- เด็กติดจอหมายถึงเด็กที่ใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์มากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการได้
- ผลเสียของอาการเด็กติดจอ เช่น สายตาสั้น ลดพัฒนาการทางสังคมและการเรียนรู้ และเพิ่มความเสี่ยงต่อพฤติกรรมก้าวร้าว
- วิธีแก้ปัญหาเด็กติดจอ ได้แก่ เลือกเกมที่เหมาะสมให้ลูกเล่น กำหนดเวลาเล่นมือถือ สานสัมพันธ์ที่ดีต่อลูก หากิจกรรมมาทำทดแทน และดูแลอาการติดมือถือในระยะยาว
เด็กติดจอคือเด็กที่ใช้เวลากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือทีวี มากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและพัฒนาการ สามารถสังเกตอาการได้จากการไม่สนใจสิ่งรอบข้างหรือคนใกล้ตัว มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ไปจนถึงมีอารมณ์ฉุนเฉียวหรือหงุดหงิดเมื่อไม่ได้ใช้จอ
การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อให้ลูกสงบหรือมีสมาธิกลับเป็นดาบสองคม เพราะอาจนำไปสู่ “อาการเด็กติดจอ” ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรม อารมณ์ และพัฒนาการของเด็กอย่างคาดไม่ถึง ผู้ปกครองควรตระหนักถึงผลเสียและหาวิธีแก้ไขปัญหาลูกติดมือถือ อย่าแก้เมื่อสาย ก่อนลูกกลายเป็นเด็กโมโหร้าย

สังเกตอย่างไรว่าลูกติดจอ
ปัญหาเด็กติดจอเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองควรใส่ใจ เพราะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กในระยะยาวได้ สังเกตอาการและพฤติกรรมลูกติดจอ ได้ดังนี้
- ลูกไม่สนใจสิ่งแวดล้อมหรือคนรอบข้าง เช่น ไม่ละสายตาจากหน้าจอหรือไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียก
- ลูกติดโทรศัพท์จนมีอารมณ์หงุดหงิด และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อถูกบอกให้หยุดเล่นโทรศัพท์มือถือ
- ไม่สามารถควบคุมเวลาใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ แม้มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน
- เปิดมือถือขณะทำกิจกรรมอื่น เช่น กินข้าว ทำการบ้าน หรือทำงานบ้าน ทำให้ขาดสมาธิและงานไม่เสร็จตามกำหนด
- แอบเล่นมือถือ แม้พ่อแม่จะกำหนดข้อห้ามหรือพยายามควบคุม
- มีอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย และสายตาอ่อนล้า จากการใช้มือถือเป็นเวลานานเกินไป

ผลเสียของอาการเด็กติดจอ
การที่เด็กติดจอมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมของเด็กในหลายด้าน ซึ่งผู้ปกครองควรตระหนักถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรม ดังนี้
สุขภาพร่างกายไม่ดี
เด็กที่ติดจอมากเกินไปทำให้สุขภาพร่างกายผิดปกติหรือร่างกายไม่แข็งแรงได้ เพราะการนั่งจ้องหน้าจอเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดตา ปวดต้นคอ และปวดท้อง นอกจากนี้ยังทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง เนื่องจากแสงจากหน้าจออาจรบกวนการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินที่ควบคุมการนอนหลับและทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสายตาสั้นและตาอักเสบได้อีกด้วย
สมาธิสั้น
สำหรับโรคสมาธิสั้น การใช้หน้าจอโดยตรงไม่ได้เป็นสาเหตุหลัก แต่เด็กติดจออาจคุ้นเคยกับความพึงพอใจทันทีเมื่อใช้หน้าจอ แต่ในชีวิตจริงการทำกิจกรรมต่างๆ ต้องใช้เวลาและความอดทนในการรอ ซึ่งหากเด็กติดการได้ทุกอย่างรวดเร็วจากหน้าจอ จะทำให้ไม่รู้จักรอคอย
ถ้าลูกติดจอมากเกินไปอาจมีสมาธิลดลงและแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น เมื่อลดการใช้หน้าจอ อาการมักดีขึ้น ในเด็กที่มีโรคสมาธิสั้นอยู่แล้ว การใช้หน้าจอมากเกินไปสามารถทำให้อาการสมาธิสั้นแย่ลงได้ ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมาก
พัฒนาการช้า
ผลวิจัยที่ผ่านมาเด็กปฐมวัยที่ใช้หน้าจอเกินจำนวนชั่วโมงที่แนะนำ มักมีคะแนนพัฒนาการน้อยกว่าบรรดาเด็กที่ใช้น้อยกว่า หรือพัฒนาการช้าในด้านภาษา การพูด เขียน และอ่าน ไม่ได้หรือได้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน เพราะเวลาที่ใช้ไปกับการดูหน้าจอ อาจทำให้เด็กขาดการเล่นอิสระและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ซึ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาทักษะต่างๆ
สำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการอยู่แล้ว เช่น ออทิซึม หรือการล่าช้าทางภาษา การใช้หน้าจอมากเกินไปมักจะทำให้พัฒนาการแย่ลง ควรแก้ปัญหาเด็กติดจอโดยลดการใช้หน้าจอร่วมกับการเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครอง พัฒนาการทางภาษาสังคมของเด็กมักจะดีขึ้นอย่างชัดเจน
เข้าสังคมได้ยาก
การที่เด็กติดจอใช้เวลาเล่นกับมือถือมากเกินไป ทำให้ขาดการเล่นอย่างอิสระและโอกาสในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่สำคัญ เช่น การเล่นกับเพื่อนหรือเรียนรู้จากผู้ปกครอง ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม เช่น การเข้าใจอารมณ์และพฤติกรรมของผู้อื่น การแบ่งปัน และการแก้ปัญหา
เมื่อเด็กมีการเข้าสังคมน้อยลงและมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวจำกัด อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และทักษะทางสังคมในอนาคต ดังนั้นการหักดิบลูกติดโทรศัพท์ อาจเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมที่จำเป็นและมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวได้มากขึ้น
อารมณ์รุนแรงหรือก้าวร้าว
เมื่อเด็กติดโทรศัพท์มือถือและเลียนแบบพฤติกรรมรุนแรงจากเกมหรือสื่อในโทรศัพท์ โดยมองว่าการแสดงออกเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้พฤติกรรมก้าวร้าวเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ เช่น เมื่อพ่อแม่ห้ามเล่นมือถือ
เด็กจะมีอารมณ์รุนแรงและแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลเมื่อโตขึ้น โดยสาเหตุเกิดจากขาดทักษะในการจัดการอารมณ์และไม่สามารถแยกแยะพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียม
เด็กมีอาการงอแงเมื่อไม่ได้ดูหน้าจอตามที่ต้องการ อาจนำไปสู่พัฒนาการล่าช้าและคล้ายกับอาการของ “ออทิสติกเทียม” หรือ “Virtual Autism” ซึ่งออทิสติกเทียมไม่ได้เกิดจากความผิดปกติทางสมอง แต่เกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง เช่น ทำให้เด็กติดหน้าจอมากเกินไป ขาดการสนใจและปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

วิธีแก้ปัญหาเด็กติดจอให้กับลูก
เพื่อช่วยบำบัดพฤติกรรมหรือแก้ไขปัญหาเด็กติดจอ ผู้ปกครองสามารถเลือกใช้วิธีการทั้งแบบหักดิบลูกติดโทรศัพท์หรือแบบค่อยเป็นค่อยไปได้ ดังนี้
เลือกเกมที่เหมาะสมให้ลูกเล่น
เมื่อเลือกเกมให้เด็ก ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้เด็กอยู่กับหน้าจอตามลำพังและควรให้คำแนะนำในเนื้อหาที่ดูกับเด็กไปด้วย
สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี แพทย์ยังไม่แนะนำให้เล่นคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเลตทุกชนิด เด็กอายุ 3-6 ปี ควรเลือกเล่นเกมหรือดูรายการที่ส่งเสริมพัฒนาการและการศึกษา ส่วนเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ควรเลือกเกมที่ไม่มีความรุนแรง เพราะการสัมผัสกับเนื้อหารุนแรงบ่อยๆ อาจกระตุ้นให้ลูกกลายเป็นเด็กติดโทรศัพท์จนก้าวร้าวและชินชากับเรื่องรุนแรงในอนาคต
กำหนดเวลาเล่นมือถือ
กำหนดเวลาเล่นมือถือให้ชัดเจน โดยจำกัดเวลาใช้งานให้เหมาะสมตามวัย เช่น สำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี ควรจำกัดเวลาการใช้สื่อจอไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง หรือกำหนดเวลาเพื่อหักดิบลูกติดโทรศัพท์ได้โดยให้เล่นในวันธรรมดา 1 ชั่วโมง และวันเสาร์อาทิตย์ไม่เกิน 2 ชั่วโมง รวมถึงควรเล่นภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น
ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่เด็กติดจอมากเกินไป เข้าใจความสำคัญของการใช้เวลา ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น พัฒนาทักษะอื่นๆ และป้องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ก้าวร้าวหรือติดเกม
สานสัมพันธ์ที่ดีต่อลูก
การสานความสัมพันธ์ดีๆ ในครอบครัวสำคัญต่อการแก้ปัญหาเด็กติดจอ ไม่ควรตามใจหรือใช้คำพูดเชิงลบ ควรเน้นคำพูดเชิงบวก โอบกอดแสดงความรักต่อกันในครอบครัว และหากิจกรรมทำร่วมกัน เช่น เล่น เรียน หรือทำกิจกรรมกับลูก เพื่อส่งเสริมให้ลูกมีสังคมที่ดี ฝึกให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และให้คำชมเมื่อลูกทำสิ่งดีๆ เพื่อเสริมสร้างความภูมิใจและส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีต่อไป
หากิจกรรมทดแทน
การจัดกิจกรรมทดแทนให้เด็กทำร่วมกับพ่อแม่ เช่น จัดทริปเที่ยว ทำอาหาร หรือออกกำลังกาย จะช่วยลดความเครียดและแรงกดดันจากการแข่งขันในเกม ซึ่งอาจกระตุ้นให้เด็กระบายออกทางเกมได้ง่ายขึ้น การมีกิจกรรมใหม่ๆ ยังส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และช่วยให้พวกเขามีช่องทางอื่นในการแสดงออก
ด้วยวิธีนี้ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องหักดิบลูกติดโทรศัพท์ทันที แต่ควรเฝ้าสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม
ดูแลอาการติดมือถือในระยะยาว
การรักษาอาการเด็กติดจอของลูกต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีโอกาสที่ลูกจะกลับไปติดเกมซ้ำได้อีก ผู้ปกครองหรือพ่อแม่จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก โดยต้องเข้าใจและสนับสนุนกันตลอดเวลา เพื่อป้องกันการกลับไปติดมือถือหรือเกมในอนาคต หากการแก้ปัญหาด้วยตนเองไม่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะแน่ใจว่าลูกไม่มีพฤติกรรมติดเกมแล้ว
สรุป
เด็กติดจอหมายถึงเด็กที่ใช้เวลาเกินไปกับการเล่นเกม หรือใช้งานโซเชียลมีเดียบนหน้าจอ เช่น มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสังคม ความสนใจในสิ่งแวดล้อม และสุขภาพทางกาย เช่น สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว และปัญหาการนอนหลับ ผู้ปกครองควรจัดกิจกรรมทดแทน เช่น ส่งเสริมให้ลูกพัฒนาทักษะทางภาษาผ่านการอ่านหนังสือ เขียน หรือทำงานศิลปะแทนการใช้มือถือ โดยทาง Speak Up เป็นสถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กอายุ 2.5 ถึง 12 ปี ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมปฏิบัติ ซึ่งช่วยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในบรรยากาศสนุกสนานและเรียนรู้ไปพร้อมกัน