Blended Learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับเด็กในยุคหลังโควิด
ระบบการศึกษา Blended Learning คืออะไร
Blended Learning หรือการเรียนรู้แบบผสมผสานคือการเรียนรู้ที่ผสมผสานการเรียนรู้ออนไลน์ และการเรียนรู้ตัวต่อตัว เข้าด้วยกัน ในรูปแบบของ Hybrid โดยมีการใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วน วิธีการ และสถานที่ของการเรียนรู้ตามความเหมาะสมและความต้องการของนักเรียนและครู
Blended Learning มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน หรือแต่ละระดับชั้น หรือแต่ละวิชา เพื่อให้นักเรียนได้รับคำแนะนำ หรือการประเมินผลจากครู เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ หรือเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
การปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคมทำให้ออกมาเป็นระบบ Blended Learning ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเริ่มมีการนำมาใช้มาตั้งแต่มีการใช้อินเทอร์เน็ตที่แพร่หลายมากขึ้น และได้รับความสนใจจากผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญในด้านการศึกษา มีการศึกษาวิจัยและทดลองใช้ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และความเป็นธรรมในการเรียนรู้
Blended Learning ได้รับการยอมรับและนำมาใช้มากขึ้นในยุคของโควิด-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายการศึกษาของเด็กทั่วโลก ที่เปลี่ยนไปใช้การเรียนรู้ออนไลน์เป็นหลัก รวมถึงยังเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความท้าทายมากทั้งสำหรับครู นักเรียน และผู้ปกครองอีกด้วย การเรียนรู้แบบผสมผสานจึงเป็นรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับยุคหลังโควิด เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ออนไลน์ได้อย่างหลากหลาย เพราะสิ่งนั้นคือสิ่งที่ตอบโจทย์การศึกษาที่ไม่ได้จำกัดแค่ภายในโรงเรียน
ทฤษฎีการเรียนแบบผสมผสาน Blended Learning ส่งผลต่อเด็กอย่างไร
ลักษณะการสอนที่มีประสิทธิภาพของ Blended Learning
Blended Learning คือ การเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับเด็กในยุคหลังโควิด ในยุคหลังโควิด การเรียนรู้แบบผสมผสาน จะเป็นวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะกับช่วงปฐมวัย เนื่องจากการเรียนรู้แบบผสมผสาน จะช่วยให้เด็กๆ มีความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ สามารถเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และสามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ นอกจากนี้ การเรียนรู้แบบผสมผสาน ยังช่วยให้เด็กๆ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่หลากหลาย ทั้งทางด้านวิชาการและด้านทักษะชีวิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตและการพัฒนาของเด็กๆ ในอนาคต
ดังนั้นลักษณะการสอนที่มีประสิทธิภาพของ Blended Learning ที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตจุดเน้นเหล่านี้ด้วย
เน้นการเรียนการสอนแบบออนไลน์
การเรียนแบบ Blended Learning จะต้องมีส่วนผสมของการเรียนผ่านระบบออนไลน์อยู่ระหว่าง 30-70% ตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง สัดส่วนการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของ Blended Learning อาจจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมมากขึ้น
ตามงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การเพิ่มสัดส่วนการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของ Blended Learning ขึ้นมาเป็น 60% และใช้เวลาในห้องเรียน 40% เพื่อทำกิจกรรมหรืออภิปราย จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม สัดส่วนนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสไตล์การสอนและความเหมาะสมของแต่ละวิชา
ผู้สอนให้ความสำคัญกับ coaching
การสอนแบบเลคเชอร์หรือบรรยายเนื้อหาจะเป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้กันมาก แต่มีประสิทธิภาพไม่เท่ากับการใช่เทคนิคการเรียนแบบ Blended Learning ที่ใช้การโค้ช (Coaching) ผ่านการถามคำถามที่น่าสนใจให้ผู้เรียนได้คิดและหาคำตอบอาจเป็นวิธีการสอนที่เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มากกว่า
เพราะการโค้ชจะช่วยเสริมในส่วนของการคิดและแลกเปลี่ยนความคิดผ่านการตอบคำถามในชั้นเรียนให้มากขึ้น และส่งผลในการเพิ่มทักษะการวิเคราะห์วิพากษ์หรือ Critical Thinking ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในอนาคตของผู้เรียนนั่นเอง
มีการปรับใช้เทคโนโลยีในการสอน
การเรียนรู้แบบผสมผสานคือรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเด็กๆ วัยประถม ไม่ว่าจะเป็นสื่อการเรียนที่มีภาพและเสียง แพลตฟอร์มการส่งงานของผู้เรียนหรือห้องสนทนาออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้รับความสะดวก นอกจากนี้การใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถขยายขอบเขตการเรียนรู้ให้กว้างขึ้นเหมือนกับการเรียนในยุคใหม่ลดความเครียดในเรื่องของภาระงานของผู้สอน ช่วยให้สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่ดีได้มากขึ้น
ข้อดีของการเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning
การสอนไม่จำเจ มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ตามทฤษฎีพีระมิดแห่งการเรียนรู้ ได้มีการบอกไว้ว่าวิธีการเรียนรู้แต่ละวิธีจะมีผลต่อการจดจำและการเรียนรู้เนื้อหาการเรียนของผู้เรียนอย่างแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่นการอ่านจะทำให้จำได้ 10% การฟังจะทำให้จำได้ 20% และการได้ลองปฏิบัติด้วยตัวเองจะทำให้จำได้ 75%
สำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย การเรียนออนไลน์เพียงอย่างเดียวจึงอาจไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากขาดการปฏิบัติจริง และการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ความรู้ที่ได้รับก็อาจเรื่องเรื่องเก่า แบบเดิมๆ รวมไปถึงยังอาจขาดสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็นเหมือนเดิม
จุดเด่นของ Blended Learning คือความหลากหลายของรูปแบบการเรียนรู้ ที่ยืดหยุ่นและไม่ตายตัว วิธีการเรียนนี้จึงเป็นวิธีการหลักในการนำไปใช้กับเด็กที่มีความแตกต่าง และมีข้อจำกัดเช่นการเรียนแบบ New Normal
มีสภาพแวดล้อมที่ดี เด็กตื่นตัวในการเรียนรู้
การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการสื่อสารและเกิดความสัมพันธ์กันมากกว่าการเรียนแบบออนไลน์
โดยการสนทนาและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้เรียนจะช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการหาคำตอบร่วมกันภายในห้องเรียนได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะกับเด็กปฐมวัย
วิธีนี้ยังถือได้ว่าเป็นวิธีการที่ดี และมีความเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล อีกทั้งยังสามารถสร้างและออกแบบกิจกรรมดีๆ เพื่อพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ได้มากมายอีกด้วย
ส่งเสริมเด็กๆ ให้ค้นคว้าเนื้อหาการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ข้อดีอีกข้อหนึ่งของ Blended Learning ที่จะไม่สามารถละเลยไปได้ คือการสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้สอนที่เคยเป็นผู้นำ จะเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้ช่วยแทน ทำให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตัวเองมากขึ้น ไม่มีกรอบ และความกดดันใดๆ มาทำให้การเรียนรู้ของเด็กแคบลง อีกทั้งในกระบวนการนี้ยังส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกเชื่อมโยงความรู้และทักษะต่างๆ เข้าด้วยกัน
เช่น สำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ ผู้สอนสามารถใช้ Blended Learning โดยให้ผู้เรียนดูวิดีโอการสอนออนไลน์เกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์หรือหนังสือที่เกี่ยวข้อง หรือแม้กระทั่งไปเยี่ยมชมสวนสัตว์จริงๆ แล้วให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน โดยการนำเสนอหรือสร้างสื่อการเรียนรู้เอง การเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและความเข้าใจมากขึ้น และยังเสริมสร้างทักษะการค้นคว้าและการสื่อสารได้ด้วย
ข้อจำกัดของ Blended Learning ที่ผู้ปกครองต้องคำนึง
Blended Learning เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ผสมผสานการเรียนในห้องเรียนและการเรียนออนไลน์เข้าด้วยกัน โดยใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน Blended Learning มีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้เรียนหรือผู้สอน แต่ในขณะเดียวกัน Blended Learning ก็มีข้อจำกัดบางประการที่ผู้ปกครองต้องคำนึง ดังนี้
- การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning คือระบบที่ต้องการอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ ซึ่งอาจไม่มีทุกครอบครัว หรืออาจมีแต่ไม่เพียงพอสำหรับทุกคนในครอบครัว ผู้ปกครองจึงต้องจัดหาและดูแลอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กๆ
- Blended Learning ต้องการความรับผิดชอบและวินัยในการเรียนของผู้เรียน ผู้ปกครองจึงต้องช่วยเหลือและสนับสนุนให้เด็กๆ มีการจัดสรรเวลา การติดตามเนื้อหา และการทำแบบฝึกหัดอย่างเหมาะสม และไม่หลงไปกับสื่ออื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
- Blended Learning อาจไม่เหมาะกับผู้เรียนบางกลุ่ม ผู้ปกครองจึงต้องรู้จักลักษณะการเรียนรู้ของเด็กๆ ว่าเหมาะกับการเรียนแบบไหน และมีอะไรที่ต้องช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีที่สุด
- Blended Learning อาจมีความล่าช้าหรือขัดข้องในการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้ปกครองจึงต้องเป็นตัวกลางในการติดต่อ และช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ มีการแสดงความคิดเห็น หรือถามคำถามได้อย่างง่ายดาย
Blended Learning การเรียนรู้แบบผสมผสานคือรูปแบบการเรียนรู้ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผู้ปกครองจึงต้องเข้าใจและปรับตัวให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กๆ และช่วยเหลือให้เด็กๆ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป
หมวดหมู่
- Blog (70)
- Uncategorized (1)
โพสต์ล่าสุด
- รวม 100 คำอวยพรวันเกิดภาษาอังกฤษ พร้อมคำแปลสุดประทับใจ
- สนุกกับ 5 กิจกรรมกลางแจ้ง เด็กอนุบาล-ปฐมวัย เสริมทักษะทางร่างกาย
- แจกแบบฝึกหัดภาษาจีนสำหรับเด็ก ฟรี! ปูพื้นฐาน เขียนคล่อง พูดจีนชัด
- รวมคำศัพท์ 50 Feeling Words บอกอารมณ์ภาษาอังกฤษ พร้อมรูปภาพ
- รวม 85 คำอวยพรวันเกิดภาษาจีน ให้เด็กๆ ฝึกพูด เพิ่มทักษะการสื่อสาร