fbpx

Storytelling คือ เทคนิคการเล่าเรื่องราว ที่น้องๆ นักเรียนหลายคนต้องใช้ในการเล่าเรื่อง หรือนำเสนอหน้าชั้นเรียน บทความนี้จะพาไปดูเทคนิค ประเภท และตัวอย่าง Storytelling

เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling คืออะไร ฝึกยังไงให้เล่าอย่างสร้างสรรค์

เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling คืออะไร ฝึกยังไงให้เล่าอย่างสร้างสรรค์

เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling คืออะไร ฝึกยังไงให้เล่าอย่างสร้างสรรค์

การเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นหนึ่งในวิธีการส่งต่อ หรือถ่ายทอดองค์ความรู้ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และจินตนาการต่างๆ ที่สร้างกระบวนการพัฒนาให้แก่มวลมนุษยชาติมาตลอดระยะเวลาหลายศตวรรษ รวมถึงสื่อบันเทิงประเภทนวนิยาย นิทาน หนังสือ ภาพยนตร์ และบทเพลงที่ล้วนแต่ใช้เทคนิคในการเล่าเรื่อง หรือ storytelling เป็นพื้นฐานทั้งสิ้น


บทความนี้ Speak Up Language Center จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับ Storytelling ประเภท เทคนิคการเล่าเรื่องราว และตัวอย่าง Storytelling ที่น้องๆ นักเรียนหลายคนต้องได้ใช้เพื่อการนำเสนอ หรือเพื่อส่งต่อเรื่องราวต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยผู้ปกครองสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนอย่างเป็นประจำ เพื่อการเป็นนักเล่าเรื่องที่ดีในอนาคตได้

ทำความรู้จัก Storytelling คืออะไร

ทำความรู้จัก Storytelling คืออะไร

Storytelling คือ การเล่าเรื่องราวที่มีคุณค่า มีความหมาย หรือมีนัยยะสำคัญ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ หรือสิ่งต่างๆ ที่ต้องการสื่อสารผ่านเรื่องเล่าด้วยวิธีการพูด และการเขียนเป็นหลัก โดยเน้นให้ผู้ฟัง หรือผู้รับสารได้มีส่วนร่วมในเรื่องราวที่นำเสนอ ได้รับประสบการณ์ร่วม มีอารมณ์ร่วม หรือความรู้สึกที่เชื่อมโยงกัน รวมถึงเข้าใจในเนื้อหาของสิ่งที่ผู้สื่อสาร หรือนักเล่าเรื่องราวต้องการสื่อสารออกมา

นอกจากนี้ การเล่าเรื่อง Storytelling ยังมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้คนจดจำ ทำให้เกิดความบันเทิง หรือสนุกสนาน สร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต หรือใช้เพื่อดึงดูดความสนใจในมิติต่างๆ ตลอดจนใช้เพื่อการเรียนการสอนให้แก่คนในสังคม โดยเฉพาะเรื่องวิถีชีวิต ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา

หลักการเล่าเรื่อง Storytelling

หลักการเล่าเรื่อง Storytelling

หลักการเล่าเรื่อง Storytelling เป็นสิ่งที่ต้องใช้ทั้งทักษะการผูกเรื่องราว การเล่าเรื่องให้น่าติดตาม และมีความน่าสนใจ เพื่อให้ผู้ชม หรือผู้ฟังเกิดความอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้ การเล่าเรื่องที่ดียังต้องมีความขัดแย้ง หรือมีจุดพลิกผันของเรื่องราวที่ผสมผสานเข้ากันอย่างลงตัว เพื่อให้เกิดประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้สื่อสาร และผู้รับสารไปพร้อมๆ กันตลอดเส้นทางของเรื่องเล่าจนกระทั่งถึงตอนจบ

ตัวอย่าง Storytelling เช่น นิทานเรื่องลูกเป็ดขี้เหร่ ที่เป็นการเล่าเรื่องราวเส้นทางชีวิตของเจ้าลูกเป็ดขี้เหร่ ซึ่งมีความขัดแย้งของเนื้อเรื่อง ผสมผสานกับจังหวะการเล่าที่น่าติดตาม เพื่อเอาใจช่วยลูกเป็ดขี้เหร่ ตั้งแต่การที่ลูกเป็ดขี้เหร่เกิดมาไม่เหมือนกับเป็ดตัวอื่นๆ มีลักษณะที่แตกต่าง โดนรังแก หรือต้องหนีเอาชีวิตรอดจนเติบโต กระทั่งสุดท้ายได้ไปเจอกับฝูงหงส์แสนสวย ได้รู้ว่าแท้จริงแล้วตัวเองคือหงส์ที่สวยงาม และได้อยู่ในที่ที่เหมาะกับตัวเองอย่างแท้จริง พร้อมให้แง่คิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การอดทน เรียนรู้ พัฒนาตนเอง และต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ แม้เลือกเกิดไม่ได้ แต่ก็เลือกที่จะเป็นในสิ่งที่ดีได้

Storytelling มีลักษณะอย่างไร

Storytelling มีลักษณะอย่างไร

Storytelling ที่ดีต้องเป็นเรื่องราวที่มีคุณค่า และความหมาย สามารถดึงความสนใจ หรือเชื่อมโยงให้ผู้ฟัง

 หรือผู้รับสารรู้สึกตามได้ โดยลักษณะของการเล่าเรื่อง Storytelling มีดังนี้

  • เป็นเรื่องราวที่มีความสำคัญ และต้องมีการทำความเข้าใจ รวมถึงมีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
  • เป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้เรื่องราว และการเล่าเรื่องให้เชื่อมโยงกับผู้คน ผู้ฟัง เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การเรียน การสอน หรือการพัฒนาชีวิต 
  • เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความคิด หรือค่านิยมของผู้รับสาร เช่น ความเข้าอกเข้าใจ ความสามัคคี ความสร้างสรรค์ ความอดทน หรือความรักความเมตตา
  • เป็นเรื่องราวที่มีการเรียบเรียงข้อมูล ชุดคำถาม หรือจุดประสงค์ในการเล่าเรื่องอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การเล่าเรื่องราวต่างๆ มีประสิทธิภาพมากที่สุด
Storytelling มีกี่ประเภท

Storytelling มีกี่ประเภท

การเล่าเรื่องแบบ Storytelling แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

การเล่าเรื่องราวสิ่งที่เป็นนามธรรมให้จับต้องได้

Storytelling ประเภทแรก คือ การเล่าเรื่องราวสิ่งที่เป็นนามธรรมให้จับต้องได้ หรือการเปลี่ยนเรื่องราวที่ยาก และซับซ้อนให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะบ่อยครั้งที่ข้อมูลบางอย่าง ไอเดีย หรือแนวคิดต่างๆ มากมาย อาจทำให้คนเราเกิดความสับสน หรือเข้าใจผิด การเล่าเรื่องแบบ Storytelling จึงเข้ามามีบทบาทในการทำเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ผู้คนเข้าใจแนวคิด หรือทฤษฎีต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้ หรือเป็นการนำเรื่องราวที่ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้มาผสมผสานกัน จนเกิดเป็นไอเดียที่ชัดเจนมากขึ้น ทำให้ผู้รับสารรู้สึกตามได้ว่าสิ่งนามธรรมที่ถ่ายทอดออกมา บางครั้งก็อาจนำไปใช้ในชีวิตจริงได้เช่นกัน

การเล่าเรื่องราวเพื่อเชื่อมโยงผู้คนให้เข้าหากัน

Storytelling ประเภทที่สอง คือ การเล่าเรื่องราวเพื่อเชื่อมโยงผู้คนให้เข้าหากัน เพราะการเล่าเรื่องราวเป็นภาพใหญ่ หรือการสื่อสารแบบเล่าเรื่อง สามารถใช้แทนการเขียน หรือตัวหนังสือได้ดีกว่า ทำให้ผู้รับสาร หรือผู้ฟังได้รับข้อมูลที่ให้ความรู้สึกต่างออกไปจากการอ่าน เนื่องจากมนุษย์เราทุกคนมีอารมณ์ ความรู้สึกที่สามารถแบ่งปัน หรือส่งต่อผ่านเรื่องราวต่างๆ ได้ ทำให้เรื่องราวที่เกี่ยวกับความรัก ครอบครัว หรือการสูญเสีย สามารถเชื่อมโยงความรู้สึกของมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์

เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling ให้สร้างสรรค์

เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling ให้สร้างสรรค์

การเล่าเรื่อง Storytelling ต้องมีความเข้าใจ และผสมผสานเทคนิคต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะ Storytelling เป็นทักษะที่ฝึกฝนได้ โดยผู้ปกครองสามารถชวนน้องๆ หนูๆ มาฝึกเทคนิคการเป็นนักเล่า เพื่อให้สามารถเล่าเรื่องแบบ Storytelling ได้อย่างสร้างสรรค์ และมีความน่าสนใจมากขึ้น ดังนี้

การดึงความสนใจจากผู้ชม หรือผู้ฟัง

การเล่าเรื่อง Storytelling ต้องมีการเรียบเรียงข้อมูล หรือรายละเอียดของเรื่องราวอย่างเป็นระบบ และต้องเป็นเรื่องราวที่มีคุณค่า มีความหมาย และมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน เช่น ต้องการเล่าเรื่องเพื่อความบันเทิง เพื่อให้ได้ข้อคิดบางอย่าง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ หรือเพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึกร่วม โดยมีเทคนิค คือ การดึงความสนใจผู้ชม หรือผู้ฟังด้วยความขัดแย้ง (conflict) ของเรื่อง หรือเหตุการณ์ระหว่างทางของเรื่อง ตลอดจนการเปรียบเปรยเพื่อให้คนคิด หรือรู้สึกตามได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงความสนใจของผู้รับสารให้ติดตามเรื่องราวตั้งแต่ต้นไปจนจบได้ดีมากยิ่งขึ้น

หาจุดร่วมระหว่างเรื่องที่อยากเล่า กับสิ่งที่คนอยากฟัง

เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling ที่สำคัญ คือ การหาจุดร่วมระหว่างเรื่องที่อยากเล่า กับสิ่งที่คนอย่างฟัง คือ เทคนิคต่อเนื่องจากการดึงดูดความสนใจ เรื่องราวที่คนส่วนใหญ่อยากฟัง มักเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ฟัง หรืออย่างน้อยก็มีความเชื่อมโยงทางความคิด ความชอบ ความสนใจ หรือความรู้สึกบางอย่างของผู้ฟัง ดังนั้น ในฐานะของการเป็นนักเล่าเรื่อง ต้องทำความเข้าใจคนฟังก่อนว่าเขาเป็นใคร เขาชอบฟังเรื่องราวแบบไหน อาจเริ่มจากการมองภาพรวมก่อนว่าเรื่องที่ต้องการเล่ามีความเชื่อมโยงอย่างไรกับผู้ฟัง สามารถแก้ไขปัญหา สร้างประโยชน์ หรือสร้างความหมายให้ผู้ฟังอย่างไรได้บ้าง

ตัวอย่าง Storytelling

การเล่าเรื่องปัญหาโลกร้อน ถ้าเล่าปัญหาทั่วไป ใครๆ ก็ทราบดีอยู่แล้ว และไม่ได้มีความน่าสนใจมากนัก เพราะอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่หากเล่าเรื่องโดยดึงเอาปัญหาให้เข้ามาให้ใกล้ตัวคนฟัง ก็อาจทำให้เรื่องราวมีความน่าสนใจ และสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้เล่า กับผู้ฟังได้มากขึ้น เช่น 

“โลกร้อนเกิดจากอาหารน้องหมา น้องแมว เพราะอาหารสัตว์เลี้ยงมีกระบวนการที่ทำให้สูญเสียทรัพยากรเยอะ และเกิดมลพิษจากโรงงานจำนวนมาก อีกทั้งอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเดิมๆ ยังก่อให้เกิดอาการแพ้ในน้องหมา น้องแมวได้บ่อยครั้ง จะดีกว่าไหมถ้าเปลี่ยนมาใช้อาหารสัตว์เลี้ยงที่มาจากแมลง หรือโปรตีนทางเลือก เพราะใช้ทรัพยากรน้อยกว่า มีเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับโลกมากกว่า และยังช่วยให้น้องหมา น้องแมวมีสุขภาพดี”

จากตัวอย่าง เรื่องที่อยากเล่า คือ การยกปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเดิมๆ โดยแสดงให้เห็นความสำคัญของปัญหา และสิ่งที่กระทบโดยตรงกับน้องหมา น้องแมวของผู้คน เพราะคนกลุ่มนี้มักประสบปัญหาสัตว์เลี้ยงแพ้อาหาร หรือสุขภาพไม่ดีจากอาหารบ่อยครั้ง ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม เพราะปัญหาโลกร้อนส่งผลกระทบกับสัตว์เลี้ยงของคนโดยตรง เป็นการดึงเอาปัญหาเข้ามาใกล้ตัวผู้ฟังมากขึ้น ทำให้คนเล่าได้เล่าในสิ่งที่อยากเล่า และคนฟังก็ได้ฟังในสิ่งที่อยากฟัง

เข้าใจคาแรกเตอร์ และความเป็นตัวเอง

การเข้าใจคาแรกเตอร์ หรือความเป็นตัวเอง คือ การเข้าใจว่าตัวของผู้เล่าเองเป็นคนแบบไหน มีลักษณะท่าทางการพูด การแสดงออกทางสีหน้า แววตา หรือภาษากายอย่างไร มีอารมณ์ประมาณไหน รวมถึงมุมมองของคนภายนอกที่มองเราว่าเป็นอย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ผู้เล่าสามารถนำมาปรับใช้กับการเล่าเรื่องของตัวเองได้ เช่น หากเป็นคนที่มีอารมณ์ขัน ก็อาจเหมาะกับการเล่าเรื่องที่มีความบันเทิง ให้แง่คิด และสนุกสนาน หรือถ้าเป็นคนเคร่งขรึม อาจลองเล่าเรื่องที่มีความจริงจัง เล่นกับอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้ฟัง เป็นต้น

รู้ทันกระแสสังคม และนำเทคโนโลยีมาปรับใช้

ปัจจุบันข้อมูล องค์ความรู้ต่างๆ สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะเรามีอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ง่ายต่อการเข้าถึงกระแสความนิยมในเรื่องต่างๆ ที่มีมากมายในแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันออนไลน์ การติดตามข่าวสาร และการนำเอาข้อมูลข่าวงสารเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการเล่าเรื่องราว ก็จะช่วยให้การเล่าเรื่อง Storytelling มีความสดใหม่ เท่าทันเหตุการณ์ และทำให้ผู้ฟังรู้สึกมีอารมณ์ร่วมมากขึ้น


โดยมีเทคนิค คือ การเลือกประเภทของเรื่องราวที่มีคุณภาพ เลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสม และการนำเสนอที่มีความน่าสนใจ เช่น การเล่าเรื่องนิทรรศการภาพ แสง สี ของแวนโก๊ะที่จัดขึ้นในประเทศไทย เป็นช่วงที่คนฮิตไปกัน อาจไปทำคอนเทนต์เล่าเรื่อง ความสำคัญ การเดินทางไปเยี่ยมชม หรือสิ่งที่ได้หลังจากการไปออกมาเป็นวิดีโอ ตัดต่อการพากษ์เสียงเล่าเรื่องให้น่าสนใจ เพียงเท่านี้ก็เป็นการฝึกการเล่าเรื่อง Storytelling แบบยุค 4.0 ได้อย่างไม่ตกเทรนด์

เปิดรับความสร้างสรรค์ให้เต็มที่

หลักการเล่าเรื่อง Storytelling ที่ต้องไม่ลืมเด็ดขาด คือ ความคิดสร้างสรรค์ การเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ไม่ปิดกั้นความคิด และจินตนาการ โดยความสร้างสรรค์อาจเป็นเรื่องราวความเชื่อ ความชอบส่วนตัว กิจกรรมในวัยเด็กในความทรงจำ สิ่งของสะสม เรื่องราวแปลกๆ หรือการทำอะไรที่ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะได้ทำ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การเล่าเรื่อง Storytelling มีเอกลักษณ์ มีความน่าสนใจ และแตกต่างจากคนอื่นๆ มากยิ่งขึ้น

ฝึกการเล่าเรื่องจากตัวอย่าง Storytelling

เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling ที่ง่ายที่สุด คือ การฝึกเล่าเรื่องจากตัวอย่าง Storytelling นิทาน หรือเรื่องสั้นต่างๆ เพราะเรื่องราวเหล่านี้มักสร้างมาเพื่อจุดประสงค์สำคัญ มีความเรียบง่าย มีคุณค่า และความหมายแฝงบางอย่าง อีกทั้งยังช่วยสร้างอารมณ์ และความรู้สึกร่วมให้กับผู้ฟังได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการแทรกแนวคิด ความขัดแย้งของเนื้อเรื่อง หรือการเปรียบเทียบต่างๆ ที่จับต้องไม่ได้ให้สามารถจับต้องได้มากขึ้น การฝึกเล่าเรื่องจากตัวอย่างจึงเหมาะมากในการฝึกทักษะ Storytelling

ภาษากายคือสิ่งสำคัญ

เมื่อฝึกเทคนิค Storytelling ที่กล่าวไปครบถ้วนแล้ว สิ่งสุดท้ายที่สำคัญ คือ ภาษากาย เช่น การยืน การเดิน การนั่ง ตำแหน่งของมือ และสายตาที่แสดงถึงเจตนาของผู้พูด เพราะโดยทั่วไปแล้วมีสถิติว่า 55 เปอร์เซ็นต์ของคนส่วนใหญ่ มีการตัดสินผ่านทางภาษากาย 38 เปอร์เซ็นต์ ตัดสินจากน้ำเสียง และอีก 7 เปอร์เซ็นต์ ตัดสินจากคำพูด ดังนั้น การฝึกจัดระเบียบร่างกายของตัวเองเป็นประจำขณะเล่าเรื่อง เช่น การไม่ยืนหลังค่อม ไม่เอามือกอดอก หรือหลบตาผู้ฟังขณะพูด ก็จะช่วยให้การเล่าเรื่องมีความน่าสนใจ และดึงดูดผู้ฟังได้มากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการเล่าเรื่อง Storytelling

ประโยชน์ของการเล่าเรื่อง Storytelling

การเล่าเรื่อง Storytelling เป็นทักษะที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะช่วยให้การนำเสนอเรื่องราวมีประสิทธิภาพ มีคุณค่า มีความหมาย และช่วยจัดระเบียบความคิดขณะพูด อีกทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ อีกมากมาย ดังนี้

  • ช่วยให้เกิดการเรียบเรียง หรือเชื่อมโยงเรื่องราวในอดีต จนถึงปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการคิดเป็นภาพรวม
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้พูด และผู้ฟัง เพราะการเล่าเรื่องราวอะไรบางอย่าง สามารถเชื่อมโยงอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของผู้คนผ่านการฟังอย่างกระตือรือร้นได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าใจกันและกันมากขึ้น

การเล่าเรื่อง Storytelling ช่วยให้ตัวเรา และคนรอบข้างเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเล่าเรื่องมีหลากหลายแง่มุม ทำให้เกิดการมองโลกที่กว้างขึ้น

สรุป

การเล่าเรื่อง (Storytelling) คือ การนำเสนอเรื่องราวผ่านการเล่าเรื่องที่มีคุณค่า มีความหมาย และมีความเชื่อมโยงกับอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของผู้ฟัง โดย Storytelling มักมีจุดประสงค์ที่แตกต่าง เช่น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อการเรียนการสอน เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดี สร้างแรงบันดาลใจ หรือความสามัคคี พื้นฐานการเล่าเรื่องแบบ Story telling ช่วยให้เด็กๆ ได้ฝึกทักษะการเล่าเรื่องอย่างสร้างสรรค์ เกิดความคิดที่เป็นระบบ และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจได้ ซึ่งการฝึกเล่าเรื่องที่ง่ายที่สุด คือ การฝึกเล่าเรื่องจากนิทานภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย แต่หากได้ฝึกเล่าเรื่องจากตัวอย่าง Storytelling ภาษาอังกฤษ ด้วยก็จะช่วยเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษของเด็กๆ ไปในตัวได้


หากสนใจเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเล่าเรื่องให้กับเด็กๆ ทาง Speak Up Language Center ของเราช่วยได้ เพราะเราคือสถาบันการเรียนภาษาที่จะช่วยฝึกฝนพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กๆ ให้เป็นไปอย่างราบรื่น มีความสนุกสนาน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการประยุกต์ใช้การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) โดยครูผู้สอนมืออาชีพที่มีประสบการณ์ และเทคนิคเฉพาะในการสอนภาษาสำหรับเด็กเล็ก