fbpx

การเรียนภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่จำเป็นมาก เพราะนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ การเรียนรู้ด้วยแอปฝึกพูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กจึงช่วยให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

เช็กลิสต์! 11 แอปฝึกภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก อยู่ที่ไหนก็เรียนได้

สารบัญ
เช็กลิสต์! 11 แอปฝึกภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก อยู่ที่ไหนก็เรียนได้

เช็กลิสต์! 11 แอปฝึกภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก อยู่ที่ไหนก็เรียนได้

การเรียนภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่จำเป็นมากในยุคปัจจุบัน เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการสื่อสาร การศึกษา และการทำงาน และยังเป็นโอกาสเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ และเพิ่มความมั่นใจในตัวเองได้อีกด้วย 

แต่การเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้ง่ายเสมอไป บางครั้งอาจรู้สึกเบื่อหน่าย หรือไม่มีเวลาเข้าห้องเรียน ดังนั้น การใช้แอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็กจึงเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น และสนุกขึ้น โดยมีทั้งแอปฝึกพูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ ขอแนะนำ 11 แอปฝึกภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา

เลือกแอปฝึกภาษาอังกฤษอย่างไรให้เหมาะสม

เลือกแอปฝึกภาษาอังกฤษอย่างไรให้เหมาะสม

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีความสำคัญมากในการศึกษาและการทำงานในยุคปัจจุบัน การเรียนภาษาอังกฤษจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสนใจ และเริ่มต้นตั้งแต่เด็ก แต่นอกจากเรียนในห้องเรียนแล้วก็ยังสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการฝึกภาษาอังกฤษได้ด้วย นั่นคือ การใช้แอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก แอปฝึกภาษาอังกฤษมีให้เลือกหลากหลาย แต่ละแอปมีคุณสมบัติ วิธีการ และเนื้อหาที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการเลือกแอปที่เหมาะสมกับลูกของคุณจึงสำคัญ เพื่อช่วยให้การฝึกทักษะภาษาอังกฤษราบรื่นยิ่งขึ้น

เลือกให้เหมาะสมกับอายุ และระดับการเรียนรู้ของเด็ก

อย่างที่กล่าวไปว่าแอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็กมีหลายแบบ แต่ละแบบมีวิธีการและเนื้อหาที่ต่างกัน การเลือกแอปที่เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็กจึงสำคัญ เพื่อให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นในการเลือกแอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก คุณควรคำนึงถึงอายุและระดับความรู้ของเด็ก เพราะมีผลต่อการเรียนรู้ การจดจำ และการสนใจของเด็ก เช่น สำหรับเด็ก อายุ 3-6 ปี ควรเลือกแอปที่ใช้การเรียนรู้ผ่านการเล่น เช่น แอปฝึกพูดภาษาอังกฤษ และการออกเสียง ด้วยภาพ เสียง และเกมสนุกๆ จึงจะทำให้เด็กสามารถจดจำได้มากขึ้น

เลือกแอปที่มีหลากหลายฟังก์ชัน

แอปฝึกภาษาอังกฤษที่มีหลากหลายฟังก์ชันนั้นอาจสามารถตอบโจทย์เด็กได้มากกว่า เพราะเด็กแต่ละช่วงอายุนั้นจะมีความสนใจที่แตกต่างกันออกไป และสำหรับบางวัยคงไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นานๆ ฉะนั้นจึงควรเลือกแอปที่มีหลากหลายฟังก์ชัน ไม่ว่าจะเป็นแอปที่ใช้วิดีโอภาษาอังกฤษจากหนังดัง หรือรายการการ์ตูนต่างๆ เป็นสื่อการเรียนรู้ หรือแอปที่ให้ทั้ง 4 การเรียนรู้ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เป็นต้น

เลือกแอปที่มีความหลากหลายทางการเรียนรู้

แอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็กในปัจจุบันนั้นถูกออกแบบมาให้มีวิธีการเรียนรู้หลายแบบ เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจจากเด็กไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ เพลง บัตรคำศัพท์ เกมและอื่นๆ ผู้ปกครองจึงควรเลือกแอปที่เหมาะสมกับความสนใจและความต้องการของเด็ก ซึ่งหากเด็กชอบเรียนรู้ผ่านวิดีโอ ก็ควรเลือกแอปที่เน้นการให้ความรู้ผ่านหนัง เพลง หรือการ์ตูนก็จะสามารถทำให้เด็กเพลิดเพลินไปกับการเรียนได้

เลือกแอปที่น่าสนใจ และน่าสนุก

เด็กเป็นวัยที่จดจ่ออะไรไม่ได้นาน แต่หากแอปฝึกภาษาอังกฤษมีสีสัน ไอคอน แอนิเมชัน หรืออินเทอร์เฟซที่น่ารัก จะทำให้เด็กๆ อยู่กับสิ่งนั้นได้นานมากขึ้น แต่ผู้ปกครองต้องคอยตรวจสอบไม่ให้เนื้อหาซับซ้อนมากจนเกินไป หรือมีการเสียดสีทางสังคม และควรจัดเวลาเรียนประมาณ 30-45 นาทีต่อวัน จึงจะเป็นเวลาที่เหมาะสม หากเป็นไปได้ผู้ปกครองควรเรียนร่วมกับเด็กๆ ด้วย เพื่อสร้างความสนุกและความผูกพันระหว่างกัน

รวม 11 แอปฝึกภาษาอังกฤษ เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

รวม 11 แอปฝึกภาษาอังกฤษ เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

การเรียนภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป ด้วยแอปฝึกภาษาอังกฤษที่มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอปที่ใช้วิดีโอ เพลง เกม บทสนทนา หรือแบบทดสอบ เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพและสนุกสนาน ซึ่งแต่ละแอปมีจุดเด่นต่างกัน โดยผู้ปกครองสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมสำหรับเด็กๆ

1. Monkey Junior

อันดับแรกคือ Monkey Junior พัฒนาโดย Early Start CO.,LTD  ซึ่งเป็นแอปฝึกภาษาอังกฤษที่มีการพัฒนาจากเทคโนโลยี AI ชื่อ M-Speak เพื่อประเมินและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการออกเสียงของเด็กๆ ในระดับคำ ประโยค และเรื่อง และได้ใช้วิธีการศึกษาตามเกล็น โดแมน ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านภาพ นอกจากนี้แอปนี้ยังสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกด้วย 

ภายในแอปนั้นรองรับการเรียนถึง 3 ระดับด้วยกันคือ  Monkey ABC, Monkey Stories และ Monkey Speak ซึ่งเหมาะกับเด็กที่อยู่ในวัยกำลังพูด ฝึกฟัง รวมไปจนถึงการจดจำคำศัพท์เล็กๆ น้อยๆ และแม้ว่าแอปจะแนะนำไว้ว่าแอปนี้เหมาะกับเด็กที่อายุ 3 ขวบขึ้นไป แต่จริงๆ แล้วเด็กอายุตั้ง 0-10 ปี ก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน ถึงจะมีการซื้อเพิ่มเติมภายในแอป แต่แอปนี้ก็เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี

  • ดาวน์โหลด Monkey Junior: iOS | Android

2. LearnEnglish Kids

LearnEnglish Kids เป็นแอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก ที่เต็มไปด้วยวิดีโอที่มีเนื้อหาหลากหลาย เช่น นิทาน เพลง ไวยากรณ์ ฯลฯ แอปนี้ถูกออกแบบและพัฒนาโดย British Council ที่เป็นผู้นำด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของโลก ดังนั้นผู้ปกครองสามารถวางใจได้ว่าเด็กๆ จะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างมีคุณภาพอย่างแน่นอน 

และด้วยแอปนี้มีภาพน่ารัก คมชัด และสนุกสนาน ทำให้เด็กๆ เรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีความสุข ทำให้แอปนี้จึงเหมาะสำหรับเด็กอายุ 6–11 ปี ความพิเศษคือไม่มีภาษาไทยในวีดีโอแต่มีเป็นคำบรรยายภาษาอังกฤษแทน เพื่อช่วยให้เด็กๆ ฝึกอ่านและฟังพร้อมกัน นอกจากนี้แอปยังเปิดให้ดาวน์โหลดได้ฟรีอีกด้วย 

  • ดาวน์โหลด LearnEnglish Kids: iOS | Android

3. ChuChu TV Nursery Rhymes Pro

ChuChu TV Nursery Rhymes Pro แอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก ด้วยการ์ตูนสั้นๆ ที่มีเพลงประกอบ แอปนี้ทำให้เด็กๆ เรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่รู้สึกกดดัน เพราะถูกออกแบบและพัฒนาโดย ChuChu TV Studios LLP ที่เป็นผู้สร้างการ์ตูนสำหรับเด็กที่มีชื่อเสียง อีกข้อดีคือผู้ปกครองสามารถเลือกและจัดการเนื้อหาการเรียนรู้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยภายในแอปนั้นมีการ์ตูนหลายหัวข้อ เช่น สัตว์ ผลไม้ ครอบครัว และความสัมพันธ์ 

โดยแอปนี้เหมาะสำหรับเด็ก 0-5 ปี และไม่มีภาษาไทยในการ์ตูนแต่มีภาพน่ารักมาพร้อมพลงที่ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจความหมายได้ง่าย ซึ่งนอกจากจะสอนเรื่องภาษาอังกฤษแล้วก็ยังช่วยพัฒนาบุคลิกภาพให้เด็กอีกด้วย และที่สำคัญยังฟรีอีกด้วย  

  • ดาวน์โหลด ChuChu TV Nursery Rhymes Pro: iOS | Android

4. PalFish English

alFish English แอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็กที่ถูกพัฒนาโดย Palfish ที่เป็นผู้นำด้านการเรียนรู้แบบสองภาษา และส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้เด็กๆ แอปนี้มีหนังสือภาพหลายพันเล่มที่มาจากสำนักพิมพ์ชื่อดัง เช่น Cambridge, Oxford ฯลฯ ซึ่งภายในแอปยังเป็นสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ ด้วยหนังสือภาพ วิดีโอที่มีเนื้อหาหลากหลาย และเพลงภาษาอังกฤษที่มีแอนิเมชันน่ารักๆ ที่สามารถทำให้เด็กๆ ชอบและเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สนุกขึ้น และทำให้สามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีคุณภาพ 

ซึ่งแอปนี้เหมาะสำหรับเด็ก 2-12 ปี ที่แม้จะไม่มีภาษาไทยในหนังสือและวิดีโอ แต่มีภาพและเพลงที่ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจความหมายได้ นอกจากนี้แอปยังเปิดให้ได้ดาวน์โหลดฟรีอีกด้วย ฉะนั้นหากผู้ปกครองต้องการให้ลูกหลานเรียนภาษาอังกฤษด้วยหนังสือและวิดีโอที่น่าสนใจ แนะนำ PalFish English เลย 

  • ดาวน์โหลด PalFish English: iOS | Android

5. Pili Pop Learn English

Pili Pop Learn English แอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็กที่ถูกออกแบบโดย Unique Heritage Media ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้แบบสองภาษา แอปนี้มีบทเรียนหลายหัวข้อ เช่น สี ตัวเลข เครื่องใช้ อาหาร ฯลฯ ที่ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ทำให้แอปนี้เป็นแอปที่สอนภาษาอังกฤษให้เด็กด้วยกิจกรรม 40 รายการที่สนุกและมีประโยชน์  

โดยแอปนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป เพราะแอปนี้ยังมีเกมที่ท้าทายทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษของเด็กๆ ทำให้เรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างไม่รู้สึกเครียดและเบื่อหน่าย นอกจากนี้แอปนี้ยังได้รับรางวัล Parent’ Choice ที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือในการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ เพราะมีกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มการจำคำศัพท์ได้ดี ซึ่งแอปนี้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี  

  • ดาวน์โหลด Pili Pop Learn English: iOS | Android

6. English For Kids From PMG

English For Kids From PMG แอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก ด้วยบทเรียน 30 บทที่มีคำศัพท์พื้นฐาน 250 คำ ที่จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้วลีและการผสมคำได้ ซึ่งถูกออกแบบโดย OldCroc Studio ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ แอปนี้มีภาพน่ารัก และเรียบง่าย ทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างไม่ยากลำบาก 

โดยแอปนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ แอปนี้ยังมีเกมและสื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยให้เด็กๆ ทบทวนคำศัพท์ได้ตลอดเวลา โดยสามารถเรียนรู้บทเรียนก่อนหน้าได้ซ้ำๆ แบบไม่น่าเบื่อ แถมยังสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี! ฉะนั้นหากว่าลูกของคุณชอบเรียนรู้ผ่านภาพน่ารักหรือภาพที่มีสีสัน แนะนำ English For Kids From PMG เลย 

  • ดาวน์โหลด English For Kids From PMG: iOS | Android

7. ABC Kids

ABC Kids เป็นแอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก ด้วยการเรียนรู้ตัวอักษรและการออกเสียง แอปนี้ถูกคิดค้นโดย RV AppStudios ซึ่งจุดเด่นของแอปนี้คือ การที่ไม่มีภาษาไทยในเนื้อหา ทำให้เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่อยากให้เด็กเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างเต็มที่  

ซึ่งแอพฝึกพูดภาษาอังกฤษนี้เหมาะสำหรับเด็กวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน เพราะได้มีการรออกแบบที่สนุกสนานด้วยกิจกรรม 30 รายการที่มีคำศัพท์ 250 คำ ที่จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้รูปร่างและเสียงของตัวอักษร ทำให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่รู้สึกเบื่อ นอกจากนี้ผู้ปกครองก็ยังสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าของลูกได้ เป็นอีกแอปที่เปิดให้ได้ดาวน์โหลดฟรี 

  • ดาวน์โหลด ABC Kids: iOS | Android

8. Fun English

Fun English เป็นแอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็กที่ถูกออกแบบโดย Studycat Limited ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก ซึ่งภายในแอปสอนภาษาอังกฤษนี้มีหัวข้อการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น วัตถุ สัตว์ ผักผลไม้ และภาษาอังกฤษระดับสูง แอปนี้มีเกมที่สนุกและมีประโยชน์ เพราะเด็กๆ สามารถเลือกเรียนรู้ตามความชอบและตามความสนใจ  

ซึ่งแอปนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 3-8 ปี ที่ต้องการพัฒนาด้านการเรียนรู้คำศัพท์ การออกเสียง การพูด และการเขียน และภายในแอปยังมีสำนวนที่จะสอนให้เด็กๆ เรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติ โดยแอปนี้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งใน Android และ iOS  

  • ดาวน์โหลด Fun English: iOS | Android

9. Babilala

Babilala เป็นแอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็กที่ถูกออกแบบโดย EDUPIA CORP ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ได้ออกแบบมาด้วยเนื้อหาที่มีมาตรฐาน CEFR ของยุโรป และตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งได้แบ่งการเรียนรู้ทักษะออกเป็น 4 ด้าน ด้วยการเรียนรู้ผ่านตัวละครที่น่ารักและสนุกสนาน ที่จะสอนคำศัพท์และรูปแบบประโยคให้เด็กๆ ในแต่ละบทเรียน  

โดยแอปนี้เหมาะกับเด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไปสามารถดาน์โหลดได้ฟรี นอกจากนี้แอปนี้ยังมีเทคโนโลยี iSpeak ที่จะให้คะแนนและแก้ไขการออกเสียงของเด็กๆ ทำให้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น และอีกข้อดีคือ ผู้ปกครองที่ใช้แอป Babilala สามารถลงชื่อเข้าใช้ได้หลายอุปกรณ์ ทำให้สะดวกในการดูแลเด็กๆ จากระยะไกล  

  • ดาวน์โหลด Babilala: Android

10. Lingokids

Lingokids เป็นแอปฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็กผ่านการเล่น (Playlearning™) ที่มาจากบริษัท Lingokids – English Learning For Kids แอปนี้ออกแบบมาให้มีความน่ารักและมีความสนุกสนาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนสำหรับเด็กและส่วนสำหรับผู้ปกครอง ส่วนสำหรับเด็กจะมีเนื้อหาการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น เกม วิดีโอ เพลง และแบบฝึกหัด รวมกว่า 1,200 รายการ และส่วนสำคัญที่ผู้ปกครองจะมีรายงานการเรียนรู้ของเด็ก  

เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2-8 ปี แอปนี้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี แต่เด็กๆ จะสามารถเล่นเกมเพื่อเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้แค่ 3 เกมต่อวัน โดยไม่มีโฆษณา แต่ถ้าซื้อแพ็กเกจในแอป เด็กๆ จะสามารถเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ที่มากขึ้น และผู้ปกครองจะได้รับรายงานการเรียนรู้รายสัปดาห์อีกด้วย

  • ดาวน์โหลด Lingokids: iOS | Android

11. bekids Reading

bekids Reading เป็นแอพฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาจาก Oxford University Press ที่ให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการเล่น (Playlearning™) ซึ่งให้เด็กได้อ่านหนังสือเรื่องน่าสนใจที่เหมาะกับระดับการอ่านของเด็ก และเล่นเกมสนุกๆ ที่ช่วยเสริมคำศัพท์ การสะกดคำ และการออกเสียง แอปยังมีเพลงที่ติดหูและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของหนังสือ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้คำใหม่ๆ อย่างมีความสุข 

โดยเหมาะสำหรับเด็กอายุ 3-8 ปี ที่ต้องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการอ่านหนังสือ เพราะแอปออกมาให้ถึง 9 ระดับด้วยกัน ซึ่งเริ่มจากคำง่ายๆ ไปจนถึงคำซับซ้อน นอกจากนี้ยังช่วยเด็กฝึกทักษะการอ่าน การเข้าใจเนื้อหา และการทำแบบทดสอบหลังอ่านหนังสือ

  • ดาวน์โหลด Lingokids: iOS | Android
ทำไมการฝึกภาษาอังกฤษผ่านแอปจึงสำคัญ?

ทำไมการฝึกภาษาอังกฤษผ่านแอปจึงสำคัญ?

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการสื่อสาร การศึกษา และการทำงาน ทำให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์มาก ซึ่งควรใส่ใจตั้งแต่เด็กๆ อย่างไรก็ตามการเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียนอาจจะไม่เพียงพอ ฉะนั้นแอปฝึกภาษาอังกฤษจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะแอปฝึกภาษาอังกฤษนั้นทำสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถเลือกหัวข้อ ทั้งแอปฝึกพูด ฟัง หรืออ่านภาษาอังกฤษ หรือระดับที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้

สรุป

แอปฝึกภาษาอังกฤษเป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีประโยชน์มากสำหรับเด็กๆ แต่อย่างไรก็ตามในการเลือกแอปที่เหมาะสมกับเด็กนั้น ผู้ปกครองจำเป็นต้องศึกษา และทำความเข้าใจกับแอปนั้นก่อนเป็นอย่างแรกว่าเหมาะสำหรับลูกท่านหรือไม่ เพื่อให้การเรียนรู้นั้นเป็นไปได้ด้วยดี  

และหากผู้ปกครองต้องการจะฝึกทักษะภาษาอังกฤษให้กับลูกๆ เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการทางด้านภาษาอังกฤษที่ดี ไปพร้อมกับการเรียนรู้ที่เพลิดเพลิน ให้ Speak Up เป็นตัวช่วยของคุณ เพราะทาง Speak Up มีครูผู้มีประสบการณ์ และมีเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กเล็กตั้งแต่ 2.5-12 ปี จึงมั่นใจได้เลยว่าลูกๆ ของคุณจะได้เรียนรู้ทางด้านภาษาอย่างเต็มประสิทธิภาพแน่นอน

เด็กสมาธิสั้นเกิดจากอะไร วิธีแก้สมาธิสั้น พร้อมแนะนำกิจกรรมฝึกสมาธิ

เด็กสมาธิสั้นเกิดจากอะไร วิธีแก้สมาธิสั้น พร้อมแนะนำกิจกรรมฝึกสมาธิ

เด็กสมาธิสั้นอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติ ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจ หมั่นสังเกตอาการและพฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก โดยเฉพาะโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นโรคที่รู้จักกันดี และอาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก หากรู้เท่าทัน ก็ควรให้เด็กได้รับการรักษาทันที 

บทความนี้จะพาไปดูว่าโรคสมาธิสั้นคืออะไร อาการของเด็กสมาธิสั้นมีลักษณะอย่างไร สาเหตุมาจากอะไร และควรรักษาอย่างไร พร้อมแนะนำกิจกรรมฝึกสมาธิให้กับเด็กๆ เพื่อหลีกเลี่ยงโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น คืออะไร

ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือโรคสมาธิสั้น คือ ภาวะผิดปกติทางจิตเวช ที่เกิดจากความบกพร่องของระบบประสาทพัฒนาการบริเวณสมองส่วนหน้า ส่งผลให้มีสมาธิที่สั้นกว่าปกติ ช่วงอายุของเด็กที่พบได้ค่อนข้างบ่อย คือ ช่วงอายุระหว่าง 3–7 ปี และมักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงประมาณ 4 เท่า  

ลักษณะอาการที่เด่นๆ ของเด็ก คือ ไขว้เขวง่าย ขาดสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง โดยสาเหตุนั้นมาจากสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ การควบคุมตนเองและการจดจ่อ ซึ่งอาจเป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่

โรคสมาธิสั้น กับภาวะสมาธิสั้นเทียม

ภาวะสมาธิสั้นเทียม (Pseudo-Attention deficit / Hyperactivity disorder) (Pseudo-ADHD) มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับโรคสมาธิสั้น แต่แตกต่างกันตรงที่ภาวะสมาธิสั้นเทียมนั้นหายไปเองได้ แต่โรคสมาธิสั้นต้องรักษา โดยการทานยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาวะสมาธิสั้นเทียม มีสาเหตุมาจากการที่เด็กๆ เล่นโทรศัพท์มือถือ ไอแพด แท็บเล็ต หรือดูโทรทัศน์ เป็นระยะเวลานาน โดยขาดระเบียบวินัยการดูแลและการควบคุมของพ่อแม่ ส่งผลให้พฤติกรรมเด็ก มีความก้าวร้าว ไม่ฟังคำสั่ง อารมณ์ร้อน ขัดใจไม่ได้ ทักษะการสื่อสารที่ช้ากว่าเด็กปกติทั่วไป

เช็กด่วน! อาการเด็กสมาธิสั้นมีอะไรบ้าง

เช็กด่วน! อาการเด็กสมาธิสั้นมีอะไรบ้าง

แม้ว่าโรคสมาธิสั้น จะไม่มีอาการเจ็บปวด แต่มักแสดงออกได้ทางด้านพฤติกรรม พ่อแม่ควรรู้เท่าทันและรีบรักษา เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงในอนาคต เช่น เด็กควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ แล้วพังสิ่งของจนเสียหาย หรือคำพูดมีความรุนแรง หยาบคาย ไม่ฟังคำสั่ง ซึ่งอาการเด็กสมาธิสั้น สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็ก ดังนี้

1. มีภาวะสมาธิสั้น (Inattention)

  • ขาดสมาธิอย่างต่อเนื่อง (Inattention)
  • เปลี่ยนความสนใจไปหาสิ่งอื่นอย่างง่าย หรือว่อกแว่ก ไปตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ
  • มักหลงลืมสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แว่นตา กระเป๋าเงิน
  • หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้สมาธิจดจ่อในการทำต่อเนื่อง
  • ไม่สามารถจัดการตัวเองในเรื่องของการทำงาน เช่น การวางแผนลำดับการทำงาน การจัดการงานกิจกรรมต่างๆ
  • ไม่ฟังคำสั่ง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
  • ไม่มีสมาธิในการรับฟังคู่สนทนา
  • ไม่เอาใจใส่ สะเพร่า ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้นานๆ

2. ซุกซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity)

  • อารมณ์ฉุนเฉียว เอาแต่ใจ ก้าวร้าว
  • ไม่ชอบการรอคอย
  • ควบคุมตนเองไม่ค่อยได้
  • พูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่ 
  • พูดไม่หยุด ส่งเสียงดัง 
  • ไม่ชอบนั่งนานๆ ลุกออกจากที่
  • อยู่ไม่นิ่ง ตื่นตัวตลอดเวลา 
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ วู่วาม ขาดความระมัดระวัง

3. มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)

  • ควบคุมตัวเองในเรื่องของการแสดงอารมณ์ พฤติกรรม ไม่ได้ 
  • ขาดการยั้งคิด 
  • ไม่มีสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างต่อเนื่อง 
  • ไม่สามารถยับยั้งตัวเองจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
สาเหตุของอาการเด็กสมาธิสั้น

สาเหตุของอาการเด็กสมาธิสั้น

อาการเด็กสมาธิสั้น  มาจากความบกพร่องของสารเคมีในสมอง หรือมาจากพันธุกรรม โดยเด็กที่เกิดมาจากครอบครัวที่มีโรคสมาธิสั้น ทำให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นได้มากกว่าเด็กคนอื่นๆ หรือเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ในขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์ แม่ของเด็กมีการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือเด็กได้รับสารพิษบางอย่างหลังจากได้คลอดแล้ว เช่น ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด หรือมาจากผลการเลี้ยงดูของพ่อแม่ เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงดู ทำให้ เด็กติดมือถือ มากเกินไป ส่งผลให้ลูกสมาธิสั้นได้ง่ายๆ

ผลกระทบที่เกิดจากอาการสมาธิสั้นในเด็ก

อาการเด็กสมาธิสั้น มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งมักจะทำให้เด็กๆ นั้นเรียนได้ไม่เต็มศักยภาพ จนเกิดปัญหาในการเรียน ไม่ว่าจะเป็นการไม่เข้าใจเรื่องที่คุณครูสอน ทักษะการเขียน การอ่าน การพูดไม่ค่อยดี ไม่มีสมาธิในการตั้งใจหรือจดจ่อ

การรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็ก

การรักษาโรคสมาธิสั้นสำหรับเด็ก สามารถทำได้โดยการป้องกัน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ให้พ่อแม่สังเกตอาการของลูกๆ ถ้าหากมีอาการ ให้พาลูกไปพบแพทย์ เพื่อได้รับการรักษาทันที โดยแนวทางการรักษา ก็มีทั้งการปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ชีวิต รวมไปถึงการใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย ดังนี้

การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

สำหรับการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นในเด็ก  ให้เริ่มจากที่บ้านก่อน ดังนี้

  1. พ่อแม่ทำข้อตกลงและตารางเวลาให้ชัดเจน เพื่อให้เด็กรู้จักการวางแผน การแบ่งเวลา และการเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ
  2. พูดคุยกับเด็กให้ชัดเจน ด้วยถ้อยคำที่กระชับ เข้าใจง่าย และควรระมัดระวังในการใช้น้ำเสียงที่ดุดัน
  3. ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น เล่นกีฬา วาดรูป เพื่อให้เด็กไม่จดจ่ออยู่กับหน้าจอโทรศัพท์ 

ต่อไปให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่ออยู่โรงเรียนดังนี้

  1. จัดโต๊ะเรียนให้เด็กนั่งข้างหน้ากระดาน ไม่ติดประตูหรือหน้าต่าง เพื่อหลีกเลี่ยงความคิดการออกไปนอกห้องเรียน 
  2. ให้คุณครูดึงความสนใจในขณะที่เด็กไม่มีสมาธิ อย่างเช่น ให้ช่วยเหลือเพื่อนๆ ช่วยแจกสมุดหนังสือ ทั้งนี้คุณครูต้องพูดด้วยถ้อยคำสุภาพ ห้ามแสดงความไม่พอใจ 
  3. เมื่อเด็กทำงาน ทำการบ้านหรือสิ่งที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ ให้คุณครูกล่าวคำชมเชย เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายต่อไป

การรักษาด้วยการใช้ยา

สำหรับการรักษาด้วยการใช้ยา จะมีกลุ่มยาอยู่ 2 ประเภท ดังนี้

  1. กลุ่มยาที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง ซึ่งเป็นยาที่มีความปลอดภัย ที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารสื่อประสาท เมื่อเด็กได้รับการทานยากลุ่มนี้ จะช่วยให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น สามารถควบคุมตัวเองได้ 
  2. กลุ่มยาที่ไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง ใช้สำหรับเด็กที่ทนกับยาที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมองไม่ได้  หรือใช้เป็นยาเสริม
5 กิจกรรมฝึกสมาธิ หลีกเลี่ยงภาวะสมาธิสั้นในเด็ก

5 กิจกรรมฝึกสมาธิ หลีกเลี่ยงภาวะสมาธิสั้นในเด็ก

วิธีแก้สมาธิสั้น ด้วยการฝึกสมาธิจากการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถใช้เป็นอีกทางเลือกในการรักษาเด็กสมาธิสั้น ร่วมไปกับการใช้ยาในทางการแพทย์ได้ โดยสามารถเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ ดังนี้

1. กิจกรรมกลางแจ้ง ออกกำลังกาย

การทำกิจกรรมการแจ้ง เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปลูกต้นไม้ หรือออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก หรือออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ซึ่งการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตระบบเผาผลาญ เสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรงมากขึ้น ส่งผลให้เด็กสมาธิสั้น มีความสามารถในการควบคุมสมาธิ ให้ความสนใจกับกิจกรรมที่ทำมากขึ้น

2. ฝึกทักษะด้านภาษา การอ่าน การเขียน

เด็กสมาธิสั้น มักจะมีปัญหาในเรื่องของการอ่าน การเขียน และการพูด รวมถึงด้านภาษา ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสนใจ  โดยการฝึกทักษะด้านภาษา การอ่าน การเขียน เพื่อฝึกสมาธิ อย่างเช่น ในเรื่องของการอ่าน อาจจะเริ่มต้นจากการนำหนังสือที่เด็กชอบมาให้เด็กอ่าน ไม่ว่าจะเป็นนิทาน สารคดี ประวัติศาสตร์ จากนั้นพูดคุยถึงสิ่งที่อ่าน ให้เน้นเป็นการเล่าเรื่องให้ฟัง ส่วนการฝึกเขียนให้เด็กนั้นได้ฝึกเขียนบ่อยๆ เพื่อที่จะทำให้สายตาและมือ สามารถทำงานประสานกันได้ดี เช่น เขียนบรรยาย เรื่องเล่าในชีวิตประจำวัน สำหรับการฝึกทักษะด้านภาษา อาจจะเริ่มจากการอ่านให้เด็กฟัง แล้วให้พูดตาม

3. ทำกิจกรรมฝึกเข้าร่วมสังคม

เด็กสมาธิสั้นส่วนมาก มักจะมีปัญหาในเรื่องของการไม่มีเพื่อน ซึ่งการทำกิจกรรมฝึกเข้าร่วมสังคม จะช่วยให้เด็กควบคุมตัวเองได้เวลาอยู่กับคนเยอะๆ หรือเวลาเจอปัญหา ก็สามารถใจเย็นและหาทางแก้ปัญหาได้ เช่น ฝึกให้รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการให้อภัย การขอโทษ การแสดงน้ำใจ การเคารพผู้อื่น รวมไปถึงการเข้าใจถึงความรู้ของคนรอบข้าง

4. ทำกิจกรรมฝึกสมาธิ

การทำกิจกรรมฝึกสมาธิ จะช่วยให้เด็กมีความตั้งใจและมีสมาธิมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น การเล่นเกมเสริมทักษะ ได้แก่ เกมทายตัวเลข ทายภาพ ทายตัวอักษร หรือเกมกระดาน เช่น โดมิโน ซึ่งการฝึกสมาธิด้วยการเล่นเกมฝึกทักษะ สามารถช่วยส่งเสริมทักษะด้านสมาธิได้ อีกทั้งยังทำให้เด็กมีความสนใจกับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ โดยให้พ่อแม่เล่นร่วมกับเด็กไปด้วย

5. ฝึกทักษะความสามารถด้านศิลปะและดนตรี

การฝึกทักษะความสามารถด้านศิลปะและดนตรี ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านสมาธิได้เป็นอย่างดี เพราะทั้งด้านศิลปะและดนตรี เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความตั้งใจสูง อย่างเช่น การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ การทำภาพติดปะ การเป่าสีลงบนกระดาษ การร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรีต่างๆ ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่สนุก ไม่น่าเบื่อ สร้างสรรค์ สามารถดึงความสนใจให้เด็กจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ได้

สรุป

โรคสมาธิสั้น คือ ภาวะผิดปกติทางจิตเวช ที่เกิดจากความบกพร่องของระบบประสาทพัฒนาการบริเวณสมองส่วนหน้า โดยสาเหตุนั้นมาจากสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ การควบคุมตนเองและการจดจ่อ หรือเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ในขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์ แม่ของเด็กมีการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือมาจากผลการเลี้ยงดูของพ่อแม่ เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงดู ทำให้ เด็กติดมือถือ มากเกินไป ส่งผลให้ลูกสมาธิสั้นได้ง่ายๆ ส่งผลให้พฤติกรรมของเด็ก มีความก้าวร้าว ไม่ฟังคำสั่ง อารมณ์ร้อน ขัดใจไม่ได้ ทักษะการสื่อสารที่ช้ากว่าเด็กปกติทั่วไป  

อย่างไรก็ตาม เด็กสมาธิสั้นสามารถทำกิจกรรมที่ฝึกสมาธิ ไม่จดจ่ออยู่กับหน้าจอ เช่น ออกกำลังกาย ฝึกภาษา เล่นเกมเสริมทักษะ ฝึกเข้าร่วมสังคม และฝึกทักษะความสามารถด้านศิลปะและดนตรี สำหรับใครที่กำลังมองหากิจกรรม เพื่อเสริมสร้างการมีสมาธิให้กับเด็กๆ ที่ SpeakUp Language Center เป็นสถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กเล็กที่มีอายุ 2.5 ถึง 12 ปี ทางสถาบันมีครูมืออาชีพ มากประสบการณ์ และมีเทคนิคการสอนภาษาที่หลากหลาย ประยุกต์มาสอนให้แตกต่างกันไปตามช่วงวัย ทำให้สามารถพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กได้ดี เด็กสามารถนำไปใช้สื่อสารได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งผู้ปกครองยังสามารถหากิจกรรม เคลื่อนไหว ฝึกสมาธิ ฝึกกล้ามเนื้อ ฝึกเข้าสังคม และเข้าร่วมกิจกรรมฝึกสมาธิได้กับทางสถาบัน