการด้านภาษาเป็นกระบวนการที่คนในสังคมปรับตัวและพัฒนาทักษะในการใช้ภาษาในด้านต่างๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิตของคนนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้การสื่อสาร พูด อ่าน เขียน ซึ่งมีการปรับปรุงตามเวลา โดยปัจจัยหลายอย่างส่งผลต่อการพัฒนาภาษา เช่น ประสบการณ์การเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม การถูกแปลงภาษาตลอดเวลา และการมีโอกาสในการปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่างๆ ที่ใช้ภาษาเป็นสื่อสารหลัก

ซึ่งต้องปูพื้นฐานมาตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต การพัฒนาการด้านภาษาของเด็กจึงมีความสำคัญมาก ไม่สามารถปล่อยปละละเลยได้ เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร การเรียนรู้ และการเข้าสังคม การพัฒนาภาษาของเด็กเล็กมีความสำคัญต่อพัฒนาทั้งกายและจิตใจ ที่จะสามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ที่ต้องใช้ทักษะอื่นประกอบด้วย

การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กเริ่มที่อายุเท่าไร

การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กเริ่มที่อายุเท่าไร

การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์นั้น เริ่มตั้งแต่ 2 เดือนแรก โดยจะเริ่มส่งเสียงร้อง เมื่อเกิดความต้องการหรือเกิดสิ่งผิดปกติต่อร่างกายตามสัญชาตญาณ โดยพัฒนาการทางภาษาของเด็กในช่วงอายุ 2-5 ปี เป็นช่วงที่สามารถเรียนรู้และมีการพัฒนาได้มากที่สุด จากสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งรอบตัว เมื่อได้ยินอะไรก็จะสามารถซึมซับ เลียนแบบ พูดตาม จนเกิดเป็นทักษะในการสื่อสารของเด็กในที่สุด

7 การส่งเสริมการพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

การพัฒนาด้านภาษาของเด็กขึ้นอยู่กับอายุและวัย แต่ตัวแปรที่สำคัญอีกอย่างก็คือการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ที่จะสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาอย่างไร ให้เด็กเรียนรู้และเกิดการเลียนแบบที่ดี ดังนั้นจึงต้องมีการพึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาของเด็ก ดังนี้

1. สื่อสารพูดคุยกับเด็กให้มาก

การสื่อสารพูดคุยกับเด็กเป็นวิธีสร้างความสัมพันธ์ดี สร้างพื้นฐานทางภาษา และส่งเสริมการพัฒนาด้านภาษาของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างพื้นฐานทางภาษาที่แข็งแรงให้เด็กพูดอย่างเปิดเผย สร้างศักยภาพภาษาในอนาคตของเด็ก

ตัวอย่าง

  • รับฟังอย่างใจเย็น: เมื่อเด็กพูด ต้องให้ความสำคัญและรับฟังอย่างใจเย็น ไม่ควรตักเตือน
  • ใช้ภาษาที่เหมาะสม: ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมสำหรับเด็ก ไม่ควรใช้ภาษาที่ซับซ้อนเกินไปหรือต้องการคำแปลอีกที
  • สร้างช่วงเวลาพูดคุย: สร้างเวลาเฉพาะสำหรับพูดคุยกับเด็ก อาจเป็นเวลาที่ทานอาหารเย็นหรือเวลาก่อนนอน
  • เล่นเกมที่ใช้ภาษาเป็นสื่อสาร: เล่นเกมที่ต้องใช้ภาษาเพื่อแก้ปัญหา เช่น เกมทายคำ หรือเกมสร้างเรื่องราว

2. พูดช้าๆ ชัดๆ ซ้ำๆ

การพูดช้าๆ และซ้ำๆ เป็นวิธีการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารมาตรฐาน (Responsive Communication) โดยเป็นการเน้นใช้ภาษาที่ง่าย ชัดเจน และสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้ได้ดีขึ้น

ตัวอย่าง

  • หากเด็กยังไม่เข้าใจคำพูดในประโยค สามารถซ้ำคำพูดอีกครั้ง เพื่อให้เด็กมีโอกาสจับความหมายของคำพูด เช่น เวลากินข้าว ทำท่าทางตักข้าวใส่ปาก แล้วพูดช้าๆ ว่า “กินข้าว กินข้าว” เป็นต้น

3. เสริมหรือขยายคำพูดของเด็ก

การเสริมหรือขยายคำพูดของเด็กเป็นการสร้างโอกาสให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ และเพิ่มความรู้ความเข้าใจทางภาษา

ตัวอย่าง

  • ใช้คำเต็มๆ และรายละเอียด: เมื่อพูดคุยกับเด็กให้ใช้คำศัพท์ที่มีรายละเอียด เช่น แทนที่จะพูด “สุนัข” ผู้ปกครองสามารถพูดขยายได้ว่า “สุนัขพันธุ์ชิวาวา” เพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจ
4. ร้อง เล่น เต้น กับเด็กๆ

4. ร้อง เล่น เต้น กับเด็กๆ

การร้อง เล่น เต้น กับเด็กเป็นวิธีที่สนุกสนาน เพลิดเพลิน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก ไม่เพียงแต่ช่วยในการเรียนรู้คำศัพท์ แต่ยังช่วยพัฒนาทักษะการเข้าสังคม ทักษะการสื่อสาร เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์

ตัวอย่าง

  • การร้องเพลง: เพลงจะช่วยสร้างระเบียบวินัยของภาษาและคำศัพท์ให้กับเด็ก ลองร้องเพลงที่มีคำศัพท์เพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ เป็นการเพิ่มคำศัพท์ไปในตัว
  • การเต้น: การเต้นเป็นการช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวตามประโยคเสียงเพลง 
  • การสร้างฉากการแสดง: สร้างฉากการแสดงที่เด็กสามารถเล่นบทบาทและพูดคุยได้ เช่น การจำลองการเล่นในร้านขายของ เสริมทักษะการสื่อสารการใช้ชีวิตจริง

5. ฝึกให้ทำตามคำสั่ง

การฝึกให้เด็กทำตามคำสั่ง จะช่วยสอนให้เด็กมีทักษะการฟัง การเข้าใจคำพูด และการปฏิบัติตามคำสั่ง เพื่อให้พัฒนาทักษะการใช้ภาษาในสื่อสารและการทำงานในชีวิตประจำวันได้ในอนาคต โดยเริ่มที่ระดับง่ายที่สุด และเมื่อเด็กทำได้ดีแล้วก็เพิ่มความซับซ้อนของคำสั่งเป็นลำดับถัดไป

ตัวอย่าง

  • ใช้คำสั่งเข้าใจง่าย: ให้คำสั่งที่มีชัดเจน และเข้าใจง่ายสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็กเข้าใจและปฏิบัติตามได้ง่าย เช่น สั่งให้เก็บของ สั่งให้ล้างมือ
  • เล่นเกมและกิจกรรมที่ใช้คำสั่ง: เล่นเกมที่ใช้คำสั่งเพื่อให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง เช่น เกม Simon Says หรือเกมสร้างสรรค์อื่นๆ
  • แสดงตัวอย่าง: ผู้ปกครองลองทำเป็นตัวอย่างให้เด็กดู ว่าปฏิบัติตามคำสั่งอย่างไร เพื่อให้เด็กมีแรงบันดาลใจที่จะทำตาม
  • เชื่อมโยงกับประสบการณ์: เชื่อมโยงคำสั่งกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น “ล้างมือก่อนทานข้าว” หรือ “ระวังไม่ไปใกล้ถนน”

6. ไม่เลี้ยงเด็กด้วยจอภาพ ลดการใช้เทคโนโลยี

การลดการใช้เทคโนโลยีและไม่เลี้ยงเด็กด้วยจอภาพเป็นการส่งเสริมการพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก ที่เสริมภาษาผ่านทางกิจกรรมและประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ช่วยสร้างศักยภาพทางภาษาและสังคมให้กับเด็ก ไม่ให้เด็กคุ้นชินกับจอมากกว่าการเข้าสังคมจริงๆ

ตัวอย่าง

  • สนับสนุนการพูดคุย: สร้างสถานการณ์ที่เกิดการพูดคุยและสนทนา ให้เด็กมีโอกาสพูดเรื่องราว แสดงความคิดเห็น และสื่อสารกับผู้ใหญ่
  • ทำกิจกรรมสร้างสรรค์: สนับสนุนเด็กในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น วาดรูป ทำแบบจำลอง 
  • เล่นกลางแจ้ง: พาเด็กออกไปเล่นกลางแจ้ง เช่น เล่นในสวนสาธารณะ สวนเล่น หรือที่สวนสนุก
  • ให้เด็กได้เข้าสังคม: ให้เด็กมีโอกาสเข้าสังคมกับเพื่อนวัยเดียวกันหรือเด็กที่มีช่วงอายุเดียวกัน เพื่อสนับสนุนการพูดคุยและการสื่อสาร

สร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: สร้างกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับความสนใจและความต้องการของเด็ก เช่น การพาเด็กๆ ทำงานฝีมือ

7. อ่านนิทานพร้อมภาพประกอบ

การอ่านนิทานพร้อมภาพประกอบให้เด็กฟัง เป็นการสร้างสรรค์เรื่องราวด้วยภาพและเสียงไปพร้อมกัน ช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้ภาษาอย่างสนุกสนาน

ตัวอย่าง

  • เลือกนิทานที่เหมาะสม: เลือกนิทานที่เหมาะสมกับอายุและความสนใจของเด็ก เพื่อให้เข้าใจและสนุกกับเนื้อหา
  • ช่วยอธิบายเนื้อหา: ในระหว่างการอ่าน รูปภาพจะอธิบายเนื้อหาของนิทานและช่วยเด็กเข้าใจคำศัพท์หรือสำนวนที่ไม่คุ้นเคยได้ดี
  • แสดงภาพประกอบ: ช่วยให้เด็กสามารถเห็นภาพตรงตามเนื้อหาในนิทานได้
  • ตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิด: หลังจากอ่านนิทาน ตั้งคำถามให้เด็กตอบ เพื่อกระตุ้นการคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์
ประโยชน์ของการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

ประโยชน์ของการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กมีประโยชน์มากมายต่อพัฒนาการทั้งทางภาษาและทักษะทั่วไปของเด็ก ได้แก่

ด้านการสื่อสาร สนทนา

การพัฒนาการด้านภาษาจะช่วยส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็ก ทั้งในการพูด ฟัง อ่าน และเขียน ซึ่งเด็กที่ได้เรียนรู้ภาษาเพิ่มขึ้น จะสามารถแสดงความคิดเห็น แสดงความรู้สึก และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ต่อยอดการเรียนรู้

ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ การมีทักษะในการอ่านและเขียนช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ๆ และเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถพัฒนาความคิด

การเรียนรู้ภาษา ช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ การใช้ภาษาในการแก้ปัญหา การสร้างเรื่องราว

มีความรู้และความเข้าใจ

การใช้ภาษา จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว และความเข้าใจในเรื่องราว ความรู้ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยเด็กเติบโตไปด้วยความคิดรอบคอบ ทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

เตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในอนาคต

การพัฒนาทักษะการพูดภาษาในช่วงเด็ก เป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเรียนรู้ในอนาคต เด็กที่มีพื้นฐานทางภาษาที่แข็งแรงมักจะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ได้ดีกว่า

ส่งเสริมทักษะสังคม

การพัฒนาทักษะด้านภาษา ช่วยเสริมความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น

สรุป

การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กมีความสำคัญมาก เนื่องจากมีผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งทางภาษาและพัฒนาการทั่วไปของเด็กในรูปแบบต่างๆ เป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ เพราะภาษาเป็นช่องทางสำคัญในการสื่อสาร ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กๆ เอาใจใส่ในการเลี้ยงดู 


แต่ทว่าบางครั้งผู้ปกครองอาจจะไม่มีเวลาเพียงพอในการเสริมสร้างทักษะด้านภาษา Speak Up Language Center คือผู้ช่วยที่ดีในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาอีกแรง เด็กสามารถเรียนได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 2.5-12 ปี โดยคุณครูมืออาชีพที่มีประสบการณ์และเทคนิคการสอนภาษาเด็กเล็ก สามารถปูพื้นฐานชีวิตที่ดีให้กับเด็กและเสริมสร้างพัฒนาการทั่วไปของเด็กในระยะยาว

ทำความรู้จักกล้องสลับลาย ของเล่นสุดเจ๋ง เสริมสร้างจินตนาการเด็ก

ทำความรู้จักกล้องสลับลาย ของเล่นสุดเจ๋ง เสริมสร้างจินตนาการเด็ก

กล้องสลับลาย หรือกล้องคาไลโดสโคป เป็นของเล่นในวัยเด็กที่หลายๆ คนรู้จัก วัตถุที่อยู่ปลายกล้องจะแสดงเห็นภาพในกล้องเป็นลวดลายที่แตกต่างออกไป ของเล่นชิ้นนี้ไม่เพียงช่วยสร้างความตื่นเต้นที่ได้เจอลวดลายใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการและพัฒนาการด้านต่างๆ ให้แก่ผู้เล่นอีกด้วย ผู้ปกครองที่กำลังมีลูกเล็กสามารถนำกล้องสลับลายมาให้เด็กๆ เล่นเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการเหล่านี้ได้ 

บทความนี้ SpeakUp Language Center จะพาไปทำความรู้จักกับกล้องคาไลโดสโคปว่ามันคืออะไร มีประโยชน์ยังไง มีหลักการทำงานอย่างไร รวมไปถึงวิธีทำกล้องสลับลายเองง่ายๆ ที่ทำได้ที่บ้าน

กล้องสลับลาย คืออะไร

กล้องสลับลาย คืออะไร

กล้องสลับลาย หรือกล้องคาไลโดสโคป คืออุปกรณ์คล้ายกับกล้องโจรสลัดที่เห็นได้ตามหนัง แต่ด้านในจะประกอบไปด้วยกระจกหรือกระดาษที่สะท้อนแสงได้เหมือนด้านในของซองขนม มาประกอบกันสองชิ้นขึ้นไป เมื่อชิ้นส่วนเหล่านี้เรียงกันอยู่ในกล้องที่มีรูปทรงกระบอกทำให้มันหันหน้าเข้าหากันและสะท้อนกันเอง ดังนั้นเมื่อนำไปส่องที่วัตถุจะเห็นภาพสะท้อนออกมาเป็นรูปสีและรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามวัตถุที่ส่อง แต่รูปที่ออกมานั้นเป็นภาพสมมาตร (symmetrical images) กล้องสลับลายบางตัวสามารถหมุนได้ เมื่อหมุนกล้อง มุมของกระจกด้านในจะเปลี่ยน ทำให้แม้จะส่องไปที่วัตถุเดิมก็จะได้ภาพสมมาตรที่แตกต่างจากมุมเดิมที่เคยหมุน กล้องสลับลายจึงมีประโยชน์มากในด้านการเสริมสร้างจินตนาการให้แก่เด็กเล็ก

กล้องสลับลาย มีประโยชน์ยังไง

กล้องสลับลาย มีประโยชน์ยังไง

กล้องสลับลาย หรือกล้องคาไลโดสโคป นิยมนำมาใช้เป็นสื่อการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ เพราะนอกจากจะเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของภาพสะท้อนและการหักเหของแสงแล้ว ยังช่วยให้เด็กได้มีส่วนร่วมและสนุกไปกับการเรียนรู้ได้ด้วย นอกจากนี้กล้องคาไลโดสโคปยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย ดังนี้

พัฒนาสมาธิ

กล้องสลับลายมีประโยชน์อย่างมากในแง่ของการพัฒนาสมาธิ เพราะกล้องคาไลโดสโคปช่วยลดการตื่นตัวทางอารมณ์ของสมองซีกขวา ทำให้ไม่ตื่นเต้นกับสิ่งเร้ามากจนเกินไป ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะอยู่กับตัวเอง ณ ขณะนั้น เพื่อให้เด็กได้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและภาพที่สะท้อนอยู่ในกล้องเท่านั้น

เสริมสร้างจินตนาการ

กล้องสลับลายช่วยเสริมสร้างจินตนาการได้โดยส่งเสริมให้เด็กได้เห็นภาพสมมาตรแล้วนำไปจินตนาการต่อว่าภาพที่เห็นนั้นลักษณะคล้ายกับอะไรเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว นอกจากนี้ หากเด็กจินตนาการเป็นภาพอะไรแล้วพูดออกมา ก็จะเป็นการช่วยส่งเสริมความมั่นใจของตัวเด็กด้วย

พัฒนาอารมณ์

บางครั้งตัวเด็กเองก็ไม่รู้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร กล้องสลับลายจึงจะปล่อยให้สีของภาพที่เด็กได้เห็นช่วยปลดปล่อยอารมณ์ของเด็กออกมา เช่น สีเขียวช่วยให้ความรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า หรือสีฟ้าช่วยให้รู้สึกสงบมากขึ้น เป็นต้น

ช่วยให้ได้ปลดปล่อย

กล้องสลับลายช่วยสร้างความสนุกสนานและเรียกเสียงหัวเราะให้กับเด็กได้ ช่วยให้เด็กได้ปลดปล่อยความสนุกสนานออกมาเต็มที่พร้อมๆ ไปกับเพื่อนๆ และยังช่วยเสริมสร้างการเข้าสังคมให้กับตัวเด็ก เช่นการชวนเพื่อนมาประดิษฐ์ เล่น และแลกเปลี่ยนกันส่องกล้องคาไลโดสโคปกับเพื่อน

เสริมสร้างความมั่นใจ

กล้องสลับลายช่วยให้เด็กกล้าพูดและกล้าลงมือทำมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมาหลังจากจินตนาการภาพสมมาตรเป็นสิ่งต่างๆ หรือแม้กระทั่งการกล้าลงมือประดิษฐ์ตัวกล้องคาไลโดสโคปเอง

สร้างความอยากรู้อยากเห็น

กล้องสลับลายช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้มากขึ้น อยากรู้ว่าหากเปลี่ยนวัตถุแล้วจะได้เป็นรูปสมมาตรแบบไหน อยากจะประดิษฐ์กล้องคาไลโดสโคปแบบที่มีกระจกหลายๆ ชิ้น หรือแม้กระทั่งอยากรู้หลักการทำงานของตัวกล้อง โดยทำให้เด็กสงสัยว่าทำไมแค่กระจกหลายๆ ชิ้น กับวัตถุเล็กๆ ถึงสามารถสร้างภาพแปลกๆ ออกมาได้ สร้างความอยากรู้อยากเห็นให้เด็กจนเด็กต้องไปหาคำตอบด้วยตัวเอง หรือสอบถามคนอื่นๆ

ช่วยให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่

เมื่อเกิดการอยากรู้อยากเห็นก็ต้องเกิดการหาคำตอบ กล้องสลับลายสร้างความอยากรู้อยากเห็นให้ตัวเด็กแล้ว ผู้ปกครองเองก็มีส่วนช่วยในการให้คำตอบเด็กเพื่อให้เขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ นอกจากนี้ เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วเด็กก็จะเอาไปเล่าให้ฟังกันแบบปากต่อปาก ทำให้คนรอบตัวของตัวเด็กได้ความรู้ไปด้วย และอาจกระตุ้นให้เกิดคำถามใหม่ๆ ขึ้นมา จนเกิดเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่อีกครั้งได้

วิธีทำกล้องสลับลาย

วิธีทำกล้องสลับลาย

การทำกล้องสลับลายแบบ DIY ทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน ช่วยส่งเสริมการกล้าคิดกล้าทำของเด็กๆ จะมีวิธีการทำยังไง ไปดูกัน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกล้องสลับลาย

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำกล้องสลับลาย สามารถหาได้ง่ายๆ มีดังนี้

  1. กระจกเงารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดเท่ากัน 3 แผ่น (หรือมากกว่านั้นได้ตามต้องการ)
  2. กล่องกระดาษ สามารถหาได้ง่ายๆ จะเป็นกล่องคอนเฟลกส์ที่ซื้อมารับประทานทุกเช้าก็ได้
  3. กระดาษ A4  นำมาใช้ตกแต่งภายนอกตัวกล้อง
  4. แผ่นพลาสติกใส เพื่อนำมาใช้เป็นปลายกล้อง
  5. วัตถุเล็กๆ ที่ต้องการนำมาวางไว้ที่ปลายกล้อง สามารถใช้เป็นใบไม้ ดอกไม้ เศษกระดาษสี หรือลูกปัดก็ได้
  6. กรรไกร 
  7. เทปกาว ทั้งเทปกาวแบบปกติ และเทปกาวสองหน้า
  8. สี ที่จะนำมาใช้ตกแต่ง
  9. ไม้บรรทัด

ลงมือทำกล้องสลับสาย

เมื่อได้อุปกรณ์ที่จำเป็นครบแล้ว มาลงมือทำกล้องสลับลายกันได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนดังนี้

  1. นำกระจกเงาทั้งสามชิ้น มาประกอบหันหน้าเข้าหากันเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยให้ตัวที่เป็นกระจกหน้าหันเข้าไปด้านในทั้งหมด จากนั้นนำเทปกาวมาติดตามรอยต่อของกระจกให้แน่น เพื่อป้องกันการหลุดของตัวกระจก จะได้กระจกเงารูปทรงกระบอกสามเหลี่ยมขึ้นมา
  2. นำกล่องกระดาษมาตัดให้มีขนาดใหญ่กว่ากระบอกสามเหลี่ยมที่เพิ่งทำไปเล็กน้อย พอให้ตัวกล่องกระดาษสามารถพับเป็นรูปกระบอกสี่เหลี่ยมครอบกระบอกสามเหลี่ยมได้อีกที โดยความยาวของกระบอกสี่เหลี่ยมจะมากกว่าเล็กน้อยเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับวางวัตถุได้
  3. นำพลาสติกใสมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้มีขนาดเท่ากับปากของกระบอกสี่เหลี่ยม เพื่อนำไปครอบบริเวณปลายกล้อง ยัดเข้าไปให้สุด ปลายกล้องจะเหลือช่องว่างเล็กน้อยให้พอใส่ถาดวัตถุได้
  4. ตัดพลาสติกใสอีกครั้งให้ใหญ่กว่าอันที่แล้ว จากนั้นตัดบริเวณมุมออกให้แผ่นพลาสติกใสเป็นรูปบวก (+) โดยด้านในของตัวบวกจะเท่ากับพลาสติกใสที่ตัดไปรอบที่แล้ว แต่มีปีกยื่นออกมาเล็กน้อย ให้พับปีกตรงนั้นเข้า เพื่อให้พลาสติกใสรูปบวกสามารถนำมาทำเป็นถาดใส่วัตถุที่ต้องการได้ จากนั้นนำเทปกาวติดตามมุมถาด
  5. ใส่วัตถุที่ต้องการลงไปในถาดพลาสติกใส จัดเรียงให้สวยงาม จากนั้นนำถาดไปครอบบริเวณปลายกล้อง และนำเทปกาวติดบริเวณด้านนอกเพื่อป้องกันการหลุดร่วง
  6. นำกล่องกระดาษมาตัดเป็นรูปบวก ขนาดเท่ากับตัวพลาสติกใสที่เพิ่งทำไป จากนั้นทำรูวงกลมตรงกลาง เพื่อให้ใช้ตาส่องเข้าไปได้ จากนั้นประกอบเข้ากับปลางกล้องอีกด้าน
  7. ขั้นตอนสุดท้าย นำกระดาษ A4 มาระบายสีตกแต่งตามใจชอบ จากนั้นนำมาคลุมตัวกล้องโดยใช้เทปกาวสองหน้ายึดเอาไว้ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น สามารถนำไปเล่นในบริเวณที่มีแสงเยอะๆ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดมากขึ้น
กล้องสลับลาย มีหลักการทำงานยังไง

กล้องสลับลาย มีหลักการทำงานยังไง

กล้องสลับลาย มีหลักการทำงานที่แบ่งตามส่วนประกอบของตัวกล้อง ซึ่งแบ่งออกหลักๆ ได้สามส่วน ดังนี้

  • ส่วนของลำกล้อง เป็นส่วนหลักที่อยู่ด้านนอกของกล้อง มีลักษณะเป็นทรงกระบอก ด้านในจะเป็นกระจกหรือกระดาษสีสะท้อนแสง ส่วนมากนิยมใช้กระจกแค่สามชิ้นวางเป็นรูปสามเหลี่ยมหันหน้าเข้าหากัน แต่ก็สามารถใส่กระจกมากกว่านั้นได้เช่นกัน โดยกระจกเหล่านี้จะสะท้อนกันเองจนทำให้เกิดภาพสมมาตร
  • ปลายกล้อง เป็นกระจกใส หรือพลาสติกใส เพื่อให้มีแสงเข้ามาได้ และในบริเวณปลายกล้องจะมีวัตถุวางไว้ จะเป็นวัตถุชิ้นเล็กๆ หาง่าย อย่างเช่นลูกปัด ดอกไม้ ใบไม้ เป็นต้น ซึ่งตัววัตถุนี้เองจะเป็นตัวกำหนดภาพที่จะเห็นจากการสะท้อน
  • ปากกล้อง เป็นบริเวณที่เด็กจะใช้ส่อง โดยจะนำกระดาษมาตัดเป็นรูเล็กๆ พอให้สายตามองเข้าไปได้

เมื่อมองเข้าไปในรูที่ปลายกล้องสลับลาย แสงที่เข้ามากระทบในกระจกหรือพลาสติกทุกๆ ชิ้นที่อยู่ด้านในตัวกล้องจะสะท้อนมาจากวัตถุที่ปลายกล้องชี้เข้าไป และกระจกหรือพลาสติกด้านในกล้องก็จะสะท้อนกันเองไปเรื่อยๆ เพราะมีแสงเข้ามาในตัวลำกล้อง ทำให้ภาพที่เห็นมีรูปแบบเหมือนกับภาพสมมาตร นอกจากนี้กล้องคาไลโดสโคปบางตัวยังสามารถหมุนเพื่อเปลี่ยนมุมของกระจกหรือพลาสติกด้านในกล้องสลับลายได้ เมื่อหมุนแล้วภาพสมมาตรที่ออกมาก็จะแตกต่างไปจากเดิม

สรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างกับกล้องสลับลาย หรือกล้องคาไลโดสโคป ของเล่นในของทรงจำของใครหลายๆ คนที่นอกจากจะสร้างความสนุกสนานได้แล้วยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ได้อีกด้วย หากใครมีลูกเล็ก อย่าลืมชวนพวกเขามาประดิษฐ์และเล่นกล้องสลับลาย เพื่อให้ครอบครัวได้ใช้เวลาว่างร่วมกัน และยังช่วยฝึกสมาธิให้เด็กๆ ได้อีกด้วย

5 ไอเดียทำของเล่น diy

5 ไอเดียของเล่น DIY เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ และจินตนาการของเด็ก

ส้อมคู่กับช้อนฉันใด เด็กก็ต้องคู่กับของเล่นฉันนั้น เพราะของเล่นนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเด็กมานานแสนนาน เหล่าพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่กำลังจะมีลูกเล็ก ลองให้พวกเขาฝึกทำของเล่น DIY ด้วยตัวเอง เพราะการได้เล่นของเล่นที่ได้จากการประดิษฐ์ขึ้นมาเองนั้น จะทำให้พวกเด็กๆ สนุกกับการเล่นของเล่นมากขึ้น อีกทั้ง การทำของเล่น DIY ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการผ่านการลงมือทำ สร้างจินตนาการให้เด็กๆ ผ่านการตกแต่งของเล่น และส่งเสริมการเข้าสังคมของพวกเขาผ่านการนำของเล่นออกไปเล่นกับเพื่อนๆ ได้อีกด้วย

บทความนี้จะพาไปดูวิธีทำของเล่น DIY ง่ายๆ ให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ศึกษา เพื่อที่จะได้ใช้เวลาร่วมกับเด็กๆ ให้เกิดประโยชน์ จะมีไอเดียอะไรบ้าง ช่วยส่งเสริมพัฒนาการในตัวเด็กได้อย่างไร และมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

บูมเมอแรง ของเล่น diy

1. บูมเมอแรง

บูมเมอร์แรง คืออุปกรณ์ที่คนในยุคก่อนใช้ล่าสัตว์เพื่อหาอาหาร แต่ในปัจจุบันกลายมาเป็นของเล่นที่สร้างสีสันและความสนุกสนานให้เหล่าเด็กๆ มีวิธีการเล่นคือการจับตรงกลางของบูมเมอร์แรง จากนั้นโยนไปข้างหน้า เพื่อให้บูมเมอแรงปลิวกลับมา โดยการเล่นบูมเมอแรงเป็นของเล่น DIY ที่ช่วยพัฒนาพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ได้ดังนี้

  • ฝึกทักษะด้านความจำ การทำบูมเมอแรงด้วยกระดาษ ต้องอาศัยการพับที่มีขั้นตอนซับซ้อน จึงจำเป็นต้องฝึกฝนและจดจำขั้นตอนในการทำ เมื่อฝึกฝนไปเรื่อยๆ ก็จะสามารถจำได้ และทำเล่นเองได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องพึ่งคู่มือการทำอีกแล้ว
  • ช่วยให้ได้ออกกำลังกาย ในการโยนบูมเมอแรงแต่ละครั้ง เด็กๆ ต้องได้ออกกำลังแขนในการโยน นอกจากนี้ หากบูมเมอแรงไม่กลับมา เด็กๆ ก็ต้องวิ่งไปเก็บบูมเมอแรงกลับมาได้
  • ฝึกให้เรียนรู้จากข้อผิดพลาด เด็กๆ จะได้ฝึกเรียนรู้จากข้อผิดพลาด เพราะการปาบูมเมอแรงให้กลับมาหาตัวเองนั้นทำได้ยาก ต้องฝึกให้ชิน เด็กๆ จะได้เรียนรู้ว่าการโยนบูมเมอแรงแบบไหนแล้วตัวบูมเมอแรงจะไม่ปลิวกลับมา และการโยนแบบไหนจะปลิวกลับมา ทำให้เรียนรู้ความผิดพลาด และรู้จักวางแผนมากขึ้น

การทำบูมเมอแรง ของเล่น DIY ง่ายๆ มีวัสดุที่ต้องเตรียมง่ายๆ มีดังนี้

  • กระดาษสีขนาด A4
  • เทปใส

วิธีทำของเล่น DIY

ผู้ปกครองที่อยากลองทำบูมเมอแรงร่วมกับลูกๆ สามารถให้เด็กๆ ทำเองได้ตามขั้นตอน โดยที่ผู้ปกครองทำให้พวกเขาดูก็ได้เช่นกัน มาดูวิธีการทำบูมเมอแรงจากกระดาษ ของเล่น DIY ทำง่ายๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. พับครึ่งกระดาษสีเข้าหากันจากแนวตั้ง จากนั้นคลี่กระดาษออก จะเห็นรอยพับตรงกลาง
  2. พับกระดาษฝั่งขวาเข้าหารอยพับตรงกลาง จากนั้นคลี่ออก จะเห็นรอยพับเป็น 2 รอย
  3. พับกระดาษฝั่งขวาเข้าหารอยพับด้านนอก จากนั้นพับทบกันมาเรื่อยๆ จนสุดกระดาษ
  4. นำเทปใส่มาติดกระดาษที่เหลือ เป็นแนวยาวรอยพับ
  5. ทำแบบนี้กับกระดาษสีขนาด A4 อีกแผ่น
  6. พับกระดาษลงมา จากนั้นตัดครึ่ง ทำแบบเดียวกันทั้งสองแผ่น จะได้แท่งกระดาษ 4 แท่ง
  7. นำกระดาษที่ตัด 2 แท่ง มาทับกันเป็นตัว V จากนั้นนำเทปใสมาติดเข้าด้วยกันให้แน่น
  8. ทำแบบเดียวกันกับกระดาษทั้ง 2 แท่งที่เหลือ
  9. จากนั้นหันหน้ากระดาษตัว V เข้าหากัน โดยให้มุมอยู่ด้านนอก แล้วสอดแบบทบกัน เกี่ยวกันให้มีลักษณะเป็นรูปตัว X
  10. นำเทปใสมาติดตรงกลางของตัว X ให้แน่น
เพียงเท่านี้ก็จะได้บูมเมอแรง ของเล่น DIY สำหรับเด็กๆ แล้ว เมื่อต้องการเล่นบูมเมอแรง ให้จับบริเวณตรงกลางของตัว X แล้วโยนขึ้นฟ้าไปด้านหน้า หากโยนถูกวิธีบูมเมอแรงก็จะกลับมา
จิ๊กซอว์ ของเล่น diy

2. จิ๊กซอว์

จิ๊กซอว์ (Jigsaw) คือเกมต่อภาพที่มีมาอย่างยาวนาน โดยจิ๊กซอว์จะเป็นรูปภาพต่างๆ ที่ถูกแยกส่วนกระจัดกระจายออกมา ผู้เล่นจะต้องนำชิ้นส่วนเหล่านั้นมารวมกันใหม่ เพื่อให้ได้ภาพนั้นกลับมาอีกครั้ง เกมจิ๊กซอว์จึงเหมาะมากสำหรับนำมาทำเป็นของเล่น DIY สำหรับเด็กๆ เพราะสามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ฝึกทักษะความอดทน อดกลั้น ผ่านการการนำชิ้นส่วนต่างๆ ที่กระจัดกระจายกันอยู่ของรูปเหล่านั้นมาต่อเข้าด้วยกัน การลองผิดลองถูกไปทีละขั้นตอนจนประกอบเป็นรูปภาพได้สำเร็จนั้น ทำได้ด้วยการอดทนกับความผิดพลาดต่างๆ ที่ผ่านมา และเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนั้นๆ จนทำได้สำเร็จ เป็นการช่วยฝึกความอดทนให้เด็กๆ ได้ดีเลยทีเดียว
  • ฝึกสมาธิ นอกจากการลองผิดลองถูกแล้ว ช่วงเวลาในการต่อจิ๊กซออว์จนสำเร็จนั้น ต้องใช้เวลานานมาก เด็กๆ จะต้องใช้สมาธิ จดจ่ออยู่กับจิ๊กซอว์ตรงหน้าเป็นเวลานาน ไม่วอกแวกไปกับสิ่งเร้าต่างๆ รอบตัว
  • ฝึกทักษะด้านความจำ โดยการจดจำว่าจิ๊กซอว์ชิ้นที่ต้องการนั้นอยู่ตรงส่วนไหน
  • ฝึกทักษะด้านจินตนาการ ผ่านการนำรูปที่พวกเขาเลือกเองมาประกอบกัน โดยจินตนาการว่าชิ้นส่วนไหนควรอยู่ตรงไหนของภาพนั้นๆ และควรนำไปประกอบกับชิ้นส่วนใดต่อไป
การทำจิ๊กซอว์ ของเล่น DIY ง่ายๆ มีวัสดุที่ต้องเตรียม ดังนี้
  • กระดาษ A4 1 แผ่น
  • กระดาษแข็ง หรือกระดาษลังเหลือใช้ ขนาดเท่า A4  
  • กาวสองหน้า
  • กรรไกร
  • คัตเตอร์
  • ดินสอ
  • ไม้บรรทัด

วิธีทำของเล่น DIY

ผู้ปกครองที่อยากลองทำจิ๊กซอว์ร่วมกับลูกๆ มาดูวิธีการทำจิ๊กซอว์ ของเล่น DIY ง่ายๆ มีดังนี้

  1. พรินต์รูปที่ต้องการลงกระดาษ A4 โดยเว้นขอบไว้ประมาณ 2 เซนติเมตร หรือจะให้เด็กๆ วาดเองก็ได้
  2. ตัดมุมทั้ง 4 มุมที่เว้นว่างไว้ออก ในขั้นตอนนี้เป็นการใช้ของมีคม ผู้ปกครองจึงควรเป็นคนทำเอง
  3. ให้เด็กๆ นำกระดาษ A4 ที่พรินต์รูปแล้ว ไปแปะติดกับกระดาษแข็ง (หรือกระดาษลัง) จากนั้นผู้ปกครองช่วยตัดมุมกระดาษแข็งที่เว้นไว้ 2 เซนติเมตรออก จะได้กระดาษแข็งที่มีรูปร่างคล้ายกรอบรูป
  4. ให้เด็กๆ นำขอบกระดาษแข็งที่ตัดออกไปประกบเข้ากับกระดาษแข็งขนาด A4 อีกอัน ติดกาวสองหน้าและประกบเข้ากันให้แน่น
  5. ให้เด็กๆ นำรูปที่แปะเข้ากับกระดาษแข็งแล้วมาวาดรูปตารางด้านหลังให้เต็มแผ่น ขนาดเล็กหรือใหญ่ได้ตามใจชอบ
  6. ผู้ปกครองช่วยตัดรูปออกตามรอยดินสอที่วาดไว้
เพียงเท่านี้เราก็จะได้จิ๊กซอว์ ของเล่น DIY ที่คุณผู้ปกครองจะนำมาใช้เล่นกับลูกๆ ได้แล้ว โดยใช้ส่วนของกระดาษแข็งที่ตัดเป็นกรอบ มาทำเป็นถาดของจิ๊กซอว์ นำตัวจิ๊กซอว์เหล่านั้นมาวางให้เป็นรูปตามรูปที่เราเลือกได้เลย
ระนาด ของเล่น diy

3. เครื่องดนตรี (ระนาด)

ระนาด เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านาน แต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถทำระนาดเป็นของเล่น DIY ให้เด็กๆ ได้ และใช้ไม้ตีเพื่อให้เกิดเป็นเสียงตามรูที่ได้เจาะเอาไว้ด้านล่างด้วย ระนาดของเล่น DIY ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กๆ ได้ในหลายๆ ด้าน ดังนี้

  • ฝึกทักษะด้านการฟัง โดยการตีไปที่ตัวระนาด แล้วฟังว่าเสียงที่ออกมานั้นเป็นแบบไหน ผู้ปกครองอาจจะเพิ่มความท้าทายเล็กน้อยให้พวกเขาด้วยการลองให้พวกเขาหลับตา แล้วทายว่าเสียงที่ได้ยินนั้นมาจากการตีระนาดปุ่มไหน
  • ฝึกทักษะความจำ โดยการใช้สีและเสียงของระนาดเข้าช่วย เพราะแต่ละสีของระนาดจะให้เสียงที่แตกต่างกัน เมื่อเล่นไปเรื่อยๆ เด็กๆ จะเริ่มจำได้ว่าแต่ละสีนั้นให้เสียงแบบไหน
  • ฝึกทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยการฝึกให้เด็กๆ ลองตีระนาดไปเรื่อยๆ ให้พวกเขาจับจุดเอาเองว่าหากตีระนาดปุ่มนี้แล้ว ควรตีปุ่มไหนต่อ เพื่อให้เสียงที่ออกมานั้นไพเราะมากยิ่งขึ้น
  • ฝึกทักษะการเข้าสังคม ผ่านการฝึกเล่นระนาด ของเล่น DIY กับกลุ่มเพื่อนๆ

การทำระนาด เครื่องดนตรีของเล่น DIY ง่ายๆ มีวัสดุที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • แผ่นไม้
  • ไม้ไอติม
  • สีน้ำ หรือดินสอสี
  • กาว
  • ดินสอ

วิธีทำของเล่น DIY

ผู้ปกครองที่อยากลองทำระนาดร่วมกับลูกๆ มาดูวิธีการทำระนาด เครื่องดนตรีของเล่น DIY ง่ายๆ มีดังนี้
  1. ให้เด็กๆ นำไม้ไอติมไปวางบนแท่นไม้ 4-5 แท่ง โดยมีระยะห่างประมาณ 1-2 เซนติเมตร จากนั้นนำดินสอมาร่างเป็นรอยไม้ไอติมไว้ แล้วเอาไม้ไอติมออก
  2. ให้เด็กๆ นำไม้ไอติมมาตกแต่งด้วยสีน้ำตามใจชอบ โดยใช้สีที่แตกต่างกันออกไป ขั้นตอนนี้ควรให้เด็กๆ ได้ทำตามความคิดและจินตนาการของพวกเขา ปล่อยให้พวกเขาได้ใช้เวลาในการตกแต่งได้เต็มที่
  3. ผู้ปกครองช่วยเจาะรูที่แผ่นไม้ไว้ตรงจุดที่จะเอาไม้ไอติมไปวาง โดยจำนวนและตำแหน่งของรูต้องแตกต่างกันในแต่ละจุด เพื่อให้เสียงที่ออกมานั้นแตกต่างกัน อาจจะเจาะเพิ่มรูไปเรื่อยๆ ก็ได้
  4. ให้เด็กๆ นำไม้ไอติมมาติดเข้ากับแผ่นไม้ด้วยกาวให้แน่น ทับรูที่เจาะเอาไว้

การตีระนาดให้ใช้กิ่งไม้ที่มีขนาดและน้ำหนักมากพอที่จะตีไปที่ตัวระนาดแล้วเกิดเสียงได้ เพียงเท่านี้ก็จะได้ระนาด เครื่องดนตรีของเล่น DIY มาช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่างๆ ของเด็กๆ ได้แล้ว

หน้ากากแฟนซี ของเล่น diy

4. หน้ากากแฟนซี

หน้ากากแฟนซี คือหน้ากากรูปร่างต่างๆ ที่ใช้สวมใส่เพื่อปกปิดบริเวณใบหน้า ลวดลายของหน้ากากแฟนซีนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปวิวทิวทัศน์ที่เราวาด รูปสัตว์ ดอกไม้ หรือแม้กระทั่งลวดลายที่ไม่มีความหมาย การทำหน้ากากแฟนซี ของเล่น DIY นั้นจึงเหมาะมากที่จะนำมาใช้เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ นอกจากนี้ หน้ากากแฟนซียังมีประโยชน์ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านอื่นๆ อีก ดังนี้

  • ฝึกทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การตกแต่งหน้ากากแฟนซีด้วยรูปวาด ดอกไม้ หรือการทำหน้ากากแฟนซีออกมาเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะขั้นตอนการวาด การระบายสี หรือแม้แต่การตกแต่งหน้ากากแฟนซี ก็ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ ได้
  • ฝึกสมาธิ การทำหน้ากากแฟนซี ของเล่น DIY ต้องใช้สมาธิอย่างมากในการทำ และจดจ่อกับการประดิษฐ์หน้ากาก
  • ฝึกทักษะความกล้าแสดงออก การสวมหน้ากากแฟนซี โดยเฉพาะรูปสัตว์ต่างๆ แล้วให้เด็กลองเลียนแบบสัตว์เหล่านั้น ช่วยให้เด็กกล้าแสดงออกผ่านการเลียนแบบได้ และหากเป็นการสวมหน้ากากแฟนซีเล่นกับเพื่อนๆ ลองให้เด็กๆ สร้างเรื่องราวจนเหมือนนิทานมาเล่นกับเพื่อนๆ เสริมสร้างจินตนาการได้อีกด้วย

การทำหน้ากากแฟนซี ของเล่น DIY ง่ายๆ มีวัสดุที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • จานกระดาษ ขนาดพอดีกับหน้าเด็ก
  • กรรไกร
  • คัตเตอร์
  • ดินสอ
  • ดินสอสี
  • ไม้บรรทัด
  • ตะเกียบ
  • กาว

วิธีทำของเล่น DIY

ผู้ปกครองที่อยากลองทำหน้ากากแฟนซีร่วมกับลูกๆ มาดูวิธีการทำหน้ากากแฟนซีรูปจิ้งจอก ของเล่น DIY ง่ายๆ มีดังนี้

  1. ผู้ปกครองช่วยใช้กรรไกรตัดครึ่งจานกระดาษออก
  2. ผู้ปกครองวาดรูปวงกลมเพื่อใช้เจาะเป็นรูตรงดวงตา โดยกะระยะได้ด้วยการเอาไปลองทาบกับหน้าดูก่อน จากนั้นใช้คัตเตอร์ตัดตามรูที่วงไว้
  3. ให้เด็กๆ ได้ระบายสีตกแต่งส่วนหน้ากากให้เป็นรูปหน้าจิ้งจอกตามจินตนาการของพวกเขา ในขั้นตอนนี้เป็นการใช้จินตนาการของเด็กๆ ปล่อยให้พวกเขาได้สนุกไปกับการระบายสีอย่างเต็มที่
  4. ให้เด็กๆ นำอีกครึ่งหนึ่งของจานกระดาษที่ตัดออกไป วาดเป็นรูปใบหูของจิ้งจอก ขนาดพอประมาณ ระบายสีตกแต่งตามจินตนาการ จากนั้นผู้ปกครองช่วยตัดออกเป็นรูปหูตามที่พวกเขาวาดไว้
  5. ให้เด็กๆ นำส่วนหูไปติดกับส่วนใบหน้า โดยใช้กาว
  6. ให้เด็กๆ พลิกตัวหน้ากากลง จากนั้นนำตะเกียบที่ทากาวไว้มาติดเข้ากับด้านในของหน้ากาก เพื่อใช้เป็นไม้จับ
  7. ให้เด็กๆ นำส่วนของจานกระดาษที่เหลือมาวาดเป็นของตกแต่งอื่นๆ เช่น ดอกไม้ โบว์ จากนั้นใช้กาวติดเข้ากับตัวหน้ากาก เพื่อประดับให้หน้ากากมีความแปลกใหม่ และน่าสนใจ
เพียงเท่านี้ก็จะได้หน้ากากแฟนซีสุดสวย ของเล่น DIY ที่ทำเองได้ง่ายๆ โดยผู้ปกครองสามารถนำวิธีการทำหน้ากากแฟนซีไปปรับใช้ เพื่อทำเป็นรูปร่างอื่นๆ ได้ ตามความชอบของเด็กๆ
ของเล่น diy โทรศัพท์กระป๋อง

5. โทรศัพท์จากกระป๋อง

โทรศัพท์จากกระป๋อง เป็นของเล่นที่เด็กๆ แทบทุกยุคต้องเคยได้ลองเล่น ด้วยอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย DIY ได้จากวัสดุเหลือใช้ เมื่อดึงเชือกจนตึงแล้วพูดใส่ตัวกระป๋อง คนที่อยู่ปลายสายของเชือกก็จะได้ยินผ่านกระป๋องอีกอัน สร้างความตื่นเต้นขณะเล่นเป็นอย่างมาก ขั้นตอนการทำก็ง่ายแสนง่าย เพียงไม่กี่ขั้นตอนก็ทำเสร็จแล้ว อีกทั้ง ของเล่นชิ้นนี้ยังนำไปเล่นกับเพื่อนๆ ช่วยเพิ่มความสนุกและทำให้สนิทกับเพื่อนมากขึ้นได้ นอกจากนี้โทรศัพท์จากกระป๋องยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย ดังนี้

  • ฝึกทักษะด้านงานฝีมือ ผ่านการลงมือทำโทรศัพท์จากกระป๋อง และตกแต่งให้สวยงามอย่างปราณีตด้วยตัวเด็กๆ เอง
  • ฝึกทักษะการเข้าสังคม โดยการฝึกให้เด็กได้รู้จักพูดคุยกับเพื่อนๆ ผ่านการใช้โทรศัพท์จากกระป๋อง ของเล่น DIY เป็นตัวกลาง 
  • ฝึกทักษะการสื่อสาร เด็กที่ยังพูดไม่ชัดก็จะช่วยในเรื่องของการออกเสียง และฝึกการพูดคุยกับผู้อื่น
  • ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ที่จะรักษ์โลก ด้วยการทำของเล่น DIY จากวัสดุเหลือใช้ 

การทำโทรศัพท์จากกระป๋องของเล่น DIY ง่ายๆ มีวัสดุที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • กระป๋องเหลือใช้ ขนาดเท่ากันจำนวน 2 กระป๋อง
  • เชือก
  • กระดาษ
  • ดินสอสี
  • กาว
  • กรรไกร
  • ค้อน
  • ตะปู

วิธีทำของเล่น DIY

ผู้ปกครองที่อยากลองทำโทรศัพท์จากกระป๋องร่วมกับลูกๆ มาดูวิธีการทำโทรศัพท์จากกระป๋อง ของเล่น DIY ง่ายๆ มีดังนี้

  1. ให้ผู้ปกครองนำตะปูมาเจาะรูที่ตรงก้นของกระป๋องทั้ง 2 กระป๋อง ขนาดของรูไม่ต้องใหญ่มาก แค่พอสอดเชือกเข้าไปได้
  2. ให้เด็กๆ ปิดตัวกระป๋องด้วยกระดาษ ติดกาวให้เรียบร้อย
  3. จากนั้นตกแต่งเพิ่มความสวยงามด้วยการวาดรูประบายสีลงบนกระดาษที่นำไปติดเข้ากับตัวกระป๋อง จะเป็นรูปอะไรก็ได้ตามจินตนาการของเด็กๆ
  4. นำเชือกสอดเข้าไปในรูกระป๋องที่เตรียมไว้ในขั้นตอนแรก จากนั้นมัดปมเชือกเอาไว้เพื่อกันไม่ให้เชือกหลุดเมื่อดึงเชือกจนตึง
  5. ทำแบบเดียวกันกับประป๋องอีกอัน ในอีกฝั่งของปลายเชือก
เพียงเท่านี้ก็จะได้โทรศัพท์จากกระป๋อง ของเล่น DIY จากวัสดุเหลือใช้ เมื่อต้องการนำมาเล่นก็ให้คนหนึ่งถือกระป๋องฝั่งหนึ่ง อีกคนก็ถือกระป๋องอีกฝั่ง จากนั้นเดินออกไปให้ห่างกันจนเชือกตึง ให้คนที่พูด พูดใส่กระป๋อง ส่วนคนฟังก็เอาหูแนบกับกระป๋องฟังเหมือนกับการคุยโทรศัพท์

สรุป

เป็นอย่างไรบ้างกับของเล่น DIY 5 อย่างที่ได้รวบรวมมาให้ใช้เวลาร่วมกับเด็กๆ ของเล่น DIY เหล่านี้ นอกจากจะช่วยประหยัดเงินในการซื้อของเล่นสำเร็จรูปแล้ว ยังช่วยทำให้พวกเขารู้จักการนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย

ลองชวนเด็กๆ มาใช้เวลาว่างของพวกเขาให้เกิดประโยชน์ผ่านการประดิษฐ์ของเล่นด้วยตัวเอง นอกจากจะช่วยให้ได้ใช้เวลากับผู้ปกครองแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของพวกเขาได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสมาธิ ความอดทน ความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ เมื่อการประดิษฐ์ของเล่นออกมาเสร็จสมบูรณ์ตามที่ต้องการได้แล้ว จะช่วยทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าสามารถทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเองอีกด้วย