"พินอินจีน" ตัวช่วยที่ทำให้การอ่านภาษาจีนสำหรับเด็ก ไม่ยากอีกต่อไป
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้เจ้าตัวเล็กเริ่มพูดภาษาจีนกลาง หรือจีนแมนดาริน ได้กันตั้งแต่เด็กๆ แต่รู้สึกว่า ตัวอักษรจีนนั้นดูยาก หรือมีหลายตัวที่เสียงที่คล้ายคลึงกัน การเริ่มทำความรู้กับพินอินภาษาจีนก่อนจะช่วยให้การเรียนรู้ภาษาจีนกลางนั้นง่ายยิ่งขึ้น
บทความนี้ จะพาไปทำความรู้จักว่าพินอินภาษาจีนคืออะไร พินอินพยัญชนะ และสระภาษาจีนมีอะไรบ้าง รวมถึง ตารางพินอินภาษาจีนแบบพื้นฐานให้ได้ทำความรู้จักกัน
พินอิน(Pinyin) คืออะไร? ทำไมพ่อแม่ควรให้ลูกเรียน
พินอิน (拼音 – Pinyin) หรือ ฮั่นอวี่พินยิน (汉语拼音 – Hanyu Pinyin) คือ ระบบการเทียบเสียงภาษาจีน ด้วยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทน โดยภาษาจีนสำเนียงที่ใช้เป็นมาตรฐานจะเป็นภาษาจีนกลาง หรือที่เรียกว่า “จีนแมนดาริน” ซึ่งพินอินจีน จะประกอบด้วย 3 ส่วนที่ใช้ในการออกเสียง ได้แก่
- พินอินพยัญชนะ จำนวน 23 เสียง
- พินอินสระ แบ่งเป็นสระเดี่ยวจำนวน 6 เสียง และสระประสมจำนวน 30 เสียง
- พินอินวรรณยุกต์ จำนวน 4 เสียง
ความสำคัญของพินอีนจีนช่วยเพิ่มพัฒนาการทางภาษาลูก มีอะไรบ้าง
เนื่องจากภาษาจีนถือเป็นหนึ่งในภาษาที่มีความเก่าแก่มากที่สุดในโลก ทำให้ตัวอักษรจีนยังใช้ระบบตัวอักษรภาพ (Pictogram) หรือตัวอักษร 1 ตัวแทน 1 คำ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เช่น ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ที่จะใช้ระบบตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะ และสระ ก่อนนำมาประกอบเป็นคำที่มีความหมาย
พินอินภาษาจีนมีความสำคัญทั้งกับเจ้าของภาษาและผู้ที่เรียนรู้ภาษาจีน ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้
- การออกเสียง เนื่องจากภาษาจีนเป็นอีกภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ กล่าวคือ คำที่มีเสียงพยัญชนะและเสียงสระเดียวกัน แต่เสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ก็จะมีความหมายต่างกัน เช่น 马(mǎ – ม่า) แปลว่า ม้า กับคำว่า 妈 (mā – มา) แปลว่า แม่ เป็นต้น พินอินจึงช่วยให้สามารถอ่านออกเสียงคำในภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง
- การค้นหาข้อมูลด้วยการพิมพ์ เนื่องจากบนแป้นคีย์บอร์ดจะใช้ระบบตัวอักษร เช่น ตัวอักษรภาษาอังกฤษ การเข้าใจพินอินจะช่วยให้ผู้ใช้ภาษาจีน สามารถพิมพ์พินอิน และค้นหาคำที่ต้องการได้ แทนที่จะต้องเขียนขีดภาษาจีนทีละตัว นอกจากจะช่วยเรื่องความสะดวกแล้ว ยังช่วยลดโอกาสผิดพลาดในการเขียนตัวอักษรจีนผิดอีกด้วย เพราะการเขียนผิดแค่ขีดเดียว ความหมายก็สามารถเปลี่ยนได้
เสียงพยัญชนะพินอินจีน
เสียงพยัญชนะพินอินในภาษาจีน จะประกอบไปด้วยเสียงจำนวน 23 เสียง โดยหากเทียบเคียงกับการออกเสียงภาษาไทย จะมีวิธีการอ่าน และท่องจำง่ายๆ ดังนี้
- b ปอ
- p พอ
- m มอ
- f ฟอ
- d เตอ
- t เทอ
- n เนอ
- l เลอ
- g เกอ
- k เคอ
- h เฮอ
- j จี
- q ชี
- x ซี
- z จือ
- c ชือ
- s ซือ
- zh จรือ
- ch ชรือ
- sh ซรือ
- r ยรือ
- y ยี
- w อู
จุดสังเกตตัวเองว่าออกเสียงถูกต้องหรือไม่ และเทคนิคเพิ่มเติมในการออกเสียง มีดังนี้
- พยัญชนะที่จะเกิดบริเวณริมฝีปาก คือ b p m f
- พยัญชนะที่ใช้ปลายลิ้นแตะเพดานแข็ง คือ d t n l
- พยัญชนะที่ทำให้ช่วงลำคอสั่น คือ g k h
- พยัญชนะที่ปล่อยเสียง คือ j q x y
- พยัญชนะที่ปลายลิ้นแตะหลังปลายฟันล่าง โดยออกเป็นเสียงสั้น คือ z c s
- พยัญชนะที่ต้องพับลิ้น หรือปลายลิ้นแตะเพดานอ่อน โดยออกเสียงยาว คือ zh ch sh r
- พยัญชนะที่ต้องห่อปาก คล้ายเป่าลม คือ w
เสียงสระพินอินจีน
เสียงสระพินอินในภาษาจีน จะแบ่งออกเป็นสระเดี่ยว แบ่งเป็นสระเดี่ยวจำนวน 6 เสียง และสระประสมจำนวน 30 เสียง โดยหากเทียบเคียงกับการออกเสียงสระภาษาไทย จะมีวิธีการอ่าน ดังนี้
สระเดี่ยวพินอิน
- a อา
- o
- ออ
- โอ
- e
- เออ
- เอ เมื่ออยู่หน้า y
- i
- อี เมื่อไม่มีเสียงพยัญชนะในตำแหน่งตัวสะกด และเสียงพยัญชนะต้นไม่ใช่ z c s zh ch sh และ r
- อิ เมื่อมีเสียงพยัญชนะในตำแหน่งตัวสะกด และเสียงพยัญชนะต้นไม่ใช่ z c s zh ch sh และ r
- อือ เมื่อเสียงพยัญชนะต้นเป็น z c s zh ch sh และ r
- u อู
- ü อูวี (การออกเสียงอู ด้วยการห่อปาก
พินอินสระประสม
- ai ไอ
- ao เอา
- an
- อัน
- อาน
- ang
- อัง
- อาง
- ong อง
- ou โอว
- ei เอย์
- en เอิน
- eng เอิง
- er เออร์ (ออกคล้ายเสียง “เออ” ในภาษาไทย แต่ปลายลิ้นม้วนขึ้นและแตะเพดานแข็ง)
- ia เอีย
- iao เอียว
- ie อีเย (ออกไวๆ ให้เป็นเสียงเดียว)
- iu ยิว
- ian เอียน
- iang เอียง
- in อิน
- ing อิง
- iong อีอง (ออกไวๆ ให้เป็นเสียงเดียว)
- ua วา
- uo อัว
- ui อุย
- uai ไอว
- uau อวน
- un อุน
- uang อวง
- ueng เวิง
- üe เยว
- üan เอวียน (ออกไวๆ ให้เป็นเสียงเดียว)
- ün อวิน (ออกไวๆ ให้เป็นเสียงเดียว)
เสียงวรรณยุกต์พินอินจีน
เสียงวรรณยุกต์พินอินในภาษาจีน จะแบ่งออกเป็น 4 เสียง แต่จะมีเสียงพิเศษที่เรียกว่า เสียงเบา อยู่ด้วย โดยหากเทียบเคียงกับการออกเสียงสระภาษาไทย จะมีวิธีการอ่าน ดังนี้
- เสียงหนึ่ง จะเท่ากับเสียงสามัญในภาษาไทย
- เสียงสอง จะเท่ากับเสียงจัตวาในภาษาไทย
- เสียงสาม จะเท่ากับเสียงเอกในภาษาไทย
- เสียงสี่ จะเท่ากับเสียงโทในภาษาไทย
- เสียงเบา หรือเป็นพยัญชนะที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ การออกเสียงจะคล้ายกับเสียงหนึ่ง แต่ออกเพียงครึ่งเสียง หรือสั้นกว่า
ทั้งนี้ ในการวางเสียงวรรณยุกต์จะวางไว้บนสระตัวแรก เช่น 猫 (māo-มาว)แมว
ตารางพินอินจีนสำหรับฝึกลูกๆในการออกเสียงและอ่านคำภาษาจีน
หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพินอินภาษาจีนทั้งเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์กันไปแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นตารางพินอัน สำหรับได้ฝึกกัน
เคล็ดลับในการเรียนพินอินจีนให้ได้ผลดี มีอะไรบ้าง
สำหรับเคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยให้การเรียนพินอินภาษาจีน และเข้าใจภาษาจีนได้ดีขึ้น ดังนี้
- จำความแตกต่างระหว่างพินอินและภาษาอังกฤษ แม้หน้าตาของตัวอักษรพินอินจะใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมาก แต่ก็มีการออกเสียงที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ พินอินยังมีกฎเกณฑ์ในการอ่านและการประสมคำที่แตกต่างจากภาษาอังกฤษอีกด้วย
- ใช้ตัวช่วยฝึกพินอินภาษาจีน ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่จะช่วยในการเรียนรู้เกี่ยวกับพินอินมากมาย เช่น Google Input Tools หรือตารางพินอินจีนกลาง
- ฝึกใช้เป็นประจำ การฝึกใช้ภาษาที่กำลังเรียนอยู่เป็นประจำ จะช่วยเพิ่มความคุ้นเคยกับภาษานั้น ทำให้สามารถใช้ภาษาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ หากฝึกสื่อสารกับเจ้าของภาษาหรือสถาบันสอนภาษาจีนสำหรับเด็กเล็กที่สอนโดยเจ้าของภาษาโดยตรง จะยิ่งทำให้มีตัวอย่างของสำเนียงที่ถูกต้องอีกด้วย
เก่งพินอินยิ่งขึ้นกับคอร์สจาก SpeakUp Language Center
สรุป
พินอินภาษาจีน ทั้งพินอินพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ถือเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษาจีน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะให้เจ้าตัวเล็กเริ่มเรียนภาษาจีนกลาง สามารถลองหาตารางพินอินภาษาจีนแบบพื้นฐานมาฝึกกันได้ นอกจากนี้ การมีเคล็ดลับในการเรียนจะช่วยให้การเรียนพินอินได้ดียิ่งขึ้น เช่น การฝึกเป็นประจำ ใช้ตัวช่วยฝึกพินอิน หรือจำความแตกต่างระหว่างระบบพินอินและภาษาอังกฤษ เป็นต้น
หมวดหมู่
- Blog (52)
- Uncategorized (1)
โพสต์ล่าสุด
- เลี้ยงลูกแบบ BLW ฝึกให้ลูกน้อยจับอาหารกินด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร
- Leadership คืออะไร และเทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไรให้มีทักษะการเป็นผู้นำ
- ศิลปะการตัดกระดาษจีน กิจกรรมฝึกฝนสมาธิง่ายๆ พร้อมเรียนรู้วัฒนธรรม
- รวม 100 ประโยคกล่าวคำชื่นชมภาษาอังกฤษ ไว้ชื่นชมคนแบบไม่ซ้ำกัน
- รู้จักทฤษฎี Constructivism สอนเด็กให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก