Project Approach เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกความคิดและลงมือทำ
การให้เด็กๆ ออกไปเรียนรู้ด้วยตนเอง จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจ เป็นการปูพื้นฐานในการสร้างความเป็นผู้นำให้แก่เด็กตั้งแต่ยังเล็ก อีกทั้งยังส่งผลดีและสามารถต่อยอดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งการเรียนรู้รูปแบบดังกล่าว คือการเรียนรู้แบบ Project Approach
สำหรับเหล่าผู้ปกครองต้องการศึกษาเพิ่มเติมว่า Project Approach คืออะไร จะให้ลูกเรียนรู้แบบ Project Approach ได้อย่างไร บทความนี้ได้รวบรวมมาไว้ให้แล้ว ไปดูกัน
การเรียนรู้แบบ Project Approach คืออะไร
Project Approach หรือ “การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ” เป็นแนวคิดที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่ ศตวรรษที่ 18 โดย วิลเลียม เฮิร์ด คิลแพทริค (William Heard Kilpatrick) ซึ่งเป็นคุณครูสอนภาษา และเป็นบุคคลสำคัญ ที่ได้นำแนวคิดของจอห์น ดูอี (John Dewey) นักปฏิรูปการศึกษา มาขยายรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงการนี้ โดยให้ความสำคัญในการสร้างกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เป็นการนำความรู้ หรือประสบการณ์ที่มีไปใช้ในการแก้ปัญหา
Project Approach คือการเรียนรู้ที่เน้นการทำโครงการเป็นหลัก โดยมีจุดเด่นคือการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกหัวข้อ วางแผน ดำเนินการ จุดเด่นของการเรียนรู้แบบ Project Approach คือเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น รวมไปถึงฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างละเอียด
แนวคิดของ Project Approach
แนวคิดของ Project Approach หรือการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ มีดังนี้
- มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น และต้องการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
- ฝึกกระบวนการทำงานร่วมกัน ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เป็นโครงการที่ผู้เรียนเลือก และให้ความสนใจ เพื่อให้เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
- ผู้เรียนควรศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเอง มากกว่าที่จะเป็นฝ่ายรับข้อมูล
- ผู้เรียนควรได้รับการส่งเสริมให้ถามคำถาม และหาคำตอบผ่านการสัมภาษณ์ หรือการสำรวจ
วิธีการเรียนรู้แบบ Project Approach
ถ้าคุณพ่อคุณแม่ต้องการพาเด็กๆ ออกไปทำกิจกรรมและเรียนรู้แบบ Project Approach สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
ระยะที่ 1 – การเริ่มต้น
ระยะที่ 1 เป็นการเริ่มต้นให้เด็กๆ ฝึกการวางแผน ว่าจะเรียนรู้เรื่องอะไร พร้อมกำหนดหัวข้อหรือปัญหาที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้วางแผนกิจกรรมและขั้นตอนการทำงาน ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำให้เด็กๆ มีการระดมสมองกับผู้อื่น ดึงประสบการณ์ย้อนหลังมาตั้งคำถาม และตั้งสมมติฐานในการหาคำตอบ ยกตัวอย่างเช่น Project Approach เรื่องกล้วย ไข่ เห็ด เอามาประกอบอาหารได้เมนูอะไรบ้าง เป็นต้น
ระยะที่ 2 – การรวบรวมข้อมูล
ระยะที่ 2 เมื่อเด็กๆ ได้ร่วมกันตั้งหัวข้อ กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐานกันแล้ว ก็สามารถเริ่มระยะที่ 2 ได้เลย นั่นก็คือการรวบรวมข้อมูล โดยที่เด็กๆ จะต้องทำตามแผนที่วางไว้ ด้วยการปฏิบัติจริง ลงพื้นที่จริง สืบหาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ สิ่งต่างๆ รอบตัว หรืออาจจะสอบถามจากผู้ปกครอง คุณครู หรือผู้เชี่ยวชาญและวิทยากร ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นทักษะการสังเกต และทักษะการเรียนรู้โดยตรง ที่การเรียนในห้องเรียนไม่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรปล่อยเด็กๆ ไปสืบหาข้อมูลกันตามลำพัง ควรมีผู้ปกครองไปด้วย เพื่อความปลอดภัย
ระยะที่ 3 – การสรุป
ระยะที่ 3 เป็นการสรุปเนื้อหาที่ได้มาจากการรวบรวมความรู้ เพื่อที่จะนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ การเล่าเรื่อง การแสดง การอภิปราย เป็นการทบทวนความเข้าใจ และสะท้อนความคิดของเด็กๆ ว่าการที่ได้เรียนรู้แบบ Project Approach เข้าใจมากน้อยเพียงใด
การเรียนรู้แบบ Project Approach มีประโยชน์อย่างไร
การเรียนรู้แบบ Project Approach มีประโยชน์ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของเด็กๆ ได้หลายด้าน ดังนี้
- พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อเผชิญกับสถานการณ์จริง เด็กๆ ต้องประเมินสถานการณ์ และตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการ
- พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีมในการเรียนรู้แบบ Project Approach จะช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
- การส่งเสริมความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วม เด็กๆ มีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จของโครงการและการเรียนรู้ของตนเอง
- พัฒนาทักษะการนำเสนอและการสื่อสาร โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม อีกทั้งการนำเสนอผลงานต่อผู้ฟัง จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและทักษะการพูดในที่สาธารณะ
- พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เด็กๆ มีโอกาสใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ และดำเนินโครงการ รวมถึงได้สร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา
Project Approach สอดคล้องกับหลักสูตรการสอนปกติอย่างไร
ผู้ปกครองไม่ต้องกังวลเรื่อง Project Approach จะสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนที่เด็กๆ เรียนในห้องหรือไม่ เพราะนอกจากการที่พาเด็กๆ ออกไปทำกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเองแล้ว โรงเรียนส่วนใหญ่ได้นำการเรียนการสอนแบบ Project Approach มาเป็นส่วนหนึ่งของหนักสูตรปกติ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ต้องการการเรียนแบบ Project Approach อย่างการสำรวจ กิจกรรมการเล่นประเภทต่างๆ และการสังเกต ซึ่งเด็กๆ จะเรียนรู้บางสิ่งจากการสอนของคุณครูโดยตรง และเรียนรู้จากการทำงานกลุ่มเล็กๆ หรือเรียนรู้จากการทดลองและการปฏิบัติซ้ำๆ
ตัวอย่างการเรียนรู้แบบ Project Approach
การเรียนรู้แบบ Project Approach ของเด็กอนุบาลสามารถนำมาใช้ในหลากหลายหัวข้อ ตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงถึงการนำ Project Approach มาประยุกต์ใช้ในการสอนในหลายบริบท
Project Approach เรื่องข้าวโพด
Project Approach เรื่องข้าวโพดสามารถช่วยให้เด็กๆ เข้าใจถึงกระบวนการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของข้าวโพดได้
- ระยะเริ่มต้น เลือกหัวข้อเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดในโรงเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปลูก การเจริญเติบโต พร้อมกำหนดวัตถุประสงค์ เช่น สาเหตุที่ทำให้ต้นข้าวโพดเติบโต เป็นต้น
- ระยะดำเนินงาน ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับข้าวโพด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต เทคนิคการปลูก พร้อมศึกษาวิธีการปลูกข้าวโพดที่เหมาะสม และลงมือปฏิบัติ เช่น การเตรียมดิน และวิธีการดูแลรักษา เป็นต้น
- ระยะการสรุป สุดท้ายให้วิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกไว้ และประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด เช่น น้ำ แสงแดด และดิน เป็นต้น พร้อมนำเสนอผลการศึกษา
Project Approach เรื่องผักบุ้ง
Project Approach เรื่องผักบุ้งสำหรับเด็กประถมสามารถทำได้อย่างสนุกสนาน เพื่อให้เข้าใจการปลูกผัก การเจริญเติบโต และการนำไปประกอบอาหาร
- ระยะเริ่มต้น ตั้งชื่อและกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ เกี่ยวกับการปลูกผักบุ้ง และนำผักบุ้งไปประกอบอาหาร
- ระยะดำเนินงาน ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับผักบุ้งจากอินเทอร์เน็ต หรือหนังสือเรียน โดยมีคุณครูค่อยให้คำแนะนำ จากนั้นให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับผักบุ้งของจริง พร้อมลงมือปลูกผักบุ้ง และให้รวบรวมเมนู ที่สามารถนำผักบุ้งไปประกอบอาหารจากการกลับบ้านไปสอบถามคุณพ่อคุณแม่
- ระยะการสรุป วาดรูปลักษณะของผักบุ้งจากที่ได้สัมผัสมา และสรุปขั้นตอนการปลูกผักบุ้ง พร้อมวาดรูปเมนูที่สามารถนำผักบุ้งไปประกอบอาหารให้แก่เพื่อนๆ ได้ชมในชั้นเรียน เช่น ผัดผักบุ้ง สุกี้ ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
Project Approach เรื่องดอกไม้
Project Approach เรื่องดอกไม้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กๆ ได้สำรวจดอกไม้ภายในโรงเรียน ที่มีลักษณะแตกต่างกัน
- ระยะเริ่มต้น กำหนดหัวข้อและวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กๆ ได้สำรวจดอกไม้ที่อยู่ในโรงเรียน เช่น ดอกไม้ที่มีสีแดงในรั้วโรงเรียน มีชนิดไหนบ้าง เป็นต้น
- ระยะดำเนินงาน Project Approach เป็นเรื่องออกไปสำรวจดอกไม้ที่มีสีแดง ภายในโรงเรียน เมื่อเจอแล้วให้วาดรูป พร้อมบอกชื่อที่ถูกต้อง โดยการถามจากคุณครู แม่บ้าน หรือนักการ
- ระยะการสรุป รวบรวมภาพวาดดอกไม้สีแดงในโรงเรียน เพื่อนำเสนอเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ว่าเป็นดอกไม้ชนิดอะไร เจออยู่บริเวณไหนของโรงเรียน ใครเป็นผู้ให้ข้อมูล
Project Approach เรื่องปลาสวยงาม
Project Approach เรื่องปลาสวยงามที่เลี้ยงกันเกือบทุกบ้าน ก็สามารถนำมาให้เด็กๆ ได้ศึกษาลักษณะของปลาที่แตกต่างกันได้
- ระยะเริ่มต้น กำหนดหัวข้อและวัตถุประสงค์เกี่ยวกับปลา เช่น ปลาสวยงามที่เลี้ยงไว้คือพันธุ์อะไร มีสีอะไรบ้าง วิธีการเปลี่ยนน้ำ เป็นต้น
- ระยะดำเนินงาน ค้นคว้าของมูลเกี่ยวกับปลาจากคุณพ่อคุณแม่ ว่าคือปลาพันธุ์อะไร มีกี่ตัว มีกี่สี มีวิธีการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาอย่างไร พร้อมวาดรูปปลา และจดบันทึกข้อมูลไว้
- ระยะการสรุป รวบรวมข้อมูลว่าเป็นปลาพันธุ์อะไร มีกี่ตัว สีอะไรบ้าง และมีวิธีการเปลี่ยนน้ำ เพื่อนำมารายงานหน้าห้อง พร้อมรูปที่วาดประกอบการนำเสนอ
สรุป
Project Approach เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดเด่นในด้านการปฏิบัติจริง การมีส่วนร่วม และการพัฒนาทักษะที่หลากหลาย การเรียนรู้แบบ Project Approach จะช่วยให้เด็กๆ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเผชิญกับความท้าทายในโลกจริงอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังช่วยส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน การสื่อสาร และการแก้ปัญหา
หากคุณพ่อคุณแม่กำลังมองหาผู้ช่วยที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการและทักษะต่างๆ ให้กับเด็กเหมือน การเรียนรู้แบบ Project Approach ขอแนะนำที่ Speak Up Language Center เป็นสถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 2.5-12 ปี ที่สอนภาษาด้วยวิธีมอนเตสซอรี่ (Montessori) โดยคุณครูมืออาชีพที่มีประสบการณ์และเทคนิคการสอนภาษาเด็กเล็ก ที่จะส่งเสริมการกล้าแสดงออก การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่ายการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมเพื่อการเรียนรู้ของเด็กๆ โดยเฉพาะ
หมวดหมู่
- Blog (70)
- Uncategorized (1)
โพสต์ล่าสุด
- รวม 100 คำอวยพรวันเกิดภาษาอังกฤษ พร้อมคำแปลสุดประทับใจ
- สนุกกับ 5 กิจกรรมกลางแจ้ง เด็กอนุบาล-ปฐมวัย เสริมทักษะทางร่างกาย
- แจกแบบฝึกหัดภาษาจีนสำหรับเด็ก ฟรี! ปูพื้นฐาน เขียนคล่อง พูดจีนชัด
- รวมคำศัพท์ 50 Feeling Words บอกอารมณ์ภาษาอังกฤษ พร้อมรูปภาพ
- รวม 85 คำอวยพรวันเกิดภาษาจีน ให้เด็กๆ ฝึกพูด เพิ่มทักษะการสื่อสาร