Table of Contents

เทคนิคในการสอนภาษาไทย ให้เด็กชาวต่างชาติเข้าใจง่าย พูดไทยคล่อง

เทคนิคในการสอนภาษาไทย ให้เด็กชาวต่างชาติเข้าใจง่าย พูดไทยคล่อง

Table of Contents

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความสละสลวยอีกทั้งยังน่าเรียนรู้ จึงทำให้ปัจจุบันเรามักพบว่าคนต่างชาติหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว บรรดาอินฟลูเอ็นเซอร์ชาวต่างชาติ หรือชาวต่างชาติทั่วๆ ไปเอง ต่างก็สนใจที่จะเรียนภาษาไทย เพื่อการนำมาสื่อสารในชีวิตประจำวันมากขึ้นระหว่างที่อยู่ประเทศไทย เรามาดูกันว่าหากจะสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติต้องเริ่มอย่างไร มีเทคนิคและวิธีแบบใดบ้าง หรือจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดในขณะสอน ที่จะสามารถทำให้ชาวต่างชาติสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้จริง เรามาดูไปพร้อมๆ กันผ่านบทความนี้ได้เลย 

อุปสรรคที่มักในการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติและลูกครึ่ง

อุปสรรคที่มักในการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติและลูกครึ่ง

อุปสรรคของการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ หรือแม้แต่ลูกครึ่ง ที่พอเรียนแล้วอาจทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่ายากหรือท้าทายเป็นอย่างมาก โดยอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึง มีอะไรบ้าง ดังนี้ 

เสียงพยัญชนะคล้ายกัน

พยัญชนะไทยเป็นอุปสรรคต้นๆ เลยทีเดียวสำหรับการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ เนื่องจากภาษาไทยมีพยัญชนะที่มากถึง 44 ตัว โดยในบางครั้งหากนำพยัญชนะไทยไปเทียบเสียงกับภาษาอังกฤษแล้ว อาจไม่มีตัวเทียบที่สามารถออกเสียงได้เหมือนเป๊ะ เพียงแต่เป็นเสียงที่ใกล้เคียงเท่านั้น เช่น ก. ไก่ และ ข.ไข่ ที่จะมีการใช้ตัว K เพื่อแทนเสียง โดยหากการพูดเป็นเรื่องที่ยากแล้ว การเขียนสะกดก็ยิ่งทวีความยากขึ้นไปอีก เพราะมีทั้งพยัญชนะที่พ้องเสียงกัน คือออกเสียงแบบเดียวกัน แต่ใช้ตัวอักษรต่างกันไปตามคำแต่ละคำ ในส่วนนี้นับได้ว่าชวนให้ชาวต่างชาติเกิดความสับสนงุนงงไม่น้อยเลยทีเดียว 

การออกเสียงสระ

การออกเสียงสระให้ถูกต้องก็เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ท้าทายผู้เรียนที่เป็นชาวต่างชาติไม่น้อย เนื่องจากสระในภาษาไทยมีมากถึง 21 รูป 32 เสียง โดยมีทั้งสระที่เป็นเสียงสั้น และเสียงยาว โดยหากใช้สลับกันแล้วก็อาจทำให้ความหมายที่ต้องการจะสื่อผิดเพี้ยน เกิดเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาดได้ง่ายๆ ตัวอย่างประโยคเช่น แม่ดุน้องในตอนที่น้องวิ่งเล่น หรือ แม่ดูน้องในตอนที่น้องวิ่งเล่น ซึ่งทำให้ใจความของประโยคเปลี่ยนไปอย่างมากเลยทีเดียว  

H3:การออกเสียงตัวสะกด

ตัวสะกดสำหรับการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติบางประเทศอาจไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหา หรืออุปสรรคใหญ่ อย่างเช่นชาวต่างชาติที่พูดภาษาอังกฤษได้ เนื่องจากในภาษาอังกฤษก็มีตัวสะกดที่เยอะไม่ต่างกันมากนัก หากแต่บางชนชาติเช่น จีน ญี่ปุ่น หรือพม่า ที่มีระบบตัวสะกดในภาษาที่แตกต่างจากภาษาไทย จึงทำให้ในเวลาที่พูดภาษาไทยชาวต่างชาติบางประเทศจึงไม่สามารถเลียนเสียง หรือออกเสียงตามตัวสะกดได้ถูกต้อง  

การออกเสียงวรรณยุกต์

เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่มีการผันวรรณยุกต์ถึง 5 เสียง จึงทำให้คนที่ไม่ได้คุ้นเคยกับระดับของการผันเสียงไม่สามารถออกเสียงตามการผันวรรณยุกต์ได้อย่างถูกต้อง เราจึงมักพบว่าถึงแม้จะมีการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติผันเสียง แต่ชาวต่างชาติหลายๆ คน ก็ไม่สามารถออกเสียงได้ถูกต้อง หรือออกเสียงคล้ายๆ กันไปหมด เช่น คำยอดฮิตอย่าง สวย หรือ ซวย เรียกได้ว่าถ้าผันวรรณยุกต์ผิดชีวิตเปลี่ยนได้เลยทีเดียว หรือคำบางคำที่สะกดเป็นภาษาอังกฤษเหมือนกัน แต่ความหมายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น Khao ที่อาจจะอ่านได้ว่า ข่าว ข้าว ขาว คาว เป็นต้น 

สิ่งที่ต้องคำนึงในการสอนภาษาไทยให้ลูกครึ่งชาวต่างชาติ

สิ่งที่ต้องคำนึงในการสอนภาษาไทยให้ลูกครึ่งชาวต่างชาติ

การสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ หรือสอนให้ลูกครึ่ง ช่วยให้เด็กพูดได้สองภาษา ก็มีเทคนิคที่น่าสนใจที่เราสามารถนำไปใช้ เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนภาษาไทยที่ดีขึ้นของผู้เรียน ดังนี้ 

ใช้สัทอักษรช่วยในการออกเสียง

แน่นอนว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่แปลกใหม่สำหรับชาวต่างชาติหลายๆ คน โดยเฉพาะตัวอักษร จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ที่เรียนไปแล้วจะจำได้ในทันที ดังนั้น การที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถจำเสียงได้ง่ายขึ้น สามารถทำได้โดยการใช้สัทอักษร หรือเรียกง่ายๆ ว่าสัญลักษณ์แทนเสียง เพื่อทำให้การสอนการออกเสียงภาษาไทยให้ชาวต่างชาติเป็นเรื่องที่ง่ายมากยิ่งขึ้น 

แต่งประโยคด้วยไวยากรณ์ที่ไม่ซับซ้อน

การสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติอีกหนึ่งวิธีที่ง่าย และได้ผล คือการสอนแต่งประโยคที่ไม่ซับซ้อน โดยมีโครงสร้างประโยคขั้นพื้นฐาน เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน หรือการเรียงแค่ประธาน กริยา กรรม เช่น “ฉันจะไปร้านค้า”เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้การสื่อสารเกิดความเข้าใจต่อทั้งผู้พูดและผู้ฟัง 

สอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติในสิ่งที่เจอบ่อย

ในทุกๆ การเรียนของแต่ละภาษา การสนทนาเบื้องต้นเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งแรกๆ ที่ควรเรียนรู้ อีกทั้งยังไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่ายากจนเกินไป เพราะสามารถนำไปใช้ได้จริง อาทิ การซื้อของ การถามทาง การบอกความต้องการ-การปฏิเสธเบื้องต้น ที่จะช่วยทำให้ผู้พูดสามารถอธิบายตนเองในเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม 

สอนผ่านเหตุการณ์สมมติ

เทคนิคในการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ หรือลูกครึ่งพูดไทยได้ สามารถจำลองสถานการณ์ หรือบทบาทสมมติ เพื่อทำให้สามารถเข้าใจและเรียนรู้ได้ว่าในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน สามารถสร้างบทสนทนารูปแบบใดได้บ้าง นอกจากนี้แล้วการสร้างเหตุการณ์สมมติเอง จะช่วยทำให้ง่ายต่อการจำโครงสร้างของประโยค หรือกลายเป็นประโยคตัวอย่างที่สามารถนำไปปรับเปลี่ยนบางส่วน เพื่อต่อยอดรูปประโยคในการสนทนาในสถานการณ์อื่นๆ ได้อีกด้วย 

สอนให้ชาวต่างชาตินำภาษาไทยไปใช้ในชีวิตจริง

การให้ผู้เรียนนำสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตจริง เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ประเมินว่าสิ่งที่ตนเองเรียนมานั้นมีความก้าวหน้า หรือพัฒนามากน้อยแค่ไหน ควรเสริมในส่วนใดบ้าง โดยอาจเริ่มต้นจากการลองใช้ภาษาสนทนาง่ายๆ ตามสถานการณ์ที่ไม่ซับซ้อน เช่น การลองออกไปซื้อของด้วยตนเอง การพูดคุยกับเพื่อนชาวไทย เป็นต้น ซึ่งการนำไปใช้จริงๆ ทำให้เกิดความคุ้นเคยและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตาม ทฤษฎี Constructivism  ก็จะช่วยพัฒนาและต่อยอดการเรียนรู้ที่มากกว่าในห้องเรียนได้เช่นกัน 

สรุป

การสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ หรือแม้แต่ลูกครึ่งที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักนั้น มีความท้าทายต่อผู้เรียนและผู้สอนไม่น้อย เนื่องจากการออกเสียงที่มีความซับซ้อน ทั้งเสียงสั้น เสียงยาว การผันเสียงวรรณยุกต์  อย่างไรก็ตาม หากเริ่มสอนได้ถูกจุด นำเทคนิคต่างๆ มาปรับใช้ หรือคำนึงถึงการใช้งานจริง ก็จะช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วหากต้องการเพิ่มผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นในการเรียนภาษาไทยหรือการสนทนาอย่างมีประสิทธิภาพ Speak Up เป็นสถาบันสอนภาษาสำหรับเด็กอายุ 2.5-12 ปี โดยการดูแลจากคุณครูผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ทางทักษะภาษาที่ดีผ่านการใช้สื่อการสอนภาษาไทยและกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กชาวต่างชาติ รับรองได้เลยว่าทั้งชาวต่างชาติ หรือแม้แต่ลูกครึ่งเองก็สามารถเรียนรู้ภาษาไทยได้ดีขึ้น พูดได้คล่องขึ้นอย่างแน่นอน