fbpx

ปัญหาลูกติดมือถือ อย่าแก้เมื่อสาย ก่อนลูกกลายเป็นเด็กโมโหร้าย

ลูกติดมือถือ

ปัญหาลูกติดมือถือ อย่าแก้เมื่อสาย ก่อนลูกกลายเป็นเด็กโมโหร้าย

ปัจจุบันเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ามือถือนั้นแทบจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไปซะแล้ว ไม่ว่าจะเวลาไหนก็มักจะหยิบจับขึ้นมาเล่นเสมอ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กหลายคนที่มัก ใช้เวลาไปกับการเล่นมือถือตลอดทั้งวันโดยที่ไม่ทำกิจกรรมอื่นๆ เลยก็มี ซึ่งพฤติกรรมลูกติดมือถือเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อร่างการและพัฒนาการ อีกทั้งจากสถิติพบว่าปัจจุบันมีเด็กเล็กใช้มือถือนานถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งปกติแล้วไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

วันนี้ทาง SpeakUp จะพาไปดูว่าหากลูกของเราติดมือถือ จะส่งผลเสียอย่างไรต่อตัวเด็ก และพ่อแม่จะมีวิธีสังเกตุอย่างไรว่าลูกติดมือถือ พร้อมแนะนำกิจกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาลูกติดมือถือ จะมีอะไรบ้างไปอ่านกันได้เลย

สาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือ

สาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือ สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เพื่อรับมือ

มีหลากหลายพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุให้ลูกติดมือถือ โดยเฉพาะปัจจัยที่มาจากตัวเด็กเอง หรือการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการติดมือถือจากพ่อแม่โดยไม่รู้ตัว เราจะมาลองดูกันว่า สาเหตุที่ทำให้เด็กติดมือถือเกิดจากอะไรบ้าง

ความห่างเหินและสังคมก้มหน้า

การที่ต่างคนต่างอยู่ ดูแต่หน้าจอ พ่อแม่อยู่มุมนึง ลูกอยู่มุมนึง และก้มหน้าก้มตาใช้แต่มือถือของตัวเอง ส่งผลให้เกิดความห่างเหินและการขาดปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัว ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือได้เช่นกัน

การปล่อยให้ลูกเล่นมือถือตั้งแต่เด็ก

บางครั้งหลายครอบครัวที่พ่อแม่จำเป็นต้องออกไปทำงาน และได้ซื้อมือถือให้ลูกใช้ตั้งแต่เด็กโดยก็อาจกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกติดมือถือได้ ยิ่งไม่มีการควบคุมการใช้งานก็จะยิ่งส่งผลทำให้ลูกติดมือถือมากยิ่งขึ้น สำหรับช่วงอายุที่ไม่ควรให้ลูกใช้มือถือคือช่วงอายุต่ำกว่า 2 ขวบ แต่ทางที่ดีไม่ว่าช่วงอายุไหนก็ควรมีจัดการเวลาการใช้มือถือให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ลูกจะติดมือถือตั้งแต่เด็กนั่นเอง

ใช้เวลาว่างไปกับการเล่นโทรศัพท์มือถือ

ในช่วงเวลาวัยเด็ก จะเป็นช่วงที่มีเวลาว่างในการทำสิ่งต่างๆ อย่างมาก แต่บางครั้งการใช้เวลาว่างทั้งหมดไปกับการเล่นมือถือก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกติดมือถือได้ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรจัดสรรกิจกรรมเวลาว่างไว้สำหรับลูกๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้มือมือจนมากเกินไป

พ่อแม่ขาดความใส่ใจ ตัดรำคาญลูกโดยการโยนมือถือให้เล่น

การที่ลูกติดมือถือ หากจะโทษที่ตัวเด็กอย่างเดียวก็คงจะไม่ถูกต้องมากนัก เพราะอาจต้องย้อนกลับไปดูถึงพฤติกรรมและวิธีเลี้ยงลูกของพ่อแม่ก่อนด้วยว่าให้ความใส่ใจ และความอบอุ่นแก่ลูกมาพอหรือยัง ไม่ใช่ว่าทำงานกลับมาเหนื่อยๆ หรือยุ่งๆ แล้วตัดปัญหาโดยการโยนมือถือให้ลูกเล่น เพื่อที่ตัวเองจะได้ไปทำอย่างอื่น แบบนี้เสี่ยงที่ลูกของคุณจะติดมือถืออย่างแน่นอน

ลูกติดเกม

เมื่อลูกติดมือถือ บ่อยครั้งมักพบว่ามีต้นเหตุมาจากการที่ลูกใจจดใจจ่อกับการเล่นเกมมากจนเกินไป จนบางทีก็ไม่ได้สนใจคนรอบข้างหรือสิ่งรอบข้าง หากมีใครหรืออะไรมาทำให้หลุดสมาธิจากการเล่นเกม ก็มีสิทธิ์ที่จะหงุดหงิดได้ บ่อยเข้าอาจทำให้อารมณ์ร้อนจนเป็นนิสัย โวยวายง่ายเมื่อไม่ได้ดั่งใจ โดยเฉพาะเวลาไม่ได้เล่นเกม

ลูกเสพติดการเล่นโซเชียลมีเดีย

นอกจากเกมแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้พอนึกถึงมือถือเลยก็คือโซเชียลมีเดีย สมัยนี้การเข้าถึงโซเชียลมีเดียนั้นง่ายมากๆ กระทั่งเด็กที่อายุไม่เยอะก็สามารถเล่นเป็นแล้ว บางคนอาจเห็นพ่อแม่เล่น แล้วเล่นตาม พอพ่อแม่ปล่อยปละละเลย เลยทำให้ลูกเสพติดการเล่นโซเชียลมีเดียโดยไม่รู้ตัว สื่อต่างๆ ในโซเชียลมีเดียมักจะมาในรูปแบบสั้นกระชับ เพื่อตอบโจทย์คนสมัยนี้ที่ชอบความรวดเร็ว แต่นี่คือดาบสองคมที่ทำร้ายลูกได้เลย เพราะมันจะทำให้ลูกสมาธิสั้น ส่งผลต่อพัฒนาการที่ควรเป็นไปตามวัย

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อลูกติดมือถือ

การใช้มือถือ หากใช้ให้ถูกวิธีและไม่มากจนเกินไปนั้นจะเกิดผลดีต่อตัวเด็กมาก แต่หากปล่อยให้ลูกของเราใช้มือถือมากเกินไปจนทำให้ลูกติดมือถือ จะเกิดผลเสียต่อร่างกายและพฤติกรรมของเด็กอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

ปัญหาทางด้านสุขภาพของลูก

เด็ก ๆ ที่ก้มหน้าเล่นมือถือนานเกินไปจะทำให้เกิอาการปวดศีรษะ ปวดคอ หลังงอ ปวดตาและปัญหาเกี่ยวกับดวงตา นอกจากนี้ยังทำให้มีปัญหานอนไม่หลับด้วย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนหากปล่อยให้ลูกของเราติดมือถือมากเกินไป

พฤติกรรมเปลี่ยนไป ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง โมโหง่ายขึ้น

เด็กที่ติดมือถือมักมีอารมณ์รุนแรงกว่าเด็กทั่วไป และอาการเหล่านี้จะรุนแรงและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคุณยังปล่อยให้ลูกติดมือถือและไม่ทำการแก้ไข ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกในระยะยาว ทั้งภาวะทางอารมณ์ที่ผิดปกติ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าในอนาคตได้

พัฒนาการช้า ไม่เป็นไปตามวัย

ยิ่งลูกของคุณติดมือถือและใช้เวลากับมือถือมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกให้ช้าลง ไม่เหมาะสมตามวัย ไม่ว่าจะเป็น การพูดการสื่อสารที่ติดขัด พูดไม่ชัด พูดช้า มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและร่างกายในด้านอื่น ๆ

ทักษะด้านการเข้าสังคมและมนุษย์สัมพันธ์หายไป

การที่ลูกติดมือถือและใช้เวลาทั้งหมดอยู่กับการเล่นโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเล่นเกม ดูการ์ตูน ในอนาคตจะส่งผลเสียต่อตัวลูกในเรื่องของการเข้าสังคมอย่างแน่นอน เพราะเด็กมักจะชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว ทำให้ขาดทักษะในการสื่อสารและสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับคนรอบข้าง

อาการลูกติดมือถือ

พ่อแม่ต้องสังเกต 8 อาการที่บ่งบอกว่าลูกติดมือถือ

  1. ไม่สนใจหรือเบื่อที่จะทำกิจกรรมที่เคยชอบ
  2. ใจร้อน ชอบใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา
  3. ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมือถือมากเกินไป โดยไม่เปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่น
  4. สมาธิสั้น วอกแวก อยู่ไม่นิ่งเวลาที่ไม่ได้จับมือถือ
  5. จับมือถือตลอดเวลา รวมถึงเล่นมือถือขณะทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเวลากินข้าว ทำการบ้าน หรืออ่านหนังสือ
  6. เกิดอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย ปวดตา เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอและจ้องจอมือถือมากเกินไป
  7. โลกส่วนตัวสูงชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวเป็นเวลานานๆ
  8. ความสามารถในการสื่อสารกับพ่อแม่ลดลง พูดน้อย พูดไม่ชัด และพูดจาติดขัด

วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ทาง SpeakUp ได้บอกถึงสาเหตุ ผลเสีย และวิธีสังเกตุอาการเมื่อลูกติดติดมือถือว่าเป็นอย่างไรและผลกระทบที่จะตามมาว่ามีอะไรบ้าง เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วพ่อแม่ไม่ควรละเลยที่จะแก้ปัญหาเมื่อลูกเริ่มติดมือถืออย่างจริงจัง หากแก้ปัญหาได้ช้าและปล่อยไว้เป็นเวลานาน รับรองว่าผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับลูกในอนาคตจะตามมามากมายอย่างแน่นอน ดังนั้นเราจึงหาทางออกของปัญหานี้มาให้พ่อแม่ทุกคนลองไปปรับใช้ จะมีอะไรกันบ้างไปดูได้เลย

กำหนดเวลาเล่นมือถือของลูกให้ชัดเจน

การกำหนดเวลาเล่นมือถือให้ลูกนอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาการติดมือถือของลูกแล้วนั้น ยังเป็นการสร้างวินัยที่ดีให้ลูกด้วยเช่นกัน ทำให้เด็กรู้จักการจัดการเวลาและควบคุมตัวเอง โดยแนะนำว่าเด็กอายุแรกเกิดถึง 2 ขวบควรหลีกเลี่ยงการใช้มือถือ ส่วนเด็กอายุ 3-5 ขวบควรใช้วันละไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน

ก่อนจะให้ลูกปรับปรุงตัว พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน

การที่จะสอนลูกให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามได้ นอกจากการสอนด้วยคำพูดอาจจะไม่เพียงพอ ต้องทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นและซึมซับสิ่งดี ๆ ด้วย หากพ่อแม่ยังบ่นว่าลูกติดมือถือมาก แต่พ่อแม่บางครั้งก็ยังก้มหน้าก้มตาเล่นมือถือไม่สนใจคนรอบข้าง แบบนี้ต่อไปหากเราสอนอะไรลูกไป ลูกอาจจะต่อต้านและไม่เชื่อฟังได้

หากิจกรรมอย่างอื่นที่น่าสนใจให้ลูกทำ

สิ่งที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาลูกติดมือได้ที่อาจจะได้ผลดีที่สุดก็คือ การทำยังไงก็ได้ให้ลูกห่างจากการใช้มือถือที่สุด โดยสิ่งนั้นก็คือการหากิจกรรมอย่างอื่นให้ลูกทำ เช่น เล่นกีฬา ร้องเพลง อ่านหนังสือ ไปเที่ยว ฝึกทำอาหาร หรือเรียนภาษา ซึ่งกิจกรรมนี้ทาง Speakup สนับสนุนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้ความรู้และทักษาะใหม่ให้กับลูกแล้ว การเรียนภาษาสมัยนี้ไม่ได้น่าเบื่อแบบเมื่อก่อน โดยจะขอยกตัวอย่างกิจกรรมที่ทาง SpeakUp ใช้สอนในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการร้อง เต้น และงานศิลปะอื่น ๆ รับรองว่าเมื่อได้มาเรียน ลูก ๆ จะสนุกและใช้เวลากับมือถือน้อยลง พ่อแม่จะหมดกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกติดมือถือได้อย่างแน่นอน

สรุป

การที่ลูกติดมือถือหรือใช้เวลากับมือถือมากเกินไป ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ก็อาจจะก่อเกิดผลกระทบในระยะยาวต่อตัวลูกของเราได้ หากพ่อแม่ละเลยและไม่ใส่ใจที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แต่ทางออกทั้งหมดบทความนี้ได้ช่วยแก้ปัญหาและเสนอแนะแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาที่ลูกติดมือถือให้แล้ว หากสนใจที่จะลองนำไปปรับใช้ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างดี